SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 19
Descargar para leer sin conexión
1กันยายน 2561 •
16
2
3
5
4
7
9
11
8
10
6
เวทีรวมพลัง
เพื่อ ‘เด็กความสามารถพิเศษ’
กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6
ปฏิทินกิจกรรม Activity
ในเล่ม Insight
12
ก.วิทย์ สวทช. โดยกลไก ITAP หนุนสหกรณ์นิคมท่าแซะ นำ� วทน. ปรับปรุงออกแบบเครื่องจักร และซอฟต์แวร์
ไทยเป็นเจ้าภาพประชุมพัฒนา “เด็กความสามารถพิเศษ” กูรูด้านการศึกษาทั่วโลกเข้าร่วม
4 พันธมิตร แถลงความสำ�เร็จด้านการสร้างต้นแบบผปก. แม่ข่าย ยกระดับมตฐ. ผลิตภัณฑ์อาหาร
ก.วิทย์ เดินหน้าสร้างคน นำ�โครงการ Fab Lab พัฒนาทักษะนวัตกรแก่เด็กและเยาวชน จ.สุราษฎร์ธานี
ทีมเพอร์ซูท เรสซิง จากประเทศไทย เข้าร่วมการแข่งขัน F1 In SchoolsTM
อีกครั้ง
สวทช. ร่วมกับเครือข่ายการวิจัยเห็ด จัดประชุมวิชาการ สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับต่างประเทศ
ก.วิทย์ สวทช. ผนึก กลุ่มบริษัทโชคนำ�ชัย พัฒนาเทคโนโลยีออกแบบและผลิตยานพาหนะสมัยใหม่
สวทช. ร่วมมือ บางจาก และพันธมิตร ดันสินค้า SME ไทย ด้วยนวัตกรรมสีเขียว สู่ตลาดสากล
ผู้เชี่ยวชาญไต้หวัน แนะใช้พิพิธภัณฑ์มีชีวิต กระตุ้นการเรียนรู้ “เด็กความสามารถพิเศษ”
ข่าว News
บทความ Article
สวทช. เน้นวิทย์สร้างคน นำ� FabLand ร่วมงานมหกรรมวิทย์ฯ 2561
กันยายน 2561
2 nstda • September 2018
ปีที่ 4 ฉบับที่ 6
สวทช. เน้นวิทย์สร้างคน นำ� FabLand
“ดินแดนแห่งการเรียนรู้” ร่วมงานมหกรรมวิทย์ฯ 2561
สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมจัดงาน “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประจำ�ปี 2561” (National
Science and Technology Fair 2018) ระหว่างวันที่ 16 -26 สิงหาคม 2561 ณ ฮอลล์ 2 - 8 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี
สำ�หรับงานปีนี้ เน้นวิทย์สร้างคนนำ�ด้วยธีม “FabLand : ดินแดนแห่งการเรียนรู้” เพื่อสร้างความเข้าใจ กระตุ้นความสนใจ และให้ความสำ�คัญของ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมทั้งสนับสนุนเยาวชนที่มีความศักยภาพเข้าถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เตรียมที่จะเป็นนักวิจัยที่มีคุณภาพ โดยได้มีการจัด
กิจกรรมเป็นจำ�นวนมาก ได้แก่ เพาเวอร์บอล(PowerBall), เที่ยวพิพิธภัณฑ์ยุคใหม่ไปกับMuseumPool, รถรางหรรษา,FabricationLab,WorkshopKidBright
และรถฟอร์มูล่าวันจากลาดกระบัง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12126-nstda-fabland
3กันยายน 2561 •
กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6
ก.วิทย์ สวทช. โดยกลไก ITAP หนุน
สหกรณ์นิคมท่าแซะ นำ� วทน. ปรับปรุง
ออกแบบเครื่องจักรและซอฟต์แวร์
19 สิงหาคม2561 ณ สหกรณ์นิคมท่าแซะ จังหวัดชุมพร ในโอกาสลงพื้นที่ตรวจราชการการดำ�เนินงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการ
ประชุม ครม. อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย (ชุมพร และสุราษฎร์ธานี) - ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ผู้ติดตาม และสื่อมวลชน เข้าเยี่ยมชม “สหกรณ์นิคมท่าแซะ โรงงานสกัดน้ำ�มันปาล์มดิบ อำ�เภอท่าแซะ
จังหวัดชุมพร” ที่ได้รับการสนับสนุนจากโปรแกรมITAP สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน
ของผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2560 - 2561 จำ�นวนรวม 4 โครงการ โดยมี ดร.ฐิตาภา สมิตินนท์ รองผู้อำ�นวยการ สวทช. และ นายสรายุธ
สุวรรณพหู ประธานกรรมการสหกรณ์นิคมท่าแซะให้การต้อนรับ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12127-20180819-nstda-itap
กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6
4 nstda • September 2018
ไทยเป็นเจ้าภาพประชุมพัฒนา
“เด็กความสามารถพิเศษ”
20 สิงหาคม2561 ที่ห้องเพลนารี ฮอลล์1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วท.) โดยสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัด “การประชุมวิชาการนานาชาติ
