SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 25
สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครอยุธยา นายศุภฤกษ์ ตรีมงคล รหัส 15012075 คอมฯศึกษา
วัดหน้าพระเมรุ พระองค์อินทร์ ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่  2  ทรงสร้างวัดหน้าพระเมรุเมื่อ พ . ศ . 2046  เดิมชื่อ วัดเมรุราชิการาม อยู่ริมสระบัว ตรงข้ามพระราชวังหลวง ครั้งแผ่นดินพระมหา จักพรรดิ์ได้ทรง ตั้งพลับพลาระหว่างวัดหน้าพระเมรุและวัดหัสดาวาสเป็นที่ทำสัญญาสงบศึกกับ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง สถาปัตยกรรมของวัดอยู่ในสมัยอยุธยาตอนต้นคือ พระอุโบสถไม่มี หน้าต่างแต่เจาะช่องไว้เป็นลูกกรง พระประธานเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ทรง เครื่องปราง มารวิชัย งดงามเป็นที่ยิ่ง หน้าบันไม้สักลงรักปิด ทองสลักรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ หยุดเศียรนาคหน้าราหูล้อมรอบด้วยหมู่เทพพนม  26  องค์ ตรงอาสนสงฆ์มีจารึก เป็นกาพย์ ์สุภาพและกาพย์ยานี วัดหน้าพระเมรุได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า   เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่  3  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วิหารน้อยหรือ วิหารเขียน มีบานประตูไม้แกะสลักฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่  3  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในเคยมีจิตรกรรมฝาผนังโดยรอบปัจจุบันลบเลือนมาก และมีพระพุทธรูปประทับห้อย พระบาทสมัยทวารวดีประดิษฐานอย
      เป็นเรือนไทยทรงโบราณมีอยู่  5   หลัง อยู่ทางทิศใต้ของพระวิหารพระมงคลบพิตร หันหน้าสู่ถนนศรีสรรเพชญ์และถนนป่าตอง ตำบลประตูชัย ชื่อ คุ้มขุนแผน มิได้มุ่งหมายสร้างให้เป็นอนุสรณ์แก่ขุนแผน ในวรรณคดีแต่อย่างใด ความประสงค์ที่แท้จริงสร้างไว้เพื่อคนรุ่นหลังได้เห็น และได้ศึกษารูปบ้านไทยในชนบท สมัยโบราณมีรูปทรงอย่างไร เช่น เรือนเอก เรือนโท หอพระ ครัวไฟ                                 คุ้มขุนแผน  
วัดพนัญเชิง         อยู่ริมแม่น้ำทางด้านทิศใต้ของพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดที่มีมาก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา   เดิมใครเป็นผู้สร้างไม่ปรากฏหลักฐาน พระพุทธรูปซึ่งเป็น พระประธานในพระวิหาร นั้นชื่อ   " พระเจ้าพนัญเชิง "  สร้างขึ้นเมื่อ พ . ศ  1867  ในปี พ . ศ  2397  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบูรณะใหม่ทั้งองค์ และถวายพระนามว่า  " พระพุทธไตรรัตนนายก "  นับเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยที่มีอายุมากที่สุด และใหญ่ที่สุดในประเทศไทยหน้าตักกว้าง  20.17  เมตร และสูงจากชายพระชงฆ์ถึง พระรัศมี   19  เมตร
อยู่ริมแม่น้ำฝั่งเดียวกับวัดพุทไธสวรรค์ แต่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเกาะเมือง พระเจ้าปราสาททอง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดไชยวัฒนารามขึ้นในปี พ . ศ . 2173  เพื่ออุทิศวายให้เป็นอนุสรณ์สถาน ณ บ้านเดิมของพระราชมารดาและเพื่อเฉลิม พระเกียรติในการเสด็จขึ้นครองราชย์ด้วยทรงมีพระราชนิยมศิลปะแบบขอม วัดนี้จึงมีสถาปัยกรรมรูปปรางค์ ประกอบด้วย   พระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุเป็นองค์ประธานสูงเด่นอยู่ท่ามกลาง ปรางค์ทิศและปรางค์รายทั้ง  8  ทิศ สันนิษฐานว่า แต่เดิมในคูหาปรางค์ประธาน   เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาต ุหรือ   สิ่งอันควรบูชาอื่น ๆ   พระอุโบสถวัด อยู่ทางด้านตะวันออกของพระปรางค์ มีซากพระประธานเป็น พระพุทธรูปปรางค์มารวิชัย สร้างด้วยหินทราย และที่ฐานประทักษิณด้านทิศเหนือมีฐานรากของเจดีย์  3  องค์ ตั้งเรียงกัน สันนิษฐานว่าเป็นที่บรรจุพระอัฐิเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร  ( เจ้าฟ้ากุ้ง รัตนกวีแห่งกรุงศรีอยุธยา )   เจ้าสังวาลย์ และเจ้าฟ้านิ่มพระสนมเอก ในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ   ปัจจุบันเป็นวัดร้าง แต่ยังมีพระปรางค์ ใหญ่และเจดีย์รายตามมุมคงเหลืออยู่และรูปทรงยังสมบูรณ์ดีเป็นส่วนมาก   วัดไชยวัฒนาราม
พระราชวังหลวงหรือพระราชวังโบราณ  พระราชวังหลวงที่ปรากฏในพระนครศรีอยุธยาปัจจุบันคงเหลือแต่ฐาน อาคารให้เห็น เท่านั้นสันนิษฐานว่า พระเจ้าอู่ทองสร้างพระราชวังตั้งแต่เมื่อครั้งประทับอยู่ที่เวียงเล็ก เมื่อ พ . ศ . 1890  และเมื่อสร้างกรุงเสร็จใน พ . ศ . 1893  จึงย้ายมาประทับที่พระราชวังใหม่ริม หนองโสน พระที่นั่งต่างๆ ในครั้งแรกนี้สร้างด้วยไม้อยู่ในบริเวณซึ่งปัจจุบันเป็น วัดพระศรีสรรเพชญ์ ต่อมาเมื่อ พ . ศ . 1991  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงถวายที่บริเวณ พระราชวังเดิมสร้างเป็นวัด ในเขต พระราชวัง เรียกว่า  " วัดพระศรีสรรเพชญ์ "  แล้วทรงสร้าง พระราชวังหลวงใหม่เลื่อนไปทางทิศเหนือ ชิดริมแม่น้ำลพบุรี พระที่นั่งต่างๆ ในเขตพระราชวังหลวงหรือที่เรียกในปัจจุบันว่า พระราชวังโบราณ เดิมเป็นที่ประทับของ พระมหากษัตริย์อยุธยาทุกรัชกาล ตั้งอยู่ริมกำแพงพระนครศรีอยุธยาทางด้านเหนือ มีถนนสายรอบ กรุงผ่านจากวังจันทรเกษมไปเพียง  2  กิโลเมตร เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่ เวลา  08.30  น . -  16.30  น .  รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ โทร . 035-242284
วิหารพระมงคลบพิตร  พระมงคลบพิตร เป็นพระพุทธรูปอิฐบุทองสัมฤทธิ์สีดำตลอดองค์ เพราะเคลือบรักไว้ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระไชยราชา ราว พ . ศ . 2081   สำหรับเป็นพระพุทธรูปประจำวัดซีเซียง ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ชลอพระมงคลบพิตรมาไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ และสร้างมณฑปครอบไว้ ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระ เจ้าเสือเกิดฟ้า ผ่าเครื่องมณฑปพังลงมาต้องพระศอหักก็โปรดเกล้าฯ ให้รื้อซากมณฑปสร้างใหม่ และซ่อมพระศอให้เหมือนเดิม จนเมื่อ พ . ศ . 2310   เสียกรุงศรีอยุธยา วิหารพระมงคลบพิตรถูกไฟไหม้ทรุดโทรม พระเมาฬี และพระกรขวา หัก ในสมัยรัชกาลที่  5   พระยาโบราณราชธานินทร์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง สมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยาได้ซ่อมองค์พระด้วยปูนปั้น และในปี พ . ศ . 2535   วิหารพระมงคลบพิตรทั้งองค์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่มีขนาดใหญ่มาก ที่สุดองค์หนึ่งของประเทศไทย
วัดพุทไธสวรรค์  ในราว พ . ศ . 1896   สมเด็จพระรามาธิบดีที่  1  ( พระเจ้าอู่ทอง )  ทรงสถาปนาวัดพุทไธสวรรค์ ขึ้น ณ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อเป็นที่ระลึกถึงตำบลเวียงเหล็กซึ่งเป็นสถานที่ทางพัก ไพร่พลเป็นระยะเวลา  3   ปี หลังจากอพยพหนีโรคระบาดและต่อมาได้ข้ามแม่น้ำมาสร้าง กรุงศรีอยุธยา ที่ตำบลหนองโสน ในปี พ . ศ . 1893   วัดพุทไธสวรรค์มีจุดเด่นที่องค์พระปรางค์ ลักษณะศิลปะแบบขอม งอกงามเป็นที่เชิดชูแก่วัดอย่างมาก บริเวณพระปรางค์ล้อมรอบ ด้วยพระระเบียงที่มีพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทองพระนอน ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์
วัดมหาธาตุ  วัดมหาธาตุเป็นวัดใหญ่คู่กับวัดราชบูรณะ ในพงศาวดารกล่าวว่า เริ่มสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่  1  ( ขุนหลวงพงั่ว )  พ . ศ . 1917   มาแล้วเสร็จในสมัยพระราเมศวร และมีการก่อสร้างบำรุงรักษามาตลอดจนเสียกรุงในปี พ . ศ . 2310   ทำให้มีสิ่งก่อสร้างที่สวยงามและสำคัญอยู่ มากมายโดย เฉพาะวิหารหลวงขนาดใหญ่ที่เจาะผนังเป็นช่องแทนหน้าต่างพระปรางค์ประธาน ของวัดซึ่งเคยเป็นที่ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุเดิมมีความสูงจากฐานถึงยอดประมาณ  50   เมตร และพังลงมาครั้งหนึ่งในสมัยสมเด็จ พระเจ้าทรงธรรม พอถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงให้บูรณะซ่อมแซมจนมีความสูงกว่าที่สร้างครั้งแรก แต่ในปัจจุบันพระปรางค์เหลือเพียงส่วนฐาน เพราะหักพังลงมาอีกครั้งในปี พ . ศ . 2454   รัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่  6   แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อ พ . ศ . 1900   พระเจ้าอู่ทองทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปลงศพเจ้าแก้วเจ้าไทย ที่ปลงศพ นั้นให้สถาปนาพระเจดีย์และวิหารเป็นพระอารามชื่อ วัดป่าแก้ว และโปรดเกล้าฯ ให้เป็น สำนักสงฆ์เรียกคณะป่าแก้ว ปฎิบัติทางวิปัสสนาธุระ ต่อมาได้ขนาดนามว่า วัดเจ้าพระยาไทย เพราะเป็นที่สถิตของสมเด็จพระวันรัตพระสังฆราช ฝ่ายขวา ซึ่งในสมัยโบราณเรียกพระสงฆ์ว่า เจ้าไทย ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พ . ศ . 2135   ทรงได้ชัยชนะใน การทำยุทธหัตถึ สมเด็จพระวันรัตวัดป่าแก้ว ซึ่งขอพระราชทานอภัยโทษแก่นายทัพนายกอง ที่ตามเสด็จไม่ทันได้กราบ บังคมทูลให้ทรงสร้างพระเจดีย์ใหญ่เฉลิม พระเกียรติที่ตำบลหนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี และที่วัดเจ้าพระยาไทย ให้เป็นคู่กับเจดีย์ภูเขาทองที่พระเจ้าหงสาวดีสร้างไว้พระเจดีย์นี้มีขนาดสูงใหญ่ทรง ระฆัง  ( ปัจจุบันสูงประมาณ  60   เมตร )  ขนาดนามว่า พระเจดีย์ชัยมงคลแต่เรียกเป็นชื่อสามัญว่า พระเจดีย์ใหญ่ต่อมาจึงเรียกชื่อวัดนี้อีกชื่อหนึ่งว่า วัดใหญ่ชัยมงคล  วัดเจ้าพญาไท หรือ วัดใหญ่ไชยมงคล
วัดกษัตราธิราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดโบราณ ปรากฏหลักฐานมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ  " วัดกระษัตรา "  โดยความหมายของวัดสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นวัดของพระมหากษัตริย์ในตำบล ที่ตั้งป้อมจำปาพล นอกพระนครฝั่ง ตะวันตก ส่วนด้านหลังวัดมีทุ่งกว้างเรียกว่า  " ทุ่งประเชต "  ซึ่งเป็นที่ตั้งกองทัพพม่าในการเข้าโจมตีกรุงศีอยุธยาหลายครั้ง ก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ . ศ . 2310   นั้น วัดกษัตราธิราช เป็นบริเวณที่กองทัพพม่าใช้เป็นสถานที่ตั้งมั่นในการเข้า ตีพระนคร ภายหลังวัดถูกทำลายลงไปมากและทิ้งร้างในที่สุด เมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีแห่งราชวงศ์จักรีแล้ว ในสมัยรัชกาลที่  1   สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์  ( ทองอิน )  กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข ซึ่งเป็นพระเจ้าหลานเธอในสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ คงจะได้ทันทอดพระเนตรเห็นวัดกษัตราธิราช วัดสำคัญในสมัยนั้นถูกทำลายจนสิ้น ร้างไป จึงโปรดให้บูรณะโดยเริ่มบูรณะพร้อมกับวัดในกรุงเทพมหานคร เช่น วัดบพิตรภิมุข และวัดธรรมาราม ในอยุธยาด้วย ทำให้วัดกษัตราธิราชวรวิหารกลับมาเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาตั้งแต่นั้นมา ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่  2   สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์  ( เกศ )  ต้นราชสกุล อิศรางกูร ทรงมีศรัทธา ปฏิสังขรณ์พระอาราม ตั้งแต่พระอุโบสถ ตลอดจนเสนาสนะทั้งปวงเรื่อยมา  วัดกษัตราธิราชวรวิหาร
สมเด็จพระราเมศวรทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดภูเขาทองเมื่อ พ . ศ . 1930   ณ ทุ่งฝั่งตะวันออกทางด้านเหนือ ห่างจากพระราชวังไปประมาณ  2   กิโลเมตร ต่อมาใน พ . ศ . 2112   พระเจ้าหงสาวดีมีชัยชนะต่อกรุงศรีอยุธยา จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์ใหญ่ขึ้น ที่วัดนี้ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ครั้นรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรพระอารามและพระเจดีย์ใหญ่ซึ่ง หักพังลงมาก่อนหน้าแล้ว แต่ทรงให้เปลี่ยนรูป เจดีย์ทำเป็นรูปย่อเหลื่ยมไม้สิบสอง  วัดภูเขาทอง
พระที่นั่งเพนียดองค์นี้ เป็นที่สำหรับพระราชาธิบดีประทับทอด พระเนตรการจับช้างเถื่อนในเพนียดซึ่งนำมา ใช้ประโยชน์ในราชการทั้งในเวลาปกติและในเวลาสงคราม การจับช้างเถื่อนนี้ ถ้าหากมีแขกบ้านแขกเมืองเข้ามา ในฤดูที่พอจะจับช้าง ให้แขกเมืองชมทุกคราวไป ดังเช่นปรากฏในจดหมายเหตุของเชวาเลีย เดอโชมองต ์ ราชฑูตฝรั่งเศส ที่เข้ามาในแผ่นดินสมเด็จ พระนารายณ์มหาราชโปรดให้ชมการจับช้างเถื่อนที่เพนียด เมืองลพบุรีครั้งนี้ ในรัชกาลที่  5   ซึ่งเป็นรัชกาล สุดท้ายที่พระราชาธิบดีแห่งประเทศไทย โปรดให้มีการจับช้างเถื่อน พระที่นั่งเพนียด และตัวเพนียดที่ยังคงเหลือ ซากอยู่ในปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้ซ่อมครั้งหนึ่ง ต่อมาพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้กรมหลวงเทพพลภักดิ์เป็นแม่กอง ออกไปซ่อมอีกครั้งหนึ่ง ถึงรัชกาลที่  5   พระที่นั่งนี้ชำรุดจึงโปรดให้ซ่อมอีกครั้ง  พระที่นั่งเพนียด
ตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย ใกล้กับศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ( หลังเก่า )  เยื้องสถาบันราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นเมื่อ พ . ศ . 2502   โดยใช้เงินที่ประชาชนเช่า พระพิมพ์ซึ่งขุดได้จาก กรุวัดราชบูรณะ ที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่  2  ( เจ้าสามพระยา )  ทรงสร้าง จึงให้ชื่อว่า  " เจ้าสามพระยา "  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่ง นี้เมื่อปี พ . ศ . 2504   พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยาเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งแรกของประเทศไทยที่ มีรูปแบบการจัดแสดงแผนใหม่ คือ นำโบราณวัตถุมาจัดแสดงไม่มากจนแน่น และได้นำ เสนอดูน่าสนใจมาก สภาพอาคารเป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ สิ่งที่น่าสนใจ ได้แก่ พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท เป็นพระพุทธรูป สมัยทวารวดีที่เคยประดิษฐานในซุ้ม พระสถูปโบราณวัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม ซึ่งกรมศิลปากรได้พยายามติดตาม ชิ้นส่วนต่าง ๆ ขององค์พระที่กระจัดกระจายไปอยู่ในที่ต่าง ๆ มาประกอบ ขึ้นเป็นองค์พระได้อย่างสมบูรณ์นับว่าเป็น พระพุทธรูปที่มีค่ามากองค์หนึ่ง พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยาเปิดให้ชมทุกวัน เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา  09.00   น . -  16.00   น .  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก มุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเมือง ใกล้ตลาดหัวรอ สร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครั้งยังทรงเป็นมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก เมื่อ พ . ศ . 2112   เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระยุพราช และพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ เมื่อคราวเสียกรุงในปี พ . ศ . 2310   วังนี้ได้ถูกข้าศึกเผาทำลายเสียหายมาก และถูกทิ้งร้าง จนถึงรัชกาลที่  4   แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดให้ซ่อมพระที่นั่งพิมานรัตยา และพลับพลาจตุรมุขไว้เป็นที่ประทับ เมื่อเสด็จพระพาสพระนครศรีอยุธยา และสมัยรัชกาลที่  7   โปรดให้เปลื่ยนเป็น ศาลากลางจังหวัด จนกระทั่งได้สร้างศาลากลางใหม่แล้ว กรมศิลปากร จึงได้ใช้เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจนถึงปัจจุบันนี้เปิดให้เข้าชมทุกวันเว้นวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดขักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา  09.00   น . -  16.00   น .  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษมหรือวังหน้า
ประกอบด้วยอาคารหลัก ตั้งอยู่บนถนนโรจนะ ติดกับวิทยาครูพระนครศรีอยุธยาในเกาะตัวเมือง และอาคารผนวก ตั้งอยู่ ณ บริเวณเคยเป็น หมู่บ้านญี่ปุ่น ต .  เกาะเรียน ศูนย์ฯ นี้เป็นสถาบันวิจัยแห่งชาติด้านอยุธยาศึกษา โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ไทย สมัยที่พระนครศรีอยุธยาเป็น ราชธานี เป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์อยุธยา ซึ่งแสดงสิ่งจำลองที่ได้มาจาก การค้นคว้าวิจัย โดยใช้วิธีการและเทคโนโลยีของการจัดพิพิธภัณฑ์ และการจัดแสดงนิทรรศการสมัยใหม่ รวมทั้งเป็น ศูนย์ข้อมูลและห้องสมุดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อยุธยาด้วย เปิดทำการทุกวัน เว้น วันจันทร์ อังคาร เวลา  9.00-16.30   น .  วันหยุดปิดเวลา  17.00   น .  ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา
อยู่ริมแม่น้ำป่าสักฝั่งทิศตะวันออก ตำบลนครหลวง เป็นที่ประทับในระหว่างเสด็จไปพระพุทธบาทที่สระบุรี และเป็นที่ประทับแรมในระหว่างเสด็จลพบุรี สันนิษฐานว่าสร้างในรัชกาล สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม แต่มาสร้าง เป็นที่ประทับก่ออิฐถือปูนในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ในแผ่นดินนี้พระองค์โปรดฯ ให้ช่างไป ถ่ายแบบ ปราสาทศิลาที่เรียกว่า  " พระนครหลวง "  ในกรุงกัมพูชา เมื่อ พ . ศ . 2174   มาสร้างใกล้วัดเทพจันทร์ เพื่อเป็นการเฉลิม พระเกียรติที่ได้กรุงกัมพูชากลับมาเป็นประเทศราชอีก แต่สร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ด้วย ประการใดไม่ปรากฏ ต่อมา จึงมีผู้สร้างมณฑปและพระบาทสี่ร้อยขึ้นบนประสาทนี้ ส่วนตำหนักที่สร้าง ข้างปราสาทนี้ได้ปรักหักพังหมดแล้ว  ตำหนักพระนครหลวง
