SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 10
Descargar para leer sin conexión
หัวข้อวิจัยด้านเวชสารสนเทศในบริบทของประเทศไทย
                                                                                  นพ.นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์
                                                           คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล


         เวชสารสนเทศ (biomedical and health informatics หรือที่นิยมเรียกกันว่า medical informatics ในอดีต) เป็น
สาขาวิชาที่วาด้วยการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศและระบบสารสนเทศทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนงานต่างๆ
            ่
ด้านชีวการแพทย์ (biomedicine) ตั้งแต่การให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข การกําหนดนโยบายทางสุขภาพและบริหาร
จัดการระบบบริการสุขภาพ การศึกษาเพื่อผลิตบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข การวิจัยทางชีวการแพทย์และสาธารณสุข
ตลอดจนการศึกษาค้นคว้าและดูแลตนเองของผู้รับบริการทางการแพทย์ [1]
           ข้อมูลสารสนเทศ (information) มีอยู่ทุกหนทุกแห่งในงานด้านชีวการแพทย์ [2] ในการให้บริการทางการแพทย์ การซัก
ประวัติ ตรวจร่างกาย ทบทวนประวัติเก่าในเวชระเบียน ตลอดจนการส่งตรวจทางห้องปฏิบติการและรังสีวทยา ล้วนแล้วแต่เป็น
                                                                                    ั             ิ
กระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสารสนเทศ เพื่อประโยชน์ในการตรวจวินิจฉัย รักษา พยากรณ์โรค และให้คําแนะนําแก่ผู้ป่วย
ทั้งสิ้น เช่นเดียวกัน งานเชิงนโยบายและการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพ ก็เป็นงานที่ต้องใช้ข้อมูลสารสนเทศจาก
สถานพยาบาลและจากแหล่งข้อมูลอื่น มาประกอบการพิจารณา แม้ตัวข้อมูลเพื่อการบริหารดังกล่าวจะมีลักษณะที่แตกต่างไปจาก
ข้อมูลเพื่อการบริการทางการแพทย์ไปพอสมควร แต่ก็ถือเป็นข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในขอบเขตของสาขาวิชานี้เช่นกัน นอกจากนี้
การศึกษาและวิจัยทางชีวการแพทย์ก็ใช้ “ข้อมูลสารสนเทศ (information)” ควบคู่ไปกับข้อมูลที่มีการแปรสภาพไปสู่ “ความรู้
(knowledge)” แล้ว เพื่อสร้างความรู้ใหม่ หรือเพื่อถ่ายทอดข้อมูลสารสนเทศและความรู้เหล่านี้ไปยังบุคลากรทางการแพทย์และ
สาธารณสุขที่จะมีบทบาทต่างๆ ในระบบสุขภาพต่อไป
          ด้วยเหตุนี้ สาขาเวชสารสนเทศ จึงเป็นสาขาวิชาที่มความสําคัญยิงต่อสุขภาวะของผู้ป่วย (individual’s health) และ
                                                         ี           ่
ของประชากรของสังคมโดยรวม (population’s health) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน ที่ข้อมูลข่าวสารและองค์ความรูทาง   ้
การแพทย์มปริมาณเพิ่มขึ้นมากอย่างทวีคูณ ในขณะที่ความคาดหวังของผู้รับบริการและมาตรฐานทางวิชาชีพ ตลอดจนความสําคัญ
            ี
ของงานด้านการพัฒนาคุณภาพก็สงขึ้นกว่าในอดีต
                                ู                  ภายใต้บริบทของประเทศไทยที่การขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์และ
ข้อจํากัดด้านงบประมาณ ยังคงเป็นความเป็นจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของระบบสุขภาพของประเทศ ทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศก็มี
ความก้าวหน้าไปมาก และกลายเป็นโอกาสที่รอให้เราหยิบฉวยมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อภารกิจของเรา
        เนื่องจากข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ ความคาดหวัง มาตรฐานทางวิชาชีพ ปัญหาอุปสรรคของระบบสุขภาพ และ
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี รวมทังพฤติกรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงจําเป็นที่จะต้อง
                               ้
มีการพัฒนาองค์ความรูด้านเวชสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เนื่องจากบริบทของสังคมไทย ระบบสุขภาพของไทย และ
                     ้
ทัศนคติและพฤติกรรมของคนไทย มีความแตกต่างจากบริบทของต่างประเทศ [3] การพัฒนาองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับบริบทของ
ประเทศไทย จึงมีความสําคัญเป็นอย่างมากต่อความสําเร็จในการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อ
ประโยชน์ต่อสุขภาวะของผู้ป่วยและประชากรในสังคม อันจะส่งผลดีต่อระบบสุขภาพ และฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของ
ประเทศต่อไป
เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของความพยายามที่จะพัฒนาองค์ความรู้ดานเวชสารสนเทศของประเทศ บทความนี้จึงมีวตถุประสงค์
                                                                    ้                                            ั
เพื่อนําเสนอหัวข้อวิจัยต่างๆ ด้านเวชสารสนเทศ ในบริบทของประเทศไทย ที่ยงคงมีความจําเป็นจะต้องมีการผลิตองค์ความรูหรือ
                                                                              ั                                        ้
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งหวังว่าจะให้แนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อนักวิจัยและผู้ปฏิบัติงานในสาขาเวชสารสนเทศและสาขาอื่นที่
เกี่ยวข้อง รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเร่งผลิตงานวิจัยในหัวข้อที่สําคัญๆ และการพิจารณาให้การสนับสนุนเชิง
นโยบายและทุนวิจยของหน่วยงานและแหล่งทุนต่างๆ เพื่อประโยชน์ของการพัฒนางานด้านเวชสารสนเทศและการพัฒนาระบบ
                    ั
สุขภาพของประเทศในอนาคต อย่างไรก็ดี คงไม่มบทความใดที่จะสามารถนําเสนอหัวข้อวิจัยทั้งหมดในสาขาวิชาหนึงได้ครบถ้วนใน
                                                 ี                                                           ่
บทความเดียว หัวข้อวิจัยที่นําเสนอในบทความนี้ จึงเป็นเพียงตัวอย่างของโจทย์วิจัยบางส่วนที่ผู้เขียนเห็นว่ามีความสําคัญและยัง
จําเป็นจะต้องมีการทําการวิจัยอย่างต่อเนื่อง แต่มิได้หมายความว่าหัวข้อวิจัยที่ไม่ได้กล่าวถึง จะไม่มความสําคัญหรือไม่ควรได้รับ
                                                                                                  ี
การสนับสนุนแต่อย่างใด
         หัวข้อวิจัยที่จะนําเสนอ จะจัดแบ่งหมวดหมูตามแขนงวิชาของสาขาเวชสารสนเทศที่มความสําคัญและเป็นที่สนใจ
                                                 ่                                ี
สารสนเทศทางคลินก (Clinical Informatics)
               ิ
         แขนงวิชาสารสนเทศทางคลินิก ว่าด้วยการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศและระบบสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการ
ให้บริการทางการแพทย์ (health care delivery) และการดําเนินงานทางคลินิก (clinical operations) ของสถานพยาบาลและ
บุคลากรทางการแพทย์
          หัวข้อวิจัยหนึ่งทีมีความสําคัญมากในแขนงวิชานี้ คือ การวิจัยเพื่อประเมินผลดีและผลเสีย (impacts) ของเทคโนโลยี
                            ่
สารสนเทศทางสุขภาพ (health information technology หรือ health IT) ในด้านต่างๆ ตั้งแต่คณภาพ (quality) ประสิทธิภาพ
                                                                                            ุ
(efficiency) การเข้าถึงบริการ (accessibility) ความเท่าเทียม (equity) หรือมิตอื่นๆ ของการให้บริการทางสุขภาพ หัวข้อวิจัยนี้
                                                                              ิ
เรียกโดยรวมว่า health IT outcome research หรือ health IT evaluation study ซึ่งยังคงมีความสําคัญมากในปัจจุบันเพราะ
จากการทบทวนหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จากงานวิจัยชิ้นต่างๆ (systematic reviews and meta-analyses) [4-24] พบว่า แม้
health IT จะมีประโยชน์ต่อการให้บริการในหลายๆ ด้านในหลายงานวิจัย แต่ประโยชน์ท่เกิดขึ้น ไม่ได้มีทุกกรณีเสมอไป ใน
                                                                                        ี
งานวิจัยจํานวนไม่น้อย ไม่พบว่า health IT ส่งผลดีต่อการให้บริการอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า หลักฐานทาง
วิทยาศาสตร์ของประโยชน์ของ health IT โดยรวม ยังคงสรุปไม่ได้แน่ชัด (inconclusive) และน่าจะมีปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ เช่น
คุณสมบัติของตัวเทคโนโลยีสารสนเทศเอง กระบวนการติดตัง (implementation process) ตลอดจนบริบทระดับบุคคล องค์กร
                                                          ้
และสังคม (individual, organizational, and social contexts) มามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย [15,17] สําหรับในบริบทของประเทศ
ไทย ยังคงขาดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ท่จะให้ขอมูลว่า health IT ต่างๆ ส่งผลดีต่อกระบวนการให้บริการหรือไม่ และอย่างไร
                                          ี    ้
บ้าง จึงจําเป็นที่จะต้องมีการทําการศึกษาวิจัยในประเด็นนี้อย่างเร่งด่วน โดยแยกพิจารณาตามชนิดและคุณสมบัติของ health IT
(เช่น electronic health records, computerized physician order entry, clinical decision support systems หรือ
telemedicine) ผลลัพธ์ทางคลินิก (clinical outcomes) ที่เหมาะสม และ clinical settings ต่างๆ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่
เหมาะสมกับโจทย์นั้นๆ
         นอกจากนี้ งานวิจัยบางชิ้นจากต่างประเทศ ยังได้ค้นพบความเสี่ยง (risks) หรือผลอันไม่พึงประสงค์ (unintended
consequences) จากการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศทางสุขภาพด้วย [25,26] ซึ่งตอกย้ําถึงความสําคัญทีต้องทําการวิจัยและ
