SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 31
Descargar para leer sin conexión
www.kruharn.com

                  Chord Progression

                                  Chapter 1
คอรดหรือการใสเสียงประสาน ทําใหเพลงมีคุณคามากขึ้น เพราะทําใหเกิดความไพเราะและ
สามารถสื่อถึงอารมณเพลงไดดีขึ้น คุณสามารถทดสอบความนาทึ่งของคอรดก็ได โดยลองเขียน
ทํานองขึ้นมาสักทอน แลวลองใสคอรดลงไปซัก 2-3 แบบ ใหแตกตางกัน คุณจะเห็นวาแม
ทํานองจะเหมือนเดิม แตคอรดเปลี่ยน อารมณของเพลงก็เปลี่ยนไปดวย บทความตอไปนี้เปน
การแนะนําใหรูจักกับคอรดชนิดตางๆ และวิธีการกําหนดคอรดในเพลง

สิ่งแรกที่ตองกลาวถึงสําหรับการเรียน Chord progression นั้นก็คือคุณจะตองรูจก Major และ
                                                                            ั
Minor scale ใหดีเสียกอน ตองจําตัวโนตทุกตัวในทุกสเกลใหได ยกตัวอยางเชนตองรูวา Eb
Major scale มีโนต Eb F G Ab Bb C D เปนตน

สําหรับโครงสรางของเมเจอรสเกล จํางายๆเลยวา ระยะหางของตัวโนตหางกัน 1tone (ครึ่งขั้น
เสียงสองครั้ง) นอกจากระยะระหวางโนตตัวที่ 3 กับ 4 และระยะหางของโนตตัวที่ 7 กับ 8 จะ
หางกัน 1semi tone (ครึ่งขันเสียงหนึ่งครั้ง) ดังนี้
                           ้

                                 C--D--E-F--G--A--B-C
ในคียอื่นๆ เราจะแบงออกเปนสองพวก หนึ่งคือพวกทีตดเครื่องหมาย # และอีกหนึ่งก็คือพวกที่
                                                ่ ิ
ติดเครื่องหมาย b ดังนี้

      G major มี 1# ไดแก F#                 F major มี 1b ไดแก Bb
      D major มี 2# ไดแก F# C#              Bb major มี 2b ไดแก Bb Eb
      A major มี 3# ไดแก F# C# G#           Eb major มี 3b ไดแก Bb Eb Ab
      E major มี 4# ไดแก F# C# G# D#        Ab major มี 4b ไดแก Bb Eb Ab Db
      B major มี 5# ไดแก F# C# G# D# A#     Db major มี 5b ไดแกBb Eb Ab Db
                                              Gb
      F# major มี 6# ไดแก F# C# G# D#       Gb major มี 6b ไดแก Bb Eb Ab Db
      A# E#                                   Gb Cb
      C# major มี 7# ไดแก F# C# G# D#       Cb major มี 7b ไดแกBb Eb Ab Db
      A# E# B#                                Gb Cb Fb


                                           -1-
www.kruharn.com


                      จะแสดงออกมาเปน key signature ดังขางลางนี้




เมื่อรูจักกับเมเจอรสเกลไปแลวตอไปมารูจักกับไมเนอรสเกลบาง โครงสรางของไมเนอรสเกลมี
หลักอยูงายๆวา ใหนําตัวทีหกของเมเจอรสเกลมาตั้งเปน Root แลวก็เรียงโนตขึนไปเหมือนเดิม
                            ่                                                ้
เราเรียกวา Relative ยกตัวอยางในคีย C major ซึ่งมีโนตตัว A เปนตัวที่หกของสเกล เราก็เอา
A มาตั้งเปนตัวแรก แลวก็นาโนตที่เหลือในสเกลมาเรียงตอกันไปจนกลับไปที่ A อีกครั้ง ดังนี้
                              ํ

                                A--B-C--D--E-F--G--A
เราก็จะได A natural minor scale (คือไมเนอรสเกลทีไมมีเครื่องหมาย # หรือ b) มาอยาง
                                                  ่
งายดาย จะเห็นไดวาโนตในคีย A minor และ C major นั้นเหมือนกันทุกตัว เพียงแต Root
ตางกัน

เรามาดูไมเนอรสเกลในคียอื่นๆกันบาง
                       

           Em มี 1# ไดแก F#                 Dm มี 1b ไดแก Bb
           Bm มี 2# ไดแก F# C#              Gm มี 2b ไดแก Bb Eb
           F#m มี 3# ไดแก F# C# G#          Cm มี 3b ไดแก Bb Eb Ab
           C#m มี 4# ไดแก F# C# G# D#       Fm มี 4b ไดแก Bb Eb Ab Db
           G#m มี 5# ไดแก F# C# G# D#       Bbm มี 5b ไดแก Bb Eb Ab Db
           A#                                 Gb
           D#m มี 6# ไดแก F# C# G# D#       Ebm มี 6b ไดแก Bb Eb Ab Db

                                           -2-
www.kruharn.com
           A# E#                               Gb Cb
           A#m มี 7# ไดแก F# C# G# D#        Abm มี 7b ไดแก Bb Eb Ab Db
           A# E# B#                            Gb Cb Fb

ใช key signature แบบเดียวกับเมเจอรสเกล




                                  Chapter 2
                                    ขั้นคูหรือ Interval

ขั้นคูกหมายถึงโนตในแนวตังสองแนวประสาน จะมีประเภทของมันเอง อาจเปนเมเจอรหรือไม
        ็                 ้
เนอร ก็ได เชน




แถวบนเปนขันคูท่อยูภายใน C major scale สวนแถวลางก็เปนขั้นคูที่อยูภายใน C minor scale
           ้ ี




                                           -3-
www.kruharn.com
คูที่หนึ่งเราเรียกวา unison เปนการเลนเสียงซอนกันเปนโนตเดียว
คูที่สองเราเรียกวา major 2nd
คูที่สาม โนต C-Eb เรียกวา minor 3rd สวนโนต C-E เรียกวา major 3rd
คูที่สี่และคูที่หาเหมือนกันทั้งสองสเกล เราเรียกวา Perfect 4th และ perfect 5th
                   
คูที่หก โนต C-Ab เรียกวา minor 6th สวนโนต C-A เรียกวา major 6th
คูที่เจ็ด โนต C-Bb เรียกวา minor 7th สวน C-B เรียกวา major 7th
คูที่แปดเหมือนกันทั้งสองสเกล เราเรียกวา Perfect 8th หรือ octave

ขั้นคูเหลานี้เปนขั้นคูที่อยูในออคเตฟเดียวกัน เราเรียกขันคูแบบนีวา Simple Interval ถาหาก
                                                            ้        ้
เปนขั้นคูที่อยูคนละออคเตฟจะเรียกวา Compound Interval
                 

ขั้นคูมีการเพิมหรือลดไดดวย ถาหากคุณเห็นเขาเขียนโนต C-Ebb อยางนี้ ไมไดแปลวาเปนคู
               ่
สองแบบ C-D นะครับ มันยังคงเปนคูสามอยู สังเกตดูแผนภูมของขั้นคูตอไปนี้
                                                          ิ

                         Diminished<Minor<Major<Augmented
ถาหากลดลงมาจากไมเนอรก็ตองเปนดิมินิชครับ ดังนั้น C-Ebb คือคูสามดิมินช และในทํานอง
                                                                             ิ
เดียวกัน ในกรณีที่เปนคูสี่เปอรเฟค หรือคูหาเปอรเฟค ถา b ลงไป ก็จะเรียกวาดิมินช แตถา #
                                                                                    ิ     
ขึ้นมาจะเรียกวา ออกเมนเต็ด

                        C-Gb=Diminished 5th, C-G#=Augmented 5th

                                 Chapter 3
                                         คอรดคืออะไร

คอรดก็คอโนตแนวประสานตั้งแตสามแนวขึ้นไป ถูกเปลงเสียงออกมาพรอมๆกัน เกิดเปนเสียง
           ื
ที่ผสมผสานกันนั่นแหละเรียกวาคอรด และคอรดสรางขึ้นมาจากไหน คําตอบก็คือสรางขึ้นมา
จากสเกลนั่นเอง เมื่อเราเรียนรูสเกลและขันคูไปแลว เราก็คงจะเขาใจเรื่องคอรดไดไมยากนัก
                                         ้
ขอเริ่มที่ Triad chord ไทรแอดก็แปลวาสาม ไตรแอดคอรดจึงหมายความวาคอรดที่มีสามเสียง
คอรดนั้นอาจมีสี่เสียง หาเสียง หกเสียงไปจนกระทั่งเจ็ดเสียง

                                     ตัวอยางไตรแอดคอรด




                                              -4-
www.kruharn.com
นี่คือคอรดที่อยูใน C major scale เราสรางคอรดในลักษณะตัวขามตัว อยางเชน C-E-G หรือ
D-F-A หรือคิดเปนโครงสราง 1-3-5 ก็ไดครับ โดยนับ Root ของ chord เปนตัวที่ 1 เสมอ (Root
หมายถึงโนตตัวแรกของคีย หรือ Bass) สรุปตามแผนภาพเราจะไดคอรดของเมเจอรสเกลดังนี้

I maj - II min - III min - IV maj - V maj - VI min - VII minb5 หรือ dim นั่นเอง

                                เขียนเปนโครงสรางคอรดดังนี้

                              C maj                    1-3-5
                              D min                   1-b3-5
                              E min                   1-b3-5
                              F maj                    1-3-5
                              G maj                    1-3-5
                              A min                   1-b3-5
                              B dim                   1-b3-b5

b3 ในที่นี้หมายถึงขั้นคูสามไมเนอร ดวยเหตุทวาขั้นคูไมเนอรชวงเสียงแคบกวาเมเจอร 1 semi
                                             ี่
tone เราจึงเขียนอยูในรูป b3 หรือ b6 หรือ b7 (หมายเลขของโนตที่มี b หรือ # คือโนตประจํา
ลิ่มสีดาบนคียบอรดเปยโนหรือออรแกนนั่นเอง)
       ํ     

ตอไปเปนคอรดทางไมเนอร กอนอื่นตองเรียนรูเพิ่มเติมเรื่องไมเนอรสเกลกอน เนื่องจากเราเพิ่ง
รูจักไปเพียงแต Natural minor อันดับถัดไปจะแนะนําใหรูจักกับ Harmonic minor บาง ซึ่งก็
คือ การนํา Natural minor มาตั้ง แลว # ตัวที่ 7 แคนี้เราก็ได ฮารโมนิคไมเนอร ดังนี้

                                  A--B-C--D--E-F---G#-A

ตอไปเปน Melodic minor ซึ่งยุงยากขึ้นมานิดหนอยสําหรับ เพราะมันมี ascending และ
descending ตางกัน ascending คือการไลจากเสียงต่าไปสูง เราจะติด # ใหโนตตัวที่ 6 และ 7
                                                ํ
ของ เนเจอรัลไมเนอร สวน descending คือการไลจากเสียงสูงลงมาต่ํา จะกลับมาใชโนตตัวที่ 6
และ 7 ธรรมดาดังเนเจอรัลไมเนอรเดิม

                       A--B-C--D--E--F#--G#-A--G--F-E--D--C-B--A

              ตอไปนี้เปนคอรดของไมเนอรสเกลทั้งสามประเภท เปรียบเทียบกัน




                                            -5-
www.kruharn.com




          Natural
                        I min II dim bIII maj IV min V min bVI maj bVII maj
          minor
          Harmonic
                        I min II dim bIII aug IV min V maj bVI maj VII dim
          minor
          Melodic
                        I min II min bIII aug IV maj V maj VI dim VII dim
          minor

มีคอรด aug เพิ่มมาใหมที่เรายังไมรูจัก คอรดนี้เขียนโครงสรางเปน 1-3-#5 ครับ คอรด bIII
คอรด bVI และคอรด bVII เครื่องหมาย b ที่นําหนาคอรดตรงนี้แสดงใหเห็นวาเปนคอรดที่ Root
มีชวงเสียงแคบลงมาจากเมเจอรสเกล 1 semi tone

                                  Chapter 4
                     การวางคอรด Primary chord, Secondary chord

การวางคอรดที่ดีจะทําใหเพลงมีความราบรื่นและสวยงาม หรืออาจมีลูกเลนแปลกๆเชน ดึงเสียง
ของ Mode อื่นเขามาใชใหเกิดความหลากหลาย หรืออาจจะเปลื่ยนไปคียอื่นซักสองสามคีย
                                                                               
กอนที่จะกลับเขาสูคียเดิมก็ได แตกอนทีจะไปถึงขั้นนัน เรามาทําความรูจักกับ Primary chord
                                           ่            ้
และ Secondary chord กันกอน

Primary chord ไดแกคอรด I เรียกวา Tonic chord คอรด IV เรียกวา Sub-dominant chord
และคอรด V เรียกวา Dominant chord จะยกตัวอยางในคีย C major

คอรด I เปน Cmaj ประกอบไปดวยโนต C-E-G สวนคอรด V เปน Gmaj ประกอบไปดวยโนต
G-B-D เมื่อนําโนตของทั้งสองคอรดมาเรียงตอกันแลวจะไดโนตดังนี้ C--D--E---G----B-C จะเห็น
ไดวายังเหลือโนตอีกสองตัวที่ขาดหายไป และตัวที่ขาดหายไปก็อยูในคอรด IV คือ Fmaj ซึ่ง
ประกอบไปดวยโนต F-A-C เมื่อนําโนตในคอรดนี้มารวมดวย ชองวางที่ขาดหายไปก็จะถูกเติม
เต็มดังนี้ C--D--E-F--G--A--B-C ดังนั้นคอรดทั้งสามจึงครอบคลุมเมเจอรสเกลเอาไวโดย
สมบูรณ


                                            -6-
www.kruharn.com
คราวนี้มาดูความหมายของ Tonic กันบาง โทนิคก็คือตําแหนงที่บงบอกวาเรายืนอยูตรงจุดไหน
                                                                 
เลนเพลงอยูในคียใด โทนิคนี้สามารถเคลื่อนตัวเขาสูตาแหนงใดก็ได เนื่องจากตัวมันมีความนิ่ง
                                                      ํ
อยูในตัวเอง
Dominant ก็คือคอรดสง หมายถึงตําแหนงของคอรดที่มีความเคลื่อนไหวรุนแรง ตองการตัวมา
รองรับ ซึ่งตัวรองรับที่วาก็คอโทนิคนั่นเอง การเคลื่อนตัวเขาหา Sub-dominant จะไดเสียงที่ไมดี
                             ื
นัก ในยุคเกา (Traditional music) เขาไมใชกัน แตในสมัยนี้กลับใชกันจนเปนเรื่องธรรมดา
ดังนั้นถาหากคุณจะใช คอรด V-IV ก็ตามใจคุณ แลวแตวิจารณญาณของใครของมันครับ
Sub-dominant เปนตําแหนงที่อยูกลางๆ เปนคอรดที่คอยชวยหรือคอยประคองสองคอรดแรก
เพื่อใหเพลงลืนไหลยิ่งขึ้น จะเขาหาโทนิคก็ได เขาหาโดมิแนนทก็ได นั่นก็คือเรื่องราวของ
               ่
Primary chord
Secondary chord เปนคอรดที่เขามาเพิ่มรายละเอียดใหกบบทเพลงมากยิ่งขึ้น โดยจะมี
                                                           ั
function รวมกันกับ Primary chord ซึ่งสามารถใหทดแทนตําแหนงกันได ขอเริ่มจากคอรด II
นั่นก็คอ Dmin
       ื
Dmin ประกอบไปดวยโนต D-F-A ซึ่งมีโนตที่เปนตัวรวมกับคอรด F (F-A-C) อยูสองตัว นั่นคือ
F และ A ตัวโนตที่เหมือนกันนี้เรียกวา Common note เมื่อมีโนตรวมกันดังนี้ จึงกําหนดคอรด II
min ไปรวมบาน Sub-dominant อยูรวมกับคอรด IV
คอรด III คือ Emin ซึ่งประกอบไปดวยโนต E-G-B มีคอมมอนโนตรวมกับคอรด I คือ C (C-E-G)
ถึงแมวามันจะมีโนตรวมกับคอรด V คือ G (G-B-D) ดวยก็ตาม แตคอรด IIImin ถูกกําหนดให
ไปอยูรวมบานกับ โทนิคคอรด
มาดูคอรด VI ตอ คอรดนี้ Amin ประกอบไปดวยโนต A-C-E มีคอมมอนโนตรวมกับคอรด C
ดังนั้นจึงถูกกําหนดใหอยูกับโทนิคคอรด
มาถึงคอรด VII คือ Bdim ซึ่งประกอบไปดวย B-D-F มีคอมมอนโนตรวมกันกับ G (G-B-D) จึง
ถูกกําหนดใหอยูรวมกับ Dominant คอรดในฟงชั่นนี้ เปนพวกเคลื่อนตัวรุนแรง จากนี้ไปเราก็
จําแนกคอรดครบทุกคอรดแลว ตามที่แสดงใหดูในตารางดังนี้

                                              Imaj , IIImin ,
                                 Tonic
                                                 VImin

                                Sub-
                              dominant         IVmaj , IImin

                              Dominant Vmaj , VIIdim

                     (สีดําคือ Primary chord สีแดงคือ Secondary chord)

คอรด I ใหความรูสึกจบไดดี ใชคอรด IIImin, VI min เพื่อหลีกเลี่ยงความรูสึกจบได ตัวอยางเชน