เกาะบางปะอินอยู่ห่างจากเกาะเมือง ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดพระ นครศรีอยุธยาออกไป  40   กิโลเมตร คือ จากตัวจังหวัดไปตามถนน พหลโยธิน เลี้ยวขวาเข้าทางแยกตรง กม .  ที่  35   เลี้ยวเข้าไป  7   กิโลเมตร ก็จะถึง พระราชวังบางปะอิน อัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่  30   บาท เด็ก - นิสิต -  นักศึกษา -  ภิกษุ - สามเณร  20   บาท นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ  50   บาท  โบราณสถานในเกาะบางปะอิน
ที่ตั้งของวัดนิเวศธรรมประวัติเป็นเกาะกลางแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ตรงกับพระราชวังบางปะอิน พระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ คือโบสถ์ฝรั่ง แต่เป็นโบสถ์ฝรั่งแบบเก่าๆ ที่พบเห็นได้ทั่วไปในยุโรป การตกแต่งภายในเป็นแบบฝรั่ง แม้แต่ฐานที่ประดิษฐาน พระประธาน คือพระพุทธนฤมลธรรมโมภาสและพระสาวกก็ไม่ได้ทำเป็นฐานชุกชีอย่างในโบสถ์ทั่วไป แต่ทำเหมือนที่ตั้งไม้กางเขนในโบสถ์คริสต์ช่องหน้าต่างที่เจาะไว้ก็เป็น หน้าต่างโค้งที่ฝาผนังโบสถ์ด้านหน้า พระประธานจะเห็นภาพประดิษฐ์กระจกสีเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชการที่  5   งามชนิดที่ไม่เคยเห็นที่ใดในเมืองไทย ด้านขวามือของอุโบสถสร้างเหมือนปราสาทเจ้าหญิงในเทพนิยายฝรั่ง คือหอพระคันธารราษฎร์เป็นหอประดิษฐานพระพุทธศิลาเก่าแก่นับพันปี พระนาคปรกนี้อยู่ติดกับต้นพระศรีมหาโพธิ์ใหญ่ ที่แผ่กิ่งก้านไปทั่วบริเวณหน้าพระอุโบสถ ถัดไปเป็นหมู่ศิลามีประวัติความสำคัญเกี่ยวข้องกับสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาของประวัติศาสตร์ไทยในฐานะที่เป็นที่ตั้งโรงเรียนประชาบาลหลังแรกในประเทศไทย สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงผนวชที่วัดนิเวศธรรมประวัติ ตำหนักที่ประทับจำพรรษาของพระองค์ยังปรากฏอยู่ทุกวันนี้ เรียกกันว่าตำหนักสมเด็จ ในระหว่างทรงผนวชและจำพรรษาอยู่ที่วัดนิเวศธรรมประวัติ ทรงนิพนธ์หนังสือแบบเรียนเล่มหนึ่งขึ้น แล้วทรงออกสอนนักเรียนที่เป็นลูกชาวบ้านละแวกนั้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ปัจจุบันที่ข้างพระอุโบสถมีหมู่ก้อนศิลาใหญ่น้อยและ พระธรรมเจดีย์เป็นที่บรรจุพระอัติเจ้าจอมมารดาชุ่มพระสนมเอก สมัยรัชกาลที่  4   เจ้าจอมมารดาของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ  วัดนิเวศธรรมประวัติ                                
จัดตั้งขึ้นในเขตที่ดินปฏิรูปเพื่อการเกษตร ตำบลช้างใหญ่ อำเภอบางไทร มีเนื้อที่ทั้งหมดเกือบ  1,000   ไร่ ศูนย์ศิลปาชีพนี้มุ่ง ฝึกอบรมอาชีพเกี่ยวกับ งานศิลปหัตถกรรมต่าง ๆ วิชาที่สอนให้แก่เกษตรกร ได้แก่ การประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากเส้นใย พืช การแกะสลัก การทำตุ๊กตา การประดิษฐ์ ดอกไม้เทียม การทำเครื่องเรือน การทอผ้า การย้อมสี และผลิตภัณฑ์จาก ผ้า ผลิตภัณฑ์ที่เสร็จแล้วมีจำหน่ายที่ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ การเดินทางไปยังศูนย์ฯ สามารถไปทางเรือตามลำน้ำ เจ้าพระยา มาขึ้นที่ท่าของศูนย์ หรือไปทางรถยนต์ เมื่อถึงอำเภอบางปะอินแล้วมีทางแยก เข้าสู่สายบางไทร - สามโคก ระยะทาง  24   กิโลเมตร ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร เปิดให้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ และวังปลาจะปิดเฉพาะวันจันทร์ และวันอังคาร  ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
วัดราชบูรณะตั้งอยู่ข้างวัดมหาธาตุ สร้างขึ้นใน สมัยสมเด็จ พระบรมราชาธิราชที่  2  ( เจ้าสมพระยา )  เมื่อ พ . ศ . 1967   ตรงบริเวณถวาย พระเพลิงศพเจ้าอ้ายพระยา และเจ้ายี่พระยา พระเชษฐาของพระองค์ ซึ่งทรงกระทำ ยุทธหัตถีแย่งชิงราชสมบัติจนสิ้นพระชนม์ สถานที่ กระทำยุทธหัตถีเชิงสะพานป่าถ่าน อันเป็นจุดกึ่งกลาง วัดมหาธาตุและวัดราชบูรณะ ก็โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์ขึ้น  2   องค์ ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงรากฐาน วัดราชบูรณะมีสิ่งก่อ สร้างที่น่าสนใจหลายแห่ง ได้แก่ ซุ้มประตูใหญ่หน้าวัดซึ่งเป็นศิลปะอยุธยาตอนปลาย วิหารหลวงที่เจาะพนังแทน ช่องหน้าต่างตามแบบ ศิลปะอยุธยาตอนกลาง พระปรางค์ประธานประดับปูนปั้นรูปครุฑ ยักษ์ ลิง และสิงห์ พระปรางค์องค์นี้ภาย ในมีกรุ  2   ชั้น ซึ่ง ขุดพบเครื่องราชูปโภคทองคำ พระพุทธรูป และพระพิมพ์ต่าง ๆ ในปัจจุบันจัดแสดง อยู่ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา  วัดราชบูรณะ
สมเด็จพระราเมศวร โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดพระราม ขึ้นตรงบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระรามาธิบดีที่  1  ( พระเจ้าอู่ทอง )  พระราชบิดา เมื่อ พ . ศ . 1912   ต่อมาได้มีการปฏิสังขรณ์ วัดนี้ในสมัยสมเด็จ พระบรมไตร โลกนาถ และอีกครั้งหนึ่งในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ จึงเป็นฝีมือช่างสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในปัจจุบัน วัดพระรามอยู่ติดกับบึงพระราม ซึ่งเดิมเรียกว่า หนองโสน ใกล้กับพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระรามาธิบดีที่  1  ( พระเจ้าอู่ทอง )  และอยู่ทางทิศตะวันออกของวิหารพระมงคลบพิตร ภายในวัดยังปรากฎซากวิหารใหญ่ องค์พระปรางค์ที่มีระเบียงโอบล้อม มีพระพุทธรูปศิลาปรักหักพังตั้งเรียงรายโดยรอบ และมีพระอุโบสถอยู่ทางทิศเหนือ  วัดพระราม
ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระราชวังหลวง ตามตำนานกล่าวว่า พระยาธรรมิกราช พระราชบุตรพระเจ้าสายน้ำผึ้ง ได้เสวยราชย์ และสร้างวัดมุขราช ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยน ชื่อตามผู้สร้างเป็นวัดธรรมิกราช ไม่พบหลักฐานว่าสร้างในปีใด แต่คงจะเป็นวัดเก่าแก่ สมัยเดียว กับวัดพนัญเชิง เป็นวัดที่ตั้งอยู่ติดขอบเขต กำแพงพระราชวังหลวง ซึ่งต่อมา ยกเป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์ ภายในวัดมีวิหารทรงธรรมซึ่งมีขนาดใหญ่มากตั้งอยู่ บนเนินสูง เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป สำคัญที่มีขนาดใหญ่เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัย อู่ทองที่งดงามมาก ปัจจุบันเหลือเพียงพระเศียร และเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำหรับพระเจดีย์ประธานเป็นทรงระฆัง แบบลังกามีปูนปั้นสิงห์ยืนอยู่โดยรอบและมีพระเจดีย์ขนาดย่อมและขนาดเล็กอีก  13   องค์ ในวิหารพระนอนประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ ที่ฝ่าพระบาทมีรอยพระพุทธบาท ปิดทองประดับกระจก  วัดธรรมิกราช
พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงมีน้ำพระราชหฤทัย มุ่งที่จะเทิดทูนพระเกียรติคุณ และพระมหาวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ของ สมเด็จพระสุริโยทัย ให้ปรากฏเป็นอนุสรณ์แห่งศักดิ์และศรีจารึกเกียรติประวัติ   อยู่คู่ชาติไทยตราบชั่วกาลนาน คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่  21  มิถุนายน  2531   เห็นชอบให้ดำเนินการก่อสร้างพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระสุริโยทัยเฉลิมพระเกียรติในฐานะมหาวีรกษัตริย์ของชาติไทย ณ สถานที่เหตุการณ์ใน ประวัติศาสตร์ ทุ่งมะขามหย่อง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา  5   รอบ พุทธศักราช  2535   โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบในการก่อสร้าง พื้นที่  250   ไร่ เป็นพื้นที่กักเก็บน้ำ  100   ไร่ ต่อมาได้มีพระราชดำริให้ขยายพื้นที่กักเก็บน้ำ  158   ไร่ ความจุน้ำประมาณ  1,080,000   ลูกบาศก์เมตร  พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย
โครงการก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ก่อสร้างบริเวณทุ่งภูเขาทอง ในเนื้อที่  543   ไร่ ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศเหนือตา มถนนสายอยุธยา - ป่าโมก - อ่างทอง เพียง  3   กิโลเมตร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเทิดพระเกียรติและเป็นอนุสรณ์แด ่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในมหามงคลเฉลิมฉลอง ทรงครองราชย์สมบัติครบ  50   ปี เพื่อนุรักษ์บริเวณประวัติศาสตร์และโบราณสถาน และเพื่อเป็น จุดท่องเที่ยวของจังหวัด พื้นที่ประกอบด้วย พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาาช องค์พระบรมรูปขนาด  3   เท่า ทรงม้า แท่นฐาน และลานบันได้เป็นหินอ่อนและหินแกรนิต ภาพนูนต่ำบรรยายพระราชประวัติ จำนวน  11   ภาพ อาคารพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช อ่างเก็บน้ำความจุประมาณ  2   ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นสถานที่ท่องเที่ยว เพื่อการพักผ่อน และมีการปลูกสวนป่า เพื่อเป็นพื้นที่สีเขียว  พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช                                                       