                                                                                                       ่
ประเมินคุณค่าของ health IT มากยิ่งขึ้น ซึ่งรวมถึงการวิจัยที่เน้นศึกษาความเสี่ยงและผลอันไม่พึงประสงค์ของการใช้งาน health
IT โดยตรง โดยเฉพาะในบริบทของประเทศไทย ที่พฤติกรรมการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจได้รับผลกระทบจากความเชื่อ
ทัศนคติ พฤติกรรม รูปแบบการให้บริการ ระบบสุขภาพ และปัจจัยเชิงบริบท (contextual factors) อื่นๆ ที่อาจแตกต่างจาก
บริบทของประเทศอื่นๆ ได้ เพื่อให้เราสามารถวางแผนป้องกันและแก้ไขผลกระทบจากความเสี่ยงเหล่านี้อย่างเหมาะสมต่อไป
        งานวิจัยทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข (economic analysis) ที่ทําการวิเคราะห์และประเมินความคุมค่าของเทคโนโลยี
                                                                                                 ้
สารสนเทศทางสุขภาพ ทั้งในระดับบุคคล องค์กร และสังคม ในบริบทของระบบสุขภาพของประเทศไทย ก็มความสําคัญมากต่อ
                                                                                               ี
การวางแผนและกําหนดนโยบายเพื่อสนับสนุนการใช้งาน และยังคงมีความจําเป็นทีจะต้องมีการทําวิจัยในด้านนี้ ตัวอย่างงานวิจัย
                                                                      ่
และข้อถกเถียงทางวิชาการในลักษณะนี้ เช่น [27-35]
           นอกจากการพิจารณาผลดีและผลเสียจากการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศทางสุขภาพแล้ว หัวข้อวิจัยที่มีความสําคัญอีก
หัวข้อหนึ่ง ให้ความสําคัญกับ “การใช้งาน” เทคโนโลยีสารสนเทศทางสุขภาพ (health IT adoption and use) โดยตรง เพื่อ
ศึกษาว่า การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศทางสุขภาพในระดับบุคคล องค์กร หรือสังคม มีระดับการใช้งานมากน้อยเพียงใด (state
of adoption) มีช่องว่างของการใช้งาน (adoption gaps) ในส่วนใดบ้าง และมีปัจจัยใดทีมส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้งาน
                                                                                             ่ี
(adoption factors) ซึ่งงานวิจัยในลักษณะนี้ เรียกโดยรวมว่า health IT adoption research ผู้เขียนได้ทบทวนแนวทางงานวิจัย
ในลักษณะนี้ไว้แล้วใน [36] สําหรับงานวิจัยด้าน health IT adoption studies ในประเทศไทย ได้แก่ [37-41] ซึ่งแม้จะมีงานวิจัย
ในหัวข้อวิจัยนี้แล้วในประเทศไทย แต่ก็ยังมีความจําเป็นที่จะต้องคอยติดตามและทําการวิจัยอย่างต่อเนื่อง ดังเช่นที่ได้ทํากันใน
ต่างประเทศ [42,43] เพื่อติดตามความคืบหน้าและพิจารณากําหนดนโยบายเพื่อสนับสนุนต่อไป
          นอกจากนี้แล้ว      ความจําเป็นและบริบทที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศและการใช้งานเทคโนโลยี
สารสนเทศ ก็มีความแตกต่างกันไปในแต่ละวิชาชีพ จึงจําเป็นจะต้องมีงานวิจัยที่เน้นตอบโจทย์และความจําเป็นของวิชาชีพนั้นๆ
ด้วย เช่น งานวิจัยเกี่ยวกับทัศนคติและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาระบบสารสนเทศ
มาตรฐานข้อมูล หรือการนําข้อมูลสารสนเทศไปใช้งาน ของพยาบาล (ถือเป็นหัวข้อวิจัยในแขนงวิชาสารสนเทศทางการพยาบาล
หรือ nursing informatics) ทันตแพทย์ (ถือเป็นหัวข้อวิจัยในแขนงวิชาทันตสารสนเทศหรือ dental informatics) เภสัชกร (เป็น
ส่วนหนึ่งของแขนงวิชาเภสัชสารสนเทศหรือ pharmacoinformatics) รังสีแพทย์และนักรังสีเทคนิค (เป็นส่วนหนึ่งของแขนงวิชา
สารสนเทศทางรังสีวิทยาและภาพทางการแพทย์ (radiology and imaging informatics) พยาธิแพทย์ (pathology
informatics) และเวชปฏิบัติปฐมภูมิ (primary care informatics) เป็นต้น
สารสนเทศทางสาธารณสุข (Public Health Informatics)
          แขนงวิชาสารสนเทศทางสาธารณสุข ให้ความสําคัญกับการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศและการใช้งานเทคโนโลยี
สารสนเทศเพื่อการกําหนดนโยบายและบริหารงานด้านสาธารณสุข ตลอดจนการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบสาธารณสุขหรือ
การวิจยทางระบาดวิทยา ในสหรัฐอเมริกา ได้มีการเสนอ “วาระแห่งชาติ” ด้านสารสนเทศทางสาธารณสุข [44] ซึ่งถือเป็นกรอบ
      ั
แนวคิดที่น่าจะเป็นประโยชน์ในการทําวิจัยในหัวข้อนี้ในประเทศไทยได้ ตัวอย่างหัวข้อวิจัยในแขนงวิชานี้ เช่น
            การวิจัยเกี่ยวกับโครงสร้างสถาปัตยกรรม (architecture) การออกแบบ พัฒนา ใช้งาน และประเมินผลระบบทะเบียน
             ผู้ป่วยเฉพาะโรค (disease registry) ระบบที่ตดตามแบบแผนทางชีวภาพและระบาดวิทยา (biosurveillance) การ
                                                         ิ
             รายงานทางสาธารณสุข (public health reporting) หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางสุขภาพ (health information
             exchange)
   การวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับระบบสาธารณสุขบางระบบโดยเฉพาะ เช่น สารสนเทศการแพทย์
             ฉุกเฉินและการบริหารจัดการภัยพิบัติ (emergency and disaster informatics) เป็นต้น หรือการใช้งานเทคโนโลยี
             สารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการระบบสาธารณสุขและการให้บริการทางการแพทย์ (eHealth)
            การวิจัยทางระบาดวิทยา (epidemiologic research) หรือการวิจยเกี่ยวกับระบบสาธารณสุข (health systems
                                                                            ั
             research) ที่เน้นเกี่ยวกับระบบสารสนเทศหรือข้อมูลสารสนเทศโดยเฉพาะ
สารสนเทศผู้รับบริการทางสุขภาพ (Consumer Health Informatics)
            นอกจากหัวข้อวิจัยที่ตอบโจทย์ของแขนงวิชาต่างๆ ในสาขาเวชสารสนเทศที่เน้นหนักที่การให้บริการของบุคลากรทาง
การแพทย์และการบริหารจัดการระบบสาธารณสุขแล้ว อีกหนึ่งแขนงวิชาที่เป็นที่สนใจและมีความสําคัญต่อสุขภาพของผู้ป่วยและ
สังคมโดยรวม คือ สารสนเทศผู้รับบริการสุขภาพ ซึ่งเน้นที่การบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศและการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
โดยผู้รบบริการทางสุขภาพเอง ซึ่งมีความสําคัญมากขึ้นในโลกยุคปัจจุบันที่ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศได้ง่ายขึ้น
       ั
และมีความพยายามที่จะยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางมากขึ้น ประกอบกับความเป็นจริงที่วา พฤติกรรมของผู้ป่วยเอง มีความสําคัญไม่
                                                                                 ่
แพ้การตรวจรักษาโดยบุคลากรทางการแพทย์ ในหลายๆ โรค โดยเฉพาะโรคเรื้อรังต่างๆ นอกจากนี้ การเปิดให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึง
และบริหารจัดการข้อมูลทางสุขภาพของตนได้นน ยังสามารถช่วยส่งเสริมความต่อเนื่องในการรักษาพยาบาล (continuity of
                                              ั้
care) เมื่อมีการส่งต่อหรือเปลี่ยนผู้ให้บริการ และการรักษาพยาบาลในกรณีฉุกเฉินที่ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยในสถานพยาบาลมีอยู่
จํากัดได้อกด้วย หัวข้อวิจัยในแขนงวิชานี้ เช่น
          ี
            การวิจัยเกี่ยวกับความเชื่อ ทัศนคติ พฤติกรรม ความพร้อม การเข้าถึง และการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูล
             สารสนเทศทางสุขภาพของผู้รับบริการ ตลอดจนปัจจัยส่วนบุคคลที่อาจมีผลต่อการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
            การวิจัยที่มุ่งเน้นการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศทางการแพทย์และสาธารณสุขสําหรับผู้รับบริการโดยเฉพาะ
             เช่น ระบบเวชระเบียนส่วนบุคคล (personal health records หรือ PHRs) การติดตามสุขภาพของผู้ป่วยและการ
             ดูแลตนเองที่บาน (patient monitoring and home care) การสื่อสารระหว่างผู้รับบริการและผู้ให้บริการ (patient-
                              ้
             provider communications) การใช้ social networking tools มาสนับสนุนการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย การ
             ให้บริการทางสุขภาพทางไกล (telemedicine and telehealth) เป็นต้น
            การวิจัยที่ให้ความสําคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศบางอย่างทีมโจทย์และลักษณะการใช้งานโดยเฉพาะเป็นพิเศษ เช่น
                                                                        ่ ี
             การใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่ (mobile devices) เพื่อเข้าถึงข้อมูลทางการแพทย์และสาธารณสุข ไม่ว่าจะโดย
             ผู้รับบริการหรือผู้ให้บริการ ซึ่งนิยมเรียกกันว่า mobile health หรือ mHealth
           การออกแบบ พัฒนา และใช้งาน Personal Health Records (PHRs) เป็นหัวข้อวิจยที่ได้รบความสนใจมากยิ่งขึ้นในช่วง
                                                                                    ั     ั
4-5 ปีที่ผ่านมา มีการตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับแนวทางการนํา PHRs มาใช้งาน และหัวข้อวิจัยสําคัญๆ เกี่ยวกับ PHRs ที่น่าจะให้
แนวคิดในการกําหนดหัวข้อวิจัยในบริบทของประเทศไทยได้ [45,46] แต่เนื่องจากทัศนคติและพฤติกรรมของผู้รับบริการที่น่าจะ
แตกต่างกันไม่นอย การทําวิจัยในบริบทของประเทศไทยยังคงมีความสําคัญเป็นอย่างมาก
               ้
ชีวสารสนเทศ (Bioinformatics)
         แขนงวิชาชีวสารสนเทศ    เป็นอีกหนึ่งแขนงวิชาที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในบรรดาแพทย์และ
นักวิทยาศาสตร์การแพทย์บางสาขา ภายหลังจากโครงการ Human Genome Project และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทาง
ห้องปฏิบัติการ ทําให้เกิดข้อมูลสารสนเทศรูปแบบใหม่ คือ ข้อมูลเกี่ยวกับยีนและจีโนม (genetic and genomic information)