                                             -7-
www.kruharn.com
C / F / G / C คอรดชุดนี้ฟงแลวจบเลย เราอาจเปลี่ยนเปน C / F / G / Em เพื่อใหฟงแลวรูสก
                                                                                          ึ
วา ยังไมจบ ยังมีใหฟงตอ เราสามารถใช Secondary chord แทน Primary chord ได ขอใหอยู
ในฟงชั่นเดียวกันเทานั้น ยกตัวอยางใหดูอีกดังนี้
C / F / G / C เปลี่ยนเปน C / Dm / G / C หรือ C / F Dm / G Bdim / C ตัวอยางหลังนี่คอ       ื
แทรกคอรดใหฟงดูละเอียดขึ้น (เพลงเร็วไมควรใชคอรดละเอียดมาก เพลงชาถึงจะเหมาะ)
                

ขอกลาวถึงคอรด V และ V7 เสียหนอย เคยสงสัยไหมวา สองคอรดนี้ตางกันตรงไหน เพลงในคีย C บางทีเรา
ก็เห็นเขาใช G บางทีเราก็เห็นเขาใช G7 แลวมันแตกตางกันอยางไรหรือ โครงสรางของ V7 คือ 1-3-5-b7
หรือคิดอีกอยางก็คือสรางขึ้นจากคอรด V ของสเกล เพิ่มโนตขึ้นไปอีกตัว จากที่เปนโนตสามเสียงก็จะ
กลายเปนคอรดที่มีโนตสี่เสียง การสรางขึ้นจากคอรด V นี่เอง จึงทําใหไดชื่อวาคอรด Dominant 7 ถาเปน
คอรด G7 ก็จะมีโนต G-B-D-F โนตตัว F ที่เพิ่มเขามาทําใหเกิดปฏิกิริยาทางขั้นคู B-F นั้นเปน Tri tone หรือ
diminished 5th จึงทําใหเกิดความเคลื่อนไหวที่รุนแรงเปนพิเศษ(เดิมทีคอรด V เคลื่อนไหวรุนแรงอยูแลว) ขั้น
คูนี้เปนคูเสียงที่ตองการตัวอื่นมารองรับ มิเชนนั้นคนฟงจะเครียดมาก ความรูสึกมันเหมือนกับวา มันตอง
เคลื่อนไป เมื่อไรจะไปซะที แลวพอมีเสียงมารองรับมัน เราก็จะรูสึกผอนคลาย เหมือนกับวา เออ... ใหมันได
อยางนี้สิ คอยยังชั่ว ผานไปซะทีนะ คอรดที่จะมารองรับ V7 ก็คือคอรดในกลุมของ Tonic นั่นเอง โดยเฉพาะ
คอรด I จะฟงดูผอนคลายที่สุด (โนต B ใน G7 เคลื่อนตัวเขาหา C ใน C maj และโนต F ใน G7 เคลื่อนตัว
เขาหา E ใน Cmaj)

กลาวโดยสรุปก็คือคอรด V7 ใหความรูสึกเคลื่อนไหวไดดีกวาคอรด V นั่นเอง

        ที่ผานไปก็เปนเมเจอรสเกลนะครับ ที่กาลังจะผานมาก็เปนทีของไมเนอรสเกลบาง
                                             ํ

             Natural             I   II bIII IV V bVI bVII
             minor               min dim maj min min maj maj

             Harmonic            I   II bIII IV V bVI VII
             minor               min dim aug min maj maj dim

             Melodic             I   II bIII IV V VI VII
             minor               min min aug maj maj dim dim

Primary chord และ Secondary chord ยังคงเหมือนเดิมครับ แตฟงชั่นจะเปลี่ยนไปบาง
เล็กนอย เราจะคอยๆดูไปทีละคอรด

Imin ไมมีปญหาอะไร ขามไปคอรด V min และ Vmaj เลยดีกวา

ในดนตรียุคกอนๆ(Traditional music) เมื่อเขียนเพลงทางไมเนอร เขาจะใชเมโลดิคไมเนอร
เขียนทํานอง และใชฮารโมนิคไมเนอรเขียนคอรด คําวา melodic มาจากคําวา melody สวน


                                                   -8-
www.kruharn.com
harmonic ก็มาจาก harmony ดนตรี Traditional จะหลีกเลี่ยงการใช Natural minor เพราะมัน
ทําใหไดสําเนียงพื้นบาน
ดังนั้นการใชคอรด V หรือ V7 จะทําใหคณไดสําเนียงในแบบ Tradition และถาคุณใชคอรด V
                                          ุ
min ก็จะทําใหคุณไดสําเนียงแบบพื้นบาน ขึ้นอยูกับวาคุณตองการสําเนียงแบบใด คุณก็ใชแบบ
นั้น
คอรด IVmin และ IVmaj ถาจะใหไดสําเนียงในแบบไมเนอรแลวก็ใช IVmin เถอะครับ ถาเปน
คอรด IVmaj มันจะใหสําเนียงแบบ Dorian Mode ซึ่งเราจะพูดถึงเรื่อง Mode ในตอนตอไป
คราวนี้ก็มาดูพวก Secondary chord กันบาง เราจะยกตัวอยางในคีย Cminor คอรด IIdim ใน
คียนี้คือคอรด Ddim ประกอบไปดวย D-F-Ab มีคอมมอนโนตรวมกับ IVmin ในที่น้คือ Fm (F-
                                                                                  ี
Ab-C) แตความที่เปนคอรดดิมินิชจึงนํามาใชแทนคอรด IVmin ไมดนัก เนื่องจากดิมินชเปน
                                                                      ี                 ิ
คอรดที่มีความเคลื่อนไหวคอนขางมาก
ดังนั้นคนสวนใหญจะแกปญหานี้โดยเพิ่มโนตมันเขาไปอีกตัว จากคอรดสามเสียงเปนคอรดสี่
เสียง เราจะไดคอรด IImin7(b5) ในที่นี่เราจะไดคอรด Dm7(b5) ประกอบไปดวยโนต D-F-Ab-C
จะเห็นไดวา F-Ab-C นี่มันคอรด Fm ดีๆนี่เอง เพียงแตเพิ่ม D ลงไปใหเปน Root ของคอรดเทา
นั้นเอง บางทีแทนที่คุณจะเขียนคอรด Dm7(b5) คุณอาจจะเขียนเปน Fm6/D แทนนาจะดีกวา
ดวยซ้ํา เพราะวานักดนตรีหัดใหมจะไมรูจักคอรด Dm7(b5) เขาอาจจะเลนเปน Dm7 หรือไมก็
Dm ซึ่งสองคอรดนั้นไมมีโนต Ab หรือ b5 ที่เราตองการ แตถาเขียน Fm/D เขาอาจจะเลนแค
Fm ก็ไมเปนไร เพราะโนตตัว Ab ยังอยู แมจะไมไดเลน Root แตผูเลนในตําแหนงเบสก็เลนให
เราอยูแลว
IImin ไมนิยมใชกัน คือถาหากไมรับกับ melody จริงๆก็ไมมีความจําเปนตองใช คอรดกับ
ทํานองตองสัมพันธกัน นั่นคือหลักการ
คอรด bVImaj VIdim ใชเปน Sub-dominant แตในบางครั้ง bVImaj อาจนํามาใชแทนคอรด I
ดวยก็ได ใชในชวงกอนจะจบเพลงก็ได สวนคอรด VIdim ก็เหมือนกับ IIdim เราจะใชเปน
VImin7(b5) มากกวา แลวก็ใชกับเมโลดิคไมเนอร เพราะโนตจะรองรับกันได
คอรด bVII ก็ใชเปน Sub-dominant มักจะใชกับ Natural minor บางทีใชเปนรูปคอรด bVII7
(dominant7) สวนVIIdim ใชเปน Dominant สามารถใชแทนคอรด V7 ได แตวา VIIdim นี้อาจ
ทําใหเราสับสนกับคียเมเจอร ดังนั้นจึงแกปญหาโดยเพิ่มโนตเขาไปอีกตัว ใหกลายเปน VIIdim7
จะทําใหเราไดสําเนียงทางไมเนอรมากกวา Diminished7 มีโครงสรางคอรดเปน 1-b3-b5-bb7
ขอควรระวัง อยาสับสนระหวางคู 7 ไมเนอร กับคู 7 ดิมินิช พึงระลึกไวเสมอวา ดิมินิชมี
ชวงเสียงแคบกวาไมเนอร นี่เปนเหตุผลที่เราใชสัญลักษณ bb
คอรด bIIImaj และ bIIIaug นิยมใช bIIImaj มากกวา เพราะคอรดเมเจอรนิ่งกวาออคเมนเตด
นํามาใชแทนคอรด Imin แตกมีขอควรระวัง ถาใชไมดีจะกลายเปนเปลี่ยนคียไปเลย เชนเราเลน
                             ็                                              
คีย C minor อยูดีๆ จูๆก็กลายเปนคีย Eb major ไปโดยไมรูตัว เพราะอยางที่กลาวไปตั้งแต
ตอนตนวา ไมเนอรและเมเจอรมันมี Relation กันอยู


                                           -9-
www.kruharn.com
สวน bIIIaug เราใชเปรียบเสมือนกับคอรด V ของคอรดถัดไป เชน Eb aug / Ab / G7 / Cm
จากตัวอยางนีเราสมมติให Ab เปน I แลว Eb aug เปนคอรด V ของ Ab แตจริงๆแลว Ab มันก็
               ้
คือคอรด bVI ของ Cm นั่นแหละ ความที่เปนคอรดออคเมนเตด มันจึงมีความหวั่นไหว ไมนิ่ง
เราจึงใชมันเปนทางผานเขาสูคอรดที่มีความนิ่งในลําดับถัดไป จากตัวอยาง Ab เปนคอรด
major ดังนั้นมันจึงเปนคอรดที่มีความนิ่ง และ Eaug เปนตัวผาน

อยาลืมหลักการงายๆที่วา คอรดกับทํานองตองมีความสัมพันธกน
                                                           ั

                                   Chapter 5
                                Harmonic Overtone Series

Harmonic Overtone Series คือเสียงสะทอนที่หูคนเราไมไดยิน แตรับความรูสึกได สมมติวาถา
เราดีดเปยโนที่โนต C หูเราไดยินเสียง C ตัวนั้น และไมไดยินอะไรอีกแลวนอกจาก C แตโดย
ความเปนจริง เสียงที่เกิดขึนมันมีมากกวาโนตตัว C เพียงตัวเดียว ถึงเราจะไมไดยินแตเราก็รูสก
                           ้                                                                 ึ
ได
การสะทอนของเสียงจะเกิดโนตซอนกันไปเรื่อยๆ แลวแตวาคุณภาพของกลองเสียงวาดีเพียงใด
                                                          
คุณภาพยิ่งดีเสียงสะทอนก็ยิ่งมีมาก ถาคุณเขาใจถึงคําวากังวาลคุณก็คงพอจะนึกออกวา ความ
กังวาลนั้นเกิดขึ้นดวยสาเหตุอันนี้

คราวนี้บางคนอาจสงสัยวา Harmonic Overtone Series มันมีประโยชนอะไรกับการเรียนรูบาง




ที่เห็นอยูน่ก็คอ Harmonic Overtone Series ของ Acoustical Root C คือเมื่อเราดีดโนต C จะมี
             ี ื
เสียงตามมาอีกอยางที่เห็น แตเปนเสียงที่หูเราไมไดยิน ในแตละระดับ เราจะเรียกวา Partial
ในทางดนตรีมีทั้งหมด 13 Partial โดย Partial 1 ก็คอเสียงที่เราไดยินนั่นเอง หรือจะเรียกอีก
                                                       ื
อยางวา Acoustical Root




                                            - 10 -
www.kruharn.com
ทีนี้เรามาดูที่ Partial 1 - 6 กัน Partial 1 จะเปนโนตตัวต่ําสุดแลวก็ไลขึ้นไปตามลําดับ

                              Partial 1                       C
                              Partial 2                       C
                              Partial 3                       G
                              Partial 4                       C
                              Partial 5                       E
                              Partial 6                       G

จะเห็นไดวาทัง 6 Partial มีโนต C ถึง 3 ตัว ที่ซอนกันอยู ทําใหเราไดยินเสียงนี้ชดเจนมาก ถัด
            ้                                                                     ั
มาก็คือ G ซึ่งมีอยู 2 ตัว เราจะรับความรูสึกของเสียงนี้ไดเมื่อเราไดยิน Root เมื่อคุณเลนโนต C
                                         
ขึ้นมาตัวเดียว คุณจะรูสึกเหมือนกับวามีคู 5 perfect เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ

โนตตัว E มีอยูเพียงแคตวเดียว เราอาจจะรับความรูสกนี้ไดไมชัดนัก แตถาหากเราเลนโนตคู 5
                         ั                         ึ
perfect (สมมติวาเปน C-G) ความรูสึกเราจะพาไปถึงคู 3 major (E) ทันทีเลยเหมือนกัน อันนี้
เปนเรื่องแปลกแตจริง

พอมาถึงตรงนี้คุณสังเกตเห็นอะไรบางมั้ย ผมกําลังคิดถึงคอรดเมเจอร ในคอรด C ประกอบไป
ดวยโนต C-E-G ใชมั้ย เปนโนตที่อยูใน Harmonic Overtone เสียงของคอรดนี้จึงฟงสบายเปน
ธรรมชาติ ไมขัดหู เพราะไมมีตวเพี้ยนออกไปจาก Harmonic Overtone เลยนั่นเอง
                             ั

ดังนั้นคอรดเมเจอรจึงใหอารมณที่ฟงสบาย ราบลื่น เปนธรรมชาติ และมีความมันคง แลวหันมา
                                                                          ่
ดูทางคอรดไมเนอรบาง มีโนตอะไรบาง คอรด Cm มีโนต C-Eb-G คอรดนี้มีตวที่เพี้ยนไปจาก
                                                                            ั
Harmonic Overtone จึงทําใหฟงแลวไมสบายหู เสียงที่ b ลงของโนตตัวที่ 3 นั่นก็ทําใหโลกดู
มืดมน หมองหมนอยางไรพิกล ภาษาดนตรีเรียกวาเสียง dark คือมันทึบทึม หมองเศรา หดหู
นั่นคืออารมณของคอรดไมเนอร

นอกจากที่วามีตัวเพี้ยนออกไปจาก Harmonic Overtone แลว มันยังมี Acoustical Root ที่ไม
ชัดเจนดวย กลาวคือ เมื่อเราเห็นวาคอรดนี้มีโนตไมตรงกับ Harmonic Overtone Root C เราจึง
ลองหา Root ตัวอื่นๆดูวาจะมี Root ตัวใดบางมั้ย ที่โนต C-Eb-G จะลงไปสวมรอยไดลงตัว
คําตอบก็คือไมมี มีแตที่ใกลเคียง




                                              - 11 -
www.kruharn.com




                 นี่เปน Root Ab หาดูก็มีโนต C และ Eb แตก็ไมมีโนตตัว G




สวนนี่เปน Root Eb หาดูกมีแตโนต Eb และ G สวน C หาไมเจออีกตามเคย นอกนั้นก็ไมมี
                         ็
ใกลเคียงแลวครับ

สรุปไดวา คอรดนี้มี Acoustical Root ที่กํากวม ไมรูจะใช Root ตัวไหนแน จึงถือวาคอรดไม
เนอรมี Root อยูสามตัวครับ โดย Root ตัวแรกเปน Root ที่เลนจริง สวนอีกสอง Root เปน
Root ที่เรารูสกรับรู แตไมปรากฎออกมาจริงๆ พอจะสรุปอารมณของคอรดไมเนอรไดแลวนะ
               ึ
ครับ เราจะไดพูดถึงคอรดถัดไปเลย

คอรด Augmented มาดูโนตใน Caug ประกอบไปดวย C-E-G# มีโนตที่เพียนออกไปจาก    ้
Harmonic Overtone 1 ตัว จึงทําใหคอรดนี้ฟงดูไมเปนธรรมชาติ ใหความรูสึกวังเวง วิเวก
                                                                            
พิลึกๆ คอรดนี้ก็มี Root มากกวา 1 ตัวอีกเหมือนกัน สังเกตดูทละคูเสียงกอน คูแรกไดแก C-E
                                                            ี
เปนคู major 3rd คูที่เหลือคือ E-G# ก็เปนคู major 3rd เหมือนกัน ตรงนี้ศัพทเทคนิคเขา
เรียกวา Symmetrical คือคอรดที่มีข้นคูประเภทเดียวกันซอนอยู และเมื่อเรานําโนตตัวใดมาตัง
                                    ั                                                    ้
เปน Root ก็ตาม เสียงก็จะออกมาเหมือนกันอยูดี

                          C aug             C-E-G#
                          E aug           E-G#-B#(C)
                          G# aug        G#-B#(C)-D##(E)

จะเห็นไดวาคอรดนี้ จะนําโนตตัวใดมาตังเปน Root ก็ได เสียงที่ออกมาเหมือนกันหมด และ
                                       ้
Root ที่ปรากฎเหลานี้ก็คือ Root ทั้งหมดของคอรดออคเมนเต็ด เหมือนกรณีเดียวกับคอรดไม
เนอร คอรดนี้จึงมี Acoustical Root รวมกัน 3 ตัว