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

เมืองน่าน
เมืองน่านเมืองน่าน
เมืองน่านkrunoony
 
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรีพัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรีพัน พัน
 
หอเกียรติยศ
หอเกียรติยศหอเกียรติยศ
หอเกียรติยศleemeanxun
 
เอกสารประกอบการเรียน อาณาจักรธนบุรี
เอกสารประกอบการเรียน อาณาจักรธนบุรีเอกสารประกอบการเรียน อาณาจักรธนบุรี
เอกสารประกอบการเรียน อาณาจักรธนบุรีพัน พัน
 
แผ่นพับ
แผ่นพับแผ่นพับ
แผ่นพับnuttawon
 
Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57
Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57
Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57Pracha Wongsrida
 
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรีพัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรีพัน พัน
 
พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601
พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601
พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601Princess Chulabhorn's College, Chiang Rai Thailand
 
07อาณาจักรอยุธยา
07อาณาจักรอยุธยา07อาณาจักรอยุธยา
07อาณาจักรอยุธยาJulPcc CR
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1Sai Khunchanok
 
สุนทรภู่12
สุนทรภู่12สุนทรภู่12
สุนทรภู่12sudaapui
 

La actualidad más candente (18)

เมืองน่าน
เมืองน่านเมืองน่าน
เมืองน่าน
 
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรีพัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
 
หอเกียรติยศ
หอเกียรติยศหอเกียรติยศ
หอเกียรติยศ
 
Ita
ItaIta
Ita
 
เอกสารประกอบการเรียน อาณาจักรธนบุรี
เอกสารประกอบการเรียน อาณาจักรธนบุรีเอกสารประกอบการเรียน อาณาจักรธนบุรี
เอกสารประกอบการเรียน อาณาจักรธนบุรี
 
แผ่นพับ
แผ่นพับแผ่นพับ
แผ่นพับ
 
Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57
Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57
Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57
 
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรีพัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
 
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยาพัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
 
วัด
วัดวัด
วัด
 
Sss
SssSss
Sss
 
พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601
พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601
พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601
 
07อาณาจักรอยุธยา
07อาณาจักรอยุธยา07อาณาจักรอยุธยา
07อาณาจักรอยุธยา
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1
 
อยุธยา
อยุธยาอยุธยา
อยุธยา
 
Nuin
NuinNuin
Nuin
 
Key of sheet 8 56x
Key of sheet 8 56xKey of sheet 8 56x
Key of sheet 8 56x
 
สุนทรภู่12
สุนทรภู่12สุนทรภู่12
สุนทรภู่12
 

Similar a สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

วัดพระศรี..
วัดพระศรี..วัดพระศรี..
วัดพระศรี..yuparat4118
 
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม 4121
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม 4121วัดพระศรีรัตนศาสดาราม 4121
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม 4121marut4121
 
ภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอกภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอกMakuro DarkSoul
 
ภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอกภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอกMakuro DarkSoul
 
วัดพนัญเชิง
วัดพนัญเชิงวัดพนัญเชิง
วัดพนัญเชิงMewwwww
 
วัดโพธิ์
วัดโพธิ์วัดโพธิ์
วัดโพธิ์suriya phosri
 
วัดในบางกอก ม.๓ห้อง๙ วิชาภูมิปัญญาบางกอก อ.นภัสสรณ์
วัดในบางกอก ม.๓ห้อง๙ วิชาภูมิปัญญาบางกอก อ.นภัสสรณ์วัดในบางกอก ม.๓ห้อง๙ วิชาภูมิปัญญาบางกอก อ.นภัสสรณ์
วัดในบางกอก ม.๓ห้อง๙ วิชาภูมิปัญญาบางกอก อ.นภัสสรณ์ไนซ์ ไนซ์
 
