SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 22
Descargar para leer sin conexión
‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس
ติดต่อกองบรรณาธิการ
โทรศัพท์ 0 2564 7000 ต่อ 71185-6 อีเมล sarawit@nstda.or.th
ที่ปรึกษา ทวีศักดิ์ กออนันตกูล, ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล, กุลประภา นาวานุเคราะห์
บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา กฤษฎ์ชัย สมสมาน บรรณาธิการอำนวยการ นำชัย ชีววิวรรธน์
บรรณาธิการบริหาร จุมพล เหมะคีรินทร์ กองบรรณาธิการ ปริทัศน์ เทียนทอง, วัชราภรณ์ สนทนา,
ศศิธรเทศน์อรรถภาคย์,รักฉัตรเวทีวุฒาจารย์,กิตติมาไกรพีรพรรณ,สรินยาลอยประสิทธิ์,วีณายศวังใจ
บรรณาธิการศิลปกรรม ลัญจนา นิตยพัฒน์ ศิลปกรรม เกิดศิริ ขันติกิตติกุล, ฉัตรทิพย์ สุริยะ
ผู้ผลิต
ฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 7000 ต่อ 71185-6 โทรสาร 0 2564 7016
เว็บไซต์ http://www.nstda.or.th/sci2pub/
ฉบับที่ 29 / สิงหาคม 2558
ISSN 2286-9298
A Team Bulletin
เป็นเวลายาวนานกว่า 9 ปี กับการเดินทางอันแสนไกลกว่า 3 พันล้านไมล์
เพื่อจะได้ยลโฉมดาวพลูโต อดีตดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ที่อยู่ไกลสุดขอบระบบ
สุริยะของเรา ในระยะใกล้ที่สุดเป็นครั้งแรก เมื่อยานสำรวจอวกาศไร้คนขับ
นิวฮอไรซอนส์ได้เดินทางมาถึง และเผยภาพถ่ายที่มนุษย์ไม่เคยเห็นมาก่อน
• เรื่องจากปก :
สิ้นสุดการรอคอย...
ยานนิวฮอไรซอนส์ ไขความลับดาวพลูโต
​• ระเบียงข่าว
	 วิทย์-เทคโนฯ ไทย :
o	 Z-Baby แอปพลิเคชันเฝ้าติดตามลูก
น้อยในครรภ์มารดา
o	 เยาวชนไทยคว้าเหรียญโอลิมปิกวิชาการ
• หน้าต่างข่าว
	 วิทย์-เทคโนฯ โลก :
อนุมัติการก่อสร้างกล้องโทรทรรศน์ขนาด
ใหญ่ “ไจแอนท์ แมกเจลแลน”
Highlight
สิ้นสุดการรอคอย...
ยานนิวฮอไรซอนส์
ไขความลับดาวพลูโต
2
ฉบับที่ 29 สิงหาคม 2558
‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس
จุมพล เหมะคีรินทร์
บรรณาธิการบริหาร
Editor’s Note จุมพล เหมะคีรินทร์
Cover Story
ความสำเร็จในภารกิจของยานสำรวจอวกาศนิวฮอไรซอนส์ที่เดินทาง
ไปถึงดาวพลูโต ดาวเคราะห์แคระที่อยู่สุดขอบระบบสุริยะของเราใน
ระยะใกล้ที่สุดเป็นครั้งแรกเมื่อวันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ที่ผ่านมานี้นับเป็นความสำเร็จของวงการวิทยาศาสตร์ที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง
ของมนุษยชาติ โดยทีมนักวิทยาศาสตร์ขององค์การบริหารการบินและ
อวกาศแห่งชาติ (นาซา) สหรัฐอเมริกา จึงทำให้สหรัฐอเมริกาเป็น
ประเทศแรกของโลกที่ส่งยานสำรวจอวกาศไปสำรวจดาวเคราะห์ในระบบ
สุริยะครบทุกดวง ตั้งแต่ดาวพุธจนถึงดาวพลูโต
	 ความสำเร็จครั้งนี้บ่งบอกถึงความแม่นยำในองค์ความรู้
ทางวิทยาศาสตร์ของมนุษย์เราด้วย น่าทึ่งมั้ยละครับที่ยานเดินทางไป
ในอวกาศอันกว้างใหญ่ไพศาล แต่กลับบินไปถึงดาวพลูโตได้อย่างแม่นยำ
ไม่ใช่การเดินทางไปแบบมั่วๆ แต่ต้องผ่านการคำนวณโดยอาศัยกฎเกณฑ์
และทฤษฎีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์อย่างแม่นยำโดยเฉพาะ
กฎพื้นฐานคือกฎการเคลื่อนที่ของไอแซก นิวตัน ที่มีมายาวนานแล้วกว่า
300 ปี ประกอบองค์ความรู้สมัยใหม่ด้านต่างๆ ด้วย ทำให้ภารกิจครั้งนี้
ลุล่วงไปได้ด้วยดี ซึ่งต้องรอคอยเป็นเวลายาวนานถึงเกือบ 10 ปี !!!
	 ในรายละเอียดที่ต้องยกนิ้วโป้งกดไลค์ให้รัวๆ แก่ทีม
นักวิทยาศาสตร์ครับ นั่นก็คือ การวางแผนให้ยานนิวฮอไรซอนส์ต้อง
เดินทางเข้าไปในวงโคจรของดาวพฤหัสบดีก่อน แล้วอาศัยแรงโน้มถ่วง
ของดาวพฤหัสบดีช่วยเหวี่ยงเพื่อเพิ่มความเร็วขึ้นไปอีกเพื่อให้ไปถึง
ดาวพลูโตเร็วขึ้น เป็นการประหยัดทั้งพลังงานและย่นระยะเวลาใน
การเดินทาง ไม่เช่นนั้นคงนานกว่า 10 ปีเป็นแน่
	 ประเด็นต่อมาก็คือ การติดตั้งอุปกรณ์สำคัญ 7 ชุดอุปกรณ์
เพื่อให้ยานนิวฮอไรซอนส์ทำงานในการเก็บข้อมูลต่างๆ ทั้งการถ่ายภาพ
ความละเอียดสูงทั้งภาพสีและขาวดำ การสำรวจสภาพบรรยากาศ
ของดาวพลูโต อุณหภูมิ เป็นต้น
	 วันที่ยานนิวฮอไรซอนส์จะเคลื่อนตัวเข้าใกล้ดาวพลูโตมากที่สุด
ว่าต้องเป็นวันนี้ เวลานี้ ก็คำนวณเป๊ะมากครับ ทำให้ทีมนักวิทยาศาสตร์
นาซาที่เฝ้าลุ้นอยู่หน้าจอทีวีต่างได้เฮไปตามๆ กัน
​	 ภาพของพื้นผิวดาวพลูโตในระยะใกล้ ช่วยเปิดโลกทัศน์
เป็นครั้งแรกให้มนุษย์ได้รับรู้ สร้างความน่าทึ่งให้กับนักวิทยาศาสตร์
ไม่น้อยในมุมมองและความรู้ใหม่ๆ ข้อมูลจากภาพถ่ายจะทยอยส่งกลับ
มายังโลกเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็ต้องใช้เวลาไม่น้อยครับ
นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่ากว่าข้อมูลที่ได้จะส่งกลับมาได้หมด ก็ต้องใช้
เวลากว่า 16 เดือนทีเดียว
	​ข้อมูลที่ได้จากดาวพลูโตอาจทำให้เรามีความรู้ความเข้าใจเรื่อง
ทฤษฎีการกำเนิดและวิวัฒนาการของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบสุริยะ การกำเนิดโลก และ
สิ่งมีชีวิต มากยิ่งขึ้นด้วย
	 ​ความสำเร็จของยานนิวฮอไรซอนส์ จึงถือเป็นความสำเร็จ
ของวงการวิทยาศาสตร์ของมนุษยชาติอีกก้าวหนึ่งอย่างแท้จริงครับ
วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เวลาประมาณ 7:49 น. ตามเวลา
ฝั่งตะวันออก (EDT) ของสหรัฐอเมริกา หรือ 18:49 น. ของวันเดียวกันตามเ
วลาในประเทศไทย เจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ
(นาซา)สหรัฐอเมริกาในภารกิจนิวฮอไรซอนส์ต่างลุ้นระทึกอยู่หน้าจอทีวีเพื่อชม
วินาทีประวัติศาสตร์ ขณะที่ยานสำรวจอวกาศนิวฮอไรซอนส์ เคลื่อนที่ผ่าน
ดาวพลูโตในระยะใกล้ที่สุดเป็นครั้งแรกที่ระยะห่าง ประมาณ 12,500 กิโลเมตร
ด้วยความเร็วราว 49,600 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และทุกคนก็ได้เฮเมื่อ
ยานนิวฮอไรซอนส์ทำได้สำเร็จ
​	 ภาพถ่ายบนพื้นผิวดาวพลูโตได้เผยแพร่ในวันถัดมา เนื่องจากคลื่นสัญญาณ
ข้อมูลกว่าจะส่งมาถึงโลกต้องใช้เวลากว่า 4 ชั่วโมง และนาซาต้องใช้เวลา
ในการประมวลผลอีกระยะหนึ่ง ส่วนข้อมูลทั้งหมด กว่ายานจะโหลดและส่งกลับ
มายังโลก ทีมนักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่าจะต้องใช้เวลาอีกกว่า 16 เดือนหลังจากนี้
	 ภารกิจของยานนิวฮอไรซอนส์นอกเหนือจากการถ่ายภาพบนพื้นผิวดาวพลูโต
แล้วก็ยังจะถ่ายภาพดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจำนวนห้าดวงของดาวพลูโต
คือดวงจันทร์แครอน (charon) และบินต่อเข้าไปในแถบไคเปอร์ (kuiper belt)
ซึ่งเป็นแนววงแหวนที่อยู่นอกวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป เพื่อสำรวจวัตถุใน
แถบไคเปอร์นี้ด้วย นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าแถบไคเปอร์นี้ประกอบด้วยวัตถุ
ที่เป็นก้อนน้ำแข็งมากมาย
เครดิตภาพ: NASA
เครดิตภาพ: JHUAPL/SwRI
ความสำเร็จของยานนิวฮอไรซอนส์
ความสำเร็จของวิทยาศาสตร์
ฉบับที่ 29สิงหาคม 2558
‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس 3
แถบไคเปอร์ : แนววงแหวนที่อยู่นอกวงโคจร
ของดาวเนปจูนออกไป
พลูโตแต่เดิมจัดเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในจำนวน
9 ดวงที่เป็นบริวารของดวงอาทิตย์ ดังที่เราร่ำเรียนกัน
ในตำรามาเนิ่นนานถือเป็นดาวเคราะห์ดวงที่9ที่อยู่ไกล
สุดขอบในระบบสุริยะของเราค้นพบโดยไคลด์ทอมบอห์
(Clyde Tombaugh) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน เมื่อ
พ.ศ. 2473 แต่ต่อมาภายหลังมีข้อมูลจากการศึกษา
ดาวพลูโตมากขึ้น และพบว่าดาวพลูโตมีคุณลักษณะ
ที่ค่อนข้างต่างออกไปจากดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอีก8ดวงพอสมควรทั้งในแง่ขนาดที่มีขนาดเล็ก(ซึ่งภายหลังมีการค้นพบว่ามีวัตถุ
ในระบบสุริยะอีกเป็นจำนวนมากที่มีขนาดใกล้เคียงกับดาวพลูโต ถ้าเช่นนั้นวัตถุเหล่านี้จะต้องถือเป็นดาวเคราะห์ด้วยทั้งหมดหรือไม่)
และมีวงโคจรที่ไม่ชัดเจน เนื่องจากมีความเป็นวงรีมาก จนทำให้วงโคจรบางช่วงมาซ้อนเหลื่อมกับวงโคจรของดาวเนปจูน
(แต่ไม่ชนกันเนื่องจากอยู่กันคนละระนาบ) ส่งผลให้บางช่วงเวลาดาวพลูโตก็มาอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าดาวเนปจูนเสียอีก
	​ดังนั้น ในที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2549 ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก นักดาราศาสตร์กว่า
2,500 คน จาก 75 ประเทศทั่วโลก ได้มีมติปลดดาวพลูโตออกจากการเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ และลดสถานะเป็น
“ดาวเคราะห์แคระ” แทน เป็นอันสิ้นสุดสถานภาพการเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของดาวพลูโตที่ดำรงมายาวนานถึง 76 ปี
พลูโตถูกลดสถานะเป็น
ดาวเคราะห์แคระ
ฉบับที่ 29สิงหาคม 2558
‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس 3
4
ฉบับที่ 29 สิงหาคม 2558
‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس
ทำไมจึงต้อง
สนใจดาวพลูโต
ภาพถ่ายดาวพลูโตที่ได้จากยานนิวฮอไรซอนส์ (เครดิตภาพ: NASA)
	 เนื่องจากเรามีข้อมูลเกี่ยวกับดาวพลูโตน้อยมากเมื่อเทียบดาวเคราะห์ในระบบ
สุริยะดวงอื่นๆและก็ไม่เคยมียานสำรวจอวกาศลำใดที่เดินทางมาถึงและเข้าใกล้
ดาวพลูโตเช่นนี้มาก่อน ดังนั้นข้อมูลที่ได้จากยานนิวฮอไรซอนส์ครั้งนี้ จึงเป็น
การเปิดประตูขุมทรัพย์คลังความรู้ของดาวพลูโตรวมถึงวัตถุในแถบไคเปอร์ให้
นักดาราศาสตร์ได้รับรู้และเข้าใจมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสภาพพื้นผิวของ
ดาวพลูโต ร่องรอยของหลุมอุกกาบาต ข้อมูลทางธรณีวิทยา สภาพบรรยากาศ
อุณหภูมิ ปริมาณฝุ่นในแถบไคเปอร์ ลมสุริยะที่ดาวพลูโต และมันอาจจะเป็น
จิ๊กซอว์ที่นำไปสู่ความรู้ความเข้าใจเรื่องทฤษฎีการกำเนิดและวิวัฒนาการของ
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบสุริยะ
การกำเนิดโลก และสิ่งมีชีวิต มากยิ่งขึ้นด้วย
นิวฮอไรซอนส์
ยานสำรวจอวกาศ
ผู้ไขความลับดาวพลูโต
	 19มกราคมพ.ศ.2549ยานสำรวจอวกาศ“นิวฮอไรซอนส์”(NewHorizons)
ทะยานสู่ท้องฟ้าด้วยจรวดแอตลาส 5 ก่อนที่ยานจะเดินทางต่อสู่ห้วงอวกาศ
โดยมีเป้าหมายสุดท้ายที่ดาวพลูโต กับภารกิจสำคัญในการสำรวจดาวพลูโตและ
ดาวเคราะห์แคระดวงอื่นๆ ที่อยู่ในบริเวณแถบไคเปอร์
​	 ยานนิวฮอไรซอนส์ มีลักษณะคล้ายและใกล้เคียงกับเครื่องเล่นเปียโนที่ติดตั้ง
จานดาวเทียมอยู่ข้างบน มีความสูง 0.7 เมตร ยาว 2.1 เมตร และกว้าง 2.7 เมตร
น้ำหนัก 478 กิโลกรัม ติดตั้งอุปกรณ์สำคัญ 7 ชุดอุปกรณ์ ได้แก่
•	 LORRI : กล้องโทรทรรศน์และกล้องถ่ายภาพความละเอียดสูง ใช้ถ่ายภาพ
เพื่อการสำรวจในระยะไกล
•	 Alice: กล้องถ่ายภาพในช่วงคลื่นอัลตราไวโอเลตใช้วิเคราะห์ชั้นบรรยากาศ
ของดาวพลูโต
•	 Ralph:กล้องถ่ายภาพสีในช่วงคลื่นแสงที่ตาเรามองเห็นและคลื่นอินฟราเรด
และยังช่วยสร้างภาพแผนที่บนผิวดวงดาวที่แสดงถึงอุณหภูมิความร้อนด้วย
•	 SWAP : อุปกรณ์ตรวจสอบลมสุริยะที่เกิดขึ้นรอบๆ ดาวพลูโต
•	 PEPSSI:อุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณโมเลกุลและอะตอมที่หลุดลอดออกมาจาก
บรรยากาศของดาวพลูโต
•	 REX : จานส่งคลื่นวิทยุซึ่งเปรียบเสมือนเสาอากาศที่ส่งคลื่นสัญญาณจาก
ดาวพลูโตไปยังโลก
•	 SDC (Student Dust Counter) : อุปกรณ์ชิ้นนี้สร้างโดยนักศึกษา
มหาวิทยาลัยโคโลราโดใช้ตรวจวัดผลกระทบของฝุ่นที่มีต่อยานนิวฮอไรซอนส์
ตลอดภารกิจนี้
Cover Story
4
ฉบับที่ 29 สิงหาคม 2558
‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس
ฉบับที่ 29สิงหาคม 2558
‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس 5
ยานนิวฮอไรซอนส์ เคลื่อนที่
โดยใช้เชื้อเพลิงหรือพลังงาน
จากแหล่งใด
	 ชมคลิปวิดีโอแสดงภาพแอนิเมชันการเดินทางของยานนิวฮอไรซอนส์
ตั้งแต่ปล่อยออกจากโลก ผ่านดาวพฤหัสบดี แล้วอาศัยแรงโน้มถ่วงของดาว
พฤหัสบดีช่วยเหวี่ยงเร่งความเร็วไปถึงดาวพลูโต ได้ที่เว็บ
	​เนื่องจากดาวพลูโตเป็นดาวที่อยู่ห่างไกลจากโลกมาก ดังนั้นเพื่อเป็นการร่น
ระยะเวลาในการเดินทางให้น้อยลงจึงจำเป็นต้องให้ยานเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง
(กระนั้นก็ตาม การเดินทางของยานครั้งนี้ก็ต้องใช้เวลาถึง 9 ปีเศษ) ซึ่งแหล่ง
เชื้อเพลิงหรือพลังงานจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง
	​ยานนิวฮอไรซอนส์ ถูกส่งขึ้นไปจากโลกด้วยความเร็วต้นที่สูงมากคือราว
16 กิโลเมตรต่อวินาที หรือในอัตราความเร็วประมาณ 58,000 กิโลเมตร
ต่อชั่วโมง โดยใช้พลังงานจากจรวดเชื้อเพลิงขับดันจนพ้นแรงโน้มถ่วงของโลก
สู่อวกาศ พลังงานที่เหลือจะใช้เพื่อการปรับทิศทางการโคจรเท่านั้น จนยาน
เคลื่อนเข้าสู่ดาวพฤหัสบดี ก็จะอาศัยแรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีช่วยเหวี่ยง
เพื่อเพิ่มความเร็วขึ้นไปอีกเป็น 20 กิโลเมตรต่อวินาที จนไปถึงดาวพลูโต
	 อย่างไรก็ตามภายในยานเองก็ยังมีอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่จำเป็นต้องใช้
ไฟฟ้าด้วย ซึ่งปกติถ้าเป็นยานสำรวจดาวเคราะห์ชั้นในที่ไม่ห่างจากดวงอาทิตย์
การใช้แผงโซลาร์เซลล์ก็ยังมีความสำคัญในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็น
กำลังไฟฟ้าได้ แต่กรณีของดาวพลูโตนี้ อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มาก การใช้
ประโยชน์จากแผงโซลาร์เซลล์จึงไม่มีความจำเป็น ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงได้
คิดหาพลังงานจากแหล่งอื่นให้กับยานนิวฮอไรซอนส์แทน นั่นคือพลูโตเนียม
ซึ่งเป็นธาตุกัมมันรังสีโดยมันจะสลายตัวและให้พลังงานความร้อนออกมาจากนั้น
จึงใช้อุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นกำลังไฟฟ้านำไปใช้ประโยชน์
ยานนิวฮอไรซอนส์ส่งภาพมายัง
โลกได้อย่างไร และใช้เวลาเท่าไร
	 การรับส่งข้อมูลหรือการสื่อสารต่างๆ ระหว่างยานนิวฮอไรซอนส์กับโลกนั้น
จะรับส่งโดยใช้คลื่นวิทยุที่ย่านความถี่ 8-12 GHz โดยยานจะมีจาน
รับส่งสัญญาณขนาด 2.1 เมตร ขณะที่บนโลก สถานีรับส่งสัญญาณคือ
Deep Space Network ของนาซา ซึ่งมีจานดาวเทียมขนาด 26-70 เมตร
ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณ โดยมีเครือข่ายอยู่สามแห่ง คือ สหรัฐอเมริกา สเปน
และออสเตรเลีย และในจำนวนนี้จะมีสถานีอย่างน้อยหนึ่งแห่งที่จานรับส่ง
สัญญาณจะหันหน้าไปยังตำแหน่งของยานเสมอ
​	 สำหรับระยะเวลาในการส่งข้อมูลถึงโลก ข้อมูลที่ส่งผ่านคลื่นวิทยุซึ่งเป็นคลื่น
แม่เหล็กไฟฟ้าแม้จะมีอัตราเร็วเท่ากับการเดินทางของแสงคือราวสามแสน
กิโลเมตรต่อวินาทีก็ตาม แต่ด้วยระยะทางระหว่างโลกกับดาวพลูโตหรือ
ยานนิวฮอไรซอนส์ขณะเคลื่อนตัวเข้าใกล้ดาวพลูโตนั้นอยู่ห่างไกลกันกว่า
3 พันล้านไมล์ หรือเกือบ 5 พันล้านกิโลเมตร ทำให้ต้องใช้เวลากว่า 4 ชั่วโมง
ทำนองเดียวกันหากนักวิทยาศาสตร์บนพื้นโลกจะสั่งการใดๆ ไปที่ยาน
ก็ต้องใช้เวลากว่า 4 ชั่วโมงเช่นกัน
Cover Story
http://www.nasa.gov/press/2015/january/nasa-s-new-horizons-spacecraft-begins-first-stages-of-pluto-encounter
ฉบับที่ 29สิงหาคม 2558
‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس 5
6
ฉบับที่ 29 สิงหาคม 2558
‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس
Cover Story
นิวฮอไรซอนส์ ไขความลับ
ดาวพลูโต
	 จากภาพถ่ายพื้นผิวดาวพลูโตทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องทึ่งเป็นอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะความคิดเดิมๆ ที่คาดว่าพื้นผิวดาวพลูโตที่ผ่านการดำรงอยู่มาอย่าง
ยาวนานน่าจะมีร่องรอยของหลุมอุกกาบาตหรือหลุมบ่อต่างๆ จำนวนมาก
จากการถูกวัตถุจากภายนอกมากระทำ และทิ้งร่องรอยเหล่านี้ไว้ซึ่งจะเป็นข้อมูล
ให้เราสามารถประเมินอายุของดาวพลูโตหรือสภาพบรรยากาศในอดีตได้ ไม่ต่าง
อะไรจากริ้วรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้าของคนที่ชราภาพไปตามวัย และความหยาบ
กร้านของผิวหนังที่ผ่านสายลมและแสงแดดมาเนิ่นนานแต่จากหลักฐานภาพถ่าย
ของยานนิวฮอไรซอนส์ที่ส่งกลับมายังโลกปรากฏว่าพื้นผิวของดาวพลูโตส่วนใหญ่
กลับราบเรียบ ราวกับทุ่งราบน้ำแข็งอันกว้างใหญ่ เสมือนมีการเปลี่ยนแปลง
ทางธรณีวิทยามาไม่นาน ถ้าเช่นนั้นมันมีพลังงานจากแหล่งใดหรือไม่ที่ก่อให้เกิด
สภาพการณ์เช่นนี้ได้ เป็นปริศนาที่น่าสนใจและค้นหาคำตอบ
	 สภาพบรรยากาศของดาวพลูโตเนื่องจากดาวพลูโตมีแรงโน้มถ่วงที่น้อยมาก
คือประมาณ 0.65 เมตร/วินาที2
(โลกมีแรงโน้มถ่วง 9.8 เมตร/วินาที2
) ส่งผลให้
ก๊าซที่อยู่ในชั้นบรรยากาศของดาวพลูโตถูกดึงดูดด้วยแรงที่น้อยมากจึงทำให้ก๊าซ
มีการกระจายตัวออกไปได้มาก โดยพบว่าก๊าซในชั้นบรรยากาศดาวพลูโตมี
ความหนาถึง 1,600 กิโลเมตร (แต่เดิมเราเข้าใจว่าดาวพลูโตมีความหนาของ
บรรยากาศราว 270 กิโลเมตรเท่านั้น) และเต็มไปด้วยก๊าซไนโตรเจน (N2
)​
	 ​ปรากฏการณ์ลมสุริยะที่ดาวพลูโต แม้ว่าดาวพลูโตจะอยู่ห่างไกลจาก
ดวงอาทิตย์มาก แต่ปรากฏการณ์ลมสุริยะก็ยังส่งผลมาถึงที่นี่เช่นกัน และทำให้
เกิดอนุภาคของประจุไฟฟ้าแผ่กระจายเป็นหางยาวออกจากดาวพลูโต
ภาพดาวพลูโตภาพนี้สร้างสรรค์มาจากภาพขาว-ดำ 4 ภาพ
ที่ถ่ายจากกล้อง LORRI และข้อมูลภาพสีจากกล้อง Ralph ซึ่ง
ถ่ายโดยยานนิวฮอไรซอนส์ที่ระยะ 450,000 กิโลเมตร ภาพสี
ภาพนี้ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ใช้ตรวจสอบความแตกต่างของ
องค์ประกอบและพื้นผิวดาวพลูโต ดังบริเวณที่สว่างที่คล้ายรูป
หัวใจ นั่นคือบริเวณแหล่งที่เป็นน้ำแข็งนั่นเอง
(เครดิตภาพ : NASA/JHUAPL/SwRI)
ภาพถ่ายพื้นผิวดาวพลูโตในระยะใกล้บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร เผยให้เห็นภูเขาอายุยังน้อย
มีความสูงราว 3,500 เมตร เหนือพื้นผิวที่เป็นน้ำแข็ง
(เครดิตภาพ : NASA/JHUAPL/SwRI)
	 ชมภาพแอนิเมชันของดาวพลูโตช่วงเวลาต่างๆ ในหลาย
ทศวรรษ นับตั้งแต่เริ่มพบครั้งแรกโดย ไคลด์ ทอมบอห์ (Clyde
Tombaugh) เมื่อ พ.ศ. 2473 และช่วงเวลาต่อมาเป็นภาพ
ที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล จนล่าสุดเป็นภาพที่ได้
จากยานนิวฮอไรซอนส์ ซึ่งภาพสุดท้ายเป็นภาพถ่ายระยะใกล้
ของพื้นผิวดาวพลูโต
ชมได้ที่เว็บ
http://www.nasa.gov/image-feature/goddard/views-of-pluto-through-the-years
6
ฉบับที่ 29 สิงหาคม 2558
‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس
ฉบับที่ 29สิงหาคม 2558
‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس 7
Cover Story
	 ภาพและข้อมูลจากดาวพลูโต จะเป็นกุญแจสำคัญที่ทยอยไขความลับให้มนุษย์เราได้รับทราบเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง ความรู้ความเข้าใจที่ได้นี้ คงจะนำไป
สู่การถกเถียงให้เพิ่มพูนปัญญาในทางวิชาการ กระทั่งการเขียนตำราหรือหนังสือใหม่ๆ เพื่อเป็นองค์ความรู้ให้มนุษยชาติรุ่นหลังได้ศึกษากันต่อไป
ภาพแสดงรอยแตกบนพื้นผิวของดาวพลูโต ภาพนี้ถ่ายโดยกล้อง LORRI
เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 ที่ระยะเหนือพื้นผิวดาวพลูโต
ประมาณ 77,000 กิโลเมตร
(เครดิตภาพ : NASA/JHUAPL/SWRI)
ภาพดวงจันทร์แครอน (Charon) ของดาวพลูโต ถ่ายเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558
ที่ระยะประมาณ 79,000 กิโลเมตร เหนือพื้นผิวดาวพลูโต ก่อนที่อีกหนึ่งชั่วโมงครึ่ง
ต่อมา ยานนิวฮอไรซอนส์จะเคลื่อนตัวเข้าใกล้ดาวพลูโตที่สุด ภาพนี้แสดงให้เห็น
รายละเอียดพื้นผิวที่มีร่องรอยของหลุมอุกกาบาตรวมถึงภูเขาที่เกิดขึ้นในแอ่ง
(Mountain in a Moat) ของดวงจันทร์แครอน
(เครดิตภาพ : NASA/JHUAPL/SWRI)
แหล่งข้อมูลและภาพอ้างอิง
http://thaiastro.nectec.or.th/library/pluto/pluto.html
http://www.narit.or.th/index.php/astronomy-article/2114-new-horizons-pluto-surway
รายการ ตอบโจทย์ ไทยพีบีเอส : มหัศจรรย์ “พลูโต” ความลี้ลับ “ระบบสุริยะ” (20 ก.ค. 58) https://www.youtube.com/watch?v=_GVVThukn34
http://www.dek-d.com/education/37747/
http://solarsystem.nasa.gov/missions/profile.cfm?MCode=PKB&Display=ReadMore
http://www.ninfinger.org/karld/My%20Space%20Museum/newhorizons.htm
https://amazing-space.stsci.edu/news/archive/2007/01/ill-01.php
http://pluto.jhuapl.edu/Mission/The-Path-to-Pluto/Mission-Timeline.php
http://i.imgur.com/u5riBSG.jpg
http://www.sunflowercosmos.org/cosmology/cosmology_main/scale_universe%20_1.html
http://www.nasa.gov/press-release/nasa-pluto-new-horizons-july-13-media-briefing-time-change-media-center-open
http://www.nasa.gov/image-feature/pluto-dazzles-in-false-color
http://www.nasa.gov/image-feature/the-icy-mountains-of-pluto
http://www.nasa.gov/feature/frozen-plains-in-the-heart-of-pluto-s-heart
http://www.nasa.gov/image-feature/new-horizons-close-up-of-charon-s-mountain-in-a-moat
http://www.nasa.gov/image-feature/pluto-and-charon-in-natural-color
ภาพถ่ายดาวพลูโตคู่กับดวงจันทร์แครอนจากกล้อง LORRI
ประกอบกับข้อมูลข้อมูลสีจากกล้อง Ralph ถ่ายโดยยานนิวฮอไรซอนส์ที่ระยะ
250,000 กิโลเมตร เหนือพื้นผิวดาวพลูโต ก่อนที่อีก 5 ชั่วโมงต่อมา
ยานได้เคลื่อนตัวเข้าใกล้ดาวพลูโตที่สุด
(เครดิตภาพ : NASA/JHUAPL/SWRI)
ฉบับที่ 29สิงหาคม 2558
‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس 7
8
ฉบับที่ 29 สิงหาคม 2558
‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس
ระเบียงข่าว วิทย์-เทคโนฯ ไทย
กองบรรณาธิการ
Cell Scan
ระบบตรวจนับเซลล์แบบอัตโนมัติ
การนับจำนวนเซลล์ มีความสำคัญมากต่อการพัฒนางานวิจัย
และอุตสาหกรรมหลายประเภทโดยทั่วไปเราจะใช้เครื่องตรวจนับเซลล์
ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมีขนาดใหญ่ ราคาสูง และต้องอาศัย
ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ผลการนับ แต่ตอนนี้นักวิจัยไทยของเราสามารถ
พัฒนาเครื่องมือที่ช่วยให้การตรวจนับจำนวนเซลล์ทำได้ง่ายขึ้นแล้ว
​	 Cell Scan หรือ ระบบตรวจนับเซลล์แบบอัตโนมัติด้วยภาพจาก
CMOS Sensor ผลงานของนักวิจัย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)พัฒนาขึ้นโดยใช้เทคนิคการนับเซลล์
แบบใหม่ที่ใช้ CMOS Sensor ในการตรวจวิเคราะห์ภาพแทนการใช้
เลนส์ ทำให้ภาพไม่บิดเบือน
	 ระบบสามารถนับเซลล์ได้ปริมาณมากในเวลาที่รวดเร็ว และ
ให้ผลถูกต้องแม่นยำไม่แตกต่างจากเครื่องมือนับเซลล์ทั่วไป โดย
ไม่ต้องอาศัยผู้ชำนาญการ ไม่ต้องใช้สารเคมีเพื่อย้อมสีก่อนนับ
จำนวนเซลล์ และยังมีค่าใช้จ่ายในการนับที่ถูกกว่าด้วย
	​Cell Scan สามารถประยุกต์ใช้ในการนับจำนวนเซลล์ได้
หลากหลายชนิดในงานด้านต่างๆ เช่น ห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์
การทดสอบยา การตรวจนับสเต็มเซลล์ การผสมเทียม และการทำ
เด็กหลอดแก้วห้องปฏิบัติการวิจัยโรงงานอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
	​เครื่อง Cell Scan จึงถือได้ว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อวงการแพทย์
และอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของไทย ช่วยประหยัดเงินตรา
จากการนำเข้าเครื่องนับเซลล์จากต่างประเทศได้เป็นอย่างดี
Z-Baby แอปพลิเคชัน
เฝ้าติดตามลูกน้อยในครรภ์มารดา
พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ เป็นสิ่งสำคัญที่คุณพ่อ
คุณแม่ทุกท่านใส่ใจ เฝ้าดูแลเป็นพิเศษ และหากคุณพ่อคุณแม่
ต้องการเฝ้าติดตามพัฒนาการของลูกน้อยอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น
อยากทราบน้ำหนัก อายุครรภ์ หรือกำหนดวันคลอดด้วยตัวเอง
ให้ Z-Baby ช่วยได้
	​Z-Baby เป็นแอปพลิเคชันสำหรับสมาร์ตโฟนที่รองรับระบบ
ปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2.2 ขึ้นไป ที่นักวิจัย สวทช. พัฒนาขึ้น เพื่อ
ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถเฝ้าติดตามพัฒนาการของลูกน้อยใน
ครรภ์ได้อย่างใกล้ชิด ชนิดสัปดาห์ต่อสัปดาห์ ด้วยการจำลอง
การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ในรูปแบบ 3 มิติ พร้อมแสดง
คำอธิบายในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
	​Z-Baby ยังช่วยให้คุณแม่ทราบน้ำหนักที่เหมาะสมที่ควรจะเป็น
และเปรียบเทียบน้ำหนักคุณแม่ว่าอยู่ในเกณฑ์หรือไม่ด้วยระบบ BMI
เพื่อให้คุณแม่ดูแลครรภ์ให้ลูกน้อยเติบโต มีขนาดและน้ำหนักตัว
ที่ปกติ รวมถึงทราบปริมาณแคลอรีที่ควรได้รับระหว่างตั้งครรภ์
พร้อมแนะนำเมนูอาหารที่ดีต่อสุขภาพของทั้งคุณแม่และลูกรัก
​	 คุณพ่อคุณแม่ที่อยากทราบวันที่ลูกน้อยจะลืมตาดูโลก ก็สามารถให้ Z-
Baby ช่วยคำนวณอายุครรภ์ และกำหนดวันคลอดได้อีกด้วย
8
ฉบับที่ 29 สิงหาคม 2558
‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس
ฉบับที่ 29สิงหาคม 2558
‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس 9
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เตือน
อันตรายจากหมึกสักลาย
คนหลายคนชื่นชอบการมีรอยสักลวดลายอักขระหรือรูปสัตว์
ต่างๆ บนร่างกาย เพราะถือเป็นศิลปะที่สวยงามหรือความเชื่อ
ส่วนบุคคลก็ตาม ปัจจุบันการสักได้เข้ามามีบทบาทด้านการเสริมสวย
ความงาม เช่น การสักคิ้วถาวร การสักริมฝีปาก ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่
ผู้หญิงที่ต้องการสักเพื่อเสริมความงามและต้องการประหยัดเวลา
ในการนั่งเขียนขอบตาหรือเขียนคิ้ว แต่ในความสวยงามจากการสัก
อาจมีอันตรายที่แอบแฝงอยู่ หากผู้ที่ทำการสักไม่มีความชำนาญ
และอุปกรณ์การสักไม่สะอาด เพราะอาจทำให้มีโอกาสติดเชื้อโรค
ได้ เช่น การใช้เข็มที่ไม่สะอาดหรือเข็มที่ผ่านการทำให้ปลอดเชื้อที่
ไม่ได้มาตรฐานเพียงพอ เชื้อโรคที่มีโอกาสติดต่อได้จากการสัก ได้แก่
เชื้อไวรัสตับอักเสบบี เชื้อ HIV
	​นอกจากนี้หมึกสำหรับสักลายอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผิวหนัง
ทำให้เกิดการแพ้ เกิดเป็นผื่นหรือตุ่มแดง บางรายเกิดอาการคันใน
ตำแหน่งของรอยสักนั้นๆ ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือปล่อยทิ้งไว้ก็
อาจทำให้ผิวหนังอักเสบได้
	 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนัก
เครื่องสำอางและวัตถุอันตรายได้ศึกษาคุณภาพทางเคมี และทาง
จุลชีววิทยาของหมึกสำหรับสักลายที่จำหน่ายในประเทศไทย เพื่อ
ประเมินคุณภาพและความปลอดภัย โดยสุ่มเก็บตัวอย่างหมึกสำหรับ
สักลายจำนวน 52 ตัวอย่าง นำมาตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ
จำแนกผลได้ดังนี้
	​การวิเคราะห์โลหะหนัก พบสารหนูเกินมาตรฐานกำหนด 4
ตัวอย่างปริมาณสูงสุดที่ตรวจพบ14.64ไมโครกรัมต่อกรัมแคดเมียม
4 ตัวอย่าง ปริมาณสูงสุดที่ตรวจพบ 7.89 ไมโครกรัมต่อกรัม ตะกั่ว 2
ตัวอย่างแต่ไม่เกินมาตรฐานกำหนดโดยตรวจพบในปริมาณที่น้อยกว่า
5 ไมโครกรัมต่อกรัม ส่วนปรอทและสีห้ามใช้ตรวจไม่พบทุกตัวอย่าง
ทั้งนี้กฎหมายของอาเซียนด้านเครื่องสำอาง กำหนดให้สารหนู ปรอท
และตะกั่วปนเปื้อนได้ไม่เกิน5,1และ20ไมโครกรัมต่อกรัมตามลำดับ
และประเทศไทยกำหนดให้แคดเมียมไม่เกิน 3 ไมโครกรัมต่อกรัม
	 สำหรับการตรวจคุณสมบัติทางจุลชีววิทยาหรือตรวจหาเชื้อก่อโรค
พบเชื้อแบคทีเรียเกินกำหนด 13 ตัวอย่าง และพบเชื้อซูโดโมแนส แอรูจิโนซา
(Pseudomonasaeruginosa)1ตัวอย่างจำนวนแบคทีเรียปนเปื้อนที่พบอยู่
ในระดับ35,000-10,000,000โคโลนีต่อกรัมซึ่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข
กำหนดให้ไม่เกิน 1,000 โคโลนีต่อกรัม
	​สำหรับหมึกสักลายที่มีการปนเปื้อนโลหะหนัก เมื่อเข้าสู่ร่างกาย
ต่อเนื่องเป็นระยะนาน จะเกิดการสะสมที่บริเวณผิวหนัง และอาจเป็น
สาเหตุของมะเร็งที่ผิวหนัง สำหรับเชื้อแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์ เมื่อเข้าสู่
ผิวหนัง จะก่อให้เกิดอันตรายได้ เช่น เชื้อซูโดโมแนส แอรูจิโนซา สามารถ
ก่อโรคได้หลายชนิด หากติดเชื้อที่ปอดอาจจะทำให้ปอดและหลอดลมอักเสบ
รวมถึงหากได้รับเชื้อทางผิวหนังอาจจะทำให้เกิดโรคทางผิวหนังชนิด
เอกติม่า แกงกรีโนซัม (ecthyma gangrenosum) คือ มีอาการลักษณะ
บวม แดง ค่อนข้างแข็ง ต่อมาจะกลายเป็นเนื้อตายได้ เชื้อสตาฟิโลค็อกคัส
ออเรียส (Staphylococcus aureus) ทำให้เกิดโรคตาแดง ระคายเคืองตา
ทำให้หนังตาอักเสบ เป็นต้น
	​สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ยังไม่ได้จัดให้หมึก
สำหรับสักลายเป็นเครื่องสำอาง แต่พบว่าสีที่ใช้ในหมึกเป็นสีที่อนุญาต
ให้ใช้ในเครื่องสำอางได้ ทั้งนี้หมึกสำหรับสักลายยังไม่มีข้อบังคับว่าให้เป็น
ผลิตภัณฑ์ที่ต้องปราศจากเชื้อ จึงมีความเสี่ยงต่อสุขภาพได้ ดังนั้น
เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และผู้ประกอบการสักลาย จึงควรตระหนัก
และระมัดระวังในการใช้และไม่สักลายในบริเวณผิวที่บอบบางหรือมี
การอักเสบเป็นแผลการใช้น้ำเจือจางหมึกและการล้างอุปกรณ์สำหรับสักลาย
เช่น เข็มสำหรับสักลาย ควรใช้น้ำปราศจากเชื้อเท่านั้น ผู้บริโภคควรใช้บริการ
จากผู้ประกอบการที่ได้มาตรฐาน เลือกสักลายด้วยหมึกสำหรับสักลายจาก
ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายที่น่าเชื่อถือ ใช้บริการจากผู้สักลายที่รักษาสุขลักษณะ
และถ้ามีประวัติแพ้สารใดมาก่อน ควรพิจารณาส่วนประกอบสำคัญอย่าง
ละเอียด ก่อนการเลือกใช้หมึกสำหรับสักลาย ส่วนผู้ประกอบการควรล้างมือ
ให้สะอาดและใส่ถุงมือเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ
ระเบียงข่าว วิทย์-เทคโนฯ ไทย
http://nih.dmsc.moph.go.th/index.php
ฉบับที่ 29สิงหาคม 2558
‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس 9
10
ฉบับที่ 29 สิงหาคม 2558
‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس
ระเบียงข่าว วิทย์-เทคโนฯ ไทย
ผลไม้ในน้ำเชื่อมบรรจุในถุงรีทอร์ต
เทคโนโลยีใหม่เพื่อการส่งออก
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี โชว์ผลงาน “ผลไม้ในน้ำเชื่อมบรรจุในถุงรีทอร์ต”
เป็นผลงานวิจัยที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ที่มีความพร้อมทาง
การตลาด นำเสนอต่อผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ
ขนาดย่อม (SME) เพื่อเพิ่มมูลค่าและการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์
ในการสร้างโอกาสและรายได้ในเชิงพาณิชย์
	 นางวรรณดี มหรรณพกุล นักวิจัยห้องปฏิบัติการพัฒนา
เทคโนโลยีอาหารกล่าวว่าผลไม้ในน้ำเชื่อมบรรจุถุงรีทอร์ตได้ทำวิจัย
และพัฒนาเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ศึกษาอุณหภูมิและเวลาใน
การให้ความร้อนที่ 100 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่า เช่นที่ 90-95
องศาเซลเซียสฆ่าเชื้อจุลินทรีย์โดยใช้เครื่องฆ่าเชื้อชนิดฉีดพ่นไอน้ำร้อน
(Hot Water Spray Retort) ใช้เวลาสั้นๆ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อสี
กลิ่น รส และลักษณะเนื้อของผลไม้ ผลไม้ที่ได้ทดลองผลิตแล้ว ได้แก่
ทุเรียนในน้ำเชื่อม เงาะในน้ำเชื่อม ลำไยในน้ำเชื่อม ลิ้นจี่ในน้ำเชื่อม
มังคุดในน้ำเชื่อม ลองกองในน้ำเชื่อม และผลไม้ในน้ำกะทิปรุงรส เช่น
น้ำกะทิทุเรียนสำเร็จรูป ข้อดีของเทคโนโลยีนี้คือ ลดการปนเปื้อนโลหะหนัก
ประเภทดีบุกและตะกั่วที่เกิดขึ้นในการผลิตผลไม้บรรจุกระป๋อง
	 การค้นพบเทคนิคใหม่ด้วยการบรรจุผลไม้ในนำเชื่อมที่เข้มข้นมากกว่า
50องศาบริกซ์เช่นทุเรียนในน้ำเชื่อม55องศาบริกซ์พบว่าการให้ความร้อน
ที่ 100 องศาเซลเซียส เพียงพอต่อการทำลายเชื้อจุลินทรีย์ได้ทั้งหมด
ผลิตภัณฑ์ตรวจไม่พบจุลินทรีย์ สำหรับทุเรียนในน้ำกะทิต้องใช้อุณหภูมิ
ที่สูงมากขึ้น เพื่อให้สามารถทำลายเชื้อจุลินทรีย์ได้ทั้งหมด
ฤทธิ์สมานแผลของสารพอลิแซคคาไรด์
จากว่านหางจระเข้ (Aloe vera)
เว็บไซต์ของสำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล เผยผลการศึกษาฤทธิ์สมานแผลของสาร
พอลิแซคคาไรด์ (polysaccharides) จากวุ้นว่านหางจระเข้
โดยทำการทดลองในหนูแรทเพศผู้ 45 ตัว ที่ทำให้เกิดแผลเปิดบริเวณ
หลังขนาด1ซม.โดยแบ่งหนูออกเป็น3กลุ่ม(กลุ่มละ15ตัว)กลุ่มที่1
เป็นกลุ่มควบคุม ปล่อยให้แผลหายเองโดยไม่ได้รับการทายาชนิดใดๆ กลุ่มที่ 2
และ 3 ทาแผลด้วยสารพอลิแซคคาไรด์จากว่านหางจระเข้ที่ละลายในน้ำเปล่า
ขนาด 25 และ 50 มก. ตามลำดับ แล้วนำมาทาแผลให้หนูทดลองวันละครั้ง
นาน 30 วัน โดยวัดขนาดแผลทุกวัน
	​จากนั้นแบ่งหนูจากแต่ละกลุ่มมาครั้งละ5ตัวเพื่อชำแหละและเก็บตัวอย่าง
ผิวหนังบริเวณรอบๆ บาดแผล ในวันที่ 10, 20 และ 30 ของการทดลอง แล้ว
นำมาวิเคราะห์การแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสมานแผล
ด้วยวิธี Quantitative real time PCR ผลจากการทดลองพบว่า หนูแรทที่
ทาแผลด้วยสารพอลิแซคคาไรด์จากว่านหางจระเข้ทั้งสองขนาด มีอัตรา
การสมานแผลเร็วกว่าหนูกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ โดยการทาแผลด้วย
สารพอลิแซคคาไรด์จากว่านหางจระเข้ขนาด 25 และ 50 มก. ปากแผลจะปิด
ในวันที่ 21 และ 18 ตามลำดับ ส่วนในกลุ่มควบคุมนั้น ปากแผลเริ่มปิด
ในวันที่ 27 ของการทดลอง
	 นอกจากนี้การทาแผลด้วยสารพอลิแซคคาไรด์จากว่านหางจระเข้ยังเพิ่ม
การแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเซลล์ผิวหนังขึ้นใหม่อีกด้วย
แสดงให้เห็นว่าสารพอลิแซคคาไรด์จากว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ช่วยในการสมานแผล
ทำให้แผลหายได้เร็วขึ้น
ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเทคโนโลยีได้ที่นางวรรณดี มหรรณพกุล อีเมล : wannadee@dss.go.th โทรศัพท์ 0-2201-7415 , 0-2201-7420
http://www.dss.go.th/index.php/component/content/article.html?id=824
ข้อมูลจาก http://www.medplant.mahidol.ac.th/active/shownews.asp?id=1098
ภาพจาก http://health.kapook.com/view41336.html
10
ฉบับที่ 29 สิงหาคม 2558
‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس
ฉบับที่ 29สิงหาคม 2558
‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس 11
ระเบียงข่าว วิทย์-เทคโนฯ ไทย
หลินปิงคลอดลูกแฝด
หลินฮุ่ยได้รับการผสมเทียม
ข่าวทางหน้าเฟซบุ๊คของสวนสัตว์เชียงใหม่รายงานว่า หลินปิง
แพนด้ายักษ์ที่เกิดจากการผสมเทียมจากพ่อ “ช่วงช่วง” และแม่
“หลินฮุ่ย” ในสวนสัตว์เชียงใหม่ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ศูนย์วิจัยและ
อนุรักษ์พันธุ์แพนด้ายักษ์แห่งชาติจีน เมืองตูเจียงเยี่ยน มณฑลเสฉวน
ประเทศจีน ได้คลอดลูกแฝดเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ที่ผ่านมา
โดยลูกแฝดของหลินปิงเกิดจากการผสมเทียมเช่นกันปัจจุบันหลินปิง
มีอายุได้ 6 ปี และมีสุขภาพแข็งแรงดี
​	 ทางด้านหลินฮุ่ย เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ที่ผ่านมา ทางทีม
สัตวแพทย์สวนสัตว์เชียงใหม่ได้ตรวจวัดปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจน
ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมการทำงานของรังไข่และทำให้เกิดพฤติกรรม
การเป็นสัด พบว่ามีความเข้มข้นสูงสุด ทางสวนสัตว์จึงปล่อยให้
ช่วงช่วงมาอยู่กับหลินฮุ่ย แต่การผสมพันธุ์ไม่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
ในช่วงดึกของวันเดียวกัน ทีมสัตวแพทย์จึงได้ทำการผสมเทียม
โดยวางยาสลบเก็บน้ำเชื้อช่วงช่วง ได้น้ำเชื้อสดคุณภาพดี แล้วนำมา
ผสมเทียมให้กับหลินฮุ่ย ซึ่งหลังจากที่ตรวจสุขภาพของหมีแพนด้า
แล้ว พบว่า หมีแพนด้าทั้งสองมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงดี
ภาพและข้อมูลจาก
http://www.chinapanda.org.cn/blog.php?id=1481
https://www.facebook.com/FanpageChiangMaiZoo/posts/924807227565994
เด็กไทยคว้าชัยการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ
IDC Robocon 2015 ที่ประเทศสิงคโปร์
​การแข่งขันหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ IDC Robocon 2015
ที่ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม-1 สิงหาคม 2558
โจทย์ในปีนี้คือ space cleaner มีทีมที่ผ่านเข้าแข่งขันจำนวน 10 ทีม
โดยแต่ละทีมคละนักศึกษาประเทศต่างๆ ซึ่งมีมหาวิทยาลัยเข้าร่วม
ทั้งสิ้น 21 แห่ง ผลการแข่งขันมีดังนี้
•	 ทีม MEC-JT ของนายภาคภูมิ รุจิพรรณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1
•	 ทีม Lime of Hope ของนายพีรวิชช์ ศิริอุดมรัตน์ มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ
อันดับที่ 2
•	 ทีม Spong Bob & Patrick ของนายณัฐพล ยุบลเลิศ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏชัยภูมิ ได้รับรางวัลออกแบบยอดเยี่ยม MECH-D Design Award
​	 คงต้องรอลุ้นกันต่อไปว่าการผสมเทียมครั้งนี้จะประสบความสำเร็จจน
ให้กำเนิดลูกแพนด้าน้อยต่อจากหลินปิงได้หรือไม่
ฉบับที่ 29สิงหาคม 2558
‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس 11
12
ฉบับที่ 29 สิงหาคม 2558
‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس
ระเบียงข่าว วิทย์-เทคโนฯ ไทย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ส่งผู้แทนเยาวชนไทยเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระหว่าง
ประเทศ ประจำปี 2558 ใน 5 สาขา ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา
คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ ซึ่งผลการแข่งขันมีดังนี้
ฟิสิกส์โอลิมปิกระหว่างประเทศ :
1 เหรียญทอง 4 เหรียญเงิน
เยาวชนไทยคว้าเหรียญ
โอลิมปิกวิชาการ
2 เหรียญทอง ได้จาก
นายสุชาญ วิวัฒน์เศรษฐชัย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร
เด็กชายวิชญ์พล อัครเสรีนนท์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
3 เหรียญเงิน ได้จาก
นายธีร์ งามแสงรัตน์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร
นายศิวกร สงวนหมู่ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม
นายพชร เศวตมาลย์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร
1 เหรียญทองแดง ได้จาก
นายทัชชนก คำพิทักษ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์)
จังหวัดขอนแก่น
	 การแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 56 นี้ ประเทศไทย
เป็นเจ้าภาพ จัดระหว่างวันที่ 4-16 กรกฎาคม 2558 ที่จังหวัดเชียงใหม่
มีผู้เข้าแข่งขันทั้งสิ้น 577 คน จาก 104 ประเทศ โดยทีมไทยได้คะแนนรวมเป็น
อันดับที่ 12
ชีววิทยาโอลิมปิกระหว่างประเทศ :
1 เหรียญทอง 3 เหรียญเงิน
1 เหรียญทอง ได้จาก
นายภูมิ สิริวิบูลย์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม
4 เหรียญเงิน ได้จาก
นายวัชระ ศรวณีย์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพฯ
นายอภิชาติเมธีโชติรัตนพิทักษ์โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ
กรุงเทพฯ
นายสมภพ ชนกประสิทธิ์ โรงเรียนโยธินบูรณะ กรุงเทพฯ
นายปณวัฒน์ วงศ์แกล้ว โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม
	​การแข่งขันครั้งนี้จัดระหว่างวันที่ 4-13 กรกฎาคม 2558 ณ
เมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 382 คน
จาก 86 ประเทศ
คณิตศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ :
2 เหรียญทอง 3 เหรียญเงิน 1 เหรียญทองแดง
1 เหรียญทอง ได้จาก
นายสาริศ จตุรภุชพรพงศ์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ
3 เหรียญเงิน ได้จาก
นายธีร์ อุดมล้ำเลิศ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ
นายอริญชย์ วงศ์พร้อมมูล โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม
นายรัชชานนท์ พรมงคลสุข โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ
	​การแข่งขันครั้งนี้จัดระหว่างวันที่ 12-19 กรกฎาคม 2558 ณ เมืองออร์ฮูส
ประเทศเดนมาร์ก มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 239 คน จาก 61 ประเทศ
12
ฉบับที่ 29 สิงหาคม 2558
‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس
ฉบับที่ 29สิงหาคม 2558
‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس 13
ระเบียงข่าว วิทย์-เทคโนฯ ไทย
เคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ :
1 เหรียญทอง 3 เหรียญเงิน
1 เหรียญทอง ได้จาก
นายวีรภัทร ยศอมรสุนทร โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพฯ
3 เหรียญเงิน ได้จาก
นายนภสินธุ์ วิทยาภาเลิศ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพฯ
นายเรืองรวี กิติโชตน์กุล โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพฯ
นายภัคพล ปรัชญาธรรมกร โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม
	 การแข่งขันครั้งนี้จัดระหว่างวันที่ 20-29 กรกฎาคม 2558 ณ กรุงบากู
ประเทศอาเซอร์ไบจาน
คอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ :
4 เหรียญเงิน
แหล่งข้อมูลและภาพจาก
https://www.facebook.com/ipst.thai?ref=bookmarks
1 เหรียญทอง ได้จาก
นางสาวชนิตา ทับทอง โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย กรุงเทพฯ
3 เหรียญทองแดง ได้จาก
นางสาวมนต์ชาดา สุขหร่อง โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม
นางสาวปณิดา เซ็น โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม
นางสาวสุญาดา เสตกรณุกูล โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม
1 ใบประกาศเกียรติคุณ ได้จาก
นางสาวณัชชา ฉันทชัยวัฒน์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพฯ
​	 การแข่งขันครั้งนี้จัดระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม 2558 ณ
เมืองเซอมารัง ประเทศอินโดนีเซีย
ดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ :
1 เหรียญทอง 3 เหรียญทองแดง และ 1 ใบประกาศเกียรติคุณ
4 เหรียญเงิน ได้จาก
นายธีมธรรศ จิรนันท์ธวัช โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ
นายภูมิรพี ลือนาม โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพฯ
นายนนทกฤษ ไชยวงศ์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม
นายพีรสิชฌ์ เจริญจิตเสรีวงศ์ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ฝ่ายมัธยม กรุงเทพฯ
​	 การแข่งขันครั้งนี้จัดระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 2558
ณ เมืองอัลมาตี ประเทศคาซัคสถาน มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 324 คน
จาก 84 ประเทศ
ฉบับที่ 29สิงหาคม 2558
‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس 13
14
ฉบับที่ 29 สิงหาคม 2558
‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس
หน้าต่างข่าว วิทย์-เทคโนฯ โลก
เรียบเรียงโดย เจษฎา กีรติภารัตน์
เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
อนุมัติการก่อสร้าง
กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ “ไจแอนท์ แมกเจลแลน”
หนึ่งในกล้องโทรทรรศน์ทางแสงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ ไจแอนท์ แมกเจลแลน (Giant Magellan Telescope, GMT) จะถูกติดตั้งที่
ลาสคัมปานาส ประเทศชิลี ด้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางรวมของกระจกถึง 24.5 เมตร ซึ่งจะทำให้นักดาราศาสตร์สามารถศึกษาวัตถุยุคแรกๆ
ที่เปล่งแสงในเอกภพ การวิเคราะห์ สสารมืด และพลังงานมืด รวมไปถึงดาวเคราะห์ในบริเวณที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต
http://www.narit.or.th/index.php/astronomy-news/2159-giant-magellan-telescope
	 กล้องโทรทรรศน์ ไจแอนท์ แมกเจลเลน ใช้งบประมาณ 500
ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในการติดตั้งบริเวณสันเขาลาสคัมปานาส ในพื้นที่
ทะเลทรายอตาคามาร์ โดยหินปริมาณถึง 2,500 ลูกบาศก์เมตร จะต้องถูก
ขุดออกในการสร้างพื้นที่ราบสำหรับการติดตั้งและเส้นทางการเดินทาง
ไปยังหอดูดาวดังกล่าว ซึ่งถ้าเปรียบเทียบแล้วจะมีขนาดพอๆ กับสนาม
ฟุตบอลถึงสี่สนามเลยทีเดียว
	 หัวใจสำคัญสำหรับกล้องโทรทรรศน์ตัวนี้หนีไม่พ้นกระจกขนาด
8.4 เมตร จำนวนเจ็ดชิ้น โดยสามในเจ็ดชิ้นอยู่ในขั้นตอนการผลิต และอีก
สี่ชิ้นที่เหลือจะเริ่มผลิตเร็วๆ นี้ “เราคาดว่ากระจกจะถูกติดตั้งประมาณ
สามหรือสี่ชิ้นในช่วงปลายปี พ.ศ. 2564 ถึงต้นปี พ.ศ. 2565 โดยจะเริ่มใช้
ในงานทางดาราศาสตร์ได้บางส่วนหลังจากนั้นจะเริ่มประกอบกระจกในส่วน
ที่เหลือให้เสร็จในช่วง พ.ศ. 2567-2568 ซึ่งมันจะกลายเป็นกล้องโทรทรรศน์
ทางแสงที่ใหญ่ที่สุดในโลก” แพท แม็กคาร์ตี้ ผู้อำนวยการกล้องโทรทรรศน์
ไจแอนท์ แมกเจลแลน กล่าว
	 กล้องโทรทรรศน์ไจแอนท์ แมกเจลแลน จะเป็นหนึ่งในสามกล้อง
โทรทรรศน์ทางแสงที่ติดตั้งภาคพื้นที่ใหญ่ที่สุดในสิบปีข้างหน้า โดยกล้อง
สองตัวที่เหลือคือ กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่มากของยุโรป (European
Extremely Large Telescope, E-ELT) ขนาด 39 เมตร ในประเทศชิลี
และกล้องโทรทรรศน์ขนาด 30 เมตร (Thirty Meter Telescope, TMT)
ที่จะติดตั้งในฮาวาย ซึ่งการติดตั้ง TMT ยังไม่ทราบช่วงเวลาที่แน่ชัดเนื่องจาก
การคัดค้านของชาวพื้นเมืองฮาวาย ซึ่งกล้อง E-ELT และ TMT จะมี
การออกแบบกระจกบนตัวกล้องให้มีขนาดเล็กและประกอบกันในจำนวนที่มาก
ซึ่งแตกต่างกับ GMT ที่ประกอบด้วยกระจกเพียงเจ็ดชิ้นเท่านั้น
	 แพทยังกล่าวอีกว่า “เราคิดว่ามันเป็นข้อได้เปรียบที่กระจกมีพื้นที่ใน
การรับแสงมากและมีแนวรอย ต่อระหว่างกระจกที่น้อย โดยเฉพาะในกรณีที่
ต้องศึกษาดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดาวฤกษ์ นอกจากนี้ GMT ยังใช้เทคโนโลยีที่
ทำให้มีความสามารถในการปรับตำแหน่งการรวมแสงที่กระจกรอง เพื่อลด
ปัญหาผลกระทบของแสงเนื่องจากชั้นบรรยากาศอีกด้วย(AdaptiveOptics)
ทำให้ภาพที่ได้มีความชัดเจนกว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลถึงสิบเท่า”
ฉบับที่ 29สิงหาคม 2558
‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس 15
ห้องภาพวิทย์ Sci-Gallery ปริทัศน์ เทียนทอง
ระบบประสาทของแมลงวันผลไม้
จากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน
ภาพระบบประสาทของแมลงวันผลไม้ (Drosophila melanogaster) ที่รังสรรค์ขึ้นมาโดยใช้ Transmission Electron Micrographs
นำมาใส่รหัสสีลงไป ซึ่งระบบประสาทนี้เกี่ยวข้องตั้งแต่การเคลื่อนไหว การหายใจ ความรู้สึก และความนึกคิด โดยเซลล์ที่ทำหน้าที่เหล่านี้เรียกว่า นิวรอน
(Neurons) ในภาพที่เห็นเป็นเส้นสีเหลืองคือนิวรอน ทำหน้าที่รับการสั่นสะเทือน ส่วนสีอื่นๆ ก็ทำหน้าที่อื่นแตกต่างกันออกไป
​	 ภาพนี้มีขนาดกว้างเพียง 0.015 มิลลิเมตร แต่มันแสดงให้เห็นความซับซ้อนได้เป็นอย่างมาก
ภาพจาก :http://www.wellcomeimageawards.org/2015/Fruit-fly-nervous-system
ภาพ รูปถ่ายระบบประสาทของแมลงวันผลไม้ จากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน
Science
Jokes
ฉบับที่ 29สิงหาคม 2558
‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس 15
http://izismile.com/2012/10/02/funny_and_clever_science_jokes_20_pics-19.html
...อาร์กอน ไม่มีปฏิกิริยาใดๆ
ออกไปซะ!
ที่นี่ไม่ต้อนรับ
พวกก๊าซเฉื่อย
อย่างแก!
อาร์กอนเดินเข้ามาที่บาร์
หัวอกก๊าซอาร์กอน
16
ฉบับที่ 29 สิงหาคม 2558
‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس
Sci Infographic
https://witsanook.files.wordpress.com/2015/04/rain-aroma.jpg
ฉบับที่ 29สิงหาคม 2558
‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس 17
http://www.oryor.com/index.php/th/
http://www.oryor.com/index.php/th/
http://www.oryor.com/index.php/th/
http://www.oryor.com/index.php/th/
http://www.oryor.com/index.php/th/
http://www.oryor.com/index.php/th/
http://www.oryor.com/index.php/th/
http://www.oryor.com/index.php/th/
http://www.oryor.com/index.php/th/
http://www.oryor.com/index.php/th/
http://www.oryor.com/index.php/th/
สาระน่ารู้จาก อย.
18
ฉบับที่ 29 สิงหาคม 2558
‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس
scisocietyสเปกตรัม
กระทรวงวิทย์ฯ ร่วมมือมหาวิทยาลัยและเอกชน
ประกาศความสำเร็จ 4 เทคโนโลยี
เครื่องจักรต้นแบบพร้อมใช้เชิงพาณิชย์
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แถลงผลสำเร็จการพัฒนาเทคโนโลยี
เครื่องจักรต้นแบบในโครงการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วยกระบวนการ
วิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า 4 ชิ้น โดยความร่วมมือของกระทรวง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สมาคมเครื่องจักรกลไทย
และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามคำแถลงนโยบาย
ของคณะรัฐมนตรีที่ต้องการผลักดันงานวิจัยและพัฒนาไปสู่การใช้ประโยชน์
เชิงพาณิชย์ โดยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย หน่วยงานวิจัยของรัฐ
และภาคเอกชน ที่เรียกว่าโมเดล Triple Helix
	 สำหรับผลงานเทคโนโลยีเครื่องจักรกลต้นแบบที่พัฒนาโดยคนไทยทั้ง 4 ชิ้น
ได้แก่
​1.	 ชุดเครื่องจักรระบบล้างและปรับปรุงคุณภาพขยะพลาสติกสำหรับการผลิต
น้ำมันเชื้อเพลิง
​2.	 ระบบติดตามการเจริญเติบโตสำหรับอุตสาหกรรมผลิตไก่เนื้อ
​3.	 ระบบจ่ายวัคซีนสำหรับอุตสาหกรรมผลิตไก่เนื้อ
​4.	 ลิฟต์โดยสารสำหรับงานก่อสร้าง เป็นตัวอย่างความสำเร็จที่พร้อมที่จะ
ต่อยอดเชิงพาณิชย์
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/news/20368-most-machinery
ก.วิทย์ฯ/สวทช. ร่วมกับ กฟน.
หวังสร้างงานวิจัย พัฒนา และการจัดการ
ด้านพลังงานเพื่อตอบสนอง
นโนบายพลังงานแห่งชาติ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)
ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาด้านพลังงาน
และการบริหารจัดการพลังงาน ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
จังหวัดปทุมธานี อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/news/20374-mou
เอ็มเทคคว้ารางวัล
“ที่สุดแห่งสุดยอดส้วมแห่งปี”
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. คว้ารางวัล
“ที่สุดแห่งสุดยอดส้วมแห่งปี (champion of the champ)” จากกรมอนามัย
กระทรวงสาธารณสุข
​	 เอ็มเทคเคยได้รับรางวัลสุดยอดส้วมในปี พ.ศ. 2554 มาแล้ว และได้มี
การพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและเป็นต้นแบบส้วมสาธารณะไทยตามที่กรมอนามัย
กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการพัฒนาส้วมไทยให้ได้มาตรฐานถูกหลัก
สุขาภิบาลในเรื่องความสะอาด(health)เพียงพอ(accessibility)และปลอดภัย
(safety) จนทำให้เอ็มเทคได้รับรางวัล”ที่สุดแห่งสุดยอดส้วมแห่งปี”
สาระวิทย์ ฉบับที่ 29 ประจำเดือนสิงหาคม 2558
สาระวิทย์ ฉบับที่ 29 ประจำเดือนสิงหาคม 2558
สาระวิทย์ ฉบับที่ 29 ประจำเดือนสิงหาคม 2558
สาระวิทย์ ฉบับที่ 29 ประจำเดือนสิงหาคม 2558