                                          - 12 -
www.kruharn.com
คอรด Diminished ดูกันที่คอรด Cdim ซึ่งมีโนต C-Eb-Gb ดูเผินๆเราอาจจะคิดวา เพี้ยนแหงๆ
เพี้ยนออกมาสองตัวเลย แตที่จริงหาเปนเชนนั้นไม เพราะ C-Eb-Gb ไมไดอยูใน Harmonic
Overtone ของ Root C เราลองมองหา Harmonic Overtone ของ Root ตัวอื่นๆดู ดูซวาจะมี   ิ
Acoustical Root ตัวใดบาง ที่โนต C-Eb-Gb ลงไปสวมรอยไดลงตัวพอดี Ab เปนคําตอบ
สุดทายครับ




และ Ab นั้นเปนคําตอบทีถกตอง จะเห็นไดวา C เปน Partial 5 โนต Eb เปน Partial 6 และ Gb
                        ่ ู
เปน Partial 7 ของ Acoustical Root Ab ดังนั้น Root ที่ปรากฎใหเห็นในคอรดดิมินิชจึงไมใช
Root จริง สวน Root จริงๆของมันตองนับลงมา 3 major สวน Root ที่ปรากฎใหเห็นเราเรียกวา
Apparent Root

ดังนั้นคอรดดิมินิชจึงไมมีตัวเพี้ยนออกไป ทําใหเสียงยังคงเปนธรรมชาติ แตมันใหเสียงที่
หวั่นไหว บางเบา เนื่องจากเราเอาคู 3 มาทําเปน Root แนนอนวาการไมปรากฎของ Root ที่
แทจริงนั้น ยอมทําใหเกิดความมั่นคงไปไมได

                                     สรุปประเด็นวา

                                            เสียงเปนธรรมชาติ
                    Major chord             สบาย รื่นหู มีความ
                                            มั่นคง อยูกับที่
                                            เสียงไมเปนธรรมชาติ
                    Minor chord             ฟงดูโศกเศรา หดหู
                                            หมนหมอง มืดมน
                                            เสียงไมเปนธรรมชาติ
                    Augmented chord         ฟงแลวลึกลับ ฉงน
                                            วังเวง
                                            เสียงเปนธรรมชาติ ให
                    Diminished chord        ความรูสึกหวันไหว
                                                          ่
                                            เคลื่อนที่ไปขางหนา




                                         - 13 -
www.kruharn.com

                                  Chapter 6
                     Tension, Extended chord และ Altered chord

Tension หมายถึงความตึงเครียด หมายความวาเมื่อเลนโนตตัวใดๆที่เปนโนตนอกคอรด ก็จะ
เกิดความตึงเครียดขึ้นและตองการโนตตัวรองรับในตัวถัดไป เพื่อใหเกิดความผอนคลาย




และโนตเหลานี้ 7, 9, 11, 13 ก็คอ Tension ซึ่งอาจใชเขียนเปนแนวทํานอง หรืออาจจะเอาเขา
                                ื
มาแตงแตมเติมเขาไปในคอรดก็ได ในกรณีที่เลนคอรด Cmaj7(C-E-G-B) แลวเขียนทํานองดวย
โนตตัว D ก็จะทําใหเกิด T9 และเมื่อเสียงทั้งสองมารวมกันก็จะฟงเปนเสียงของคอรด Cmaj9
ไปโดยอัตโนมัติ การเขียนเพลงแบบนี้จะทําใหทํานองลอยเดนมาขางหนา แตก็รองยาก ถาหาก
ใชเปนคอรด Cmaj9 ไปเลยก็จะชวยใหรองไดงายขึ้น แตแนวทํานองจะไมเดนออกมา เพราะมัน
                                     
จะกลมกลืนไปกับเสียงคอรด

                  ตอไปนี้คือ Tension ที่จะนําไปใชรวมกับคอรดตางๆ
                                                    

          T7 , T9 , T#11 ใชรวมกับคอรด                           Major6
                                          Major7 (แม T7 จะเปนโนตที่อยูใน
          T7 , T9 , T#11 ใชรวมกับคอรด    คอรด แตเราก็นับวาเปนเทนชั่น
                                                                      ดวย)
          T7 , T9 , T11 ใชรวมกับคอรด                            Minor6
          T9 , T11 ใชรวมกับคอรด                                 Minor7
          T9 , T11 , Tb13 ใชรวมกับ
                                                               Minor7(b5)
          คอรด
          Tb9 , T9 , T#9 , T11(sus4) ,
          T#11(Tb5) , Tb13 , T13 ใช                           Dominant7
          รวมกับคอรด
          T9 , T#11ใชรวมกับคอรด                           Augmented7
          โนตใดๆก็ตามที่อยูเหนือขึ้นไป
          หนึ่งเสียงของโนตที่อยูในคอรด                    Diminished7
          นี้ ใชเปนเทนชั่นของคอรด
          T9 , T11 , T13 ใชรวมกับคอรด                 Dominant7(sus4)

ในสวนของคอรด Diminished7 ขอยกตัวอยางคอรด Cdim7 ซึ่งประกอบไปดวยโนต C-Eb-Gb-
Bbb โนตที่อยูเหนือขึ้นไปหนึ่งเสียงของโนตในคอรดไดแก D-F-Ab-B ถือเปน Tension แตไมมี
ชื่อเฉพาะวาเปนเทนชั่นตัวใด ลองเขียนทํานองแบบใส Tension เขาไปเต็มๆใหดูดังตอไปนี้


                                          - 14 -
www.kruharn.com




ทํานองนี้กัดหูชะมัด หากเราจะเปลี่ยนคอรด Am7 เปน Am9 ก็ยอมได แตจะทําใหทํานองไม
ลอยเดน ดังนั้นก็ขึ้นอยูกับคุณเองวาตองการความกลมกลืนหรือความเดน (contrast) หรือจะ
เปลี่ยนคอรด Am7 เปนคอรด C ก็จะไดเสียงแบบ Cmaj7 (C-E-G-B) ไปโดยอัตโนมัติ

Extended chord และ Altered chord
Extended chord คือคอรดที่ขยายเสียงออกไป จากเดิมที่เปนไตรแอดมีสามเสียง คราวนี้จะ
เปนสี่เสียง หาเสียง หกเสียงจนกระทั่งเจ็ดเสียง สวน Altered chord ใชเรียกคอรดทีเราจะติด #
                                                                                  ่
หรือ b ลงไปบนโนตที่เปน Tension มาดูโครงสรางของคอรดตางๆกันดีกวา




หากคุณอยากจะ # หรือ b Tension ตัวใดของคอรด ก็ขอใหยอนกลับไปดูตารางขางบนวามัน
ควรจะใชไดหรือไม มีขอแนะนําวาในคีย Major คอรด Dominant 7(b9) จะเคลื่อนตัวเขาหา
Tonic function ไดดี (ถาตองการเสียงที่ smooth มากๆ) สวนในคีย Minor คอรด Dominant
7(#9) เคลื่อนตัวเขาหาคอรด I minor ไดดี และคอรด Augmented7 สามารถใชแทนที่
Dominant7 ไดเหมือนกัน

มาถึงตรงนี้คณอาจจะสงสัยขึ้นมาอีกวา แลวคอรดหาเสียงหกเสียงนี่มันจะจับยังไงของมันไหว
            ุ
ถาเปนเปยโนก็ไมมีปญหาอะไรหรอก แลวกีตารละจะเลนยังไงดี

คําตอบก็คือ เราสามารถละทิ้งโนตบางตัวออกไปไดครับ (เรียกวา omitted) โดยที่โนตตัวทีตัด
                                                                                    ่
ออกไปจะตองไมสงผลใหเสียเอกลักษณของคอรด เชนถาเราตองการโนตตัวที่ 9 เราก็ตัด 9


                                           - 15 -
www.kruharn.com
ออกไปไมไดแนนอน ตัดโนตตัวที่ 3 ไมไดอยูแลวเพราะตัวนี้จะเปนตัวบอกวาคอรดเปนเมเจอร
หรือไมเนอร บางทีเราอาจจะตัด Root ได ในกรณีที่เราเลนอยูในวง และมีคนเบสเลน Root ให
อยูแลว

และตัวทีตัดไดแนนอนก็คือโนตตัวที่ 5 เพราะเมื่อมี Root เราก็จะรูสกเหมือนมีคู perfect 5th อยู
        ่                                                          ึ
แลว แตอยาไปตัด b5 หรือ #5 เด็ดขาด เพราะนั่นจะทําใหเสียเอกลักษณของคอรดเหลานั้นไป
ทันที บางทีเราอาจจะใช 9 แทน 1 ไปเลยก็ได

ยกตัวอยาง หากวาคุณตองการเลน Cmaj7 คุณจับแคโนต C-E-B แคนี้ก็พอแลวครับ โนต G ซึ่ง
เปน perfect 5th ไมมีความหมายใดๆเลย ไมตองไปเหลียวแลมัน จากนี้ไปคุณก็คงเริ่มมีทางที่
จะฉีกหนีความจําเจเกาๆประเภท C / Am / F / G7 // ไดบางแลว ลองหันมาใชคอรด Cmaj9 /
Am6 / Dm9 / G7(13) // ดูบาง แกเซ็งไดเหมือนกัน
                          

แตหนทางการหลีกหนีความจําเจไมไดมีเพียงเทานี้ ยังมีอีก ในบทหนา



                                Chapter 7
                                Secondary Dominant Chord

Secondary Dominant chord คือคอรดที่เราใชตกแตงทางเดินคอรดของเราใหมีความรูสึก
เคลื่อนไหวมากขึ้น เพราะ Dominant7 chord เปนคอรดที่มี tri-tone อยูในตัวมัน จึงทําใหฟงดู
                                                                                       
ไมอยูกบที่ เคลื่อนตัวไปขางหนา สวน Secondary Dominant จะมีหนาตาอยางไร ดูตวอยาง
        ั                                                                           ั
ตอไปนี้

                                 C / Am / D7 / G7 / C //

จะเห็นไดวาคอรด D7 ไมใชคอรดที่อยูใน C major scale แลวมันมาโผลอยูตรงนี้ไดอยางไร มัน
          
มาไดก็เพราะเราใชมันเปนคอรด V7 ของ V7 อีกที มันก็เหมือนกับการสงคอรด G7 เขาสูคอรด
C นั่นเอง เราสมมติใหคอรด G7 เปนเหมือนกับคอรด I ดังนั้นคอรด D7 จึงเปนคอรด V7 ของ
คอรด G7 วิธการวางคอรดแบบนี้จะทําใหเราไดเสียงโนตที่อยูนอกสเกลมาโดยอัตโนมัติ ทําให
              ี
ฟงแลวแปลกออกไป ไมซ้ําซาก จําเจ แถมเทหอีกตางหาก เพลงไทยสมัยนี้กใชกันเยอะ ไมเชื่อ
                                                                         ็
ลองไปฟงดู และนี่แหละที่เราเรียกวา Secondary Dominant Chord

นอกจากนี้ Secondary Dominant ยังแบงออกเปน Related Secondary Dominant และ
Extended Secondary Dominant มาเริ่มจาก Related Secondary Dominant กันกอน


                                            - 16 -
www.kruharn.com
คอรดนี้เราจะใชอยูในชุด IIm-V-I โดยคอรด I นั้น เปนไดทั้ง major และ minor (คอรด I ในที่น้ี
เปนคอรดสมมติ คือไมใชคอรด I ของสเกลจริงๆ)

                             C Gm7 / C7 F / D7 / G7 / C //

หากเราจะวิเคราะหคอรดโดยดูจากขางหนาไปเราก็คงจะงงๆ ดังนั้นเราตองดูจากขางหลังมา
ขางหนา โดยเริ่มจากหองสุดทาย C เปนคอรด I ทุกคนคงรูดี (ถาไมรูตองกลับไปเริ่มตนใหม)
G7 เปนคอรด V7 ของ C คอรด D7 เปน V7 ของ G7 ดังนั้นคอรด D7 ในที่นี้จะเรียกวา V of V

ถัดมาเปนคอรด F นั้นเปนคอรด IV คอรด C7 เปน V7 ของ F ดังนั้นคอรด C7 ในที่น้จึงเรียกวา
                                                                                ี
V of IV สวนคอรด Gm7 นั่นก็คือคอรด IIm ของคอรด F นั่นเอง ดังนั้น Gm7-C7-F คือ
Related Secondary Dominant เราเรียกวา IIminor-V of IV ลองดูตัวอยางทางไมเนอรกันบาง
เริ่มจากตัวอยางงายๆกอน

                               C Em / A7 Dm / G7 / C //

G7 เปน V7 ของ C คอรด Dm เปน IIminor ปกติ คอรด A7 เปน V7 ของ Dm ดังนั้น A7 คือ
V7 of IIminor สวนคอรด Em เปนทั้ง IIIminor ของ C อีกทั้งยังเปน IIminor ของ Dm ดวย
คอรดที่ทําหนาที่สองอยางในเวลาเดียวกันอยางนี้เราเรียกวา Dual function ดูอีกซักตัวอยาง
เชน

Ebm7 / Ebm7 / Gm7(b5) / C7 / Fm7(b5) / Fm7(b5) / F7(b9) / Bb7 / Ebm7 //

เชนเคย เราวิเคราะหจากขางหลังมาขางหนา Ebm7 เปนคอรด I คอรด Bb7 เปน V7 ปกติ
F7(b9) เปนคอรด V ของ Bb7 นั่นก็คอ V of V คอรดถัดมาเปน Fm7(b5) ก็คอคอรด IIm ปกติ
                                  ื                                      ื
สวน C7 นั้นเปน V7 ของ IIm (Fm7(b5)) ตรงนี้เรียกวา V of IIm คอรดถัดไปเปน Gm7(b5) ซึ่ง
เปนคอรด IIm ของ Fm7(b5) อีกที ตรงนี้ก็คอ Related Secondary Dominant อยูในรูป
                                             ื
IIminor-V of IIminor

มาถึง Extended Secondary Dominant กันบาง คอรดชุดนี้จะอยูในรูป V-V-I (เชนเคย คอรด
I เปนคอรดสมมติ ไมใชคอรด I ในสเกลจริงๆ)

                                 C / A7 / D7 / G7 / C //

G7 เปนคอรด V7 ปกติ คอรด D7 เปน V7 ของ V7(G7) อีกที สวนคอรด A7 เปน V7 ของ D7
ดังนั้น A7 จึงเปน V-V of V7 นอกจากนี้เรายังสามารถขยาย Extended Secondary Dominant
ออกไปไดเรื่อยๆ

                 Cmaj7 / C#7 / F#7 / B7 / E7 / A7 / D7 / G7 / C //


                                            - 17 -
www.kruharn.com
บางครั้ง Secondary Dominant ก็จะมีคอรดมาแทรกดังตัวอยางตอไปนี้

                                 C / D7 Dm / G7 / C //

คอรด Dm มาคั่นอยูระหวาง D7 กับ G7 แต D7 ก็ยังคงเปน Secondary Dominant ของ G7
อยูนั่นเอง

หลักการอีกอยางในการวางคอรดก็คือ คอรด I เคลื่อนตัวเขาหาคอรดใดก็ได เปนอิสระ



                               Chapter 8
                                          Mode

Mode คือบันไดเสียงอีกประเภทหนึ่ง มีอยูเจ็ดชนิด ซึ่งเราสรางขึ้นมาไดจาก Major scale
อันดับแรกคือ Ionian mode เปนบันไดเสียงที่เหมือน Major scale ทุกประการ จึงไมตอง
อธิบายใดๆเพิมเติม
             ่

Dorian mode สรางขึ้นโดยนําโนตตัวที่ 2 ของ Major scale มาตั้ง แลวก็ไลโนตเรียงลําดับขึ้น
ไปตามเดิม ดังที่จะแสดงใหดูดังนี้

                     Major scale: C - D - E - F - G - A - B -C

                    Dorian mode: D - E - F -G - A - B - C - D

สังเกตดูโนตตัวที่ 3 ของ Dorian mode จะเปนคู 3 ไมเนอร (โดยนับขึ้นมาจาก Root นะครับ ใน
กรณีนี้คือคู D - F) ดังนั้นโมดนี้จะใหเสียงทางไมเนอร ลองเทียบดูกับ Natural minor เพื่อ
เปรียบเทียบความแตกตาง

               Natural minor scale: D - E - F - G - A - Bb - C - D

                    Dorian mode: D - E - F - G - A - B - C - D

เราจะเห็นความแตกตางที่โนตตัวที่ 6 ดังนั้นเราใชสตรสราง Dorian mode อีกสูตรหนึ่งก็ได เปน
                                                  ู
สูตรวา Natural minor #6 การเพิ่ม # ลงไปในบันไดเสียงจะเปนผลทําใหเสียง Bright ขึ้น

ตอไปเปน Phrygian mode สรางขึ้นโดยการนําโนตตัวที่ 3 ของ Major scale มาตั้ง แลวก็ไล
โนตเรียงลําดับขึ้นไปตามเดิม


                                           - 18 -
www.kruharn.com
                     Major scale: C - D - E - F - G - A - B -C

                   Phrygian mode: E - F - G - A - B - C - D - E

               Natural minor scale : E - F# - G - A - B - C - D - E

โดยที่คู 3 เปนไมเนอร เราจึงจัดใหโมดนี้เปนบันไดเสียงทางไมเนอร และเมื่อนํามาเปรียบเทียบ
กับไมเนอรสเกล เราจะเห็นวา Phrygian mode ก็คือ Natural minor b2 นั่นเอง การเพิ่ม b ลง
ไปในบันไดเสียง ทําใหเสียง Dark ลง