วัดโบราณในไทย
วัดโบราณในไทยวัดโบราณในไทย
วัดโบราณในไทยchanaporn sornnuwat
 
วัดในบางกอก ม.๓ห้อง๙ วิชาภูมิปัญญาบางกอก อ.นภัสสรณ์
วัดในบางกอก ม.๓ห้อง๙ วิชาภูมิปัญญาบางกอก อ.นภัสสรณ์วัดในบางกอก ม.๓ห้อง๙ วิชาภูมิปัญญาบางกอก อ.นภัสสรณ์
วัดในบางกอก ม.๓ห้อง๙ วิชาภูมิปัญญาบางกอก อ.นภัสสรณ์ไนซ์ ไนซ์
 
วัดในบางกอก ม.๓ห้อง๙ วิชาภูมิปัญญาบางกอก อ.นภัสสรณ์
วัดในบางกอก ม.๓ห้อง๙ วิชาภูมิปัญญาบางกอก อ.นภัสสรณ์วัดในบางกอก ม.๓ห้อง๙ วิชาภูมิปัญญาบางกอก อ.นภัสสรณ์
วัดในบางกอก ม.๓ห้อง๙ วิชาภูมิปัญญาบางกอก อ.นภัสสรณ์ไนซ์ ไนซ์
 
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหารวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหารPRINTT
 
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหารวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหารzubasa_potato
 
การท่องเที่ยวในประเทศมาเลเฃีย
การท่องเที่ยวในประเทศมาเลเฃียการท่องเที่ยวในประเทศมาเลเฃีย
การท่องเที่ยวในประเทศมาเลเฃียArm Thaddanai
 

Similar a สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (20)

วัดพระศรี..
วัดพระศรี..วัดพระศรี..
วัดพระศรี..
 
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม 4121
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม 4121วัดพระศรีรัตนศาสดาราม 4121
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม 4121
 
ภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอกภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอก
 
ภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอกภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอก
 
วัดพนัญเชิง
วัดพนัญเชิงวัดพนัญเชิง
วัดพนัญเชิง
 
Bangkok
BangkokBangkok
Bangkok
 
Bangkok
BangkokBangkok
Bangkok
 
Bangkok
BangkokBangkok
Bangkok
 
วัดโพธิ์
วัดโพธิ์วัดโพธิ์
วัดโพธิ์
 
วัดในบางกอก ม.๓ห้อง๙ วิชาภูมิปัญญาบางกอก อ.นภัสสรณ์
วัดในบางกอก ม.๓ห้อง๙ วิชาภูมิปัญญาบางกอก อ.นภัสสรณ์วัดในบางกอก ม.๓ห้อง๙ วิชาภูมิปัญญาบางกอก อ.นภัสสรณ์
วัดในบางกอก ม.๓ห้อง๙ วิชาภูมิปัญญาบางกอก อ.นภัสสรณ์
 
วัดโบราณในไทย
วัดโบราณในไทยวัดโบราณในไทย
วัดโบราณในไทย
 
วัดในบางกอก ม.๓ห้อง๙ วิชาภูมิปัญญาบางกอก อ.นภัสสรณ์
วัดในบางกอก ม.๓ห้อง๙ วิชาภูมิปัญญาบางกอก อ.นภัสสรณ์วัดในบางกอก ม.๓ห้อง๙ วิชาภูมิปัญญาบางกอก อ.นภัสสรณ์
วัดในบางกอก ม.๓ห้อง๙ วิชาภูมิปัญญาบางกอก อ.นภัสสรณ์
 
วัดในบางกอก ม.๓ห้อง๙ วิชาภูมิปัญญาบางกอก อ.นภัสสรณ์
วัดในบางกอก ม.๓ห้อง๙ วิชาภูมิปัญญาบางกอก อ.นภัสสรณ์วัดในบางกอก ม.๓ห้อง๙ วิชาภูมิปัญญาบางกอก อ.นภัสสรณ์
วัดในบางกอก ม.๓ห้อง๙ วิชาภูมิปัญญาบางกอก อ.นภัสสรณ์
 
Bangkok
BangkokBangkok
Bangkok
 
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหารวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
 
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหารวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
 
Bangkok
BangkokBangkok
Bangkok
 
Bangkok
BangkokBangkok
Bangkok
 
Bangkok
BangkokBangkok
Bangkok
 
การท่องเที่ยวในประเทศมาเลเฃีย
การท่องเที่ยวในประเทศมาเลเฃียการท่องเที่ยวในประเทศมาเลเฃีย
การท่องเที่ยวในประเทศมาเลเฃีย
 