ด้านการพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ ครั้งที่ 15 (The 15th Asia-Pacific Conference on Giftedness 2018: APCG2018)” ซึ่งจัดขึ้นทุกๆ 2 ปี เพื่อเป็นเวที
แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางวิชาการด้านการวิจัยและพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ และเผยแพร่องค์ความรู้พัฒนาเครือข่ายการทำ�งานระดับนานาชาติ
ด้านการส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษ ตลอดจนเพิ่มพูนศักยภาพและสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนได้พัฒนาศักยภาพตนเองอย่างถูกหลักและเต็มความสามารถ
โดยมี ดร.กัญญวิมว์ กีรติกร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดการประชุม
APCG2018 ในปีนี้ประเทศไทยได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดงานขึ้นระหว่างวันที่20-24 สิงหาคม2561 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และยังมี
กิจกรรมค่ายเยาวชน จัดขึ้นที่บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี โดยมีนักวิชาการด้านการศึกษาจากทั่วโลก และเยาวชน
ที่มีความสามารถพิเศษด้านต่างๆ อาทิ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ดนตรี กีฬา และศิลปะ ในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย
รวมผู้เข้าร่วมงานกว่า 800 คน
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12129-20180820-apcg2018
กูรูด้านการศึกษาทั่วโลกเข้าร่วม
5กันยายน 2561 •
20 สิงหาคม2561 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ ชั้นG จังหวัดนนทบุรี: พันธมิตร4 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) สำ�นักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณะสุข(อย.) สำ�นักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.)
และบริษัทห้องปฏิบัติการกลาง(ประเทศไทย) จำ�กัด ร่วมพัฒนาความรู้และวัฒนธรรมใหม่ให้มีคุณภาพ ตลอดจนส่งเสริมช่องทางสนับสนุนช่องทางทางการตลาด
และโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจแบบใหม่ ในงานยังมีพิธีมอบรางวัลกิจกรรม PRIMARY GMP AWARD 2018 : รางวัลแม่ข่ายนวัตกรรมอาหาร ตามโครงการ
ยกระดับคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์พร้อมจำ�หน่าย สำ�หรับผู้ประกอบการการผลิตอาหารขนาดกลางและขนาดย่อมพร้อมจำ�หน่าย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12132-20180820-1
กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6
4 พันธมิตร แถลงความสำ�เร็จ
ด้านการสร้างต้นแบบผู้ประกอบการแม่ข่าย
ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร
พร้อมมอบรางวัลแม่ข่ายนวัตกรรมอาหาร :
PRIMARY GMP AWARD 2018
6 nstda • September 2018
กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6
ผู้เชี่ยวชาญไต้หวัน แนะใช้พิพิธภัณฑ์มีชีวิต
กระตุ้นการเรียนรู้ “เด็กความสามารถพิเศษ”
20 สิงหาคม 2561 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ : ศาสตราจารย์ เว่ย ชิน ซุน (Wei-Hsin Sun) ผู้อำ�นวยการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่ง
ไต้หวัน ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ความท้าทายของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ในการสร้างความสัมพันธ์และดึงความสนใจของเด็กอัจฉริยะและเด็กที่มีความสามารถใน
การเรียนรู้สูง” ใน “การประชุมวิชาการนานาชาติด้านการพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ ครั้งที่ 15 (The 15th Asia-Pacific Conference on Giftedness 2018
: APCG2018)” จัดโดย สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสำ�นักงานคณะกรรมการการ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ศาสตราจารย์ซุน กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับวิทยาศาสตร์นั้น เกิดจากการมองเห็นวิทยาศาสตร์ในธรรมชาติและการเข้าใจธรรมชาติ