ถัดไปเปน Lydian mode สรางขึ้นโดยใชตวที่ 4 ของ Major scale มาตั้งแลวไลโนตขึนไป
                                      ั                                         ้
ตามลําดับ

                     Major scale: C - D - E - F - G - A - B -C

                    Lydian mode: F - G - A - B - C - D - E - F

เมื่อพิจารณาโนตตัวที่ 3 แลวพบวาเปนคู 3 เมเจอร บันไดเสียงนี้จึงเปนบันไดเสียงทางเมเจอร
เราเลยตองนํามาเปรียบเทียบกับเมเจอรสเกลดังนี้ครับ

                    Major scale: F - G - A - Bb - C - D - E - F

                    Lydian mode: F - G - A - B - C - D - E - F

จะเห็นไดวา Lydian mode ก็คือ Major #4 นั่นเอง เชนเคย การเพิ่ม # ทําใหไดเสียงที่ Bright
             
ขึ้น แตขณะเดียวกัน #4 จะทําใหเกิด Tritone จาก Root (Tritone คือคูเสียงที่มีชวงหางสาม
เสียงพอดี) F - B เทากับ augmented 4th หรือถาเราพลิกกลับเปน B - F ก็จะเทากับ
diminished 5th เมื่อเกิด Tritone ขึ้นจาก Root ดังนี้แลว มันจะทําใหเราไมรบรูถึง Tonality
                                                                             ั
แปลอีกทีวา เราไมอาจรับรูถึงศูนยกลางของบันไดเสียง เมื่อเพลงบรรเลงมาจบที่ Root เราจะไม
รูสึกวามันจบ ซึ่งผิดปกติจากบันไดเสียงชนิดอื่นๆ แต Lydian mode ยังดีที่คอรด I เปนเมเจอร
ซึ่งเปนคอรดที่มีความมั่นคง ดังนั้นเรายังพอจะเห็นเพลงที่แตงขึ้นโดยใช Lydian mode ลวนๆ
อยูบาง ผิดกับ Locrian mode ซึ่งจะกลาวตอไป

Mixo-lydian mode สรางขึ้นจากการนําโนตตัวที่ 5 ของ Major scale มาตั้งแลวเรียงลําดับขึน
                                                                                       ้
ไปตามเดิม

                     Major scale: C - D - E - F - G - A - B -C

                 Mixo-lydian mode: G - A - B - C - D - E - F - G

                    Major scale : G - A - B - C - D - E - F# - G

                                           - 19 -
www.kruharn.com
เมื่อพิจารณาดูที่คู 3 ของบันไดเสียง พบวาเปนคู 3 เมเจอร จึงจัดใหบันไดเสียงนี้เปนบันไดเสียง
ทางเมเจอร เมื่อเปรียบเทียบกับเมเจอรสเกลในคียเดียวกันแลวจะเห็นวา Mixo-lydian mode ก็
คือ Major b7 นั่นเอง การเพิ่ม b ลงไปทําใหเสียง Dark ลง

ตอไปเปน Aeolian mode ซึ่งก็คือ Natural minor scale นั่นแหละครับ ไมมีอะไรแตกตาง จึงไม
ตองเขียนถึงเพราะคงรูจักกันดีอยูแลว

สุดทายก็คือ Locrian mode สรางขึ้นจากโนตตัวที่ 7 ของ Major scale ดังตอไปนี้

                      Major scale: C - D - E - F - G - A - B -C

                     Locrian mode: B - C - D - E - F - G - A - B

                   Natural minor: B - C# - D - E - F# - G - A - B

เมื่อพิจารณาดูโนตตัวที3 จะเห็นวาเปนคู 3 ไมเนอร จึงจัดใหบันไดเสียงนี้เปนบันไดเสียงทางไม
                       ่
เนอร และเมือนํามาเปรียบเทียบกับไมเนอรสเกลจะสรุปไดวา Locrian mode คือ Natural
                ่
minor b2 b5 เชนเคยครับ การเพิ่ม b ลงไปในบันไดเสียง ทําใหเสียง Dark ลง แลวนี่เพิ่มขึนตัง้ ้
สองตัวยิ่งไปกันใหญเลย เทานั้นยังไมพอ เมื่อคู 5 เปน b5 ดวยแลว มันก็เหมือนกับกรณีของ
Lydian mode คือเกิด Tritone ขึ้นจาก Root จึงทําใหบันไดเสียงนี้ไมมี Tonality แลวคอรด I ยัง
เปนไมเนอรเขาไปอีก เราจึงไมพบเห็นเพลงที่แตงดวย Locrian mode ลวนๆ จะพบก็เพียงเปน
สวนหนึ่งของบทเพลงเทานัน และนับวาเปนโมดที่เราพบเห็นไดยากยิ่งจริงๆ เทาที่ผมนึกออกก็
                          ้
มีทอนริฟฟกีตารเพลง Seek and Destroy ของ Metalica ในชุด Kill'em all ใชขึ้นเปน Intro
     
แลวก็ไหลไปสูบนไดเสียงไมเนอรในทอนถัดไป แคนนแหละ เรียกวาทั้งชีวิตที่เคยฟงเพลงมาก็
                  ั                                 ั้
พบเพียงแคนจริงๆที่ไดฟงสําเนียงของโมดนี้
             ี้

เมื่อไดทําความรูจักกับโครงสรางตางๆของโมดไปแลว ตอไปก็จะเขาประเด็นหลักของ Chord
progression นั่นก็คือพูดถึงเรื่องคอรด เรามีวิธีการใชคอรดจากโมดตางๆอยางไร เพื่อไมเปน
การเสียเวลาจึงขอตัด Ionian mode กับ Aeolian mode ออกไป เพราะมันก็คอ Major และ
                                                                            ื
Minor scale ซึ่งไดกลาวไปหมดแลวในบทกอนๆ และอีกโมดหนึ่งที่จะตัดทิ้งไปก็คือ Locrian
mode เนื่องจากเปนโมดที่ไมมีใครนิยมใชและเปนโมดทีหา Tonality ไมเจอ ก็เลยเหลืออยูอีก 4
                                                      ่
โมด โดยจะเขียนคอรดใหดูพรอมๆกันดังนี้




                                            - 20 -
www.kruharn.com




      Dorian         I        II       bIII    IV     V                     bVII
                                                            VI dim
      mode           minor    minor    major   major minor                  major
      Phrygain       I        bII      bIII    IV           bVI             bVII
                                                      V dim
      mode           minor    major    major   minor        major           minor
      Lydian         I        II       III            V     VI              VII
                                               IV dim
      mode           major    major    minor          major minor           minor
      Mixo-lydian    I        II               IV     V     VI              bVII
                                       III dim
      mode           major    minor            major minor minor            major

กอนอื่นเราตองทําความรูจักกับ Function ของคอรดในแตละโมดเสียกอน เริ่มจาก Dorian
mode คอรด I เปนตัว Tonic แนๆอยูแลวในทุกๆโมด แตคอรดอื่นๆเรามีหลักเกณฑในการหา
Function ตางไปจากที่เคยเรียนรู คือจะไมยึดเอา I,IV,V เปนหลัก แตจะยึดเอาคอรดใดๆก็ตามที่
มีโนตซึ่งใหเสียงที่เปนเอกลักษณของโมดนั้นๆ อยางใน Dorian mode นี้ เอกลักษณของเสียงก็
คือโนตตัวที่ 6 ดังที่ไดกลาวไปแลววา Dorian mode คือบันไดเสียงทางไมเนอรชนิดหนึ่งแตส่ง ิ
ที่ทําใหแตกตางไปจากบันไดเสียงไมเนอรอื่นๆก็คือ โนตที่ #6 ตัวนี้แหละ ดังนั้นเมื่อพิจารณาดู
ปรากฎวา มีคอรด IIm และ IV ที่มีโนต #6 ประกอบอยู ก็ใหยึดคอรดนี้วาเปน Dominant ไปซะ
ยกตัวอยางในคีย C ดูที่ C Dorian ซึ่งประกอบไปดวยโนต C - D - Eb - F - G - A - Bb - C
โนตตัวที่ #6 จาก Natural minor ก็คือ A ซึ่งถือวาเปนเอกลักษณของโมด และโนตตัว A นี้กอยู
                                                                                         ็
ในคอรด IIm ในที่นี้คือ Dm(D-F-A) และคอรด IV ในที่นี้คือ F(F-A-C) ดังนั้นสองคอรดนี้จึงเปน
Dominant และเรานิยมใชคอรด IV มากกวาเนื่องจากวามันเปนคอรดเมเจอรซึ่งใหเสียงที่มั่นคง
กวาคอรดไมเนอร




                                           - 21 -
www.kruharn.com
คอรด bIII มี common note รวมกับคอรด I ดังนั้นจึงใชแทนกันได สวนคอรด VI dim มี
common note รวมกับคอรด I เชนกัน แตเพราะความที่เปนดิมินิช จึงไมควรนํามาใชแทนคอรด
I เพราะดิมินิชใหเสียงที่ไมมนคงจึงใชเปน Tonic ไมได
                             ั่

สวนคอรดที่เหลือก็จะเปน Sub-dominant ไป

Phrygian mode คอรด I เปนตัว Tonic เหมือนเดิม ไมมีอะไรตองสงสัย เอกลักษณของโมดนี้
อยูท่โนต b2 ดังนั้นเราตองหาวามีคอรดใดบางที่มีโนต b2 ประกอบอยู คําตอบก็คอคอรด bII ,
      ี                                                                        ื
Vdim , bVII 3 คอรดนี้ใชเปน Dominant ทั้งหมด คอรดที่อยูในรูปของเมเจอรมักจะไดรับการ
พิจารณากอนเสมอ

คอรด bIII และ bVI มี common note รวมกันกับคอรด I จึงใชแทนกันได สวนคอรด IVm มี
common note รวมกันกับคอรดที่เปน Dominant ดังนั้นมันจึงเปน Dominant ไปดวย แมวาจะ
ไมมีโนต b2 อยูในคอรดก็ตาม

Lydian mode คอรด I เปน Tonic คอรดที่เปน Dominant ไดแกคอรด II และคอรด VIIm
เนื่องจากสองคอรดนี้มีโนต #4 อยู คอรด IIIm และคอรด VIm ใชแทนคอรด I ได เนื่องจากมี
common note รวมกัน คอรด V มี common note รวมกันกับคอรด VIIm จึงจัดเปน Dominant
ไป สวนคอรด IVdim ไมตองไปสนใจมัน เพราะเปนดิมินิช ทําใหเกิดความรูสึกนอกคีย

โมดนี้เปนโมดที่ฟงแลวใหความรูสึกวาจบไมลง ดังนั้นการจบ อาจจะหาคอรดอื่นที่ไมใชคอรด I
มาใชเพื่อแกปญหา โดยคอรดที่จะนํามาใชตองมีเสียงทีรองรับ Tritone ได ยกตัวอยางในคีย C
                                                      ่
คอรด Dominant ก็คือ D คอรดที่จะมารองรับในตอนจบเพลงอาจใช G หรือ Em ก็ได ดวย
หลักการคิดทีวา Lydian mode สรางขึ้นจากโนตตัวที่ 4 ของ Major ดังนั้นโนต C ก็คือโนตตัวที่
              ่
4 ในคีย G major และคอรด D ก็เปนคอรดที่ 5 ของ G major ดังนั้นคอรด D เคลื่อนตัวเขาหา
คอรด G จะอยูในรูปของคอรด V เขาหาคอรด I หรือจะเปลี่ยนจาก G major เปน E minor ก็ได
เพราะคียทั้งสองเปน relative กันอยู

ตัวอยางเพลงที่แตงดวยโมดนี้ก็มีเพลง Jet Song ซึ่งเปนเพลงประกอบภาพยนตรเรื่อง West
side story หรือจะเอาแบบที่ไมตองไปขุดใหลึกมากนักก็เพลง Flying In A Blue Dream ของ
Joe Satriani

Mixo-lydian mode มีคอรด I เปน Tonic เชนเดิม คอรดที่เปน Dominant ไดแกคอรด Vm และ
bVII เนื่องจากสองคอรดนี้มีโนตที่เปนเอกลักษณของโมดอยูซึ่งก็คือโนต b7 จาก Major scale
นั่นเอง



                                           - 22 -
www.kruharn.com
คอรด VIm ใชแทนคอรด I เพราะมี common note อยูรวมกัน คอรด IV และคอรด IIm ใชเปน
Sub-dominant สวนคอรด IIIdim ลืมมันซะ เพราะคอรดนี้จะสรางความสับสนวา "มันจะอยูใน
โมดไหนของมันกันแน" ไมมีความชัดเจน จึงตัดออกไป

Mode มีอยูสองประเภทคือ Tonal mode และ Modal mode

Tonal mode เปนโมดที่รับรูถึง Tonality มีอยูหาโมดดวยกันคือ Ionian mode, Dorian mode,
                                               
Phrygian mode, Mixo-lydian mode, Aeolian mode

Modal mode เปนโมดที่ไมอาจรับรูถง Tonality ได มีอยูสองโมดคือ Lydian mode, Locrian
                                  ึ
mode

การเลือกโมดในการแตงเพลง ตองดูที่อารมณของเพลงเปนสวนประกอบดวย เราใชเมเจอร
สําหรับเพลงที่ใหอารมณสบายๆ ใชไมเนอรสําหรับเพลงเศรา สมมติวาเราตองการเปลี่ยน
อารมณเศราใหฟงสดใสขึ้นในบางทอนของบทเพลง เนื่องจากเนื้อหาของเพลงบรรยายมาอยาง
นั้น เราก็เปลียนจากไมเนอรเปน Dorian mode ซะ อารมณของเพลงก็จะเปลี่ยนไป ในทอนที่
              ่
บรรยายความเศราก็เลนเปนไมเนอร แตพอทอนที่บรรยายความสดใสเราเปลี่ยนมาเลน Dorian
mode เทคนิคเชนนี้เราเรียกวาการ Mix mode

จําหลักการงายๆไววา เมื่อเพิ่ม # ลงไป เพลงจะฟงสดใสขึ้น เมื่อเพิ่ม b ลงไป เพลงจะฟง
ซึมเศราลง



                                 Chapter 9
                                 Sub-stitution Chord

ใกลจบหลักสูตรแลวสําหรับเรื่อง Chord progression ในบทนี้จะนําเสนอเรื่อง chord sub-
stitution หรือภาษาไทยเรียกวาคอรดแทนนั่นเอง คอรดนี้จะอยูในรูปของ Dominant7 สรางขึ้น
โดยลดตัวที่ 2 ของเมเจอรสเกลลงมาครึ่งเสียง ใชแทนคอรด V7 หรือใชใน Dominant function
นั่นเอง

ยกตัวอยางในคีย C major โนตตัวที่ 2 ก็คือ D เมื่อลดลงมาครึ่งเสียงจะเปน Db ใช Db เปน
Root ของคอรดแลวสรางใหเปน Dominant เราจะได Db7 มาใชแทนคอรด V7 ซึ่งในคีย C นี้ก็
คือคอรด G7 ดังนั้นเราสรุปไดวาใชคอรด bII7 แทนคอรด V7



                                         - 23 -
www.kruharn.com
                 จาก C / Dm / G7 / C // กลายเปน C / Dm / Db7 / C //

หรือเราจะเปลียนมาเปน Am6 / Dm9 / Db9 / Cmaj9 // ก็ไมผิดกติกาแตอยางใด
             ่

เหตุที่สองคอรดนี้แทนกันไดก็เพราะวาทั้งสองคอรดนี้มี Tritone คูเดียวกัน มาดูโนตของทั้งสอง
คอรดกันวามีอะไรบาง G7 ประกอบไปดวยโนต G-B-D-F สวนคอรด Db7 ประกอบไปดวยโนต
Db-F-Ab-Cb(B) คอรดทั้งสองมีโนต B-F อยูดวยกันทังคู ซึ่งโนตคู B-F ก็คือ Tritone นั่นเอง
                                                       ้
เมื่อมี Tritone รวมกันการเคลื่อนตัวของคูเสียงจึงเคลือนตัวไปในทิศทางเดียวกัน คือในกรณีนี้
                                                      ่
โนต B เคลื่อนตัวเขาหา C โนต F เคลือนตัวเขาหา E นี่เปนเหตุผลวาทําไม bII7 จึงใชแทน
                                         ่
คอรด V7 ได




นอกจากเราจะวางคอรดนี้ไวแทนคอรด V7 ตามปรกติแลว เรายังนําไปวางแทน Secondary
dominant chord ไดอีกดวยดังตัวอยาง

จาก C / D7 / G7 / C // ใชเปน C / Ab7 / G7 / C // ตรงนี้เราใช Ab7 แทน D7 เนื่องจากสอง
คอรดนี้มี Tritone คูเดียวกัน หรือคิดอีกอยางคือเราสมมติให G7 เปนคอรด I คอรด bII7 ของ
G ก็คอ Ab7 ลองดูตัวอยางอื่นๆดังตอไปนี้
     ื