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

  • 2. วัดหน้าพระเมรุ พระองค์อินทร์ ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสร้างวัดหน้าพระเมรุเมื่อ พ . ศ . 2046 เดิมชื่อ วัดเมรุราชิการาม อยู่ริมสระบัว ตรงข้ามพระราชวังหลวง ครั้งแผ่นดินพระมหา จักพรรดิ์ได้ทรง ตั้งพลับพลาระหว่างวัดหน้าพระเมรุและวัดหัสดาวาสเป็นที่ทำสัญญาสงบศึกกับ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง สถาปัตยกรรมของวัดอยู่ในสมัยอยุธยาตอนต้นคือ พระอุโบสถไม่มี หน้าต่างแต่เจาะช่องไว้เป็นลูกกรง พระประธานเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ทรง เครื่องปราง มารวิชัย งดงามเป็นที่ยิ่ง หน้าบันไม้สักลงรักปิด ทองสลักรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ หยุดเศียรนาคหน้าราหูล้อมรอบด้วยหมู่เทพพนม 26 องค์ ตรงอาสนสงฆ์มีจารึก เป็นกาพย์ ์สุภาพและกาพย์ยานี วัดหน้าพระเมรุได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า   เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วิหารน้อยหรือ วิหารเขียน มีบานประตูไม้แกะสลักฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในเคยมีจิตรกรรมฝาผนังโดยรอบปัจจุบันลบเลือนมาก และมีพระพุทธรูปประทับห้อย พระบาทสมัยทวารวดีประดิษฐานอย
  • 3.      เป็นเรือนไทยทรงโบราณมีอยู่ 5 หลัง อยู่ทางทิศใต้ของพระวิหารพระมงคลบพิตร หันหน้าสู่ถนนศรีสรรเพชญ์และถนนป่าตอง ตำบลประตูชัย ชื่อ คุ้มขุนแผน มิได้มุ่งหมายสร้างให้เป็นอนุสรณ์แก่ขุนแผน ในวรรณคดีแต่อย่างใด ความประสงค์ที่แท้จริงสร้างไว้เพื่อคนรุ่นหลังได้เห็น และได้ศึกษารูปบ้านไทยในชนบท สมัยโบราณมีรูปทรงอย่างไร เช่น เรือนเอก เรือนโท หอพระ ครัวไฟ                                 คุ้มขุนแผน  
  • 4. วัดพนัญเชิง      อยู่ริมแม่น้ำทางด้านทิศใต้ของพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดที่มีมาก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา   เดิมใครเป็นผู้สร้างไม่ปรากฏหลักฐาน พระพุทธรูปซึ่งเป็น พระประธานในพระวิหาร นั้นชื่อ   " พระเจ้าพนัญเชิง " สร้างขึ้นเมื่อ พ . ศ 1867 ในปี พ . ศ 2397 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบูรณะใหม่ทั้งองค์ และถวายพระนามว่า " พระพุทธไตรรัตนนายก " นับเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยที่มีอายุมากที่สุด และใหญ่ที่สุดในประเทศไทยหน้าตักกว้าง 20.17 เมตร และสูงจากชายพระชงฆ์ถึง พระรัศมี 19 เมตร
  • 5. อยู่ริมแม่น้ำฝั่งเดียวกับวัดพุทไธสวรรค์ แต่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเกาะเมือง พระเจ้าปราสาททอง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดไชยวัฒนารามขึ้นในปี พ . ศ . 2173 เพื่ออุทิศวายให้เป็นอนุสรณ์สถาน ณ บ้านเดิมของพระราชมารดาและเพื่อเฉลิม พระเกียรติในการเสด็จขึ้นครองราชย์ด้วยทรงมีพระราชนิยมศิลปะแบบขอม วัดนี้จึงมีสถาปัยกรรมรูปปรางค์ ประกอบด้วย   พระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุเป็นองค์ประธานสูงเด่นอยู่ท่ามกลาง ปรางค์ทิศและปรางค์รายทั้ง 8 ทิศ สันนิษฐานว่า แต่เดิมในคูหาปรางค์ประธาน   เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาต ุหรือ   สิ่งอันควรบูชาอื่น ๆ   พระอุโบสถวัด อยู่ทางด้านตะวันออกของพระปรางค์ มีซากพระประธานเป็น พระพุทธรูปปรางค์มารวิชัย สร้างด้วยหินทราย และที่ฐานประทักษิณด้านทิศเหนือมีฐานรากของเจดีย์ 3 องค์ ตั้งเรียงกัน สันนิษฐานว่าเป็นที่บรรจุพระอัฐิเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร ( เจ้าฟ้ากุ้ง รัตนกวีแห่งกรุงศรีอยุธยา )   เจ้าสังวาลย์ และเจ้าฟ้านิ่มพระสนมเอก ในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ   ปัจจุบันเป็นวัดร้าง แต่ยังมีพระปรางค์ ใหญ่และเจดีย์รายตามมุมคงเหลืออยู่และรูปทรงยังสมบูรณ์ดีเป็นส่วนมาก วัดไชยวัฒนาราม
  • 6. พระราชวังหลวงหรือพระราชวังโบราณ พระราชวังหลวงที่ปรากฏในพระนครศรีอยุธยาปัจจุบันคงเหลือแต่ฐาน อาคารให้เห็น เท่านั้นสันนิษฐานว่า พระเจ้าอู่ทองสร้างพระราชวังตั้งแต่เมื่อครั้งประทับอยู่ที่เวียงเล็ก เมื่อ พ . ศ . 1890 และเมื่อสร้างกรุงเสร็จใน พ . ศ . 1893 จึงย้ายมาประทับที่พระราชวังใหม่ริม หนองโสน พระที่นั่งต่างๆ ในครั้งแรกนี้สร้างด้วยไม้อยู่ในบริเวณซึ่งปัจจุบันเป็น วัดพระศรีสรรเพชญ์ ต่อมาเมื่อ พ . ศ . 1991 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงถวายที่บริเวณ พระราชวังเดิมสร้างเป็นวัด ในเขต พระราชวัง เรียกว่า " วัดพระศรีสรรเพชญ์ " แล้วทรงสร้าง พระราชวังหลวงใหม่เลื่อนไปทางทิศเหนือ ชิดริมแม่น้ำลพบุรี พระที่นั่งต่างๆ ในเขตพระราชวังหลวงหรือที่เรียกในปัจจุบันว่า พระราชวังโบราณ เดิมเป็นที่ประทับของ พระมหากษัตริย์อยุธยาทุกรัชกาล ตั้งอยู่ริมกำแพงพระนครศรีอยุธยาทางด้านเหนือ มีถนนสายรอบ กรุงผ่านจากวังจันทรเกษมไปเพียง 2 กิโลเมตร เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่ เวลา 08.30 น . - 16.30 น . รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ โทร . 035-242284
  • 7. วิหารพระมงคลบพิตร พระมงคลบพิตร เป็นพระพุทธรูปอิฐบุทองสัมฤทธิ์สีดำตลอดองค์ เพราะเคลือบรักไว้ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระไชยราชา ราว พ . ศ . 2081 สำหรับเป็นพระพุทธรูปประจำวัดซีเซียง ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ชลอพระมงคลบพิตรมาไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ และสร้างมณฑปครอบไว้ ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระ เจ้าเสือเกิดฟ้า ผ่าเครื่องมณฑปพังลงมาต้องพระศอหักก็โปรดเกล้าฯ ให้รื้อซากมณฑปสร้างใหม่ และซ่อมพระศอให้เหมือนเดิม จนเมื่อ พ . ศ . 2310 เสียกรุงศรีอยุธยา วิหารพระมงคลบพิตรถูกไฟไหม้ทรุดโทรม พระเมาฬี และพระกรขวา หัก ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระยาโบราณราชธานินทร์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง สมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยาได้ซ่อมองค์พระด้วยปูนปั้น และในปี พ . ศ . 2535 วิหารพระมงคลบพิตรทั้งองค์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่มีขนาดใหญ่มาก ที่สุดองค์หนึ่งของประเทศไทย
  • 8. วัดพุทไธสวรรค์ ในราว พ . ศ . 1896 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ( พระเจ้าอู่ทอง ) ทรงสถาปนาวัดพุทไธสวรรค์ ขึ้น ณ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อเป็นที่ระลึกถึงตำบลเวียงเหล็กซึ่งเป็นสถานที่ทางพัก ไพร่พลเป็นระยะเวลา 3 ปี หลังจากอพยพหนีโรคระบาดและต่อมาได้ข้ามแม่น้ำมาสร้าง กรุงศรีอยุธยา ที่ตำบลหนองโสน ในปี พ . ศ . 1893 วัดพุทไธสวรรค์มีจุดเด่นที่องค์พระปรางค์ ลักษณะศิลปะแบบขอม งอกงามเป็นที่เชิดชูแก่วัดอย่างมาก บริเวณพระปรางค์ล้อมรอบ ด้วยพระระเบียงที่มีพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทองพระนอน ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์
  • 9. วัดมหาธาตุ วัดมหาธาตุเป็นวัดใหญ่คู่กับวัดราชบูรณะ ในพงศาวดารกล่าวว่า เริ่มสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ( ขุนหลวงพงั่ว ) พ . ศ . 1917 มาแล้วเสร็จในสมัยพระราเมศวร และมีการก่อสร้างบำรุงรักษามาตลอดจนเสียกรุงในปี พ . ศ . 2310 ทำให้มีสิ่งก่อสร้างที่สวยงามและสำคัญอยู่ มากมายโดย เฉพาะวิหารหลวงขนาดใหญ่ที่เจาะผนังเป็นช่องแทนหน้าต่างพระปรางค์ประธาน ของวัดซึ่งเคยเป็นที่ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุเดิมมีความสูงจากฐานถึงยอดประมาณ 50 เมตร และพังลงมาครั้งหนึ่งในสมัยสมเด็จ พระเจ้าทรงธรรม พอถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงให้บูรณะซ่อมแซมจนมีความสูงกว่าที่สร้างครั้งแรก แต่ในปัจจุบันพระปรางค์เหลือเพียงส่วนฐาน เพราะหักพังลงมาอีกครั้งในปี พ . ศ . 2454 รัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
  • 10. เมื่อ พ . ศ . 1900 พระเจ้าอู่ทองทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปลงศพเจ้าแก้วเจ้าไทย ที่ปลงศพ นั้นให้สถาปนาพระเจดีย์และวิหารเป็นพระอารามชื่อ วัดป่าแก้ว และโปรดเกล้าฯ ให้เป็น สำนักสงฆ์เรียกคณะป่าแก้ว ปฎิบัติทางวิปัสสนาธุระ ต่อมาได้ขนาดนามว่า วัดเจ้าพระยาไทย เพราะเป็นที่สถิตของสมเด็จพระวันรัตพระสังฆราช ฝ่ายขวา ซึ่งในสมัยโบราณเรียกพระสงฆ์ว่า เจ้าไทย ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พ . ศ . 2135 ทรงได้ชัยชนะใน การทำยุทธหัตถึ สมเด็จพระวันรัตวัดป่าแก้ว ซึ่งขอพระราชทานอภัยโทษแก่นายทัพนายกอง ที่ตามเสด็จไม่ทันได้กราบ บังคมทูลให้ทรงสร้างพระเจดีย์ใหญ่เฉลิม พระเกียรติที่ตำบลหนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี และที่วัดเจ้าพระยาไทย ให้เป็นคู่กับเจดีย์ภูเขาทองที่พระเจ้าหงสาวดีสร้างไว้พระเจดีย์นี้มีขนาดสูงใหญ่ทรง ระฆัง ( ปัจจุบันสูงประมาณ 60 เมตร ) ขนาดนามว่า พระเจดีย์ชัยมงคลแต่เรียกเป็นชื่อสามัญว่า พระเจดีย์ใหญ่ต่อมาจึงเรียกชื่อวัดนี้อีกชื่อหนึ่งว่า วัดใหญ่ชัยมงคล วัดเจ้าพญาไท หรือ วัดใหญ่ไชยมงคล
