SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 46
บทเรียนสําเร็จรูปวิชา ส32010 ภูมิศาสตร์ 1 ชุดนี้จัดทําขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อสําหรับใช้ในการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้รายวิชา ส32010 ภูมิศาสตร์ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโคกสีพิทยาสรรพ์ สํานักงานเขต
พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ประกอบด้วยคําแนะนําการใช้บทเรียนสําเร็จรูป ตัวชี้วัด จุดประสงค์
การเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนเรียน กรอบความรู้ หรือ กรอบเนื้อหา กรอบกิจกรรม หรือ กรอบฝึกหัด
กรอบเฉลย และแบบทดสอบหลังเรียน ภายในบทเรียนสําเร็จรูปจะมีการนําเสนอเนื้อหาจากง่ายไปหายาก
นักเรียนสามารถฝึกและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง จนสามารถค้นพบองค์ความรู้และเกิดทักษะที่สามารถนําไปใช้
ในชีวิตประจําวันได้
บทเรียนสําเร็จรูปชุดนี้แบ่งออกเป็น 6 เล่ม เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาได้ด้วยตัวเองตามลําดับ สําหรับ
บทเรียนสําเร็จรูปเล่มนี้ คือ เล่มที่ 1 เรื่อง แผนที่ ผู้จัดทําหวังว่าบทเรียนสําเร็จรูปชุดนี้ จะเป็นประโยชน์กับ
ครูผู้สอนและนักเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สําหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ
วัฒนธรรม ซึ่งสอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาของไทยที่มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสมบูรณ์ทั้งด้าน
สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม
วิรยา คําหนูไทย
ก
หน้า
คํานํา
สารบัญ
คําแนะนําการใช้บทเรียนสําเร็จรูป
แบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง แผนที่
แบบเฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง แผนที่
ก
ข
ง
1
5
กรอบเนื้อหาที่
กรอบฝึกหัดที่
กรอบเฉลยที่
1
1
1
แผนที่ คือ อะไร ?
แผนที่ คือ อะไร ?
แผนที่ คือ อะไร ?
6
16
17
กรอบเนื้อหาที่
กรอบฝึกหัดที่
กรอบเฉลยที่
2
2
2
องค์ประกอบของแผนที่
องค์ประกอบของแผนที่
องค์ประกอบของแผนที่
18
30
31
แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง แผนที่
เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง แผนที่
บรรณานุกรม
ประวัติผู้จัดทํา
32
36
37
38
ข
ภาพที่ หน้า
1 – 1
1 – 2
1 – 3
1 – 4
1 – 5
1 – 6
1 – 7
1 – 8
1 – 9
1 – 10
1 – 11
1 – 12
1 – 13
1 – 14
1 – 15
1 – 16
1 – 17
1 – 18
1 - 19
แผนที่โลก
แผนภูมิเดินเรือของชาวหมู่เกาะมาร์แซล
แผนที่ของชาวเอสกิโม
แผนที่ของชาวบาบิโลน
แผนที่ของชาวจีนโบราณ
แผนที่ของชาวกรีกโบราณ
แผนที่ลายเส้น
แผนที่ภาพถ่ายจากดาวเทียมบริเวณอําเภอเมืองขอนแก่น
แผนที่แบบผสมแสดงพื้นที่ป่าอเมซอน
ตัวอย่างแผนที่แบบราบ
ตัวอย่างแผนที่ภูมิประเทศ
ตัวอย่างแผนที่เส้นทาง
แผนที่ดินจังหวัดนครปฐม
องค์ประกอบของแผนที่
ตัวอย่างองค์ประกอบของแผนที่ชุด L 7018
ตัวอย่างสารบัญ(Index)ของแผนที่
ตัวอย่างคําอธิบายสัญลักษณ์(Legend) ของแผนที่
แสดงโครงข่ายของเส้นละติจูด(Latitude) และลองติจูด(Longtitude)
แสดงตัวอย่างการอ่านสัญลักษณ์ พิกัดภูมิศาสตร์และพิกัดฉาก
6
7
8
8
9
9
10
11
12
12
13
14
14
18
19
21
22
26
27
ค
ง
ลําดับขั้นการใช้บทเรียน
ผ่าน
ไม่ผ่าน
อ่านคําแนะนําการใช้บทเรียน
ศึกษาตัวชี้วัดและจุดประสงค์การเรียนรู้
ทําแบบทดสอบก่อนเรียน
ศึกษาบทเรียนจากกรอบเนื้อหา
ทํากิจกรรมกรอบฝึกหัด
ทําแบบทดสอบหลังเรียน
จบบทเรียน
ผลการทดสอบ
1. ลักษณะทั่วไปของบทเรียนสําเร็จรูป
บทเรียนสําเร็จรูปชุดนี้มุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองโดยไม่จํากัดเวลา และ ทําหน้าที่เสมือน
เป็นครูผู้สอนประจําตัวผู้เรียน ผู้สอนจึงควรแนะนําให้ผู้เรียนปฏิบัติตามคําแนะนําในการเรียนอย่างเคร่งครัด
องค์ประกอบของบทเรียนสําเร็จรูป ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ กิจกรรมการเรียน และเนื้อหาบทเรียน ซึ่งได้
แบ่งออกเป็นส่วนๆ เรียกว่า กรอบ ในแต่ละกรอบประกอบด้วยเนื้อหา ตัวอย่าง คําอธิบาย แบบฝึกหัด เฉลย
แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยให้ผู้เรียนศึกษาและทําความเข้าใจไปทีละกรอบตามลําดับ ผู้เรียน
จําเป็นต้องทํากิจกรรมทุกกรอบของบทเรียน เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้อย่างต่อเนื่อง
ตามลําดับ
2. เนื้อหาของบทเรียนสําเร็จรูปชุดนี้ใช้เพื่อประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ วิชา ส32101 ภูมิศาสตร์ 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ประกอบด้วยบทเรียนจํานวน 6 เล่ม ดังนี้
เล่มที่ 1 เรื่อง แผนที่
เล่มที่ 2 เรื่อง การสํารวจข้อมูลระยะไกล
เล่มที่ 3 เรื่อง ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
เล่มที่ 4 เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์
เล่มที่ 5 เรื่อง ภูมิศาสตร์โลกและประเทศไทย
เล่มที่ 6 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงเชิงภูมิศาสตร์
3. ครูผู้สอนต้องแนะนําให้นักเรียนเข้าใจก่อนนําไปใช้
4. คอยให้คําปรึกษาแก่ผู้เรียนเมื่อมีปัญหา
จ
สําหรับครูผู้สอน
1. ลักษณะทั่วไปของบทเรียนสําเร็จรูป
บทเรียนสําเร็จรูปชุดนี้มุ่งให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองโดยไม่จํากัดเวลา และ ทําหน้าที่เสมือน
เป็นครูผู้สอนประจําตัวผู้เรียน นักเรียนจึงควรปฏิบัติตามคําแนะนําของครูผู้สอนในการเรียนอย่างเคร่งครัด
องค์ประกอบของบทเรียนสําเร็จรูป ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ กิจกรรมการเรียน และเนื้อหาบทเรียน ซึ่งได้
แบ่งออกเป็นส่วนๆ เรียกว่า กรอบ ในแต่ละกรอบประกอบด้วยเนื้อหา ตัวอย่าง คําอธิบาย แบบฝึกหัด เฉลย
แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยให้นักเรียนศึกษาและทําความเข้าใจไปทีละกรอบตามลําดับ ซึ่ง
ต้องทํากิจกรรมทุกกรอบของบทเรียน เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้อย่างต่อเนื่องตามลําดับ
2. เนื้อหาของบทเรียนสําเร็จรูปชุดนี้ใช้เพื่อประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ วิชา ส32101 ภูมิศาสตร์ 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ประกอบด้วยบทเรียนจํานวน 6 เล่ม ดังนี้
เล่มที่ 1 เรื่อง แผนที่
เล่มที่ 2 เรื่อง การสํารวจข้อมูลระยะไกล
เล่มที่ 3 เรื่อง ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
เล่มที่ 4 เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์
เล่มที่ 5 เรื่อง ภูมิศาสตร์โลกและประเทศไทย
เล่มที่ 6 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงเชิงภูมิศาสตร์
3. นักเรียนไม่ควรทํากิจกรรมข้ามกรอบ เพราะ แต่ละกรอบจะมีเนื้อหาต่อเนื่องกัน
4. นักเรียนต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง โดยไม่ดูเฉลยก่อนทําแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบเพื่อดู
พัฒนาการด้านการเรียนรู้ของตนเอง
ฉ
สําหรับนักเรียน
เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ และ ความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผลต่อกันและกัน ในระบบ
ของธรรมชาติใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหา วิเคราะห์ สรุป และใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศ
อย่างมีประสิทธิภาพ
ใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการรวบรวม วิเคราะห์ และ นําเสนอข้อมูล ภูมิสารสนเทศ
อย่างมีประสิทธิภาพ
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายและองค์ประกอบของแผนที่ได้(K)
2. บอกประโยชน์ของแผนที่ได้(A)
3. อ่านข้อมูลจากแผนที่ได้(P, K)
4. นําแผนที่ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจําวันได้(K)
ฉช
มาตรฐาน ส 5.1
ตัวชี้วัดที่ 1
1
คําชี้แจง 1. แบบทดสอบฉบับนี้เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จํานวน 24 ข้อ
2. ให้นักเรียนเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียวทําเครื่องหมาย  ลงบนกระดาษคําตอบ
1. ชาติใดที่ได้ชื่อว่ามีความเจริญก้าวหน้าและเป็น
ผู้จัดทําแผนที่สมัยใหม่ ?
ก. ฝรั่งเศส
ข. อังกฤษ
ค. สเปน
ง. ฮอลันดา
2. ชาติที่ถือว่าเป็นผู้วางรากฐานของการทําแผนที่ใน
ปัจจุบัน คือ ข้อใด ?
ก. กรีก ข. โรมัน
ข. อียิปต์ ง. จีน
3. จากภาพที่แสดงจัดเป็นแผนที่ชนิดใด ?
ก. แผนที่ลายเส้น (Line Map)
ข. แผนที่ภาพถ่าย (Photo Map)
ค. แผนที่แบบผสม(Annotated Map)
ง. แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map)
4. จากภาพที่แสดงจัดเป็นแผนที่ชนิดใด ?
ก. แผนที่ลายเส้น (Line Map)
ข. แผนที่ภาพถ่าย (Photo Map)
ค. แผนที่แบบผสม(Annotated Map)
ง. แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map)
5. จากภาพที่แสดงจัดเป็นแผนที่ชนิดใด ?
ก. แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic map)
ข. ชาร์ตและแผนที่เส้นทาง (Charts and road
map)
ค. แผนที่พิเศษ (Thematic and special map)
ง. แผนที่แสดงแบบราบ (Planimetric Map)
2
6. จากภาพที่แสดงจัดเป็นแผนที่ชนิดใด ?
ก. แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic map)
ข. ชาร์ตและแผนที่เส้นทาง (Charts and road map)
ค. แผนที่พิเศษ (Thematic and special map)
ง. แผนที่แสดงแบบราบ (Planimetric Map)9. แ7.
7. แผนที่ของชนชาติใดมีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลก ?
ก. ชาวเอสกิโม
ข. ชาวบาบิโลน
ค. ชาวจีนโบราณ
ง. ชาวกรีกโบราณ
8. การอ่านและแปลความหมายของแผนที่ หาก
แสดงเป็นถ้าเส้นหนาเรียงค่อนข้างชิดหมายถึงข้อ
ใด ?
ก. พื้นที่ราบ
ข. เป็นที่ลาด
ค. ความสูงจากระดับนํ้าทะเลปานกลาง
ง. ภูมิประเทศที่สูงชัน
9.แผนที่แต่ละระวางสามารถพิมพ์ออกมาได้กี่แผ่น ?
ก. กี่แผ่นก็ได้
ข. ไม่เกิน 1 แผ่น
ค. ไม่เกิน 10 แผ่น
ง. ไม่กินข้อกําหนดของสมาคม
10.วัสดุที่ใช้พิมพ์แผนที่ควรมีลักษณะอย่างไร?
ก. ยืดน้อยที่สุดเมื่อสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง
ข. หดน้อยที่สุดเมื่อสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง
ค. ไม่ยืดหรือ หดเมื่อสภาวะอากาศเปลี่ยน แปลง
ง. ข้อ ก และ ข้อ ข
11. ข้อใด ไม่จัดเป็นองค์ประกอบของแผนที่ ?
ก. องค์ประกอบภายในขอบระวาง
ข. เส้นขอบระวาง
ค. ตําแหน่งแกนแม่เหล็กโลก
ง. องค์ประกอบภายนอกขอบระวาง
12. จากภาพที่แสดง คือ ส่วนใดของแผนที่ ?
ก. ชื่อชุดแผนที่และมาตราส่วน
ข. ชื่อระวาง
ค. หมายเลขประจําระวาง
ง. หมายเลขประจําชุด
13.จากภาพที่แสดง คือ ส่วนใดของแผนที่ ?
ก. ชื่อชุดแผนที่และมาตราส่วน
ข. ชื่อระวาง
ค. หมายเลขประจําระวาง
ง. หมายเลขประจําชุด
3
(คําตอบต่อไปนี้ใช้ตอบคําถามข้อ 14 – 16)
ก. คําแนะนําที่เกี่ยวกับระดับความสูง
ข. สารบัญระวางติดต่อ
ค. สารบัญแสดงแนวแบ่งเขตการปกครอง
ง. คําอธิบายสัญลักษณ์
14. จากภาพที่แสดง คือ ส่วนใดของแผนที่ ?
15.จากภาพที่แสดง คือ ส่วนใดของแผนที่ ?
16. จากภาพที่แสดง คือ ส่วนใดของแผนที่ ?
17. หากจะค้นหาแผนที่ ควรจะต้องดูที่ข้อมูลใน
ส่วนใด ?
ก. หมายเลขประจําแผ่นแผนที่
ข. แผนภาพเดคลิเนชั่น
ค. บันทึก(Notes)
ง. คําอธิบายสัญลักษณ์
18. ข้อใดเป็นสัญลักษณ์(Symbol)ที่อยู่ในภายใน
ขอบระวางของแผนที่ ?
ก. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนทางกายภาพ
ข. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะทางวัฒนธรรม
ค. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะข้อมูลเฉพาะ
เรื่อง
ง. ทุกข้อที่กล่าว
4
19. การใช้สี (Color)สําหรับแผนที่ภูมิประเทศ จะ ใช้
สีในข้อใด แทนสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ?
ก. สีนํ้าเงิน ข. สีดํา
ค. สีเขียว ง. สีนํ้าตาล
20. ชื่อภูมิศาสตร์(Geographic name) ตามปกติ
อักษรภาษาไทยจะต้องใช้สีในข้อใด ?
ก. แดง ข. ดํา
ค. เหลือง ง. เขียว
21.ข้อใดเป็นระบบอ้างอิงในการกําหนดตําแหน่งของ
แผนที่ ?
ก. พิกัดภูมิศาสตร์(Geographic Coordinates)
ข. พิกัดฉาก(Rectangular Coordinates)
ค. พิกัดเส้นเมริเดียนแรกเริ่ม(Prime Meridian)
ง. ข้อ ก และ ข้อ ข.
(คําตอบต่อไปนี้ใช้ตอบคําถามข้อ 22 – 23)
ก. เป็นเส้นสมมุติที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้ว
โลกใต้
ข. เกิดจากมุมที่วัดจากระนาบในแนวนอนที่
ศูนย์สูตรของโลกไปตามระนาบแนวตั้ง
ค.เส้นขนานสองชุดที่มีระยะห่างเท่าๆกันตัดกัน
เป็นสี่เหลี่ยมมุมฉาก
ง. ข้อ ก และ ข้อ ข
22. ข้อใด หมายถึง ละติจูด(Latitude) ?
23. ข้อใด หมายถึง ลองติจูด(Longtitude) ?
24. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของแผนที่ ?
ก. ด้านการเมืองการปกครอง เพื่อรักษาความ
มั่นคงของประเทศชาติ ให้คงอยู่
ข. ด้านเศรษฐศาสตร์ เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงผล
มวลรวมของประชาชนภายในชาติ
ค.ด้านสังคม สภาพแวดล้อมทางสังคม มีการ
เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ที่เห็นชัด คือ สภาพ
แวดล้อมทางภูมิศาสตร์
ง. ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว แผนที่มีความ
จําเป็นต่อนักท่องเที่ยวในอันที่จะทําให้รู้จัก
สถานที่ท่องเที่ยวได้ง่าย
ชื่อ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . เลขที่ . . . . . ห้อง ม. . ./ . . . .
คําชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียวทําเครื่องหมาย  ลงบนกระดาษคําตอบ
ข้อ คําตอบ ข้อ คําตอบ
1 ง 13 ค
2 ก 14 ก
3 ข 15 ข
4 ค 16 ค
5 ก 17 ก
6 ข 18 ง
7 ข 19 ข
8 ง 20 ก
9 ก 21 ง
10 ง 22 ก
11 ค 23 ข
12 ก 24 ข
5
6
แผนที่นับว่ามีความสําคัญมากในการศึกษาทางภูมิศาสตร์ เพราะ สิ่งที่ปรากฏบนแผนที่ ซึ่งจะมีทั้ง
สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และสิ่งที่เกิดจากแรงงานของมนุษย์ อาจเป็นไปได้ทั้งเครื่องช่วยและอุปสรรค
ในการศึกษาเล่าเรียนลักษณะภูมิประเทศแต่ละชนิด ลม ฟ้า อากาศ หรือลักษณะของท้องทะเลและแหล่งนํ้า
ที่ย่อมจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่อง
ต่อไปถึงกิจกรรมต่างๆ จนกระทั่ง
มีคํากล่าวว่า “อะไรก็ตามที่สามารถ
ลงไปบนแผนที่ได้นับว่าเป็นเรื่องราว
ทางภูมิศาสตร์ทั้งสิ้น”
มีผู้ให้ความหมายของแผนที่ไว้หลายความหมาย ดังนี้
1. แผนที่ คือ การนําเอาภาพของสิ่งต่างๆบนพื้นผิวโลกหรือบางส่วนมาย่อลงบนกระดาษหรือวัตถุ
ที่แบนราบตามขนาดที่ต้องการ ซึ่งประกอบด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยใช้
สี เส้น และรูปแบบเป็นเอกลักษณ์แทนสิ่งเหล่านั้น
2. แผนที่ คือ การนําส่วนต่างๆของโลกมาจัดขึ้นใหม่ตามมาตราส่วนใดส่วนหนึ่ง ซึ่งนักทําแผนที่
ได้รวบรวมสิ่งต่างๆอันเป็นพื้นฐานจากสนามหรือภาพถ่ายทางอากาศ
3. แผนที่ คือ ลายเส้นแสดงผิวของโลกหรือบางส่วนของโลก ซึ่งเขียนหรือกําหนดรูปร่างขึ้นตาม
มาตราส่วนของพื้นที่ราบ รวมทั้งสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยแสดงเป็น
เครื่องหมาย สี เส้น และรูปร่าง เสมือนภาพที่มองเห็นจากเบื้องต้น
ภาพที่ 1 – 1 : แผนที่โลก
ที่มา : http://www.nidambe11.net
แผนที่คืออะไร ?
7
4. แผนที่ คือ สิ่งที่เราบันทึกเรื่องราวและความรู้สึกต่างๆทางภูมิศาสตร์ลงไว้นั่นเอง
5. แผนที่ คือ สิ่งที่คลุมบริเวณพื้นโลก หรือคลุมพื้นที่บางส่วนของโลก
มนุษย์เรารู้จักการทําแผนที่เพื่อประโยชน์ในการเดินทางมานานนับพันๆ ปี แล้วแต่ปรากฏหลักฐาน
แน่ชัดว่าชนชาติใดเป็นพวกแรกที่รู้จักการทําแผนที่ก่อนชนชาติอื่นแผนที่โบราณของชนชาติต่างๆ มีลักษณะ
แตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น
- แผนภูมิเดินเรือของชาวหมู่เกาะมาร์แซล (Marshall) ที่ใช้เปลือกหอยแทนเกาะและก้านมะพร้าว
เป็นโครงร่างของแผนที่
ภาพที่ 1 - 2 : แผนภูมิเดินเรือของชาวหมู่เกาะมาร์แซล
ที่มา : http://www.bpsmakom.org
ประวัติและความเป็นมาของแผนที่
8
- แผนที่ของชาวเอสกิโม เช่น แผนที่แสดงหมู่เกาะเบลเดอร์ซึ่งมีความใกล้เคียงกับแผนที่ในยุค
ปัจจุบันมาก
- แผนที่ของชาวบาบิโลน ซึ่งสันนิษฐานกันว่ามีอายุไม่ตํ่ากว่า 4,500 ปี แผนที่นี้ถูกค้นพบที่บริเวณ
ห่างจากกรุงบาบิโลนไปทางเหนือประมาณ 200 ไมล์ ปัจจุบันเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นแผนที่ที่ทําด้วยดินเหนียวและเป็นแผ่นอิฐ พบหลายแผ่นบางแผ่นที่แสดงบริเวณ
ลุ่มแม่นํ้าไทกริส – ยูเฟรติส แผนที่เหล่านี้ถือ
ว่าเป็นแผนที่ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังเหลืออยู่
ภาพที่ 1 – 3 : แผนที่ของชาวเอสกิโม
ที่มา : http://www.bp-smakom.org
ภาพที่ 1 - 4 : แผนที่ของชาวบาบิโลน
ที่มา : http://www.bp-smkom.org
9
- แผนที่ของชาวจีนโบราณ ซึ่งมีความเจริญก้าวหน้ามานับพันปีแล้ว ลักษณะสําคัญคือมีการแบ่ง