                         C-E7 / A7-Dm7 / G7 / C // เปลี่ยนเปน

                        Cmaj7-Bb7 / A7-Dm7 / Db7 / Cmaj7 //

                       Cmaj7-Bb7 / Eb7-Dm7 / Db7 / Cmaj7 //

                        Cmaj7-E7 / Eb7-Dm7 / Db7 / Cmaj7 //

จากตัวอยางเราเปลี่ยนคอรด V7 เปนคอรด bII7 ตัวอยางที่หนึ่ง เปลี่ยน E7 เปน Bb7 ซึ่ง E7 ก็
คือคอรด V ของ A7 ตามที่ไดเรียนรูกันไปแลวในเรืองของ Secondary dominant คิดโดย
                                                 ่
หลักการงายๆวา สมมติให A7 เปนคอรด I เราจะใชคอรด bII7 ของ A7 แทนคอรด V ซึ่งก็จะได
เปนคอรด Bb7

ตัวอยางที่สองเปลี่ยน A7 มาเปน Eb7 ก็ดวยหลักการเดิม คราวนี้ Bb7 กลายเปนคอรด V ของ
Eb7 ไปโดยอัตโนมัติ



                                           - 24 -
Chord progression
Chord progression
Chord progression
Chord progression
Chord progression
Chord progression
Chord progression

Más contenido relacionado

Destacado

2024 State of Marketing Report – by Hubspot
2024 State of Marketing Report – by Hubspot2024 State of Marketing Report – by Hubspot
2024 State of Marketing Report – by HubspotMarius Sescu
 
Everything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPTEverything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPTExpeed Software
 
Product Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage EngineeringsProduct Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage EngineeringsPixeldarts
 
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental HealthHow Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental HealthThinkNow
 
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfAI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfmarketingartwork
 
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024Neil Kimberley
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)contently
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024Albert Qian
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsKurio // The Social Media Age(ncy)
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Search Engine Journal
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summarySpeakerHub
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Tessa Mero
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentLily Ray
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best PracticesVit Horky
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementMindGenius
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...RachelPearson36
 

Destacado (20)

2024 State of Marketing Report – by Hubspot
2024 State of Marketing Report – by Hubspot2024 State of Marketing Report – by Hubspot
2024 State of Marketing Report – by Hubspot
 
Everything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPTEverything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPT
 
Product Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage EngineeringsProduct Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
 
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental HealthHow Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
 
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfAI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
 
Skeleton Culture Code
Skeleton Culture CodeSkeleton Culture Code
Skeleton Culture Code
 
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
 
How to have difficult conversations
How to have difficult conversations How to have difficult conversations
How to have difficult conversations
 
Introduction to Data Science
Introduction to Data ScienceIntroduction to Data Science
Introduction to Data Science
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best Practices
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project management
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
 

Chord progression

  • 1. www.kruharn.com Chord Progression Chapter 1 คอรดหรือการใสเสียงประสาน ทําใหเพลงมีคุณคามากขึ้น เพราะทําใหเกิดความไพเราะและ สามารถสื่อถึงอารมณเพลงไดดีขึ้น คุณสามารถทดสอบความนาทึ่งของคอรดก็ได โดยลองเขียน ทํานองขึ้นมาสักทอน แลวลองใสคอรดลงไปซัก 2-3 แบบ ใหแตกตางกัน คุณจะเห็นวาแม ทํานองจะเหมือนเดิม แตคอรดเปลี่ยน อารมณของเพลงก็เปลี่ยนไปดวย บทความตอไปนี้เปน การแนะนําใหรูจักกับคอรดชนิดตางๆ และวิธีการกําหนดคอรดในเพลง สิ่งแรกที่ตองกลาวถึงสําหรับการเรียน Chord progression นั้นก็คือคุณจะตองรูจก Major และ  ั Minor scale ใหดีเสียกอน ตองจําตัวโนตทุกตัวในทุกสเกลใหได ยกตัวอยางเชนตองรูวา Eb Major scale มีโนต Eb F G Ab Bb C D เปนตน สําหรับโครงสรางของเมเจอรสเกล จํางายๆเลยวา ระยะหางของตัวโนตหางกัน 1tone (ครึ่งขั้น เสียงสองครั้ง) นอกจากระยะระหวางโนตตัวที่ 3 กับ 4 และระยะหางของโนตตัวที่ 7 กับ 8 จะ หางกัน 1semi tone (ครึ่งขันเสียงหนึ่งครั้ง) ดังนี้ ้ C--D--E-F--G--A--B-C ในคียอื่นๆ เราจะแบงออกเปนสองพวก หนึ่งคือพวกทีตดเครื่องหมาย # และอีกหนึ่งก็คือพวกที่ ่ ิ ติดเครื่องหมาย b ดังนี้ G major มี 1# ไดแก F# F major มี 1b ไดแก Bb D major มี 2# ไดแก F# C# Bb major มี 2b ไดแก Bb Eb A major มี 3# ไดแก F# C# G# Eb major มี 3b ไดแก Bb Eb Ab E major มี 4# ไดแก F# C# G# D# Ab major มี 4b ไดแก Bb Eb Ab Db B major มี 5# ไดแก F# C# G# D# A# Db major มี 5b ไดแกBb Eb Ab Db Gb F# major มี 6# ไดแก F# C# G# D# Gb major มี 6b ไดแก Bb Eb Ab Db A# E# Gb Cb C# major มี 7# ไดแก F# C# G# D# Cb major มี 7b ไดแกBb Eb Ab Db A# E# B# Gb Cb Fb -1-
  • 2. www.kruharn.com จะแสดงออกมาเปน key signature ดังขางลางนี้ เมื่อรูจักกับเมเจอรสเกลไปแลวตอไปมารูจักกับไมเนอรสเกลบาง โครงสรางของไมเนอรสเกลมี หลักอยูงายๆวา ใหนําตัวทีหกของเมเจอรสเกลมาตั้งเปน Root แลวก็เรียงโนตขึนไปเหมือนเดิม ่ ้ เราเรียกวา Relative ยกตัวอยางในคีย C major ซึ่งมีโนตตัว A เปนตัวที่หกของสเกล เราก็เอา A มาตั้งเปนตัวแรก แลวก็นาโนตที่เหลือในสเกลมาเรียงตอกันไปจนกลับไปที่ A อีกครั้ง ดังนี้ ํ A--B-C--D--E-F--G--A เราก็จะได A natural minor scale (คือไมเนอรสเกลทีไมมีเครื่องหมาย # หรือ b) มาอยาง ่ งายดาย จะเห็นไดวาโนตในคีย A minor และ C major นั้นเหมือนกันทุกตัว เพียงแต Root ตางกัน เรามาดูไมเนอรสเกลในคียอื่นๆกันบาง  Em มี 1# ไดแก F# Dm มี 1b ไดแก Bb Bm มี 2# ไดแก F# C# Gm มี 2b ไดแก Bb Eb F#m มี 3# ไดแก F# C# G# Cm มี 3b ไดแก Bb Eb Ab C#m มี 4# ไดแก F# C# G# D# Fm มี 4b ไดแก Bb Eb Ab Db G#m มี 5# ไดแก F# C# G# D# Bbm มี 5b ไดแก Bb Eb Ab Db A# Gb D#m มี 6# ไดแก F# C# G# D# Ebm มี 6b ไดแก Bb Eb Ab Db -2-
  • 3. www.kruharn.com A# E# Gb Cb A#m มี 7# ไดแก F# C# G# D# Abm มี 7b ไดแก Bb Eb Ab Db A# E# B# Gb Cb Fb ใช key signature แบบเดียวกับเมเจอรสเกล Chapter 2 ขั้นคูหรือ Interval ขั้นคูกหมายถึงโนตในแนวตังสองแนวประสาน จะมีประเภทของมันเอง อาจเปนเมเจอรหรือไม ็ ้ เนอร ก็ได เชน แถวบนเปนขันคูท่อยูภายใน C major scale สวนแถวลางก็เปนขั้นคูที่อยูภายใน C minor scale ้ ี -3-
  • 4. www.kruharn.com คูที่หนึ่งเราเรียกวา unison เปนการเลนเสียงซอนกันเปนโนตเดียว คูที่สองเราเรียกวา major 2nd คูที่สาม โนต C-Eb เรียกวา minor 3rd สวนโนต C-E เรียกวา major 3rd คูที่สี่และคูที่หาเหมือนกันทั้งสองสเกล เราเรียกวา Perfect 4th และ perfect 5th  คูที่หก โนต C-Ab เรียกวา minor 6th สวนโนต C-A เรียกวา major 6th คูที่เจ็ด โนต C-Bb เรียกวา minor 7th สวน C-B เรียกวา major 7th คูที่แปดเหมือนกันทั้งสองสเกล เราเรียกวา Perfect 8th หรือ octave ขั้นคูเหลานี้เปนขั้นคูที่อยูในออคเตฟเดียวกัน เราเรียกขันคูแบบนีวา Simple Interval ถาหาก ้ ้ เปนขั้นคูที่อยูคนละออคเตฟจะเรียกวา Compound Interval  ขั้นคูมีการเพิมหรือลดไดดวย ถาหากคุณเห็นเขาเขียนโนต C-Ebb อยางนี้ ไมไดแปลวาเปนคู ่ สองแบบ C-D นะครับ มันยังคงเปนคูสามอยู สังเกตดูแผนภูมของขั้นคูตอไปนี้ ิ Diminished<Minor<Major<Augmented ถาหากลดลงมาจากไมเนอรก็ตองเปนดิมินิชครับ ดังนั้น C-Ebb คือคูสามดิมินช และในทํานอง ิ เดียวกัน ในกรณีที่เปนคูสี่เปอรเฟค หรือคูหาเปอรเฟค ถา b ลงไป ก็จะเรียกวาดิมินช แตถา # ิ  ขึ้นมาจะเรียกวา ออกเมนเต็ด C-Gb=Diminished 5th, C-G#=Augmented 5th Chapter 3 คอรดคืออะไร คอรดก็คอโนตแนวประสานตั้งแตสามแนวขึ้นไป ถูกเปลงเสียงออกมาพรอมๆกัน เกิดเปนเสียง ื ที่ผสมผสานกันนั่นแหละเรียกวาคอรด และคอรดสรางขึ้นมาจากไหน คําตอบก็คือสรางขึ้นมา จากสเกลนั่นเอง เมื่อเราเรียนรูสเกลและขันคูไปแลว เราก็คงจะเขาใจเรื่องคอรดไดไมยากนัก ้ ขอเริ่มที่ Triad chord ไทรแอดก็แปลวาสาม ไตรแอดคอรดจึงหมายความวาคอรดที่มีสามเสียง คอรดนั้นอาจมีสี่เสียง หาเสียง หกเสียงไปจนกระทั่งเจ็ดเสียง ตัวอยางไตรแอดคอรด -4-
  • 5. www.kruharn.com นี่คือคอรดที่อยูใน C major scale เราสรางคอรดในลักษณะตัวขามตัว อยางเชน C-E-G หรือ D-F-A หรือคิดเปนโครงสราง 1-3-5 ก็ไดครับ โดยนับ Root ของ chord เปนตัวที่ 1 เสมอ (Root หมายถึงโนตตัวแรกของคีย หรือ Bass) สรุปตามแผนภาพเราจะไดคอรดของเมเจอรสเกลดังนี้ I maj - II min - III min - IV maj - V maj - VI min - VII minb5 หรือ dim นั่นเอง เขียนเปนโครงสรางคอรดดังนี้ C maj 1-3-5 D min 1-b3-5 E min 1-b3-5 F maj 1-3-5 G maj 1-3-5 A min 1-b3-5 B dim 1-b3-b5 b3 ในที่นี้หมายถึงขั้นคูสามไมเนอร ดวยเหตุทวาขั้นคูไมเนอรชวงเสียงแคบกวาเมเจอร 1 semi ี่ tone เราจึงเขียนอยูในรูป b3 หรือ b6 หรือ b7 (หมายเลขของโนตที่มี b หรือ # คือโนตประจํา ลิ่มสีดาบนคียบอรดเปยโนหรือออรแกนนั่นเอง) ํ  ตอไปเปนคอรดทางไมเนอร กอนอื่นตองเรียนรูเพิ่มเติมเรื่องไมเนอรสเกลกอน เนื่องจากเราเพิ่ง รูจักไปเพียงแต Natural minor อันดับถัดไปจะแนะนําใหรูจักกับ Harmonic minor บาง ซึ่งก็ คือ การนํา Natural minor มาตั้ง แลว # ตัวที่ 7 แคนี้เราก็ได ฮารโมนิคไมเนอร ดังนี้ A--B-C--D--E-F---G#-A ตอไปเปน Melodic minor ซึ่งยุงยากขึ้นมานิดหนอยสําหรับ เพราะมันมี ascending และ descending ตางกัน ascending คือการไลจากเสียงต่าไปสูง เราจะติด # ใหโนตตัวที่ 6 และ 7 ํ ของ เนเจอรัลไมเนอร สวน descending คือการไลจากเสียงสูงลงมาต่ํา จะกลับมาใชโนตตัวที่ 6 และ 7 ธรรมดาดังเนเจอรัลไมเนอรเดิม A--B-C--D--E--F#--G#-A--G--F-E--D--C-B--A ตอไปนี้เปนคอรดของไมเนอรสเกลทั้งสามประเภท เปรียบเทียบกัน -5-
  • 6. www.kruharn.com Natural I min II dim bIII maj IV min V min bVI maj bVII maj minor Harmonic I min II dim bIII aug IV min V maj bVI maj VII dim minor Melodic I min II min bIII aug IV maj V maj VI dim VII dim minor มีคอรด aug เพิ่มมาใหมที่เรายังไมรูจัก คอรดนี้เขียนโครงสรางเปน 1-3-#5 ครับ คอรด bIII คอรด bVI และคอรด bVII เครื่องหมาย b ที่นําหนาคอรดตรงนี้แสดงใหเห็นวาเปนคอรดที่ Root มีชวงเสียงแคบลงมาจากเมเจอรสเกล 1 semi tone Chapter 4 การวางคอรด Primary chord, Secondary chord การวางคอรดที่ดีจะทําใหเพลงมีความราบรื่นและสวยงาม หรืออาจมีลูกเลนแปลกๆเชน ดึงเสียง ของ Mode อื่นเขามาใชใหเกิดความหลากหลาย หรืออาจจะเปลื่ยนไปคียอื่นซักสองสามคีย  กอนที่จะกลับเขาสูคียเดิมก็ได แตกอนทีจะไปถึงขั้นนัน เรามาทําความรูจักกับ Primary chord ่ ้ และ Secondary chord กันกอน Primary chord ไดแกคอรด I เรียกวา Tonic chord คอรด IV เรียกวา Sub-dominant chord และคอรด V เรียกวา Dominant chord จะยกตัวอยางในคีย C major คอรด I เปน Cmaj ประกอบไปดวยโนต C-E-G สวนคอรด V เปน Gmaj ประกอบไปดวยโนต G-B-D เมื่อนําโนตของทั้งสองคอรดมาเรียงตอกันแลวจะไดโนตดังนี้ C--D--E---G----B-C จะเห็น ไดวายังเหลือโนตอีกสองตัวที่ขาดหายไป และตัวที่ขาดหายไปก็อยูในคอรด IV คือ Fmaj ซึ่ง ประกอบไปดวยโนต F-A-C เมื่อนําโนตในคอรดนี้มารวมดวย ชองวางที่ขาดหายไปก็จะถูกเติม เต็มดังนี้ C--D--E-F--G--A--B-C ดังนั้นคอรดทั้งสามจึงครอบคลุมเมเจอรสเกลเอาไวโดย สมบูรณ -6-
  • 7. www.kruharn.com คราวนี้มาดูความหมายของ Tonic กันบาง โทนิคก็คือตําแหนงที่บงบอกวาเรายืนอยูตรงจุดไหน  เลนเพลงอยูในคียใด โทนิคนี้สามารถเคลื่อนตัวเขาสูตาแหนงใดก็ได เนื่องจากตัวมันมีความนิ่ง  ํ อยูในตัวเอง Dominant ก็คือคอรดสง หมายถึงตําแหนงของคอรดที่มีความเคลื่อนไหวรุนแรง ตองการตัวมา รองรับ ซึ่งตัวรองรับที่วาก็คอโทนิคนั่นเอง การเคลื่อนตัวเขาหา Sub-dominant จะไดเสียงที่ไมดี ื นัก ในยุคเกา (Traditional music) เขาไมใชกัน แตในสมัยนี้กลับใชกันจนเปนเรื่องธรรมดา ดังนั้นถาหากคุณจะใช คอรด V-IV ก็ตามใจคุณ แลวแตวิจารณญาณของใครของมันครับ Sub-dominant เปนตําแหนงที่อยูกลางๆ เปนคอรดที่คอยชวยหรือคอยประคองสองคอรดแรก เพื่อใหเพลงลืนไหลยิ่งขึ้น จะเขาหาโทนิคก็ได เขาหาโดมิแนนทก็ได นั่นก็คือเรื่องราวของ ่ Primary chord Secondary chord เปนคอรดที่เขามาเพิ่มรายละเอียดใหกบบทเพลงมากยิ่งขึ้น โดยจะมี ั function รวมกันกับ Primary chord ซึ่งสามารถใหทดแทนตําแหนงกันได ขอเริ่มจากคอรด II นั่นก็คอ Dmin ื Dmin ประกอบไปดวยโนต D-F-A ซึ่งมีโนตที่เปนตัวรวมกับคอรด F (F-A-C) อยูสองตัว นั่นคือ F และ A ตัวโนตที่เหมือนกันนี้เรียกวา Common note เมื่อมีโนตรวมกันดังนี้ จึงกําหนดคอรด II min ไปรวมบาน Sub-dominant อยูรวมกับคอรด IV คอรด III คือ Emin ซึ่งประกอบไปดวยโนต E-G-B มีคอมมอนโนตรวมกับคอรด I คือ C (C-E-G) ถึงแมวามันจะมีโนตรวมกับคอรด V คือ G (G-B-D) ดวยก็ตาม แตคอรด IIImin ถูกกําหนดให ไปอยูรวมบานกับ โทนิคคอรด มาดูคอรด VI ตอ คอรดนี้ Amin ประกอบไปดวยโนต A-C-E มีคอมมอนโนตรวมกับคอรด C ดังนั้นจึงถูกกําหนดใหอยูกับโทนิคคอรด มาถึงคอรด VII คือ Bdim ซึ่งประกอบไปดวย B-D-F มีคอมมอนโนตรวมกันกับ G (G-B-D) จึง ถูกกําหนดใหอยูรวมกับ Dominant คอรดในฟงชั่นนี้ เปนพวกเคลื่อนตัวรุนแรง จากนี้ไปเราก็ จําแนกคอรดครบทุกคอรดแลว ตามที่แสดงใหดูในตารางดังนี้ Imaj , IIImin , Tonic VImin Sub- dominant IVmaj , IImin Dominant Vmaj , VIIdim (สีดําคือ Primary chord สีแดงคือ Secondary chord) คอรด I ใหความรูสึกจบไดดี ใชคอรด IIImin, VI min เพื่อหลีกเลี่ยงความรูสึกจบได ตัวอยางเชน -7-
  • 8. www.kruharn.com C / F / G / C คอรดชุดนี้ฟงแลวจบเลย เราอาจเปลี่ยนเปน C / F / G / Em เพื่อใหฟงแลวรูสก ึ วา ยังไมจบ ยังมีใหฟงตอ เราสามารถใช Secondary chord แทน Primary chord ได ขอใหอยู ในฟงชั่นเดียวกันเทานั้น ยกตัวอยางใหดูอีกดังนี้ C / F / G / C เปลี่ยนเปน C / Dm / G / C หรือ C / F Dm / G Bdim / C ตัวอยางหลังนี่คอ ื แทรกคอรดใหฟงดูละเอียดขึ้น (เพลงเร็วไมควรใชคอรดละเอียดมาก เพลงชาถึงจะเหมาะ)  ขอกลาวถึงคอรด V และ V7 เสียหนอย เคยสงสัยไหมวา สองคอรดนี้ตางกันตรงไหน เพลงในคีย C บางทีเรา ก็เห็นเขาใช G บางทีเราก็เห็นเขาใช G7 แลวมันแตกตางกันอยางไรหรือ โครงสรางของ V7 คือ 1-3-5-b7 หรือคิดอีกอยางก็คือสรางขึ้นจากคอรด V ของสเกล เพิ่มโนตขึ้นไปอีกตัว จากที่เปนโนตสามเสียงก็จะ กลายเปนคอรดที่มีโนตสี่เสียง การสรางขึ้นจากคอรด V นี่เอง จึงทําใหไดชื่อวาคอรด Dominant 7 ถาเปน คอรด G7 ก็จะมีโนต G-B-D-F โนตตัว F ที่เพิ่มเขามาทําใหเกิดปฏิกิริยาทางขั้นคู B-F นั้นเปน Tri tone หรือ diminished 5th จึงทําใหเกิดความเคลื่อนไหวที่รุนแรงเปนพิเศษ(เดิมทีคอรด V เคลื่อนไหวรุนแรงอยูแลว) ขั้น คูนี้เปนคูเสียงที่ตองการตัวอื่นมารองรับ มิเชนนั้นคนฟงจะเครียดมาก ความรูสึกมันเหมือนกับวา มันตอง เคลื่อนไป เมื่อไรจะไปซะที แลวพอมีเสียงมารองรับมัน เราก็จะรูสึกผอนคลาย เหมือนกับวา เออ... ใหมันได อยางนี้สิ คอยยังชั่ว ผานไปซะทีนะ คอรดที่จะมารองรับ V7 ก็คือคอรดในกลุมของ Tonic นั่นเอง โดยเฉพาะ คอรด I จะฟงดูผอนคลายที่สุด (โนต B ใน G7 เคลื่อนตัวเขาหา C ใน C maj และโนต F ใน G7 เคลื่อนตัว เขาหา E ใน Cmaj) กลาวโดยสรุปก็คือคอรด V7 ใหความรูสึกเคลื่อนไหวไดดีกวาคอรด V นั่นเอง ที่ผานไปก็เปนเมเจอรสเกลนะครับ ที่กาลังจะผานมาก็เปนทีของไมเนอรสเกลบาง ํ Natural I II bIII IV V bVI bVII minor min dim maj min min maj maj Harmonic I II bIII IV V bVI VII minor min dim aug min maj maj dim Melodic I II bIII IV V VI VII minor min min aug maj maj dim dim Primary chord และ Secondary chord ยังคงเหมือนเดิมครับ แตฟงชั่นจะเปลี่ยนไปบาง เล็กนอย เราจะคอยๆดูไปทีละคอรด Imin ไมมีปญหาอะไร ขามไปคอรด V min และ Vmaj เลยดีกวา ในดนตรียุคกอนๆ(Traditional music) เมื่อเขียนเพลงทางไมเนอร เขาจะใชเมโลดิคไมเนอร เขียนทํานอง และใชฮารโมนิคไมเนอรเขียนคอรด คําวา melodic มาจากคําวา melody สวน -8-