  • 11. วัดกษัตราธิราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดโบราณ ปรากฏหลักฐานมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ " วัดกระษัตรา " โดยความหมายของวัดสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นวัดของพระมหากษัตริย์ในตำบล ที่ตั้งป้อมจำปาพล นอกพระนครฝั่ง ตะวันตก ส่วนด้านหลังวัดมีทุ่งกว้างเรียกว่า " ทุ่งประเชต " ซึ่งเป็นที่ตั้งกองทัพพม่าในการเข้าโจมตีกรุงศีอยุธยาหลายครั้ง ก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ . ศ . 2310 นั้น วัดกษัตราธิราช เป็นบริเวณที่กองทัพพม่าใช้เป็นสถานที่ตั้งมั่นในการเข้า ตีพระนคร ภายหลังวัดถูกทำลายลงไปมากและทิ้งร้างในที่สุด เมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีแห่งราชวงศ์จักรีแล้ว ในสมัยรัชกาลที่ 1 สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ( ทองอิน ) กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข ซึ่งเป็นพระเจ้าหลานเธอในสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ คงจะได้ทันทอดพระเนตรเห็นวัดกษัตราธิราช วัดสำคัญในสมัยนั้นถูกทำลายจนสิ้น ร้างไป จึงโปรดให้บูรณะโดยเริ่มบูรณะพร้อมกับวัดในกรุงเทพมหานคร เช่น วัดบพิตรภิมุข และวัดธรรมาราม ในอยุธยาด้วย ทำให้วัดกษัตราธิราชวรวิหารกลับมาเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาตั้งแต่นั้นมา ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ 2 สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ ( เกศ ) ต้นราชสกุล อิศรางกูร ทรงมีศรัทธา ปฏิสังขรณ์พระอาราม ตั้งแต่พระอุโบสถ ตลอดจนเสนาสนะทั้งปวงเรื่อยมา วัดกษัตราธิราชวรวิหาร
  • 12. สมเด็จพระราเมศวรทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดภูเขาทองเมื่อ พ . ศ . 1930 ณ ทุ่งฝั่งตะวันออกทางด้านเหนือ ห่างจากพระราชวังไปประมาณ 2 กิโลเมตร ต่อมาใน พ . ศ . 2112 พระเจ้าหงสาวดีมีชัยชนะต่อกรุงศรีอยุธยา จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์ใหญ่ขึ้น ที่วัดนี้ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ครั้นรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรพระอารามและพระเจดีย์ใหญ่ซึ่ง หักพังลงมาก่อนหน้าแล้ว แต่ทรงให้เปลี่ยนรูป เจดีย์ทำเป็นรูปย่อเหลื่ยมไม้สิบสอง วัดภูเขาทอง
  • 13. พระที่นั่งเพนียดองค์นี้ เป็นที่สำหรับพระราชาธิบดีประทับทอด พระเนตรการจับช้างเถื่อนในเพนียดซึ่งนำมา ใช้ประโยชน์ในราชการทั้งในเวลาปกติและในเวลาสงคราม การจับช้างเถื่อนนี้ ถ้าหากมีแขกบ้านแขกเมืองเข้ามา ในฤดูที่พอจะจับช้าง ให้แขกเมืองชมทุกคราวไป ดังเช่นปรากฏในจดหมายเหตุของเชวาเลีย เดอโชมองต ์ ราชฑูตฝรั่งเศส ที่เข้ามาในแผ่นดินสมเด็จ พระนารายณ์มหาราชโปรดให้ชมการจับช้างเถื่อนที่เพนียด เมืองลพบุรีครั้งนี้ ในรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นรัชกาล สุดท้ายที่พระราชาธิบดีแห่งประเทศไทย โปรดให้มีการจับช้างเถื่อน พระที่นั่งเพนียด และตัวเพนียดที่ยังคงเหลือ ซากอยู่ในปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้ซ่อมครั้งหนึ่ง ต่อมาพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้กรมหลวงเทพพลภักดิ์เป็นแม่กอง ออกไปซ่อมอีกครั้งหนึ่ง ถึงรัชกาลที่ 5 พระที่นั่งนี้ชำรุดจึงโปรดให้ซ่อมอีกครั้ง พระที่นั่งเพนียด
  • 14. ตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย ใกล้กับศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ( หลังเก่า ) เยื้องสถาบันราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นเมื่อ พ . ศ . 2502 โดยใช้เงินที่ประชาชนเช่า พระพิมพ์ซึ่งขุดได้จาก กรุวัดราชบูรณะ ที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ( เจ้าสามพระยา ) ทรงสร้าง จึงให้ชื่อว่า " เจ้าสามพระยา " พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่ง นี้เมื่อปี พ . ศ . 2504 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยาเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งแรกของประเทศไทยที่ มีรูปแบบการจัดแสดงแผนใหม่ คือ นำโบราณวัตถุมาจัดแสดงไม่มากจนแน่น และได้นำ เสนอดูน่าสนใจมาก สภาพอาคารเป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ สิ่งที่น่าสนใจ ได้แก่ พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท เป็นพระพุทธรูป สมัยทวารวดีที่เคยประดิษฐานในซุ้ม พระสถูปโบราณวัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม ซึ่งกรมศิลปากรได้พยายามติดตาม ชิ้นส่วนต่าง ๆ ขององค์พระที่กระจัดกระจายไปอยู่ในที่ต่าง ๆ มาประกอบ ขึ้นเป็นองค์พระได้อย่างสมบูรณ์นับว่าเป็น พระพุทธรูปที่มีค่ามากองค์หนึ่ง พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยาเปิดให้ชมทุกวัน เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 09.00 น . - 16.00 น . พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา
  • 15. ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก มุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเมือง ใกล้ตลาดหัวรอ สร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครั้งยังทรงเป็นมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก เมื่อ พ . ศ . 2112 เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระยุพราช และพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ เมื่อคราวเสียกรุงในปี พ . ศ . 2310 วังนี้ได้ถูกข้าศึกเผาทำลายเสียหายมาก และถูกทิ้งร้าง จนถึงรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดให้ซ่อมพระที่นั่งพิมานรัตยา และพลับพลาจตุรมุขไว้เป็นที่ประทับ เมื่อเสด็จพระพาสพระนครศรีอยุธยา และสมัยรัชกาลที่ 7 โปรดให้เปลื่ยนเป็น ศาลากลางจังหวัด จนกระทั่งได้สร้างศาลากลางใหม่แล้ว กรมศิลปากร จึงได้ใช้เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจนถึงปัจจุบันนี้เปิดให้เข้าชมทุกวันเว้นวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดขักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 09.00 น . - 16.00 น . พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษมหรือวังหน้า
  • 16. ประกอบด้วยอาคารหลัก ตั้งอยู่บนถนนโรจนะ ติดกับวิทยาครูพระนครศรีอยุธยาในเกาะตัวเมือง และอาคารผนวก ตั้งอยู่ ณ บริเวณเคยเป็น หมู่บ้านญี่ปุ่น ต . เกาะเรียน ศูนย์ฯ นี้เป็นสถาบันวิจัยแห่งชาติด้านอยุธยาศึกษา โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ไทย สมัยที่พระนครศรีอยุธยาเป็น ราชธานี เป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์อยุธยา ซึ่งแสดงสิ่งจำลองที่ได้มาจาก การค้นคว้าวิจัย โดยใช้วิธีการและเทคโนโลยีของการจัดพิพิธภัณฑ์ และการจัดแสดงนิทรรศการสมัยใหม่ รวมทั้งเป็น ศูนย์ข้อมูลและห้องสมุดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อยุธยาด้วย เปิดทำการทุกวัน เว้น วันจันทร์ อังคาร เวลา 9.00-16.30 น . วันหยุดปิดเวลา 17.00 น . ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา
  • 17. อยู่ริมแม่น้ำป่าสักฝั่งทิศตะวันออก ตำบลนครหลวง เป็นที่ประทับในระหว่างเสด็จไปพระพุทธบาทที่สระบุรี และเป็นที่ประทับแรมในระหว่างเสด็จลพบุรี สันนิษฐานว่าสร้างในรัชกาล สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม แต่มาสร้าง เป็นที่ประทับก่ออิฐถือปูนในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ในแผ่นดินนี้พระองค์โปรดฯ ให้ช่างไป ถ่ายแบบ ปราสาทศิลาที่เรียกว่า " พระนครหลวง " ในกรุงกัมพูชา เมื่อ พ . ศ . 2174 มาสร้างใกล้วัดเทพจันทร์ เพื่อเป็นการเฉลิม พระเกียรติที่ได้กรุงกัมพูชากลับมาเป็นประเทศราชอีก แต่สร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ด้วย ประการใดไม่ปรากฏ ต่อมา จึงมีผู้สร้างมณฑปและพระบาทสี่ร้อยขึ้นบนประสาทนี้ ส่วนตำหนักที่สร้าง ข้างปราสาทนี้ได้ปรักหักพังหมดแล้ว ตำหนักพระนครหลวง