โดยการใช้วิทยาศาสตร์ จึงทำ�ให้พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เป็นสถานที่ที่สร้างความอยากรู้และสร้างแรงบันดาลใจสำ�หรับการเรียนรู้แบบก้าวหน้าสำ�หรับเด็ก โดย
พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ควรมีหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ การสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้แบบก้าวหน้า การสร้างแบบจำ�ลองและความท้าทายในการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ และการให้ความใส่ใจในธรรมชาติและชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษยชาติ
นอกจากนั้นแล้ว การเกิดขึ้นของความสนใจใคร่รู้คือสิ่งที่สำ�คัญที่สุดในการสร้างแรงบันดาลใจด้วยตนเอง ซึ่งเด็กที่มีความสามารถพิเศษจะชื่นชอบการ
เรียนรู้ที่ท้าทายความสามารถทางสติปัญญา เพราะจะกระตุ้นและจุดพลังแห่งความกระหายในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
ทั้งนี้ ได้ยกตัวอย่างถึงการบริหารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งไต้หวันว่า มีการจัดกิจกรรมที่น่ามหัศจรรย์ที่ไม่เพียงแต่มีความสนุกสนาน
แต่มีความสัมพันธ์เชื่อมต่อไปยังธรรมชาติ ซึ่งพิพิธภัณฑ์ฯ มีพนักงานเป็นนักวิจัยและศาสตราจารย์ระดับดอกเตอร์มากกว่า 60 คน ช่วยกันคิดค้นวิธีการใหม่ๆ
ในการเรียนรู้ให้กับคนที่เข้ามาเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ฯ โดยนำ�เสนอความคิดและหัวข้อเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้น่าสนใจอยู่อย่างสม่ำ�เสมอ
ดังตัวอย่างเรื่องของเมล็ดพืช ดอกไม้ ต้นไม้ พฤติกรรมสัตว์ หรือฟอสซิลไดโนเสาร์ เป็นต้น
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12133-20180820-2
7กันยายน 2561 •
ก.วิทย์ เดินหน้าสร้างคน นำ�โครงการ Fab Lab
พัฒนาทักษะนวัตกรแก่เด็กและเยาวชน
จ.สุราษฎร์ธานี หนุนไทยแลนด์ 4.0
20 สิงหาคม 2561 ณ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี - ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
และคณะ เข้าเยี่ยมชมการดำ�เนินงาน “โครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม(FabricationLab) และโครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์” ที่ทางสำ�นักงานพัฒนา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำ�เนินโครงการโรงประลองต้นแบบทาง
วิศวกรรม(FabricationLab) เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นนวัตกรแก่เด็กและเยาวชนไทย ซึ่งโครงการฯ ส่งเสริมให้มีการจัดพื้นที่การเรียนรู้ โดยมี ผศ. ดร.ประภาศ
เมืองจันทบุรี รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและชุมชนสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ในฐานะผู้จัดการโครงการ
FabLab ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และนายศุกเกษม อ่อนพูล นักวิชาการ ฝ่ายวิชาการและกิจกรรมพัฒนาเยาวชนวิทยาศาสตร์(AYS) ร่วมให้การต้อนรับ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12134-20180823-fabrication-lab
กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6
8 nstda • September 2018
กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6
ทีมเพอร์ซูท เรสซิง จากประเทศไทย
เข้าร่วมการแข่งขัน F1 In SchoolsTM อีกครั้ง
หลังจากที่ได้เป็นตัวแทนประเทศไทยในปีที่ผ่านมา ในปีนี้ทีมเพอร์ซูท เรสซิง กลับมาอีกครั้ง พร้อมความมุ่งมั่น ตั้งใจอันเต็มเปี่ยม เพื่อเผยศักยภาพ
ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาของไทย ในการเข้าร่วมเวทีระดับโลกกับนักเรียนกว่า 50 ทีมจากนานาชาติในการแข่งขัน “F1 In SchoolsTM
World Finals 2018”
ที่เกาะเซ็นโตซา ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 9-12 กันยายน ศกนี้
F1 In SchoolsTM
ถือเป็นโปรแกรมการแข่งขันที่ท้าทายความรู้ ความสามารถ อีกทั้งแนวคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ซึ่งจำ�ลองมาจาก