  • 9. www.kruharn.com harmonic ก็มาจาก harmony ดนตรี Traditional จะหลีกเลี่ยงการใช Natural minor เพราะมัน ทําใหไดสําเนียงพื้นบาน ดังนั้นการใชคอรด V หรือ V7 จะทําใหคณไดสําเนียงในแบบ Tradition และถาคุณใชคอรด V ุ min ก็จะทําใหคุณไดสําเนียงแบบพื้นบาน ขึ้นอยูกับวาคุณตองการสําเนียงแบบใด คุณก็ใชแบบ นั้น คอรด IVmin และ IVmaj ถาจะใหไดสําเนียงในแบบไมเนอรแลวก็ใช IVmin เถอะครับ ถาเปน คอรด IVmaj มันจะใหสําเนียงแบบ Dorian Mode ซึ่งเราจะพูดถึงเรื่อง Mode ในตอนตอไป คราวนี้ก็มาดูพวก Secondary chord กันบาง เราจะยกตัวอยางในคีย Cminor คอรด IIdim ใน คียนี้คือคอรด Ddim ประกอบไปดวย D-F-Ab มีคอมมอนโนตรวมกับ IVmin ในที่น้คือ Fm (F- ี Ab-C) แตความที่เปนคอรดดิมินิชจึงนํามาใชแทนคอรด IVmin ไมดนัก เนื่องจากดิมินชเปน ี ิ คอรดที่มีความเคลื่อนไหวคอนขางมาก ดังนั้นคนสวนใหญจะแกปญหานี้โดยเพิ่มโนตมันเขาไปอีกตัว จากคอรดสามเสียงเปนคอรดสี่ เสียง เราจะไดคอรด IImin7(b5) ในที่นี่เราจะไดคอรด Dm7(b5) ประกอบไปดวยโนต D-F-Ab-C จะเห็นไดวา F-Ab-C นี่มันคอรด Fm ดีๆนี่เอง เพียงแตเพิ่ม D ลงไปใหเปน Root ของคอรดเทา นั้นเอง บางทีแทนที่คุณจะเขียนคอรด Dm7(b5) คุณอาจจะเขียนเปน Fm6/D แทนนาจะดีกวา ดวยซ้ํา เพราะวานักดนตรีหัดใหมจะไมรูจักคอรด Dm7(b5) เขาอาจจะเลนเปน Dm7 หรือไมก็ Dm ซึ่งสองคอรดนั้นไมมีโนต Ab หรือ b5 ที่เราตองการ แตถาเขียน Fm/D เขาอาจจะเลนแค Fm ก็ไมเปนไร เพราะโนตตัว Ab ยังอยู แมจะไมไดเลน Root แตผูเลนในตําแหนงเบสก็เลนให เราอยูแลว IImin ไมนิยมใชกัน คือถาหากไมรับกับ melody จริงๆก็ไมมีความจําเปนตองใช คอรดกับ ทํานองตองสัมพันธกัน นั่นคือหลักการ คอรด bVImaj VIdim ใชเปน Sub-dominant แตในบางครั้ง bVImaj อาจนํามาใชแทนคอรด I ดวยก็ได ใชในชวงกอนจะจบเพลงก็ได สวนคอรด VIdim ก็เหมือนกับ IIdim เราจะใชเปน VImin7(b5) มากกวา แลวก็ใชกับเมโลดิคไมเนอร เพราะโนตจะรองรับกันได คอรด bVII ก็ใชเปน Sub-dominant มักจะใชกับ Natural minor บางทีใชเปนรูปคอรด bVII7 (dominant7) สวนVIIdim ใชเปน Dominant สามารถใชแทนคอรด V7 ได แตวา VIIdim นี้อาจ ทําใหเราสับสนกับคียเมเจอร ดังนั้นจึงแกปญหาโดยเพิ่มโนตเขาไปอีกตัว ใหกลายเปน VIIdim7 จะทําใหเราไดสําเนียงทางไมเนอรมากกวา Diminished7 มีโครงสรางคอรดเปน 1-b3-b5-bb7 ขอควรระวัง อยาสับสนระหวางคู 7 ไมเนอร กับคู 7 ดิมินิช พึงระลึกไวเสมอวา ดิมินิชมี ชวงเสียงแคบกวาไมเนอร นี่เปนเหตุผลที่เราใชสัญลักษณ bb คอรด bIIImaj และ bIIIaug นิยมใช bIIImaj มากกวา เพราะคอรดเมเจอรนิ่งกวาออคเมนเตด นํามาใชแทนคอรด Imin แตกมีขอควรระวัง ถาใชไมดีจะกลายเปนเปลี่ยนคียไปเลย เชนเราเลน ็  คีย C minor อยูดีๆ จูๆก็กลายเปนคีย Eb major ไปโดยไมรูตัว เพราะอยางที่กลาวไปตั้งแต ตอนตนวา ไมเนอรและเมเจอรมันมี Relation กันอยู -9-
  • 10. www.kruharn.com สวน bIIIaug เราใชเปรียบเสมือนกับคอรด V ของคอรดถัดไป เชน Eb aug / Ab / G7 / Cm จากตัวอยางนีเราสมมติให Ab เปน I แลว Eb aug เปนคอรด V ของ Ab แตจริงๆแลว Ab มันก็ ้ คือคอรด bVI ของ Cm นั่นแหละ ความที่เปนคอรดออคเมนเตด มันจึงมีความหวั่นไหว ไมนิ่ง เราจึงใชมันเปนทางผานเขาสูคอรดที่มีความนิ่งในลําดับถัดไป จากตัวอยาง Ab เปนคอรด major ดังนั้นมันจึงเปนคอรดที่มีความนิ่ง และ Eaug เปนตัวผาน อยาลืมหลักการงายๆที่วา คอรดกับทํานองตองมีความสัมพันธกน ั Chapter 5 Harmonic Overtone Series Harmonic Overtone Series คือเสียงสะทอนที่หูคนเราไมไดยิน แตรับความรูสึกได สมมติวาถา เราดีดเปยโนที่โนต C หูเราไดยินเสียง C ตัวนั้น และไมไดยินอะไรอีกแลวนอกจาก C แตโดย ความเปนจริง เสียงที่เกิดขึนมันมีมากกวาโนตตัว C เพียงตัวเดียว ถึงเราจะไมไดยินแตเราก็รูสก ้ ึ ได การสะทอนของเสียงจะเกิดโนตซอนกันไปเรื่อยๆ แลวแตวาคุณภาพของกลองเสียงวาดีเพียงใด  คุณภาพยิ่งดีเสียงสะทอนก็ยิ่งมีมาก ถาคุณเขาใจถึงคําวากังวาลคุณก็คงพอจะนึกออกวา ความ กังวาลนั้นเกิดขึ้นดวยสาเหตุอันนี้ คราวนี้บางคนอาจสงสัยวา Harmonic Overtone Series มันมีประโยชนอะไรกับการเรียนรูบาง ที่เห็นอยูน่ก็คอ Harmonic Overtone Series ของ Acoustical Root C คือเมื่อเราดีดโนต C จะมี ี ื เสียงตามมาอีกอยางที่เห็น แตเปนเสียงที่หูเราไมไดยิน ในแตละระดับ เราจะเรียกวา Partial ในทางดนตรีมีทั้งหมด 13 Partial โดย Partial 1 ก็คอเสียงที่เราไดยินนั่นเอง หรือจะเรียกอีก ื อยางวา Acoustical Root - 10 -
  • 11. www.kruharn.com ทีนี้เรามาดูที่ Partial 1 - 6 กัน Partial 1 จะเปนโนตตัวต่ําสุดแลวก็ไลขึ้นไปตามลําดับ Partial 1 C Partial 2 C Partial 3 G Partial 4 C Partial 5 E Partial 6 G จะเห็นไดวาทัง 6 Partial มีโนต C ถึง 3 ตัว ที่ซอนกันอยู ทําใหเราไดยินเสียงนี้ชดเจนมาก ถัด  ้ ั มาก็คือ G ซึ่งมีอยู 2 ตัว เราจะรับความรูสึกของเสียงนี้ไดเมื่อเราไดยิน Root เมื่อคุณเลนโนต C  ขึ้นมาตัวเดียว คุณจะรูสึกเหมือนกับวามีคู 5 perfect เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ โนตตัว E มีอยูเพียงแคตวเดียว เราอาจจะรับความรูสกนี้ไดไมชัดนัก แตถาหากเราเลนโนตคู 5 ั ึ perfect (สมมติวาเปน C-G) ความรูสึกเราจะพาไปถึงคู 3 major (E) ทันทีเลยเหมือนกัน อันนี้ เปนเรื่องแปลกแตจริง พอมาถึงตรงนี้คุณสังเกตเห็นอะไรบางมั้ย ผมกําลังคิดถึงคอรดเมเจอร ในคอรด C ประกอบไป ดวยโนต C-E-G ใชมั้ย เปนโนตที่อยูใน Harmonic Overtone เสียงของคอรดนี้จึงฟงสบายเปน ธรรมชาติ ไมขัดหู เพราะไมมีตวเพี้ยนออกไปจาก Harmonic Overtone เลยนั่นเอง ั ดังนั้นคอรดเมเจอรจึงใหอารมณที่ฟงสบาย ราบลื่น เปนธรรมชาติ และมีความมันคง แลวหันมา ่ ดูทางคอรดไมเนอรบาง มีโนตอะไรบาง คอรด Cm มีโนต C-Eb-G คอรดนี้มีตวที่เพี้ยนไปจาก ั Harmonic Overtone จึงทําใหฟงแลวไมสบายหู เสียงที่ b ลงของโนตตัวที่ 3 นั่นก็ทําใหโลกดู มืดมน หมองหมนอยางไรพิกล ภาษาดนตรีเรียกวาเสียง dark คือมันทึบทึม หมองเศรา หดหู นั่นคืออารมณของคอรดไมเนอร นอกจากที่วามีตัวเพี้ยนออกไปจาก Harmonic Overtone แลว มันยังมี Acoustical Root ที่ไม ชัดเจนดวย กลาวคือ เมื่อเราเห็นวาคอรดนี้มีโนตไมตรงกับ Harmonic Overtone Root C เราจึง ลองหา Root ตัวอื่นๆดูวาจะมี Root ตัวใดบางมั้ย ที่โนต C-Eb-G จะลงไปสวมรอยไดลงตัว คําตอบก็คือไมมี มีแตที่ใกลเคียง - 11 -
  • 12. www.kruharn.com นี่เปน Root Ab หาดูก็มีโนต C และ Eb แตก็ไมมีโนตตัว G สวนนี่เปน Root Eb หาดูกมีแตโนต Eb และ G สวน C หาไมเจออีกตามเคย นอกนั้นก็ไมมี ็ ใกลเคียงแลวครับ สรุปไดวา คอรดนี้มี Acoustical Root ที่กํากวม ไมรูจะใช Root ตัวไหนแน จึงถือวาคอรดไม เนอรมี Root อยูสามตัวครับ โดย Root ตัวแรกเปน Root ที่เลนจริง สวนอีกสอง Root เปน Root ที่เรารูสกรับรู แตไมปรากฎออกมาจริงๆ พอจะสรุปอารมณของคอรดไมเนอรไดแลวนะ ึ ครับ เราจะไดพูดถึงคอรดถัดไปเลย คอรด Augmented มาดูโนตใน Caug ประกอบไปดวย C-E-G# มีโนตที่เพียนออกไปจาก ้ Harmonic Overtone 1 ตัว จึงทําใหคอรดนี้ฟงดูไมเปนธรรมชาติ ใหความรูสึกวังเวง วิเวก  พิลึกๆ คอรดนี้ก็มี Root มากกวา 1 ตัวอีกเหมือนกัน สังเกตดูทละคูเสียงกอน คูแรกไดแก C-E ี เปนคู major 3rd คูที่เหลือคือ E-G# ก็เปนคู major 3rd เหมือนกัน ตรงนี้ศัพทเทคนิคเขา เรียกวา Symmetrical คือคอรดที่มีข้นคูประเภทเดียวกันซอนอยู และเมื่อเรานําโนตตัวใดมาตัง ั  ้ เปน Root ก็ตาม เสียงก็จะออกมาเหมือนกันอยูดี C aug C-E-G# E aug E-G#-B#(C) G# aug G#-B#(C)-D##(E) จะเห็นไดวาคอรดนี้ จะนําโนตตัวใดมาตังเปน Root ก็ได เสียงที่ออกมาเหมือนกันหมด และ  ้ Root ที่ปรากฎเหลานี้ก็คือ Root ทั้งหมดของคอรดออคเมนเต็ด เหมือนกรณีเดียวกับคอรดไม เนอร คอรดนี้จึงมี Acoustical Root รวมกัน 3 ตัว - 12 -
  • 13. www.kruharn.com คอรด Diminished ดูกันที่คอรด Cdim ซึ่งมีโนต C-Eb-Gb ดูเผินๆเราอาจจะคิดวา เพี้ยนแหงๆ เพี้ยนออกมาสองตัวเลย แตที่จริงหาเปนเชนนั้นไม เพราะ C-Eb-Gb ไมไดอยูใน Harmonic Overtone ของ Root C เราลองมองหา Harmonic Overtone ของ Root ตัวอื่นๆดู ดูซวาจะมี ิ Acoustical Root ตัวใดบาง ที่โนต C-Eb-Gb ลงไปสวมรอยไดลงตัวพอดี Ab เปนคําตอบ สุดทายครับ และ Ab นั้นเปนคําตอบทีถกตอง จะเห็นไดวา C เปน Partial 5 โนต Eb เปน Partial 6 และ Gb ่ ู เปน Partial 7 ของ Acoustical Root Ab ดังนั้น Root ที่ปรากฎใหเห็นในคอรดดิมินิชจึงไมใช Root จริง สวน Root จริงๆของมันตองนับลงมา 3 major สวน Root ที่ปรากฎใหเห็นเราเรียกวา Apparent Root ดังนั้นคอรดดิมินิชจึงไมมีตัวเพี้ยนออกไป ทําใหเสียงยังคงเปนธรรมชาติ แตมันใหเสียงที่ หวั่นไหว บางเบา เนื่องจากเราเอาคู 3 มาทําเปน Root แนนอนวาการไมปรากฎของ Root ที่ แทจริงนั้น ยอมทําใหเกิดความมั่นคงไปไมได สรุปประเด็นวา เสียงเปนธรรมชาติ Major chord สบาย รื่นหู มีความ มั่นคง อยูกับที่ เสียงไมเปนธรรมชาติ Minor chord ฟงดูโศกเศรา หดหู หมนหมอง มืดมน เสียงไมเปนธรรมชาติ Augmented chord ฟงแลวลึกลับ ฉงน วังเวง เสียงเปนธรรมชาติ ให Diminished chord ความรูสึกหวันไหว ่ เคลื่อนที่ไปขางหนา - 13 -
  • 14. www.kruharn.com Chapter 6 Tension, Extended chord และ Altered chord Tension หมายถึงความตึงเครียด หมายความวาเมื่อเลนโนตตัวใดๆที่เปนโนตนอกคอรด ก็จะ เกิดความตึงเครียดขึ้นและตองการโนตตัวรองรับในตัวถัดไป เพื่อใหเกิดความผอนคลาย และโนตเหลานี้ 7, 9, 11, 13 ก็คอ Tension ซึ่งอาจใชเขียนเปนแนวทํานอง หรืออาจจะเอาเขา ื มาแตงแตมเติมเขาไปในคอรดก็ได ในกรณีที่เลนคอรด Cmaj7(C-E-G-B) แลวเขียนทํานองดวย โนตตัว D ก็จะทําใหเกิด T9 และเมื่อเสียงทั้งสองมารวมกันก็จะฟงเปนเสียงของคอรด Cmaj9 ไปโดยอัตโนมัติ การเขียนเพลงแบบนี้จะทําใหทํานองลอยเดนมาขางหนา แตก็รองยาก ถาหาก ใชเปนคอรด Cmaj9 ไปเลยก็จะชวยใหรองไดงายขึ้น แตแนวทํานองจะไมเดนออกมา เพราะมัน  จะกลมกลืนไปกับเสียงคอรด ตอไปนี้คือ Tension ที่จะนําไปใชรวมกับคอรดตางๆ  T7 , T9 , T#11 ใชรวมกับคอรด Major6 Major7 (แม T7 จะเปนโนตที่อยูใน T7 , T9 , T#11 ใชรวมกับคอรด คอรด แตเราก็นับวาเปนเทนชั่น ดวย) T7 , T9 , T11 ใชรวมกับคอรด Minor6 T9 , T11 ใชรวมกับคอรด Minor7 T9 , T11 , Tb13 ใชรวมกับ Minor7(b5) คอรด Tb9 , T9 , T#9 , T11(sus4) , T#11(Tb5) , Tb13 , T13 ใช Dominant7 รวมกับคอรด T9 , T#11ใชรวมกับคอรด Augmented7 โนตใดๆก็ตามที่อยูเหนือขึ้นไป หนึ่งเสียงของโนตที่อยูในคอรด Diminished7 นี้ ใชเปนเทนชั่นของคอรด T9 , T11 , T13 ใชรวมกับคอรด Dominant7(sus4) ในสวนของคอรด Diminished7 ขอยกตัวอยางคอรด Cdim7 ซึ่งประกอบไปดวยโนต C-Eb-Gb- Bbb โนตที่อยูเหนือขึ้นไปหนึ่งเสียงของโนตในคอรดไดแก D-F-Ab-B ถือเปน Tension แตไมมี ชื่อเฉพาะวาเปนเทนชั่นตัวใด ลองเขียนทํานองแบบใส Tension เขาไปเต็มๆใหดูดังตอไปนี้ - 14 -
  • 15. www.kruharn.com ทํานองนี้กัดหูชะมัด หากเราจะเปลี่ยนคอรด Am7 เปน Am9 ก็ยอมได แตจะทําใหทํานองไม ลอยเดน ดังนั้นก็ขึ้นอยูกับคุณเองวาตองการความกลมกลืนหรือความเดน (contrast) หรือจะ เปลี่ยนคอรด Am7 เปนคอรด C ก็จะไดเสียงแบบ Cmaj7 (C-E-G-B) ไปโดยอัตโนมัติ Extended chord และ Altered chord Extended chord คือคอรดที่ขยายเสียงออกไป จากเดิมที่เปนไตรแอดมีสามเสียง คราวนี้จะ เปนสี่เสียง หาเสียง หกเสียงจนกระทั่งเจ็ดเสียง สวน Altered chord ใชเรียกคอรดทีเราจะติด # ่ หรือ b ลงไปบนโนตที่เปน Tension มาดูโครงสรางของคอรดตางๆกันดีกวา หากคุณอยากจะ # หรือ b Tension ตัวใดของคอรด ก็ขอใหยอนกลับไปดูตารางขางบนวามัน ควรจะใชไดหรือไม มีขอแนะนําวาในคีย Major คอรด Dominant 7(b9) จะเคลื่อนตัวเขาหา Tonic function ไดดี (ถาตองการเสียงที่ smooth มากๆ) สวนในคีย Minor คอรด Dominant 7(#9) เคลื่อนตัวเขาหาคอรด I minor ไดดี และคอรด Augmented7 สามารถใชแทนที่ Dominant7 ไดเหมือนกัน มาถึงตรงนี้คณอาจจะสงสัยขึ้นมาอีกวา แลวคอรดหาเสียงหกเสียงนี่มันจะจับยังไงของมันไหว ุ ถาเปนเปยโนก็ไมมีปญหาอะไรหรอก แลวกีตารละจะเลนยังไงดี คําตอบก็คือ เราสามารถละทิ้งโนตบางตัวออกไปไดครับ (เรียกวา omitted) โดยที่โนตตัวทีตัด ่ ออกไปจะตองไมสงผลใหเสียเอกลักษณของคอรด เชนถาเราตองการโนตตัวที่ 9 เราก็ตัด 9 - 15 -
  • 16. www.kruharn.com ออกไปไมไดแนนอน ตัดโนตตัวที่ 3 ไมไดอยูแลวเพราะตัวนี้จะเปนตัวบอกวาคอรดเปนเมเจอร หรือไมเนอร บางทีเราอาจจะตัด Root ได ในกรณีที่เราเลนอยูในวง และมีคนเบสเลน Root ให อยูแลว และตัวทีตัดไดแนนอนก็คือโนตตัวที่ 5 เพราะเมื่อมี Root เราก็จะรูสกเหมือนมีคู perfect 5th อยู ่ ึ แลว แตอยาไปตัด b5 หรือ #5 เด็ดขาด เพราะนั่นจะทําใหเสียเอกลักษณของคอรดเหลานั้นไป ทันที บางทีเราอาจจะใช 9 แทน 1 ไปเลยก็ได ยกตัวอยาง หากวาคุณตองการเลน Cmaj7 คุณจับแคโนต C-E-B แคนี้ก็พอแลวครับ โนต G ซึ่ง เปน perfect 5th ไมมีความหมายใดๆเลย ไมตองไปเหลียวแลมัน จากนี้ไปคุณก็คงเริ่มมีทางที่ จะฉีกหนีความจําเจเกาๆประเภท C / Am / F / G7 // ไดบางแลว ลองหันมาใชคอรด Cmaj9 / Am6 / Dm9 / G7(13) // ดูบาง แกเซ็งไดเหมือนกัน  แตหนทางการหลีกหนีความจําเจไมไดมีเพียงเทานี้ ยังมีอีก ในบทหนา Chapter 7 Secondary Dominant Chord Secondary Dominant chord คือคอรดที่เราใชตกแตงทางเดินคอรดของเราใหมีความรูสึก เคลื่อนไหวมากขึ้น เพราะ Dominant7 chord เปนคอรดที่มี tri-tone อยูในตัวมัน จึงทําใหฟงดู  ไมอยูกบที่ เคลื่อนตัวไปขางหนา สวน Secondary Dominant จะมีหนาตาอยางไร ดูตวอยาง ั ั ตอไปนี้ C / Am / D7 / G7 / C // จะเห็นไดวาคอรด D7 ไมใชคอรดที่อยูใน C major scale แลวมันมาโผลอยูตรงนี้ไดอยางไร มัน  มาไดก็เพราะเราใชมันเปนคอรด V7 ของ V7 อีกที มันก็เหมือนกับการสงคอรด G7 เขาสูคอรด C นั่นเอง เราสมมติใหคอรด G7 เปนเหมือนกับคอรด I ดังนั้นคอรด D7 จึงเปนคอรด V7 ของ คอรด G7 วิธการวางคอรดแบบนี้จะทําใหเราไดเสียงโนตที่อยูนอกสเกลมาโดยอัตโนมัติ ทําให ี ฟงแลวแปลกออกไป ไมซ้ําซาก จําเจ แถมเทหอีกตางหาก เพลงไทยสมัยนี้กใชกันเยอะ ไมเชื่อ ็ ลองไปฟงดู และนี่แหละที่เราเรียกวา Secondary Dominant Chord นอกจากนี้ Secondary Dominant ยังแบงออกเปน Related Secondary Dominant และ Extended Secondary Dominant มาเริ่มจาก Related Secondary Dominant กันกอน - 16 -
  • 17. www.kruharn.com คอรดนี้เราจะใชอยูในชุด IIm-V-I โดยคอรด I นั้น เปนไดทั้ง major และ minor (คอรด I ในที่น้ี เปนคอรดสมมติ คือไมใชคอรด I ของสเกลจริงๆ) C Gm7 / C7 F / D7 / G7 / C // หากเราจะวิเคราะหคอรดโดยดูจากขางหนาไปเราก็คงจะงงๆ ดังนั้นเราตองดูจากขางหลังมา ขางหนา โดยเริ่มจากหองสุดทาย C เปนคอรด I ทุกคนคงรูดี (ถาไมรูตองกลับไปเริ่มตนใหม) G7 เปนคอรด V7 ของ C คอรด D7 เปน V7 ของ G7 ดังนั้นคอรด D7 ในที่นี้จะเรียกวา V of V ถัดมาเปนคอรด F นั้นเปนคอรด IV คอรด C7 เปน V7 ของ F ดังนั้นคอรด C7 ในที่น้จึงเรียกวา ี V of IV สวนคอรด Gm7 นั่นก็คือคอรด IIm ของคอรด F นั่นเอง ดังนั้น Gm7-C7-F คือ Related Secondary Dominant เราเรียกวา IIminor-V of IV ลองดูตัวอยางทางไมเนอรกันบาง เริ่มจากตัวอยางงายๆกอน C Em / A7 Dm / G7 / C // G7 เปน V7 ของ C คอรด Dm เปน IIminor ปกติ คอรด A7 เปน V7 ของ Dm ดังนั้น A7 คือ V7 of IIminor สวนคอรด Em เปนทั้ง IIIminor ของ C อีกทั้งยังเปน IIminor ของ Dm ดวย คอรดที่ทําหนาที่สองอยางในเวลาเดียวกันอยางนี้เราเรียกวา Dual function ดูอีกซักตัวอยาง เชน Ebm7 / Ebm7 / Gm7(b5) / C7 / Fm7(b5) / Fm7(b5) / F7(b9) / Bb7 / Ebm7 // เชนเคย เราวิเคราะหจากขางหลังมาขางหนา Ebm7 เปนคอรด I คอรด Bb7 เปน V7 ปกติ F7(b9) เปนคอรด V ของ Bb7 นั่นก็คอ V of V คอรดถัดมาเปน Fm7(b5) ก็คอคอรด IIm ปกติ ื ื สวน C7 นั้นเปน V7 ของ IIm (Fm7(b5)) ตรงนี้เรียกวา V of IIm คอรดถัดไปเปน Gm7(b5) ซึ่ง เปนคอรด IIm ของ Fm7(b5) อีกที ตรงนี้ก็คอ Related Secondary Dominant อยูในรูป ื IIminor-V of IIminor มาถึง Extended Secondary Dominant กันบาง คอรดชุดนี้จะอยูในรูป V-V-I (เชนเคย คอรด I เปนคอรดสมมติ ไมใชคอรด I ในสเกลจริงๆ) C / A7 / D7 / G7 / C // G7 เปนคอรด V7 ปกติ คอรด D7 เปน V7 ของ V7(G7) อีกที สวนคอรด A7 เปน V7 ของ D7 ดังนั้น A7 จึงเปน V-V of V7 นอกจากนี้เรายังสามารถขยาย Extended Secondary Dominant ออกไปไดเรื่อยๆ Cmaj7 / C#7 / F#7 / B7 / E7 / A7 / D7 / G7 / C // - 17 -