ตารางในแผนที่เพื่อหาที่ตั้งสัมพันธ์ มีการกําหนดทิศอย่างถูกต้อง และแสดงความสูงตํ่าของภูมิประเทศ
- แผนที่ของชาวกรีกโบราณ เป็นแผนที่ที่เจริญก้าวหน้ามากเช่นกัน และถือกันว่าชาวกรีกโบราณ
เป็นผู้วางรากฐานของการทําแผนที่ในยุคปัจจุบัน นักปราชญ์ที่มีส่วนสําคัญยิ่งในการวางรากฐานการทํา
แผนที่ คือ ปโตเลมี
ภาพที่ 1 - 5 : แผนที่ของชาวจีนโบราณ
ที่มา : http://www.gotoknow.org
ภาพที่ 1 - 6 : แผนที่ของชาวกรีกโบราณ
ที่มา : http://www.gotoknow.org
10
ต่อจากนั้นการทําแผนที่ก็เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นเป็นลําดับ เช่น แผนที่ของปอร์โตแลน ที่ใช้ใน
การเดินเรือข้ามมหาสมุทร จนกระทั่งถึงกลุ่มนักทําแผนที่ชาวดัทช์ เช่น เมอร์เคเตอร์และออร์ติลิอุส
ซึ่งได้จัดพิมพ์แอตลาสสมัยใหม่เล่มแรกของโลก ตลอดถึง เซซา ฟรังซัว คาสซินี ชาวฝรั่งเศสผู้ทําแผนที่
โดยการรังวัดเป็นคนแรก
เนื่องจากแผนที่ถูกนําไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง จึงมีรูปแบบและลักษณะการใช้งานที่
หลากหลาย การจําแนกชนิดของแผนที่สามารถจําแนกได้หลายแบบตามหลักเกณฑ์ต่างๆ ดังนี้
1. การจําแนกชนิดของแผนที่ตามลักษณะที่ปรากฏบนแผนที่ แบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
1.1 แผนที่ลายเส้น (Line Map) เป็นแผนที่แสดงรายละเอียดในพื้นที่ด้วยเส้นและองค์ประกอบ
ของเส้น ซึ่งอาจเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง ท่อนเส้น หรือเส้นใดๆ ที่ประกอบเป็นรูปแบบต่างๆ เช่น ถนนแสดง
ด้วยเส้นคู่ขนาน อาคารแสดงด้วยเส้นประกอบเป็นรูปสี่เหลี่ยม สัญลักษณ์ที่แสดงรายละเอียดเป็นรูปที่
ประกอบด้วยลายเส้น แผนที่ลายเส้นยังหมายรวมถึงแผนที่แบบแบนราบและแผนที่ทรวดทรง ซึ่งถ้า
รายละเอียดที่แสดงประกอบด้วยลายเส้น
แล้วถือว่าเป็นแผนที่ลายเส้นทั้งสิ้น
การจําแนกชนิดของแผนที่
ภาพที่ 1 - 7 : แผนที่ลายเส้น
ที่มา : http://park.dnp.go.th/visitor/
nationparkshow.php?PTA_
CODE =1057
1.2 แผนที่ภาพถ่าย (Photo Map) เป็นแผนที่ซึ่งมีรายละเอียดในแผนที่ที่ได้จากการถ่ายภาพด้วย
กล้องถ่ายภาพ ซึ่งอาจถ่ายภาพจากเครื่องบินหรือดาวเทียม การผลิตแผนที่ทําด้วยวิธีการนําเอาภาพถ่ายมาทํา
การดัดแก้แล้วนํามาต่อเป็นภาพแผ่นเดียวกัน ในบริเวณที่ต้องการ แล้วนํามาใส่เส้นโครงพิกัด ใส่รายละเอียด
ประจําขอบระวาง แผนที่ภาพถ่ายสามารถทําได้รวดเร็ว แต่การอ่านค่อนข้างยากเพราะต้องอาศัยเครื่องมือ
และความชํานาญ
1.3 แผนที่แบบผสม(Annotated Map) เป็นแบบที่ผสมระหว่างแผนที่ลายเส้นกับแผนที่ภาพถ่าย
โดยรายละเอียดที่เป็นพื้นฐานส่วนใหญ่จะเป็นรายละเอียดที่ได้จากการถ่ายภาพ ส่วนรายละเอียดที่สําคัญๆ
เช่น แม่นํ้า ลําคลอง ถนนหรือเส้นทาง รวมทั้งอาคารที่ต้องการเน้นให้เห็นเด่นชัดก็แสดงด้วยลายเส้น พิมพ์
แยกสีให้เห็นเด่นชัดปัจจุบันนิยมใช้มาก เพราะสะดวกและง่ายแก่การอ่าน มีทั้งแบบแบนราบ และแบบพิมพ์
นูน ส่วนใหญ่มีสีมากกว่าสองสีขึ้นไป
11
ภาพที่ 1 - 8 : แผนที่ภาพถ่ายจากดาวเทียมบริเวณอําเภอเมืองขอนแก่น
ที่มา : http://flash-mini.com/gmap3.php?mark=อ.เมือง+ขอนแก่น&search=ค้นหาแผนที่
2. การจําแนกชนิดแผนที่ตามลักษณะการใช้งาน แบ่งออกได้ดังนี้
2.1 แผนที่ทั่วไป(General Map) เป็นแผนที่พื้นฐานที่ใช้อยู่ทั่วไป หรือ ที่เรียกว่า Base map
2.1.1 แผนที่แสดงแบบราบ(Planimetric Map)เป็นแผนที่
แสดงรายละเอียดที่ปรากฏบนผิวโลกเฉพาะสัณฐานทางราบเท่านั้น
ภาพที่ 1 - 9 : แผนที่แบบผสมแสดงพื้นที่ป่าอเมซอน
ที่มา : http://www.unique-southamerica-travel-experience.com/amazon-rainforest-map.html
ภาพที่ 1 - 10 : ตัวอย่างแผนที่แบบราบ
ที่มา : http://www.kru-aoy.com/map2-31.html
12
2.1.2 แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map) เป็นแผนที่แสดงรายละเอียดทั้งทางแนวราบ
และแนวดิ่ง หรืออาจแสดงให้เห็นเป็น 3 มิติ
2.2 แผนที่พิเศษ (Special Map or Thematic Map) สร้างขึ้นบนแผนที่พื้นฐาน เพื่อใช้ในกิจการ
เฉพาะอย่าง
3. การจําแนกตามมาตรฐานของสมาคมการทําแผนที่ระหว่างประเทศ(ICA) ซึ่งได้จําแนกชนิด
แผนที่ออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่
3.1 แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic map) รวมทั้งผังเมืองและแผนที่ภูมิศาสตร์ เป็นแผนที่ที่ให้
รายละเอียด โดยทั่วๆ ไป ของภูมิประเทศ โดยสร้างเป็นแผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วนขนาดเล็ก กลาง และ
ขนาดใหญ่ และได้ข้อมูลมาจากภาพถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายดาวเทียม แผนที่มาตราส่วนเล็กบางทีเรียกว่า
เป็นแผนที่ภูมิศาสตร์ (Geographical map) แผนที่ทั่วไป (General map) และ แผนที่มาตราส่วนเล็กมากๆ ก็
อาจอยู่ในรูปของแผนที่เล่ม (Atlas map)
3.2 ชาร์ตและแผนที่เส้นทาง(Charts and road map)เป็นแผนที่ที่สร้างขึ้นเป็นเครื่องมือประกอบ
การเดินทาง โดยปกติจะเป็นแผนที่มาตราส่วนกลาง หรือมาตราส่วนเล็ก และแสดงเฉพาะสิ่งที่เป็นที่น่าสนใจ
ของผู้ใช้เช่น ชาร์ตเดินเรือ ชาร์ตด้านอุทกศาสตร์ เป็นต้น
ภาพที่ 1 - 11 : ตัวอย่างแผนที่ภูมิประเทศ
ที่มา : http://en.wikibooks.org/wiki/High_School_
Earth_Science/Topographic_Maps
13
3.3 แผนที่พิเศษ (Thematic and special map) ปัจจุบันมีความสําคัญมากขึ้น เพราะสามารถใช้
ประกอบการทําวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ การวางแผนและใช้ในงานด้านวิศวกรรม แผนที่ชนิดนี้จะแสดงข้อมูล
เฉพาะเรื่องลงไป เช่น แผนที่ดิน แผนที่ประชากร แผนที่พืชพรรณธรรมชาติ แผนที่ธรณีวิทยา เป็นต้น
ภาพที่ 1 - 12 : ตัวอย่างแผนที่เส้นทาง
ที่มา : http://www.raksthai.org/files/media/
แผนที่เส้นทางปั่นปลูกป่า.jpg
ภาพที่ 1 - 13 : แผนที่ดินจังหวัดนครปฐม
ที่มา : http://rbr.brrd.in.th/km/index.php? option
=com_content&view=article&id=18#npt3.2
14
การอ่านและแปลความหมายของแผนที่ให้เข้าใจ จําเป็นต้องรู้ข้อมูลเบื้องต้นที่เป็นองค์ประกอบของ
แผนที่และทําความเข้าใจให้ถูกต้องเสียก่อน เพื่อที่จะแปลความหมายและใช้ประโยชน์จากแผนที่ได้อย่าง
สมบูรณ์ โดยเฉพาะแผนที่ภูมิประเทศแบบลายเส้นซึ่งเป็นแผนที่พื้นฐานที่ใช้อยู่แพร่หลายในโลก
ปัจจุบันนักวิชาการได้คิดหาระบบและสัญลักษณ์ที่เป็นสากล ในการกําหนดตําแหน่ง เช่น พิกัด
ภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinates) เป็นระบบอ้างอิงบนผิวพิภพ ตําแหน่งของจุดใดๆ บนพื้นผิวพิภพ
สามารถ กําหนดด้วยค่าละติจูด (Latitude) หรือที่เรียกว่า เส้นขนาน และเส้นลองจิจูด (Longitude) หรือที่
เรียกว่า เส้นเมอริเดียน
แผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศ นอกจากแสดงให้ทราบถึงตําแหน่งที่ตั้ง ระยะทาง และทิศทาง สิ่ง
สําคัญของแผนที่ชนิดนี้คือ แสดงความสูงตํ่า และทรวดทรงแบบต่างๆ ของภูมิประเทศ การแสดงลักษณะภูมิ
ประเทศบนแผนที่ มีหลายวิธี เช่น
1. แถบสี ใช้แถบสีแสดงความสูงตํ่าของภูมิประเทศที่แตกต่างกัน เช่น สีเขียวแสดงพื้นที่ราบ สี
เหลืองจนถึงสีส้มแสดงบริเวณที่เป็นที่สูง สีนํ้าตาลเป็นบริเวณที่เป็นภูเขา
2. เงา การเขียนเงานั้นตามธรรมดานั้น จะเขียนในลักษณะที่มีแสงส่องมาจากทางด้านหนึ่ง ถ้าเป็นที่
สูงชันลักษณะเงาจะเข้ม ถ้าเป็นที่ลาดเงาจะบาง วิธีเขียนเงาจะทําให้จินตนาการถึงความสูงตํ่าได้ง่ายขึ้น
3. เส้นลาดเขา เป็นการเขียนลายเส้นเพื่อแสดงความสูงตํ่าของภูมิประเทศ ลักษณะเส้นจะเป็น เส้น
สั้นๆ ลากขนานกัน ความหนาและช่วงห่างของเส้นมีความหมายต่อการแสดงพื้นที่ คือ ถ้าเส้นหนาเรียง
ค่อนข้างชิด แสดงภูมิประเทศที่สูงชัน ถ้าห่างกันแสดงว่าเป็นที่ลาด
4. แผนที่ภาพนูน แผนที่ชนิดนี้ถ้าใช้ประกอบกับแถบสี จะทําให้เห็นลักษณะภูมิประเทศได้ชัดเจน
ยิ่งขึ้น
5. เส้นชั้นความสูง คือ เส้นสมมุติที่ลากไปตามพื้นผิวโลกที่ความสูงจากระดับนํ้าทะเลปานกลาง
เท่ากัน เส้นชั้นความสูงแต่ละเส้นจึงแสดงลักษณะและรูปต่างของพื้นที่ ณ ระดับความสูงหนึ่งเท่านั้น
การอ่านและแปลความหมายของแผนที่
15
คําชี้แจง ให้นักเรียนใส่เครื่องหมาย  หน้าข้อความที่เห็นว่าถูกต้องและใส่เครื่องหมาย หน้าข้อความที่
เห็นว่าไม่ถูกต้อง
............. 1.สิ่งที่ปรากฏบนแผนที่ ซึ่งจะมีทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และสิ่งที่เกิดจากแรงงานของมนุษย์
...... .......2. ชาร์ตและแผนที่เส้นทาง (Charts and road map) เป็นแผนที่ที่สร้างขึ้นเป็นเครื่องมือประกอบ
การเดินทาง
.............. 3. แผนที่ลายเส้น (Line Map) เป็นแผนที่แสดงรายละเอียดในพื้นที่ด้วยเส้นและองค์ประกอบของ
เส้น ซึ่งใช้เฉพาะเส้นตรงที่ประกอบเป็นรูปแบบต่างๆ
.............. 4. การอ่านและแปลความหมายของแผนที่ถ้าเป็นที่สูงชันลักษณะเงาจะเข้ม ถ้าเป็นที่ลาดเงาจะบาง
.............. 5. แผนภูมิเดินเรือของชาวหมู่เกาะมาร์แซล (Marshall) ที่ใช้เปลือกหอยแทนเกาะและก้านโกงกาง
เป็นโครงร่างของแผนที่
.............. 6. แผนที่พืชพรรณธรรมชาติ จัดเป็นแผนที่ภูมิประเทศ (Topographic map)
.............. 7. แผนที่ของชาวบาบิโลนทําด้วยดินเหนียวและเป็นแผ่นอิฐ ถือว่าเป็นแผนที่ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่
ยังเหลืออยู่
.............. 8. แผนที่ของปอร์โตแลน เป็นแผนที่สําหรับใช้ในการเดินเรือข้ามมหาสมุทร
.............. 9. การจําแนกตามมาตรฐานของสมาคมการทําแผนที่ระหว่างประเทศ(ICA) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
ได้แก่ แผนที่ภูมิประเทศ และแผนที่พิเศษ
.............. 10. เซซา ฟรังซัว คาสซินี ชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ทําแผนที่โดยการรังวัดเป็นคนแรก
16
17
ชื่อ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . เลขที่ . . . . . หอง ม. . ./ . . . .
คําชี้แจง ให้นักเรียนใส่เครื่องหมาย หน้าข้อความที่เห็นว่าถูกต้องและใส่เครื่องหมาย  หน้าข้อความที่
เห็นว่าไม่ถูกต้อง
.... ... 1.สิ่งที่ปรากฏบนแผนที่ ซึ่งจะมีทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และสิ่งที่เกิดจากแรงงานของมนุษย์
.... ... 2. ชาร์ตและแผนที่เส้นทาง (Charts and road map) เป็นแผนที่ที่สร้างขึ้นเป็นเครื่องมือประกอบ
การเดินทาง
... ... 3. แผนที่ลายเส้น (Line Map) เป็นแผนที่แสดงรายละเอียดในพื้นที่ด้วยเส้นและองค์ประกอบของ
เส้น ซึ่งใช้เฉพาะเส้นตรงที่ประกอบเป็นรูปแบบต่างๆ
.... ... 4. การอ่านและแปลความหมายของแผนที่ถ้าเป็นที่สูงชันลักษณะเงาจะเข้ม ถ้าเป็นที่ลาดเงาจะบาง
.... ... 5. แผนภูมิเดินเรือของชาวหมู่เกาะมาร์แซล (Marshall) ที่ใช้เปลือกหอยแทนเกาะและก้านโกงกาง
เป็นโครงร่างของแผนที่
.... .... 6. แผนที่พืชพรรณธรรมชาติ จัดเป็นแผนที่ภูมิประเทศ (Topographic map)
.... ... 7. แผนที่ของชาวบาบิโลนทําด้วยดินเหนียวและเป็นแผ่นอิฐ ถือว่าเป็นแผนที่ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่
ยังเหลืออยู่
.... ... 8. แผนที่ของปอร์โตแลน เป็นแผนที่สําหรับใช้ในการเดินเรือข้ามมหาสมุทร
....  ... 9. การจําแนกตามมาตรฐานของสมาคมการทําแผนที่ระหว่างประเทศ(ICA) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
ได้แก่ แผนที่ภูมิประเทศ และแผนที่พิเศษ
... ... 10. เซซา ฟรังซัว คาสซินี ชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ทําแผนที่โดยการรังวัดเป็นคนแรก
18
องค์ประกอบของแผนที่ หมายถึง สิ่งต่าง ๆที่ปรากฏอยู่บนแผ่นแผนที่ ซึ่งผู้ผลิตแผนที่จัดแสดงไว้
โดยมีความมุ่งหมายที่จะให้ผู้ใช้แผนที่ได้ทราบข่าวสารและรายละเอียดอย่างเพียงพอสําหรับการใช้แผนที่นั้น
แผนที่ที่จัดทําขึ้นก็เพื่อแสดงพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ระวาง”(Sheet) และในแผนที่แต่ละระวางจะพิมพ์
ออกมาเป็นกี่แผ่น(Copies)ก็ได้ วัสดุที่ใช้พิมพ์แผนที่ควรมีลักษณะสําคัญ คือ ยืด หรือ หดน้อยที่สุดเมื่อ
สภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง องค์ประกอบแผนที่แต่ละระวาง ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้
1. เส้นขอบระวาง เป็นเส้นที่แบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วน คือ พื้นที่ภายในขอบระวางและพื้นที่นอก
ขอบระวางของแผนที่ โดยที่เส้นขอบระวางแต่ละด้านจะมีคัวเลขบอกค่าพิกัดกริด(ค่าตะวันออก ค่าเหนือ)
และค่าพิกัดภูมิศาสตร์(ค่าของละติจูดและลองติจูดหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง
การนําเสนอองค์ประกอบของแผนที่นี้จะขอยกตัวอย่างแผนที่ภูมิประเทศลําดับชุด L7018 มาตรา-
ส่วน 1:50,000 ของกรมแผนที่ทหารที่นินมใช้เป็นแผนที่ฐานสําหรับการอ้างอิง ดังต่อไปนี้
องค์ประกอบของแผนที่
ภาพที่ 1 - 14 : องค์ประกอบของแผนที่
ที่มา : กวี วรกวิน. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภูมิศาสตร์.
ภาพที่ 1 - 15 ตัวอย่างองค์ประกอบของแผนที่ชุด L 7018
ที่มา : กวี วรกวิน. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภูมิศาสตร์.
19
2. องค์ประกอบภายนอกขอบระวาง คือ รายละเอียดและคําอธิบายสิ่งต่างๆเกี่ยวกับแผนที่และข้อมูล
การผลิตแผนที่ ซึ่งอยู่นอกเส้นขอบระวางของแผนที่ทั้งสี่ด้าน องค์ประกอบภายนอกขอบระวางแผนที่ที่
สําคัญของแผนที่ ชุด L 7018 มีรายละเอียดต่างๆแสดงในตารางดังนี้
1) ชื่อชุดแผนที่และมาตราส่วน(Series Name and Map Name) เป็นชื่อและมาตราส่วนของแผน
ที่ จากตัวอย่างที่แสดงในภาพที่ 1 - 15 คือ
2) ชื่อระวาง(Sheet Name) เป็นชื่อที่เรียกประจําระวางหนึ่งๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชื่อที่ได้มาจาก
รายละเอียดที่เด่นหรือที่สําคัญทางภูมิศาสตร์ที่แผนที่แผ่นนั้นครอบคลุม เช่น ชื่อของจังหวัด อําเภอ หมู่บ้าน
จากที่แสดงในภาพที่ 1 - 15 คือ อําเภอศรีราชา AMPHOE SI RACHA
3) หมายเลขประจําระวาง(Sheet Number) เป็นตัวเลขที่บอกให้ทราบว่าแผนที่ระวางที่เท่าไร เพื่อ
ความสะดวกในการอ้างอิงหรือค้นหา จากตัวอย่างที่แสดงในภาพที่ 1 - 15 คือ
4) หมายเลขประจําชุด(Series Number) เป็นหมายเลขอ้างอิงถึงการจัดทําแผนที่ว่าเป็นแผนที่ชุด
ใด ซึ่งประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลข จากตัวอย่างที่แสดงในภาพที่ 1 - 15 คือ
5) การจัดพิมพ์(Edition Number) เป็นสิ่งบอกให้ทราบถึงอายุของแผนที่ที่เกี่ยวข้องกับแผนที่
ฉบับเดียวกัน เช่น ปีที่พิมพ์จํานวนครั้งที่พิมพ์จากตัวอย่างที่แสดงในภาพที่ 1 - 15 คือ
มีความหมายว่า แผนที่ ฉบับนี้พิมพ์ครั้งที่ 1 โดยสํานักงาน Royal Thai Survey Department(R T S D = ผท.
ทหาร)
6) มาตราส่วนแผนที่(Map Scale) เป็นสิ่งที่บอกให้ทราบถึงอัตราส่วนระหว่างระยะในแผนที่กับ
ระยะในภูมิประเทศที่ตรงกันจะมีหน่วยวัดที่แตกต่างกัน เช่น ไมล์ เมตร หลา ไมล์ทะเล จากตัวอย่างที่แสดง
ในภาพที่ 1 - 15 คือ
20
7) ศัพทานุกรม(Glossary) เป็นคําอธิบายศัพท์
สําคัญที่ปรากฏในแผนที่ โดยเรียงตามลําดับตัวอักษร
ส่วนมากจะมีแผนที่ที่มีตั้งแต่สองภาษาขึ้นไปจากตัวอย่างที่
แสดงในภาพที่ 1 - 15 คือ
8) สารบัญ(Index) เป็นแผนภาพที่แสดงไว้เพื่อบอกข้อมูลที่จําเป็นให้ผู้ใช้แผนที่เข้าใจข้อมูลบน
แผนที่มากขึ้น ได้แก่
8.1) คําแนะนําที่เกี่ยวกับระดับความสูง(Elevation Guide) เป็นแผนภาพที่แสดงระดับความสูง
อย่างคร่าวๆว่าบริเวณใดในแผนที่มีความสูงเท่าไร โดยแสดงด้วยความเข้มของสี สูงที่สุด สูง ปานกลาง และ
ตํ่าจากระดับนํ้าทะเลมาก หรือ น้อย
ภาพที่1 – 16: ตัวอย่างสารบัญ(Index)ของแผนที่
ที่มา : http://www.rmutphysics.com/sciencefac/artic
/map/map.htm
21
8.2) สารบัญระวางติดต่อ(Adjioning Sheets) เป็นแผนภาพกรอบตารางสี่เหลี่ยมพร้อมทั้ง
หมายเลขกํากับ เพื่อแสดงให้ทราบว่าบริเวณข้างเคียงอยู่ในระวางหมายเลขที่เท่าไร เพื่อความสะดวกในการ
ค้นหา ระวางที่ใช้อยู่จะแสดงด้วยกรอบเข้มอยู่ตรงกลาง
8.3) สารบัญแสดงแนวแบ่งเขตการปกครอง(Boundaries) เป็นแผนภาพที่บอกเขตการ
ปกครองของพื้นที่ที่ปรากฏในแผนที่ว่าเป็นพื้นที่ของอําเภอใดและจังหวัดใด
9) คําอธิบายสัญลักษณ์(Legend) เป็นรายละเอียดที่อธิบายความหมายของสัญลักษณ์(Symbol) ที่
ใช้แสดงในแผนที่ เช่น ประเภทของเส้นถนน
ภาพที่ 1 – 17: ตัวอย่างคําอธิบายสัญลักษณ์(Legend) ของแผนที่
ที่มา : http://www.rmutphysics.com/sciencefac/artic /map/map.htm
22
10) บันทึก(Notes) เป็นคําอธิบายข้อมูลต่างๆให้ผู้ใช้แผนที่สามารถใช้ได้อย่างสะดวกและถูกต้อง
ได้แก่ บันทึกเกี่ยวกับเส้นโครงแผนที่(Projection Note) บันทึกเกี่ยวกับเส้นกริด(Grid Note) บันทึกเกี่ยวกับ
หลักฐานทางดิ่งและทางราบ(Vertical/Horizontal Datum Note)บันทึกเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือ(Credit Note)
บันทึกเกี่ยวกับการผลิต(Reproduction Note) บันทึกเกี่ยวกับช่วงต่างเส้นชั้นความสูง(Contour Interval Note)
บันทึกสําหรับผู้ใช้แผนที่(User Note) จากตัวอย่างที่แสดงในภาพที่ 1 - 15 คือ
11) แผนภาพเดคลิเนชั่นหรือมุมบ่ายเบน(Declination Diagram)
เป็นแผนภาพที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของแนวทิศเหนือจริง ทิศเหนือ
กริด และแนวทิศเหนือแม่เหล็ก ณ บริเวณศูนย์กลางของแผนที่นั้น จาก
ตัวอย่างที่แสดงในภาพที่ 1 - 15 คือ
23
12) หมายเลขประจําแผ่นแผนที่เพื่อการเก็บในคลังแผนที่(Stock Number) เป็นตัวเลขที่กําหนด
ขึ้นเป็นระบบเพื่อความสะดวกในการเก็บและค้นหาแผนที่ จากตัวอย่างที่แสดงในภาพที่ 1 - 15 คือ
3. องค์ประกอบภายในขอบระวาง หมายถึง สิ่งทั้งหลายที่แสดงไว้ภายในกรอบ ซึ่งล้อมรอบด้วยเส้น
ขอบระวางแผนที่ ตามปกติแล้วจะประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้ คือ
3.1 สัญลักษณ์(Symbol)คือ เครื่องหมาย รูป เส้น หรือองค์ประกอบของเส้น ที่ผู้ผลิตกําหนดขึ้น
เพื่อทดแทนรายละเอียดที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวภูมิประเทศ สัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะที่ปรากฏใน
ภูมิประเทศจริงในแผนที่นั้น จําแนกได้3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1) สัญลักษณ์ที่ใช้แทนทางกายภาพ(Physical Features) ใช้แสดงรายละเอียดของสิ่งที่เกิดขึ้น
เองตามธรรมชาติ เช่น เทือกเขา ที่ราบ แม่นํ้า เป็นต้น อาจแสดงด้วยเส้น จุด สี การแรเงาหนาทึบ หรือรูปร่าง
ต่างๆ จากตัวอย่างที่แสดงในภาพที่ 1 - 15 คือ
24
2) สัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะทางวัฒนธรรม(Cultural Features)ใช้แสดงสิ่งต่างๆ ที่เกิดจาก
การสร้างสรรค์ของมนุษย์เช่น บ้าน เส้นทางคมนาคมขนส่ง พื้นที่เกษตรกรรม เป็นต้น อาจใช้รูปสี่เหลี่ยม
สามเหลี่ยม วงกลม และอื่นๆ ที่สื่อ
ความหมายให้ผู้ใช้แผนที่เข้าใจและ
จดจําได้โดยง่าย จากตัวอย่างที่แสดง
ในภาพที่ 1 - 15 คือ
3) สัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะข้อมูลเฉพาะเรื่อง หรือ ข้อมูลพิเศษ เป็นสัญลักษณ์ที่คิดขึ้นเพื่อ
ใช้แสดงแทนข้อมูลที่ผู้ผลิตต้องการเป็นพิเศษ เช่น แผนที่โครงสร้างทางธรณีวิทยา แผนที่ข้อมูลทางด้าน
สาธารณสุข เช่น พื้นที่แพร่ระบาดของไข้หวัดนก เป็นต้น โดยใช้สัญลักษณ์เป็นรูปสัตว์หรือ อื่นๆที่สื่อ
ความหมายให้ผู้ใช้แผนที่เข้าใจและจดจําได้โดยง่าย ได้แก่
3.1) สี (Color)สําหรับแผนที่ภูมิประเทศที่พิมพ์สีปกติจะมี 4 สี โดยมักเลือกสีให้สอดคล้อง
กับรายละเอียดที่ใช้สัญลักษณ์นั้นแทน เช่น สีนํ้าเงิน แหล่งนํ้า แม่นํ้า ลําคลอง มหาสมุทร สีแดง หรือ ดําใช้
แทนสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น สีเขียว ใช้แทนพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่การเกษตร ที่ราบลุ่ม สีนํ้าตาล ใช้แทนเทือกเขา
หรือภูมิประเทศที่มีความสูง
3.2) ชื่อภูมิศาสตร์(Geographic name) เป็นตัวอักษรกํากับรายละเอียดต่างๆที่แสดงไว้ใน
ขอบระวางแผนที่เพื่อแจ้งให้ทราบว่าสถานที่นั้น หรือ สิ่งนั้นมีชื่อเรียกว่าอะไร ตามปกติอักษรภาษาไทยใช้สี
แดง ภาษาอังกฤษ ใช้สีดํา
25
3.3) ระบบอ้างอิงในการกําหนดตําแหน่ง(Position Reference System) ได้แก่ เส้น หรือ
ตารางที่แสดงในแผ่นแผนที่เพื่อใช้กําหนดค่าพิกัดของตําแหน่งต่างๆในแผนที่นั้น ที่นิยมใช้และแสดงใน
แผนที่ทั่วไปมีอยู่2 ชนิด คือ
3.3.1) พิกัดภูมิศาสตร์(Geographic Coordinates)เป็นการบอกตําแหน่งบนพื้นที่โลก
ด้วยวิธีอ้างอิงตําแหน่งที่เป็นค่าระยะเชิงมุมของละติจูด(Latitude) และลองติจูด(Longtitude) ซึ่งอาจแสดงไว้
เป็นเส้นยาวจดขอบระวางแผนที่หรือเส้นกากบาท
 ละติจูด(Latitude) เกิดจากมุมที่วัดจากระนาบในแนวนอนที่ศูนย์สูตรของ
โลกไปตามระนาบแนวตั้ง เมื่อสมมุติให้ระนาบในแนวนอนตัดกับผิวโลกทําให้เกิดรอยตัดที่ผิวโลกเป็นเส้น
ศูนย์สูตร ซึ่งมีค่า 0 องศา ส่วนละติจูดที่อยู่ใกล้ขั้วโลกจะสั้นมากจนเป็นจุดที่ขั้วโลก ซึ่งมีค่าเท่ากับ 90 องศา
เส้นละติจูดที่อยู่ซีกโลกเหนือมีหน่วยเป็นองศาเหนือ ส่วนเส้นละติจูดที่อยู่ซีกโลกใต้มีหน่วยเป็นองศาใต้
ลองติจูด(Longtitude) เป็นเส้นสมมุติที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้
เกิดจากมุมที่วัดจากระนาบในแนวนอนที่ศูนย์สูตรของโลก เมื่อสมมุติให้ระนาบแนวตั้งตัดกับผิวโลกทําให้
เกิดรอยตัดที่ผิวโลกเป็นเส้นวงกลมในแนวตั้ง เรียกว่า เส้นเมริเดียน ซึ่งแต่ละเส้นจะมีความยาวเท่ากันหมด
ภาพที่ 1 – 18 : แสดงโครงข่ายของเส้นละติจูด(Latitude) และลองติจูด(Longtitude)
ที่มา : http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2012/02/X11702840/X11702840.html
26
แต่ในการอ่านค่าได้กําหนดเส้นเมริเดียนที่ลากผ่านเมืองกรีนิช ประเทศสหราชอาณาจักร ซึ่งมีค่า
เท่ากับ 0 องศาเป็นเส้นเมริเดียนแรกเริ่ม(Prime Meridian) เส้นเมริเดียนด้านตะวันออกของเมืองกรีนิช
เรียกว่า เส้นเมริเดียนตะวันออก มีค่า 0 – 180 องศา ส่วนเส้นเมริเดียนด้านตะวันตกของเมืองกรีนิช เรียกว่า
เส้นเมริเดียนตะวันตก มีค่า 0 – 180 องศาเท่ากัน ดังนั้นเส้นเมริเดียน 180 องศาตะวันตกและเส้นเมริเดียน
180 องศาตะวันออก จึงเป็นเส้นเดียวกันและอยู่ตรงข้ามเส้นเมริเดียนหลักพอดี เรียกว่า เส้นวันที่สากล
3.3.2) พิกัดฉาก(Rectangular Coordinates) ได้แก่ เส้นขนานสองชุดที่มีระยะห่าง
เท่าๆกันตัดกันเป็นสี่เหลี่ยม
มุมฉาก เส้นตรงขนานทั้ง
สองชุดดังกล่าวอาจแสดงไว้
เป็นเส้นตรงยาวจรดขอบ
ระวางทั้ง 4 ด้าน
ภาพที่ 1 – 19 : แสดงตัวอย่างการอ่านสัญลักษณ์ พิกัดภูมิศาสตร์และพิกัดฉาก
ที่มา : กวี วรกวิน. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภูมิศาสตร์.
27
แผนที่เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์อย่างหนึ่งที่มีความสําคัญในการนํามาใช้เป็นเครื่องมือช่วยให้การ
ดําเนินชีวิตและการประกอบกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ใก่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากแผนที่สามารถ
ให้ข้อมูลด้านตําแหน่งที่ตั้ง แสดงให้เห็นถึงการกระจายของข้อมูล ขอบเขตของข้อมูลและความสัมพันธ์
ระหว่างข้อมูลได้จึงทําให้มีการนําแผนที่ไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ดังนี้
1. ด้านการเมืองการปกครอง เพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศชาติ ให้คงอยู่จําเป็นจะต้องมีความรู้
ในเรื่องภูมิศาสตร์การเมือง หรือที่เรียกกันว่า "ภูมิรัฐศาสตร์" และเครื่องมือที่สําคัญของนักภูมิรัฐศาสตร์ ก็คือ
แผนที่ เพื่อใช้ศึกษาสภาพทางภูมิศาสตร์และนํามาวางแผนดําเนินการเตรียมรับ หรือ แก้ไขสถานการณ์ที่
เกิดขึ้นได้อย่างเช่น แนวพรมแดนระหว่างประเทศ จําเป็นต้องอาศัยแผนที่ในการวางแผนดําเนินการ เตรียม
รับหรือแก้ไขสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างถูกต้อง แผนที่ในกิจกรรมทางการเมืองนอกจากแผนที่แนวเขต
แดนซึ่งสําคัญแล้ว ยังต้องเกี่ยวข้องกับแผนที่ต่าง ๆ มากมาย
2. ด้านการทหาร ในการพิจารณาวางแผนทางยุทธศาสตร์ของทหาร จําเป็นต้อง หาข้อมูลหรือข่าว
สารที่เกี่ยวกับสภาพภูมิศาสตร์ และตําแหน่งทางสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องแน่นอนเกี่ยวกับระยะทาง ความสูง
เส้นทาง ลักษณะภูมิประเทศที่สําคัญ
3. ด้านเศรษฐกิจและสังคม ด้านเศรษฐกิจ เป็นเครื่องบ่งชี้ความเป็นอยู่ของประชาชนภายในชาติ
เพราะฉะนั้นทุกประเทศก็มุ่งที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของตนเพื่อความมั่งคั่ง และมั่นคง การดําเนินงาน เพื่อ
พัฒนา เศรษฐกิจของแต่ละภูมิภาคที่ผ่านมา แผนที่ เป็นสิ่งแรกที่ต้องผลิตขึ้นมาเพื่อการใช้งานในการวางแผน
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก็ต้องอาศัยแผนที่เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ทราบ ทําเลที่ตั้ง สภาพทาง
กายภาพแหล่งทรัพยากร และ แผนที่ยังช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับภาพรวมและความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ได้มาก
ขึ้น ทําให้วางแผนและพัฒนาเป็นไปได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ
28
ประโยชน์ของแผนที่
4. ด้านสังคม สภาพแวดล้อมทางสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ที่เห็นชัดคือสภาพแวดล้อมทาง
ภูมิศาสตร์ ซึ่งทําให้สภาพแวดล้อมทางสังคมเปลี่ยนแปลงไปการศึกษาสภาพการเปลี่ยนแปลงต้องอาศัยแผน
ที่เป็นสําคัญ และอาจช่วยให้การดําเนินการวางแผนพัฒนาสังคมเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง
5. ด้านการเรียนการสอน แผนที่เป็นตัวส่งเสริมกระตุ้นความสนใจ และก่อให้เกิดความเข้าใจใน
บทเรียนดีขึ้นใช้เป็นแหล่งข้อมูลทั้งทางด้านกายภาพ ภูมิภาค วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สถิติและการกระจายของ
สิ่งต่าง ๆ รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และปรากฏการณ์ต่าง ๆใช้เป็นเครื่องช่วยแสดงภาพรวมของ
พื้นที่หรือของภูมิภาค อันจะนําไปศึกษาสถานการณ์และวิเคราะห์ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์ของพื้นที่
6. ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว แผนที่มีความจําเป็นต่อนักท่องเที่ยวในอันที่จะทําให้รู้จักสถานที่
ท่องเที่ยวได้ง่าย สะดวกในการวางแผนการเดินทาง หรือเลือกสถานที่ท่องเที่ยวตามความเหมาะสม
29
คําชี้แจง ให้นักเรียนใส่เครื่องหมาย  หน้าข้อความที่เห็นว่าถูกต้องและใส่เครื่องหมาย หน้าข้อความที่
เห็นว่าไม่ถูกต้อง
............. 1. แผนที่ที่จัดทําขึ้นก็เพื่อแสดงพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งซึ่งเรียกว่า “ระวาง” (Sheet) และในแผนที่แต่ละ
ระวางจะพิมพ์ออกมาได้เพียงแผ่นเดียวเท่านั้น
...... .......2. วัสดุที่ใช้พิมพ์แผนที่ควรมีลักษณะสําคัญ คือ ยืดหรือหดน้อยที่สุด เมื่อสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง
.............. 3. เส้นขอบระวาง เป็นเส้นที่แบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วน คือ พื้นที่ภายในขอบระวางและพื้นที่นอก
ขอบระวางของแผนที่
.............. 4. จากข้อความดังกล่าว คือ หมายเลขประจําระวาง(Sheet Number)
.............. 5. ศัพทานุกรม(Glossary ) เป็นคําอธิบายศัพท์สําคัญที่ปรากฏในแผนที่ โดยเรียงตามความสําคัญ
.............. 6. สารบัญ(Index) เป็นแผนภาพที่แสดงไว้เพื่อบอกข้อมูลที่จําเป็นให้ผู้ใช้แผนที่เข้าใจข้อมูลบน
แผนที่มากขึ้น
.............. 7. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะทางวัฒนธรรม(Cultural Features)ใช้แสดงสิ่งต่างๆ ที่เกิดจากการ
สร้างสรรค์ของมนุษย์
.............. 8. สี (Color)สําหรับแผนที่ภูมิประเทศ ใช้เช่น สีนํ้าเงินแทน แหล่งนํ้า แม่นํ้า ลําคลอง มหาสมุทร
.............. 9. ชื่อภูมิศาสตร์(Geographic name) เป็นตัวอักษรกํากับรายละเอียดต่างๆที่แสดงไว้ในขอบระวาง
แผนที่ ตามปกติอักษรภาษาไทยใช้สีดํา ภาษาอังกฤษ ใช้สีแดง
.............. 10. ลองติจูด(Longtitude) เป็นเส้นสมมุติที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้
30
31
ชื่อ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . เลขที่ . . . . . หอง ม. . ./ . . . .
คําชี้แจง ให้นักเรียนใส่เครื่องหมาย หน้าข้อความที่เห็นว่าถูกต้องและใส่เครื่องหมาย  หน้าข้อความที่
เห็นว่าไม่ถูกต้อง
....  ... 1. แผนที่ที่จัดทําขึ้นก็เพื่อแสดงพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งซึ่งเรียกว่า “ระวาง” (Sheet) และในแผนที่แต่ละ
ระวางจะพิมพ์ออกมาได้เพียงแผ่นเดียวเท่านั้น
.... ... 2. วัสดุที่ใช้พิมพ์แผนที่ควรมีลักษณะสําคัญ คือ ยืดหรือหดน้อยที่สุดเมื่อสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง
...  ... 3. เส้นขอบระวาง เป็นเส้นที่แบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วน คือ พื้นที่ภายในขอบระวางและพื้นที่นอก
ขอบระวางของแผนที่
.... ... 4. จากข้อความดังกล่าว คือ หมายเลขประจําระวาง(Sheet Number)
.... ... 5. ศัพทานุกรม(Glossary ) เป็นคําอธิบายศัพท์สําคัญที่ปรากฏในแผนที่ โดยเรียงตามความสําคัญ
....  .... 6. สารบัญ(Index) เป็นแผนภาพที่แสดงไว้เพื่อบอกข้อมูลที่จําเป็นให้ผู้ใช้แผนที่เข้าใจข้อมูลบน
แผนที่มากขึ้น
.... ... 7. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะทางวัฒนธรรม(Cultural Features)ใช้แสดงสิ่งต่างๆ ที่เกิดจากการ
สร้างสรรค์ของมนุษย์
.... ... 8. สี (Color)สําหรับแผนที่ภูมิประเทศ ใช้เช่น สีนํ้าเงินแทน แหล่งนํ้า แม่นํ้า ลําคลอง มหาสมุทร
....  ... 9. ชื่อภูมิศาสตร์(Geographic name) เป็นตัวอักษรกํากับรายละเอียดต่างๆที่แสดงไว้ในขอบระวาง
แผนที่ ตามปกติอักษรภาษาไทยใช้สีดํา ภาษาอังกฤษ ใช้สีแดง
... ... 10. ลองติจูด(Longtitude) เป็นเส้นสมมุติที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้
35
คําชี้แจง 1. แบบทดสอบฉบับนี้เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จํานวน 24 ข้อ
2. ให้นักเรียนเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียวทําเครื่องหมาย  ลงบนกระดาษคําตอบ
1. ชาติใดที่ได้ชื่อว่ามีความเจริญก้าวหน้าและเป็น
ผู้จัดทําแผนที่สมัยใหม่ ?
ก. ฝรั่งเศส
ข. อังกฤษ
ค. สเปน
ง. ฮอลันดา
2. ชาติที่ถือว่าเป็นผู้วางรากฐานของการทําแผนที่ใน
ปัจจุบัน คือ ข้อใด ?
ก. กรีก ข. โรมัน
ข. อียิปต์ ง. จีน
3. จากภาพที่แสดงจัดเป็นแผนที่ชนิดใด ?
ก. แผนที่ลายเส้น (Line Map)
ข. แผนที่ภาพถ่าย (Photo Map)
ค. แผนที่แบบผสม(Annotated Map)
ง. แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map)
4. จากภาพที่แสดงจัดเป็นแผนที่ชนิดใด ?
ก. แผนที่ลายเส้น (Line Map)
ข. แผนที่ภาพถ่าย (Photo Map)
ค. แผนที่แบบผสม(Annotated Map)
ง. แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map)
5. จากภาพที่แสดงจัดเป็นแผนที่ชนิดใด ?
ก. แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic map)
ข. ชาร์ตและแผนที่เส้นทาง (Charts and road
map)
ค. แผนที่พิเศษ (Thematic and special map)
ง. แผนที่แสดงแบบราบ (Planimetric Map)
33
6. จากภาพที่แสดงจัดเป็นแผนที่ชนิดใด ?
ก. แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic map)
ข. ชาร์ตและแผนที่เส้นทาง (Charts and road map)
ค. แผนที่พิเศษ (Thematic and special map)
ง. แผนที่แสดงแบบราบ (Planimetric Map)9. แ7.
7. แผนที่ของชนชาติใดมีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลก ?
ก. ชาวเอสกิโม
ข. ชาวบาบิโลน
ค. ชาวจีนโบราณ
ง. ชาวกรีกโบราณ
8. การอ่านและแปลความหมายของแผนที่ หาก
แสดงเป็นถ้าเส้นหนาเรียงค่อนข้างชิดหมายถึงข้อ
ใด ?
ก. พื้นที่ราบ
ข. เป็นที่ลาด
ค. ความสูงจากระดับนํ้าทะเลปานกลาง
ง. ภูมิประเทศที่สูงชัน
9.แผนที่แต่ละระวางสามารถพิมพ์ออกมาได้กี่แผ่น ?
ก. กี่แผ่นก็ได้
ข. ไม่เกิน 1 แผ่น
ค. ไม่เกิน 10 แผ่น
ง. ไม่กินข้อกําหนดของสมาคม
10.วัสดุที่ใช้พิมพ์แผนที่ควรมีลักษณะอย่างไร?
ก. ยืดน้อยที่สุดเมื่อสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง
ข. หดน้อยที่สุดเมื่อสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง
ค. ไม่ยืดหรือ หดเมื่อสภาวะอากาศเปลี่ยน แปลง
ง. ข้อ ก และ ข้อ ข
11. ข้อใด ไม่จัดเป็นองค์ประกอบของแผนที่ ?
ก. องค์ประกอบภายในขอบระวาง
ข. เส้นขอบระวาง
ค. ตําแหน่งแกนแม่เหล็กโลก
ง. องค์ประกอบภายนอกขอบระวาง
12. จากภาพที่แสดง คือ ส่วนใดของแผนที่ ?
ก. ชื่อชุดแผนที่และมาตราส่วน
ข. ชื่อระวาง
ค. หมายเลขประจําระวาง
ง. หมายเลขประจําชุด
13.จากภาพที่แสดง คือ ส่วนใดของแผนที่ ?
ก. ชื่อชุดแผนที่และมาตราส่วน
ข. ชื่อระวาง
ค. หมายเลขประจําระวาง
ง. หมายเลขประจําชุด
34
(คําตอบต่อไปนี้ใช้ตอบคําถามข้อ 14 – 16)
ก. คําแนะนําที่เกี่ยวกับระดับความสูง
ข. สารบัญระวางติดต่อ
ค. สารบัญแสดงแนวแบ่งเขตการปกครอง
ง. คําอธิบายสัญลักษณ์
14. จากภาพที่แสดง คือ ส่วนใดของแผนที่ ?
15.จากภาพที่แสดง คือ ส่วนใดของแผนที่ ?
16. จากภาพที่แสดง คือ ส่วนใดของแผนที่ ?
17. หากจะค้นหาแผนที่ ควรจะต้องดูที่ข้อมูลใน
ส่วนใด ?
ก. หมายเลขประจําแผ่นแผนที่
ข. แผนภาพเดคลิเนชั่น
ค. บันทึก(Notes)
ง. คําอธิบายสัญลักษณ์
18. ข้อใดเป็นสัญลักษณ์(Symbol)ที่อยู่ในภายใน
ขอบระวางของแผนที่ ?
ก. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนทางกายภาพ
ข. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะทางวัฒนธรรม
ค. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะข้อมูลเฉพาะ
เรื่อง
ง. ทุกข้อที่กล่าว
บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง-แผนที่
บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง-แผนที่
บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง-แผนที่
บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง-แผนที่

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

ตัวอย่างแผนการสอนคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างแผนการสอนคอมพิวเตอร์ตัวอย่างแผนการสอนคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างแผนการสอนคอมพิวเตอร์srkschool
 
แบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิ
แบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิแบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิ
แบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิSurapong Klamboot
 
เรื่อง คำประสม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
เรื่อง คำประสม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑เรื่อง คำประสม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
เรื่อง คำประสม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑พัน พัน
 
การเขียนบรรณานุกรม
การเขียนบรรณานุกรมการเขียนบรรณานุกรม
การเขียนบรรณานุกรมSupaporn Khiewwan
 
แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1
แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1
แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1KruKaiNui
 
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตBiobiome
 
คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์
คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์
คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์niralai
 
แผ่นพับโครงงานความหลากหลายของแมงมุม
แผ่นพับโครงงานความหลากหลายของแมงมุมแผ่นพับโครงงานความหลากหลายของแมงมุม
แผ่นพับโครงงานความหลากหลายของแมงมุมSircom Smarnbua
 
แบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงานแบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงานpacharawalee
 
แบบประเมินทักษะกระบวนการ
แบบประเมินทักษะกระบวนการแบบประเมินทักษะกระบวนการ
แบบประเมินทักษะกระบวนการsomdetpittayakom school
 
พฤติกรรมที่เป็นปัญหาในการเรียนการ
พฤติกรรมที่เป็นปัญหาในการเรียนการพฤติกรรมที่เป็นปัญหาในการเรียนการ
พฤติกรรมที่เป็นปัญหาในการเรียนการJariya
 
แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ_ม.4
แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ_ม.4แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ_ม.4
แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ_ม.4Sivagon Soontong
 
ใบความรู้+การเกิดทิศ+ป.3+247+dltvscip3+55t2sci p03 f21-1page
ใบความรู้+การเกิดทิศ+ป.3+247+dltvscip3+55t2sci p03 f21-1pageใบความรู้+การเกิดทิศ+ป.3+247+dltvscip3+55t2sci p03 f21-1page
ใบความรู้+การเกิดทิศ+ป.3+247+dltvscip3+55t2sci p03 f21-1pagePrachoom Rangkasikorn
 
หลักการเขียนแนะนำตนเอง
หลักการเขียนแนะนำตนเองหลักการเขียนแนะนำตนเอง
หลักการเขียนแนะนำตนเองRung Kru
 
แบบประเมินชิ้นงาน
แบบประเมินชิ้นงานแบบประเมินชิ้นงาน
แบบประเมินชิ้นงานkrunueng1
 
แบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจแบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจDuangnapa Inyayot
 
การศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรง
การศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรงการศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรง
การศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรงKru Tew Suetrong
 

La actualidad más candente (20)

ตัวอย่างแผนการสอนคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างแผนการสอนคอมพิวเตอร์ตัวอย่างแผนการสอนคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างแผนการสอนคอมพิวเตอร์
 
แบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิ
แบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิแบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิ
แบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิ
 
เรื่อง คำประสม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
เรื่อง คำประสม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑เรื่อง คำประสม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
เรื่อง คำประสม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
 
การเขียนบรรณานุกรม
การเขียนบรรณานุกรมการเขียนบรรณานุกรม
การเขียนบรรณานุกรม
 
แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1
แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1
แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1
 
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
 
แผ่นพับ
แผ่นพับแผ่นพับ
แผ่นพับ
 
คำนาม
คำนามคำนาม
คำนาม
 
คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์
คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์
คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์
 
แผ่นพับโครงงานความหลากหลายของแมงมุม
แผ่นพับโครงงานความหลากหลายของแมงมุมแผ่นพับโครงงานความหลากหลายของแมงมุม
แผ่นพับโครงงานความหลากหลายของแมงมุม
 
แบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงานแบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงาน
 
แบบประเมินทักษะกระบวนการ
แบบประเมินทักษะกระบวนการแบบประเมินทักษะกระบวนการ
แบบประเมินทักษะกระบวนการ
 
พฤติกรรมที่เป็นปัญหาในการเรียนการ
พฤติกรรมที่เป็นปัญหาในการเรียนการพฤติกรรมที่เป็นปัญหาในการเรียนการ
พฤติกรรมที่เป็นปัญหาในการเรียนการ
 
แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ_ม.4
แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ_ม.4แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ_ม.4
แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ_ม.4
 
ใบงาน อเมริกาเหนือ
ใบงาน อเมริกาเหนือใบงาน อเมริกาเหนือ
ใบงาน อเมริกาเหนือ
 
ใบความรู้+การเกิดทิศ+ป.3+247+dltvscip3+55t2sci p03 f21-1page
ใบความรู้+การเกิดทิศ+ป.3+247+dltvscip3+55t2sci p03 f21-1pageใบความรู้+การเกิดทิศ+ป.3+247+dltvscip3+55t2sci p03 f21-1page
ใบความรู้+การเกิดทิศ+ป.3+247+dltvscip3+55t2sci p03 f21-1page
 
หลักการเขียนแนะนำตนเอง
หลักการเขียนแนะนำตนเองหลักการเขียนแนะนำตนเอง
หลักการเขียนแนะนำตนเอง
 
แบบประเมินชิ้นงาน
แบบประเมินชิ้นงานแบบประเมินชิ้นงาน
แบบประเมินชิ้นงาน
 
แบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจแบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจ
 
การศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรง
การศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรงการศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรง
การศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรง
 

Destacado (9)

ใบงาน2
ใบงาน2ใบงาน2
ใบงาน2
 
ใบงานยุโรปที่ 2
ใบงานยุโรปที่ 2ใบงานยุโรปที่ 2
ใบงานยุโรปที่ 2
 
ทวีปยุโรป
ทวีปยุโรปทวีปยุโรป
ทวีปยุโรป
 
ใบงานยุโรป 3
ใบงานยุโรป  3ใบงานยุโรป  3
ใบงานยุโรป 3
 
Europe
EuropeEurope
Europe
 
ทวีปยุโรป309
ทวีปยุโรป309ทวีปยุโรป309
ทวีปยุโรป309
 
ใบงานยุโรป 1
ใบงานยุโรป 1ใบงานยุโรป 1
ใบงานยุโรป 1
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๑
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๑แผนการจัดการเรียนรู้ที่๑
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๑
 
ภูมิศาสตร์
ภูมิศาสตร์ภูมิศาสตร์
ภูมิศาสตร์
 

Similar a บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง-แผนที่

เล่มที่ 1เผยแพร่
เล่มที่ 1เผยแพร่ เล่มที่ 1เผยแพร่
เล่มที่ 1เผยแพร่ Tay Chaloeykrai
 
แผนที่และประวัติความเป็นมาของแผนที่
แผนที่และประวัติความเป็นมาของแผนที่แผนที่และประวัติความเป็นมาของแผนที่
แผนที่และประวัติความเป็นมาของแผนที่พัน พัน
 
แผนการจัดการเรียนรู้ย่อยที่ 4
แผนการจัดการเรียนรู้ย่อยที่ 4แผนการจัดการเรียนรู้ย่อยที่ 4
แผนการจัดการเรียนรู้ย่อยที่ 4dechathon
 
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...Suricha Phichan
 
หน่วยการเรียนรู้บูรณาการอาเซียนศึกษา หน่วยที่ 2 ป.5
หน่วยการเรียนรู้บูรณาการอาเซียนศึกษา หน่วยที่ 2 ป.5หน่วยการเรียนรู้บูรณาการอาเซียนศึกษา หน่วยที่ 2 ป.5
หน่วยการเรียนรู้บูรณาการอาเซียนศึกษา หน่วยที่ 2 ป.5sompriaw aums
 
แบบรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา โสภิญญา
แบบรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา โสภิญญาแบบรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา โสภิญญา
แบบรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา โสภิญญาSophinyaDara
 
แผนการเรียนรู้1
แผนการเรียนรู้1แผนการเรียนรู้1
แผนการเรียนรู้10871885581
 
แผน 8 นวัตกรรม บูรณาการอาเซียนศึกษา
แผน 8 นวัตกรรม บูรณาการอาเซียนศึกษาแผน 8 นวัตกรรม บูรณาการอาเซียนศึกษา
แผน 8 นวัตกรรม บูรณาการอาเซียนศึกษาJirathorn Buenglee
 
1.รายงานปฏิบัติงาน255538หน้า
1.รายงานปฏิบัติงาน255538หน้า1.รายงานปฏิบัติงาน255538หน้า
1.รายงานปฏิบัติงาน255538หน้าKruthai Kidsdee
 
Report1 5
Report1 5Report1 5
Report1 5kruwaeo
 
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้นเครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้นLathika Phapchai
 
ทัศนธาตุ
ทัศนธาตุทัศนธาตุ
ทัศนธาตุNattapon
 

Similar a บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง-แผนที่ (20)

เล่มที่ 1เผยแพร่
เล่มที่ 1เผยแพร่ เล่มที่ 1เผยแพร่
เล่มที่ 1เผยแพร่
 
แผนที่และประวัติความเป็นมาของแผนที่
แผนที่และประวัติความเป็นมาของแผนที่แผนที่และประวัติความเป็นมาของแผนที่
แผนที่และประวัติความเป็นมาของแผนที่
 
แผนการจัดการเรียนรู้ย่อยที่ 4
แผนการจัดการเรียนรู้ย่อยที่ 4แผนการจัดการเรียนรู้ย่อยที่ 4
แผนการจัดการเรียนรู้ย่อยที่ 4
 
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
 
research 653.pdf
research 653.pdfresearch 653.pdf
research 653.pdf
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
 
Expand
ExpandExpand
Expand
 
หน่วยการเรียนรู้บูรณาการอาเซียนศึกษา หน่วยที่ 2 ป.5
หน่วยการเรียนรู้บูรณาการอาเซียนศึกษา หน่วยที่ 2 ป.5หน่วยการเรียนรู้บูรณาการอาเซียนศึกษา หน่วยที่ 2 ป.5
หน่วยการเรียนรู้บูรณาการอาเซียนศึกษา หน่วยที่ 2 ป.5
 
แบบรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา โสภิญญา
แบบรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา โสภิญญาแบบรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา โสภิญญา
แบบรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา โสภิญญา
 
แผนการเรียนรู้1
แผนการเรียนรู้1แผนการเรียนรู้1
แผนการเรียนรู้1
 
Sci 2009 03
Sci 2009 03Sci 2009 03
Sci 2009 03
 
นำเสนอวิจัยวิทยฐานะ
นำเสนอวิจัยวิทยฐานะนำเสนอวิจัยวิทยฐานะ
นำเสนอวิจัยวิทยฐานะ
 
แผน 8 นวัตกรรม บูรณาการอาเซียนศึกษา
แผน 8 นวัตกรรม บูรณาการอาเซียนศึกษาแผน 8 นวัตกรรม บูรณาการอาเซียนศึกษา
แผน 8 นวัตกรรม บูรณาการอาเซียนศึกษา
 
1.รายงานปฏิบัติงาน255538หน้า
1.รายงานปฏิบัติงาน255538หน้า1.รายงานปฏิบัติงาน255538หน้า
1.รายงานปฏิบัติงาน255538หน้า
 
Report1 5
Report1 5Report1 5
Report1 5
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
 
05 ตอนที่ 2 หน่วย 4
05 ตอนที่ 2 หน่วย 405 ตอนที่ 2 หน่วย 4
05 ตอนที่ 2 หน่วย 4
 
11
1111
11
 
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้นเครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
 
ทัศนธาตุ
ทัศนธาตุทัศนธาตุ
ทัศนธาตุ
 

บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง-แผนที่

  • 1.
  • 2. บทเรียนสําเร็จรูปวิชา ส32010 ภูมิศาสตร์ 1 ชุดนี้จัดทําขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อสําหรับใช้ในการจัดกิจกรรม การเรียนรู้รายวิชา ส32010 ภูมิศาสตร์ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโคกสีพิทยาสรรพ์ สํานักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ประกอบด้วยคําแนะนําการใช้บทเรียนสําเร็จรูป ตัวชี้วัด จุดประสงค์ การเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนเรียน กรอบความรู้ หรือ กรอบเนื้อหา กรอบกิจกรรม หรือ กรอบฝึกหัด กรอบเฉลย และแบบทดสอบหลังเรียน ภายในบทเรียนสําเร็จรูปจะมีการนําเสนอเนื้อหาจากง่ายไปหายาก นักเรียนสามารถฝึกและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง จนสามารถค้นพบองค์ความรู้และเกิดทักษะที่สามารถนําไปใช้ ในชีวิตประจําวันได้ บทเรียนสําเร็จรูปชุดนี้แบ่งออกเป็น 6 เล่ม เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาได้ด้วยตัวเองตามลําดับ สําหรับ บทเรียนสําเร็จรูปเล่มนี้ คือ เล่มที่ 1 เรื่อง แผนที่ ผู้จัดทําหวังว่าบทเรียนสําเร็จรูปชุดนี้ จะเป็นประโยชน์กับ ครูผู้สอนและนักเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สําหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรม ซึ่งสอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาของไทยที่มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสมบูรณ์ทั้งด้าน สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม วิรยา คําหนูไทย ก
  • 3. หน้า คํานํา สารบัญ คําแนะนําการใช้บทเรียนสําเร็จรูป แบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง แผนที่ แบบเฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง แผนที่ ก ข ง 1 5 กรอบเนื้อหาที่ กรอบฝึกหัดที่ กรอบเฉลยที่ 1 1 1 แผนที่ คือ อะไร ? แผนที่ คือ อะไร ? แผนที่ คือ อะไร ? 6 16 17 กรอบเนื้อหาที่ กรอบฝึกหัดที่ กรอบเฉลยที่ 2 2 2 องค์ประกอบของแผนที่ องค์ประกอบของแผนที่ องค์ประกอบของแผนที่ 18 30 31 แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง แผนที่ เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง แผนที่ บรรณานุกรม ประวัติผู้จัดทํา 32 36 37 38 ข
  • 4. ภาพที่ หน้า 1 – 1 1 – 2 1 – 3 1 – 4 1 – 5 1 – 6 1 – 7 1 – 8 1 – 9 1 – 10 1 – 11 1 – 12 1 – 13 1 – 14 1 – 15 1 – 16 1 – 17 1 – 18 1 - 19 แผนที่โลก แผนภูมิเดินเรือของชาวหมู่เกาะมาร์แซล แผนที่ของชาวเอสกิโม แผนที่ของชาวบาบิโลน แผนที่ของชาวจีนโบราณ แผนที่ของชาวกรีกโบราณ แผนที่ลายเส้น แผนที่ภาพถ่ายจากดาวเทียมบริเวณอําเภอเมืองขอนแก่น แผนที่แบบผสมแสดงพื้นที่ป่าอเมซอน ตัวอย่างแผนที่แบบราบ ตัวอย่างแผนที่ภูมิประเทศ ตัวอย่างแผนที่เส้นทาง แผนที่ดินจังหวัดนครปฐม องค์ประกอบของแผนที่ ตัวอย่างองค์ประกอบของแผนที่ชุด L 7018 ตัวอย่างสารบัญ(Index)ของแผนที่ ตัวอย่างคําอธิบายสัญลักษณ์(Legend) ของแผนที่ แสดงโครงข่ายของเส้นละติจูด(Latitude) และลองติจูด(Longtitude) แสดงตัวอย่างการอ่านสัญลักษณ์ พิกัดภูมิศาสตร์และพิกัดฉาก 6 7 8 8 9 9 10 11 12 12 13 14 14 18 19 21 22 26 27 ค
  • 6. 1. ลักษณะทั่วไปของบทเรียนสําเร็จรูป บทเรียนสําเร็จรูปชุดนี้มุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองโดยไม่จํากัดเวลา และ ทําหน้าที่เสมือน เป็นครูผู้สอนประจําตัวผู้เรียน ผู้สอนจึงควรแนะนําให้ผู้เรียนปฏิบัติตามคําแนะนําในการเรียนอย่างเคร่งครัด องค์ประกอบของบทเรียนสําเร็จรูป ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ กิจกรรมการเรียน และเนื้อหาบทเรียน ซึ่งได้ แบ่งออกเป็นส่วนๆ เรียกว่า กรอบ ในแต่ละกรอบประกอบด้วยเนื้อหา ตัวอย่าง คําอธิบาย แบบฝึกหัด เฉลย แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยให้ผู้เรียนศึกษาและทําความเข้าใจไปทีละกรอบตามลําดับ ผู้เรียน จําเป็นต้องทํากิจกรรมทุกกรอบของบทเรียน เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้อย่างต่อเนื่อง ตามลําดับ 2. เนื้อหาของบทเรียนสําเร็จรูปชุดนี้ใช้เพื่อประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ วิชา ส32101 ภูมิศาสตร์ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ประกอบด้วยบทเรียนจํานวน 6 เล่ม ดังนี้ เล่มที่ 1 เรื่อง แผนที่ เล่มที่ 2 เรื่อง การสํารวจข้อมูลระยะไกล เล่มที่ 3 เรื่อง ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เล่มที่ 4 เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ เล่มที่ 5 เรื่อง ภูมิศาสตร์โลกและประเทศไทย เล่มที่ 6 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงเชิงภูมิศาสตร์ 3. ครูผู้สอนต้องแนะนําให้นักเรียนเข้าใจก่อนนําไปใช้ 4. คอยให้คําปรึกษาแก่ผู้เรียนเมื่อมีปัญหา จ สําหรับครูผู้สอน
  • 7. 1. ลักษณะทั่วไปของบทเรียนสําเร็จรูป บทเรียนสําเร็จรูปชุดนี้มุ่งให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองโดยไม่จํากัดเวลา และ ทําหน้าที่เสมือน เป็นครูผู้สอนประจําตัวผู้เรียน นักเรียนจึงควรปฏิบัติตามคําแนะนําของครูผู้สอนในการเรียนอย่างเคร่งครัด องค์ประกอบของบทเรียนสําเร็จรูป ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ กิจกรรมการเรียน และเนื้อหาบทเรียน ซึ่งได้ แบ่งออกเป็นส่วนๆ เรียกว่า กรอบ ในแต่ละกรอบประกอบด้วยเนื้อหา ตัวอย่าง คําอธิบาย แบบฝึกหัด เฉลย แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยให้นักเรียนศึกษาและทําความเข้าใจไปทีละกรอบตามลําดับ ซึ่ง ต้องทํากิจกรรมทุกกรอบของบทเรียน เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้อย่างต่อเนื่องตามลําดับ 2. เนื้อหาของบทเรียนสําเร็จรูปชุดนี้ใช้เพื่อประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ วิชา ส32101 ภูมิศาสตร์ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ประกอบด้วยบทเรียนจํานวน 6 เล่ม ดังนี้ เล่มที่ 1 เรื่อง แผนที่ เล่มที่ 2 เรื่อง การสํารวจข้อมูลระยะไกล เล่มที่ 3 เรื่อง ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เล่มที่ 4 เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ เล่มที่ 5 เรื่อง ภูมิศาสตร์โลกและประเทศไทย เล่มที่ 6 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงเชิงภูมิศาสตร์ 3. นักเรียนไม่ควรทํากิจกรรมข้ามกรอบ เพราะ แต่ละกรอบจะมีเนื้อหาต่อเนื่องกัน 4. นักเรียนต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง โดยไม่ดูเฉลยก่อนทําแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบเพื่อดู พัฒนาการด้านการเรียนรู้ของตนเอง ฉ สําหรับนักเรียน
  • 8. เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ และ ความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผลต่อกันและกัน ในระบบ ของธรรมชาติใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหา วิเคราะห์ สรุป และใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศ อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการรวบรวม วิเคราะห์ และ นําเสนอข้อมูล ภูมิสารสนเทศ อย่างมีประสิทธิภาพ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายความหมายและองค์ประกอบของแผนที่ได้(K) 2. บอกประโยชน์ของแผนที่ได้(A) 3. อ่านข้อมูลจากแผนที่ได้(P, K) 4. นําแผนที่ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจําวันได้(K) ฉช มาตรฐาน ส 5.1 ตัวชี้วัดที่ 1
  • 9. 1 คําชี้แจง 1. แบบทดสอบฉบับนี้เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จํานวน 24 ข้อ 2. ให้นักเรียนเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียวทําเครื่องหมาย  ลงบนกระดาษคําตอบ 1. ชาติใดที่ได้ชื่อว่ามีความเจริญก้าวหน้าและเป็น ผู้จัดทําแผนที่สมัยใหม่ ? ก. ฝรั่งเศส ข. อังกฤษ ค. สเปน ง. ฮอลันดา 2. ชาติที่ถือว่าเป็นผู้วางรากฐานของการทําแผนที่ใน ปัจจุบัน คือ ข้อใด ? ก. กรีก ข. โรมัน ข. อียิปต์ ง. จีน 3. จากภาพที่แสดงจัดเป็นแผนที่ชนิดใด ? ก. แผนที่ลายเส้น (Line Map) ข. แผนที่ภาพถ่าย (Photo Map) ค. แผนที่แบบผสม(Annotated Map) ง. แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map) 4. จากภาพที่แสดงจัดเป็นแผนที่ชนิดใด ? ก. แผนที่ลายเส้น (Line Map) ข. แผนที่ภาพถ่าย (Photo Map) ค. แผนที่แบบผสม(Annotated Map) ง. แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map) 5. จากภาพที่แสดงจัดเป็นแผนที่ชนิดใด ? ก. แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic map) ข. ชาร์ตและแผนที่เส้นทาง (Charts and road map) ค. แผนที่พิเศษ (Thematic and special map) ง. แผนที่แสดงแบบราบ (Planimetric Map)
  • 10. 2 6. จากภาพที่แสดงจัดเป็นแผนที่ชนิดใด ? ก. แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic map) ข. ชาร์ตและแผนที่เส้นทาง (Charts and road map) ค. แผนที่พิเศษ (Thematic and special map) ง. แผนที่แสดงแบบราบ (Planimetric Map)9. แ7. 7. แผนที่ของชนชาติใดมีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลก ? ก. ชาวเอสกิโม ข. ชาวบาบิโลน ค. ชาวจีนโบราณ ง. ชาวกรีกโบราณ 8. การอ่านและแปลความหมายของแผนที่ หาก แสดงเป็นถ้าเส้นหนาเรียงค่อนข้างชิดหมายถึงข้อ ใด ? ก. พื้นที่ราบ ข. เป็นที่ลาด ค. ความสูงจากระดับนํ้าทะเลปานกลาง ง. ภูมิประเทศที่สูงชัน 9.แผนที่แต่ละระวางสามารถพิมพ์ออกมาได้กี่แผ่น ? ก. กี่แผ่นก็ได้ ข. ไม่เกิน 1 แผ่น ค. ไม่เกิน 10 แผ่น ง. ไม่กินข้อกําหนดของสมาคม 10.วัสดุที่ใช้พิมพ์แผนที่ควรมีลักษณะอย่างไร? ก. ยืดน้อยที่สุดเมื่อสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง ข. หดน้อยที่สุดเมื่อสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง ค. ไม่ยืดหรือ หดเมื่อสภาวะอากาศเปลี่ยน แปลง ง. ข้อ ก และ ข้อ ข 11. ข้อใด ไม่จัดเป็นองค์ประกอบของแผนที่ ? ก. องค์ประกอบภายในขอบระวาง ข. เส้นขอบระวาง ค. ตําแหน่งแกนแม่เหล็กโลก ง. องค์ประกอบภายนอกขอบระวาง 12. จากภาพที่แสดง คือ ส่วนใดของแผนที่ ? ก. ชื่อชุดแผนที่และมาตราส่วน ข. ชื่อระวาง ค. หมายเลขประจําระวาง ง. หมายเลขประจําชุด 13.จากภาพที่แสดง คือ ส่วนใดของแผนที่ ? ก. ชื่อชุดแผนที่และมาตราส่วน ข. ชื่อระวาง ค. หมายเลขประจําระวาง ง. หมายเลขประจําชุด
  • 11. 3 (คําตอบต่อไปนี้ใช้ตอบคําถามข้อ 14 – 16) ก. คําแนะนําที่เกี่ยวกับระดับความสูง ข. สารบัญระวางติดต่อ ค. สารบัญแสดงแนวแบ่งเขตการปกครอง ง. คําอธิบายสัญลักษณ์ 14. จากภาพที่แสดง คือ ส่วนใดของแผนที่ ? 15.จากภาพที่แสดง คือ ส่วนใดของแผนที่ ? 16. จากภาพที่แสดง คือ ส่วนใดของแผนที่ ? 17. หากจะค้นหาแผนที่ ควรจะต้องดูที่ข้อมูลใน ส่วนใด ? ก. หมายเลขประจําแผ่นแผนที่ ข. แผนภาพเดคลิเนชั่น ค. บันทึก(Notes) ง. คําอธิบายสัญลักษณ์ 18. ข้อใดเป็นสัญลักษณ์(Symbol)ที่อยู่ในภายใน ขอบระวางของแผนที่ ? ก. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนทางกายภาพ ข. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะทางวัฒนธรรม ค. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะข้อมูลเฉพาะ เรื่อง ง. ทุกข้อที่กล่าว
  • 12. 4 19. การใช้สี (Color)สําหรับแผนที่ภูมิประเทศ จะ ใช้ สีในข้อใด แทนสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ? ก. สีนํ้าเงิน ข. สีดํา ค. สีเขียว ง. สีนํ้าตาล 20. ชื่อภูมิศาสตร์(Geographic name) ตามปกติ อักษรภาษาไทยจะต้องใช้สีในข้อใด ? ก. แดง ข. ดํา ค. เหลือง ง. เขียว 21.ข้อใดเป็นระบบอ้างอิงในการกําหนดตําแหน่งของ แผนที่ ? ก. พิกัดภูมิศาสตร์(Geographic Coordinates) ข. พิกัดฉาก(Rectangular Coordinates) ค. พิกัดเส้นเมริเดียนแรกเริ่ม(Prime Meridian) ง. ข้อ ก และ ข้อ ข. (คําตอบต่อไปนี้ใช้ตอบคําถามข้อ 22 – 23) ก. เป็นเส้นสมมุติที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้ว โลกใต้ ข. เกิดจากมุมที่วัดจากระนาบในแนวนอนที่ ศูนย์สูตรของโลกไปตามระนาบแนวตั้ง ค.เส้นขนานสองชุดที่มีระยะห่างเท่าๆกันตัดกัน เป็นสี่เหลี่ยมมุมฉาก ง. ข้อ ก และ ข้อ ข 22. ข้อใด หมายถึง ละติจูด(Latitude) ? 23. ข้อใด หมายถึง ลองติจูด(Longtitude) ? 24. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของแผนที่ ? ก. ด้านการเมืองการปกครอง เพื่อรักษาความ มั่นคงของประเทศชาติ ให้คงอยู่ ข. ด้านเศรษฐศาสตร์ เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงผล มวลรวมของประชาชนภายในชาติ ค.ด้านสังคม สภาพแวดล้อมทางสังคม มีการ เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ที่เห็นชัด คือ สภาพ แวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ง. ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว แผนที่มีความ จําเป็นต่อนักท่องเที่ยวในอันที่จะทําให้รู้จัก สถานที่ท่องเที่ยวได้ง่าย
  • 13. ชื่อ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . เลขที่ . . . . . ห้อง ม. . ./ . . . . คําชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียวทําเครื่องหมาย  ลงบนกระดาษคําตอบ ข้อ คําตอบ ข้อ คําตอบ 1 ง 13 ค 2 ก 14 ก 3 ข 15 ข 4 ค 16 ค 5 ก 17 ก 6 ข 18 ง 7 ข 19 ข 8 ง 20 ก 9 ก 21 ง 10 ง 22 ก 11 ค 23 ข 12 ก 24 ข 5
  • 14. 6 แผนที่นับว่ามีความสําคัญมากในการศึกษาทางภูมิศาสตร์ เพราะ สิ่งที่ปรากฏบนแผนที่ ซึ่งจะมีทั้ง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และสิ่งที่เกิดจากแรงงานของมนุษย์ อาจเป็นไปได้ทั้งเครื่องช่วยและอุปสรรค ในการศึกษาเล่าเรียนลักษณะภูมิประเทศแต่ละชนิด ลม ฟ้า อากาศ หรือลักษณะของท้องทะเลและแหล่งนํ้า ที่ย่อมจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่อง ต่อไปถึงกิจกรรมต่างๆ จนกระทั่ง มีคํากล่าวว่า “อะไรก็ตามที่สามารถ ลงไปบนแผนที่ได้นับว่าเป็นเรื่องราว ทางภูมิศาสตร์ทั้งสิ้น” มีผู้ให้ความหมายของแผนที่ไว้หลายความหมาย ดังนี้ 1. แผนที่ คือ การนําเอาภาพของสิ่งต่างๆบนพื้นผิวโลกหรือบางส่วนมาย่อลงบนกระดาษหรือวัตถุ ที่แบนราบตามขนาดที่ต้องการ ซึ่งประกอบด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยใช้ สี เส้น และรูปแบบเป็นเอกลักษณ์แทนสิ่งเหล่านั้น 2. แผนที่ คือ การนําส่วนต่างๆของโลกมาจัดขึ้นใหม่ตามมาตราส่วนใดส่วนหนึ่ง ซึ่งนักทําแผนที่ ได้รวบรวมสิ่งต่างๆอันเป็นพื้นฐานจากสนามหรือภาพถ่ายทางอากาศ 3. แผนที่ คือ ลายเส้นแสดงผิวของโลกหรือบางส่วนของโลก ซึ่งเขียนหรือกําหนดรูปร่างขึ้นตาม มาตราส่วนของพื้นที่ราบ รวมทั้งสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยแสดงเป็น เครื่องหมาย สี เส้น และรูปร่าง เสมือนภาพที่มองเห็นจากเบื้องต้น ภาพที่ 1 – 1 : แผนที่โลก ที่มา : http://www.nidambe11.net แผนที่คืออะไร ?
  • 15. 7 4. แผนที่ คือ สิ่งที่เราบันทึกเรื่องราวและความรู้สึกต่างๆทางภูมิศาสตร์ลงไว้นั่นเอง 5. แผนที่ คือ สิ่งที่คลุมบริเวณพื้นโลก หรือคลุมพื้นที่บางส่วนของโลก มนุษย์เรารู้จักการทําแผนที่เพื่อประโยชน์ในการเดินทางมานานนับพันๆ ปี แล้วแต่ปรากฏหลักฐาน แน่ชัดว่าชนชาติใดเป็นพวกแรกที่รู้จักการทําแผนที่ก่อนชนชาติอื่นแผนที่โบราณของชนชาติต่างๆ มีลักษณะ แตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น - แผนภูมิเดินเรือของชาวหมู่เกาะมาร์แซล (Marshall) ที่ใช้เปลือกหอยแทนเกาะและก้านมะพร้าว เป็นโครงร่างของแผนที่ ภาพที่ 1 - 2 : แผนภูมิเดินเรือของชาวหมู่เกาะมาร์แซล ที่มา : http://www.bpsmakom.org ประวัติและความเป็นมาของแผนที่
  • 16. 8 - แผนที่ของชาวเอสกิโม เช่น แผนที่แสดงหมู่เกาะเบลเดอร์ซึ่งมีความใกล้เคียงกับแผนที่ในยุค ปัจจุบันมาก - แผนที่ของชาวบาบิโลน ซึ่งสันนิษฐานกันว่ามีอายุไม่ตํ่ากว่า 4,500 ปี แผนที่นี้ถูกค้นพบที่บริเวณ ห่างจากกรุงบาบิโลนไปทางเหนือประมาณ 200 ไมล์ ปัจจุบันเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นแผนที่ที่ทําด้วยดินเหนียวและเป็นแผ่นอิฐ พบหลายแผ่นบางแผ่นที่แสดงบริเวณ ลุ่มแม่นํ้าไทกริส – ยูเฟรติส แผนที่เหล่านี้ถือ ว่าเป็นแผนที่ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังเหลืออยู่ ภาพที่ 1 – 3 : แผนที่ของชาวเอสกิโม ที่มา : http://www.bp-smakom.org ภาพที่ 1 - 4 : แผนที่ของชาวบาบิโลน ที่มา : http://www.bp-smkom.org
  • 17. 9 - แผนที่ของชาวจีนโบราณ ซึ่งมีความเจริญก้าวหน้ามานับพันปีแล้ว ลักษณะสําคัญคือมีการแบ่ง ตารางในแผนที่เพื่อหาที่ตั้งสัมพันธ์ มีการกําหนดทิศอย่างถูกต้อง และแสดงความสูงตํ่าของภูมิประเทศ - แผนที่ของชาวกรีกโบราณ เป็นแผนที่ที่เจริญก้าวหน้ามากเช่นกัน และถือกันว่าชาวกรีกโบราณ เป็นผู้วางรากฐานของการทําแผนที่ในยุคปัจจุบัน นักปราชญ์ที่มีส่วนสําคัญยิ่งในการวางรากฐานการทํา แผนที่ คือ ปโตเลมี ภาพที่ 1 - 5 : แผนที่ของชาวจีนโบราณ ที่มา : http://www.gotoknow.org ภาพที่ 1 - 6 : แผนที่ของชาวกรีกโบราณ ที่มา : http://www.gotoknow.org
  • 18. 10 ต่อจากนั้นการทําแผนที่ก็เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นเป็นลําดับ เช่น แผนที่ของปอร์โตแลน ที่ใช้ใน การเดินเรือข้ามมหาสมุทร จนกระทั่งถึงกลุ่มนักทําแผนที่ชาวดัทช์ เช่น เมอร์เคเตอร์และออร์ติลิอุส ซึ่งได้จัดพิมพ์แอตลาสสมัยใหม่เล่มแรกของโลก ตลอดถึง เซซา ฟรังซัว คาสซินี ชาวฝรั่งเศสผู้ทําแผนที่ โดยการรังวัดเป็นคนแรก เนื่องจากแผนที่ถูกนําไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง จึงมีรูปแบบและลักษณะการใช้งานที่ หลากหลาย การจําแนกชนิดของแผนที่สามารถจําแนกได้หลายแบบตามหลักเกณฑ์ต่างๆ ดังนี้ 1. การจําแนกชนิดของแผนที่ตามลักษณะที่ปรากฏบนแผนที่ แบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ 1.1 แผนที่ลายเส้น (Line Map) เป็นแผนที่แสดงรายละเอียดในพื้นที่ด้วยเส้นและองค์ประกอบ ของเส้น ซึ่งอาจเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง ท่อนเส้น หรือเส้นใดๆ ที่ประกอบเป็นรูปแบบต่างๆ เช่น ถนนแสดง ด้วยเส้นคู่ขนาน อาคารแสดงด้วยเส้นประกอบเป็นรูปสี่เหลี่ยม สัญลักษณ์ที่แสดงรายละเอียดเป็นรูปที่ ประกอบด้วยลายเส้น แผนที่ลายเส้นยังหมายรวมถึงแผนที่แบบแบนราบและแผนที่ทรวดทรง ซึ่งถ้า รายละเอียดที่แสดงประกอบด้วยลายเส้น แล้วถือว่าเป็นแผนที่ลายเส้นทั้งสิ้น การจําแนกชนิดของแผนที่ ภาพที่ 1 - 7 : แผนที่ลายเส้น ที่มา : http://park.dnp.go.th/visitor/ nationparkshow.php?PTA_ CODE =1057
  • 19. 1.2 แผนที่ภาพถ่าย (Photo Map) เป็นแผนที่ซึ่งมีรายละเอียดในแผนที่ที่ได้จากการถ่ายภาพด้วย กล้องถ่ายภาพ ซึ่งอาจถ่ายภาพจากเครื่องบินหรือดาวเทียม การผลิตแผนที่ทําด้วยวิธีการนําเอาภาพถ่ายมาทํา การดัดแก้แล้วนํามาต่อเป็นภาพแผ่นเดียวกัน ในบริเวณที่ต้องการ แล้วนํามาใส่เส้นโครงพิกัด ใส่รายละเอียด ประจําขอบระวาง แผนที่ภาพถ่ายสามารถทําได้รวดเร็ว แต่การอ่านค่อนข้างยากเพราะต้องอาศัยเครื่องมือ และความชํานาญ 1.3 แผนที่แบบผสม(Annotated Map) เป็นแบบที่ผสมระหว่างแผนที่ลายเส้นกับแผนที่ภาพถ่าย โดยรายละเอียดที่เป็นพื้นฐานส่วนใหญ่จะเป็นรายละเอียดที่ได้จากการถ่ายภาพ ส่วนรายละเอียดที่สําคัญๆ เช่น แม่นํ้า ลําคลอง ถนนหรือเส้นทาง รวมทั้งอาคารที่ต้องการเน้นให้เห็นเด่นชัดก็แสดงด้วยลายเส้น พิมพ์ แยกสีให้เห็นเด่นชัดปัจจุบันนิยมใช้มาก เพราะสะดวกและง่ายแก่การอ่าน มีทั้งแบบแบนราบ และแบบพิมพ์ นูน ส่วนใหญ่มีสีมากกว่าสองสีขึ้นไป 11 ภาพที่ 1 - 8 : แผนที่ภาพถ่ายจากดาวเทียมบริเวณอําเภอเมืองขอนแก่น ที่มา : http://flash-mini.com/gmap3.php?mark=อ.เมือง+ขอนแก่น&search=ค้นหาแผนที่
  • 20. 2. การจําแนกชนิดแผนที่ตามลักษณะการใช้งาน แบ่งออกได้ดังนี้ 2.1 แผนที่ทั่วไป(General Map) เป็นแผนที่พื้นฐานที่ใช้อยู่ทั่วไป หรือ ที่เรียกว่า Base map 2.1.1 แผนที่แสดงแบบราบ(Planimetric Map)เป็นแผนที่ แสดงรายละเอียดที่ปรากฏบนผิวโลกเฉพาะสัณฐานทางราบเท่านั้น ภาพที่ 1 - 9 : แผนที่แบบผสมแสดงพื้นที่ป่าอเมซอน ที่มา : http://www.unique-southamerica-travel-experience.com/amazon-rainforest-map.html ภาพที่ 1 - 10 : ตัวอย่างแผนที่แบบราบ ที่มา : http://www.kru-aoy.com/map2-31.html 12
  • 21. 2.1.2 แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map) เป็นแผนที่แสดงรายละเอียดทั้งทางแนวราบ และแนวดิ่ง หรืออาจแสดงให้เห็นเป็น 3 มิติ 2.2 แผนที่พิเศษ (Special Map or Thematic Map) สร้างขึ้นบนแผนที่พื้นฐาน เพื่อใช้ในกิจการ เฉพาะอย่าง 3. การจําแนกตามมาตรฐานของสมาคมการทําแผนที่ระหว่างประเทศ(ICA) ซึ่งได้จําแนกชนิด แผนที่ออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ 3.1 แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic map) รวมทั้งผังเมืองและแผนที่ภูมิศาสตร์ เป็นแผนที่ที่ให้ รายละเอียด โดยทั่วๆ ไป ของภูมิประเทศ โดยสร้างเป็นแผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วนขนาดเล็ก กลาง และ ขนาดใหญ่ และได้ข้อมูลมาจากภาพถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายดาวเทียม แผนที่มาตราส่วนเล็กบางทีเรียกว่า เป็นแผนที่ภูมิศาสตร์ (Geographical map) แผนที่ทั่วไป (General map) และ แผนที่มาตราส่วนเล็กมากๆ ก็ อาจอยู่ในรูปของแผนที่เล่ม (Atlas map) 3.2 ชาร์ตและแผนที่เส้นทาง(Charts and road map)เป็นแผนที่ที่สร้างขึ้นเป็นเครื่องมือประกอบ การเดินทาง โดยปกติจะเป็นแผนที่มาตราส่วนกลาง หรือมาตราส่วนเล็ก และแสดงเฉพาะสิ่งที่เป็นที่น่าสนใจ ของผู้ใช้เช่น ชาร์ตเดินเรือ ชาร์ตด้านอุทกศาสตร์ เป็นต้น ภาพที่ 1 - 11 : ตัวอย่างแผนที่ภูมิประเทศ ที่มา : http://en.wikibooks.org/wiki/High_School_ Earth_Science/Topographic_Maps 13
  • 22. 3.3 แผนที่พิเศษ (Thematic and special map) ปัจจุบันมีความสําคัญมากขึ้น เพราะสามารถใช้ ประกอบการทําวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ การวางแผนและใช้ในงานด้านวิศวกรรม แผนที่ชนิดนี้จะแสดงข้อมูล เฉพาะเรื่องลงไป เช่น แผนที่ดิน แผนที่ประชากร แผนที่พืชพรรณธรรมชาติ แผนที่ธรณีวิทยา เป็นต้น ภาพที่ 1 - 12 : ตัวอย่างแผนที่เส้นทาง ที่มา : http://www.raksthai.org/files/media/ แผนที่เส้นทางปั่นปลูกป่า.jpg ภาพที่ 1 - 13 : แผนที่ดินจังหวัดนครปฐม ที่มา : http://rbr.brrd.in.th/km/index.php? option =com_content&view=article&id=18#npt3.2 14
  • 23. การอ่านและแปลความหมายของแผนที่ให้เข้าใจ จําเป็นต้องรู้ข้อมูลเบื้องต้นที่เป็นองค์ประกอบของ แผนที่และทําความเข้าใจให้ถูกต้องเสียก่อน เพื่อที่จะแปลความหมายและใช้ประโยชน์จากแผนที่ได้อย่าง สมบูรณ์ โดยเฉพาะแผนที่ภูมิประเทศแบบลายเส้นซึ่งเป็นแผนที่พื้นฐานที่ใช้อยู่แพร่หลายในโลก ปัจจุบันนักวิชาการได้คิดหาระบบและสัญลักษณ์ที่เป็นสากล ในการกําหนดตําแหน่ง เช่น พิกัด ภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinates) เป็นระบบอ้างอิงบนผิวพิภพ ตําแหน่งของจุดใดๆ บนพื้นผิวพิภพ สามารถ กําหนดด้วยค่าละติจูด (Latitude) หรือที่เรียกว่า เส้นขนาน และเส้นลองจิจูด (Longitude) หรือที่ เรียกว่า เส้นเมอริเดียน แผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศ นอกจากแสดงให้ทราบถึงตําแหน่งที่ตั้ง ระยะทาง และทิศทาง สิ่ง สําคัญของแผนที่ชนิดนี้คือ แสดงความสูงตํ่า และทรวดทรงแบบต่างๆ ของภูมิประเทศ การแสดงลักษณะภูมิ ประเทศบนแผนที่ มีหลายวิธี เช่น 1. แถบสี ใช้แถบสีแสดงความสูงตํ่าของภูมิประเทศที่แตกต่างกัน เช่น สีเขียวแสดงพื้นที่ราบ สี เหลืองจนถึงสีส้มแสดงบริเวณที่เป็นที่สูง สีนํ้าตาลเป็นบริเวณที่เป็นภูเขา 2. เงา การเขียนเงานั้นตามธรรมดานั้น จะเขียนในลักษณะที่มีแสงส่องมาจากทางด้านหนึ่ง ถ้าเป็นที่ สูงชันลักษณะเงาจะเข้ม ถ้าเป็นที่ลาดเงาจะบาง วิธีเขียนเงาจะทําให้จินตนาการถึงความสูงตํ่าได้ง่ายขึ้น 3. เส้นลาดเขา เป็นการเขียนลายเส้นเพื่อแสดงความสูงตํ่าของภูมิประเทศ ลักษณะเส้นจะเป็น เส้น สั้นๆ ลากขนานกัน ความหนาและช่วงห่างของเส้นมีความหมายต่อการแสดงพื้นที่ คือ ถ้าเส้นหนาเรียง ค่อนข้างชิด แสดงภูมิประเทศที่สูงชัน ถ้าห่างกันแสดงว่าเป็นที่ลาด 4. แผนที่ภาพนูน แผนที่ชนิดนี้ถ้าใช้ประกอบกับแถบสี จะทําให้เห็นลักษณะภูมิประเทศได้ชัดเจน ยิ่งขึ้น 5. เส้นชั้นความสูง คือ เส้นสมมุติที่ลากไปตามพื้นผิวโลกที่ความสูงจากระดับนํ้าทะเลปานกลาง เท่ากัน เส้นชั้นความสูงแต่ละเส้นจึงแสดงลักษณะและรูปต่างของพื้นที่ ณ ระดับความสูงหนึ่งเท่านั้น การอ่านและแปลความหมายของแผนที่ 15
  • 24. คําชี้แจง ให้นักเรียนใส่เครื่องหมาย  หน้าข้อความที่เห็นว่าถูกต้องและใส่เครื่องหมาย หน้าข้อความที่ เห็นว่าไม่ถูกต้อง ............. 1.สิ่งที่ปรากฏบนแผนที่ ซึ่งจะมีทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และสิ่งที่เกิดจากแรงงานของมนุษย์ ...... .......2. ชาร์ตและแผนที่เส้นทาง (Charts and road map) เป็นแผนที่ที่สร้างขึ้นเป็นเครื่องมือประกอบ การเดินทาง .............. 3. แผนที่ลายเส้น (Line Map) เป็นแผนที่แสดงรายละเอียดในพื้นที่ด้วยเส้นและองค์ประกอบของ เส้น ซึ่งใช้เฉพาะเส้นตรงที่ประกอบเป็นรูปแบบต่างๆ .............. 4. การอ่านและแปลความหมายของแผนที่ถ้าเป็นที่สูงชันลักษณะเงาจะเข้ม ถ้าเป็นที่ลาดเงาจะบาง .............. 5. แผนภูมิเดินเรือของชาวหมู่เกาะมาร์แซล (Marshall) ที่ใช้เปลือกหอยแทนเกาะและก้านโกงกาง เป็นโครงร่างของแผนที่ .............. 6. แผนที่พืชพรรณธรรมชาติ จัดเป็นแผนที่ภูมิประเทศ (Topographic map) .............. 7. แผนที่ของชาวบาบิโลนทําด้วยดินเหนียวและเป็นแผ่นอิฐ ถือว่าเป็นแผนที่ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่ ยังเหลืออยู่ .............. 8. แผนที่ของปอร์โตแลน เป็นแผนที่สําหรับใช้ในการเดินเรือข้ามมหาสมุทร .............. 9. การจําแนกตามมาตรฐานของสมาคมการทําแผนที่ระหว่างประเทศ(ICA) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ แผนที่ภูมิประเทศ และแผนที่พิเศษ .............. 10. เซซา ฟรังซัว คาสซินี ชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ทําแผนที่โดยการรังวัดเป็นคนแรก 16
  • 25. 17 ชื่อ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . เลขที่ . . . . . หอง ม. . ./ . . . . คําชี้แจง ให้นักเรียนใส่เครื่องหมาย หน้าข้อความที่เห็นว่าถูกต้องและใส่เครื่องหมาย  หน้าข้อความที่ เห็นว่าไม่ถูกต้อง .... ... 1.สิ่งที่ปรากฏบนแผนที่ ซึ่งจะมีทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และสิ่งที่เกิดจากแรงงานของมนุษย์ .... ... 2. ชาร์ตและแผนที่เส้นทาง (Charts and road map) เป็นแผนที่ที่สร้างขึ้นเป็นเครื่องมือประกอบ การเดินทาง ... ... 3. แผนที่ลายเส้น (Line Map) เป็นแผนที่แสดงรายละเอียดในพื้นที่ด้วยเส้นและองค์ประกอบของ เส้น ซึ่งใช้เฉพาะเส้นตรงที่ประกอบเป็นรูปแบบต่างๆ .... ... 4. การอ่านและแปลความหมายของแผนที่ถ้าเป็นที่สูงชันลักษณะเงาจะเข้ม ถ้าเป็นที่ลาดเงาจะบาง .... ... 5. แผนภูมิเดินเรือของชาวหมู่เกาะมาร์แซล (Marshall) ที่ใช้เปลือกหอยแทนเกาะและก้านโกงกาง เป็นโครงร่างของแผนที่ .... .... 6. แผนที่พืชพรรณธรรมชาติ จัดเป็นแผนที่ภูมิประเทศ (Topographic map) .... ... 7. แผนที่ของชาวบาบิโลนทําด้วยดินเหนียวและเป็นแผ่นอิฐ ถือว่าเป็นแผนที่ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่ ยังเหลืออยู่ .... ... 8. แผนที่ของปอร์โตแลน เป็นแผนที่สําหรับใช้ในการเดินเรือข้ามมหาสมุทร ....  ... 9. การจําแนกตามมาตรฐานของสมาคมการทําแผนที่ระหว่างประเทศ(ICA) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ แผนที่ภูมิประเทศ และแผนที่พิเศษ ... ... 10. เซซา ฟรังซัว คาสซินี ชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ทําแผนที่โดยการรังวัดเป็นคนแรก
  • 26. 18 องค์ประกอบของแผนที่ หมายถึง สิ่งต่าง ๆที่ปรากฏอยู่บนแผ่นแผนที่ ซึ่งผู้ผลิตแผนที่จัดแสดงไว้ โดยมีความมุ่งหมายที่จะให้ผู้ใช้แผนที่ได้ทราบข่าวสารและรายละเอียดอย่างเพียงพอสําหรับการใช้แผนที่นั้น แผนที่ที่จัดทําขึ้นก็เพื่อแสดงพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ระวาง”(Sheet) และในแผนที่แต่ละระวางจะพิมพ์ ออกมาเป็นกี่แผ่น(Copies)ก็ได้ วัสดุที่ใช้พิมพ์แผนที่ควรมีลักษณะสําคัญ คือ ยืด หรือ หดน้อยที่สุดเมื่อ สภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง องค์ประกอบแผนที่แต่ละระวาง ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้ 1. เส้นขอบระวาง เป็นเส้นที่แบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วน คือ พื้นที่ภายในขอบระวางและพื้นที่นอก ขอบระวางของแผนที่ โดยที่เส้นขอบระวางแต่ละด้านจะมีคัวเลขบอกค่าพิกัดกริด(ค่าตะวันออก ค่าเหนือ) และค่าพิกัดภูมิศาสตร์(ค่าของละติจูดและลองติจูดหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง การนําเสนอองค์ประกอบของแผนที่นี้จะขอยกตัวอย่างแผนที่ภูมิประเทศลําดับชุด L7018 มาตรา- ส่วน 1:50,000 ของกรมแผนที่ทหารที่นินมใช้เป็นแผนที่ฐานสําหรับการอ้างอิง ดังต่อไปนี้ องค์ประกอบของแผนที่ ภาพที่ 1 - 14 : องค์ประกอบของแผนที่ ที่มา : กวี วรกวิน. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภูมิศาสตร์.
  • 27. ภาพที่ 1 - 15 ตัวอย่างองค์ประกอบของแผนที่ชุด L 7018 ที่มา : กวี วรกวิน. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภูมิศาสตร์. 19
  • 28. 2. องค์ประกอบภายนอกขอบระวาง คือ รายละเอียดและคําอธิบายสิ่งต่างๆเกี่ยวกับแผนที่และข้อมูล การผลิตแผนที่ ซึ่งอยู่นอกเส้นขอบระวางของแผนที่ทั้งสี่ด้าน องค์ประกอบภายนอกขอบระวางแผนที่ที่ สําคัญของแผนที่ ชุด L 7018 มีรายละเอียดต่างๆแสดงในตารางดังนี้ 1) ชื่อชุดแผนที่และมาตราส่วน(Series Name and Map Name) เป็นชื่อและมาตราส่วนของแผน ที่ จากตัวอย่างที่แสดงในภาพที่ 1 - 15 คือ 2) ชื่อระวาง(Sheet Name) เป็นชื่อที่เรียกประจําระวางหนึ่งๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชื่อที่ได้มาจาก รายละเอียดที่เด่นหรือที่สําคัญทางภูมิศาสตร์ที่แผนที่แผ่นนั้นครอบคลุม เช่น ชื่อของจังหวัด อําเภอ หมู่บ้าน จากที่แสดงในภาพที่ 1 - 15 คือ อําเภอศรีราชา AMPHOE SI RACHA 3) หมายเลขประจําระวาง(Sheet Number) เป็นตัวเลขที่บอกให้ทราบว่าแผนที่ระวางที่เท่าไร เพื่อ ความสะดวกในการอ้างอิงหรือค้นหา จากตัวอย่างที่แสดงในภาพที่ 1 - 15 คือ 4) หมายเลขประจําชุด(Series Number) เป็นหมายเลขอ้างอิงถึงการจัดทําแผนที่ว่าเป็นแผนที่ชุด ใด ซึ่งประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลข จากตัวอย่างที่แสดงในภาพที่ 1 - 15 คือ 5) การจัดพิมพ์(Edition Number) เป็นสิ่งบอกให้ทราบถึงอายุของแผนที่ที่เกี่ยวข้องกับแผนที่ ฉบับเดียวกัน เช่น ปีที่พิมพ์จํานวนครั้งที่พิมพ์จากตัวอย่างที่แสดงในภาพที่ 1 - 15 คือ มีความหมายว่า แผนที่ ฉบับนี้พิมพ์ครั้งที่ 1 โดยสํานักงาน Royal Thai Survey Department(R T S D = ผท. ทหาร) 6) มาตราส่วนแผนที่(Map Scale) เป็นสิ่งที่บอกให้ทราบถึงอัตราส่วนระหว่างระยะในแผนที่กับ ระยะในภูมิประเทศที่ตรงกันจะมีหน่วยวัดที่แตกต่างกัน เช่น ไมล์ เมตร หลา ไมล์ทะเล จากตัวอย่างที่แสดง ในภาพที่ 1 - 15 คือ 20
  • 29. 7) ศัพทานุกรม(Glossary) เป็นคําอธิบายศัพท์ สําคัญที่ปรากฏในแผนที่ โดยเรียงตามลําดับตัวอักษร ส่วนมากจะมีแผนที่ที่มีตั้งแต่สองภาษาขึ้นไปจากตัวอย่างที่ แสดงในภาพที่ 1 - 15 คือ 8) สารบัญ(Index) เป็นแผนภาพที่แสดงไว้เพื่อบอกข้อมูลที่จําเป็นให้ผู้ใช้แผนที่เข้าใจข้อมูลบน แผนที่มากขึ้น ได้แก่ 8.1) คําแนะนําที่เกี่ยวกับระดับความสูง(Elevation Guide) เป็นแผนภาพที่แสดงระดับความสูง อย่างคร่าวๆว่าบริเวณใดในแผนที่มีความสูงเท่าไร โดยแสดงด้วยความเข้มของสี สูงที่สุด สูง ปานกลาง และ ตํ่าจากระดับนํ้าทะเลมาก หรือ น้อย ภาพที่1 – 16: ตัวอย่างสารบัญ(Index)ของแผนที่ ที่มา : http://www.rmutphysics.com/sciencefac/artic /map/map.htm 21
  • 30. 8.2) สารบัญระวางติดต่อ(Adjioning Sheets) เป็นแผนภาพกรอบตารางสี่เหลี่ยมพร้อมทั้ง หมายเลขกํากับ เพื่อแสดงให้ทราบว่าบริเวณข้างเคียงอยู่ในระวางหมายเลขที่เท่าไร เพื่อความสะดวกในการ ค้นหา ระวางที่ใช้อยู่จะแสดงด้วยกรอบเข้มอยู่ตรงกลาง 8.3) สารบัญแสดงแนวแบ่งเขตการปกครอง(Boundaries) เป็นแผนภาพที่บอกเขตการ ปกครองของพื้นที่ที่ปรากฏในแผนที่ว่าเป็นพื้นที่ของอําเภอใดและจังหวัดใด 9) คําอธิบายสัญลักษณ์(Legend) เป็นรายละเอียดที่อธิบายความหมายของสัญลักษณ์(Symbol) ที่ ใช้แสดงในแผนที่ เช่น ประเภทของเส้นถนน ภาพที่ 1 – 17: ตัวอย่างคําอธิบายสัญลักษณ์(Legend) ของแผนที่ ที่มา : http://www.rmutphysics.com/sciencefac/artic /map/map.htm 22
  • 31. 10) บันทึก(Notes) เป็นคําอธิบายข้อมูลต่างๆให้ผู้ใช้แผนที่สามารถใช้ได้อย่างสะดวกและถูกต้อง ได้แก่ บันทึกเกี่ยวกับเส้นโครงแผนที่(Projection Note) บันทึกเกี่ยวกับเส้นกริด(Grid Note) บันทึกเกี่ยวกับ หลักฐานทางดิ่งและทางราบ(Vertical/Horizontal Datum Note)บันทึกเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือ(Credit Note) บันทึกเกี่ยวกับการผลิต(Reproduction Note) บันทึกเกี่ยวกับช่วงต่างเส้นชั้นความสูง(Contour Interval Note) บันทึกสําหรับผู้ใช้แผนที่(User Note) จากตัวอย่างที่แสดงในภาพที่ 1 - 15 คือ 11) แผนภาพเดคลิเนชั่นหรือมุมบ่ายเบน(Declination Diagram) เป็นแผนภาพที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของแนวทิศเหนือจริง ทิศเหนือ กริด และแนวทิศเหนือแม่เหล็ก ณ บริเวณศูนย์กลางของแผนที่นั้น จาก ตัวอย่างที่แสดงในภาพที่ 1 - 15 คือ 23
  • 32. 12) หมายเลขประจําแผ่นแผนที่เพื่อการเก็บในคลังแผนที่(Stock Number) เป็นตัวเลขที่กําหนด ขึ้นเป็นระบบเพื่อความสะดวกในการเก็บและค้นหาแผนที่ จากตัวอย่างที่แสดงในภาพที่ 1 - 15 คือ 3. องค์ประกอบภายในขอบระวาง หมายถึง สิ่งทั้งหลายที่แสดงไว้ภายในกรอบ ซึ่งล้อมรอบด้วยเส้น ขอบระวางแผนที่ ตามปกติแล้วจะประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้ คือ 3.1 สัญลักษณ์(Symbol)คือ เครื่องหมาย รูป เส้น หรือองค์ประกอบของเส้น ที่ผู้ผลิตกําหนดขึ้น เพื่อทดแทนรายละเอียดที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวภูมิประเทศ สัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะที่ปรากฏใน ภูมิประเทศจริงในแผนที่นั้น จําแนกได้3 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1) สัญลักษณ์ที่ใช้แทนทางกายภาพ(Physical Features) ใช้แสดงรายละเอียดของสิ่งที่เกิดขึ้น เองตามธรรมชาติ เช่น เทือกเขา ที่ราบ แม่นํ้า เป็นต้น อาจแสดงด้วยเส้น จุด สี การแรเงาหนาทึบ หรือรูปร่าง ต่างๆ จากตัวอย่างที่แสดงในภาพที่ 1 - 15 คือ 24
  • 33. 2) สัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะทางวัฒนธรรม(Cultural Features)ใช้แสดงสิ่งต่างๆ ที่เกิดจาก การสร้างสรรค์ของมนุษย์เช่น บ้าน เส้นทางคมนาคมขนส่ง พื้นที่เกษตรกรรม เป็นต้น อาจใช้รูปสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม และอื่นๆ ที่สื่อ ความหมายให้ผู้ใช้แผนที่เข้าใจและ จดจําได้โดยง่าย จากตัวอย่างที่แสดง ในภาพที่ 1 - 15 คือ 3) สัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะข้อมูลเฉพาะเรื่อง หรือ ข้อมูลพิเศษ เป็นสัญลักษณ์ที่คิดขึ้นเพื่อ ใช้แสดงแทนข้อมูลที่ผู้ผลิตต้องการเป็นพิเศษ เช่น แผนที่โครงสร้างทางธรณีวิทยา แผนที่ข้อมูลทางด้าน สาธารณสุข เช่น พื้นที่แพร่ระบาดของไข้หวัดนก เป็นต้น โดยใช้สัญลักษณ์เป็นรูปสัตว์หรือ อื่นๆที่สื่อ ความหมายให้ผู้ใช้แผนที่เข้าใจและจดจําได้โดยง่าย ได้แก่ 3.1) สี (Color)สําหรับแผนที่ภูมิประเทศที่พิมพ์สีปกติจะมี 4 สี โดยมักเลือกสีให้สอดคล้อง กับรายละเอียดที่ใช้สัญลักษณ์นั้นแทน เช่น สีนํ้าเงิน แหล่งนํ้า แม่นํ้า ลําคลอง มหาสมุทร สีแดง หรือ ดําใช้ แทนสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น สีเขียว ใช้แทนพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่การเกษตร ที่ราบลุ่ม สีนํ้าตาล ใช้แทนเทือกเขา หรือภูมิประเทศที่มีความสูง 3.2) ชื่อภูมิศาสตร์(Geographic name) เป็นตัวอักษรกํากับรายละเอียดต่างๆที่แสดงไว้ใน ขอบระวางแผนที่เพื่อแจ้งให้ทราบว่าสถานที่นั้น หรือ สิ่งนั้นมีชื่อเรียกว่าอะไร ตามปกติอักษรภาษาไทยใช้สี แดง ภาษาอังกฤษ ใช้สีดํา 25
  • 34. 3.3) ระบบอ้างอิงในการกําหนดตําแหน่ง(Position Reference System) ได้แก่ เส้น หรือ ตารางที่แสดงในแผ่นแผนที่เพื่อใช้กําหนดค่าพิกัดของตําแหน่งต่างๆในแผนที่นั้น ที่นิยมใช้และแสดงใน แผนที่ทั่วไปมีอยู่2 ชนิด คือ 3.3.1) พิกัดภูมิศาสตร์(Geographic Coordinates)เป็นการบอกตําแหน่งบนพื้นที่โลก ด้วยวิธีอ้างอิงตําแหน่งที่เป็นค่าระยะเชิงมุมของละติจูด(Latitude) และลองติจูด(Longtitude) ซึ่งอาจแสดงไว้ เป็นเส้นยาวจดขอบระวางแผนที่หรือเส้นกากบาท  ละติจูด(Latitude) เกิดจากมุมที่วัดจากระนาบในแนวนอนที่ศูนย์สูตรของ โลกไปตามระนาบแนวตั้ง เมื่อสมมุติให้ระนาบในแนวนอนตัดกับผิวโลกทําให้เกิดรอยตัดที่ผิวโลกเป็นเส้น ศูนย์สูตร ซึ่งมีค่า 0 องศา ส่วนละติจูดที่อยู่ใกล้ขั้วโลกจะสั้นมากจนเป็นจุดที่ขั้วโลก ซึ่งมีค่าเท่ากับ 90 องศา เส้นละติจูดที่อยู่ซีกโลกเหนือมีหน่วยเป็นองศาเหนือ ส่วนเส้นละติจูดที่อยู่ซีกโลกใต้มีหน่วยเป็นองศาใต้ ลองติจูด(Longtitude) เป็นเส้นสมมุติที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้ เกิดจากมุมที่วัดจากระนาบในแนวนอนที่ศูนย์สูตรของโลก เมื่อสมมุติให้ระนาบแนวตั้งตัดกับผิวโลกทําให้ เกิดรอยตัดที่ผิวโลกเป็นเส้นวงกลมในแนวตั้ง เรียกว่า เส้นเมริเดียน ซึ่งแต่ละเส้นจะมีความยาวเท่ากันหมด ภาพที่ 1 – 18 : แสดงโครงข่ายของเส้นละติจูด(Latitude) และลองติจูด(Longtitude) ที่มา : http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2012/02/X11702840/X11702840.html 26
  • 35. แต่ในการอ่านค่าได้กําหนดเส้นเมริเดียนที่ลากผ่านเมืองกรีนิช ประเทศสหราชอาณาจักร ซึ่งมีค่า เท่ากับ 0 องศาเป็นเส้นเมริเดียนแรกเริ่ม(Prime Meridian) เส้นเมริเดียนด้านตะวันออกของเมืองกรีนิช เรียกว่า เส้นเมริเดียนตะวันออก มีค่า 0 – 180 องศา ส่วนเส้นเมริเดียนด้านตะวันตกของเมืองกรีนิช เรียกว่า เส้นเมริเดียนตะวันตก มีค่า 0 – 180 องศาเท่ากัน ดังนั้นเส้นเมริเดียน 180 องศาตะวันตกและเส้นเมริเดียน 180 องศาตะวันออก จึงเป็นเส้นเดียวกันและอยู่ตรงข้ามเส้นเมริเดียนหลักพอดี เรียกว่า เส้นวันที่สากล 3.3.2) พิกัดฉาก(Rectangular Coordinates) ได้แก่ เส้นขนานสองชุดที่มีระยะห่าง เท่าๆกันตัดกันเป็นสี่เหลี่ยม มุมฉาก เส้นตรงขนานทั้ง สองชุดดังกล่าวอาจแสดงไว้ เป็นเส้นตรงยาวจรดขอบ ระวางทั้ง 4 ด้าน ภาพที่ 1 – 19 : แสดงตัวอย่างการอ่านสัญลักษณ์ พิกัดภูมิศาสตร์และพิกัดฉาก ที่มา : กวี วรกวิน. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภูมิศาสตร์. 27
  • 36. แผนที่เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์อย่างหนึ่งที่มีความสําคัญในการนํามาใช้เป็นเครื่องมือช่วยให้การ ดําเนินชีวิตและการประกอบกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ใก่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากแผนที่สามารถ ให้ข้อมูลด้านตําแหน่งที่ตั้ง แสดงให้เห็นถึงการกระจายของข้อมูล ขอบเขตของข้อมูลและความสัมพันธ์ ระหว่างข้อมูลได้จึงทําให้มีการนําแผนที่ไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ดังนี้ 1. ด้านการเมืองการปกครอง เพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศชาติ ให้คงอยู่จําเป็นจะต้องมีความรู้ ในเรื่องภูมิศาสตร์การเมือง หรือที่เรียกกันว่า "ภูมิรัฐศาสตร์" และเครื่องมือที่สําคัญของนักภูมิรัฐศาสตร์ ก็คือ แผนที่ เพื่อใช้ศึกษาสภาพทางภูมิศาสตร์และนํามาวางแผนดําเนินการเตรียมรับ หรือ แก้ไขสถานการณ์ที่ เกิดขึ้นได้อย่างเช่น แนวพรมแดนระหว่างประเทศ จําเป็นต้องอาศัยแผนที่ในการวางแผนดําเนินการ เตรียม รับหรือแก้ไขสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างถูกต้อง แผนที่ในกิจกรรมทางการเมืองนอกจากแผนที่แนวเขต แดนซึ่งสําคัญแล้ว ยังต้องเกี่ยวข้องกับแผนที่ต่าง ๆ มากมาย 2. ด้านการทหาร ในการพิจารณาวางแผนทางยุทธศาสตร์ของทหาร จําเป็นต้อง หาข้อมูลหรือข่าว สารที่เกี่ยวกับสภาพภูมิศาสตร์ และตําแหน่งทางสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องแน่นอนเกี่ยวกับระยะทาง ความสูง เส้นทาง ลักษณะภูมิประเทศที่สําคัญ 3. ด้านเศรษฐกิจและสังคม ด้านเศรษฐกิจ เป็นเครื่องบ่งชี้ความเป็นอยู่ของประชาชนภายในชาติ เพราะฉะนั้นทุกประเทศก็มุ่งที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของตนเพื่อความมั่งคั่ง และมั่นคง การดําเนินงาน เพื่อ พัฒนา เศรษฐกิจของแต่ละภูมิภาคที่ผ่านมา แผนที่ เป็นสิ่งแรกที่ต้องผลิตขึ้นมาเพื่อการใช้งานในการวางแผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก็ต้องอาศัยแผนที่เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ทราบ ทําเลที่ตั้ง สภาพทาง กายภาพแหล่งทรัพยากร และ แผนที่ยังช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับภาพรวมและความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ได้มาก ขึ้น ทําให้วางแผนและพัฒนาเป็นไปได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ 28 ประโยชน์ของแผนที่
  • 37. 4. ด้านสังคม สภาพแวดล้อมทางสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ที่เห็นชัดคือสภาพแวดล้อมทาง ภูมิศาสตร์ ซึ่งทําให้สภาพแวดล้อมทางสังคมเปลี่ยนแปลงไปการศึกษาสภาพการเปลี่ยนแปลงต้องอาศัยแผน ที่เป็นสําคัญ และอาจช่วยให้การดําเนินการวางแผนพัฒนาสังคมเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง 5. ด้านการเรียนการสอน แผนที่เป็นตัวส่งเสริมกระตุ้นความสนใจ และก่อให้เกิดความเข้าใจใน บทเรียนดีขึ้นใช้เป็นแหล่งข้อมูลทั้งทางด้านกายภาพ ภูมิภาค วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สถิติและการกระจายของ สิ่งต่าง ๆ รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และปรากฏการณ์ต่าง ๆใช้เป็นเครื่องช่วยแสดงภาพรวมของ พื้นที่หรือของภูมิภาค อันจะนําไปศึกษาสถานการณ์และวิเคราะห์ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์ของพื้นที่ 6. ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว แผนที่มีความจําเป็นต่อนักท่องเที่ยวในอันที่จะทําให้รู้จักสถานที่ ท่องเที่ยวได้ง่าย สะดวกในการวางแผนการเดินทาง หรือเลือกสถานที่ท่องเที่ยวตามความเหมาะสม 29
  • 38. คําชี้แจง ให้นักเรียนใส่เครื่องหมาย  หน้าข้อความที่เห็นว่าถูกต้องและใส่เครื่องหมาย หน้าข้อความที่ เห็นว่าไม่ถูกต้อง ............. 1. แผนที่ที่จัดทําขึ้นก็เพื่อแสดงพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งซึ่งเรียกว่า “ระวาง” (Sheet) และในแผนที่แต่ละ ระวางจะพิมพ์ออกมาได้เพียงแผ่นเดียวเท่านั้น ...... .......2. วัสดุที่ใช้พิมพ์แผนที่ควรมีลักษณะสําคัญ คือ ยืดหรือหดน้อยที่สุด เมื่อสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง .............. 3. เส้นขอบระวาง เป็นเส้นที่แบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วน คือ พื้นที่ภายในขอบระวางและพื้นที่นอก ขอบระวางของแผนที่ .............. 4. จากข้อความดังกล่าว คือ หมายเลขประจําระวาง(Sheet Number) .............. 5. ศัพทานุกรม(Glossary ) เป็นคําอธิบายศัพท์สําคัญที่ปรากฏในแผนที่ โดยเรียงตามความสําคัญ .............. 6. สารบัญ(Index) เป็นแผนภาพที่แสดงไว้เพื่อบอกข้อมูลที่จําเป็นให้ผู้ใช้แผนที่เข้าใจข้อมูลบน แผนที่มากขึ้น .............. 7. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะทางวัฒนธรรม(Cultural Features)ใช้แสดงสิ่งต่างๆ ที่เกิดจากการ สร้างสรรค์ของมนุษย์ .............. 8. สี (Color)สําหรับแผนที่ภูมิประเทศ ใช้เช่น สีนํ้าเงินแทน แหล่งนํ้า แม่นํ้า ลําคลอง มหาสมุทร .............. 9. ชื่อภูมิศาสตร์(Geographic name) เป็นตัวอักษรกํากับรายละเอียดต่างๆที่แสดงไว้ในขอบระวาง แผนที่ ตามปกติอักษรภาษาไทยใช้สีดํา ภาษาอังกฤษ ใช้สีแดง .............. 10. ลองติจูด(Longtitude) เป็นเส้นสมมุติที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้ 30
  • 39. 31 ชื่อ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . เลขที่ . . . . . หอง ม. . ./ . . . . คําชี้แจง ให้นักเรียนใส่เครื่องหมาย หน้าข้อความที่เห็นว่าถูกต้องและใส่เครื่องหมาย  หน้าข้อความที่ เห็นว่าไม่ถูกต้อง ....  ... 1. แผนที่ที่จัดทําขึ้นก็เพื่อแสดงพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งซึ่งเรียกว่า “ระวาง” (Sheet) และในแผนที่แต่ละ ระวางจะพิมพ์ออกมาได้เพียงแผ่นเดียวเท่านั้น .... ... 2. วัสดุที่ใช้พิมพ์แผนที่ควรมีลักษณะสําคัญ คือ ยืดหรือหดน้อยที่สุดเมื่อสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง ...  ... 3. เส้นขอบระวาง เป็นเส้นที่แบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วน คือ พื้นที่ภายในขอบระวางและพื้นที่นอก ขอบระวางของแผนที่ .... ... 4. จากข้อความดังกล่าว คือ หมายเลขประจําระวาง(Sheet Number) .... ... 5. ศัพทานุกรม(Glossary ) เป็นคําอธิบายศัพท์สําคัญที่ปรากฏในแผนที่ โดยเรียงตามความสําคัญ ....  .... 6. สารบัญ(Index) เป็นแผนภาพที่แสดงไว้เพื่อบอกข้อมูลที่จําเป็นให้ผู้ใช้แผนที่เข้าใจข้อมูลบน แผนที่มากขึ้น .... ... 7. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะทางวัฒนธรรม(Cultural Features)ใช้แสดงสิ่งต่างๆ ที่เกิดจากการ สร้างสรรค์ของมนุษย์ .... ... 8. สี (Color)สําหรับแผนที่ภูมิประเทศ ใช้เช่น สีนํ้าเงินแทน แหล่งนํ้า แม่นํ้า ลําคลอง มหาสมุทร ....  ... 9. ชื่อภูมิศาสตร์(Geographic name) เป็นตัวอักษรกํากับรายละเอียดต่างๆที่แสดงไว้ในขอบระวาง แผนที่ ตามปกติอักษรภาษาไทยใช้สีดํา ภาษาอังกฤษ ใช้สีแดง ... ... 10. ลองติจูด(Longtitude) เป็นเส้นสมมุติที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้
  • 40. 35 คําชี้แจง 1. แบบทดสอบฉบับนี้เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จํานวน 24 ข้อ 2. ให้นักเรียนเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียวทําเครื่องหมาย  ลงบนกระดาษคําตอบ 1. ชาติใดที่ได้ชื่อว่ามีความเจริญก้าวหน้าและเป็น ผู้จัดทําแผนที่สมัยใหม่ ? ก. ฝรั่งเศส ข. อังกฤษ ค. สเปน ง. ฮอลันดา 2. ชาติที่ถือว่าเป็นผู้วางรากฐานของการทําแผนที่ใน ปัจจุบัน คือ ข้อใด ? ก. กรีก ข. โรมัน ข. อียิปต์ ง. จีน 3. จากภาพที่แสดงจัดเป็นแผนที่ชนิดใด ? ก. แผนที่ลายเส้น (Line Map) ข. แผนที่ภาพถ่าย (Photo Map) ค. แผนที่แบบผสม(Annotated Map) ง. แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map) 4. จากภาพที่แสดงจัดเป็นแผนที่ชนิดใด ? ก. แผนที่ลายเส้น (Line Map) ข. แผนที่ภาพถ่าย (Photo Map) ค. แผนที่แบบผสม(Annotated Map) ง. แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map) 5. จากภาพที่แสดงจัดเป็นแผนที่ชนิดใด ? ก. แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic map) ข. ชาร์ตและแผนที่เส้นทาง (Charts and road map) ค. แผนที่พิเศษ (Thematic and special map) ง. แผนที่แสดงแบบราบ (Planimetric Map)
  • 41. 33 6. จากภาพที่แสดงจัดเป็นแผนที่ชนิดใด ? ก. แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic map) ข. ชาร์ตและแผนที่เส้นทาง (Charts and road map) ค. แผนที่พิเศษ (Thematic and special map) ง. แผนที่แสดงแบบราบ (Planimetric Map)9. แ7. 7. แผนที่ของชนชาติใดมีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลก ? ก. ชาวเอสกิโม ข. ชาวบาบิโลน ค. ชาวจีนโบราณ ง. ชาวกรีกโบราณ 8. การอ่านและแปลความหมายของแผนที่ หาก แสดงเป็นถ้าเส้นหนาเรียงค่อนข้างชิดหมายถึงข้อ ใด ? ก. พื้นที่ราบ ข. เป็นที่ลาด ค. ความสูงจากระดับนํ้าทะเลปานกลาง ง. ภูมิประเทศที่สูงชัน 9.แผนที่แต่ละระวางสามารถพิมพ์ออกมาได้กี่แผ่น ? ก. กี่แผ่นก็ได้ ข. ไม่เกิน 1 แผ่น ค. ไม่เกิน 10 แผ่น ง. ไม่กินข้อกําหนดของสมาคม 10.วัสดุที่ใช้พิมพ์แผนที่ควรมีลักษณะอย่างไร? ก. ยืดน้อยที่สุดเมื่อสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง ข. หดน้อยที่สุดเมื่อสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง ค. ไม่ยืดหรือ หดเมื่อสภาวะอากาศเปลี่ยน แปลง ง. ข้อ ก และ ข้อ ข 11. ข้อใด ไม่จัดเป็นองค์ประกอบของแผนที่ ? ก. องค์ประกอบภายในขอบระวาง ข. เส้นขอบระวาง ค. ตําแหน่งแกนแม่เหล็กโลก ง. องค์ประกอบภายนอกขอบระวาง 12. จากภาพที่แสดง คือ ส่วนใดของแผนที่ ? ก. ชื่อชุดแผนที่และมาตราส่วน ข. ชื่อระวาง ค. หมายเลขประจําระวาง ง. หมายเลขประจําชุด 13.จากภาพที่แสดง คือ ส่วนใดของแผนที่ ? ก. ชื่อชุดแผนที่และมาตราส่วน ข. ชื่อระวาง ค. หมายเลขประจําระวาง ง. หมายเลขประจําชุด
  • 42. 34 (คําตอบต่อไปนี้ใช้ตอบคําถามข้อ 14 – 16) ก. คําแนะนําที่เกี่ยวกับระดับความสูง ข. สารบัญระวางติดต่อ ค. สารบัญแสดงแนวแบ่งเขตการปกครอง ง. คําอธิบายสัญลักษณ์ 14. จากภาพที่แสดง คือ ส่วนใดของแผนที่ ? 15.จากภาพที่แสดง คือ ส่วนใดของแผนที่ ? 16. จากภาพที่แสดง คือ ส่วนใดของแผนที่ ? 17. หากจะค้นหาแผนที่ ควรจะต้องดูที่ข้อมูลใน ส่วนใด ? ก. หมายเลขประจําแผ่นแผนที่ ข. แผนภาพเดคลิเนชั่น ค. บันทึก(Notes) ง. คําอธิบายสัญลักษณ์ 18. ข้อใดเป็นสัญลักษณ์(Symbol)ที่อยู่ในภายใน ขอบระวางของแผนที่ ? ก. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนทางกายภาพ ข. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะทางวัฒนธรรม ค. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะข้อมูลเฉพาะ เรื่อง ง. ทุกข้อที่กล่าว