  • 18. เกาะบางปะอินอยู่ห่างจากเกาะเมือง ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดพระ นครศรีอยุธยาออกไป 40 กิโลเมตร คือ จากตัวจังหวัดไปตามถนน พหลโยธิน เลี้ยวขวาเข้าทางแยกตรง กม . ที่ 35 เลี้ยวเข้าไป 7 กิโลเมตร ก็จะถึง พระราชวังบางปะอิน อัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก - นิสิต - นักศึกษา - ภิกษุ - สามเณร 20 บาท นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ 50 บาท โบราณสถานในเกาะบางปะอิน
  • 19. ที่ตั้งของวัดนิเวศธรรมประวัติเป็นเกาะกลางแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ตรงกับพระราชวังบางปะอิน พระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ คือโบสถ์ฝรั่ง แต่เป็นโบสถ์ฝรั่งแบบเก่าๆ ที่พบเห็นได้ทั่วไปในยุโรป การตกแต่งภายในเป็นแบบฝรั่ง แม้แต่ฐานที่ประดิษฐาน พระประธาน คือพระพุทธนฤมลธรรมโมภาสและพระสาวกก็ไม่ได้ทำเป็นฐานชุกชีอย่างในโบสถ์ทั่วไป แต่ทำเหมือนที่ตั้งไม้กางเขนในโบสถ์คริสต์ช่องหน้าต่างที่เจาะไว้ก็เป็น หน้าต่างโค้งที่ฝาผนังโบสถ์ด้านหน้า พระประธานจะเห็นภาพประดิษฐ์กระจกสีเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชการที่ 5 งามชนิดที่ไม่เคยเห็นที่ใดในเมืองไทย ด้านขวามือของอุโบสถสร้างเหมือนปราสาทเจ้าหญิงในเทพนิยายฝรั่ง คือหอพระคันธารราษฎร์เป็นหอประดิษฐานพระพุทธศิลาเก่าแก่นับพันปี พระนาคปรกนี้อยู่ติดกับต้นพระศรีมหาโพธิ์ใหญ่ ที่แผ่กิ่งก้านไปทั่วบริเวณหน้าพระอุโบสถ ถัดไปเป็นหมู่ศิลามีประวัติความสำคัญเกี่ยวข้องกับสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาของประวัติศาสตร์ไทยในฐานะที่เป็นที่ตั้งโรงเรียนประชาบาลหลังแรกในประเทศไทย สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงผนวชที่วัดนิเวศธรรมประวัติ ตำหนักที่ประทับจำพรรษาของพระองค์ยังปรากฏอยู่ทุกวันนี้ เรียกกันว่าตำหนักสมเด็จ ในระหว่างทรงผนวชและจำพรรษาอยู่ที่วัดนิเวศธรรมประวัติ ทรงนิพนธ์หนังสือแบบเรียนเล่มหนึ่งขึ้น แล้วทรงออกสอนนักเรียนที่เป็นลูกชาวบ้านละแวกนั้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ปัจจุบันที่ข้างพระอุโบสถมีหมู่ก้อนศิลาใหญ่น้อยและ พระธรรมเจดีย์เป็นที่บรรจุพระอัติเจ้าจอมมารดาชุ่มพระสนมเอก สมัยรัชกาลที่ 4 เจ้าจอมมารดาของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ วัดนิเวศธรรมประวัติ                               
  • 20. จัดตั้งขึ้นในเขตที่ดินปฏิรูปเพื่อการเกษตร ตำบลช้างใหญ่ อำเภอบางไทร มีเนื้อที่ทั้งหมดเกือบ 1,000 ไร่ ศูนย์ศิลปาชีพนี้มุ่ง ฝึกอบรมอาชีพเกี่ยวกับ งานศิลปหัตถกรรมต่าง ๆ วิชาที่สอนให้แก่เกษตรกร ได้แก่ การประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากเส้นใย พืช การแกะสลัก การทำตุ๊กตา การประดิษฐ์ ดอกไม้เทียม การทำเครื่องเรือน การทอผ้า การย้อมสี และผลิตภัณฑ์จาก ผ้า ผลิตภัณฑ์ที่เสร็จแล้วมีจำหน่ายที่ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ การเดินทางไปยังศูนย์ฯ สามารถไปทางเรือตามลำน้ำ เจ้าพระยา มาขึ้นที่ท่าของศูนย์ หรือไปทางรถยนต์ เมื่อถึงอำเภอบางปะอินแล้วมีทางแยก เข้าสู่สายบางไทร - สามโคก ระยะทาง 24 กิโลเมตร ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร เปิดให้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ และวังปลาจะปิดเฉพาะวันจันทร์ และวันอังคาร ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
  • 21. วัดราชบูรณะตั้งอยู่ข้างวัดมหาธาตุ สร้างขึ้นใน สมัยสมเด็จ พระบรมราชาธิราชที่ 2 ( เจ้าสมพระยา ) เมื่อ พ . ศ . 1967 ตรงบริเวณถวาย พระเพลิงศพเจ้าอ้ายพระยา และเจ้ายี่พระยา พระเชษฐาของพระองค์ ซึ่งทรงกระทำ ยุทธหัตถีแย่งชิงราชสมบัติจนสิ้นพระชนม์ สถานที่ กระทำยุทธหัตถีเชิงสะพานป่าถ่าน อันเป็นจุดกึ่งกลาง วัดมหาธาตุและวัดราชบูรณะ ก็โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์ขึ้น 2 องค์ ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงรากฐาน วัดราชบูรณะมีสิ่งก่อ สร้างที่น่าสนใจหลายแห่ง ได้แก่ ซุ้มประตูใหญ่หน้าวัดซึ่งเป็นศิลปะอยุธยาตอนปลาย วิหารหลวงที่เจาะพนังแทน ช่องหน้าต่างตามแบบ ศิลปะอยุธยาตอนกลาง พระปรางค์ประธานประดับปูนปั้นรูปครุฑ ยักษ์ ลิง และสิงห์ พระปรางค์องค์นี้ภาย ในมีกรุ 2 ชั้น ซึ่ง ขุดพบเครื่องราชูปโภคทองคำ พระพุทธรูป และพระพิมพ์ต่าง ๆ ในปัจจุบันจัดแสดง อยู่ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา วัดราชบูรณะ
  • 22. สมเด็จพระราเมศวร โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดพระราม ขึ้นตรงบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ( พระเจ้าอู่ทอง ) พระราชบิดา เมื่อ พ . ศ . 1912 ต่อมาได้มีการปฏิสังขรณ์ วัดนี้ในสมัยสมเด็จ พระบรมไตร โลกนาถ และอีกครั้งหนึ่งในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ จึงเป็นฝีมือช่างสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในปัจจุบัน วัดพระรามอยู่ติดกับบึงพระราม ซึ่งเดิมเรียกว่า หนองโสน ใกล้กับพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ( พระเจ้าอู่ทอง ) และอยู่ทางทิศตะวันออกของวิหารพระมงคลบพิตร ภายในวัดยังปรากฎซากวิหารใหญ่ องค์พระปรางค์ที่มีระเบียงโอบล้อม มีพระพุทธรูปศิลาปรักหักพังตั้งเรียงรายโดยรอบ และมีพระอุโบสถอยู่ทางทิศเหนือ วัดพระราม
  • 23. ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระราชวังหลวง ตามตำนานกล่าวว่า พระยาธรรมิกราช พระราชบุตรพระเจ้าสายน้ำผึ้ง ได้เสวยราชย์ และสร้างวัดมุขราช ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยน ชื่อตามผู้สร้างเป็นวัดธรรมิกราช ไม่พบหลักฐานว่าสร้างในปีใด แต่คงจะเป็นวัดเก่าแก่ สมัยเดียว กับวัดพนัญเชิง เป็นวัดที่ตั้งอยู่ติดขอบเขต กำแพงพระราชวังหลวง ซึ่งต่อมา ยกเป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์ ภายในวัดมีวิหารทรงธรรมซึ่งมีขนาดใหญ่มากตั้งอยู่ บนเนินสูง เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป สำคัญที่มีขนาดใหญ่เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัย อู่ทองที่งดงามมาก ปัจจุบันเหลือเพียงพระเศียร และเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำหรับพระเจดีย์ประธานเป็นทรงระฆัง แบบลังกามีปูนปั้นสิงห์ยืนอยู่โดยรอบและมีพระเจดีย์ขนาดย่อมและขนาดเล็กอีก 13 องค์ ในวิหารพระนอนประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ ที่ฝ่าพระบาทมีรอยพระพุทธบาท ปิดทองประดับกระจก วัดธรรมิกราช
  • 24. พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงมีน้ำพระราชหฤทัย มุ่งที่จะเทิดทูนพระเกียรติคุณ และพระมหาวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ของ สมเด็จพระสุริโยทัย ให้ปรากฏเป็นอนุสรณ์แห่งศักดิ์และศรีจารึกเกียรติประวัติ   อยู่คู่ชาติไทยตราบชั่วกาลนาน คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 21  มิถุนายน 2531 เห็นชอบให้ดำเนินการก่อสร้างพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระสุริโยทัยเฉลิมพระเกียรติในฐานะมหาวีรกษัตริย์ของชาติไทย ณ สถานที่เหตุการณ์ใน ประวัติศาสตร์ ทุ่งมะขามหย่อง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ พุทธศักราช 2535 โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบในการก่อสร้าง พื้นที่ 250 ไร่ เป็นพื้นที่กักเก็บน้ำ 100 ไร่ ต่อมาได้มีพระราชดำริให้ขยายพื้นที่กักเก็บน้ำ 158 ไร่ ความจุน้ำประมาณ 1,080,000 ลูกบาศก์เมตร พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย
  • 25. โครงการก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ก่อสร้างบริเวณทุ่งภูเขาทอง ในเนื้อที่ 543 ไร่ ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศเหนือตา มถนนสายอยุธยา - ป่าโมก - อ่างทอง เพียง 3 กิโลเมตร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเทิดพระเกียรติและเป็นอนุสรณ์แด ่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในมหามงคลเฉลิมฉลอง ทรงครองราชย์สมบัติครบ 50 ปี เพื่อนุรักษ์บริเวณประวัติศาสตร์และโบราณสถาน และเพื่อเป็น จุดท่องเที่ยวของจังหวัด พื้นที่ประกอบด้วย พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาาช องค์พระบรมรูปขนาด 3 เท่า ทรงม้า แท่นฐาน และลานบันได้เป็นหินอ่อนและหินแกรนิต ภาพนูนต่ำบรรยายพระราชประวัติ จำนวน 11 ภาพ อาคารพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช อ่างเก็บน้ำความจุประมาณ 2 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นสถานที่ท่องเที่ยว เพื่อการพักผ่อน และมีการปลูกสวนป่า เพื่อเป็นพื้นที่สีเขียว พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช