SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 47
Descargar para leer sin conexión
1
รายงานการศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้
หน่วยบูรณาการร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ.รักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
1. บทสรุป
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ หน่วยบูรณาการ ร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ. รักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และนักเรียนแกนนํา
ท.ศ.รักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้ผู้เรียน
สร้างองค์ความรู้จากกระบวนการทํางานกลุ่มจากการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนา
ทักษะการคิดแก้ปัญหาตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์จากปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจําวันของผู้เรียน จุดมุ่งหมาย
ของการออกแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและการใช้
ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน มีทักษะการทํางานกลุ่มในการเรียนรู้
โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนหน่วยบูรณาการโดยใช้
ปัญหาเป็นฐาน และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการปฏิบัติการเรียนรู้หน่วยบูรณาการโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ซึ่งได้ออกแบบตามทฤษฎีระบบ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้น INPUT ขั้น PROCESS ขั้น
OUTPUT ขั้น FEEDBACK กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ทําการสุ่มอย่างง่าย (Simple
Random Sampling) จากประชากรโดยวิธีการจับฉลาก โดยใช้กลุ่มนักเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม คือกลุ่มนักเรียน
แกนนํา ท.ศ.รักษ์สิ่งแวดล้อม กลุ่มนักเรียน ม.3/1 กลุ่มนักเรียน ม.3/2 กลุ่มนักเรียน ม.3/3 และกลุ่มนักเรียน
ม.3/4 สุ่มได้ห้อง ม.3/1 จํานวน 34 คน
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่าผลการตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบของ
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้ พบว่าทุกข้อมีค่าความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 ผล
การตรวจสอบความถูกต้องขององค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้ พบว่า
ค่าเฉลี่ยโดยรวมทั้งฉบับอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการหาคุณภาพแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า
ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างข้อคําถามกับจุดประสงค์
จํานวน 61 ข้อ พบว่าทุกข้อมีค่า ความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 ข้อสอบที่มีความยาก (P) ตั้งแต่ 0.20 ถึง
0.80 และค่าอํานาจจําแนก (r) ตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป ได้ข้อสอบที่ดี จํานวน 45 ข้อ ผลการหาค่าความเชื่อมั่นของ
แบบทดสอบทั้งฉบับ โดยใช้วิธีของวิชาร์ดสัน (Richardson) KR-20 (Kuder Richardson-20) ได้ค่าความ
เชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ .8162 ผลการประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและ
ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน จากการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนน หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ
80.90 สูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนดคือร้อยละ 80 ผลการประเมินทักษะการทํางานกลุ่ม พบว่าในภาพรวมอยู่ใน
ระดับคุณภาพ 3 ผลการประเมินเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้หน่วยบูรณาการ ค่าเฉลี่ยโดยรวมทั้งฉบับผู้เรียน
เห็นด้วย และผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับ
คุณภาพ 3 ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่าค่าเฉลี่ยโดยรวมทั้งฉบับอยู่ในระดับมาก
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ส่งผลให้นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนชุมชน
ตระหนักถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน และท้องถิ่นจากกิจกรรมที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์
และรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน โดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. ความเป็นมาและความสําคัญ
การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 หมวด 4 มาตรา
24 ต้องจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคํานึงถึง
ความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้ผู้เรียนฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์
และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและการแก้ไขปัญหา จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์
จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทําได้ คิดเป็นและทําเป็น รักการอ่านและเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จัดการเรียน
การสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกันรวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม
และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อ
การเรียนรู้ และอํานวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัย
เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและ
แหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ และจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลาส่งเสริมให้ผู้เรียน
เป็นคนดี คนเก่ง และสามารถดําเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
จากหลักการดังกล่าวผู้สอนจึงได้พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ซึ่งได้ออกแบบตามทฤษฎีระบบ
4 ขั้นตอน (สุคนธ์ ภูริเวทย์, 2442, หน้า 52) ได้แก่ ขั้น INPUT ซึ่งประกอบด้วยการวิเคราะห์ผู้เรียนและ
วิเคราะห์หลักสูตร กําหนดเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ กําหนดเนื้อหาวิชา กําหนดจุดประสงค์การเรียนรู้
กําหนดกิจกรรมการเรียนรู้ กําหนดสื่อและแหล่งเรียนรู้ กําหนดกระบวนการวัดและประเมินผล ขั้น
PROCESS ประกอบด้วยการดําเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน 6 ขั้นตอน คือ กําหนด
ปัญหา ทําความเข้าใจกับปัญหา ดําเนินการศึกษาค้นคว้า สังเคราะห์ความรู้ สรุปและประเมินค่าของคําตอบ
นําเสนอและประเมินผลงาน ขั้น OUTPUT ประกอบด้วยการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและวิเคราะห์ผล
การเรียน โดยการทดสอบก่อนเรียน ประเมินชิ้นงานตามใบกิจกรรม ประเมินทักษะการทํางานกลุ่ม ประเมิน
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทําแบบฝึกหัดทบทวน ทําแบบทดสอบหลังเรียน ขั้น FEEDBACK ประกอบด้วย
3
การปรับปรุง แก้ไข พัฒนาทุกขั้นตอน ทฤษฎีการจัดการเรียนรู้ 9 ขั้น ของกาเย่ และบริกส์ (Gagne’ and
Briggs, 1979 อ้างถึงในไชยยศ เรืองสุวรรณ, 2531, หน้า 66-67) คือ ต้องมีสิ่งเร้าให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ
ต้องแจ้งจุดประสงค์ให้ผู้เรียนทราบ ต้องสร้างสถานการณ์เพื่อเชื่อมโยงเข้าหาความรู้เดิม ทําการเสนอบทเรียน
แนะนําแนวทางในการเรียน หลังจากผู้เรียนเข้าใจแล้วให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ ให้ข้อมูลย้อนกลับ ประเมินผลการ
ปฏิบัติ ทบทวนเพื่อให้เกิดความแม่นยําและการถ่ายโอนความรู้ ทฤษฎีการสื่อสาร มีองค์ประกอบ 3 ประการ
คือ ผู้ส่งสาร ตัวสารหรือตัวกลาง หรือช่องทางในการสื่อสาร และผู้รับสาร (สุคนธ์ ภูริเวทย์, 2552, หน้า 70)
อีกทั้งรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฝึกให้ผู้เรียนทํากิจกรรมสร้างสรรค์ตาม วงจรคุณภาพ PDCA คือขั้น P(PLAN)
หรือวางแผนการทํากิจกรรมสร้างสรรค์ ขั้น D(DO) เป็นการดําเนินกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ได้วางแผนไว้ ขั้น
C(CHECK) เป็นขั้นติดตามความก้าวหน้าจากการดําเนินกิจกรรม และขั้น A(ACTION) เป็นขั้นที่ต้องพัฒนา
แก้ไข ตลอดจนรูปแบบการจัดการเรียนรู้ยังบูรณาการให้ผู้เรียนฝึกวิเคราะห์บทเรียนตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นแนวพระราชดําริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชฯ เป็นปรัชญาที่มี
ประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดย
คํานึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบและ
คุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทํา
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ที่พัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของผู้เรียน ให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้จากกระบวนการทํางานกลุ่มจากการเรียนรู้โดยใช้ปัญหา
เป็นฐาน ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์และวงจรคุณภาพ PDCA
จากปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจําวันของผู้เรียน
3. วัตถุประสงค์
3.1 เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ หน่วยบูรณาการ ร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ. รักษ์สิ่งแวดล้อม
อย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย ดังนี้
1. ตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้
2. ตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3. ประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
4. ประเมินทักษะการทํางานกลุ่ม
5. ประเมินเจตคติที่ดีต่อการเรียนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
6. ประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้หน่วยบูรณาการ ร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ. รักษ์สิ่งแวดล้อม
อย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
4
3.2 สร้างความตระหนักให้กับนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนชุมชนในการรักษา
สิ่งแวดล้อมของโรงเรียน และท้องถิ่นโดยการจัดกิจกรรมที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ และรักษา
สิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน โดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4. กระบวนการพัฒนาผลงานนวัตกรรม
4.1 สภาพปัญหาก่อนการพัฒนา
โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ตั้งอยู่เลขที่ 92 หมู่ 1 ตําบลทุ่งยาว อําเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
บนเนื้อที่ประมาณ ประมาณ 57 ไร่ 3 งาน 29 ตารางวา เป็นโรงเรียนดีประจําอําเภอ บริหารจัดการเชิงระบบ
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล และเป็นโรงเรียนต้นแบบสถานศึกษาพอเพียง
เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง มีนักเรียน จํานวน 660 คน ในปีการศึกษา 2555 เปิดสอนระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จัดสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จากการประเมิน
คุณภาพภายนอกรอบ 2 จาก สมศ.มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์
มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์ มาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่
จําเป็นทางหลักสูตร ผลการประเมินอยู่ในระดับคุณภาพพอใช้ ส่วนมาตรฐาน 1-3 และ 6-8 อยู่ในระดับคุณภาพดี
และดีมาก ตามลําดับ อย่างไรก็ตามจากการรายงานผลการทดสอบวัดคุณภาพขั้นพื้นฐานผู้เรียนกลุ่มสาระการ
เรียนรู้ (O-Net) 8 กลุ่มสาระระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ ในปีการศึกษา 2553-2554
ตามลําดับ ดังนี้ สาระการเรียนรู้ภาษาไทยมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 41.04 และร้อยละ 47.82 สาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 24.41 ร้อยละ 27.60 สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ
28.66 และร้อยละ 30.75 สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 40.15 และ
ร้อยละ 38.39 สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 72.05 และร้อยละ สาระ การเรียนรู้
ศิลปะ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 28.73 และร้อยละ 48.44 สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มีคะแนน
เฉลี่ยร้อยละ 46.37 และร้อยละ 45.80 และสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 14.71 และ
ร้อยละ 26.66 ซึ่งส่วนใหญ่ต่ํากว่าเกณฑ์คือร้อยละ 50 ยังไม่บรรลุเป้าหมายของสถานศึกษา
จากการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 พบว่าผลการเรียนเฉลี่ย
(GPA) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และระดับกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามลําดับดังนี้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
เท่ากับ 2.51 และ 2.13 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เท่ากับ 2.51 และ 2.55 กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ เท่ากับ 2.25 และ 2.37 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมในภาพรวม เท่ากับ
2.89 และ 2.59 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เท่ากับ 3.55 และ 3.43 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
เท่ากับ 3.29 และ 3.19 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เท่ากับ 2.59 และ 2.47 กลุ่มสาระการ
เรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เท่ากับ 2.80 และ 2.96 ส่วนในระดับโรงเรียนในภาพรวมมีผลการเรียนเฉลี่ย (GPA)
5
เท่ากับ 2.80 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง (โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์, 2555, หน้า (65,102-105) นักเรียนมีปัญหาใน
ด้านการเรียนรู้ซึ่งเป็นผลที่ตามมาก็คือ นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีความรู้ความเข้าใจในสาระการ
เรียนรู้ต่างๆ ไม่เหมาะสมกับระดับชั้นตามรายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) และการรายงาน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
จากการสํารวจสภาพปัญหาในโรงเรียนของผู้เรียน พบปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียนหลายปัญหา
ด้วยกัน อาทิ ปัญหาขยะในโรงเรียน ปัญหาการใช้ห้องเรียน ปัญหาการใช้อาคารหอประชุม ปัญหาห้องน้ําห้องส้วม
ของโรงเรียน ปัญหาการใช้โรงอาหารในโรงเรียน ปัญหาการใช้อัฒจรรย์ของโรงเรียน ปัญหาการใช้ร้านค้าสวัสดิการ
ของโรงเรียน ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับขยะบริเวณที่ไปสํารวจเป็นส่วนใหญ่ และการไม่มีวินัยใน
การไปใช้สถานที่เหล่านั้นทํากิจกรรมจึงเป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดปัญหาตามมา และจากประสบการณ์ด้านการ
จัด การเรียนรู้ของผู้สอน มักประสบปัญหาด้านการจัดกิจกรรมการเรียน การจัดการเรียนรู้ เช่น ผู้เรียนไม่สนใจ
เรียน นักเรียนเบื่อเรียน ขาดเจตคติที่ดีต่อการเรียนและคิดว่าการเรียนรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆ เป็นเรื่องยาก ผลการ
เรียนรู้ของนักเรียนไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง นักเรียนมีบทบาทในการเรียนรู้น้อย ครูผู้สอนเน้นเนื้อหาสาระมากกว่า
กระบวนการค้นคว้าหาความรู้ จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาและแก้ไขปรับปรุงรูปแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้
เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะกระบวนการคิด การคิดแก้ปัญหา การค้นหาคําตอบด้วยตนเอง การจัดการเรียนรู้สาระ
การเรียนรู้ต่างๆ ตามธรรมชาติวิชาต้องการเน้นการเสาะหาความรู้ โดยที่ผู้เรียนค้นพบความรู้ สํารวจตรวจสอบสิ่งที่
ต้องการรู้ และตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆ ด้วยตนเอง ซึ่งการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานเป็น
กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เริ่มต้นจากปัญหาที่เกิดขึ้นโดยสร้างความรู้จากกระบวนการทํางานกลุ่ม เพื่อแก้ปัญหา
หรือสถานการณ์เกี่ยวกับชีวิตประจําวัน และมีความสําคัญต่อผู้เรียน ตัวปัญหาจะเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการ
เรียนรู้ และเป็นตัวกระตุ้นการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาด้วยเหตุผลและการสืบค้น หาข้อมูลเพื่อเข้าใจกลไกของตัว
ปัญหา รวมทั้งวิธีแก้ปัญหา การเรียนรู้แบบนี้มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนในด้านทักษะและกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนา
ผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้โดยการการชี้นําตนเองซึ่งผู้เรียนจะได้ฝึกฝนการสร้างองค์ความรู้โดยผ่านกระบวนการคิด
ด้วยการแก้ปัญหาอย่างมีความหมายต่อผู้เรียน (สกศ., 2550, หน้า 1) โดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้มี
ความสนใจในปัญหาที่เกิดขึ้น และยังสามารถปรับประยุกต์สิ่งที่เรียนรู้ไปสู่การสร้างประสบการณ์ของตนเอง
มีความรู้ความเข้าใจในปัญหาที่ศึกษาและให้เป็นไปในทางที่สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม
การเรียนการจัดการเรียนรู้ที่จะมีประสิทธิภาพ รูปแบบการการจัดการเรียนรู้เป็นตัวกลาง ที่ทําหน้าที่ถ่ายทอดและ
แลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวคิด ทักษะ และเจตคติ ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน และเน้นการจัดการเรียนรู้ในเรื่อง
ใกล้ตัวที่เกี่ยวกับชีวิตประจําวันของผู้เรียน และให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้
6
4.2 การออกแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา
จากสภาพปัญหาและความต้องการดังกล่าว จึงนํามาซึ่งการกําหนดแนวทางในการออกแบบ
นวัตกรรม “รูปแบบการจัดการเรียนรู้ หน่วยบูรณาการ ร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ. รักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ตาม
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และนักเรียนแกนนํา ท.ศ.รักษ์
สิ่งแวดล้อม” ซึ่งได้ออกแบบและพัฒนาโดยใช้ทฤษฎีระบบ ในการดําเนินงานและอาศัยการมีส่วนร่วมของฝ่าย
ต่างๆ โดยแต่งตั้งคณะกรรมการทํางานของโรงเรียนในการจัดกิจกรรมร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ. รักษ์สิ่งแวดล้อม
อย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555
การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานมีการพัฒนาโดยคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Faculty of
Health) ของมหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ (McMaster University) ที่ประเทศแคนาดาโดยเริ่มต้นใช้กับ
นักศึกษาแพทย์ฝึกหัด หลังจากนั้นได้ขยายไปสู่มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาหลายแห่ง ส่วนใหญ่นําไปใช้กับ
หลักสูตรของนักศึกษาแพทย์ เนื่องจากผู้เรียนต้องใช้ทักษะวิเคราะห์ปัญหาสูง ต่อมาในปี ค.ศ. 1980 การ
จัดการเรียนรู้ได้ขยายไปสู่สาขาอื่น อาทิ สาขาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ และได้มีการนําไปใช้ในการจัดการ
เรียนรู้ในหลักสูตรสาขาต่างๆ (สกศ., 2550 อ้างถึงในประพันธ์ศิริ สุเสารัจ, 2548,หน้า 2)
การออกแบบนวัตกรรมรูปแบบการจัดการเรียนรู้ หน่วยบูรณาการ ร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ. รักษ์
สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ
นักเรียนแกนนํา ท.ศ.รักษ์สิ่งแวดล้อม มีรูปแบบการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ดังนี้
1. ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหา และความต้องการจําเป็นของสถานศึกษา
2. กําหนดหลักการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้
3. กําหนดจุดมุ่งหมายของรูปแบบการจัดการเรียนรู้
4. กําหนดรูปแบบการจัดการเรียนรู้
5. อธิบายรูปแบบการจัดการเรียนรู้
6. แนวทางการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
7. การประเมินการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CIPP Model
ได้จัดทําเป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมเป็นลําดับขั้น ดังนี้
ศึกษา
๑. วิเคร
หลัก
๒. กําห
เรียน
๓. กําห
๔. กําห
๕. กําห
๖. กําห
๗. กําห
ประ
ผลสัม
ความสามา
ร่วม
โด
ข้อมูลพื้นฐาน
INPUT
ราะห์ผู้เรียนและวิ
กสูตร
หนดเป้าหมายในก
นรู้
หนดเนื้อหาวิชา
หนดจุดประสงค์กา
หนดกิจกรรมการเรี
หนดสื่อและแหล่งเ
หนดกระบวนการวั
เมินผล
ฤทธิ์ทางการเรี
ารถในการคิด
กําหนดหลัก
มสร้างสรรค์ ท.
ดยใช้ปัญหาเป็น
ส
วิเคราะห์
การจัดการ
ารเรียนรู้
รียนรู้
เรียนรู้
วัดและ
รียน
ดี
กิจก
การ
ปร
กรอบแ
รูปแบบกา
ศ. รักษ์สิ่งแวด
นฐาน ชั้นมัธยม
ศึกษ
สภาพปัญหาแล
8. ดําเนินกา
โดยใช้ปัญห
8.1 กํ
8.2 ทํ
8.3 ดํ
8.4 สั
8.5 ป
8.6 นํ
10. ปรับ
โรงเรี
กรรมร่วมสร้า
กําหน
ระเมินรูปแบบ
แนวคิดในการพั
ารจัดการเรียนร
ดล้อมอย่างยั่งยืน
มศึกษาปีที่ 3 แ
ษาข้อมูลพื้นฐาน
ละความต้องกา
PROCE
ารจัดกิจกรรมการ
หาเป็นฐาน
กําหนดปัญหา
ทําความเข้าใจกับ
ดําเนินการศึกษาค้
สังเคราะห์ความรู้
ประเมินค่าของคํา
นําเสนอและประเมิ
FEEDBA
ับปรุง แก้ไข พั
รียนต้นแบบสถ
คุณภาพ
มีสุข
งสรรค์ ท.ศ.รั
นดรูปแบบการ
บการจัดการเ
พัฒนานวัตกรรม
รู้ หน่วยบูรณา
น ตามหลักปรัช
และนักเรียนแกน
น
รจําเป็นของสถ
ESS
รเรียนรู้หน่วยบูรณ
ปัญหา
ค้นคว้า
สรุปและ
ตอบ
มินผลงาน
ACK
ัฒนาทุกขั้นตอ
านศึกษาพอเพี
พผู้เรียน
ข
รักษ์สิ่งแวดล้
รจัดการเรียน
เรียนรู้ แบบ
ม
การ
ชญาของเศรษฐ
นนํา ท.ศ.รักษ์สิ
ถานศึกษา
ณาการ
น
พียง
อมอย่างยั่งยืน
นรู้
CIPP Mode
ฐกิจพอเพียง
สิ่งแวดล้อม
9. ประเมินผลส
วิเคราะห์ผลกา
- ทดสอ
- ประเ
- ประเ
ตามวิ
- ประเ
- ทําแบ
สภาพปัญ
พฤติก
เก่ง
น
กําหนดจุ
el
7
OUTPUT
สัมฤทธิ์ทางการเรี
ารเรียน
อบก่อนเรียน
มินชิ้นงานตามใบ
มินทักษะการทําง
วิธีการทางวิทยาศ
มิน คุณ
บบทดสอบหลังเรี
ญหาในโรงเรียน
กรรมการเรียน
ดม่งหมาย
7
รียนและ
บกิจกรรม
งานกลุ่ม
ศาสตร์
ณลักษณะ
ยน
น
การมีวินัย
8
การวิเคราะห์หลักสูตรหน่วยบูรณาการ
ร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ. รักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
หน่วยบูรณาการ ร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ. รักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
 