ต้นแบบการแข่งขันรถระดับโลกฟอร์มูลาวัน โดยทีมผู้เข้าแข่งขันต้องผนวกความรู้ทางวิชาการด้าน STEM ทั้ง 4 สาขาวิชา ซึ่งประกอบไปด้วย วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ในการออกแบบและประดิษฐ์รถแข่งขนาดเล็กที่ถูกขับเคลื่อนโดยเเก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อประลองความเร็วบนราง
ที่มีความยาว 20 เมตร
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12145-f1-in-schools-2018
กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6
9กันยายน 2561 •
สวทช. ร่วมกับเครือข่ายการวิจัยเห็ด
ยกระดับเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเห็ด
สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับต่างประเทศ
30 สิงหาคม 2561 ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ กรุงเทพฯ - กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
โดยโปรแกรมการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ คลัสเตอร์ทรัพยากรชีวภาพ ร่วมกับเครือข่ายการวิจัยเห็ด จัดการประชุมวิชาการ “1st Symposium
on Mushroom Research and Cultivation Technology : Progress & Challenges” ระหว่างวันที่ 30 - 31 สิงหาคม 2561 ณ โรงแรม เซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ
เป้าหมายสำ�คัญในการพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเห็ดเศรษฐกิจ5 ชนิด ได้แก่ เห็ดหูหนู เห็ดฟาง เห็ดสกุลนางรมนางฟ้า เห็ดขอนขาว เห็ดกระด้าง
และเห็ดเศรษฐกิจสำ�คัญอื่นๆ เพื่อวางกรอบแผนการพัฒนาเห็ดเศรษฐกิจไว้ 2 ด้าน ประกอบด้วยการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เน้นพัฒนาด้านการ
เพาะเลี้ยงเห็ดเศรษฐกิจที่ให้ผลผลิตสูง และการพัฒนาบุคลากรนักวิจัยรุ่นใหม่ สร้างนักเพาะเลี้ยงเห็ดและปรับปรุงพันธุ์เห็ด เพื่อพัฒนาและยกระดับเทคโนโลยีการ
เพาะเลี้ยงเห็ดของประเทศไทย สร้างเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างเกษตรกร นักวิจัยไทยและต่างประเทศได้เรียนรู้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเห็ด
จากผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ สร้างเครือข่ายความร่วมมือการวิจัยร่วมกับประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และอินโดนีเซียในอนาคต
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12146-20180830-progress-challenges
กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6
10 nstda • September 2018
สวทช. ร่วมมือ บางจาก และพันธมิตร
ดันสินค้า SME ไทย ด้วยวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี
และนวัตกรรมสีเขียว สู่ตลาดสากล
31 สิงหาคม 2561 ณ อาคารเอ็มทาวเวอร์ กรุงเทพฯ - ดร.ฐิตาภา สมิตินนท์ รองผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(สวทช.) ร่วมในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการยกระดับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ด้วยการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี และ
นวัตกรรมสีเขียวสู่ตลาดสากล” ซึ่งเป็นความร่วมมือครั้งสำ�คัญขององค์กรพันธมิตร ทั้งภาครัฐและเอกชนรวม 10 แห่ง ได้แก่ สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), สำ�นักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.), สถาบันอาหาร (NFI), สำ�นักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การ
มหาชน)(NIA), สำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.), สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.), สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, ธนาคารกสิกรไทย
จํากัด (มหาชน) และกลุ่มบริษัทบางจากฯ โดยสถาบันนวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจบางจาก (Bangchak Initiative and Innovation Center - BIIC) และบริษัท