จํานวนมาก ซึ่งจําเป็นจะต้องมีการจัดเก็บ วิเคราะห์ และใช้งานโดยเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เหมาะสม นําไปสู่ความสนใจและ
พัฒนาการในสาขาชีววิทยาเชิงคํานวณ (computational biology) ซึ่งอาศัยหลักการทางคณิตยศาสตร์ สถิติ และสารสนเทศ มา
ช่วยตอบโจทย์ทางชีววิทยา เช่น molecular biology, genomics และ proteomics เป็นต้น
สารสนเทศการวิจัยทางคลินก (Clinical Research Informatics)
                       ิ
            นอกจากนี้ งานด้านการวิจยทางคลินิก (clinical research) ไม่ว่าจะเป็น observational studies (เช่น cohort, case-
                                    ั
control หรือ cross-sectional studies) หรือ experimental studies (เช่น clinical trials และ quasi-experimental
studies) ก็จําเป็นจะต้องมีการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศก็มีความสําคัญในงานวิจัยทางคลินกมาก    ิ
ยิ่งขึ้น เพราะข้อมูลที่จาเป็นสําหรับการทําวิจยที่มมากขึ้น ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในระบบสารสนเทศ (เช่น ระบบสารสนเทศ
                        ํ                    ั ี
โรงพยาบาล) ที่สามารถนํามาวิเคราะห์ในงานวิจัยได้อย่างสะดวกขึ้น องค์ความรู้ทางการแพทย์ที่มมากขึ้นและสามารถเข้าถึงได้
                                                                                              ี
โดยง่าย ตลอดจนพัฒนาการของแขนงวิชานี้ท่ช่วยส่งเสริมให้มความสนใจในการนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์เพื่อการ
                                              ี              ี
วิจยทางคลินิก และเพื่อการเชื่อมโยงระหว่างความรู้ทางการแพทย์จากการวิจัย และการนําไปใช้จริงในเวชปฏิบัติ (translational
    ั
research) มากยิ่งขึ้น บทความทางวิชาการที่นําเสนอปัญหาอุปสรรคและพัฒนาการของแขนงวิชานี้ ซึ่งจะช่วยให้แนวคิดสําหรับ
การทําวิจยในด้านนี้ เช่น [47]
          ั
สารสนเทศเพื่อการศึกษาของบุคลากรทางการแพทย์ (Informatics for Health Professional Education)
          การนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อสนับสนุนงานด้านการศึกษา ซึ่งสามารถเรียกรวมๆ ได้ว่า education informatics
ก็มความสําคัญสําหรับการแพทย์และสาธารณสุข
    ี                                                  ทั้งนี้เนื่องจากคุณภาพของบัณฑิตในสาขาวิชาทางการแพทย์และสาธารณสุข
ย่อมส่งผลต่อการให้บริการและระบบสาธารณสุขโดยรวมของประเทศ ดังนั้น การนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อส่งเสริมการ
เรียนการสอน เช่น การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (computer-assisted instructions หรือ CAIs) การพัฒนาระบบคลังข้อสอบ
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการวัดและประเมินผลทางการศึกษา การนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยจัดการความรู้ (knowledge
management) และเพื่อให้เข้าถึงองค์ความรู้ทางการแพทย์ (information retrieval) ก็มีความสําคัญ และจําเป็นจะต้องมีการทํา
วิจัยในด้านนี้ โดยเฉพาะงานวิจัยที่ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านแพทยศาสตรศึกษา (medical education) บรรณารักษศาสตร์ทาง
การแพทย์ (medical library science) วิทยาการสารสนเทศ (information science) และการจัดการความรู้ (knowledge
management) เป็นต้น
       นอกจากนี้ ยังมีหัวข้อวิจัยด้านเวชสารสนเทศที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับแขนงวิชาใดของเวชสารสนเทศเป็นพิเศษแต่เกี่ยวข้อง
และสามารถนําไปประยุกต์ใช้เพื่อตอบโจทย์ด้านเวชสารสนเทศของแต่ละแขนงวิชาได้ เช่น
            งานวิจัยที่ศึกษากระบวนการออกแบบ วิเคราะห์ พัฒนา ติดตั้งใช้งาน และปรับปรุงระบบสารสนเทศ (systems
             implementation and development research) เพื่อสนับสนุนงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งถือเป็น
             หัวข้อวิจัยที่ดึงองค์ความรู้และแนวทางปฏิบติที่เป็นเลิศ (best practices) ในสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (software
                                                       ั
             engineering) และวิชาการคอมพิวเตอร์ (computer science) มาใช้เพื่อตอบโจทย์ด้านเวชสารสนเทศ
            งานวิจัยที่เน้นเกี่ยวกับตัวบุคคลและองค์กรที่นําเทคโนโลยีสารสนเทศ           ไปใช้งานเพื่อการแพทย์และสาธารณสุข
             ตลอดจนกระบวนการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้อง (เรียกโดยรวมว่า people and organizational issues in
informatics หรือ POI) เช่น การบริหารการเปลี่ยนแปลง (change management) การบริหารโครงการ (project
             management) การออกแบบกระบวนการทํางานและหน้าจอ (workflow and user interface design) การบริหาร
             สารสนเทศในองค์กร (organizational IT management) เป็นต้น ซึ่งมีการบูรณาการผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลาย
             สาขา เช่น จิตวิทยา (psychology), สังคมวิทยา (sociology), มนุษยศาสตร์ (humanities), การจัดการ
             (management/business administration), human factors, usability, human-computer interaction,
             adoption and diffusion of innovations, cognitive science เป็นต้น [48]
            งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางจริยธรรม กฎหมาย และผลกระทบทางสังคมของเวชสารสนเทศ การบริหารจัดการ
             ข้อมูลสารสนเทศและการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการแพทย์และสาธารณสุข (เรียกโดยรวมว่า ethical, legal,
             and social issues in informatics หรือ ELSI) ซึ่งจะต้องมีความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านจริยธรรม (ethics)
             กฎหมาย (law) สังคมวิทยา (sociology) มนุษยศาสตร์ (humanities) การจัดการ (management/business
             administration) และรัฐศาสตร์ (political science) เป็นต้น
            งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจของมนุษย์และการช่วยการตัดสินใจของเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตอบ
             โจทย์ทางการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาประชานศาสตร์หรือวิทยาการปัญญา (cognitive
             science) ศาสตร์ด้านการตัดสินใจ (decision science) วิทยาการสารสนเทศ (information science) จิตวิทยา
             (psychology) และสังคมวิทยา (sociology)
            งานวิจัยด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนบุคคลของข้อมูลสารสนเทศทางสุขภาพ (health information
             security and privacy)
            งานวิจัยด้านการนําเสนอข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบภาพรูปแบบต่างๆ (visualization)
            งานวิจัยด้านการทําแบบจําลองของสถานการณ์จริง (simulation and modeling) เพื่อประโยชน์ด้านการปรับปรุง
             พัฒนากระบวนการทํางาน (operations management) หรือการออกแบบกระบวนการทํางานใหม่ (business
             process reengineering and redesign)
            งานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ พัฒนามาตรฐานของข้อมูลสารสนเทศสุขภาพ (health information
             standards) ซึ่งรวมถึง vocabularies, terminologies, ontologies และมาตรฐานอื่นๆ ตลอดจนการนํามาตรฐาน
             เหล่านี้ไปใช้งานจริงและประเมินความเหมาะสม
            การวิจัยเพื่อสนับสนุนการนําข้อมูลทางการแพทย์และสาธารณสุขมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งรวมถึงหัวข้อวิจัย
             ที่เกี่ยวข้องกับการแทนความรู้ในระบบสารสนเทศ (knowledge representation) การประมวลผลภาษาธรรมชาติ
             (natural language processing) ซึ่งช่วยในการประมวลผลข้อมูลในรูปแบบ text เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์หรือ
             ใช้งานอื่นๆ ตลอดจนหัวข้อวิจัยเกี่ยวกับการทําเหมืองข้อมูล (data mining) และการค้นพบความรู้ (knowledge
             discovery) การเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) และปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) เพื่อตอบโจทย์
             ทางการแพทย์และสาธารณสุข เป็นต้น
        จะเห็นได้ว่า โอกาสทางการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเวชสารสนเทศมีมากมาย และผู้เขียนเชื่อว่ายังมีหัวข้อวิจัยอีกมากมายที่
น่าสนใจและไม่ได้มโอกาสกล่าวถึงในบทความนี้ ด้วยเหตุที่งานวิจัยด้านเวชสารสนเทศ มีความเชื่อมโยงกับสาขาวิชาอื่นมากมาย
                 ี
และมีความจําเป็นจะต้องอาศัยความเชี่ยวชาญจากสาขาอื่นๆ        จํานวนมาก     งานวิจัยด้านเวชสารสนเทศที่จะมีประโยชน์ต่อ
ประเทศชาติและสังคมโดยรวม มีอยู่เป็นจํานวนมาก ในโอกาสนี้ ผู้เขียนจึงขอเชิญชวนท่านที่มีพื้นฐานจากวิชาชีพทางสุขภาพ ทาง
สารสนเทศหรือศาสตร์ทางเทคนิคอื่น (เช่น วิศวกรรมศาสตร์) ทางการศึกษา ทางสังคมศาสตร์ ทางการจัดการ หรือทางอื่นๆ และมี
ความสนใจงานวิจัยเพื่อตอบโจทย์ทางการแพทย์และสาธารณสุข ช่วยกันทํางานวิจยในสาขาเวชสารสนเทศนี้ และขอสนับสนุนให้มี
                                                                          ั
การสนับสนุนส่งเสริมการทําวิจัยในสาขาวิชานี้อย่างจริงจังและเป็นระบบ เนื่องจากเป็นสาขาใหม่ที่ยังต้องมีการพัฒนาองค์ความรู้
อีกมาก แต่เป็นสาขาทีมีศักยภาพในการส่งเสริมสุขภาวะของประชาชนและสังคมสูงมาก
                    ่
หมายเหตุ บางส่วนของบทความนี้ ดัดแปลงมาจากบทความของผู้เขียนที่ปรากฏในรูปแบบบล็อก (Blog) บนอินเทอร์เน็ตก่อนหน้า
นี้ ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2552 (ปรับปรุงแก้ไข 25 สิงหาคม 2552) ที่ http://www.researchers.in.th/blogs/posts/1833