 
 
 
สาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สาระที่ 2 การเขียน
มาตรฐาน ท 2.1 ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสาร เขียน
เรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ เขียน
รายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมี
ประสิทธิภาพ
สาระที่ 3 การฟัง การดู และการพูด
มาตรฐาน ท 3.1 สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ
และพูดแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมี
วิจารณญาณ และสร้างสรรค์
สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร
การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนําเสนอ การเชื่อมโยงความรู้
ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมี
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถ
อธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ
เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้อง
สัมพันธ์กันแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมี
วิจารณญาณ และสร้างสรรค์
สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจความสําคัญของ
ท รั พ ย า ก ร ธ ร ร ม ช า ติ ก า ร ใ ช้
ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น
ประเทศ และโลกนําความรู้ไปใช้ในในการ
จัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8.1 ใช้กระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการ
สืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่า
ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วน
ใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบาย
และตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและ
เครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และ
สิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
แสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึกในโอกาส
ต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณ และสร้างสรรค์
สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน พ 2.1 เข้าใจและเห็น
คุณค่าตนเอง ครอบครัว เพศศึกษา
และมีทักษะในการดําเนินชีวิต
สาระการเรียนรู้ศิลปะ
สาระที่ 1 ทัศนศิลป์
มาตรฐาน ศ 1.1 สร้างสรรค์งาน
ทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และ
ความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์
วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอด
ความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่าง
อิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ใน
ชีวิตประจําวันครอบครัว เพศศึกษา
สาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์
มาตรฐาน ส 5.2 เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์
กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการ
สร้างสรรค์วัฒนธรรม มีจิตสํานึก และมีส่วนร่วมใน
การอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการ
ั ี่ ั่ ื
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 1 การดํารงชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน ง 1.1 เข้าใจการทํางาน มีความคิด
สร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทํางาน ทักษะ
การจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา
ทักษะการทํางานร่วมกัน และทักษะการแสวงหา
ความรู้ มีคุณธรรม และลักษณะนิสัยในการทํางาน
มีจิตสํานึก ในการใช้พลังงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
เพื่อการดํารงชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน ง 3.1 เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้
กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล
การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทํางาน
และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมี
คุณธรรม
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มุ่งให้ผู้เรียนได้
พัฒนาตนเองตามศักยภาพ พัฒนา
อย่างรอบด้านเพื่อความเป็นมนุษย์ที่
สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย สติปัญญา
อารมณ์ และสังคม เสริมสร้างให้เป็นผู้
มีศีลธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย
ปลูกฝังและสร้างจิตสํานึกของการทํา
ประโยชน์เพื่อสังคม สามารถจัดการ
ตนเองได้ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมี
ความสุข
9
10
4.3 ขั้นตอนการดําเนินงานพัฒนา
ขั้นตอนการออกแบบการจัดการเรียนรู้
1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหาและความต้องการจําเป็นของสถานศึกษา
โดยการศึกษาบริบทของสถานศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการจําเป็น ตลอดจนวิเคราะห์ผู้เรียนด้าน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พฤติกรรมการเรียน และการวิเคราะห์หลักสูตร
2) กําหนดหลักการของการออกแบบการจัดการเรียนรู้
3) กําหนดจุดมุ่งหมายของการออกแบบการจัดการเรียนรู้
4) กําหนดรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
5) กําหนดคําอธิบายรูปแบบการจัดการเรียนรู้
6) กําหนดแนวทางการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
7) กําหนดการประเมินการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CIPP Model
8) เตรียมรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้ให้พร้อมสําหรับในการดําเนินการให้
ผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจสอบในขั้นต่อไป
ขั้นตอนการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
1) ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และ
หลักสูตรสถานศึกษา
2) ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อนํา
หลักการแนวคิด ทฤษฎีดังกล่าวมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้
3) ศึกษาเรื่องของกรอบเวลา จากปฏิทินวิชาการโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ และเนื้อหายึดตาม
แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามเอกสาร และหนังสือเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ
4) ศึกษาวิธีการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้จากเอกสารประกอบหลักสูตร ตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
5) ดําเนินการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
6) ดําเนินการสร้างสื่อการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย ใบกิจกรรม ใบความรู้ Power Point
ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการจัดการเรียนรู้
7) ดําเนินการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลตามแผนการจัดการเรียนรู้
8) เตรียมแผนการจัดการเรียนรู้พร้อมสื่อการเรียนรู้ และเครื่องมือวัดและประเมินผลผู้เรียนที่
สร้างขึ้นให้พร้อมสําหรับดําเนินการให้ผู้เชี่ยวชาญชาญได้ตรวจสอบในขั้นต่อไป
11
การออกแบบการจัดการเรียนรู้
หลักการของการออกแบบการจัดการเรียนรู้
1. เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
2. เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้จากกระบวนการทํางานกลุ่มจากการ
เรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
3. เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาตามวิธีการ
ทางวิทยาศาสตร์จากปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจําวันของผู้เรียน
จุดมุ่งหมายของการออกแบบการจัดการเรียนรู้
1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น และ
การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
2. มีทักษะการทํางานกลุ่มในการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมใน
โรงเรียน ชุมชน และจัดกิจกรรมสร้างความตระหนักให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ รักษาสิ่งแวดล้อม
ให้ยั่งยืน โดยบูรณาการกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนหน่วยบูรณาการโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และมีคุณลักษณะอันพึง
ประสงค์ในการปฏิบัติการเรียนรู้หน่วยบูรณาการโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
คําอธิบายรูปแบบการจัดการเรียนรู้
1. วิเคราะห์ผู้เรียน และวิเคราะห์หลักสูตร
การวิเคราะห์ผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนผ่านมาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา
2555 การวิเคราะห์ผู้เรียนด้านพฤติกรรมการเรียน การวิเคราะห์หลักสูตรเพื่อจัดทําหน่วยบูรณาการ ตาม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
2. กําหนดเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้
2.1 กําหนดเป้าหมายด้านพุทธิพิสัย คือ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและ
การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
2.2 กําหนดเป้าหมายด้านทักษะพิสัย คือ มีทักษะการทํางานกลุ่มโดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการ
แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
2.3 กําหนดเป้าหมายด้านจิตพิสัย คือ มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหา
เป็นฐาน มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการเรียนรู้
3. กําหนดเนื้อหาวิชา
3.1 ปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
3.2 การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
12
4. กําหนดจุดประสงค์การเรียนรู้
4.1 จุดประสงค์ทั่วไป
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น และ
การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
4.2 จุดประสงค์เฉพาะ
1) สํารวจ สืบค้น และวิเคราะห์สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
พร้อมทั้งเสนอแนวทางในการแก้ปัญหา
2) วิเคราะห์และอภิปรายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3) อธิบายความสําคัญของการมีส่วนร่วมในการดูแลและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
4) ตระหนักและเห็นคุณค่าต่อการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
5. กําหนดกิจกรรมการเรียนรู้
5.1 แจ้งเป้าหมายการเรียน ตามPowerPointประกอบการบรรยายทดสอบก่อนเรียน (คาบที่ 1)
5.2 ทํากิจกรรมกลุ่มสํารวจสภาพแวดล้อมที่เป็นปัญหา และปัญหาที่พบบ่อยในโรงเรียนตาม
ใบกิจกรรมที่ 1 บันทึกข้อค้นพบ กลุ่มระบุปัญหาที่เลือก (คาบที่ 2)
5.3 ทํากิจกรรมกลุ่ม ตามใบกิจกรรมที่ 2 เลือกเครื่องมือที่จะทําความเข้าใจกับปัญหา
ออกแบบเครื่องมือที่เลือกใช้เก็บข้อมูล แต่ละกลุ่มระดมความคิด คิดข้อคําถามที่จะใช้เก็บข้อมูล (คาบที่ 3)
5.4 ทํากิจกรรมกลุ่มตามใบกิจกรรมที่ 3 ดําเนินการศึกษาค้นคว้าเก็บข้อมูล นอกเวลาเรียนกับ
นักเรียนในโรงเรียน จํานวน 240 คน ทุกระดับชั้น ระดับละ 40 คน สุ่มนักเรียนมาในแต่ละห้องเรียน
นําข้อมูลที่เก็บข้อมูลได้ของแต่ละกลุ่มมาสรุปผล หาค่าเฉลี่ยของแต่ละข้อคําถาม (คาบที่ 4)
5.5 ทํากิจกรรมกลุ่มตามใบกิจกรรมที่ 4 สังเคราะห์ความรู้ และใบกิจกรรมที่ 5 สรุปและ
ประเมินค่าของคําตอบ (คาบที่ 5)
5.6 ทํากิจกรรมกลุ่มตามใบกิจกรรมที่ 6 นําเสนอและประเมินผลงานหน้าชั้น (คาบที่ 5 และ
ทําต่อนอกเวลาเรียน)
5.7 ครูและนักเรียนร่วมอภิปรายตาม Power Point กิจกรรมต่อยอดแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่
เกิดขึ้นในโรงเรียน หรือในชุมชน ท้องถิ่นของนักเรียน เขียนโครงการ ดําเนินกิจกรรมตามโครงการ
ประชาสัมพันธ์ ตามใบกิจกรรมที่ 7 (คาบที่ 6 และทําต่อนอกเวลาเรียน)
5.8 ครูและนักเรียนร่วมอภิปรายการเรียนรู้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติใน
ท้องถิ่น และการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ตาม Power Point (คาบที่ 7-8 และทบทวนนอกเวลาเรียน)
5.9 ทํากิจกรรมตามใบกิจกรรมที่ 8 วิเคราะห์การเรียนรู้บทเรียนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ
ของพอเพียงรายบุคคล (คาบที่ 9 และทําต่อนอกเวลาเรียน)
13
5.10 ทําแบบฝึกหัดทบทวนบทเรียนตามใบกิจกรรมที่ 9 และตอบคําถามท้ายบทตามใบ
กิจกรรมที่ 10 (ทําเป็นการบ้านนอกเวลาเรียน)
5.11 ทําแบบทดสอบหลังเรียน (คาบที่ 10)
6. กําหนดสื่อและแหล่งเรียนรู้
6.1 สื่อการเรียนรู้ ได้แก่ สื่อ Power Point ประกอบการเรียนหน่วยบูรณาการ
เอกสารประกอบ Power Point ประกอบการเรียนหน่วยบูรณาการ ใบกิจกรรมที่ 1-10 เว็บไซต์โรงเรียน
ทุ่งยาวผดุงศิษย์ เว็บบล็อกครูพรพนา
6.2 แหล่งเรียนรู้ ได้แก่ บริเวณโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
7. กําหนดกระบวนการวัดและประเมินผล
การประเมินผลก่อนเรียน การประเมินผลระหว่างเรียน การประเมินผลหลังเรียน
ทดสอบก่อนเรียน - ประเมินชิ้นงานตามใบกิจกรรม
- ประเมินทักษะการทํางานกลุ่ม
- ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ประเมินเจตคติต่อการเรียนการจัดการเรียนรู้
ทดสอบหลังเรียน
8. ดําเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ดังนี้
8.1 กําหนดปัญหา
8.2 ทําความเข้าใจกับปัญหา
8.3 ดําเนินการศึกษาค้นคว้า
8.4 สังเคราะห์ความรู้
8.5 สรุปและประเมินค่าของคําตอบ
8.6 นําเสนอและประเมินผลงาน
9. ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและวิเคราะห์ผลการเรียน ได้แก่ วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน ก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน และหลังเรียน
เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์หลังเรียนกับเกณฑ์
14
10. ปรับปรุง แก้ไข พัฒนาทุกขั้นตอน
สรุปข้อมูลในขั้นตอนทั้ง 9 ขั้นตอนที่ดําเนินการ ถ้าขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งบกพร่อง ปรับปรุง
แก้ไข และพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
แนวทางการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์
วัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหา
สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
ในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน (ทดสอบ
ผลสัมฤทธิ์)
- แบบทดสอบวัด
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
- ตรวจชิ้นงานจากใบกิจกรรมที่
1-10
- คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียน
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
- คะแนนผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ
80
วัดทักษะการทํางานกลุ่ม - แบบประเมินทักษะ
การทํางานกลุ่มแบบ Rubricให้
คะแนนแบบแยกองค์ประกอบ
ระดับคุณภาพ 3 ระดับคือ 3,2,1
- ผ่านเกณฑ์
ระดับคุณภาพ 3
วัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการ
เรียนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหา
เป็นฐานและวัดคุณลักษณะอันพึง
ประสงค์ในการเรียนรู้
- แบบวัดเจตคติจิตต่อการจัดการ
เรียนการจัดการเรียนรู้
- แบบประเมินผลงาน แบบ
Rubricให้คะแนนแบบแยก
องค์ประกอบระดับคุณภาพ 3
ระดับคือ 3,2,1
- ผ่านเกณฑ์
ระดับคุณภาพ 3
15
การประเมินการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CIPP Model
1. ด้านบริบท (Context Evaluation : C)
1.1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้ช่วยทําให้ผู้เรียนเรียนรู้ หน่วยบูรณาการ ร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ.รักษ์
สิ่งแวดล้อมฯ ได้ดีขึ้น
1.2 รูปแบบการจัดการเรียนรู้ช่วยทําให้นักเรียนชอบเรียน หน่วยบูรณาการ ร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ. รักษ์
สิ่งแวดล้อมมากขึ้น
1.3 รูปแบบการจัดการเรียนรู้ทําให้นักเรียนได้ศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาจริง มีการบูรณาการ
สาระการเรียนรู้หลากหลาย
1.4 รูปแบบการจัดการเรียนรู้ทําให้นักเรียนพัฒนาทักษะการคิดตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์
1.5 เนื้อหาที่เรียนไม่ยากเกินไปสําหรับนักเรียน
1.6 เนื้อหามีความสอดคล้องกับเวลา
1.7 เนื้อหามีความทันสมัย สอดคล้องกับชีวิตประจําวันของนักเรียน
1.8 เวลาเรียนทั้งหมดมีความเหมาะสมกับเนื้อหา
2. ด้านปัจจัยนําเข้า (Input Evaluation : I )
2.1 สื่อการเรียนการจัดการเรียนรู้เหมาะสมกับเนื้อหา
2.2 สื่อการเรียนการจัดการเรียนรู้เพียงพอกับจํานวนนักเรียน
2.3 สื่อการเรียนการจัดการเรียนรู้ทันสมัย น่าสนใจ
2.4 นักเรียนมีความสะดวกในการนําสื่อการเรียนการจัดการเรียนรู้มาใช้
2.5 ห้องปฏิบัติการมีบรรยากาศน่าเรียนรู้
2.6 ห้องปฏิบัติการมีสื่อเทคโนโลยีการเรียนการจัดการเรียนรู้พร้อม
2.7 ขนาดห้องปฏิบัติการมีความเหมาะสมกับจํานวนนักเรียน
2.8 ครูมีความเป็นกัลยาณมิตรกับผู้เรียน
2.9 ครูมีเทคนิคการถ่ายทอดความรู้ที่เข้าใจง่าย
2.10 ครูมีบุคลิกภาพที่เหมาะสม
2.11 ครูมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่สอน
2.12 นักเรียนมีความรู้พื้นฐานต่อการเรียน
2.13 นักเรียนมีความพร้อมต่อการเรียน
3. ด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P )
3.1 กิจกรรมการเรียนรู้มีความเหมาะสมกับเนื้อหา
3.2 กิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมให้นักเรียนได้มีส่วนร่วม
16
3.3 กิจกรรมการเรียนรู้มีหลากหลาย น่าสนใจ
3.4 กิจกรรมการเรียนรู้เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ลงมือทําจริง
3.5 กิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการคิดและกระบวนการแก้ปัญหา
3.6 กิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการสื่อสารและการนําเสนอหน้าชั้นเรียน
3.7 กระบวนการดําเนินกิจกรรมการเรียนรู้เป็นลําดับขั้นตอน
3.8 นักเรียนทราบถึงวิธีการวัดผล เครื่องมือ และเกณฑ์การประเมินผลก่อนที่จะเรียน
3.9 มีการวัดผลที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
3.10 มีการวัดผลที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียน
3.11 มีการวัดผลที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้
3.12 มีเกณฑ์การประเมินผลที่ชัดเจน
3.13 มีเครื่องมือวัดผลที่หลากหลาย เช่น ใบกิจกรรม แบบฝึกหัด แบบทดสอบ เป็นต้น
3.14 มีการให้ข้อมูลย้อนกลับกับนักเรียนเพื่อปรับปรุงพัฒนา
4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation : P )
4.1 นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจหลังจากการเรียนได้ดีขึ้น
4.2 นักเรียนมีทักษะตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ตามที่ครูสอน
4.3 นักเรียนชอบเรียน หน่วยบูรณาการ ร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ. รักษ์สิ่งแวดล้อม
4.4 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงขึ้น
4.5 นักเรียนนําความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ท.ศ.รักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
17
การตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้
วิธีการสร้างเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย แบบตรวจสอบ
ความสอดคล้องขององค์ประกอบของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ และแบบตรวจสอบความถูกต้องของ
องค์ประกอบของการออกแบบการจัดการเรียนรู้
วิธีการสร้างแบบตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบของการออกแบบการจัดการเรียนรู้
มีวิธีการสร้างดังต่อไปนี้
1. ศึกษาวิธีการสร้าง และรูปแบบของแบบตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบของการ
ออกแบบการจัดการเรียนรู้ จากเอกสารต่างๆ ซึ่งใช้แบบตรวจสอบ 3 ระดับ คือ สอดคล้อง ไม่แน่ใจ
ไม่สอดคล้อง
2. กําหนดรายการตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบของการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดย
พิจารณาประเด็นรายการตรวจสอบให้สอดคล้องสัมพันธ์กันในแต่ละรายการ เช่น หลักการของการออกแบบ
การจัดการเรียนรู้กับข้อมูลพื้นฐาน จุดมุ่งหมายของการออกแบบการจัดการเรียนรู้กับหลักการออกแบบการ
จัดการเรียนรู้ เป็นต้น
3. กําหนดข้อเสนอแนะเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบการจัดการเรียนรู้
4. ตรวจสอบเบื้องต้นเกี่ยวกับรายการตรวจสอบความสอดคล้อง
5. นําผลการตรวจในข้อ 4 มาปรับปรุงเบื้องต้น พร้อมพิมพ์ต้นฉบับตรวจสอบอีกครั้ง
6. นําผลการตรวจในข้อ 5 มาปรับปรุงเป็นฉบับสมบูรณ์ก่อนให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจ
7. เตรียมแบบตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้พร้อม
เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในขั้นตอนต่อไป
วิธีการสร้างแบบตรวจสอบความถูกต้องขององค์ประกอบของการออกแบบการจัดการเรียนรู้
มีวิธีการสร้างดังต่อไปนี้
1. ศึกษาวิธีการสร้าง และรูปแบบของแบบตรวจสอบความถูกต้องขององค์ประกอบของการออกแบบ
การจัดการเรียนรู้ จากเอกสารต่างๆ ใช้แบบตรวจสอบตามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ
2. กําหนดรายการตรวจสอบความถูกต้องขององค์ประกอบของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดย
พิจารณาประเด็นรายการตรวจสอบ จํานวน 7 ด้าน คือ ข้อมูลพื้นฐาน หลักการของการออกแบบการจัดการ
เรียนรู้ จุดมุ่งหมายของออกแบบการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ คําอธิบายรูปแบบการจัดการ
เรียนรู้ (ด้าน Input ด้าน Process ด้าน Output ด้าน Feedback) การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวม
และการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้
3. กําหนดข้อเสนอแนะเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบการจัดการเรียนรู้
18
4. ตรวจสอบและปรับปรุงเบื้องต้น พร้อมพิมพ์ต้นฉบับตรวจสอบอีกครั้ง
5. นําผลการตรวจในข้อ 4 มาปรับปรุงเป็นฉบับสมบูรณ์ก่อนให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจ
6. เตรียมแบบตรวจสอบความถูกต้องขององค์ประกอบของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้พร้อม
เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องขององค์ประกอบของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในขั้นตอนต่อไป
วิธีการสร้างเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย แบบตรวจสอบความ
สอดคล้องขององค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ และแบบตรวจสอบความถูกต้องขององค์ประกอบของ
แผนการจัดการเรียนรู้
วิธีการสร้างแบบตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ มีวิธีการ
สร้างดังต่อไปนี้
1. ศึกษาวิธีการสร้าง และรูปแบบของแบบตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบของแผนการ
จัดการเรียนรู้จากเอกสารต่างๆ ซึ่งใช้แบบตรวจสอบ 3 ระดับ คือ สอดคล้อง ไม่แน่ใจ ไม่สอดคล้อง
2. กําหนดรายการตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยพิจารณา
ประเด็นรายการตรวจสอบให้สอดคล้องสัมพันธ์กันในแต่ละรายการ เช่น การวางแผนการจัดการเรียนรู้กับ
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้กับจุดมุ่งหมายของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เป็นต้น
3. กําหนดข้อเสนอแนะเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนการจัดการเรียนรู้
4. ตรวจสอบเบื้องต้นเกี่ยวกับรายการตรวจสอบความสอดคล้อง
5. นําผลการตรวจในข้อ 4 มาปรับปรุงเบื้องต้น พร้อมพิมพ์ต้นฉบับและตรวจสอบอีกครั้ง
6. นําผลการตรวจในข้อ 5 มาปรับปรุงเป็นฉบับสมบูรณ์ก่อนให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจ
7. เตรียมแบบตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ให้พร้อมเพื่อให้
ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ในขั้นตอนต่อไป
วิธีการสร้างแบบตรวจสอบความถูกต้องขององค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ มีวิธีการสร้าง
ดังต่อไปนี้
1. ศึกษาวิธีการสร้าง และรูปแบบของแบบตรวจสอบความถูกต้องขององค์ประกอบของแผนการจัดการ
เรียนรู้จากเอกสารต่างๆ ใช้แบบตรวจสอบตามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ
2. กําหนดรายการตรวจสอบความถูกต้องขององค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้โดยพิจารณา
ประเด็นรายการตรวจสอบ จํานวน 6 ด้าน คือ สาระสําคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กิจกรรม
การเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และการประเมินผล
3. กําหนดข้อเสนอแนะเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนการจัดการเรียนรู้
4. ตรวจสอบเบื้องต้นเกี่ยวกับรายการตรวจสอบความถูกต้อง
19
5. นําผลการตรวจในข้อ 4 มาปรับปรุงเบื้องต้น พร้อมพิมพ์ต้นฉบับตรวจสอบอีกครั้ง
6. นําผลการตรวจในข้อ 5 มาปรับปรุงเป็นฉบับสมบูรณ์ก่อนให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจ
7. เตรียมแบบตรวจสอบความถูกต้องขององค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ให้พร้อมเพื่อให้
ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องขององค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ในขั้นตอนต่อไป
นางอธิชา หมีนโยธา หัวหน้ากลุ่มสาระวิทยาศาสตร์โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์
นายสาคร ขันชู ครูโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ จบการศึกษาระดับปริญญาโท และเป็นครูมาสเตอร์
ทีเชอร์สาขาวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์) หัวหน้ากิจกรรม 5 ส หัวหน้าฝ่ายอาคารสถานที่โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์
นายดํารงค์ วรรณแรก รองผู้อํานวยการฝ่ายวิชาการโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์
ผลการตรวจสอบคุณภาพการออกแบบการจัดการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้
จากการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และแผนการจัดการ
เรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย แบบตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบของการออกแบบการจัดการเรียนรู้
แบบตรวจสอบความถูกต้องขององค์ประกอบของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ แบบตรวจสอบความ
สอดคล้องขององค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ และแบบตรวจสอบความถูกต้องขององค์ประกอบของ
แผนการจัดการเรียนรู้ ผู้ศึกษาได้นําเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพต่างๆ ทั้ง 4 ฉบับ พร้อม แผนการจัดการ
เรียนรู้ และรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ให้ผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 3 ท่าน ตรวจสอบความสอดคล้องของ
องค์ประกอบของการออกแบบการจัดการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ และตรวจสอบความถูกต้องของ
องค์ประกอบของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้ และนําผลการตรวจสอบของ
ผู้เชี่ยวชาญมาคํานวณ เพื่อหาค่าเฉลี่ยของความสอดคล้อง (IOC) ค่าความสอดคล้องที่ใช้ได้ต้องมีค่าตั้งแต่ 0.50
ขึ้นไป และคํานวณหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการตรวจสอบความถูกต้อง โดยมีเกณฑ์การแปล
ความหมาย (อําไพ เกียรติชัย และคณะ, 2554, หน้า 79-80) ปรับปรุงแก้ไขการออกแบบการจัดการเรียนรู้
และแผนการจัดการเรียนรู้ตามคําแนะนําของผู้เชี่ยวชาญ นํารูปแบบการจัดการเรียนรู้ และแผนการจัดการ
เรียนรู้ที่ปรับปรุงแล้วเขียนเป็นฉบับจริงเพื่อนําไปสอนกับกลุ่มตัวอย่างต่อไป ผลการตรวจสอบคุณภาพการ
ออกแบบการจัดการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้ ผลการตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบของ
การออกแบบ การจัดการเรียนรู้ของผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 18 ข้อ พบว่าทุกข้อมีค่าความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ
1.00 ผลการตรวจสอบความถูกต้องขององค์ประกอบของการออกแบบการจัดการเรียนรู้พบว่า
ค่าเฉลี่ยโดยรวมทั้งฉบับอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ผลการตรวจสอบความ
ถูกต้องด้านข้อมูลพื้นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยรายข้ออยู่ในช่วง 4.67-5.00 และค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.78) ผลการตรวจสอบความถูกต้องด้านหลักการของการออกแบบรูปแบบการจัดการเรียนรู้มีคะแนน
เฉลี่ยรายข้ออยู่ในช่วง 4.67-5.00 และค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด( = 4.89) ผลการตรวจสอบ
Χ
Χ
Χ
4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