  • 18. www.kruharn.com บางครั้ง Secondary Dominant ก็จะมีคอรดมาแทรกดังตัวอยางตอไปนี้ C / D7 Dm / G7 / C // คอรด Dm มาคั่นอยูระหวาง D7 กับ G7 แต D7 ก็ยังคงเปน Secondary Dominant ของ G7 อยูนั่นเอง หลักการอีกอยางในการวางคอรดก็คือ คอรด I เคลื่อนตัวเขาหาคอรดใดก็ได เปนอิสระ Chapter 8 Mode Mode คือบันไดเสียงอีกประเภทหนึ่ง มีอยูเจ็ดชนิด ซึ่งเราสรางขึ้นมาไดจาก Major scale อันดับแรกคือ Ionian mode เปนบันไดเสียงที่เหมือน Major scale ทุกประการ จึงไมตอง อธิบายใดๆเพิมเติม ่ Dorian mode สรางขึ้นโดยนําโนตตัวที่ 2 ของ Major scale มาตั้ง แลวก็ไลโนตเรียงลําดับขึ้น ไปตามเดิม ดังที่จะแสดงใหดูดังนี้ Major scale: C - D - E - F - G - A - B -C Dorian mode: D - E - F -G - A - B - C - D สังเกตดูโนตตัวที่ 3 ของ Dorian mode จะเปนคู 3 ไมเนอร (โดยนับขึ้นมาจาก Root นะครับ ใน กรณีนี้คือคู D - F) ดังนั้นโมดนี้จะใหเสียงทางไมเนอร ลองเทียบดูกับ Natural minor เพื่อ เปรียบเทียบความแตกตาง Natural minor scale: D - E - F - G - A - Bb - C - D Dorian mode: D - E - F - G - A - B - C - D เราจะเห็นความแตกตางที่โนตตัวที่ 6 ดังนั้นเราใชสตรสราง Dorian mode อีกสูตรหนึ่งก็ได เปน ู สูตรวา Natural minor #6 การเพิ่ม # ลงไปในบันไดเสียงจะเปนผลทําใหเสียง Bright ขึ้น ตอไปเปน Phrygian mode สรางขึ้นโดยการนําโนตตัวที่ 3 ของ Major scale มาตั้ง แลวก็ไล โนตเรียงลําดับขึ้นไปตามเดิม - 18 -
  • 19. www.kruharn.com Major scale: C - D - E - F - G - A - B -C Phrygian mode: E - F - G - A - B - C - D - E Natural minor scale : E - F# - G - A - B - C - D - E โดยที่คู 3 เปนไมเนอร เราจึงจัดใหโมดนี้เปนบันไดเสียงทางไมเนอร และเมื่อนํามาเปรียบเทียบ กับไมเนอรสเกล เราจะเห็นวา Phrygian mode ก็คือ Natural minor b2 นั่นเอง การเพิ่ม b ลง ไปในบันไดเสียง ทําใหเสียง Dark ลง ถัดไปเปน Lydian mode สรางขึ้นโดยใชตวที่ 4 ของ Major scale มาตั้งแลวไลโนตขึนไป ั ้ ตามลําดับ Major scale: C - D - E - F - G - A - B -C Lydian mode: F - G - A - B - C - D - E - F เมื่อพิจารณาโนตตัวที่ 3 แลวพบวาเปนคู 3 เมเจอร บันไดเสียงนี้จึงเปนบันไดเสียงทางเมเจอร เราเลยตองนํามาเปรียบเทียบกับเมเจอรสเกลดังนี้ครับ Major scale: F - G - A - Bb - C - D - E - F Lydian mode: F - G - A - B - C - D - E - F จะเห็นไดวา Lydian mode ก็คือ Major #4 นั่นเอง เชนเคย การเพิ่ม # ทําใหไดเสียงที่ Bright  ขึ้น แตขณะเดียวกัน #4 จะทําใหเกิด Tritone จาก Root (Tritone คือคูเสียงที่มีชวงหางสาม เสียงพอดี) F - B เทากับ augmented 4th หรือถาเราพลิกกลับเปน B - F ก็จะเทากับ diminished 5th เมื่อเกิด Tritone ขึ้นจาก Root ดังนี้แลว มันจะทําใหเราไมรบรูถึง Tonality ั แปลอีกทีวา เราไมอาจรับรูถึงศูนยกลางของบันไดเสียง เมื่อเพลงบรรเลงมาจบที่ Root เราจะไม รูสึกวามันจบ ซึ่งผิดปกติจากบันไดเสียงชนิดอื่นๆ แต Lydian mode ยังดีที่คอรด I เปนเมเจอร ซึ่งเปนคอรดที่มีความมั่นคง ดังนั้นเรายังพอจะเห็นเพลงที่แตงขึ้นโดยใช Lydian mode ลวนๆ อยูบาง ผิดกับ Locrian mode ซึ่งจะกลาวตอไป Mixo-lydian mode สรางขึ้นจากการนําโนตตัวที่ 5 ของ Major scale มาตั้งแลวเรียงลําดับขึน ้ ไปตามเดิม Major scale: C - D - E - F - G - A - B -C Mixo-lydian mode: G - A - B - C - D - E - F - G Major scale : G - A - B - C - D - E - F# - G - 19 -
  • 20. www.kruharn.com เมื่อพิจารณาดูที่คู 3 ของบันไดเสียง พบวาเปนคู 3 เมเจอร จึงจัดใหบันไดเสียงนี้เปนบันไดเสียง ทางเมเจอร เมื่อเปรียบเทียบกับเมเจอรสเกลในคียเดียวกันแลวจะเห็นวา Mixo-lydian mode ก็ คือ Major b7 นั่นเอง การเพิ่ม b ลงไปทําใหเสียง Dark ลง ตอไปเปน Aeolian mode ซึ่งก็คือ Natural minor scale นั่นแหละครับ ไมมีอะไรแตกตาง จึงไม ตองเขียนถึงเพราะคงรูจักกันดีอยูแลว สุดทายก็คือ Locrian mode สรางขึ้นจากโนตตัวที่ 7 ของ Major scale ดังตอไปนี้ Major scale: C - D - E - F - G - A - B -C Locrian mode: B - C - D - E - F - G - A - B Natural minor: B - C# - D - E - F# - G - A - B เมื่อพิจารณาดูโนตตัวที3 จะเห็นวาเปนคู 3 ไมเนอร จึงจัดใหบันไดเสียงนี้เปนบันไดเสียงทางไม ่ เนอร และเมือนํามาเปรียบเทียบกับไมเนอรสเกลจะสรุปไดวา Locrian mode คือ Natural ่ minor b2 b5 เชนเคยครับ การเพิ่ม b ลงไปในบันไดเสียง ทําใหเสียง Dark ลง แลวนี่เพิ่มขึนตัง้ ้ สองตัวยิ่งไปกันใหญเลย เทานั้นยังไมพอ เมื่อคู 5 เปน b5 ดวยแลว มันก็เหมือนกับกรณีของ Lydian mode คือเกิด Tritone ขึ้นจาก Root จึงทําใหบันไดเสียงนี้ไมมี Tonality แลวคอรด I ยัง เปนไมเนอรเขาไปอีก เราจึงไมพบเห็นเพลงที่แตงดวย Locrian mode ลวนๆ จะพบก็เพียงเปน สวนหนึ่งของบทเพลงเทานัน และนับวาเปนโมดที่เราพบเห็นไดยากยิ่งจริงๆ เทาที่ผมนึกออกก็ ้ มีทอนริฟฟกีตารเพลง Seek and Destroy ของ Metalica ในชุด Kill'em all ใชขึ้นเปน Intro  แลวก็ไหลไปสูบนไดเสียงไมเนอรในทอนถัดไป แคนนแหละ เรียกวาทั้งชีวิตที่เคยฟงเพลงมาก็ ั ั้ พบเพียงแคนจริงๆที่ไดฟงสําเนียงของโมดนี้ ี้ เมื่อไดทําความรูจักกับโครงสรางตางๆของโมดไปแลว ตอไปก็จะเขาประเด็นหลักของ Chord progression นั่นก็คือพูดถึงเรื่องคอรด เรามีวิธีการใชคอรดจากโมดตางๆอยางไร เพื่อไมเปน การเสียเวลาจึงขอตัด Ionian mode กับ Aeolian mode ออกไป เพราะมันก็คอ Major และ ื Minor scale ซึ่งไดกลาวไปหมดแลวในบทกอนๆ และอีกโมดหนึ่งที่จะตัดทิ้งไปก็คือ Locrian mode เนื่องจากเปนโมดที่ไมมีใครนิยมใชและเปนโมดทีหา Tonality ไมเจอ ก็เลยเหลืออยูอีก 4 ่ โมด โดยจะเขียนคอรดใหดูพรอมๆกันดังนี้ - 20 -
  • 21. www.kruharn.com Dorian I II bIII IV V bVII VI dim mode minor minor major major minor major Phrygain I bII bIII IV bVI bVII V dim mode minor major major minor major minor Lydian I II III V VI VII IV dim mode major major minor major minor minor Mixo-lydian I II IV V VI bVII III dim mode major minor major minor minor major กอนอื่นเราตองทําความรูจักกับ Function ของคอรดในแตละโมดเสียกอน เริ่มจาก Dorian mode คอรด I เปนตัว Tonic แนๆอยูแลวในทุกๆโมด แตคอรดอื่นๆเรามีหลักเกณฑในการหา Function ตางไปจากที่เคยเรียนรู คือจะไมยึดเอา I,IV,V เปนหลัก แตจะยึดเอาคอรดใดๆก็ตามที่ มีโนตซึ่งใหเสียงที่เปนเอกลักษณของโมดนั้นๆ อยางใน Dorian mode นี้ เอกลักษณของเสียงก็ คือโนตตัวที่ 6 ดังที่ไดกลาวไปแลววา Dorian mode คือบันไดเสียงทางไมเนอรชนิดหนึ่งแตส่ง ิ ที่ทําใหแตกตางไปจากบันไดเสียงไมเนอรอื่นๆก็คือ โนตที่ #6 ตัวนี้แหละ ดังนั้นเมื่อพิจารณาดู ปรากฎวา มีคอรด IIm และ IV ที่มีโนต #6 ประกอบอยู ก็ใหยึดคอรดนี้วาเปน Dominant ไปซะ ยกตัวอยางในคีย C ดูที่ C Dorian ซึ่งประกอบไปดวยโนต C - D - Eb - F - G - A - Bb - C โนตตัวที่ #6 จาก Natural minor ก็คือ A ซึ่งถือวาเปนเอกลักษณของโมด และโนตตัว A นี้กอยู ็ ในคอรด IIm ในที่นี้คือ Dm(D-F-A) และคอรด IV ในที่นี้คือ F(F-A-C) ดังนั้นสองคอรดนี้จึงเปน Dominant และเรานิยมใชคอรด IV มากกวาเนื่องจากวามันเปนคอรดเมเจอรซึ่งใหเสียงที่มั่นคง กวาคอรดไมเนอร - 21 -
  • 22. www.kruharn.com คอรด bIII มี common note รวมกับคอรด I ดังนั้นจึงใชแทนกันได สวนคอรด VI dim มี common note รวมกับคอรด I เชนกัน แตเพราะความที่เปนดิมินิช จึงไมควรนํามาใชแทนคอรด I เพราะดิมินิชใหเสียงที่ไมมนคงจึงใชเปน Tonic ไมได ั่ สวนคอรดที่เหลือก็จะเปน Sub-dominant ไป Phrygian mode คอรด I เปนตัว Tonic เหมือนเดิม ไมมีอะไรตองสงสัย เอกลักษณของโมดนี้ อยูท่โนต b2 ดังนั้นเราตองหาวามีคอรดใดบางที่มีโนต b2 ประกอบอยู คําตอบก็คอคอรด bII , ี ื Vdim , bVII 3 คอรดนี้ใชเปน Dominant ทั้งหมด คอรดที่อยูในรูปของเมเจอรมักจะไดรับการ พิจารณากอนเสมอ คอรด bIII และ bVI มี common note รวมกันกับคอรด I จึงใชแทนกันได สวนคอรด IVm มี common note รวมกันกับคอรดที่เปน Dominant ดังนั้นมันจึงเปน Dominant ไปดวย แมวาจะ ไมมีโนต b2 อยูในคอรดก็ตาม Lydian mode คอรด I เปน Tonic คอรดที่เปน Dominant ไดแกคอรด II และคอรด VIIm เนื่องจากสองคอรดนี้มีโนต #4 อยู คอรด IIIm และคอรด VIm ใชแทนคอรด I ได เนื่องจากมี common note รวมกัน คอรด V มี common note รวมกันกับคอรด VIIm จึงจัดเปน Dominant ไป สวนคอรด IVdim ไมตองไปสนใจมัน เพราะเปนดิมินิช ทําใหเกิดความรูสึกนอกคีย โมดนี้เปนโมดที่ฟงแลวใหความรูสึกวาจบไมลง ดังนั้นการจบ อาจจะหาคอรดอื่นที่ไมใชคอรด I มาใชเพื่อแกปญหา โดยคอรดที่จะนํามาใชตองมีเสียงทีรองรับ Tritone ได ยกตัวอยางในคีย C  ่ คอรด Dominant ก็คือ D คอรดที่จะมารองรับในตอนจบเพลงอาจใช G หรือ Em ก็ได ดวย หลักการคิดทีวา Lydian mode สรางขึ้นจากโนตตัวที่ 4 ของ Major ดังนั้นโนต C ก็คือโนตตัวที่ ่ 4 ในคีย G major และคอรด D ก็เปนคอรดที่ 5 ของ G major ดังนั้นคอรด D เคลื่อนตัวเขาหา คอรด G จะอยูในรูปของคอรด V เขาหาคอรด I หรือจะเปลี่ยนจาก G major เปน E minor ก็ได เพราะคียทั้งสองเปน relative กันอยู ตัวอยางเพลงที่แตงดวยโมดนี้ก็มีเพลง Jet Song ซึ่งเปนเพลงประกอบภาพยนตรเรื่อง West side story หรือจะเอาแบบที่ไมตองไปขุดใหลึกมากนักก็เพลง Flying In A Blue Dream ของ Joe Satriani Mixo-lydian mode มีคอรด I เปน Tonic เชนเดิม คอรดที่เปน Dominant ไดแกคอรด Vm และ bVII เนื่องจากสองคอรดนี้มีโนตที่เปนเอกลักษณของโมดอยูซึ่งก็คือโนต b7 จาก Major scale นั่นเอง - 22 -
  • 23. www.kruharn.com คอรด VIm ใชแทนคอรด I เพราะมี common note อยูรวมกัน คอรด IV และคอรด IIm ใชเปน Sub-dominant สวนคอรด IIIdim ลืมมันซะ เพราะคอรดนี้จะสรางความสับสนวา "มันจะอยูใน โมดไหนของมันกันแน" ไมมีความชัดเจน จึงตัดออกไป Mode มีอยูสองประเภทคือ Tonal mode และ Modal mode Tonal mode เปนโมดที่รับรูถึง Tonality มีอยูหาโมดดวยกันคือ Ionian mode, Dorian mode,  Phrygian mode, Mixo-lydian mode, Aeolian mode Modal mode เปนโมดที่ไมอาจรับรูถง Tonality ได มีอยูสองโมดคือ Lydian mode, Locrian ึ mode การเลือกโมดในการแตงเพลง ตองดูที่อารมณของเพลงเปนสวนประกอบดวย เราใชเมเจอร สําหรับเพลงที่ใหอารมณสบายๆ ใชไมเนอรสําหรับเพลงเศรา สมมติวาเราตองการเปลี่ยน อารมณเศราใหฟงสดใสขึ้นในบางทอนของบทเพลง เนื่องจากเนื้อหาของเพลงบรรยายมาอยาง นั้น เราก็เปลียนจากไมเนอรเปน Dorian mode ซะ อารมณของเพลงก็จะเปลี่ยนไป ในทอนที่ ่ บรรยายความเศราก็เลนเปนไมเนอร แตพอทอนที่บรรยายความสดใสเราเปลี่ยนมาเลน Dorian mode เทคนิคเชนนี้เราเรียกวาการ Mix mode จําหลักการงายๆไววา เมื่อเพิ่ม # ลงไป เพลงจะฟงสดใสขึ้น เมื่อเพิ่ม b ลงไป เพลงจะฟง ซึมเศราลง Chapter 9 Sub-stitution Chord ใกลจบหลักสูตรแลวสําหรับเรื่อง Chord progression ในบทนี้จะนําเสนอเรื่อง chord sub- stitution หรือภาษาไทยเรียกวาคอรดแทนนั่นเอง คอรดนี้จะอยูในรูปของ Dominant7 สรางขึ้น โดยลดตัวที่ 2 ของเมเจอรสเกลลงมาครึ่งเสียง ใชแทนคอรด V7 หรือใชใน Dominant function นั่นเอง ยกตัวอยางในคีย C major โนตตัวที่ 2 ก็คือ D เมื่อลดลงมาครึ่งเสียงจะเปน Db ใช Db เปน Root ของคอรดแลวสรางใหเปน Dominant เราจะได Db7 มาใชแทนคอรด V7 ซึ่งในคีย C นี้ก็ คือคอรด G7 ดังนั้นเราสรุปไดวาใชคอรด bII7 แทนคอรด V7 - 23 -
  • 24. www.kruharn.com จาก C / Dm / G7 / C // กลายเปน C / Dm / Db7 / C // หรือเราจะเปลียนมาเปน Am6 / Dm9 / Db9 / Cmaj9 // ก็ไมผิดกติกาแตอยางใด ่ เหตุที่สองคอรดนี้แทนกันไดก็เพราะวาทั้งสองคอรดนี้มี Tritone คูเดียวกัน มาดูโนตของทั้งสอง คอรดกันวามีอะไรบาง G7 ประกอบไปดวยโนต G-B-D-F สวนคอรด Db7 ประกอบไปดวยโนต Db-F-Ab-Cb(B) คอรดทั้งสองมีโนต B-F อยูดวยกันทังคู ซึ่งโนตคู B-F ก็คือ Tritone นั่นเอง  ้ เมื่อมี Tritone รวมกันการเคลื่อนตัวของคูเสียงจึงเคลือนตัวไปในทิศทางเดียวกัน คือในกรณีนี้ ่ โนต B เคลื่อนตัวเขาหา C โนต F เคลือนตัวเขาหา E นี่เปนเหตุผลวาทําไม bII7 จึงใชแทน ่ คอรด V7 ได นอกจากเราจะวางคอรดนี้ไวแทนคอรด V7 ตามปรกติแลว เรายังนําไปวางแทน Secondary dominant chord ไดอีกดวยดังตัวอยาง จาก C / D7 / G7 / C // ใชเปน C / Ab7 / G7 / C // ตรงนี้เราใช Ab7 แทน D7 เนื่องจากสอง คอรดนี้มี Tritone คูเดียวกัน หรือคิดอีกอยางคือเราสมมติให G7 เปนคอรด I คอรด bII7 ของ G ก็คอ Ab7 ลองดูตัวอยางอื่นๆดังตอไปนี้ ื C-E7 / A7-Dm7 / G7 / C // เปลี่ยนเปน Cmaj7-Bb7 / A7-Dm7 / Db7 / Cmaj7 // Cmaj7-Bb7 / Eb7-Dm7 / Db7 / Cmaj7 // Cmaj7-E7 / Eb7-Dm7 / Db7 / Cmaj7 // จากตัวอยางเราเปลี่ยนคอรด V7 เปนคอรด bII7 ตัวอยางที่หนึ่ง เปลี่ยน E7 เปน Bb7 ซึ่ง E7 ก็ คือคอรด V ของ A7 ตามที่ไดเรียนรูกันไปแลวในเรืองของ Secondary dominant คิดโดย ่ หลักการงายๆวา สมมติให A7 เปนคอรด I เราจะใชคอรด bII7 ของ A7 แทนคอรด V ซึ่งก็จะได เปนคอรด Bb7 ตัวอยางที่สองเปลี่ยน A7 มาเปน Eb7 ก็ดวยหลักการเดิม คราวนี้ Bb7 กลายเปนคอรด V ของ Eb7 ไปโดยอัตโนมัติ - 24 -