เอกสารอ้างอิง

1. Hersh W. A stimulus to define informatics and health information technology. BMC Med Inform Decis Mak.
    2009;9:24.
2. Shortliffe EH. Biomedical informatics in the education of physicians. JAMA. 2010;304(11):1227-8.
3. Theera-Ampornpunt N. Medical informatics: a look from USA to Thailand. In: Ramathibodi’s Fourth
    Decade: Best Innovation to Daily Practice; 2009 Feb 10-13; Nonthaburi, Thailand [CD-ROM]. Bangkok
    (Thailand): Mahidol University, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital; 2009. 1 CD-ROM: 4 3/4 in.
4. Kaushal R, Shojania KG, Bates DW. Effects of computerized physician order entry and clinical decision
    support systems on medication safety: a systematic review. Arch Intern Med. 2003;163(12):1409-16.
5. Chaudhry B, Wang J, Wu S, Maglione M, Mojica W, Roth E, Morton SC, Shekelle PG. Systematic review:
    impact of health information technology on quality, efficiency, and costs of medical care. Ann Intern Med.
    2006;144(10):742-52.
6. Haynes RB, Walker CJ. Computer-aided quality assurance. A critical appraisal. Arch Intern Med.
    1987;147(7):1297-301.
7. Balas EA, Austin SM, Mitchell JA, Ewigman BG, Bopp KD, Brown GD. The clinical value of computerized
    information services. A review of 98 randomized clinical trials. Arch Fam Med. 1996;5(5):271-8.
8. Johnston ME, Langton KB, Haynes RB, Mathieu A. Effects of computer-based clinical decision support
    systems on clinician performance and patient outcome. A critical appraisal of research. Ann Intern Med.
    1994;120(2):135-42.
9. Hunt DL, Haynes RB, Hanna SE, Smith K. Effects of computer-based clinical decision support systems on
    physician performance and patient outcomes: a systematic review. JAMA. 1998;280(15):1339-46.
10. Austin SM, Balas EA, Mitchell JA, Ewigman BG. Effect of physician reminders on preventive care: meta-
    analysis of randomized clinical trials. Proc Annu Symp Comput Appl Med Care. 1994:121-4.
11. Shea S, DuMouchel W, Bahamonde L. A meta-analysis of 16 randomized controlled trials to evaluate
   computer-based clinical reminder systems for preventive care in the ambulatory setting. J Am Med Inform
   Assoc. 1996;3(6):399-409.
12. Shiffman RN, Liaw Y, Brandt CA, Corb GJ. Computer-based guideline implementation systems: a systematic
   review of functionality and effectiveness. J Am Med Inform Assoc. 1999;6(2):104-14.
13. Shamliyan TA, Duval S, Du J, Kane RL. Just what the doctor ordered. Review of the evidence of the impact
   of computerized physician order entry system on medication errors. Health Serv Res. 2008;43(1 Pt 1):32-
   53.
14. Garg AX, Adhikari NKJ, McDonald H, Rosas-Arellano MP, Devereaux PJ, Beyene J, Sam J, Haynes RB. Effects
   of computerized clinical decision support systems on practitioner performance and patient outcomes: a
   systematic review. JAMA. 2005;293(10):1223-38.
15. Delpierre C, Cuzin L, Fillaux J, Alvarez M, Massip P, Lang T. A systematic review of computer-based patient
   record systems and quality of care: more randomized clinical trials or a broader approach? Int J Qual
   Health Care. 2004;16(5):407-16.
16. Reckmann MH, Westbrook JI, Koh Y, Lo C, Day RO. Does computerized provider order entry reduce
   prescribing errors for hospital inpatients? A systematic review. J Am Med Inform Assoc. 2009;16(5):613-23.
17. van Rosse F, Maat B, Rademaker CM, van Vught AJ, Egberts AC, Bollen CW. The effect of computerized
   physician order entry on medication prescription errors and clinical outcome in pediatric and intensive
   care: a systematic review. Pediatrics. 2009;123(4):1184-90.
18. Hersh WR, Helfand M, Wallace J, Kraemer D, Patterson P, Shapiro S, Greenlick M. Clinical outcomes
   resulting from telemedicine interventions: a systematic review. BMC Med Inform Decis Mak. 2001;1:5.
19. Hersh W, Helfand M, Wallace J, Kraemer D, Patterson P, Shapiro S, Greenlick M. A systematic review of the
   efficacy of telemedicine for making diagnostic and management decisions. J Telemed Telecare.
   2002;8(4):197-209.
20. Hersh WR, Hickam DH, Severance SM, Dana TL, Pyle Krages K, Helfand M. Diagnosis, access and outcomes:
   update of a systematic review of telemedicine services. J Telemed Telecare. 2006;12 Suppl 2:S3-31.
21. Blaya JA, Fraser HS, Holt B. E-health technologies show promise in developing countries. Health Aff
   (Millwood). 2010;29(2):244-51.
22. Goldzweig CL, Towfigh A, Maglione M, Shekelle PG. Costs and benefits of health information technology:
   new trends from the literature. Health Aff (Millwood). 2009;28(2):w282-293.
23. Sintchenko V, Magrabi F, Tipper S. Are we measuring the right end-points? Variables that affect the impact
   of computerised decision support on patient outcomes: a systematic review. Med Inform Internet Med.
   2007;32(3):225-40.
24. Kawamoto K, Houlihan CA, Balas EA, Lobach DF. Improving clinical practice using clinical decision support
   systems: a systematic review of trials to identify features critical to success. BMJ. 2005;330(7494):765.
25. Koppel R, Metlay JP, Cohen A, Abaluck B, Localio AR, Kimmel SE, Strom BL. Role of computerized
   physician order entry systems in facilitating medication errors. JAMA. 2005;293(10):1197-203.
26. Ash JS, Berg M, Coiera E. Some unintended consequences of information technology in health care: the
   nature of patient care information system-related errors. J Am Med Inform Assoc. 2004;11(2):104-12.
27. Parente ST, Dunbar JL. Is health information technology investment related to the financial performance
   of US hospitals? An exploratory analysis. Int J Healthc Technol Manag. 2001;3(1):48-58.
28. Borzekowski R. Measuring the cost impact of hospital information systems: 1987-1994. J Health Econ.
   2009;28(5):939-49.
29. Himmelstein DU, Wright A, Woolhandler S. Hospital computing and the costs and quality of care: a
   national study. Am J Med. 2010;123(1):40-6.
30. Wang SJ, Middleton B, Prosser LA, Bardon CG, Spurr CD, Carchidi PJ, Kittler AF, Goldszer RC, Fairchild DG,
   Sussman AJ, Kuperman GJ, Bates DW. A cost-benefit analysis of electronic medical records in primary care.
   Am J Med. 2003;114(5):397-403.
31. Hillestad R, Bigelow J, Bower A, Girosi F, Meili R, Scoville R, Taylor R. Can electronic medical record
   systems transform health care? Potential health benefits, savings, and costs. Health Aff (Millwood).
   2005;24(5):1103-17.
32. Walker J, Pan E, Johnston D, Adler-Milstein J, Bates DW, Middleton B. The value of health care information
   exchange and interoperability. Health Aff (Millwood). 2005;Suppl Web Exclusives:W5-10-W5-18.
33. Sidorov J. It ain’t necessarily so: the electronic health record and the unlikely prospect of reducing health
   care costs. Health Aff (Millwood). 2006;25(4):1079-85.
34. Himmelstein DU, Woolhandler S. Hope and hype: predicting the impact of electronic medical records.
   Health Aff (Millwood). 2005;24(5):1121-3.
35. Kumar S, Bauer K. The business case for implementing electronic health records in primary care settings in
   the United States. J Revenue Pricing Manag. 2011;10(2):119-31.
36. Theera-Ampornpunt N. Measurement of health information technology adoption: a review of the
   literature and instrument development [master’s Plan B project]. Minneapolis (MN): University of
   Minnesota; 2009. 165 p.
37. กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์, สัญญา ศรีรัตนะ. การสํารวจการใช้ระบบสารสนเทศแบบคอมพิวเตอร์ในโรงพยาบาลในประเทศไทย.
   วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2005;14(5):830-9.
38. Kijsanayotin B, Speedie S. Are health centers in Thailand ready for health information technology? : a
   national survey. AMIA Annu Symp Proc. 2006:424-8.
39. Kijsanayotin B, Pannarunothai S, Speedie S. Penetration and adoption of health information technology (IT)
   in Thailand’s community health centers (CHCs): a national survey. Stud Health Technol Inform.
   2007;129(Pt 2):1154-8.
40. Kijsanayotin B, Pannarunothai S, Speedie SM. Factors influencing health information technology adoption
   in Thailand’s community health centers: applying the UTAUT model. Int J Med Inform. 2009;78(6):404-16.
41. Theera-Ampornpunt N. Thai hospitals’ adoption of information technology: a theory development and
   nationwide survey [dissertation]. Minneapolis (MN): University of Minnesota; 2011. 376 p.
42. Jha AK, DesRoches CM, Campbell EG, Donelan K, Rao SR, Ferris TG, Shields A, Rosenbaum S, Blumenthal
   D. Use of electronic health records in U.S. hospitals. N Engl J Med. 2009;360(16):1628-38.
43. Jha AK, DesRoches CM, Kralovec PD, Joshi MS. A progress report on electronic health records in U.S.
   hospitals. Health Aff (Millwood). 2010;29(10):1951-7.
44. Yasnoff WA, Overhage JM, Humphreys BL, LaVenture M. A national agenda for public health informatics:
   summarized recommendations from the 2001 AMIA Spring Congress. J Am Med Inform Assoc.
   2001;8(6):535–45.
45. Tang PC, Ash JS, Bates DW, Overhage JM, Sands DZ. Personal health records: definitions, benefits, and
   strategies for overcoming barriers to adoption. J Am Med Inform Assoc. 2006;13(2):121-6.
46. Kaelber DC, Jha AK, Johnston D, Middleton B, Bates DW. A research agenda for personal health records
   (PHRs). J Am Med Inform Assoc. 2008;15(6):729-36.
47. Payne PR, Johnson SB, Starren JB, Tilson HH, Dowdy D. Breaking the translational barriers: the value of
   integrating biomedical informatics and translational research. J Investig Med. 2005;53(4):192-200.
48. People and organizational issues | AMIA [Internet]. Bethesda (MD): American Medical Informatics
   Association;    c2012     [cited     2012     Jan       3].   [about    1    screen].       Available   from:
   http://www.amia.org/programs/working-groups/people-and-organizational-issues

Más contenido relacionado

Más de Nawanan Theera-Ampornpunt

Más de Nawanan Theera-Ampornpunt (20)

Health Informatics for Health Service Systems (March 11, 2024)
Health Informatics for Health Service Systems (March 11, 2024)Health Informatics for Health Service Systems (March 11, 2024)
Health Informatics for Health Service Systems (March 11, 2024)
 
Personal Data Protection Act and the Four Subordinate Laws (February 29, 2024)
Personal Data Protection Act and the Four Subordinate Laws (February 29, 2024)Personal Data Protection Act and the Four Subordinate Laws (February 29, 2024)
Personal Data Protection Act and the Four Subordinate Laws (February 29, 2024)
 
Privacy & PDPA Awareness Training for Ramathibodi Residents (October 5, 2023)
Privacy & PDPA Awareness Training for Ramathibodi Residents (October 5, 2023)Privacy & PDPA Awareness Training for Ramathibodi Residents (October 5, 2023)
Privacy & PDPA Awareness Training for Ramathibodi Residents (October 5, 2023)
 
Case Study PDPA Workshop (September 15, 2023)
Case Study PDPA Workshop (September 15, 2023)Case Study PDPA Workshop (September 15, 2023)
Case Study PDPA Workshop (September 15, 2023)
 
Case Studies on Overview of PDPA and its Subordinate Laws (September 15, 2023)
Case Studies on Overview of PDPA and its Subordinate Laws (September 15, 2023)Case Studies on Overview of PDPA and its Subordinate Laws (September 15, 2023)
Case Studies on Overview of PDPA and its Subordinate Laws (September 15, 2023)
 
Ramathibodi Security & Privacy Awareness Training (Fiscal Year 2023)
Ramathibodi Security & Privacy Awareness Training (Fiscal Year 2023)Ramathibodi Security & Privacy Awareness Training (Fiscal Year 2023)
Ramathibodi Security & Privacy Awareness Training (Fiscal Year 2023)
 
Relationship Between Thailand's Official Information Act and Personal Data Pr...
Relationship Between Thailand's Official Information Act and Personal Data Pr...Relationship Between Thailand's Official Information Act and Personal Data Pr...
Relationship Between Thailand's Official Information Act and Personal Data Pr...
 
Social Media - PDPA: Is There A Way Out? (October 19, 2022)
Social Media - PDPA: Is There A Way Out? (October 19, 2022)Social Media - PDPA: Is There A Way Out? (October 19, 2022)
Social Media - PDPA: Is There A Way Out? (October 19, 2022)
 
Do's and Don'ts on PDPA for Doctors (May 31, 2022)
Do's and Don'ts on PDPA for Doctors (May 31, 2022)Do's and Don'ts on PDPA for Doctors (May 31, 2022)
Do's and Don'ts on PDPA for Doctors (May 31, 2022)
 
Telemedicine: A Health Informatician's Point of View
Telemedicine: A Health Informatician's Point of ViewTelemedicine: A Health Informatician's Point of View
Telemedicine: A Health Informatician's Point of View
 
Meeting Management (March 2, 2022)
Meeting Management (March 2, 2022)Meeting Management (March 2, 2022)
Meeting Management (March 2, 2022)
 
การบริหารความเสี่ยงคณะฯ (February 9, 2022)
การบริหารความเสี่ยงคณะฯ (February 9, 2022)การบริหารความเสี่ยงคณะฯ (February 9, 2022)
การบริหารความเสี่ยงคณะฯ (February 9, 2022)
 
จริยธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศทางสุขภาพ (February 8, 2022)
จริยธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศทางสุขภาพ (February 8, 2022)จริยธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศทางสุขภาพ (February 8, 2022)
จริยธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศทางสุขภาพ (February 8, 2022)
 
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) (January 21, 2022)
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) (January 21, 2022)พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) (January 21, 2022)
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) (January 21, 2022)
 
Digital Health Transformation for Health Executives (January 18, 2022)
Digital Health Transformation for Health Executives (January 18, 2022)Digital Health Transformation for Health Executives (January 18, 2022)
Digital Health Transformation for Health Executives (January 18, 2022)
 
Updates on Privacy & Security Laws (November 26, 2021)
Updates on Privacy & Security Laws (November 26, 2021)Updates on Privacy & Security Laws (November 26, 2021)
Updates on Privacy & Security Laws (November 26, 2021)
 
Hospital Informatics (November 26, 2021)
Hospital Informatics (November 26, 2021)Hospital Informatics (November 26, 2021)
Hospital Informatics (November 26, 2021)
 
Health Informatics for Clinical Research (November 25, 2021)
Health Informatics for Clinical Research (November 25, 2021)Health Informatics for Clinical Research (November 25, 2021)
Health Informatics for Clinical Research (November 25, 2021)
 
Research Ethics and Ethics for Health Informaticians (November 15, 2021)
Research Ethics and Ethics for Health Informaticians (November 15, 2021)Research Ethics and Ethics for Health Informaticians (November 15, 2021)
Research Ethics and Ethics for Health Informaticians (November 15, 2021)
 
Consumer Health Informatics, Mobile Health, and Social Media for Health: Part...
Consumer Health Informatics, Mobile Health, and Social Media for Health: Part...Consumer Health Informatics, Mobile Health, and Social Media for Health: Part...
Consumer Health Informatics, Mobile Health, and Social Media for Health: Part...
 