งานนำเสนอBest
งานนำเสนอBestงานนำเสนอBest
งานนำเสนอBest
krupornpana55
 
1ปกชุดกิจกรรม
1ปกชุดกิจกรรม1ปกชุดกิจกรรม
1ปกชุดกิจกรรม
krupornpana55
 
แผนหน่วยบูรณาการ
แผนหน่วยบูรณาการแผนหน่วยบูรณาการ
แผนหน่วยบูรณาการ
krupornpana55
 
แบบทดสอบรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
แบบทดสอบรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อแบบทดสอบรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
แบบทดสอบรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
krupornpana55
 
3คำสั่งร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ.
3คำสั่งร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ.3คำสั่งร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ.
3คำสั่งร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ.
krupornpana55
 
ไฟล์การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
ไฟล์การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการไฟล์การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
ไฟล์การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
krupornpana55
 
ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์
ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์
ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์
krupornpana55
 
แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศโรงเรียนในฝัน 2013 ครูพรพนา,ทุ่งยาวผดุงศิษย์
แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศโรงเรียนในฝัน 2013 ครูพรพนา,ทุ่งยาวผดุงศิษย์แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศโรงเรียนในฝัน 2013 ครูพรพนา,ทุ่งยาวผดุงศิษย์
แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศโรงเรียนในฝัน 2013 ครูพรพนา,ทุ่งยาวผดุงศิษย์
krupornpana55
 
2ใบกิจกรรม
2ใบกิจกรรม2ใบกิจกรรม
2ใบกิจกรรม
krupornpana55
 
2เอกสารประกอบการนำเสนอ
2เอกสารประกอบการนำเสนอ2เอกสารประกอบการนำเสนอ
2เอกสารประกอบการนำเสนอ
krupornpana55
 
ปกน่วยการเรียนรู้
ปกน่วยการเรียนรู้ปกน่วยการเรียนรู้
ปกน่วยการเรียนรู้
krupornpana55
 
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
Wareerut Hunter
 
Best practice โรงเรียนสุจริต
Best practice โรงเรียนสุจริตBest practice โรงเรียนสุจริต
Best practice โรงเรียนสุจริต
Aon Narinchoti
 
ปกซ๊ดีแบบยาว
ปกซ๊ดีแบบยาวปกซ๊ดีแบบยาว
ปกซ๊ดีแบบยาว
krupornpana55
 
นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
somdetpittayakom school
 
ถอดบทเรียนเศรษฐกิจพอเพียง
ถอดบทเรียนเศรษฐกิจพอเพียงถอดบทเรียนเศรษฐกิจพอเพียง
ถอดบทเรียนเศรษฐกิจพอเพียง
krupornpana55
 
Best practices
Best practicesBest practices
Best practices
thkitiya
 
3.แผนไฟฟ้าเศรษฐกิจพอเพียง
3.แผนไฟฟ้าเศรษฐกิจพอเพียง3.แผนไฟฟ้าเศรษฐกิจพอเพียง
3.แผนไฟฟ้าเศรษฐกิจพอเพียง
Wareerut Hunter
 

La actualidad más candente (20)

งานนำเสนอBest
งานนำเสนอBestงานนำเสนอBest
งานนำเสนอBest
 
1ปกชุดกิจกรรม
1ปกชุดกิจกรรม1ปกชุดกิจกรรม
1ปกชุดกิจกรรม
 
แผนหน่วยบูรณาการ
แผนหน่วยบูรณาการแผนหน่วยบูรณาการ
แผนหน่วยบูรณาการ
 
แบบทดสอบรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
แบบทดสอบรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อแบบทดสอบรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
แบบทดสอบรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
 
2คำนำ
2คำนำ2คำนำ
2คำนำ
 
3คำสั่งร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ.
3คำสั่งร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ.3คำสั่งร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ.
3คำสั่งร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ.
 
ไฟล์การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
ไฟล์การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการไฟล์การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
ไฟล์การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
 
ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์
ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์
ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์
 
แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศโรงเรียนในฝัน 2013 ครูพรพนา,ทุ่งยาวผดุงศิษย์
แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศโรงเรียนในฝัน 2013 ครูพรพนา,ทุ่งยาวผดุงศิษย์แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศโรงเรียนในฝัน 2013 ครูพรพนา,ทุ่งยาวผดุงศิษย์
แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศโรงเรียนในฝัน 2013 ครูพรพนา,ทุ่งยาวผดุงศิษย์
 
2ใบกิจกรรม
2ใบกิจกรรม2ใบกิจกรรม
2ใบกิจกรรม
 
2เอกสารประกอบการนำเสนอ
2เอกสารประกอบการนำเสนอ2เอกสารประกอบการนำเสนอ
2เอกสารประกอบการนำเสนอ
 
ปกน่วยการเรียนรู้
ปกน่วยการเรียนรู้ปกน่วยการเรียนรู้
ปกน่วยการเรียนรู้
 
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
 
Best practice โรงเรียนสุจริต
Best practice โรงเรียนสุจริตBest practice โรงเรียนสุจริต
Best practice โรงเรียนสุจริต
 
ปกซ๊ดีแบบยาว
ปกซ๊ดีแบบยาวปกซ๊ดีแบบยาว
ปกซ๊ดีแบบยาว
 
นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
 
ถอดบทเรียนเศรษฐกิจพอเพียง
ถอดบทเรียนเศรษฐกิจพอเพียงถอดบทเรียนเศรษฐกิจพอเพียง
ถอดบทเรียนเศรษฐกิจพอเพียง
 
1ปก
1ปก1ปก
1ปก
 
Best practices
Best practicesBest practices
Best practices
 
3.แผนไฟฟ้าเศรษฐกิจพอเพียง
3.แผนไฟฟ้าเศรษฐกิจพอเพียง3.แผนไฟฟ้าเศรษฐกิจพอเพียง
3.แผนไฟฟ้าเศรษฐกิจพอเพียง
 

Destacado

15ประชุมคณะกรรมการ
15ประชุมคณะกรรมการ15ประชุมคณะกรรมการ
15ประชุมคณะกรรมการ
krupornpana55
 
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56
krupornpana55
 
6คณะกรรมการนักเรียนพัฒนาวันหยุด
6คณะกรรมการนักเรียนพัฒนาวันหยุด6คณะกรรมการนักเรียนพัฒนาวันหยุด
6คณะกรรมการนักเรียนพัฒนาวันหยุด
krupornpana55
 
18ปลูกป่าชายเลน
18ปลูกป่าชายเลน18ปลูกป่าชายเลน
18ปลูกป่าชายเลน
krupornpana55
 
11นำเสนอโครงงานกลุ่มสาระ
11นำเสนอโครงงานกลุ่มสาระ11นำเสนอโครงงานกลุ่มสาระ
11นำเสนอโครงงานกลุ่มสาระ
krupornpana55
 
แผนหน่วยบูรณาการ
แผนหน่วยบูรณาการแผนหน่วยบูรณาการ
แผนหน่วยบูรณาการ
krupornpana55
 
หลักปรัชญา ศก พอเพียง
หลักปรัชญา ศก พอเพียงหลักปรัชญา ศก พอเพียง
หลักปรัชญา ศก พอเพียง
krupornpana55
 
เครื่องมือแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 3 มี.ค.56
เครื่องมือแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 3 มี.ค.56เครื่องมือแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 3 มี.ค.56
เครื่องมือแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 3 มี.ค.56
krupornpana55
 
16ประชุมสร้างความตระหนักนักเรียน
16ประชุมสร้างความตระหนักนักเรียน16ประชุมสร้างความตระหนักนักเรียน
16ประชุมสร้างความตระหนักนักเรียน
krupornpana55
 
21พัฒนาวัดคาบจิตสาธารณะ
21พัฒนาวัดคาบจิตสาธารณะ21พัฒนาวัดคาบจิตสาธารณะ
21พัฒนาวัดคาบจิตสาธารณะ
krupornpana55
 
17ปลูกต้นไม้
17ปลูกต้นไม้17ปลูกต้นไม้
17ปลูกต้นไม้
krupornpana55
 
33อบรมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
33อบรมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง33อบรมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
33อบรมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
krupornpana55
 
19ปัญหาขยะในโรงเนรียน
19ปัญหาขยะในโรงเนรียน19ปัญหาขยะในโรงเนรียน
19ปัญหาขยะในโรงเนรียน
krupornpana55
 
ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์แนวนอน
ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์แนวนอนไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์แนวนอน
ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์แนวนอน
krupornpana55
 
เผยแพร่รูปแบบ2
เผยแพร่รูปแบบ2เผยแพร่รูปแบบ2
เผยแพร่รูปแบบ2
krupornpana55
 
ผลงานนักเรียนกิจกรรมสร้างสรรค์
ผลงานนักเรียนกิจกรรมสร้างสรรค์ผลงานนักเรียนกิจกรรมสร้างสรรค์
ผลงานนักเรียนกิจกรรมสร้างสรรค์
krupornpana55
 
12บรรยากาศโรงเรียน
12บรรยากาศโรงเรียน12บรรยากาศโรงเรียน
12บรรยากาศโรงเรียน
krupornpana55
 
24ร่วมปลูกป่าชายเลนกับชุมชน
24ร่วมปลูกป่าชายเลนกับชุมชน24ร่วมปลูกป่าชายเลนกับชุมชน
24ร่วมปลูกป่าชายเลนกับชุมชน
krupornpana55
 
ปกน่วยการเรียนรู้
ปกน่วยการเรียนรู้ปกน่วยการเรียนรู้
ปกน่วยการเรียนรู้
krupornpana55
 
เผยแพร่รูปแบบ
เผยแพร่รูปแบบเผยแพร่รูปแบบ
เผยแพร่รูปแบบ
krupornpana55
 

Destacado (20)

15ประชุมคณะกรรมการ
15ประชุมคณะกรรมการ15ประชุมคณะกรรมการ
15ประชุมคณะกรรมการ
 
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56
 
6คณะกรรมการนักเรียนพัฒนาวันหยุด
6คณะกรรมการนักเรียนพัฒนาวันหยุด6คณะกรรมการนักเรียนพัฒนาวันหยุด
6คณะกรรมการนักเรียนพัฒนาวันหยุด
 
18ปลูกป่าชายเลน
18ปลูกป่าชายเลน18ปลูกป่าชายเลน
18ปลูกป่าชายเลน
 
11นำเสนอโครงงานกลุ่มสาระ
11นำเสนอโครงงานกลุ่มสาระ11นำเสนอโครงงานกลุ่มสาระ
11นำเสนอโครงงานกลุ่มสาระ
 
แผนหน่วยบูรณาการ
แผนหน่วยบูรณาการแผนหน่วยบูรณาการ
แผนหน่วยบูรณาการ
 
หลักปรัชญา ศก พอเพียง
หลักปรัชญา ศก พอเพียงหลักปรัชญา ศก พอเพียง
หลักปรัชญา ศก พอเพียง
 
เครื่องมือแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 3 มี.ค.56
เครื่องมือแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 3 มี.ค.56เครื่องมือแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 3 มี.ค.56
เครื่องมือแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 3 มี.ค.56
 
16ประชุมสร้างความตระหนักนักเรียน
16ประชุมสร้างความตระหนักนักเรียน16ประชุมสร้างความตระหนักนักเรียน
16ประชุมสร้างความตระหนักนักเรียน
 
21พัฒนาวัดคาบจิตสาธารณะ
21พัฒนาวัดคาบจิตสาธารณะ21พัฒนาวัดคาบจิตสาธารณะ
21พัฒนาวัดคาบจิตสาธารณะ
 
17ปลูกต้นไม้
17ปลูกต้นไม้17ปลูกต้นไม้
17ปลูกต้นไม้
 
33อบรมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
33อบรมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง33อบรมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
33อบรมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
 
19ปัญหาขยะในโรงเนรียน
19ปัญหาขยะในโรงเนรียน19ปัญหาขยะในโรงเนรียน
19ปัญหาขยะในโรงเนรียน
 
ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์แนวนอน
ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์แนวนอนไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์แนวนอน
ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์แนวนอน
 
เผยแพร่รูปแบบ2
เผยแพร่รูปแบบ2เผยแพร่รูปแบบ2
เผยแพร่รูปแบบ2
 
ผลงานนักเรียนกิจกรรมสร้างสรรค์
ผลงานนักเรียนกิจกรรมสร้างสรรค์ผลงานนักเรียนกิจกรรมสร้างสรรค์
ผลงานนักเรียนกิจกรรมสร้างสรรค์
 
12บรรยากาศโรงเรียน
12บรรยากาศโรงเรียน12บรรยากาศโรงเรียน
12บรรยากาศโรงเรียน
 
24ร่วมปลูกป่าชายเลนกับชุมชน
24ร่วมปลูกป่าชายเลนกับชุมชน24ร่วมปลูกป่าชายเลนกับชุมชน
24ร่วมปลูกป่าชายเลนกับชุมชน
 
ปกน่วยการเรียนรู้
ปกน่วยการเรียนรู้ปกน่วยการเรียนรู้
ปกน่วยการเรียนรู้
 
เผยแพร่รูปแบบ
เผยแพร่รูปแบบเผยแพร่รูปแบบ
เผยแพร่รูปแบบ
 

Similar a 4รายงานนวีตกรรม

บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
benty2443
 
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
Sawittri Phaisal
 
ขอบข่ายเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
ขอบข่ายเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาขอบข่ายเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
ขอบข่ายเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
apostrophe0327
 

Similar a 4รายงานนวีตกรรม (20)

บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
 
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่ 1
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่ 1การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่ 1
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่ 1
 
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่
 
ขอบข่ายเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
ขอบข่ายเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาขอบข่ายเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
ขอบข่ายเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
 
งาน
งานงาน
งาน
 
Child center
Child centerChild center
Child center
 
01 ตอนที่ 1 word
01 ตอนที่ 1 word01 ตอนที่ 1 word
01 ตอนที่ 1 word
 
แผนยุทธศาตร์การแนะแนว55
แผนยุทธศาตร์การแนะแนว55แผนยุทธศาตร์การแนะแนว55
แผนยุทธศาตร์การแนะแนว55
 

Más de krupornpana55

รายงานผล กิจกรรมต่างๆ
รายงานผล  กิจกรรมต่างๆ รายงานผล  กิจกรรมต่างๆ
รายงานผล กิจกรรมต่างๆ
krupornpana55
 
การคงสภาพโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียน
การคงสภาพโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียนการคงสภาพโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียน
การคงสภาพโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียน
krupornpana55
 
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4
krupornpana55
 
ถอดบทเรียนองค์ประกอบที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมสภานักเรียน และประชาธิปไตยในโรง...
ถอดบทเรียนองค์ประกอบที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมสภานักเรียน และประชาธิปไตยในโรง...ถอดบทเรียนองค์ประกอบที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมสภานักเรียน และประชาธิปไตยในโรง...
ถอดบทเรียนองค์ประกอบที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมสภานักเรียน และประชาธิปไตยในโรง...
krupornpana55
 
โฟมบอร์ดห้องเรียนสีขาว
โฟมบอร์ดห้องเรียนสีขาวโฟมบอร์ดห้องเรียนสีขาว
โฟมบอร์ดห้องเรียนสีขาว
krupornpana55
 
บอร์ดสิ่งแวดล้อม
บอร์ดสิ่งแวดล้อมบอร์ดสิ่งแวดล้อม
บอร์ดสิ่งแวดล้อม
krupornpana55
 
บอร์ดโรงเรียนสีขาว
บอร์ดโรงเรียนสีขาวบอร์ดโรงเรียนสีขาว
บอร์ดโรงเรียนสีขาว
krupornpana55
 
บอร์ดพลโลก
บอร์ดพลโลกบอร์ดพลโลก
บอร์ดพลโลก
krupornpana55
 
คุณลักษณะ
คุณลักษณะคุณลักษณะ
คุณลักษณะ
krupornpana55
 
การสร้างเครือข่าย
การสร้างเครือข่ายการสร้างเครือข่าย
การสร้างเครือข่าย
krupornpana55
 
5สิทธิเด็ก
5สิทธิเด็ก5สิทธิเด็ก
5สิทธิเด็ก
krupornpana55
 
3คุณธรรมตามวิถีประชาธิปไตย
3คุณธรรมตามวิถีประชาธิปไตย3คุณธรรมตามวิถีประชาธิปไตย
3คุณธรรมตามวิถีประชาธิปไตย
krupornpana55
 
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4
krupornpana55
 
คู่มือสภานักเรียน
คู่มือสภานักเรียนคู่มือสภานักเรียน
คู่มือสภานักเรียน
krupornpana55
 
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม
krupornpana55
 
1ปกรายงานการประชุม
1ปกรายงานการประชุม1ปกรายงานการประชุม
1ปกรายงานการประชุม
krupornpana55
 
3ภาพประกอบการอบรม เปล่า
3ภาพประกอบการอบรม เปล่า3ภาพประกอบการอบรม เปล่า
3ภาพประกอบการอบรม เปล่า
krupornpana55
 
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม
krupornpana55
 
1ปกรายงานการประชุม
1ปกรายงานการประชุม1ปกรายงานการประชุม
1ปกรายงานการประชุม
krupornpana55
 
3ภาพประกอบการอบรม เปล่า
3ภาพประกอบการอบรม เปล่า3ภาพประกอบการอบรม เปล่า
3ภาพประกอบการอบรม เปล่า
krupornpana55
 

Más de krupornpana55 (20)

รายงานผล กิจกรรมต่างๆ
รายงานผล  กิจกรรมต่างๆ รายงานผล  กิจกรรมต่างๆ
รายงานผล กิจกรรมต่างๆ
 
การคงสภาพโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียน
การคงสภาพโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียนการคงสภาพโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียน
การคงสภาพโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียน
 
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4
 
ถอดบทเรียนองค์ประกอบที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมสภานักเรียน และประชาธิปไตยในโรง...
ถอดบทเรียนองค์ประกอบที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมสภานักเรียน และประชาธิปไตยในโรง...ถอดบทเรียนองค์ประกอบที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมสภานักเรียน และประชาธิปไตยในโรง...
ถอดบทเรียนองค์ประกอบที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมสภานักเรียน และประชาธิปไตยในโรง...
 
โฟมบอร์ดห้องเรียนสีขาว
โฟมบอร์ดห้องเรียนสีขาวโฟมบอร์ดห้องเรียนสีขาว
โฟมบอร์ดห้องเรียนสีขาว
 
บอร์ดสิ่งแวดล้อม
บอร์ดสิ่งแวดล้อมบอร์ดสิ่งแวดล้อม
บอร์ดสิ่งแวดล้อม
 
บอร์ดโรงเรียนสีขาว
บอร์ดโรงเรียนสีขาวบอร์ดโรงเรียนสีขาว
บอร์ดโรงเรียนสีขาว
 
บอร์ดพลโลก
บอร์ดพลโลกบอร์ดพลโลก
บอร์ดพลโลก
 
คุณลักษณะ
คุณลักษณะคุณลักษณะ
คุณลักษณะ
 
การสร้างเครือข่าย
การสร้างเครือข่ายการสร้างเครือข่าย
การสร้างเครือข่าย
 
5สิทธิเด็ก
5สิทธิเด็ก5สิทธิเด็ก
5สิทธิเด็ก
 
3คุณธรรมตามวิถีประชาธิปไตย
3คุณธรรมตามวิถีประชาธิปไตย3คุณธรรมตามวิถีประชาธิปไตย
3คุณธรรมตามวิถีประชาธิปไตย
 
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4
 
คู่มือสภานักเรียน
คู่มือสภานักเรียนคู่มือสภานักเรียน
คู่มือสภานักเรียน
 
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม
 
1ปกรายงานการประชุม
1ปกรายงานการประชุม1ปกรายงานการประชุม
1ปกรายงานการประชุม
 
3ภาพประกอบการอบรม เปล่า
3ภาพประกอบการอบรม เปล่า3ภาพประกอบการอบรม เปล่า
3ภาพประกอบการอบรม เปล่า
 
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม
 
1ปกรายงานการประชุม
1ปกรายงานการประชุม1ปกรายงานการประชุม
1ปกรายงานการประชุม
 
3ภาพประกอบการอบรม เปล่า
3ภาพประกอบการอบรม เปล่า3ภาพประกอบการอบรม เปล่า
3ภาพประกอบการอบรม เปล่า
 

4รายงานนวีตกรรม

  • 1. 1 รายงานการศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้ หน่วยบูรณาการร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ.รักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 1. บทสรุป การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ หน่วยบูรณาการ ร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ. รักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และนักเรียนแกนนํา ท.ศ.รักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้ผู้เรียน สร้างองค์ความรู้จากกระบวนการทํางานกลุ่มจากการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนา ทักษะการคิดแก้ปัญหาตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์จากปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจําวันของผู้เรียน จุดมุ่งหมาย ของการออกแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน มีทักษะการทํางานกลุ่มในการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนหน่วยบูรณาการโดยใช้ ปัญหาเป็นฐาน และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการปฏิบัติการเรียนรู้หน่วยบูรณาการโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน รูปแบบการจัดการเรียนรู้ซึ่งได้ออกแบบตามทฤษฎีระบบ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้น INPUT ขั้น PROCESS ขั้น OUTPUT ขั้น FEEDBACK กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ทําการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จากประชากรโดยวิธีการจับฉลาก โดยใช้กลุ่มนักเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม คือกลุ่มนักเรียน แกนนํา ท.ศ.รักษ์สิ่งแวดล้อม กลุ่มนักเรียน ม.3/1 กลุ่มนักเรียน ม.3/2 กลุ่มนักเรียน ม.3/3 และกลุ่มนักเรียน ม.3/4 สุ่มได้ห้อง ม.3/1 จํานวน 34 คน การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่าผลการตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบของ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้ พบว่าทุกข้อมีค่าความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 ผล การตรวจสอบความถูกต้องขององค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้ พบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมทั้งฉบับอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการหาคุณภาพแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างข้อคําถามกับจุดประสงค์ จํานวน 61 ข้อ พบว่าทุกข้อมีค่า ความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 ข้อสอบที่มีความยาก (P) ตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.80 และค่าอํานาจจําแนก (r) ตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป ได้ข้อสอบที่ดี จํานวน 45 ข้อ ผลการหาค่าความเชื่อมั่นของ แบบทดสอบทั้งฉบับ โดยใช้วิธีของวิชาร์ดสัน (Richardson) KR-20 (Kuder Richardson-20) ได้ค่าความ เชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ .8162 ผลการประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและ ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน จากการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
  • 2. 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนน หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80.90 สูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนดคือร้อยละ 80 ผลการประเมินทักษะการทํางานกลุ่ม พบว่าในภาพรวมอยู่ใน ระดับคุณภาพ 3 ผลการประเมินเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้หน่วยบูรณาการ ค่าเฉลี่ยโดยรวมทั้งฉบับผู้เรียน เห็นด้วย และผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับ คุณภาพ 3 ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่าค่าเฉลี่ยโดยรวมทั้งฉบับอยู่ในระดับมาก การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ส่งผลให้นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนชุมชน ตระหนักถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน และท้องถิ่นจากกิจกรรมที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ และรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน โดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2. ความเป็นมาและความสําคัญ การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 หมวด 4 มาตรา 24 ต้องจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคํานึงถึง ความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้ผู้เรียนฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและการแก้ไขปัญหา จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทําได้ คิดเป็นและทําเป็น รักการอ่านและเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จัดการเรียน การสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกันรวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อ การเรียนรู้ และอํานวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัย เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและ แหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ และจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลาส่งเสริมให้ผู้เรียน เป็นคนดี คนเก่ง และสามารถดําเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข จากหลักการดังกล่าวผู้สอนจึงได้พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ซึ่งได้ออกแบบตามทฤษฎีระบบ 4 ขั้นตอน (สุคนธ์ ภูริเวทย์, 2442, หน้า 52) ได้แก่ ขั้น INPUT ซึ่งประกอบด้วยการวิเคราะห์ผู้เรียนและ วิเคราะห์หลักสูตร กําหนดเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ กําหนดเนื้อหาวิชา กําหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ กําหนดกิจกรรมการเรียนรู้ กําหนดสื่อและแหล่งเรียนรู้ กําหนดกระบวนการวัดและประเมินผล ขั้น PROCESS ประกอบด้วยการดําเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน 6 ขั้นตอน คือ กําหนด ปัญหา ทําความเข้าใจกับปัญหา ดําเนินการศึกษาค้นคว้า สังเคราะห์ความรู้ สรุปและประเมินค่าของคําตอบ นําเสนอและประเมินผลงาน ขั้น OUTPUT ประกอบด้วยการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและวิเคราะห์ผล การเรียน โดยการทดสอบก่อนเรียน ประเมินชิ้นงานตามใบกิจกรรม ประเมินทักษะการทํางานกลุ่ม ประเมิน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทําแบบฝึกหัดทบทวน ทําแบบทดสอบหลังเรียน ขั้น FEEDBACK ประกอบด้วย
  • 3. 3 การปรับปรุง แก้ไข พัฒนาทุกขั้นตอน ทฤษฎีการจัดการเรียนรู้ 9 ขั้น ของกาเย่ และบริกส์ (Gagne’ and Briggs, 1979 อ้างถึงในไชยยศ เรืองสุวรรณ, 2531, หน้า 66-67) คือ ต้องมีสิ่งเร้าให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ ต้องแจ้งจุดประสงค์ให้ผู้เรียนทราบ ต้องสร้างสถานการณ์เพื่อเชื่อมโยงเข้าหาความรู้เดิม ทําการเสนอบทเรียน แนะนําแนวทางในการเรียน หลังจากผู้เรียนเข้าใจแล้วให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ ให้ข้อมูลย้อนกลับ ประเมินผลการ ปฏิบัติ ทบทวนเพื่อให้เกิดความแม่นยําและการถ่ายโอนความรู้ ทฤษฎีการสื่อสาร มีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ ผู้ส่งสาร ตัวสารหรือตัวกลาง หรือช่องทางในการสื่อสาร และผู้รับสาร (สุคนธ์ ภูริเวทย์, 2552, หน้า 70) อีกทั้งรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฝึกให้ผู้เรียนทํากิจกรรมสร้างสรรค์ตาม วงจรคุณภาพ PDCA คือขั้น P(PLAN) หรือวางแผนการทํากิจกรรมสร้างสรรค์ ขั้น D(DO) เป็นการดําเนินกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ได้วางแผนไว้ ขั้น C(CHECK) เป็นขั้นติดตามความก้าวหน้าจากการดําเนินกิจกรรม และขั้น A(ACTION) เป็นขั้นที่ต้องพัฒนา แก้ไข ตลอดจนรูปแบบการจัดการเรียนรู้ยังบูรณาการให้ผู้เรียนฝึกวิเคราะห์บทเรียนตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นแนวพระราชดําริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชฯ เป็นปรัชญาที่มี ประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดย คํานึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบและ คุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทํา รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ที่พัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของผู้เรียน ให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้จากกระบวนการทํางานกลุ่มจากการเรียนรู้โดยใช้ปัญหา เป็นฐาน ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์และวงจรคุณภาพ PDCA จากปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจําวันของผู้เรียน 3. วัตถุประสงค์ 3.1 เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ หน่วยบูรณาการ ร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ. รักษ์สิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย ดังนี้ 1. ตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้ 2. ตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3. ประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน 4. ประเมินทักษะการทํางานกลุ่ม 5. ประเมินเจตคติที่ดีต่อการเรียนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 6. ประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้หน่วยบูรณาการ ร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ. รักษ์สิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
  • 4. 4 3.2 สร้างความตระหนักให้กับนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนชุมชนในการรักษา สิ่งแวดล้อมของโรงเรียน และท้องถิ่นโดยการจัดกิจกรรมที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ และรักษา สิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน โดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4. กระบวนการพัฒนาผลงานนวัตกรรม 4.1 สภาพปัญหาก่อนการพัฒนา โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ตั้งอยู่เลขที่ 92 หมู่ 1 ตําบลทุ่งยาว อําเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง บนเนื้อที่ประมาณ ประมาณ 57 ไร่ 3 งาน 29 ตารางวา เป็นโรงเรียนดีประจําอําเภอ บริหารจัดการเชิงระบบ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล และเป็นโรงเรียนต้นแบบสถานศึกษาพอเพียง เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง มีนักเรียน จํานวน 660 คน ในปีการศึกษา 2555 เปิดสอนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จัดสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จากการประเมิน คุณภาพภายนอกรอบ 2 จาก สมศ.มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์ มาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่ จําเป็นทางหลักสูตร ผลการประเมินอยู่ในระดับคุณภาพพอใช้ ส่วนมาตรฐาน 1-3 และ 6-8 อยู่ในระดับคุณภาพดี และดีมาก ตามลําดับ อย่างไรก็ตามจากการรายงานผลการทดสอบวัดคุณภาพขั้นพื้นฐานผู้เรียนกลุ่มสาระการ เรียนรู้ (O-Net) 8 กลุ่มสาระระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ ในปีการศึกษา 2553-2554 ตามลําดับ ดังนี้ สาระการเรียนรู้ภาษาไทยมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 41.04 และร้อยละ 47.82 สาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 24.41 ร้อยละ 27.60 สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 28.66 และร้อยละ 30.75 สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 40.15 และ ร้อยละ 38.39 สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 72.05 และร้อยละ สาระ การเรียนรู้ ศิลปะ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 28.73 และร้อยละ 48.44 สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มีคะแนน เฉลี่ยร้อยละ 46.37 และร้อยละ 45.80 และสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 14.71 และ ร้อยละ 26.66 ซึ่งส่วนใหญ่ต่ํากว่าเกณฑ์คือร้อยละ 50 ยังไม่บรรลุเป้าหมายของสถานศึกษา จากการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 พบว่าผลการเรียนเฉลี่ย (GPA) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และระดับกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามลําดับดังนี้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เท่ากับ 2.51 และ 2.13 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เท่ากับ 2.51 และ 2.55 กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ เท่ากับ 2.25 และ 2.37 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมในภาพรวม เท่ากับ 2.89 และ 2.59 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เท่ากับ 3.55 และ 3.43 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เท่ากับ 3.29 และ 3.19 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เท่ากับ 2.59 และ 2.47 กลุ่มสาระการ เรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เท่ากับ 2.80 และ 2.96 ส่วนในระดับโรงเรียนในภาพรวมมีผลการเรียนเฉลี่ย (GPA)
  • 5. 5 เท่ากับ 2.80 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง (โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์, 2555, หน้า (65,102-105) นักเรียนมีปัญหาใน ด้านการเรียนรู้ซึ่งเป็นผลที่ตามมาก็คือ นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีความรู้ความเข้าใจในสาระการ เรียนรู้ต่างๆ ไม่เหมาะสมกับระดับชั้นตามรายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) และการรายงาน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน จากการสํารวจสภาพปัญหาในโรงเรียนของผู้เรียน พบปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียนหลายปัญหา ด้วยกัน อาทิ ปัญหาขยะในโรงเรียน ปัญหาการใช้ห้องเรียน ปัญหาการใช้อาคารหอประชุม ปัญหาห้องน้ําห้องส้วม ของโรงเรียน ปัญหาการใช้โรงอาหารในโรงเรียน ปัญหาการใช้อัฒจรรย์ของโรงเรียน ปัญหาการใช้ร้านค้าสวัสดิการ ของโรงเรียน ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับขยะบริเวณที่ไปสํารวจเป็นส่วนใหญ่ และการไม่มีวินัยใน การไปใช้สถานที่เหล่านั้นทํากิจกรรมจึงเป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดปัญหาตามมา และจากประสบการณ์ด้านการ จัด การเรียนรู้ของผู้สอน มักประสบปัญหาด้านการจัดกิจกรรมการเรียน การจัดการเรียนรู้ เช่น ผู้เรียนไม่สนใจ เรียน นักเรียนเบื่อเรียน ขาดเจตคติที่ดีต่อการเรียนและคิดว่าการเรียนรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆ เป็นเรื่องยาก ผลการ เรียนรู้ของนักเรียนไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง นักเรียนมีบทบาทในการเรียนรู้น้อย ครูผู้สอนเน้นเนื้อหาสาระมากกว่า กระบวนการค้นคว้าหาความรู้ จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาและแก้ไขปรับปรุงรูปแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะกระบวนการคิด การคิดแก้ปัญหา การค้นหาคําตอบด้วยตนเอง การจัดการเรียนรู้สาระ การเรียนรู้ต่างๆ ตามธรรมชาติวิชาต้องการเน้นการเสาะหาความรู้ โดยที่ผู้เรียนค้นพบความรู้ สํารวจตรวจสอบสิ่งที่ ต้องการรู้ และตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆ ด้วยตนเอง ซึ่งการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานเป็น กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เริ่มต้นจากปัญหาที่เกิดขึ้นโดยสร้างความรู้จากกระบวนการทํางานกลุ่ม เพื่อแก้ปัญหา หรือสถานการณ์เกี่ยวกับชีวิตประจําวัน และมีความสําคัญต่อผู้เรียน ตัวปัญหาจะเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการ เรียนรู้ และเป็นตัวกระตุ้นการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาด้วยเหตุผลและการสืบค้น หาข้อมูลเพื่อเข้าใจกลไกของตัว ปัญหา รวมทั้งวิธีแก้ปัญหา การเรียนรู้แบบนี้มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนในด้านทักษะและกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนา ผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้โดยการการชี้นําตนเองซึ่งผู้เรียนจะได้ฝึกฝนการสร้างองค์ความรู้โดยผ่านกระบวนการคิด ด้วยการแก้ปัญหาอย่างมีความหมายต่อผู้เรียน (สกศ., 2550, หน้า 1) โดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้มี ความสนใจในปัญหาที่เกิดขึ้น และยังสามารถปรับประยุกต์สิ่งที่เรียนรู้ไปสู่การสร้างประสบการณ์ของตนเอง มีความรู้ความเข้าใจในปัญหาที่ศึกษาและให้เป็นไปในทางที่สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม การเรียนการจัดการเรียนรู้ที่จะมีประสิทธิภาพ รูปแบบการการจัดการเรียนรู้เป็นตัวกลาง ที่ทําหน้าที่ถ่ายทอดและ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวคิด ทักษะ และเจตคติ ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน และเน้นการจัดการเรียนรู้ในเรื่อง ใกล้ตัวที่เกี่ยวกับชีวิตประจําวันของผู้เรียน และให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้