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

La actualidad más candente (20)

Sarawit eMagazine 17/2557
Sarawit eMagazine 17/2557Sarawit eMagazine 17/2557
Sarawit eMagazine 17/2557
 
สาระวิทย์ ฉบับที่ 20, พฤศจิกายน 2557
สาระวิทย์ ฉบับที่ 20, พฤศจิกายน 2557สาระวิทย์ ฉบับที่ 20, พฤศจิกายน 2557
สาระวิทย์ ฉบับที่ 20, พฤศจิกายน 2557
 
สาระวิทย์ ฉบับที่ 31 ประจำเดือนตุลาคม 2558
สาระวิทย์ ฉบับที่ 31 ประจำเดือนตุลาคม 2558สาระวิทย์ ฉบับที่ 31 ประจำเดือนตุลาคม 2558
สาระวิทย์ ฉบับที่ 31 ประจำเดือนตุลาคม 2558
 
สาระวิทย์ ฉบับที่ 34 ประจำเดือนมกราคม 2559
สาระวิทย์ ฉบับที่ 34 ประจำเดือนมกราคม 2559สาระวิทย์ ฉบับที่ 34 ประจำเดือนมกราคม 2559
สาระวิทย์ ฉบับที่ 34 ประจำเดือนมกราคม 2559
 
สาระวิทย์ ฉบับที่ 36 ประจำเดือนกัมีนาคม 2559
สาระวิทย์ ฉบับที่ 36 ประจำเดือนกัมีนาคม 2559สาระวิทย์ ฉบับที่ 36 ประจำเดือนกัมีนาคม 2559
สาระวิทย์ ฉบับที่ 36 ประจำเดือนกัมีนาคม 2559
 
สาระวิทย์ ฉบับที่ 19, ตุลาคม 2557
สาระวิทย์ ฉบับที่ 19, ตุลาคม 2557สาระวิทย์ ฉบับที่ 19, ตุลาคม 2557
สาระวิทย์ ฉบับที่ 19, ตุลาคม 2557
 
สาระวิทย์ ฉบับที่ 45 ประจำเดือนธันวาคม 2559
สาระวิทย์ ฉบับที่ 45 ประจำเดือนธันวาคม 2559สาระวิทย์ ฉบับที่ 45 ประจำเดือนธันวาคม 2559
สาระวิทย์ ฉบับที่ 45 ประจำเดือนธันวาคม 2559
 
Saravit eMagazine 6/2556
Saravit eMagazine 6/2556Saravit eMagazine 6/2556
Saravit eMagazine 6/2556
 
สาระวิทย์ ฉบับที่ 21, ธันวาคม 2557
สาระวิทย์ ฉบับที่ 21, ธันวาคม 2557สาระวิทย์ ฉบับที่ 21, ธันวาคม 2557
สาระวิทย์ ฉบับที่ 21, ธันวาคม 2557
 
สาระวิทย์ ฉบับที่ 38 ประจำเดือนพฤษภาคม 2559
สาระวิทย์ ฉบับที่ 38 ประจำเดือนพฤษภาคม 2559สาระวิทย์ ฉบับที่ 38 ประจำเดือนพฤษภาคม 2559
สาระวิทย์ ฉบับที่ 38 ประจำเดือนพฤษภาคม 2559
 
สาระวิทย์ ฉบับที่ 48 ประจำเดือนมีนาคม 2560
สาระวิทย์ ฉบับที่ 48 ประจำเดือนมีนาคม 2560สาระวิทย์ ฉบับที่ 48 ประจำเดือนมีนาคม 2560
สาระวิทย์ ฉบับที่ 48 ประจำเดือนมีนาคม 2560
 
สาระวิทย์ ฉบับที่ 47 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560
สาระวิทย์ ฉบับที่ 47 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560สาระวิทย์ ฉบับที่ 47 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560
สาระวิทย์ ฉบับที่ 47 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560
 
สาระวิทย์ ฉบับที่ 27, ประจำเดือนมิถุนายน 2558
สาระวิทย์ ฉบับที่ 27, ประจำเดือนมิถุนายน 2558สาระวิทย์ ฉบับที่ 27, ประจำเดือนมิถุนายน 2558
สาระวิทย์ ฉบับที่ 27, ประจำเดือนมิถุนายน 2558
 
สาระวิทย์ ฉบับที่ 23, กุมภาพันธ์ 2558
สาระวิทย์ ฉบับที่ 23, กุมภาพันธ์ 2558สาระวิทย์ ฉบับที่ 23, กุมภาพันธ์ 2558
สาระวิทย์ ฉบับที่ 23, กุมภาพันธ์ 2558
 
สาระวิทย์ ฉบับที่ 32 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2558
สาระวิทย์ ฉบับที่ 32 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2558สาระวิทย์ ฉบับที่ 32 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2558
สาระวิทย์ ฉบับที่ 32 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2558
 
สาระวิทย์ ฉบับที่ 35 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559
สาระวิทย์ ฉบับที่ 35 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559สาระวิทย์ ฉบับที่ 35 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559
สาระวิทย์ ฉบับที่ 35 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559
 
สาระวิทย์ ฉบับที่ 37 ประจำเดือนเมษายน 2559
สาระวิทย์ ฉบับที่ 37 ประจำเดือนเมษายน 2559สาระวิทย์ ฉบับที่ 37 ประจำเดือนเมษายน 2559
สาระวิทย์ ฉบับที่ 37 ประจำเดือนเมษายน 2559
 
สาระวิทย์ ฉบับที่ 42 ประจำเดือนกันยายน 2559
สาระวิทย์ ฉบับที่ 42 ประจำเดือนกันยายน 2559สาระวิทย์ ฉบับที่ 42 ประจำเดือนกันยายน 2559
สาระวิทย์ ฉบับที่ 42 ประจำเดือนกันยายน 2559
 
Saravit eMagazine 3/2556
Saravit eMagazine 3/2556Saravit eMagazine 3/2556
Saravit eMagazine 3/2556
 
Saravit Issue17
Saravit Issue17Saravit Issue17
Saravit Issue17
 

Destacado (9)

สาระวิทย์ ฉบับที่ 25, เมษายน 2558
สาระวิทย์ ฉบับที่ 25, เมษายน 2558สาระวิทย์ ฉบับที่ 25, เมษายน 2558
สาระวิทย์ ฉบับที่ 25, เมษายน 2558
 
ฉันและเธอ เราคืออาเซียน
ฉันและเธอ เราคืออาเซียนฉันและเธอ เราคืออาเซียน
ฉันและเธอ เราคืออาเซียน
 
Weather
WeatherWeather
Weather
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
 
กิจกรรมคณิตศาสตร์
กิจกรรมคณิตศาสตร์กิจกรรมคณิตศาสตร์
กิจกรรมคณิตศาสตร์
 
สิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิตสิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิต
 
ค่ายคณิตศาสตร์
ค่ายคณิตศาสตร์ค่ายคณิตศาสตร์
ค่ายคณิตศาสตร์
 
Grammar friends-4-student-s-book grey
Grammar friends-4-student-s-book greyGrammar friends-4-student-s-book grey
Grammar friends-4-student-s-book grey
 
Mathematics for Grade 5, Topic: Pie Graph
Mathematics for Grade 5, Topic: Pie GraphMathematics for Grade 5, Topic: Pie Graph
Mathematics for Grade 5, Topic: Pie Graph
 

Más de National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand

Más de National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand (20)

NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
 

สาระวิทย์ ฉบับที่ 29 ประจำเดือนสิงหาคม 2558

  • 1. ‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس ติดต่อกองบรรณาธิการ โทรศัพท์ 0 2564 7000 ต่อ 71185-6 อีเมล sarawit@nstda.or.th ที่ปรึกษา ทวีศักดิ์ กออนันตกูล, ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล, กุลประภา นาวานุเคราะห์ บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา กฤษฎ์ชัย สมสมาน บรรณาธิการอำนวยการ นำชัย ชีววิวรรธน์ บรรณาธิการบริหาร จุมพล เหมะคีรินทร์ กองบรรณาธิการ ปริทัศน์ เทียนทอง, วัชราภรณ์ สนทนา, ศศิธรเทศน์อรรถภาคย์,รักฉัตรเวทีวุฒาจารย์,กิตติมาไกรพีรพรรณ,สรินยาลอยประสิทธิ์,วีณายศวังใจ บรรณาธิการศิลปกรรม ลัญจนา นิตยพัฒน์ ศิลปกรรม เกิดศิริ ขันติกิตติกุล, ฉัตรทิพย์ สุริยะ ผู้ผลิต ฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ 0 2564 7000 ต่อ 71185-6 โทรสาร 0 2564 7016 เว็บไซต์ http://www.nstda.or.th/sci2pub/ ฉบับที่ 29 / สิงหาคม 2558 ISSN 2286-9298 A Team Bulletin เป็นเวลายาวนานกว่า 9 ปี กับการเดินทางอันแสนไกลกว่า 3 พันล้านไมล์ เพื่อจะได้ยลโฉมดาวพลูโต อดีตดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ที่อยู่ไกลสุดขอบระบบ สุริยะของเรา ในระยะใกล้ที่สุดเป็นครั้งแรก เมื่อยานสำรวจอวกาศไร้คนขับ นิวฮอไรซอนส์ได้เดินทางมาถึง และเผยภาพถ่ายที่มนุษย์ไม่เคยเห็นมาก่อน • เรื่องจากปก : สิ้นสุดการรอคอย... ยานนิวฮอไรซอนส์ ไขความลับดาวพลูโต ​• ระเบียงข่าว วิทย์-เทคโนฯ ไทย : o Z-Baby แอปพลิเคชันเฝ้าติดตามลูก น้อยในครรภ์มารดา o เยาวชนไทยคว้าเหรียญโอลิมปิกวิชาการ • หน้าต่างข่าว วิทย์-เทคโนฯ โลก : อนุมัติการก่อสร้างกล้องโทรทรรศน์ขนาด ใหญ่ “ไจแอนท์ แมกเจลแลน” Highlight สิ้นสุดการรอคอย... ยานนิวฮอไรซอนส์ ไขความลับดาวพลูโต
  • 2. 2 ฉบับที่ 29 สิงหาคม 2558 ‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس จุมพล เหมะคีรินทร์ บรรณาธิการบริหาร Editor’s Note จุมพล เหมะคีรินทร์ Cover Story ความสำเร็จในภารกิจของยานสำรวจอวกาศนิวฮอไรซอนส์ที่เดินทาง ไปถึงดาวพลูโต ดาวเคราะห์แคระที่อยู่สุดขอบระบบสุริยะของเราใน ระยะใกล้ที่สุดเป็นครั้งแรกเมื่อวันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมานี้นับเป็นความสำเร็จของวงการวิทยาศาสตร์ที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง ของมนุษยชาติ โดยทีมนักวิทยาศาสตร์ขององค์การบริหารการบินและ อวกาศแห่งชาติ (นาซา) สหรัฐอเมริกา จึงทำให้สหรัฐอเมริกาเป็น ประเทศแรกของโลกที่ส่งยานสำรวจอวกาศไปสำรวจดาวเคราะห์ในระบบ สุริยะครบทุกดวง ตั้งแต่ดาวพุธจนถึงดาวพลูโต ความสำเร็จครั้งนี้บ่งบอกถึงความแม่นยำในองค์ความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ของมนุษย์เราด้วย น่าทึ่งมั้ยละครับที่ยานเดินทางไป ในอวกาศอันกว้างใหญ่ไพศาล แต่กลับบินไปถึงดาวพลูโตได้อย่างแม่นยำ ไม่ใช่การเดินทางไปแบบมั่วๆ แต่ต้องผ่านการคำนวณโดยอาศัยกฎเกณฑ์ และทฤษฎีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์อย่างแม่นยำโดยเฉพาะ กฎพื้นฐานคือกฎการเคลื่อนที่ของไอแซก นิวตัน ที่มีมายาวนานแล้วกว่า 300 ปี ประกอบองค์ความรู้สมัยใหม่ด้านต่างๆ ด้วย ทำให้ภารกิจครั้งนี้ ลุล่วงไปได้ด้วยดี ซึ่งต้องรอคอยเป็นเวลายาวนานถึงเกือบ 10 ปี !!! ในรายละเอียดที่ต้องยกนิ้วโป้งกดไลค์ให้รัวๆ แก่ทีม นักวิทยาศาสตร์ครับ นั่นก็คือ การวางแผนให้ยานนิวฮอไรซอนส์ต้อง เดินทางเข้าไปในวงโคจรของดาวพฤหัสบดีก่อน แล้วอาศัยแรงโน้มถ่วง ของดาวพฤหัสบดีช่วยเหวี่ยงเพื่อเพิ่มความเร็วขึ้นไปอีกเพื่อให้ไปถึง ดาวพลูโตเร็วขึ้น เป็นการประหยัดทั้งพลังงานและย่นระยะเวลาใน การเดินทาง ไม่เช่นนั้นคงนานกว่า 10 ปีเป็นแน่ ประเด็นต่อมาก็คือ การติดตั้งอุปกรณ์สำคัญ 7 ชุดอุปกรณ์ เพื่อให้ยานนิวฮอไรซอนส์ทำงานในการเก็บข้อมูลต่างๆ ทั้งการถ่ายภาพ ความละเอียดสูงทั้งภาพสีและขาวดำ การสำรวจสภาพบรรยากาศ ของดาวพลูโต อุณหภูมิ เป็นต้น วันที่ยานนิวฮอไรซอนส์จะเคลื่อนตัวเข้าใกล้ดาวพลูโตมากที่สุด ว่าต้องเป็นวันนี้ เวลานี้ ก็คำนวณเป๊ะมากครับ ทำให้ทีมนักวิทยาศาสตร์ นาซาที่เฝ้าลุ้นอยู่หน้าจอทีวีต่างได้เฮไปตามๆ กัน ​ ภาพของพื้นผิวดาวพลูโตในระยะใกล้ ช่วยเปิดโลกทัศน์ เป็นครั้งแรกให้มนุษย์ได้รับรู้ สร้างความน่าทึ่งให้กับนักวิทยาศาสตร์ ไม่น้อยในมุมมองและความรู้ใหม่ๆ ข้อมูลจากภาพถ่ายจะทยอยส่งกลับ มายังโลกเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็ต้องใช้เวลาไม่น้อยครับ นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่ากว่าข้อมูลที่ได้จะส่งกลับมาได้หมด ก็ต้องใช้ เวลากว่า 16 เดือนทีเดียว ​ข้อมูลที่ได้จากดาวพลูโตอาจทำให้เรามีความรู้ความเข้าใจเรื่อง ทฤษฎีการกำเนิดและวิวัฒนาการของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบสุริยะ การกำเนิดโลก และ สิ่งมีชีวิต มากยิ่งขึ้นด้วย ​ความสำเร็จของยานนิวฮอไรซอนส์ จึงถือเป็นความสำเร็จ ของวงการวิทยาศาสตร์ของมนุษยชาติอีกก้าวหนึ่งอย่างแท้จริงครับ วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เวลาประมาณ 7:49 น. ตามเวลา ฝั่งตะวันออก (EDT) ของสหรัฐอเมริกา หรือ 18:49 น. ของวันเดียวกันตามเ วลาในประเทศไทย เจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซา)สหรัฐอเมริกาในภารกิจนิวฮอไรซอนส์ต่างลุ้นระทึกอยู่หน้าจอทีวีเพื่อชม วินาทีประวัติศาสตร์ ขณะที่ยานสำรวจอวกาศนิวฮอไรซอนส์ เคลื่อนที่ผ่าน ดาวพลูโตในระยะใกล้ที่สุดเป็นครั้งแรกที่ระยะห่าง ประมาณ 12,500 กิโลเมตร ด้วยความเร็วราว 49,600 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และทุกคนก็ได้เฮเมื่อ ยานนิวฮอไรซอนส์ทำได้สำเร็จ ​ ภาพถ่ายบนพื้นผิวดาวพลูโตได้เผยแพร่ในวันถัดมา เนื่องจากคลื่นสัญญาณ ข้อมูลกว่าจะส่งมาถึงโลกต้องใช้เวลากว่า 4 ชั่วโมง และนาซาต้องใช้เวลา ในการประมวลผลอีกระยะหนึ่ง ส่วนข้อมูลทั้งหมด กว่ายานจะโหลดและส่งกลับ มายังโลก ทีมนักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่าจะต้องใช้เวลาอีกกว่า 16 เดือนหลังจากนี้ ภารกิจของยานนิวฮอไรซอนส์นอกเหนือจากการถ่ายภาพบนพื้นผิวดาวพลูโต แล้วก็ยังจะถ่ายภาพดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจำนวนห้าดวงของดาวพลูโต คือดวงจันทร์แครอน (charon) และบินต่อเข้าไปในแถบไคเปอร์ (kuiper belt) ซึ่งเป็นแนววงแหวนที่อยู่นอกวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป เพื่อสำรวจวัตถุใน แถบไคเปอร์นี้ด้วย นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าแถบไคเปอร์นี้ประกอบด้วยวัตถุ ที่เป็นก้อนน้ำแข็งมากมาย เครดิตภาพ: NASA เครดิตภาพ: JHUAPL/SwRI ความสำเร็จของยานนิวฮอไรซอนส์ ความสำเร็จของวิทยาศาสตร์
  • 3. ฉบับที่ 29สิงหาคม 2558 ‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس 3 แถบไคเปอร์ : แนววงแหวนที่อยู่นอกวงโคจร ของดาวเนปจูนออกไป พลูโตแต่เดิมจัดเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในจำนวน 9 ดวงที่เป็นบริวารของดวงอาทิตย์ ดังที่เราร่ำเรียนกัน ในตำรามาเนิ่นนานถือเป็นดาวเคราะห์ดวงที่9ที่อยู่ไกล สุดขอบในระบบสุริยะของเราค้นพบโดยไคลด์ทอมบอห์ (Clyde Tombaugh) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน เมื่อ พ.ศ. 2473 แต่ต่อมาภายหลังมีข้อมูลจากการศึกษา ดาวพลูโตมากขึ้น และพบว่าดาวพลูโตมีคุณลักษณะ ที่ค่อนข้างต่างออกไปจากดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอีก8ดวงพอสมควรทั้งในแง่ขนาดที่มีขนาดเล็ก(ซึ่งภายหลังมีการค้นพบว่ามีวัตถุ ในระบบสุริยะอีกเป็นจำนวนมากที่มีขนาดใกล้เคียงกับดาวพลูโต ถ้าเช่นนั้นวัตถุเหล่านี้จะต้องถือเป็นดาวเคราะห์ด้วยทั้งหมดหรือไม่) และมีวงโคจรที่ไม่ชัดเจน เนื่องจากมีความเป็นวงรีมาก จนทำให้วงโคจรบางช่วงมาซ้อนเหลื่อมกับวงโคจรของดาวเนปจูน (แต่ไม่ชนกันเนื่องจากอยู่กันคนละระนาบ) ส่งผลให้บางช่วงเวลาดาวพลูโตก็มาอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าดาวเนปจูนเสียอีก ​ดังนั้น ในที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2549 ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก นักดาราศาสตร์กว่า 2,500 คน จาก 75 ประเทศทั่วโลก ได้มีมติปลดดาวพลูโตออกจากการเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ และลดสถานะเป็น “ดาวเคราะห์แคระ” แทน เป็นอันสิ้นสุดสถานภาพการเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของดาวพลูโตที่ดำรงมายาวนานถึง 76 ปี พลูโตถูกลดสถานะเป็น ดาวเคราะห์แคระ ฉบับที่ 29สิงหาคม 2558 ‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس 3
  • 4. 4 ฉบับที่ 29 สิงหาคม 2558 ‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس ทำไมจึงต้อง สนใจดาวพลูโต ภาพถ่ายดาวพลูโตที่ได้จากยานนิวฮอไรซอนส์ (เครดิตภาพ: NASA) เนื่องจากเรามีข้อมูลเกี่ยวกับดาวพลูโตน้อยมากเมื่อเทียบดาวเคราะห์ในระบบ สุริยะดวงอื่นๆและก็ไม่เคยมียานสำรวจอวกาศลำใดที่เดินทางมาถึงและเข้าใกล้ ดาวพลูโตเช่นนี้มาก่อน ดังนั้นข้อมูลที่ได้จากยานนิวฮอไรซอนส์ครั้งนี้ จึงเป็น การเปิดประตูขุมทรัพย์คลังความรู้ของดาวพลูโตรวมถึงวัตถุในแถบไคเปอร์ให้ นักดาราศาสตร์ได้รับรู้และเข้าใจมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสภาพพื้นผิวของ ดาวพลูโต ร่องรอยของหลุมอุกกาบาต ข้อมูลทางธรณีวิทยา สภาพบรรยากาศ อุณหภูมิ ปริมาณฝุ่นในแถบไคเปอร์ ลมสุริยะที่ดาวพลูโต และมันอาจจะเป็น จิ๊กซอว์ที่นำไปสู่ความรู้ความเข้าใจเรื่องทฤษฎีการกำเนิดและวิวัฒนาการของ ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบสุริยะ การกำเนิดโลก และสิ่งมีชีวิต มากยิ่งขึ้นด้วย นิวฮอไรซอนส์ ยานสำรวจอวกาศ ผู้ไขความลับดาวพลูโต 19มกราคมพ.ศ.2549ยานสำรวจอวกาศ“นิวฮอไรซอนส์”(NewHorizons) ทะยานสู่ท้องฟ้าด้วยจรวดแอตลาส 5 ก่อนที่ยานจะเดินทางต่อสู่ห้วงอวกาศ โดยมีเป้าหมายสุดท้ายที่ดาวพลูโต กับภารกิจสำคัญในการสำรวจดาวพลูโตและ ดาวเคราะห์แคระดวงอื่นๆ ที่อยู่ในบริเวณแถบไคเปอร์ ​ ยานนิวฮอไรซอนส์ มีลักษณะคล้ายและใกล้เคียงกับเครื่องเล่นเปียโนที่ติดตั้ง จานดาวเทียมอยู่ข้างบน มีความสูง 0.7 เมตร ยาว 2.1 เมตร และกว้าง 2.7 เมตร น้ำหนัก 478 กิโลกรัม ติดตั้งอุปกรณ์สำคัญ 7 ชุดอุปกรณ์ ได้แก่ • LORRI : กล้องโทรทรรศน์และกล้องถ่ายภาพความละเอียดสูง ใช้ถ่ายภาพ เพื่อการสำรวจในระยะไกล • Alice: กล้องถ่ายภาพในช่วงคลื่นอัลตราไวโอเลตใช้วิเคราะห์ชั้นบรรยากาศ ของดาวพลูโต • Ralph:กล้องถ่ายภาพสีในช่วงคลื่นแสงที่ตาเรามองเห็นและคลื่นอินฟราเรด และยังช่วยสร้างภาพแผนที่บนผิวดวงดาวที่แสดงถึงอุณหภูมิความร้อนด้วย • SWAP : อุปกรณ์ตรวจสอบลมสุริยะที่เกิดขึ้นรอบๆ ดาวพลูโต • PEPSSI:อุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณโมเลกุลและอะตอมที่หลุดลอดออกมาจาก บรรยากาศของดาวพลูโต • REX : จานส่งคลื่นวิทยุซึ่งเปรียบเสมือนเสาอากาศที่ส่งคลื่นสัญญาณจาก ดาวพลูโตไปยังโลก • SDC (Student Dust Counter) : อุปกรณ์ชิ้นนี้สร้างโดยนักศึกษา มหาวิทยาลัยโคโลราโดใช้ตรวจวัดผลกระทบของฝุ่นที่มีต่อยานนิวฮอไรซอนส์ ตลอดภารกิจนี้ Cover Story 4 ฉบับที่ 29 สิงหาคม 2558 ‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس
  • 5. ฉบับที่ 29สิงหาคม 2558 ‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس 5 ยานนิวฮอไรซอนส์ เคลื่อนที่ โดยใช้เชื้อเพลิงหรือพลังงาน จากแหล่งใด ชมคลิปวิดีโอแสดงภาพแอนิเมชันการเดินทางของยานนิวฮอไรซอนส์ ตั้งแต่ปล่อยออกจากโลก ผ่านดาวพฤหัสบดี แล้วอาศัยแรงโน้มถ่วงของดาว พฤหัสบดีช่วยเหวี่ยงเร่งความเร็วไปถึงดาวพลูโต ได้ที่เว็บ ​เนื่องจากดาวพลูโตเป็นดาวที่อยู่ห่างไกลจากโลกมาก ดังนั้นเพื่อเป็นการร่น ระยะเวลาในการเดินทางให้น้อยลงจึงจำเป็นต้องให้ยานเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง (กระนั้นก็ตาม การเดินทางของยานครั้งนี้ก็ต้องใช้เวลาถึง 9 ปีเศษ) ซึ่งแหล่ง เชื้อเพลิงหรือพลังงานจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ​ยานนิวฮอไรซอนส์ ถูกส่งขึ้นไปจากโลกด้วยความเร็วต้นที่สูงมากคือราว 16 กิโลเมตรต่อวินาที หรือในอัตราความเร็วประมาณ 58,000 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง โดยใช้พลังงานจากจรวดเชื้อเพลิงขับดันจนพ้นแรงโน้มถ่วงของโลก สู่อวกาศ พลังงานที่เหลือจะใช้เพื่อการปรับทิศทางการโคจรเท่านั้น จนยาน เคลื่อนเข้าสู่ดาวพฤหัสบดี ก็จะอาศัยแรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีช่วยเหวี่ยง เพื่อเพิ่มความเร็วขึ้นไปอีกเป็น 20 กิโลเมตรต่อวินาที จนไปถึงดาวพลูโต อย่างไรก็ตามภายในยานเองก็ยังมีอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่จำเป็นต้องใช้ ไฟฟ้าด้วย ซึ่งปกติถ้าเป็นยานสำรวจดาวเคราะห์ชั้นในที่ไม่ห่างจากดวงอาทิตย์ การใช้แผงโซลาร์เซลล์ก็ยังมีความสำคัญในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็น กำลังไฟฟ้าได้ แต่กรณีของดาวพลูโตนี้ อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มาก การใช้ ประโยชน์จากแผงโซลาร์เซลล์จึงไม่มีความจำเป็น ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงได้ คิดหาพลังงานจากแหล่งอื่นให้กับยานนิวฮอไรซอนส์แทน นั่นคือพลูโตเนียม ซึ่งเป็นธาตุกัมมันรังสีโดยมันจะสลายตัวและให้พลังงานความร้อนออกมาจากนั้น จึงใช้อุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นกำลังไฟฟ้านำไปใช้ประโยชน์ ยานนิวฮอไรซอนส์ส่งภาพมายัง โลกได้อย่างไร และใช้เวลาเท่าไร การรับส่งข้อมูลหรือการสื่อสารต่างๆ ระหว่างยานนิวฮอไรซอนส์กับโลกนั้น จะรับส่งโดยใช้คลื่นวิทยุที่ย่านความถี่ 8-12 GHz โดยยานจะมีจาน รับส่งสัญญาณขนาด 2.1 เมตร ขณะที่บนโลก สถานีรับส่งสัญญาณคือ Deep Space Network ของนาซา ซึ่งมีจานดาวเทียมขนาด 26-70 เมตร ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณ โดยมีเครือข่ายอยู่สามแห่ง คือ สหรัฐอเมริกา สเปน และออสเตรเลีย และในจำนวนนี้จะมีสถานีอย่างน้อยหนึ่งแห่งที่จานรับส่ง สัญญาณจะหันหน้าไปยังตำแหน่งของยานเสมอ ​ สำหรับระยะเวลาในการส่งข้อมูลถึงโลก ข้อมูลที่ส่งผ่านคลื่นวิทยุซึ่งเป็นคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้าแม้จะมีอัตราเร็วเท่ากับการเดินทางของแสงคือราวสามแสน กิโลเมตรต่อวินาทีก็ตาม แต่ด้วยระยะทางระหว่างโลกกับดาวพลูโตหรือ ยานนิวฮอไรซอนส์ขณะเคลื่อนตัวเข้าใกล้ดาวพลูโตนั้นอยู่ห่างไกลกันกว่า 3 พันล้านไมล์ หรือเกือบ 5 พันล้านกิโลเมตร ทำให้ต้องใช้เวลากว่า 4 ชั่วโมง ทำนองเดียวกันหากนักวิทยาศาสตร์บนพื้นโลกจะสั่งการใดๆ ไปที่ยาน ก็ต้องใช้เวลากว่า 4 ชั่วโมงเช่นกัน Cover Story http://www.nasa.gov/press/2015/january/nasa-s-new-horizons-spacecraft-begins-first-stages-of-pluto-encounter ฉบับที่ 29สิงหาคม 2558 ‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس 5
  • 6. 6 ฉบับที่ 29 สิงหาคม 2558 ‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس Cover Story นิวฮอไรซอนส์ ไขความลับ ดาวพลูโต จากภาพถ่ายพื้นผิวดาวพลูโตทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องทึ่งเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะความคิดเดิมๆ ที่คาดว่าพื้นผิวดาวพลูโตที่ผ่านการดำรงอยู่มาอย่าง ยาวนานน่าจะมีร่องรอยของหลุมอุกกาบาตหรือหลุมบ่อต่างๆ จำนวนมาก จากการถูกวัตถุจากภายนอกมากระทำ และทิ้งร่องรอยเหล่านี้ไว้ซึ่งจะเป็นข้อมูล ให้เราสามารถประเมินอายุของดาวพลูโตหรือสภาพบรรยากาศในอดีตได้ ไม่ต่าง อะไรจากริ้วรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้าของคนที่ชราภาพไปตามวัย และความหยาบ กร้านของผิวหนังที่ผ่านสายลมและแสงแดดมาเนิ่นนานแต่จากหลักฐานภาพถ่าย ของยานนิวฮอไรซอนส์ที่ส่งกลับมายังโลกปรากฏว่าพื้นผิวของดาวพลูโตส่วนใหญ่ กลับราบเรียบ ราวกับทุ่งราบน้ำแข็งอันกว้างใหญ่ เสมือนมีการเปลี่ยนแปลง ทางธรณีวิทยามาไม่นาน ถ้าเช่นนั้นมันมีพลังงานจากแหล่งใดหรือไม่ที่ก่อให้เกิด สภาพการณ์เช่นนี้ได้ เป็นปริศนาที่น่าสนใจและค้นหาคำตอบ สภาพบรรยากาศของดาวพลูโตเนื่องจากดาวพลูโตมีแรงโน้มถ่วงที่น้อยมาก คือประมาณ 0.65 เมตร/วินาที2 (โลกมีแรงโน้มถ่วง 9.8 เมตร/วินาที2 ) ส่งผลให้ ก๊าซที่อยู่ในชั้นบรรยากาศของดาวพลูโตถูกดึงดูดด้วยแรงที่น้อยมากจึงทำให้ก๊าซ มีการกระจายตัวออกไปได้มาก โดยพบว่าก๊าซในชั้นบรรยากาศดาวพลูโตมี ความหนาถึง 1,600 กิโลเมตร (แต่เดิมเราเข้าใจว่าดาวพลูโตมีความหนาของ บรรยากาศราว 270 กิโลเมตรเท่านั้น) และเต็มไปด้วยก๊าซไนโตรเจน (N2 )​ ​ปรากฏการณ์ลมสุริยะที่ดาวพลูโต แม้ว่าดาวพลูโตจะอยู่ห่างไกลจาก ดวงอาทิตย์มาก แต่ปรากฏการณ์ลมสุริยะก็ยังส่งผลมาถึงที่นี่เช่นกัน และทำให้ เกิดอนุภาคของประจุไฟฟ้าแผ่กระจายเป็นหางยาวออกจากดาวพลูโต ภาพดาวพลูโตภาพนี้สร้างสรรค์มาจากภาพขาว-ดำ 4 ภาพ ที่ถ่ายจากกล้อง LORRI และข้อมูลภาพสีจากกล้อง Ralph ซึ่ง ถ่ายโดยยานนิวฮอไรซอนส์ที่ระยะ 450,000 กิโลเมตร ภาพสี ภาพนี้ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ใช้ตรวจสอบความแตกต่างของ องค์ประกอบและพื้นผิวดาวพลูโต ดังบริเวณที่สว่างที่คล้ายรูป หัวใจ นั่นคือบริเวณแหล่งที่เป็นน้ำแข็งนั่นเอง (เครดิตภาพ : NASA/JHUAPL/SwRI) ภาพถ่ายพื้นผิวดาวพลูโตในระยะใกล้บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร เผยให้เห็นภูเขาอายุยังน้อย มีความสูงราว 3,500 เมตร เหนือพื้นผิวที่เป็นน้ำแข็ง (เครดิตภาพ : NASA/JHUAPL/SwRI) ชมภาพแอนิเมชันของดาวพลูโตช่วงเวลาต่างๆ ในหลาย ทศวรรษ นับตั้งแต่เริ่มพบครั้งแรกโดย ไคลด์ ทอมบอห์ (Clyde Tombaugh) เมื่อ พ.ศ. 2473 และช่วงเวลาต่อมาเป็นภาพ ที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล จนล่าสุดเป็นภาพที่ได้ จากยานนิวฮอไรซอนส์ ซึ่งภาพสุดท้ายเป็นภาพถ่ายระยะใกล้ ของพื้นผิวดาวพลูโต ชมได้ที่เว็บ http://www.nasa.gov/image-feature/goddard/views-of-pluto-through-the-years 6 ฉบับที่ 29 สิงหาคม 2558 ‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس
  • 7. ฉบับที่ 29สิงหาคม 2558 ‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس 7 Cover Story ภาพและข้อมูลจากดาวพลูโต จะเป็นกุญแจสำคัญที่ทยอยไขความลับให้มนุษย์เราได้รับทราบเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง ความรู้ความเข้าใจที่ได้นี้ คงจะนำไป สู่การถกเถียงให้เพิ่มพูนปัญญาในทางวิชาการ กระทั่งการเขียนตำราหรือหนังสือใหม่ๆ เพื่อเป็นองค์ความรู้ให้มนุษยชาติรุ่นหลังได้ศึกษากันต่อไป ภาพแสดงรอยแตกบนพื้นผิวของดาวพลูโต ภาพนี้ถ่ายโดยกล้อง LORRI เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 ที่ระยะเหนือพื้นผิวดาวพลูโต ประมาณ 77,000 กิโลเมตร (เครดิตภาพ : NASA/JHUAPL/SWRI) ภาพดวงจันทร์แครอน (Charon) ของดาวพลูโต ถ่ายเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 ที่ระยะประมาณ 79,000 กิโลเมตร เหนือพื้นผิวดาวพลูโต ก่อนที่อีกหนึ่งชั่วโมงครึ่ง ต่อมา ยานนิวฮอไรซอนส์จะเคลื่อนตัวเข้าใกล้ดาวพลูโตที่สุด ภาพนี้แสดงให้เห็น รายละเอียดพื้นผิวที่มีร่องรอยของหลุมอุกกาบาตรวมถึงภูเขาที่เกิดขึ้นในแอ่ง (Mountain in a Moat) ของดวงจันทร์แครอน (เครดิตภาพ : NASA/JHUAPL/SWRI) แหล่งข้อมูลและภาพอ้างอิง http://thaiastro.nectec.or.th/library/pluto/pluto.html http://www.narit.or.th/index.php/astronomy-article/2114-new-horizons-pluto-surway รายการ ตอบโจทย์ ไทยพีบีเอส : มหัศจรรย์ “พลูโต” ความลี้ลับ “ระบบสุริยะ” (20 ก.ค. 58) https://www.youtube.com/watch?v=_GVVThukn34 http://www.dek-d.com/education/37747/ http://solarsystem.nasa.gov/missions/profile.cfm?MCode=PKB&Display=ReadMore http://www.ninfinger.org/karld/My%20Space%20Museum/newhorizons.htm https://amazing-space.stsci.edu/news/archive/2007/01/ill-01.php http://pluto.jhuapl.edu/Mission/The-Path-to-Pluto/Mission-Timeline.php http://i.imgur.com/u5riBSG.jpg http://www.sunflowercosmos.org/cosmology/cosmology_main/scale_universe%20_1.html http://www.nasa.gov/press-release/nasa-pluto-new-horizons-july-13-media-briefing-time-change-media-center-open http://www.nasa.gov/image-feature/pluto-dazzles-in-false-color http://www.nasa.gov/image-feature/the-icy-mountains-of-pluto http://www.nasa.gov/feature/frozen-plains-in-the-heart-of-pluto-s-heart http://www.nasa.gov/image-feature/new-horizons-close-up-of-charon-s-mountain-in-a-moat http://www.nasa.gov/image-feature/pluto-and-charon-in-natural-color ภาพถ่ายดาวพลูโตคู่กับดวงจันทร์แครอนจากกล้อง LORRI ประกอบกับข้อมูลข้อมูลสีจากกล้อง Ralph ถ่ายโดยยานนิวฮอไรซอนส์ที่ระยะ 250,000 กิโลเมตร เหนือพื้นผิวดาวพลูโต ก่อนที่อีก 5 ชั่วโมงต่อมา ยานได้เคลื่อนตัวเข้าใกล้ดาวพลูโตที่สุด (เครดิตภาพ : NASA/JHUAPL/SWRI) ฉบับที่ 29สิงหาคม 2558 ‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس 7
  • 8. 8 ฉบับที่ 29 สิงหาคม 2558 ‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس ระเบียงข่าว วิทย์-เทคโนฯ ไทย กองบรรณาธิการ Cell Scan ระบบตรวจนับเซลล์แบบอัตโนมัติ การนับจำนวนเซลล์ มีความสำคัญมากต่อการพัฒนางานวิจัย และอุตสาหกรรมหลายประเภทโดยทั่วไปเราจะใช้เครื่องตรวจนับเซลล์ ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมีขนาดใหญ่ ราคาสูง และต้องอาศัย ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ผลการนับ แต่ตอนนี้นักวิจัยไทยของเราสามารถ พัฒนาเครื่องมือที่ช่วยให้การตรวจนับจำนวนเซลล์ทำได้ง่ายขึ้นแล้ว ​ Cell Scan หรือ ระบบตรวจนับเซลล์แบบอัตโนมัติด้วยภาพจาก CMOS Sensor ผลงานของนักวิจัย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)พัฒนาขึ้นโดยใช้เทคนิคการนับเซลล์ แบบใหม่ที่ใช้ CMOS Sensor ในการตรวจวิเคราะห์ภาพแทนการใช้ เลนส์ ทำให้ภาพไม่บิดเบือน ระบบสามารถนับเซลล์ได้ปริมาณมากในเวลาที่รวดเร็ว และ ให้ผลถูกต้องแม่นยำไม่แตกต่างจากเครื่องมือนับเซลล์ทั่วไป โดย ไม่ต้องอาศัยผู้ชำนาญการ ไม่ต้องใช้สารเคมีเพื่อย้อมสีก่อนนับ จำนวนเซลล์ และยังมีค่าใช้จ่ายในการนับที่ถูกกว่าด้วย ​Cell Scan สามารถประยุกต์ใช้ในการนับจำนวนเซลล์ได้ หลากหลายชนิดในงานด้านต่างๆ เช่น ห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์ การทดสอบยา การตรวจนับสเต็มเซลล์ การผสมเทียม และการทำ เด็กหลอดแก้วห้องปฏิบัติการวิจัยโรงงานอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ​เครื่อง Cell Scan จึงถือได้ว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อวงการแพทย์ และอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของไทย ช่วยประหยัดเงินตรา จากการนำเข้าเครื่องนับเซลล์จากต่างประเทศได้เป็นอย่างดี Z-Baby แอปพลิเคชัน เฝ้าติดตามลูกน้อยในครรภ์มารดา พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ เป็นสิ่งสำคัญที่คุณพ่อ คุณแม่ทุกท่านใส่ใจ เฝ้าดูแลเป็นพิเศษ และหากคุณพ่อคุณแม่ ต้องการเฝ้าติดตามพัฒนาการของลูกน้อยอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น อยากทราบน้ำหนัก อายุครรภ์ หรือกำหนดวันคลอดด้วยตัวเอง ให้ Z-Baby ช่วยได้ ​Z-Baby เป็นแอปพลิเคชันสำหรับสมาร์ตโฟนที่รองรับระบบ ปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2.2 ขึ้นไป ที่นักวิจัย สวทช. พัฒนาขึ้น เพื่อ ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถเฝ้าติดตามพัฒนาการของลูกน้อยใน ครรภ์ได้อย่างใกล้ชิด ชนิดสัปดาห์ต่อสัปดาห์ ด้วยการจำลอง การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ในรูปแบบ 3 มิติ พร้อมแสดง คำอธิบายในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ​Z-Baby ยังช่วยให้คุณแม่ทราบน้ำหนักที่เหมาะสมที่ควรจะเป็น และเปรียบเทียบน้ำหนักคุณแม่ว่าอยู่ในเกณฑ์หรือไม่ด้วยระบบ BMI เพื่อให้คุณแม่ดูแลครรภ์ให้ลูกน้อยเติบโต มีขนาดและน้ำหนักตัว ที่ปกติ รวมถึงทราบปริมาณแคลอรีที่ควรได้รับระหว่างตั้งครรภ์ พร้อมแนะนำเมนูอาหารที่ดีต่อสุขภาพของทั้งคุณแม่และลูกรัก ​ คุณพ่อคุณแม่ที่อยากทราบวันที่ลูกน้อยจะลืมตาดูโลก ก็สามารถให้ Z- Baby ช่วยคำนวณอายุครรภ์ และกำหนดวันคลอดได้อีกด้วย 8 ฉบับที่ 29 สิงหาคม 2558 ‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس
  • 9. ฉบับที่ 29สิงหาคม 2558 ‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس 9 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เตือน อันตรายจากหมึกสักลาย คนหลายคนชื่นชอบการมีรอยสักลวดลายอักขระหรือรูปสัตว์ ต่างๆ บนร่างกาย เพราะถือเป็นศิลปะที่สวยงามหรือความเชื่อ ส่วนบุคคลก็ตาม ปัจจุบันการสักได้เข้ามามีบทบาทด้านการเสริมสวย ความงาม เช่น การสักคิ้วถาวร การสักริมฝีปาก ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่ ผู้หญิงที่ต้องการสักเพื่อเสริมความงามและต้องการประหยัดเวลา ในการนั่งเขียนขอบตาหรือเขียนคิ้ว แต่ในความสวยงามจากการสัก อาจมีอันตรายที่แอบแฝงอยู่ หากผู้ที่ทำการสักไม่มีความชำนาญ และอุปกรณ์การสักไม่สะอาด เพราะอาจทำให้มีโอกาสติดเชื้อโรค ได้ เช่น การใช้เข็มที่ไม่สะอาดหรือเข็มที่ผ่านการทำให้ปลอดเชื้อที่ ไม่ได้มาตรฐานเพียงพอ เชื้อโรคที่มีโอกาสติดต่อได้จากการสัก ได้แก่ เชื้อไวรัสตับอักเสบบี เชื้อ HIV ​นอกจากนี้หมึกสำหรับสักลายอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผิวหนัง ทำให้เกิดการแพ้ เกิดเป็นผื่นหรือตุ่มแดง บางรายเกิดอาการคันใน ตำแหน่งของรอยสักนั้นๆ ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือปล่อยทิ้งไว้ก็ อาจทำให้ผิวหนังอักเสบได้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนัก เครื่องสำอางและวัตถุอันตรายได้ศึกษาคุณภาพทางเคมี และทาง จุลชีววิทยาของหมึกสำหรับสักลายที่จำหน่ายในประเทศไทย เพื่อ ประเมินคุณภาพและความปลอดภัย โดยสุ่มเก็บตัวอย่างหมึกสำหรับ สักลายจำนวน 52 ตัวอย่าง นำมาตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ จำแนกผลได้ดังนี้ ​การวิเคราะห์โลหะหนัก พบสารหนูเกินมาตรฐานกำหนด 4 ตัวอย่างปริมาณสูงสุดที่ตรวจพบ14.64ไมโครกรัมต่อกรัมแคดเมียม 4 ตัวอย่าง ปริมาณสูงสุดที่ตรวจพบ 7.89 ไมโครกรัมต่อกรัม ตะกั่ว 2 ตัวอย่างแต่ไม่เกินมาตรฐานกำหนดโดยตรวจพบในปริมาณที่น้อยกว่า 5 ไมโครกรัมต่อกรัม ส่วนปรอทและสีห้ามใช้ตรวจไม่พบทุกตัวอย่าง ทั้งนี้กฎหมายของอาเซียนด้านเครื่องสำอาง กำหนดให้สารหนู ปรอท และตะกั่วปนเปื้อนได้ไม่เกิน5,1และ20ไมโครกรัมต่อกรัมตามลำดับ และประเทศไทยกำหนดให้แคดเมียมไม่เกิน 3 ไมโครกรัมต่อกรัม สำหรับการตรวจคุณสมบัติทางจุลชีววิทยาหรือตรวจหาเชื้อก่อโรค พบเชื้อแบคทีเรียเกินกำหนด 13 ตัวอย่าง และพบเชื้อซูโดโมแนส แอรูจิโนซา (Pseudomonasaeruginosa)1ตัวอย่างจำนวนแบคทีเรียปนเปื้อนที่พบอยู่ ในระดับ35,000-10,000,000โคโลนีต่อกรัมซึ่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้ไม่เกิน 1,000 โคโลนีต่อกรัม ​สำหรับหมึกสักลายที่มีการปนเปื้อนโลหะหนัก เมื่อเข้าสู่ร่างกาย ต่อเนื่องเป็นระยะนาน จะเกิดการสะสมที่บริเวณผิวหนัง และอาจเป็น สาเหตุของมะเร็งที่ผิวหนัง สำหรับเชื้อแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์ เมื่อเข้าสู่ ผิวหนัง จะก่อให้เกิดอันตรายได้ เช่น เชื้อซูโดโมแนส แอรูจิโนซา สามารถ ก่อโรคได้หลายชนิด หากติดเชื้อที่ปอดอาจจะทำให้ปอดและหลอดลมอักเสบ รวมถึงหากได้รับเชื้อทางผิวหนังอาจจะทำให้เกิดโรคทางผิวหนังชนิด เอกติม่า แกงกรีโนซัม (ecthyma gangrenosum) คือ มีอาการลักษณะ บวม แดง ค่อนข้างแข็ง ต่อมาจะกลายเป็นเนื้อตายได้ เชื้อสตาฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) ทำให้เกิดโรคตาแดง ระคายเคืองตา ทำให้หนังตาอักเสบ เป็นต้น ​สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ยังไม่ได้จัดให้หมึก สำหรับสักลายเป็นเครื่องสำอาง แต่พบว่าสีที่ใช้ในหมึกเป็นสีที่อนุญาต ให้ใช้ในเครื่องสำอางได้ ทั้งนี้หมึกสำหรับสักลายยังไม่มีข้อบังคับว่าให้เป็น ผลิตภัณฑ์ที่ต้องปราศจากเชื้อ จึงมีความเสี่ยงต่อสุขภาพได้ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และผู้ประกอบการสักลาย จึงควรตระหนัก และระมัดระวังในการใช้และไม่สักลายในบริเวณผิวที่บอบบางหรือมี การอักเสบเป็นแผลการใช้น้ำเจือจางหมึกและการล้างอุปกรณ์สำหรับสักลาย เช่น เข็มสำหรับสักลาย ควรใช้น้ำปราศจากเชื้อเท่านั้น ผู้บริโภคควรใช้บริการ จากผู้ประกอบการที่ได้มาตรฐาน เลือกสักลายด้วยหมึกสำหรับสักลายจาก ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายที่น่าเชื่อถือ ใช้บริการจากผู้สักลายที่รักษาสุขลักษณะ และถ้ามีประวัติแพ้สารใดมาก่อน ควรพิจารณาส่วนประกอบสำคัญอย่าง ละเอียด ก่อนการเลือกใช้หมึกสำหรับสักลาย ส่วนผู้ประกอบการควรล้างมือ ให้สะอาดและใส่ถุงมือเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ ระเบียงข่าว วิทย์-เทคโนฯ ไทย http://nih.dmsc.moph.go.th/index.php ฉบับที่ 29สิงหาคม 2558 ‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس 9
  • 10. 10 ฉบับที่ 29 สิงหาคม 2558 ‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس ระเบียงข่าว วิทย์-เทคโนฯ ไทย ผลไม้ในน้ำเชื่อมบรรจุในถุงรีทอร์ต เทคโนโลยีใหม่เพื่อการส่งออก กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โชว์ผลงาน “ผลไม้ในน้ำเชื่อมบรรจุในถุงรีทอร์ต” เป็นผลงานวิจัยที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ที่มีความพร้อมทาง การตลาด นำเสนอต่อผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม (SME) เพื่อเพิ่มมูลค่าและการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ ในการสร้างโอกาสและรายได้ในเชิงพาณิชย์ นางวรรณดี มหรรณพกุล นักวิจัยห้องปฏิบัติการพัฒนา เทคโนโลยีอาหารกล่าวว่าผลไม้ในน้ำเชื่อมบรรจุถุงรีทอร์ตได้ทำวิจัย และพัฒนาเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ศึกษาอุณหภูมิและเวลาใน การให้ความร้อนที่ 100 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่า เช่นที่ 90-95 องศาเซลเซียสฆ่าเชื้อจุลินทรีย์โดยใช้เครื่องฆ่าเชื้อชนิดฉีดพ่นไอน้ำร้อน (Hot Water Spray Retort) ใช้เวลาสั้นๆ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อสี กลิ่น รส และลักษณะเนื้อของผลไม้ ผลไม้ที่ได้ทดลองผลิตแล้ว ได้แก่ ทุเรียนในน้ำเชื่อม เงาะในน้ำเชื่อม ลำไยในน้ำเชื่อม ลิ้นจี่ในน้ำเชื่อม มังคุดในน้ำเชื่อม ลองกองในน้ำเชื่อม และผลไม้ในน้ำกะทิปรุงรส เช่น น้ำกะทิทุเรียนสำเร็จรูป ข้อดีของเทคโนโลยีนี้คือ ลดการปนเปื้อนโลหะหนัก ประเภทดีบุกและตะกั่วที่เกิดขึ้นในการผลิตผลไม้บรรจุกระป๋อง การค้นพบเทคนิคใหม่ด้วยการบรรจุผลไม้ในนำเชื่อมที่เข้มข้นมากกว่า 50องศาบริกซ์เช่นทุเรียนในน้ำเชื่อม55องศาบริกซ์พบว่าการให้ความร้อน ที่ 100 องศาเซลเซียส เพียงพอต่อการทำลายเชื้อจุลินทรีย์ได้ทั้งหมด ผลิตภัณฑ์ตรวจไม่พบจุลินทรีย์ สำหรับทุเรียนในน้ำกะทิต้องใช้อุณหภูมิ ที่สูงมากขึ้น เพื่อให้สามารถทำลายเชื้อจุลินทรีย์ได้ทั้งหมด ฤทธิ์สมานแผลของสารพอลิแซคคาไรด์ จากว่านหางจระเข้ (Aloe vera) เว็บไซต์ของสำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยผลการศึกษาฤทธิ์สมานแผลของสาร พอลิแซคคาไรด์ (polysaccharides) จากวุ้นว่านหางจระเข้ โดยทำการทดลองในหนูแรทเพศผู้ 45 ตัว ที่ทำให้เกิดแผลเปิดบริเวณ หลังขนาด1ซม.โดยแบ่งหนูออกเป็น3กลุ่ม(กลุ่มละ15ตัว)กลุ่มที่1 เป็นกลุ่มควบคุม ปล่อยให้แผลหายเองโดยไม่ได้รับการทายาชนิดใดๆ กลุ่มที่ 2 และ 3 ทาแผลด้วยสารพอลิแซคคาไรด์จากว่านหางจระเข้ที่ละลายในน้ำเปล่า ขนาด 25 และ 50 มก. ตามลำดับ แล้วนำมาทาแผลให้หนูทดลองวันละครั้ง นาน 30 วัน โดยวัดขนาดแผลทุกวัน ​จากนั้นแบ่งหนูจากแต่ละกลุ่มมาครั้งละ5ตัวเพื่อชำแหละและเก็บตัวอย่าง ผิวหนังบริเวณรอบๆ บาดแผล ในวันที่ 10, 20 และ 30 ของการทดลอง แล้ว นำมาวิเคราะห์การแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสมานแผล ด้วยวิธี Quantitative real time PCR ผลจากการทดลองพบว่า หนูแรทที่ ทาแผลด้วยสารพอลิแซคคาไรด์จากว่านหางจระเข้ทั้งสองขนาด มีอัตรา การสมานแผลเร็วกว่าหนูกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ โดยการทาแผลด้วย สารพอลิแซคคาไรด์จากว่านหางจระเข้ขนาด 25 และ 50 มก. ปากแผลจะปิด ในวันที่ 21 และ 18 ตามลำดับ ส่วนในกลุ่มควบคุมนั้น ปากแผลเริ่มปิด ในวันที่ 27 ของการทดลอง นอกจากนี้การทาแผลด้วยสารพอลิแซคคาไรด์จากว่านหางจระเข้ยังเพิ่ม การแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเซลล์ผิวหนังขึ้นใหม่อีกด้วย แสดงให้เห็นว่าสารพอลิแซคคาไรด์จากว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ช่วยในการสมานแผล ทำให้แผลหายได้เร็วขึ้น ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเทคโนโลยีได้ที่นางวรรณดี มหรรณพกุล อีเมล : wannadee@dss.go.th โทรศัพท์ 0-2201-7415 , 0-2201-7420 http://www.dss.go.th/index.php/component/content/article.html?id=824 ข้อมูลจาก http://www.medplant.mahidol.ac.th/active/shownews.asp?id=1098 ภาพจาก http://health.kapook.com/view41336.html 10 ฉบับที่ 29 สิงหาคม 2558 ‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس
  • 11. ฉบับที่ 29สิงหาคม 2558 ‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس 11 ระเบียงข่าว วิทย์-เทคโนฯ ไทย หลินปิงคลอดลูกแฝด หลินฮุ่ยได้รับการผสมเทียม ข่าวทางหน้าเฟซบุ๊คของสวนสัตว์เชียงใหม่รายงานว่า หลินปิง แพนด้ายักษ์ที่เกิดจากการผสมเทียมจากพ่อ “ช่วงช่วง” และแม่ “หลินฮุ่ย” ในสวนสัตว์เชียงใหม่ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ศูนย์วิจัยและ อนุรักษ์พันธุ์แพนด้ายักษ์แห่งชาติจีน เมืองตูเจียงเยี่ยน มณฑลเสฉวน ประเทศจีน ได้คลอดลูกแฝดเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ที่ผ่านมา โดยลูกแฝดของหลินปิงเกิดจากการผสมเทียมเช่นกันปัจจุบันหลินปิง มีอายุได้ 6 ปี และมีสุขภาพแข็งแรงดี ​ ทางด้านหลินฮุ่ย เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ที่ผ่านมา ทางทีม สัตวแพทย์สวนสัตว์เชียงใหม่ได้ตรวจวัดปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมการทำงานของรังไข่และทำให้เกิดพฤติกรรม การเป็นสัด พบว่ามีความเข้มข้นสูงสุด ทางสวนสัตว์จึงปล่อยให้ ช่วงช่วงมาอยู่กับหลินฮุ่ย แต่การผสมพันธุ์ไม่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ในช่วงดึกของวันเดียวกัน ทีมสัตวแพทย์จึงได้ทำการผสมเทียม โดยวางยาสลบเก็บน้ำเชื้อช่วงช่วง ได้น้ำเชื้อสดคุณภาพดี แล้วนำมา ผสมเทียมให้กับหลินฮุ่ย ซึ่งหลังจากที่ตรวจสุขภาพของหมีแพนด้า แล้ว พบว่า หมีแพนด้าทั้งสองมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงดี ภาพและข้อมูลจาก http://www.chinapanda.org.cn/blog.php?id=1481 https://www.facebook.com/FanpageChiangMaiZoo/posts/924807227565994 เด็กไทยคว้าชัยการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ IDC Robocon 2015 ที่ประเทศสิงคโปร์ ​การแข่งขันหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ IDC Robocon 2015 ที่ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม-1 สิงหาคม 2558 โจทย์ในปีนี้คือ space cleaner มีทีมที่ผ่านเข้าแข่งขันจำนวน 10 ทีม โดยแต่ละทีมคละนักศึกษาประเทศต่างๆ ซึ่งมีมหาวิทยาลัยเข้าร่วม ทั้งสิ้น 21 แห่ง ผลการแข่งขันมีดังนี้ • ทีม MEC-JT ของนายภาคภูมิ รุจิพรรณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 • ทีม Lime of Hope ของนายพีรวิชช์ ศิริอุดมรัตน์ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 • ทีม Spong Bob & Patrick ของนายณัฐพล ยุบลเลิศ มหาวิทยาลัย ราชภัฏชัยภูมิ ได้รับรางวัลออกแบบยอดเยี่ยม MECH-D Design Award ​ คงต้องรอลุ้นกันต่อไปว่าการผสมเทียมครั้งนี้จะประสบความสำเร็จจน ให้กำเนิดลูกแพนด้าน้อยต่อจากหลินปิงได้หรือไม่ ฉบับที่ 29สิงหาคม 2558 ‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس 11
  • 12. 12 ฉบับที่ 29 สิงหาคม 2558 ‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس ระเบียงข่าว วิทย์-เทคโนฯ ไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ส่งผู้แทนเยาวชนไทยเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระหว่าง ประเทศ ประจำปี 2558 ใน 5 สาขา ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ ซึ่งผลการแข่งขันมีดังนี้ ฟิสิกส์โอลิมปิกระหว่างประเทศ : 1 เหรียญทอง 4 เหรียญเงิน เยาวชนไทยคว้าเหรียญ โอลิมปิกวิชาการ 2 เหรียญทอง ได้จาก นายสุชาญ วิวัฒน์เศรษฐชัย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร เด็กชายวิชญ์พล อัครเสรีนนท์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 3 เหรียญเงิน ได้จาก นายธีร์ งามแสงรัตน์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร นายศิวกร สงวนหมู่ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม นายพชร เศวตมาลย์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร 1 เหรียญทองแดง ได้จาก นายทัชชนก คำพิทักษ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) จังหวัดขอนแก่น การแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 56 นี้ ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพ จัดระหว่างวันที่ 4-16 กรกฎาคม 2558 ที่จังหวัดเชียงใหม่ มีผู้เข้าแข่งขันทั้งสิ้น 577 คน จาก 104 ประเทศ โดยทีมไทยได้คะแนนรวมเป็น อันดับที่ 12 ชีววิทยาโอลิมปิกระหว่างประเทศ : 1 เหรียญทอง 3 เหรียญเงิน 1 เหรียญทอง ได้จาก นายภูมิ สิริวิบูลย์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม 4 เหรียญเงิน ได้จาก นายวัชระ ศรวณีย์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพฯ นายอภิชาติเมธีโชติรัตนพิทักษ์โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ กรุงเทพฯ นายสมภพ ชนกประสิทธิ์ โรงเรียนโยธินบูรณะ กรุงเทพฯ นายปณวัฒน์ วงศ์แกล้ว โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม ​การแข่งขันครั้งนี้จัดระหว่างวันที่ 4-13 กรกฎาคม 2558 ณ เมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 382 คน จาก 86 ประเทศ คณิตศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ : 2 เหรียญทอง 3 เหรียญเงิน 1 เหรียญทองแดง 1 เหรียญทอง ได้จาก นายสาริศ จตุรภุชพรพงศ์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ 3 เหรียญเงิน ได้จาก นายธีร์ อุดมล้ำเลิศ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ นายอริญชย์ วงศ์พร้อมมูล โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม นายรัชชานนท์ พรมงคลสุข โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ ​การแข่งขันครั้งนี้จัดระหว่างวันที่ 12-19 กรกฎาคม 2558 ณ เมืองออร์ฮูส ประเทศเดนมาร์ก มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 239 คน จาก 61 ประเทศ 12 ฉบับที่ 29 สิงหาคม 2558 ‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس
  • 13. ฉบับที่ 29สิงหาคม 2558 ‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس 13 ระเบียงข่าว วิทย์-เทคโนฯ ไทย เคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ : 1 เหรียญทอง 3 เหรียญเงิน 1 เหรียญทอง ได้จาก นายวีรภัทร ยศอมรสุนทร โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพฯ 3 เหรียญเงิน ได้จาก นายนภสินธุ์ วิทยาภาเลิศ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพฯ นายเรืองรวี กิติโชตน์กุล โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพฯ นายภัคพล ปรัชญาธรรมกร โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม การแข่งขันครั้งนี้จัดระหว่างวันที่ 20-29 กรกฎาคม 2558 ณ กรุงบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน คอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ : 4 เหรียญเงิน แหล่งข้อมูลและภาพจาก https://www.facebook.com/ipst.thai?ref=bookmarks 1 เหรียญทอง ได้จาก นางสาวชนิตา ทับทอง โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย กรุงเทพฯ 3 เหรียญทองแดง ได้จาก นางสาวมนต์ชาดา สุขหร่อง โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม นางสาวปณิดา เซ็น โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม นางสาวสุญาดา เสตกรณุกูล โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม 1 ใบประกาศเกียรติคุณ ได้จาก นางสาวณัชชา ฉันทชัยวัฒน์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพฯ ​ การแข่งขันครั้งนี้จัดระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม 2558 ณ เมืองเซอมารัง ประเทศอินโดนีเซีย ดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ : 1 เหรียญทอง 3 เหรียญทองแดง และ 1 ใบประกาศเกียรติคุณ 4 เหรียญเงิน ได้จาก นายธีมธรรศ จิรนันท์ธวัช โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ นายภูมิรพี ลือนาม โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพฯ นายนนทกฤษ ไชยวงศ์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม นายพีรสิชฌ์ เจริญจิตเสรีวงศ์ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม กรุงเทพฯ ​ การแข่งขันครั้งนี้จัดระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 2558 ณ เมืองอัลมาตี ประเทศคาซัคสถาน มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 324 คน จาก 84 ประเทศ ฉบับที่ 29สิงหาคม 2558 ‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس 13
  • 14. 14 ฉบับที่ 29 สิงหาคม 2558 ‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس หน้าต่างข่าว วิทย์-เทคโนฯ โลก เรียบเรียงโดย เจษฎา กีรติภารัตน์ เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) อนุมัติการก่อสร้าง กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ “ไจแอนท์ แมกเจลแลน” หนึ่งในกล้องโทรทรรศน์ทางแสงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ ไจแอนท์ แมกเจลแลน (Giant Magellan Telescope, GMT) จะถูกติดตั้งที่ ลาสคัมปานาส ประเทศชิลี ด้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางรวมของกระจกถึง 24.5 เมตร ซึ่งจะทำให้นักดาราศาสตร์สามารถศึกษาวัตถุยุคแรกๆ ที่เปล่งแสงในเอกภพ การวิเคราะห์ สสารมืด และพลังงานมืด รวมไปถึงดาวเคราะห์ในบริเวณที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต http://www.narit.or.th/index.php/astronomy-news/2159-giant-magellan-telescope กล้องโทรทรรศน์ ไจแอนท์ แมกเจลเลน ใช้งบประมาณ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในการติดตั้งบริเวณสันเขาลาสคัมปานาส ในพื้นที่ ทะเลทรายอตาคามาร์ โดยหินปริมาณถึง 2,500 ลูกบาศก์เมตร จะต้องถูก ขุดออกในการสร้างพื้นที่ราบสำหรับการติดตั้งและเส้นทางการเดินทาง ไปยังหอดูดาวดังกล่าว ซึ่งถ้าเปรียบเทียบแล้วจะมีขนาดพอๆ กับสนาม ฟุตบอลถึงสี่สนามเลยทีเดียว หัวใจสำคัญสำหรับกล้องโทรทรรศน์ตัวนี้หนีไม่พ้นกระจกขนาด 8.4 เมตร จำนวนเจ็ดชิ้น โดยสามในเจ็ดชิ้นอยู่ในขั้นตอนการผลิต และอีก สี่ชิ้นที่เหลือจะเริ่มผลิตเร็วๆ นี้ “เราคาดว่ากระจกจะถูกติดตั้งประมาณ สามหรือสี่ชิ้นในช่วงปลายปี พ.ศ. 2564 ถึงต้นปี พ.ศ. 2565 โดยจะเริ่มใช้ ในงานทางดาราศาสตร์ได้บางส่วนหลังจากนั้นจะเริ่มประกอบกระจกในส่วน ที่เหลือให้เสร็จในช่วง พ.ศ. 2567-2568 ซึ่งมันจะกลายเป็นกล้องโทรทรรศน์ ทางแสงที่ใหญ่ที่สุดในโลก” แพท แม็กคาร์ตี้ ผู้อำนวยการกล้องโทรทรรศน์ ไจแอนท์ แมกเจลแลน กล่าว กล้องโทรทรรศน์ไจแอนท์ แมกเจลแลน จะเป็นหนึ่งในสามกล้อง โทรทรรศน์ทางแสงที่ติดตั้งภาคพื้นที่ใหญ่ที่สุดในสิบปีข้างหน้า โดยกล้อง สองตัวที่เหลือคือ กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่มากของยุโรป (European Extremely Large Telescope, E-ELT) ขนาด 39 เมตร ในประเทศชิลี และกล้องโทรทรรศน์ขนาด 30 เมตร (Thirty Meter Telescope, TMT) ที่จะติดตั้งในฮาวาย ซึ่งการติดตั้ง TMT ยังไม่ทราบช่วงเวลาที่แน่ชัดเนื่องจาก การคัดค้านของชาวพื้นเมืองฮาวาย ซึ่งกล้อง E-ELT และ TMT จะมี การออกแบบกระจกบนตัวกล้องให้มีขนาดเล็กและประกอบกันในจำนวนที่มาก ซึ่งแตกต่างกับ GMT ที่ประกอบด้วยกระจกเพียงเจ็ดชิ้นเท่านั้น แพทยังกล่าวอีกว่า “เราคิดว่ามันเป็นข้อได้เปรียบที่กระจกมีพื้นที่ใน การรับแสงมากและมีแนวรอย ต่อระหว่างกระจกที่น้อย โดยเฉพาะในกรณีที่ ต้องศึกษาดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดาวฤกษ์ นอกจากนี้ GMT ยังใช้เทคโนโลยีที่ ทำให้มีความสามารถในการปรับตำแหน่งการรวมแสงที่กระจกรอง เพื่อลด ปัญหาผลกระทบของแสงเนื่องจากชั้นบรรยากาศอีกด้วย(AdaptiveOptics) ทำให้ภาพที่ได้มีความชัดเจนกว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลถึงสิบเท่า”
  • 15. ฉบับที่ 29สิงหาคม 2558 ‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس 15 ห้องภาพวิทย์ Sci-Gallery ปริทัศน์ เทียนทอง ระบบประสาทของแมลงวันผลไม้ จากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ภาพระบบประสาทของแมลงวันผลไม้ (Drosophila melanogaster) ที่รังสรรค์ขึ้นมาโดยใช้ Transmission Electron Micrographs นำมาใส่รหัสสีลงไป ซึ่งระบบประสาทนี้เกี่ยวข้องตั้งแต่การเคลื่อนไหว การหายใจ ความรู้สึก และความนึกคิด โดยเซลล์ที่ทำหน้าที่เหล่านี้เรียกว่า นิวรอน (Neurons) ในภาพที่เห็นเป็นเส้นสีเหลืองคือนิวรอน ทำหน้าที่รับการสั่นสะเทือน ส่วนสีอื่นๆ ก็ทำหน้าที่อื่นแตกต่างกันออกไป ​ ภาพนี้มีขนาดกว้างเพียง 0.015 มิลลิเมตร แต่มันแสดงให้เห็นความซับซ้อนได้เป็นอย่างมาก ภาพจาก :http://www.wellcomeimageawards.org/2015/Fruit-fly-nervous-system ภาพ รูปถ่ายระบบประสาทของแมลงวันผลไม้ จากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน Science Jokes ฉบับที่ 29สิงหาคม 2558 ‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس 15 http://izismile.com/2012/10/02/funny_and_clever_science_jokes_20_pics-19.html ...อาร์กอน ไม่มีปฏิกิริยาใดๆ ออกไปซะ! ที่นี่ไม่ต้อนรับ พวกก๊าซเฉื่อย อย่างแก! อาร์กอนเดินเข้ามาที่บาร์ หัวอกก๊าซอาร์กอน
  • 16. 16 ฉบับที่ 29 สิงหาคม 2558 ‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس Sci Infographic https://witsanook.files.wordpress.com/2015/04/rain-aroma.jpg
  • 17. ฉบับที่ 29สิงหาคม 2558 ‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس 17 http://www.oryor.com/index.php/th/ http://www.oryor.com/index.php/th/ http://www.oryor.com/index.php/th/ http://www.oryor.com/index.php/th/ http://www.oryor.com/index.php/th/ http://www.oryor.com/index.php/th/ http://www.oryor.com/index.php/th/ http://www.oryor.com/index.php/th/ http://www.oryor.com/index.php/th/ http://www.oryor.com/index.php/th/ http://www.oryor.com/index.php/th/ สาระน่ารู้จาก อย.
  • 18. 18 ฉบับที่ 29 สิงหาคม 2558 ‹ÍÂâÅ¡¢ŒÍÁÙÅ¢‹ÒÇÊÒÃÇÔ·ÂÒÈÒʵÏà¾×èͤس scisocietyสเปกตรัม กระทรวงวิทย์ฯ ร่วมมือมหาวิทยาลัยและเอกชน ประกาศความสำเร็จ 4 เทคโนโลยี เครื่องจักรต้นแบบพร้อมใช้เชิงพาณิชย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แถลงผลสำเร็จการพัฒนาเทคโนโลยี เครื่องจักรต้นแบบในโครงการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วยกระบวนการ วิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า 4 ชิ้น โดยความร่วมมือของกระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สมาคมเครื่องจักรกลไทย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามคำแถลงนโยบาย ของคณะรัฐมนตรีที่ต้องการผลักดันงานวิจัยและพัฒนาไปสู่การใช้ประโยชน์ เชิงพาณิชย์ โดยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย หน่วยงานวิจัยของรัฐ และภาคเอกชน ที่เรียกว่าโมเดล Triple Helix สำหรับผลงานเทคโนโลยีเครื่องจักรกลต้นแบบที่พัฒนาโดยคนไทยทั้ง 4 ชิ้น ได้แก่ ​1. ชุดเครื่องจักรระบบล้างและปรับปรุงคุณภาพขยะพลาสติกสำหรับการผลิต น้ำมันเชื้อเพลิง ​2. ระบบติดตามการเจริญเติบโตสำหรับอุตสาหกรรมผลิตไก่เนื้อ ​3. ระบบจ่ายวัคซีนสำหรับอุตสาหกรรมผลิตไก่เนื้อ ​4. ลิฟต์โดยสารสำหรับงานก่อสร้าง เป็นตัวอย่างความสำเร็จที่พร้อมที่จะ ต่อยอดเชิงพาณิชย์ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/news/20368-most-machinery ก.วิทย์ฯ/สวทช. ร่วมกับ กฟน. หวังสร้างงานวิจัย พัฒนา และการจัดการ ด้านพลังงานเพื่อตอบสนอง นโนบายพลังงานแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาด้านพลังงาน และการบริหารจัดการพลังงาน ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/news/20374-mou เอ็มเทคคว้ารางวัล “ที่สุดแห่งสุดยอดส้วมแห่งปี” ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. คว้ารางวัล “ที่สุดแห่งสุดยอดส้วมแห่งปี (champion of the champ)” จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ​ เอ็มเทคเคยได้รับรางวัลสุดยอดส้วมในปี พ.ศ. 2554 มาแล้ว และได้มี การพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและเป็นต้นแบบส้วมสาธารณะไทยตามที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการพัฒนาส้วมไทยให้ได้มาตรฐานถูกหลัก สุขาภิบาลในเรื่องความสะอาด(health)เพียงพอ(accessibility)และปลอดภัย (safety) จนทำให้เอ็มเทคได้รับรางวัล”ที่สุดแห่งสุดยอดส้วมแห่งปี”