Research Topics for Informatics in the Context of Thailand

  • 1. หัวข้อวิจัยด้านเวชสารสนเทศในบริบทของประเทศไทย นพ.นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เวชสารสนเทศ (biomedical and health informatics หรือที่นิยมเรียกกันว่า medical informatics ในอดีต) เป็น สาขาวิชาที่วาด้วยการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศและระบบสารสนเทศทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนงานต่างๆ ่ ด้านชีวการแพทย์ (biomedicine) ตั้งแต่การให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข การกําหนดนโยบายทางสุขภาพและบริหาร จัดการระบบบริการสุขภาพ การศึกษาเพื่อผลิตบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข การวิจัยทางชีวการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดจนการศึกษาค้นคว้าและดูแลตนเองของผู้รับบริการทางการแพทย์ [1] ข้อมูลสารสนเทศ (information) มีอยู่ทุกหนทุกแห่งในงานด้านชีวการแพทย์ [2] ในการให้บริการทางการแพทย์ การซัก ประวัติ ตรวจร่างกาย ทบทวนประวัติเก่าในเวชระเบียน ตลอดจนการส่งตรวจทางห้องปฏิบติการและรังสีวทยา ล้วนแล้วแต่เป็น ั ิ กระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสารสนเทศ เพื่อประโยชน์ในการตรวจวินิจฉัย รักษา พยากรณ์โรค และให้คําแนะนําแก่ผู้ป่วย ทั้งสิ้น เช่นเดียวกัน งานเชิงนโยบายและการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพ ก็เป็นงานที่ต้องใช้ข้อมูลสารสนเทศจาก สถานพยาบาลและจากแหล่งข้อมูลอื่น มาประกอบการพิจารณา แม้ตัวข้อมูลเพื่อการบริหารดังกล่าวจะมีลักษณะที่แตกต่างไปจาก ข้อมูลเพื่อการบริการทางการแพทย์ไปพอสมควร แต่ก็ถือเป็นข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในขอบเขตของสาขาวิชานี้เช่นกัน นอกจากนี้ การศึกษาและวิจัยทางชีวการแพทย์ก็ใช้ “ข้อมูลสารสนเทศ (information)” ควบคู่ไปกับข้อมูลที่มีการแปรสภาพไปสู่ “ความรู้ (knowledge)” แล้ว เพื่อสร้างความรู้ใหม่ หรือเพื่อถ่ายทอดข้อมูลสารสนเทศและความรู้เหล่านี้ไปยังบุคลากรทางการแพทย์และ สาธารณสุขที่จะมีบทบาทต่างๆ ในระบบสุขภาพต่อไป ด้วยเหตุนี้ สาขาเวชสารสนเทศ จึงเป็นสาขาวิชาที่มความสําคัญยิงต่อสุขภาวะของผู้ป่วย (individual’s health) และ ี ่ ของประชากรของสังคมโดยรวม (population’s health) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน ที่ข้อมูลข่าวสารและองค์ความรูทาง ้ การแพทย์มปริมาณเพิ่มขึ้นมากอย่างทวีคูณ ในขณะที่ความคาดหวังของผู้รับบริการและมาตรฐานทางวิชาชีพ ตลอดจนความสําคัญ ี ของงานด้านการพัฒนาคุณภาพก็สงขึ้นกว่าในอดีต ู ภายใต้บริบทของประเทศไทยที่การขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์และ ข้อจํากัดด้านงบประมาณ ยังคงเป็นความเป็นจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของระบบสุขภาพของประเทศ ทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศก็มี ความก้าวหน้าไปมาก และกลายเป็นโอกาสที่รอให้เราหยิบฉวยมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อภารกิจของเรา เนื่องจากข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ ความคาดหวัง มาตรฐานทางวิชาชีพ ปัญหาอุปสรรคของระบบสุขภาพ และ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี รวมทังพฤติกรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงจําเป็นที่จะต้อง ้ มีการพัฒนาองค์ความรูด้านเวชสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เนื่องจากบริบทของสังคมไทย ระบบสุขภาพของไทย และ ้ ทัศนคติและพฤติกรรมของคนไทย มีความแตกต่างจากบริบทของต่างประเทศ [3] การพัฒนาองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับบริบทของ ประเทศไทย จึงมีความสําคัญเป็นอย่างมากต่อความสําเร็จในการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อ ประโยชน์ต่อสุขภาวะของผู้ป่วยและประชากรในสังคม อันจะส่งผลดีต่อระบบสุขภาพ และฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของ ประเทศต่อไป
  • 2. เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของความพยายามที่จะพัฒนาองค์ความรู้ดานเวชสารสนเทศของประเทศ บทความนี้จึงมีวตถุประสงค์ ้ ั เพื่อนําเสนอหัวข้อวิจัยต่างๆ ด้านเวชสารสนเทศ ในบริบทของประเทศไทย ที่ยงคงมีความจําเป็นจะต้องมีการผลิตองค์ความรูหรือ ั ้ หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งหวังว่าจะให้แนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อนักวิจัยและผู้ปฏิบัติงานในสาขาเวชสารสนเทศและสาขาอื่นที่ เกี่ยวข้อง รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเร่งผลิตงานวิจัยในหัวข้อที่สําคัญๆ และการพิจารณาให้การสนับสนุนเชิง นโยบายและทุนวิจยของหน่วยงานและแหล่งทุนต่างๆ เพื่อประโยชน์ของการพัฒนางานด้านเวชสารสนเทศและการพัฒนาระบบ ั สุขภาพของประเทศในอนาคต อย่างไรก็ดี คงไม่มบทความใดที่จะสามารถนําเสนอหัวข้อวิจัยทั้งหมดในสาขาวิชาหนึงได้ครบถ้วนใน ี ่ บทความเดียว หัวข้อวิจัยที่นําเสนอในบทความนี้ จึงเป็นเพียงตัวอย่างของโจทย์วิจัยบางส่วนที่ผู้เขียนเห็นว่ามีความสําคัญและยัง จําเป็นจะต้องมีการทําการวิจัยอย่างต่อเนื่อง แต่มิได้หมายความว่าหัวข้อวิจัยที่ไม่ได้กล่าวถึง จะไม่มความสําคัญหรือไม่ควรได้รับ ี การสนับสนุนแต่อย่างใด หัวข้อวิจัยที่จะนําเสนอ จะจัดแบ่งหมวดหมูตามแขนงวิชาของสาขาเวชสารสนเทศที่มความสําคัญและเป็นที่สนใจ ่ ี สารสนเทศทางคลินก (Clinical Informatics) ิ แขนงวิชาสารสนเทศทางคลินิก ว่าด้วยการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศและระบบสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการ ให้บริการทางการแพทย์ (health care delivery) และการดําเนินงานทางคลินิก (clinical operations) ของสถานพยาบาลและ บุคลากรทางการแพทย์ หัวข้อวิจัยหนึ่งทีมีความสําคัญมากในแขนงวิชานี้ คือ การวิจัยเพื่อประเมินผลดีและผลเสีย (impacts) ของเทคโนโลยี ่ สารสนเทศทางสุขภาพ (health information technology หรือ health IT) ในด้านต่างๆ ตั้งแต่คณภาพ (quality) ประสิทธิภาพ ุ (efficiency) การเข้าถึงบริการ (accessibility) ความเท่าเทียม (equity) หรือมิตอื่นๆ ของการให้บริการทางสุขภาพ หัวข้อวิจัยนี้ ิ เรียกโดยรวมว่า health IT outcome research หรือ health IT evaluation study ซึ่งยังคงมีความสําคัญมากในปัจจุบันเพราะ จากการทบทวนหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จากงานวิจัยชิ้นต่างๆ (systematic reviews and meta-analyses) [4-24] พบว่า แม้ health IT จะมีประโยชน์ต่อการให้บริการในหลายๆ ด้านในหลายงานวิจัย แต่ประโยชน์ท่เกิดขึ้น ไม่ได้มีทุกกรณีเสมอไป ใน ี งานวิจัยจํานวนไม่น้อย ไม่พบว่า health IT ส่งผลดีต่อการให้บริการอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า หลักฐานทาง วิทยาศาสตร์ของประโยชน์ของ health IT โดยรวม ยังคงสรุปไม่ได้แน่ชัด (inconclusive) และน่าจะมีปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ เช่น คุณสมบัติของตัวเทคโนโลยีสารสนเทศเอง กระบวนการติดตัง (implementation process) ตลอดจนบริบทระดับบุคคล องค์กร ้ และสังคม (individual, organizational, and social contexts) มามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย [15,17] สําหรับในบริบทของประเทศ ไทย ยังคงขาดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ท่จะให้ขอมูลว่า health IT ต่างๆ ส่งผลดีต่อกระบวนการให้บริการหรือไม่ และอย่างไร ี ้ บ้าง จึงจําเป็นที่จะต้องมีการทําการศึกษาวิจัยในประเด็นนี้อย่างเร่งด่วน โดยแยกพิจารณาตามชนิดและคุณสมบัติของ health IT (เช่น electronic health records, computerized physician order entry, clinical decision support systems หรือ telemedicine) ผลลัพธ์ทางคลินิก (clinical outcomes) ที่เหมาะสม และ clinical settings ต่างๆ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่ เหมาะสมกับโจทย์นั้นๆ นอกจากนี้ งานวิจัยบางชิ้นจากต่างประเทศ ยังได้ค้นพบความเสี่ยง (risks) หรือผลอันไม่พึงประสงค์ (unintended consequences) จากการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศทางสุขภาพด้วย [25,26] ซึ่งตอกย้ําถึงความสําคัญทีต้องทําการวิจัยและ ่ ประเมินคุณค่าของ health IT มากยิ่งขึ้น ซึ่งรวมถึงการวิจัยที่เน้นศึกษาความเสี่ยงและผลอันไม่พึงประสงค์ของการใช้งาน health IT โดยตรง โดยเฉพาะในบริบทของประเทศไทย ที่พฤติกรรมการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจได้รับผลกระทบจากความเชื่อ
  • 3. ทัศนคติ พฤติกรรม รูปแบบการให้บริการ ระบบสุขภาพ และปัจจัยเชิงบริบท (contextual factors) อื่นๆ ที่อาจแตกต่างจาก บริบทของประเทศอื่นๆ ได้ เพื่อให้เราสามารถวางแผนป้องกันและแก้ไขผลกระทบจากความเสี่ยงเหล่านี้อย่างเหมาะสมต่อไป งานวิจัยทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข (economic analysis) ที่ทําการวิเคราะห์และประเมินความคุมค่าของเทคโนโลยี ้ สารสนเทศทางสุขภาพ ทั้งในระดับบุคคล องค์กร และสังคม ในบริบทของระบบสุขภาพของประเทศไทย ก็มความสําคัญมากต่อ ี การวางแผนและกําหนดนโยบายเพื่อสนับสนุนการใช้งาน และยังคงมีความจําเป็นทีจะต้องมีการทําวิจัยในด้านนี้ ตัวอย่างงานวิจัย ่ และข้อถกเถียงทางวิชาการในลักษณะนี้ เช่น [27-35] นอกจากการพิจารณาผลดีและผลเสียจากการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศทางสุขภาพแล้ว หัวข้อวิจัยที่มีความสําคัญอีก หัวข้อหนึ่ง ให้ความสําคัญกับ “การใช้งาน” เทคโนโลยีสารสนเทศทางสุขภาพ (health IT adoption and use) โดยตรง เพื่อ ศึกษาว่า การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศทางสุขภาพในระดับบุคคล องค์กร หรือสังคม มีระดับการใช้งานมากน้อยเพียงใด (state of adoption) มีช่องว่างของการใช้งาน (adoption gaps) ในส่วนใดบ้าง และมีปัจจัยใดทีมส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้งาน ่ี (adoption factors) ซึ่งงานวิจัยในลักษณะนี้ เรียกโดยรวมว่า health IT adoption research ผู้เขียนได้ทบทวนแนวทางงานวิจัย ในลักษณะนี้ไว้แล้วใน [36] สําหรับงานวิจัยด้าน health IT adoption studies ในประเทศไทย ได้แก่ [37-41] ซึ่งแม้จะมีงานวิจัย ในหัวข้อวิจัยนี้แล้วในประเทศไทย แต่ก็ยังมีความจําเป็นที่จะต้องคอยติดตามและทําการวิจัยอย่างต่อเนื่อง ดังเช่นที่ได้ทํากันใน ต่างประเทศ [42,43] เพื่อติดตามความคืบหน้าและพิจารณากําหนดนโยบายเพื่อสนับสนุนต่อไป นอกจากนี้แล้ว ความจําเป็นและบริบทที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศและการใช้งานเทคโนโลยี สารสนเทศ ก็มีความแตกต่างกันไปในแต่ละวิชาชีพ จึงจําเป็นจะต้องมีงานวิจัยที่เน้นตอบโจทย์และความจําเป็นของวิชาชีพนั้นๆ ด้วย เช่น งานวิจัยเกี่ยวกับทัศนคติและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาระบบสารสนเทศ มาตรฐานข้อมูล หรือการนําข้อมูลสารสนเทศไปใช้งาน ของพยาบาล (ถือเป็นหัวข้อวิจัยในแขนงวิชาสารสนเทศทางการพยาบาล หรือ nursing informatics) ทันตแพทย์ (ถือเป็นหัวข้อวิจัยในแขนงวิชาทันตสารสนเทศหรือ dental informatics) เภสัชกร (เป็น ส่วนหนึ่งของแขนงวิชาเภสัชสารสนเทศหรือ pharmacoinformatics) รังสีแพทย์และนักรังสีเทคนิค (เป็นส่วนหนึ่งของแขนงวิชา สารสนเทศทางรังสีวิทยาและภาพทางการแพทย์ (radiology and imaging informatics) พยาธิแพทย์ (pathology informatics) และเวชปฏิบัติปฐมภูมิ (primary care informatics) เป็นต้น สารสนเทศทางสาธารณสุข (Public Health Informatics) แขนงวิชาสารสนเทศทางสาธารณสุข ให้ความสําคัญกับการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศและการใช้งานเทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อการกําหนดนโยบายและบริหารงานด้านสาธารณสุข ตลอดจนการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบสาธารณสุขหรือ การวิจยทางระบาดวิทยา ในสหรัฐอเมริกา ได้มีการเสนอ “วาระแห่งชาติ” ด้านสารสนเทศทางสาธารณสุข [44] ซึ่งถือเป็นกรอบ ั แนวคิดที่น่าจะเป็นประโยชน์ในการทําวิจัยในหัวข้อนี้ในประเทศไทยได้ ตัวอย่างหัวข้อวิจัยในแขนงวิชานี้ เช่น  การวิจัยเกี่ยวกับโครงสร้างสถาปัตยกรรม (architecture) การออกแบบ พัฒนา ใช้งาน และประเมินผลระบบทะเบียน ผู้ป่วยเฉพาะโรค (disease registry) ระบบที่ตดตามแบบแผนทางชีวภาพและระบาดวิทยา (biosurveillance) การ ิ รายงานทางสาธารณสุข (public health reporting) หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางสุขภาพ (health information exchange)