  • 6. 6 4.2 การออกแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา จากสภาพปัญหาและความต้องการดังกล่าว จึงนํามาซึ่งการกําหนดแนวทางในการออกแบบ นวัตกรรม “รูปแบบการจัดการเรียนรู้ หน่วยบูรณาการ ร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ. รักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ตาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และนักเรียนแกนนํา ท.ศ.รักษ์ สิ่งแวดล้อม” ซึ่งได้ออกแบบและพัฒนาโดยใช้ทฤษฎีระบบ ในการดําเนินงานและอาศัยการมีส่วนร่วมของฝ่าย ต่างๆ โดยแต่งตั้งคณะกรรมการทํางานของโรงเรียนในการจัดกิจกรรมร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ. รักษ์สิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานมีการพัฒนาโดยคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Faculty of Health) ของมหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ (McMaster University) ที่ประเทศแคนาดาโดยเริ่มต้นใช้กับ นักศึกษาแพทย์ฝึกหัด หลังจากนั้นได้ขยายไปสู่มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาหลายแห่ง ส่วนใหญ่นําไปใช้กับ หลักสูตรของนักศึกษาแพทย์ เนื่องจากผู้เรียนต้องใช้ทักษะวิเคราะห์ปัญหาสูง ต่อมาในปี ค.ศ. 1980 การ จัดการเรียนรู้ได้ขยายไปสู่สาขาอื่น อาทิ สาขาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ และได้มีการนําไปใช้ในการจัดการ เรียนรู้ในหลักสูตรสาขาต่างๆ (สกศ., 2550 อ้างถึงในประพันธ์ศิริ สุเสารัจ, 2548,หน้า 2) การออกแบบนวัตกรรมรูปแบบการจัดการเรียนรู้ หน่วยบูรณาการ ร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ. รักษ์ สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ นักเรียนแกนนํา ท.ศ.รักษ์สิ่งแวดล้อม มีรูปแบบการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ดังนี้ 1. ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหา และความต้องการจําเป็นของสถานศึกษา 2. กําหนดหลักการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3. กําหนดจุดมุ่งหมายของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 4. กําหนดรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5. อธิบายรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 6. แนวทางการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 7. การประเมินการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CIPP Model ได้จัดทําเป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมเป็นลําดับขั้น ดังนี้
  • 7. ศึกษา ๑. วิเคร หลัก ๒. กําห เรียน ๓. กําห ๔. กําห ๕. กําห ๖. กําห ๗. กําห ประ ผลสัม ความสามา ร่วม โด ข้อมูลพื้นฐาน INPUT ราะห์ผู้เรียนและวิ กสูตร หนดเป้าหมายในก นรู้ หนดเนื้อหาวิชา หนดจุดประสงค์กา หนดกิจกรรมการเรี หนดสื่อและแหล่งเ หนดกระบวนการวั เมินผล ฤทธิ์ทางการเรี ารถในการคิด กําหนดหลัก มสร้างสรรค์ ท. ดยใช้ปัญหาเป็น ส วิเคราะห์ การจัดการ ารเรียนรู้ รียนรู้ เรียนรู้ วัดและ รียน ดี กิจก การ ปร กรอบแ รูปแบบกา ศ. รักษ์สิ่งแวด นฐาน ชั้นมัธยม ศึกษ สภาพปัญหาแล 8. ดําเนินกา โดยใช้ปัญห 8.1 กํ 8.2 ทํ 8.3 ดํ 8.4 สั 8.5 ป 8.6 นํ 10. ปรับ โรงเรี กรรมร่วมสร้า กําหน ระเมินรูปแบบ แนวคิดในการพั ารจัดการเรียนร ดล้อมอย่างยั่งยืน มศึกษาปีที่ 3 แ ษาข้อมูลพื้นฐาน ละความต้องกา PROCE ารจัดกิจกรรมการ หาเป็นฐาน กําหนดปัญหา ทําความเข้าใจกับ ดําเนินการศึกษาค้ สังเคราะห์ความรู้ ประเมินค่าของคํา นําเสนอและประเมิ FEEDBA ับปรุง แก้ไข พั รียนต้นแบบสถ คุณภาพ มีสุข งสรรค์ ท.ศ.รั นดรูปแบบการ บการจัดการเ พัฒนานวัตกรรม รู้ หน่วยบูรณา น ตามหลักปรัช และนักเรียนแกน น รจําเป็นของสถ ESS รเรียนรู้หน่วยบูรณ ปัญหา ค้นคว้า สรุปและ ตอบ มินผลงาน ACK ัฒนาทุกขั้นตอ านศึกษาพอเพี พผู้เรียน ข รักษ์สิ่งแวดล้ รจัดการเรียน เรียนรู้ แบบ ม การ ชญาของเศรษฐ นนํา ท.ศ.รักษ์สิ ถานศึกษา ณาการ น พียง อมอย่างยั่งยืน นรู้ CIPP Mode ฐกิจพอเพียง สิ่งแวดล้อม 9. ประเมินผลส วิเคราะห์ผลกา - ทดสอ - ประเ - ประเ ตามวิ - ประเ - ทําแบ สภาพปัญ พฤติก เก่ง น กําหนดจุ el 7 OUTPUT สัมฤทธิ์ทางการเรี ารเรียน อบก่อนเรียน มินชิ้นงานตามใบ มินทักษะการทําง วิธีการทางวิทยาศ มิน คุณ บบทดสอบหลังเรี ญหาในโรงเรียน กรรมการเรียน ดม่งหมาย 7 รียนและ บกิจกรรม งานกลุ่ม ศาสตร์ ณลักษณะ ยน น การมีวินัย
  • 8. 8 การวิเคราะห์หลักสูตรหน่วยบูรณาการ ร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ. รักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หน่วยบูรณาการ ร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ. รักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน         สาระการเรียนรู้ภาษาไทย สาระที่ 2 การเขียน มาตรฐาน ท 2.1 ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสาร เขียน เรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ เขียน รายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมี ประสิทธิภาพ สาระที่ 3 การฟัง การดู และการพูด มาตรฐาน ท 3.1 สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมี วิจารณญาณ และสร้างสรรค์ สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนําเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมี ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถ อธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กันแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมี วิจารณญาณ และสร้างสรรค์ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจความสําคัญของ ท รั พ ย า ก ร ธ ร ร ม ช า ติ ก า ร ใ ช้ ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลกนําความรู้ไปใช้ในในการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มาตรฐาน ว 8.1 ใช้กระบวนการทาง วิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการ สืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่า ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วน ใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบาย และตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและ เครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และ สิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน แสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึกในโอกาส ต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณ และสร้างสรรค์ สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว มาตรฐาน พ 2.1 เข้าใจและเห็น คุณค่าตนเอง ครอบครัว เพศศึกษา และมีทักษะในการดําเนินชีวิต สาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระที่ 1 ทัศนศิลป์ มาตรฐาน ศ 1.1 สร้างสรรค์งาน ทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และ ความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอด ความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่าง อิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจําวันครอบครัว เพศศึกษา สาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ มาตรฐาน ส 5.2 เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการ สร้างสรรค์วัฒนธรรม มีจิตสํานึก และมีส่วนร่วมใน การอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการ ั ี่ ั่ ื การงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระที่ 1 การดํารงชีวิตและครอบครัว มาตรฐาน ง 1.1 เข้าใจการทํางาน มีความคิด สร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทํางาน ทักษะ การจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทํางานร่วมกัน และทักษะการแสวงหา ความรู้ มีคุณธรรม และลักษณะนิสัยในการทํางาน มีจิตสํานึก ในการใช้พลังงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการดํารงชีวิตและครอบครัว มาตรฐาน ง 3.1 เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้ กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทํางาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมี คุณธรรม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มุ่งให้ผู้เรียนได้ พัฒนาตนเองตามศักยภาพ พัฒนา อย่างรอบด้านเพื่อความเป็นมนุษย์ที่ สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม เสริมสร้างให้เป็นผู้ มีศีลธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย ปลูกฝังและสร้างจิตสํานึกของการทํา ประโยชน์เพื่อสังคม สามารถจัดการ ตนเองได้ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมี ความสุข
  • 9. 9
  • 10. 10 4.3 ขั้นตอนการดําเนินงานพัฒนา ขั้นตอนการออกแบบการจัดการเรียนรู้ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหาและความต้องการจําเป็นของสถานศึกษา โดยการศึกษาบริบทของสถานศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการจําเป็น ตลอดจนวิเคราะห์ผู้เรียนด้าน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พฤติกรรมการเรียน และการวิเคราะห์หลักสูตร 2) กําหนดหลักการของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ 3) กําหนดจุดมุ่งหมายของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ 4) กําหนดรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 5) กําหนดคําอธิบายรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 6) กําหนดแนวทางการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 7) กําหนดการประเมินการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CIPP Model 8) เตรียมรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้ให้พร้อมสําหรับในการดําเนินการให้ ผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจสอบในขั้นต่อไป ขั้นตอนการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ 1) ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และ หลักสูตรสถานศึกษา 2) ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อนํา หลักการแนวคิด ทฤษฎีดังกล่าวมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ 3) ศึกษาเรื่องของกรอบเวลา จากปฏิทินวิชาการโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ และเนื้อหายึดตาม แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามเอกสาร และหนังสือเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ 4) ศึกษาวิธีการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้จากเอกสารประกอบหลักสูตร ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 5) ดําเนินการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ 6) ดําเนินการสร้างสื่อการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย ใบกิจกรรม ใบความรู้ Power Point ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการจัดการเรียนรู้ 7) ดําเนินการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลตามแผนการจัดการเรียนรู้ 8) เตรียมแผนการจัดการเรียนรู้พร้อมสื่อการเรียนรู้ และเครื่องมือวัดและประเมินผลผู้เรียนที่ สร้างขึ้นให้พร้อมสําหรับดําเนินการให้ผู้เชี่ยวชาญชาญได้ตรวจสอบในขั้นต่อไป
  • 11. 11 การออกแบบการจัดการเรียนรู้ หลักการของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ 1. เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน 2. เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้จากกระบวนการทํางานกลุ่มจากการ เรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 3. เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาตามวิธีการ ทางวิทยาศาสตร์จากปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจําวันของผู้เรียน จุดมุ่งหมายของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ 1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น และ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน 2. มีทักษะการทํางานกลุ่มในการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมใน โรงเรียน ชุมชน และจัดกิจกรรมสร้างความตระหนักให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ รักษาสิ่งแวดล้อม ให้ยั่งยืน โดยบูรณาการกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3. มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนหน่วยบูรณาการโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และมีคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ในการปฏิบัติการเรียนรู้หน่วยบูรณาการโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน คําอธิบายรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 1. วิเคราะห์ผู้เรียน และวิเคราะห์หลักสูตร การวิเคราะห์ผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนผ่านมาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 การวิเคราะห์ผู้เรียนด้านพฤติกรรมการเรียน การวิเคราะห์หลักสูตรเพื่อจัดทําหน่วยบูรณาการ ตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 2. กําหนดเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ 2.1 กําหนดเป้าหมายด้านพุทธิพิสัย คือ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน 2.2 กําหนดเป้าหมายด้านทักษะพิสัย คือ มีทักษะการทํางานกลุ่มโดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน 2.3 กําหนดเป้าหมายด้านจิตพิสัย คือ มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหา เป็นฐาน มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการเรียนรู้ 3. กําหนดเนื้อหาวิชา 3.1 ปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น 3.2 การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
  • 12. 12 4. กําหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ 4.1 จุดประสงค์ทั่วไป มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น และ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน 4.2 จุดประสงค์เฉพาะ 1) สํารวจ สืบค้น และวิเคราะห์สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น พร้อมทั้งเสนอแนวทางในการแก้ปัญหา 2) วิเคราะห์และอภิปรายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) อธิบายความสําคัญของการมีส่วนร่วมในการดูแลและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน 4) ตระหนักและเห็นคุณค่าต่อการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ 5. กําหนดกิจกรรมการเรียนรู้ 5.1 แจ้งเป้าหมายการเรียน ตามPowerPointประกอบการบรรยายทดสอบก่อนเรียน (คาบที่ 1) 5.2 ทํากิจกรรมกลุ่มสํารวจสภาพแวดล้อมที่เป็นปัญหา และปัญหาที่พบบ่อยในโรงเรียนตาม ใบกิจกรรมที่ 1 บันทึกข้อค้นพบ กลุ่มระบุปัญหาที่เลือก (คาบที่ 2) 5.3 ทํากิจกรรมกลุ่ม ตามใบกิจกรรมที่ 2 เลือกเครื่องมือที่จะทําความเข้าใจกับปัญหา ออกแบบเครื่องมือที่เลือกใช้เก็บข้อมูล แต่ละกลุ่มระดมความคิด คิดข้อคําถามที่จะใช้เก็บข้อมูล (คาบที่ 3) 5.4 ทํากิจกรรมกลุ่มตามใบกิจกรรมที่ 3 ดําเนินการศึกษาค้นคว้าเก็บข้อมูล นอกเวลาเรียนกับ นักเรียนในโรงเรียน จํานวน 240 คน ทุกระดับชั้น ระดับละ 40 คน สุ่มนักเรียนมาในแต่ละห้องเรียน นําข้อมูลที่เก็บข้อมูลได้ของแต่ละกลุ่มมาสรุปผล หาค่าเฉลี่ยของแต่ละข้อคําถาม (คาบที่ 4) 5.5 ทํากิจกรรมกลุ่มตามใบกิจกรรมที่ 4 สังเคราะห์ความรู้ และใบกิจกรรมที่ 5 สรุปและ ประเมินค่าของคําตอบ (คาบที่ 5) 5.6 ทํากิจกรรมกลุ่มตามใบกิจกรรมที่ 6 นําเสนอและประเมินผลงานหน้าชั้น (คาบที่ 5 และ ทําต่อนอกเวลาเรียน) 5.7 ครูและนักเรียนร่วมอภิปรายตาม Power Point กิจกรรมต่อยอดแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ เกิดขึ้นในโรงเรียน หรือในชุมชน ท้องถิ่นของนักเรียน เขียนโครงการ ดําเนินกิจกรรมตามโครงการ ประชาสัมพันธ์ ตามใบกิจกรรมที่ 7 (คาบที่ 6 และทําต่อนอกเวลาเรียน) 5.8 ครูและนักเรียนร่วมอภิปรายการเรียนรู้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติใน ท้องถิ่น และการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ตาม Power Point (คาบที่ 7-8 และทบทวนนอกเวลาเรียน) 5.9 ทํากิจกรรมตามใบกิจกรรมที่ 8 วิเคราะห์การเรียนรู้บทเรียนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ ของพอเพียงรายบุคคล (คาบที่ 9 และทําต่อนอกเวลาเรียน)
  • 13. 13 5.10 ทําแบบฝึกหัดทบทวนบทเรียนตามใบกิจกรรมที่ 9 และตอบคําถามท้ายบทตามใบ กิจกรรมที่ 10 (ทําเป็นการบ้านนอกเวลาเรียน) 5.11 ทําแบบทดสอบหลังเรียน (คาบที่ 10) 6. กําหนดสื่อและแหล่งเรียนรู้ 6.1 สื่อการเรียนรู้ ได้แก่ สื่อ Power Point ประกอบการเรียนหน่วยบูรณาการ เอกสารประกอบ Power Point ประกอบการเรียนหน่วยบูรณาการ ใบกิจกรรมที่ 1-10 เว็บไซต์โรงเรียน ทุ่งยาวผดุงศิษย์ เว็บบล็อกครูพรพนา 6.2 แหล่งเรียนรู้ ได้แก่ บริเวณโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 7. กําหนดกระบวนการวัดและประเมินผล การประเมินผลก่อนเรียน การประเมินผลระหว่างเรียน การประเมินผลหลังเรียน ทดสอบก่อนเรียน - ประเมินชิ้นงานตามใบกิจกรรม - ประเมินทักษะการทํางานกลุ่ม - ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ประเมินเจตคติต่อการเรียนการจัดการเรียนรู้ ทดสอบหลังเรียน 8. ดําเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ดังนี้ 8.1 กําหนดปัญหา 8.2 ทําความเข้าใจกับปัญหา 8.3 ดําเนินการศึกษาค้นคว้า 8.4 สังเคราะห์ความรู้ 8.5 สรุปและประเมินค่าของคําตอบ 8.6 นําเสนอและประเมินผลงาน 9. ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและวิเคราะห์ผลการเรียน ได้แก่ วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน ก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน และหลังเรียน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์หลังเรียนกับเกณฑ์
  • 14. 14 10. ปรับปรุง แก้ไข พัฒนาทุกขั้นตอน สรุปข้อมูลในขั้นตอนทั้ง 9 ขั้นตอนที่ดําเนินการ ถ้าขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งบกพร่อง ปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ แนวทางการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์ วัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหา สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน (ทดสอบ ผลสัมฤทธิ์) - แบบทดสอบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน - ตรวจชิ้นงานจากใบกิจกรรมที่ 1-10 - คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน - คะแนนผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 วัดทักษะการทํางานกลุ่ม - แบบประเมินทักษะ การทํางานกลุ่มแบบ Rubricให้ คะแนนแบบแยกองค์ประกอบ ระดับคุณภาพ 3 ระดับคือ 3,2,1 - ผ่านเกณฑ์ ระดับคุณภาพ 3 วัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการ เรียนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหา เป็นฐานและวัดคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ในการเรียนรู้ - แบบวัดเจตคติจิตต่อการจัดการ เรียนการจัดการเรียนรู้ - แบบประเมินผลงาน แบบ Rubricให้คะแนนแบบแยก องค์ประกอบระดับคุณภาพ 3 ระดับคือ 3,2,1 - ผ่านเกณฑ์ ระดับคุณภาพ 3
  • 15. 15 การประเมินการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CIPP Model 1. ด้านบริบท (Context Evaluation : C) 1.1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้ช่วยทําให้ผู้เรียนเรียนรู้ หน่วยบูรณาการ ร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ.รักษ์ สิ่งแวดล้อมฯ ได้ดีขึ้น 1.2 รูปแบบการจัดการเรียนรู้ช่วยทําให้นักเรียนชอบเรียน หน่วยบูรณาการ ร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ. รักษ์ สิ่งแวดล้อมมากขึ้น 1.3 รูปแบบการจัดการเรียนรู้ทําให้นักเรียนได้ศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาจริง มีการบูรณาการ สาระการเรียนรู้หลากหลาย 1.4 รูปแบบการจัดการเรียนรู้ทําให้นักเรียนพัฒนาทักษะการคิดตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ 1.5 เนื้อหาที่เรียนไม่ยากเกินไปสําหรับนักเรียน 1.6 เนื้อหามีความสอดคล้องกับเวลา 1.7 เนื้อหามีความทันสมัย สอดคล้องกับชีวิตประจําวันของนักเรียน 1.8 เวลาเรียนทั้งหมดมีความเหมาะสมกับเนื้อหา 2. ด้านปัจจัยนําเข้า (Input Evaluation : I ) 2.1 สื่อการเรียนการจัดการเรียนรู้เหมาะสมกับเนื้อหา 2.2 สื่อการเรียนการจัดการเรียนรู้เพียงพอกับจํานวนนักเรียน 2.3 สื่อการเรียนการจัดการเรียนรู้ทันสมัย น่าสนใจ 2.4 นักเรียนมีความสะดวกในการนําสื่อการเรียนการจัดการเรียนรู้มาใช้ 2.5 ห้องปฏิบัติการมีบรรยากาศน่าเรียนรู้ 2.6 ห้องปฏิบัติการมีสื่อเทคโนโลยีการเรียนการจัดการเรียนรู้พร้อม 2.7 ขนาดห้องปฏิบัติการมีความเหมาะสมกับจํานวนนักเรียน 2.8 ครูมีความเป็นกัลยาณมิตรกับผู้เรียน 2.9 ครูมีเทคนิคการถ่ายทอดความรู้ที่เข้าใจง่าย 2.10 ครูมีบุคลิกภาพที่เหมาะสม 2.11 ครูมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่สอน 2.12 นักเรียนมีความรู้พื้นฐานต่อการเรียน 2.13 นักเรียนมีความพร้อมต่อการเรียน 3. ด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P ) 3.1 กิจกรรมการเรียนรู้มีความเหมาะสมกับเนื้อหา 3.2 กิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมให้นักเรียนได้มีส่วนร่วม
  • 16. 16 3.3 กิจกรรมการเรียนรู้มีหลากหลาย น่าสนใจ 3.4 กิจกรรมการเรียนรู้เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ลงมือทําจริง 3.5 กิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการคิดและกระบวนการแก้ปัญหา 3.6 กิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการสื่อสารและการนําเสนอหน้าชั้นเรียน 3.7 กระบวนการดําเนินกิจกรรมการเรียนรู้เป็นลําดับขั้นตอน 3.8 นักเรียนทราบถึงวิธีการวัดผล เครื่องมือ และเกณฑ์การประเมินผลก่อนที่จะเรียน 3.9 มีการวัดผลที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ 3.10 มีการวัดผลที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียน 3.11 มีการวัดผลที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ 3.12 มีเกณฑ์การประเมินผลที่ชัดเจน 3.13 มีเครื่องมือวัดผลที่หลากหลาย เช่น ใบกิจกรรม แบบฝึกหัด แบบทดสอบ เป็นต้น 3.14 มีการให้ข้อมูลย้อนกลับกับนักเรียนเพื่อปรับปรุงพัฒนา 4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation : P ) 4.1 นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจหลังจากการเรียนได้ดีขึ้น 4.2 นักเรียนมีทักษะตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ตามที่ครูสอน 4.3 นักเรียนชอบเรียน หน่วยบูรณาการ ร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ. รักษ์สิ่งแวดล้อม 4.4 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงขึ้น 4.5 นักเรียนนําความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ท.ศ.รักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
  • 17. 17 การตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ วิธีการสร้างเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย แบบตรวจสอบ ความสอดคล้องขององค์ประกอบของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ และแบบตรวจสอบความถูกต้องของ องค์ประกอบของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ วิธีการสร้างแบบตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ มีวิธีการสร้างดังต่อไปนี้ 1. ศึกษาวิธีการสร้าง และรูปแบบของแบบตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบของการ ออกแบบการจัดการเรียนรู้ จากเอกสารต่างๆ ซึ่งใช้แบบตรวจสอบ 3 ระดับ คือ สอดคล้อง ไม่แน่ใจ ไม่สอดคล้อง 2. กําหนดรายการตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบของการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดย พิจารณาประเด็นรายการตรวจสอบให้สอดคล้องสัมพันธ์กันในแต่ละรายการ เช่น หลักการของการออกแบบ การจัดการเรียนรู้กับข้อมูลพื้นฐาน จุดมุ่งหมายของการออกแบบการจัดการเรียนรู้กับหลักการออกแบบการ จัดการเรียนรู้ เป็นต้น 3. กําหนดข้อเสนอแนะเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบการจัดการเรียนรู้ 4. ตรวจสอบเบื้องต้นเกี่ยวกับรายการตรวจสอบความสอดคล้อง 5. นําผลการตรวจในข้อ 4 มาปรับปรุงเบื้องต้น พร้อมพิมพ์ต้นฉบับตรวจสอบอีกครั้ง 6. นําผลการตรวจในข้อ 5 มาปรับปรุงเป็นฉบับสมบูรณ์ก่อนให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจ 7. เตรียมแบบตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้พร้อม เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในขั้นตอนต่อไป วิธีการสร้างแบบตรวจสอบความถูกต้องขององค์ประกอบของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ มีวิธีการสร้างดังต่อไปนี้ 1. ศึกษาวิธีการสร้าง และรูปแบบของแบบตรวจสอบความถูกต้องขององค์ประกอบของการออกแบบ การจัดการเรียนรู้ จากเอกสารต่างๆ ใช้แบบตรวจสอบตามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ 2. กําหนดรายการตรวจสอบความถูกต้องขององค์ประกอบของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดย พิจารณาประเด็นรายการตรวจสอบ จํานวน 7 ด้าน คือ ข้อมูลพื้นฐาน หลักการของการออกแบบการจัดการ เรียนรู้ จุดมุ่งหมายของออกแบบการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ คําอธิบายรูปแบบการจัดการ เรียนรู้ (ด้าน Input ด้าน Process ด้าน Output ด้าน Feedback) การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวม และการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3. กําหนดข้อเสนอแนะเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบการจัดการเรียนรู้
  • 18. 18 4. ตรวจสอบและปรับปรุงเบื้องต้น พร้อมพิมพ์ต้นฉบับตรวจสอบอีกครั้ง 5. นําผลการตรวจในข้อ 4 มาปรับปรุงเป็นฉบับสมบูรณ์ก่อนให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจ 6. เตรียมแบบตรวจสอบความถูกต้องขององค์ประกอบของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้พร้อม เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องขององค์ประกอบของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในขั้นตอนต่อไป วิธีการสร้างเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย แบบตรวจสอบความ สอดคล้องขององค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ และแบบตรวจสอบความถูกต้องขององค์ประกอบของ แผนการจัดการเรียนรู้ วิธีการสร้างแบบตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ มีวิธีการ สร้างดังต่อไปนี้ 1. ศึกษาวิธีการสร้าง และรูปแบบของแบบตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบของแผนการ จัดการเรียนรู้จากเอกสารต่างๆ ซึ่งใช้แบบตรวจสอบ 3 ระดับ คือ สอดคล้อง ไม่แน่ใจ ไม่สอดคล้อง 2. กําหนดรายการตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยพิจารณา ประเด็นรายการตรวจสอบให้สอดคล้องสัมพันธ์กันในแต่ละรายการ เช่น การวางแผนการจัดการเรียนรู้กับ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้กับจุดมุ่งหมายของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เป็นต้น 3. กําหนดข้อเสนอแนะเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนการจัดการเรียนรู้ 4. ตรวจสอบเบื้องต้นเกี่ยวกับรายการตรวจสอบความสอดคล้อง 5. นําผลการตรวจในข้อ 4 มาปรับปรุงเบื้องต้น พร้อมพิมพ์ต้นฉบับและตรวจสอบอีกครั้ง 6. นําผลการตรวจในข้อ 5 มาปรับปรุงเป็นฉบับสมบูรณ์ก่อนให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจ 7. เตรียมแบบตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ให้พร้อมเพื่อให้ ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ในขั้นตอนต่อไป วิธีการสร้างแบบตรวจสอบความถูกต้องขององค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ มีวิธีการสร้าง ดังต่อไปนี้ 1. ศึกษาวิธีการสร้าง และรูปแบบของแบบตรวจสอบความถูกต้องขององค์ประกอบของแผนการจัดการ เรียนรู้จากเอกสารต่างๆ ใช้แบบตรวจสอบตามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ 2. กําหนดรายการตรวจสอบความถูกต้องขององค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้โดยพิจารณา ประเด็นรายการตรวจสอบ จํานวน 6 ด้าน คือ สาระสําคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กิจกรรม การเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และการประเมินผล 3. กําหนดข้อเสนอแนะเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนการจัดการเรียนรู้ 4. ตรวจสอบเบื้องต้นเกี่ยวกับรายการตรวจสอบความถูกต้อง
  • 19. 19 5. นําผลการตรวจในข้อ 4 มาปรับปรุงเบื้องต้น พร้อมพิมพ์ต้นฉบับตรวจสอบอีกครั้ง 6. นําผลการตรวจในข้อ 5 มาปรับปรุงเป็นฉบับสมบูรณ์ก่อนให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจ 7. เตรียมแบบตรวจสอบความถูกต้องขององค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ให้พร้อมเพื่อให้ ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องขององค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ในขั้นตอนต่อไป นางอธิชา หมีนโยธา หัวหน้ากลุ่มสาระวิทยาศาสตร์โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ นายสาคร ขันชู ครูโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ จบการศึกษาระดับปริญญาโท และเป็นครูมาสเตอร์ ทีเชอร์สาขาวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์) หัวหน้ากิจกรรม 5 ส หัวหน้าฝ่ายอาคารสถานที่โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ นายดํารงค์ วรรณแรก รองผู้อํานวยการฝ่ายวิชาการโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ ผลการตรวจสอบคุณภาพการออกแบบการจัดการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ จากการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และแผนการจัดการ เรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย แบบตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ แบบตรวจสอบความถูกต้องขององค์ประกอบของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ แบบตรวจสอบความ สอดคล้องขององค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ และแบบตรวจสอบความถูกต้องขององค์ประกอบของ แผนการจัดการเรียนรู้ ผู้ศึกษาได้นําเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพต่างๆ ทั้ง 4 ฉบับ พร้อม แผนการจัดการ เรียนรู้ และรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ให้ผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 3 ท่าน ตรวจสอบความสอดคล้องของ องค์ประกอบของการออกแบบการจัดการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ และตรวจสอบความถูกต้องของ องค์ประกอบของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้ และนําผลการตรวจสอบของ ผู้เชี่ยวชาญมาคํานวณ เพื่อหาค่าเฉลี่ยของความสอดคล้อง (IOC) ค่าความสอดคล้องที่ใช้ได้ต้องมีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป และคํานวณหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการตรวจสอบความถูกต้อง โดยมีเกณฑ์การแปล ความหมาย (อําไพ เกียรติชัย และคณะ, 2554, หน้า 79-80) ปรับปรุงแก้ไขการออกแบบการจัดการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้ตามคําแนะนําของผู้เชี่ยวชาญ นํารูปแบบการจัดการเรียนรู้ และแผนการจัดการ เรียนรู้ที่ปรับปรุงแล้วเขียนเป็นฉบับจริงเพื่อนําไปสอนกับกลุ่มตัวอย่างต่อไป ผลการตรวจสอบคุณภาพการ ออกแบบการจัดการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้ ผลการตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบของ การออกแบบ การจัดการเรียนรู้ของผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 18 ข้อ พบว่าทุกข้อมีค่าความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 ผลการตรวจสอบความถูกต้องขององค์ประกอบของการออกแบบการจัดการเรียนรู้พบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมทั้งฉบับอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ผลการตรวจสอบความ ถูกต้องด้านข้อมูลพื้นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยรายข้ออยู่ในช่วง 4.67-5.00 และค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.78) ผลการตรวจสอบความถูกต้องด้านหลักการของการออกแบบรูปแบบการจัดการเรียนรู้มีคะแนน เฉลี่ยรายข้ออยู่ในช่วง 4.67-5.00 และค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด( = 4.89) ผลการตรวจสอบ Χ Χ Χ