  • 4. การวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับระบบสาธารณสุขบางระบบโดยเฉพาะ เช่น สารสนเทศการแพทย์ ฉุกเฉินและการบริหารจัดการภัยพิบัติ (emergency and disaster informatics) เป็นต้น หรือการใช้งานเทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการระบบสาธารณสุขและการให้บริการทางการแพทย์ (eHealth)  การวิจัยทางระบาดวิทยา (epidemiologic research) หรือการวิจยเกี่ยวกับระบบสาธารณสุข (health systems ั research) ที่เน้นเกี่ยวกับระบบสารสนเทศหรือข้อมูลสารสนเทศโดยเฉพาะ สารสนเทศผู้รับบริการทางสุขภาพ (Consumer Health Informatics) นอกจากหัวข้อวิจัยที่ตอบโจทย์ของแขนงวิชาต่างๆ ในสาขาเวชสารสนเทศที่เน้นหนักที่การให้บริการของบุคลากรทาง การแพทย์และการบริหารจัดการระบบสาธารณสุขแล้ว อีกหนึ่งแขนงวิชาที่เป็นที่สนใจและมีความสําคัญต่อสุขภาพของผู้ป่วยและ สังคมโดยรวม คือ สารสนเทศผู้รับบริการสุขภาพ ซึ่งเน้นที่การบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศและการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยผู้รบบริการทางสุขภาพเอง ซึ่งมีความสําคัญมากขึ้นในโลกยุคปัจจุบันที่ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศได้ง่ายขึ้น ั และมีความพยายามที่จะยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางมากขึ้น ประกอบกับความเป็นจริงที่วา พฤติกรรมของผู้ป่วยเอง มีความสําคัญไม่ ่ แพ้การตรวจรักษาโดยบุคลากรทางการแพทย์ ในหลายๆ โรค โดยเฉพาะโรคเรื้อรังต่างๆ นอกจากนี้ การเปิดให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึง และบริหารจัดการข้อมูลทางสุขภาพของตนได้นน ยังสามารถช่วยส่งเสริมความต่อเนื่องในการรักษาพยาบาล (continuity of ั้ care) เมื่อมีการส่งต่อหรือเปลี่ยนผู้ให้บริการ และการรักษาพยาบาลในกรณีฉุกเฉินที่ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยในสถานพยาบาลมีอยู่ จํากัดได้อกด้วย หัวข้อวิจัยในแขนงวิชานี้ เช่น ี  การวิจัยเกี่ยวกับความเชื่อ ทัศนคติ พฤติกรรม ความพร้อม การเข้าถึง และการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูล สารสนเทศทางสุขภาพของผู้รับบริการ ตลอดจนปัจจัยส่วนบุคคลที่อาจมีผลต่อการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ  การวิจัยที่มุ่งเน้นการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศทางการแพทย์และสาธารณสุขสําหรับผู้รับบริการโดยเฉพาะ เช่น ระบบเวชระเบียนส่วนบุคคล (personal health records หรือ PHRs) การติดตามสุขภาพของผู้ป่วยและการ ดูแลตนเองที่บาน (patient monitoring and home care) การสื่อสารระหว่างผู้รับบริการและผู้ให้บริการ (patient- ้ provider communications) การใช้ social networking tools มาสนับสนุนการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย การ ให้บริการทางสุขภาพทางไกล (telemedicine and telehealth) เป็นต้น  การวิจัยที่ให้ความสําคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศบางอย่างทีมโจทย์และลักษณะการใช้งานโดยเฉพาะเป็นพิเศษ เช่น ่ ี การใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่ (mobile devices) เพื่อเข้าถึงข้อมูลทางการแพทย์และสาธารณสุข ไม่ว่าจะโดย ผู้รับบริการหรือผู้ให้บริการ ซึ่งนิยมเรียกกันว่า mobile health หรือ mHealth การออกแบบ พัฒนา และใช้งาน Personal Health Records (PHRs) เป็นหัวข้อวิจยที่ได้รบความสนใจมากยิ่งขึ้นในช่วง ั ั 4-5 ปีที่ผ่านมา มีการตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับแนวทางการนํา PHRs มาใช้งาน และหัวข้อวิจัยสําคัญๆ เกี่ยวกับ PHRs ที่น่าจะให้ แนวคิดในการกําหนดหัวข้อวิจัยในบริบทของประเทศไทยได้ [45,46] แต่เนื่องจากทัศนคติและพฤติกรรมของผู้รับบริการที่น่าจะ แตกต่างกันไม่นอย การทําวิจัยในบริบทของประเทศไทยยังคงมีความสําคัญเป็นอย่างมาก ้ ชีวสารสนเทศ (Bioinformatics) แขนงวิชาชีวสารสนเทศ เป็นอีกหนึ่งแขนงวิชาที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในบรรดาแพทย์และ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์บางสาขา ภายหลังจากโครงการ Human Genome Project และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทาง
  • 5. ห้องปฏิบัติการ ทําให้เกิดข้อมูลสารสนเทศรูปแบบใหม่ คือ ข้อมูลเกี่ยวกับยีนและจีโนม (genetic and genomic information) จํานวนมาก ซึ่งจําเป็นจะต้องมีการจัดเก็บ วิเคราะห์ และใช้งานโดยเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เหมาะสม นําไปสู่ความสนใจและ พัฒนาการในสาขาชีววิทยาเชิงคํานวณ (computational biology) ซึ่งอาศัยหลักการทางคณิตยศาสตร์ สถิติ และสารสนเทศ มา ช่วยตอบโจทย์ทางชีววิทยา เช่น molecular biology, genomics และ proteomics เป็นต้น สารสนเทศการวิจัยทางคลินก (Clinical Research Informatics) ิ นอกจากนี้ งานด้านการวิจยทางคลินิก (clinical research) ไม่ว่าจะเป็น observational studies (เช่น cohort, case- ั control หรือ cross-sectional studies) หรือ experimental studies (เช่น clinical trials และ quasi-experimental studies) ก็จําเป็นจะต้องมีการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศก็มีความสําคัญในงานวิจัยทางคลินกมาก ิ ยิ่งขึ้น เพราะข้อมูลที่จาเป็นสําหรับการทําวิจยที่มมากขึ้น ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในระบบสารสนเทศ (เช่น ระบบสารสนเทศ ํ ั ี โรงพยาบาล) ที่สามารถนํามาวิเคราะห์ในงานวิจัยได้อย่างสะดวกขึ้น องค์ความรู้ทางการแพทย์ที่มมากขึ้นและสามารถเข้าถึงได้ ี โดยง่าย ตลอดจนพัฒนาการของแขนงวิชานี้ท่ช่วยส่งเสริมให้มความสนใจในการนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์เพื่อการ ี ี วิจยทางคลินิก และเพื่อการเชื่อมโยงระหว่างความรู้ทางการแพทย์จากการวิจัย และการนําไปใช้จริงในเวชปฏิบัติ (translational ั research) มากยิ่งขึ้น บทความทางวิชาการที่นําเสนอปัญหาอุปสรรคและพัฒนาการของแขนงวิชานี้ ซึ่งจะช่วยให้แนวคิดสําหรับ การทําวิจยในด้านนี้ เช่น [47] ั สารสนเทศเพื่อการศึกษาของบุคลากรทางการแพทย์ (Informatics for Health Professional Education) การนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อสนับสนุนงานด้านการศึกษา ซึ่งสามารถเรียกรวมๆ ได้ว่า education informatics ก็มความสําคัญสําหรับการแพทย์และสาธารณสุข ี ทั้งนี้เนื่องจากคุณภาพของบัณฑิตในสาขาวิชาทางการแพทย์และสาธารณสุข ย่อมส่งผลต่อการให้บริการและระบบสาธารณสุขโดยรวมของประเทศ ดังนั้น การนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อส่งเสริมการ เรียนการสอน เช่น การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (computer-assisted instructions หรือ CAIs) การพัฒนาระบบคลังข้อสอบ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการวัดและประเมินผลทางการศึกษา การนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยจัดการความรู้ (knowledge management) และเพื่อให้เข้าถึงองค์ความรู้ทางการแพทย์ (information retrieval) ก็มีความสําคัญ และจําเป็นจะต้องมีการทํา วิจัยในด้านนี้ โดยเฉพาะงานวิจัยที่ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านแพทยศาสตรศึกษา (medical education) บรรณารักษศาสตร์ทาง การแพทย์ (medical library science) วิทยาการสารสนเทศ (information science) และการจัดการความรู้ (knowledge management) เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีหัวข้อวิจัยด้านเวชสารสนเทศที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับแขนงวิชาใดของเวชสารสนเทศเป็นพิเศษแต่เกี่ยวข้อง และสามารถนําไปประยุกต์ใช้เพื่อตอบโจทย์ด้านเวชสารสนเทศของแต่ละแขนงวิชาได้ เช่น  งานวิจัยที่ศึกษากระบวนการออกแบบ วิเคราะห์ พัฒนา ติดตั้งใช้งาน และปรับปรุงระบบสารสนเทศ (systems implementation and development research) เพื่อสนับสนุนงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งถือเป็น หัวข้อวิจัยที่ดึงองค์ความรู้และแนวทางปฏิบติที่เป็นเลิศ (best practices) ในสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (software ั engineering) และวิชาการคอมพิวเตอร์ (computer science) มาใช้เพื่อตอบโจทย์ด้านเวชสารสนเทศ  งานวิจัยที่เน้นเกี่ยวกับตัวบุคคลและองค์กรที่นําเทคโนโลยีสารสนเทศ ไปใช้งานเพื่อการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดจนกระบวนการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้อง (เรียกโดยรวมว่า people and organizational issues in
  • 6. informatics หรือ POI) เช่น การบริหารการเปลี่ยนแปลง (change management) การบริหารโครงการ (project management) การออกแบบกระบวนการทํางานและหน้าจอ (workflow and user interface design) การบริหาร สารสนเทศในองค์กร (organizational IT management) เป็นต้น ซึ่งมีการบูรณาการผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลาย สาขา เช่น จิตวิทยา (psychology), สังคมวิทยา (sociology), มนุษยศาสตร์ (humanities), การจัดการ (management/business administration), human factors, usability, human-computer interaction, adoption and diffusion of innovations, cognitive science เป็นต้น [48]  งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางจริยธรรม กฎหมาย และผลกระทบทางสังคมของเวชสารสนเทศ การบริหารจัดการ ข้อมูลสารสนเทศและการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการแพทย์และสาธารณสุข (เรียกโดยรวมว่า ethical, legal, and social issues in informatics หรือ ELSI) ซึ่งจะต้องมีความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านจริยธรรม (ethics) กฎหมาย (law) สังคมวิทยา (sociology) มนุษยศาสตร์ (humanities) การจัดการ (management/business administration) และรัฐศาสตร์ (political science) เป็นต้น  งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจของมนุษย์และการช่วยการตัดสินใจของเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตอบ โจทย์ทางการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาประชานศาสตร์หรือวิทยาการปัญญา (cognitive science) ศาสตร์ด้านการตัดสินใจ (decision science) วิทยาการสารสนเทศ (information science) จิตวิทยา (psychology) และสังคมวิทยา (sociology)  งานวิจัยด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนบุคคลของข้อมูลสารสนเทศทางสุขภาพ (health information security and privacy)  งานวิจัยด้านการนําเสนอข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบภาพรูปแบบต่างๆ (visualization)  งานวิจัยด้านการทําแบบจําลองของสถานการณ์จริง (simulation and modeling) เพื่อประโยชน์ด้านการปรับปรุง พัฒนากระบวนการทํางาน (operations management) หรือการออกแบบกระบวนการทํางานใหม่ (business process reengineering and redesign)  งานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ พัฒนามาตรฐานของข้อมูลสารสนเทศสุขภาพ (health information standards) ซึ่งรวมถึง vocabularies, terminologies, ontologies และมาตรฐานอื่นๆ ตลอดจนการนํามาตรฐาน เหล่านี้ไปใช้งานจริงและประเมินความเหมาะสม  การวิจัยเพื่อสนับสนุนการนําข้อมูลทางการแพทย์และสาธารณสุขมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งรวมถึงหัวข้อวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการแทนความรู้ในระบบสารสนเทศ (knowledge representation) การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language processing) ซึ่งช่วยในการประมวลผลข้อมูลในรูปแบบ text เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์หรือ ใช้งานอื่นๆ ตลอดจนหัวข้อวิจัยเกี่ยวกับการทําเหมืองข้อมูล (data mining) และการค้นพบความรู้ (knowledge discovery) การเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) และปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) เพื่อตอบโจทย์ ทางการแพทย์และสาธารณสุข เป็นต้น จะเห็นได้ว่า โอกาสทางการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเวชสารสนเทศมีมากมาย และผู้เขียนเชื่อว่ายังมีหัวข้อวิจัยอีกมากมายที่ น่าสนใจและไม่ได้มโอกาสกล่าวถึงในบทความนี้ ด้วยเหตุที่งานวิจัยด้านเวชสารสนเทศ มีความเชื่อมโยงกับสาขาวิชาอื่นมากมาย ี และมีความจําเป็นจะต้องอาศัยความเชี่ยวชาญจากสาขาอื่นๆ จํานวนมาก งานวิจัยด้านเวชสารสนเทศที่จะมีประโยชน์ต่อ ประเทศชาติและสังคมโดยรวม มีอยู่เป็นจํานวนมาก ในโอกาสนี้ ผู้เขียนจึงขอเชิญชวนท่านที่มีพื้นฐานจากวิชาชีพทางสุขภาพ ทาง
  • 7. สารสนเทศหรือศาสตร์ทางเทคนิคอื่น (เช่น วิศวกรรมศาสตร์) ทางการศึกษา ทางสังคมศาสตร์ ทางการจัดการ หรือทางอื่นๆ และมี ความสนใจงานวิจัยเพื่อตอบโจทย์ทางการแพทย์และสาธารณสุข ช่วยกันทํางานวิจยในสาขาเวชสารสนเทศนี้ และขอสนับสนุนให้มี ั การสนับสนุนส่งเสริมการทําวิจัยในสาขาวิชานี้อย่างจริงจังและเป็นระบบ เนื่องจากเป็นสาขาใหม่ที่ยังต้องมีการพัฒนาองค์ความรู้ อีกมาก แต่เป็นสาขาทีมีศักยภาพในการส่งเสริมสุขภาวะของประชาชนและสังคมสูงมาก ่ หมายเหตุ บางส่วนของบทความนี้ ดัดแปลงมาจากบทความของผู้เขียนที่ปรากฏในรูปแบบบล็อก (Blog) บนอินเทอร์เน็ตก่อนหน้า นี้ ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2552 (ปรับปรุงแก้ไข 25 สิงหาคม 2552) ที่ http://www.researchers.in.th/blogs/posts/1833 เอกสารอ้างอิง 1. Hersh W. A stimulus to define informatics and health information technology. BMC Med Inform Decis Mak. 2009;9:24. 2. Shortliffe EH. Biomedical informatics in the education of physicians. JAMA. 2010;304(11):1227-8. 3. Theera-Ampornpunt N. Medical informatics: a look from USA to Thailand. In: Ramathibodi’s Fourth Decade: Best Innovation to Daily Practice; 2009 Feb 10-13; Nonthaburi, Thailand [CD-ROM]. Bangkok (Thailand): Mahidol University, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital; 2009. 1 CD-ROM: 4 3/4 in. 4. Kaushal R, Shojania KG, Bates DW. Effects of computerized physician order entry and clinical decision support systems on medication safety: a systematic review. Arch Intern Med. 2003;163(12):1409-16. 5. Chaudhry B, Wang J, Wu S, Maglione M, Mojica W, Roth E, Morton SC, Shekelle PG. Systematic review: impact of health information technology on quality, efficiency, and costs of medical care. Ann Intern Med. 2006;144(10):742-52. 6. Haynes RB, Walker CJ. Computer-aided quality assurance. A critical appraisal. Arch Intern Med. 1987;147(7):1297-301. 7. Balas EA, Austin SM, Mitchell JA, Ewigman BG, Bopp KD, Brown GD. The clinical value of computerized information services. A review of 98 randomized clinical trials. Arch Fam Med. 1996;5(5):271-8. 8. Johnston ME, Langton KB, Haynes RB, Mathieu A. Effects of computer-based clinical decision support systems on clinician performance and patient outcome. A critical appraisal of research. Ann Intern Med. 1994;120(2):135-42. 9. Hunt DL, Haynes RB, Hanna SE, Smith K. Effects of computer-based clinical decision support systems on physician performance and patient outcomes: a systematic review. JAMA. 1998;280(15):1339-46. 10. Austin SM, Balas EA, Mitchell JA, Ewigman BG. Effect of physician reminders on preventive care: meta- analysis of randomized clinical trials. Proc Annu Symp Comput Appl Med Care. 1994:121-4.
  • 8. 11. Shea S, DuMouchel W, Bahamonde L. A meta-analysis of 16 randomized controlled trials to evaluate computer-based clinical reminder systems for preventive care in the ambulatory setting. J Am Med Inform Assoc. 1996;3(6):399-409. 12. Shiffman RN, Liaw Y, Brandt CA, Corb GJ. Computer-based guideline implementation systems: a systematic review of functionality and effectiveness. J Am Med Inform Assoc. 1999;6(2):104-14. 13. Shamliyan TA, Duval S, Du J, Kane RL. Just what the doctor ordered. Review of the evidence of the impact of computerized physician order entry system on medication errors. Health Serv Res. 2008;43(1 Pt 1):32- 53. 14. Garg AX, Adhikari NKJ, McDonald H, Rosas-Arellano MP, Devereaux PJ, Beyene J, Sam J, Haynes RB. Effects of computerized clinical decision support systems on practitioner performance and patient outcomes: a systematic review. JAMA. 2005;293(10):1223-38. 15. Delpierre C, Cuzin L, Fillaux J, Alvarez M, Massip P, Lang T. A systematic review of computer-based patient record systems and quality of care: more randomized clinical trials or a broader approach? Int J Qual Health Care. 2004;16(5):407-16. 16. Reckmann MH, Westbrook JI, Koh Y, Lo C, Day RO. Does computerized provider order entry reduce prescribing errors for hospital inpatients? A systematic review. J Am Med Inform Assoc. 2009;16(5):613-23. 17. van Rosse F, Maat B, Rademaker CM, van Vught AJ, Egberts AC, Bollen CW. The effect of computerized physician order entry on medication prescription errors and clinical outcome in pediatric and intensive care: a systematic review. Pediatrics. 2009;123(4):1184-90. 18. Hersh WR, Helfand M, Wallace J, Kraemer D, Patterson P, Shapiro S, Greenlick M. Clinical outcomes resulting from telemedicine interventions: a systematic review. BMC Med Inform Decis Mak. 2001;1:5. 19. Hersh W, Helfand M, Wallace J, Kraemer D, Patterson P, Shapiro S, Greenlick M. A systematic review of the efficacy of telemedicine for making diagnostic and management decisions. J Telemed Telecare. 2002;8(4):197-209. 20. Hersh WR, Hickam DH, Severance SM, Dana TL, Pyle Krages K, Helfand M. Diagnosis, access and outcomes: update of a systematic review of telemedicine services. J Telemed Telecare. 2006;12 Suppl 2:S3-31. 21. Blaya JA, Fraser HS, Holt B. E-health technologies show promise in developing countries. Health Aff (Millwood). 2010;29(2):244-51. 22. Goldzweig CL, Towfigh A, Maglione M, Shekelle PG. Costs and benefits of health information technology: new trends from the literature. Health Aff (Millwood). 2009;28(2):w282-293.
  • 9. 23. Sintchenko V, Magrabi F, Tipper S. Are we measuring the right end-points? Variables that affect the impact of computerised decision support on patient outcomes: a systematic review. Med Inform Internet Med. 2007;32(3):225-40. 24. Kawamoto K, Houlihan CA, Balas EA, Lobach DF. Improving clinical practice using clinical decision support systems: a systematic review of trials to identify features critical to success. BMJ. 2005;330(7494):765. 25. Koppel R, Metlay JP, Cohen A, Abaluck B, Localio AR, Kimmel SE, Strom BL. Role of computerized physician order entry systems in facilitating medication errors. JAMA. 2005;293(10):1197-203. 26. Ash JS, Berg M, Coiera E. Some unintended consequences of information technology in health care: the nature of patient care information system-related errors. J Am Med Inform Assoc. 2004;11(2):104-12. 27. Parente ST, Dunbar JL. Is health information technology investment related to the financial performance of US hospitals? An exploratory analysis. Int J Healthc Technol Manag. 2001;3(1):48-58. 28. Borzekowski R. Measuring the cost impact of hospital information systems: 1987-1994. J Health Econ. 2009;28(5):939-49. 29. Himmelstein DU, Wright A, Woolhandler S. Hospital computing and the costs and quality of care: a national study. Am J Med. 2010;123(1):40-6. 30. Wang SJ, Middleton B, Prosser LA, Bardon CG, Spurr CD, Carchidi PJ, Kittler AF, Goldszer RC, Fairchild DG, Sussman AJ, Kuperman GJ, Bates DW. A cost-benefit analysis of electronic medical records in primary care. Am J Med. 2003;114(5):397-403. 31. Hillestad R, Bigelow J, Bower A, Girosi F, Meili R, Scoville R, Taylor R. Can electronic medical record systems transform health care? Potential health benefits, savings, and costs. Health Aff (Millwood). 2005;24(5):1103-17. 32. Walker J, Pan E, Johnston D, Adler-Milstein J, Bates DW, Middleton B. The value of health care information exchange and interoperability. Health Aff (Millwood). 2005;Suppl Web Exclusives:W5-10-W5-18. 33. Sidorov J. It ain’t necessarily so: the electronic health record and the unlikely prospect of reducing health care costs. Health Aff (Millwood). 2006;25(4):1079-85. 34. Himmelstein DU, Woolhandler S. Hope and hype: predicting the impact of electronic medical records. Health Aff (Millwood). 2005;24(5):1121-3. 35. Kumar S, Bauer K. The business case for implementing electronic health records in primary care settings in the United States. J Revenue Pricing Manag. 2011;10(2):119-31.
  • 10. 36. Theera-Ampornpunt N. Measurement of health information technology adoption: a review of the literature and instrument development [master’s Plan B project]. Minneapolis (MN): University of Minnesota; 2009. 165 p. 37. กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์, สัญญา ศรีรัตนะ. การสํารวจการใช้ระบบสารสนเทศแบบคอมพิวเตอร์ในโรงพยาบาลในประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2005;14(5):830-9. 38. Kijsanayotin B, Speedie S. Are health centers in Thailand ready for health information technology? : a national survey. AMIA Annu Symp Proc. 2006:424-8. 39. Kijsanayotin B, Pannarunothai S, Speedie S. Penetration and adoption of health information technology (IT) in Thailand’s community health centers (CHCs): a national survey. Stud Health Technol Inform. 2007;129(Pt 2):1154-8. 40. Kijsanayotin B, Pannarunothai S, Speedie SM. Factors influencing health information technology adoption in Thailand’s community health centers: applying the UTAUT model. Int J Med Inform. 2009;78(6):404-16. 41. Theera-Ampornpunt N. Thai hospitals’ adoption of information technology: a theory development and nationwide survey [dissertation]. Minneapolis (MN): University of Minnesota; 2011. 376 p. 42. Jha AK, DesRoches CM, Campbell EG, Donelan K, Rao SR, Ferris TG, Shields A, Rosenbaum S, Blumenthal D. Use of electronic health records in U.S. hospitals. N Engl J Med. 2009;360(16):1628-38. 43. Jha AK, DesRoches CM, Kralovec PD, Joshi MS. A progress report on electronic health records in U.S. hospitals. Health Aff (Millwood). 2010;29(10):1951-7. 44. Yasnoff WA, Overhage JM, Humphreys BL, LaVenture M. A national agenda for public health informatics: summarized recommendations from the 2001 AMIA Spring Congress. J Am Med Inform Assoc. 2001;8(6):535–45. 45. Tang PC, Ash JS, Bates DW, Overhage JM, Sands DZ. Personal health records: definitions, benefits, and strategies for overcoming barriers to adoption. J Am Med Inform Assoc. 2006;13(2):121-6. 46. Kaelber DC, Jha AK, Johnston D, Middleton B, Bates DW. A research agenda for personal health records (PHRs). J Am Med Inform Assoc. 2008;15(6):729-36. 47. Payne PR, Johnson SB, Starren JB, Tilson HH, Dowdy D. Breaking the translational barriers: the value of integrating biomedical informatics and translational research. J Investig Med. 2005;53(4):192-200. 48. People and organizational issues | AMIA [Internet]. Bethesda (MD): American Medical Informatics Association; c2012 [cited 2012 Jan 3]. [about 1 screen]. Available from: http://www.amia.org/programs/working-groups/people-and-organizational-issues