บางจาก รีเทล จำ�กัด (BCR) ผู้ดำ�เนินธุรกิจกลุ่ม Non-Oil พร้อมเปิดตัวโครงการแรก SPAR Awards : Taste of Thailand คัดผู้ประกอบการร่วมทดสอบตลาด
ใน SPAR หรือร้านอินทนิล
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12151-20180831-mou
กันยายน 2561
11กันยายน 2561 •
ก.วิทย์ สวทช. ผนึก กลุ่มบริษัทโชคนำ�ชัย
พัฒนาเทคโนโลยีออกแบบและผลิตยานพาหนะสมัยใหม่
น้ำ�หนักเบา เพิ่อพัฒนายานยนต์สัญชาติไทยรุ่นใหม่ ครั้งแรกในไทย
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) จับมือ บริษัทโชคนำ�ชัย ไฮ-เทค เพรสซิ่ง จำ�กัด
และ บริษัทสกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น จำ�กัด หนึ่งในกลุ่มบริษัทโชคนำ�ชัย (CNC Group) ผู้ผลิตแม่พิมพ์ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ลงนามบันทึกข้อตกลง
ความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการออกแบบการผลิตยานพาหนะสมัยใหม่ และโครงการสร้างน้ำ�หนักเบา รวมถึงการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
เพื่อพัฒนายานยนต์สัญชาติไทยรุ่นใหม่ครั้งแรกในประเทศไทย ที่สามารถนำ�มาต่อยอดในการสร้าง หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
พร้อมทั้งสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไทยให้สูงขึ้น
ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า ทาง สวทช. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลง
กับกลุ่มบริษัทโชคนำ�ชัย ในด้านการวิจัยและพัฒนาโครงสร้างเรือ และรถโดยสาร โดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ(เอ็มเทค) และ ศูนย์บริการปรึกษา
การออกแบบและวิศวกรรม(DECC) หน่วยงานในสังกัด สวทช. ด้วยการใช้กลไกของโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือITAP รวมถึงการ
สนับสนุนงบประมาณในการดำ�เนินงานด้วยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ� การยื่นขอรับการพิจารณาบัญชีนวัตกรรม และการลดภาษี300% ซึ่งการดำ�เนินโครงการต่างๆ นั้น
ประสบผลสำ�เร็จเป็นอย่างดี ช่วยให้บริษัทโชคนำ�ชัย และบริษัทสกุลฎ์ซี อินโนเวชั่นฯ สามารถพัฒนากระบวนการผลิตโดยมีนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญให้คำ�ปรึกษา
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12152-20180903-mou-cnc-group
กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6
12 nstda • September 2018
เวทีรวมพลัง
เพื่อ ‘เด็กความสามารถพิเศษ’
ถือเป็นช่วงเวลาสำ�คัญของการพัฒนากำ�ลังคนของประเทศไทย โดยเฉพาะเยาวชนอนาคตของชาติ ที่ต้องวาง
รากฐานและบ่มเพาะอย่างต่อเนื่อง ในงาน “การประชุมวิชาการนานาชาติด้านการพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ ครั้งที่ 15
(The 15th Asia-Pacific Conference on Giftedness 2018: APCG2018)” ซึ่งผ่านพ้นการจัดงานไปแล้วระหว่างวันที่
20 - 24 สิงหาคม 2561 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เป็นงานใหญ่ซึ่งจัดขึ้นทุกๆ 2 ปี และในปีนี้ประเทศไทยได้รับ
เกียรติเป็นเจ้าภาพการจัดงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) โดย สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แห่งชาติ (สวทช.) และกระทรวงศึกษาธิการ โดย สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสมาคมพัฒนา
ศักยภาพและอัจฉริยภาพมนุษย์ ร่วมกันจัดขึ้น เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางวิชาการด้านการวิจัยและพัฒนา
ผู้มีความสามารถพิเศษ และเผยแพร่องค์ความรู้พัฒนาเครือข่ายการทำ�งานระดับนานาชาติ ด้านการส่งเสริมผู้มี
ความสามารถพิเศษ ตลอดจนเพิ่มพูนศักยภาพและสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนได้พัฒนาศักยภาพตนเองอย่าง
ถูกหลักและเต็มความสามารถ โดยมี ดร.กัญญวิมว์ กีรติกร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เป็นประธานเปิดการประชุม APCG2018
เรียบเรียงโดย อาทิตย์ ลมูลปลั่ง ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สวทช.
กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6
13กันยายน 2561 •
ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กล่าวว่า สวทช. เป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนาสังกัด
กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ซึ่งนอกจากทำ�งานวิจัยและผลักดันงานวิจัยให้สามารถ
ถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์แล้ว สวทช. ยังให้ความ
สำ�คัญกับการพัฒนากำ�ลังคนเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนา
ประเทศอย่างยั่งยืน โดยการจัดงานการประชุมวิชาการนานาชาติด้านการพัฒนา
ผู้มีความสามารถพิเศษ ครั้งที่15 หรือAPCG2018 ครั้งนี้ เป็นส่วนสำ�คัญในการ
พัฒนากำ�ลังคนของประเทศไทยที่จะได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนากำ�ลัง
คนของชาติร่วมกับเยาวชนประเทศอื่นๆ ที่มีความสามารถพิเศษด้านต่างๆ อาทิ
วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ดนตรี กีฬา และศิลปะ ในระดับชั้นประถมศึกษา
ตอนปลายถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย ผ่านกิจกรรมค่ายเยาวชนนานาชาตที่จัดขึ้นที่
บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี นอกจากนี้
ยังมีวิทยากรด้านการศึกษาและการพัฒนาการเรียนรู้ชั้นแนวหน้าของโลกและจาก
ประเทศไทย จำ�นวน 19 ท่าน จาก 9 ประเทศ ที่มาร่วมประชุมและแลกเปลี่ยน
ประสบการณ์การทำ�งานด้านการส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษในด้านต่างๆ
ที่มารวมตัวกันมากที่สุดงานหนึ่ง มียอดผู้สนใจมีผู้ลงทะเบียนกว่า 500 คน จาก
27 ประเทศที่เข้าร่วมประชุม
สำ�หรับการจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติด้านการพัฒนาผู้มีความ
สามารถพิเศษ ครั้งที่ 15 หรือ APCG2018 นี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ให้ความ
สำ�คัญและสนับสนุนการพัฒนากำ�ลังคน โดยเฉพาะเด็กที่มีความสามารถพิเศษ
ซึ่งยังได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนอย่างเข้มแข็ง
โดยตลอดการประชุมนั้นมีผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและการพัฒนาการเรียนรู้ ชั้น
แนวหน้าของโลก ร่วมให้ทัศนะที่น่าสนใจต่อการพัฒนาเด็กผู้มีความสามารถพิเศษ
>> วัดไอคิว ไม่ใช่วิธีค้นหาเด็ก Gifted เสมอไป
เริ่มด้วยการทำ�ความเข้าใจให้ตรงกัน สำ�หรับการพัฒนาและค้นหาเด็ก
ความสามารถพิเศษ โดยศาสตราจารย์จิน อะคิยาม่า รองประธานมหาวิทยาลัย
โตเกียวและผู้อำ�นวยการศูนย์วิจัยการศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยโตเกียว ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “บ่มเพาะเด็กอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์
IQ สูง สู่การเป็นนักวิจัยที่มีศักยภาพสูง” ได้กล่าวว่า ส่วนตัวไม่คิดว่าเด็กที่มีความ
สามารถพิเศษ หมายถึงเด็กที่มีระดับไอคิว(IntelligenceQuotient:IQ) สูง หรือ
มีความรู้มากๆ และไม่เชื่อว่าจะสามารถค้นพบเด็กอัจฉริยะได้จากการทดสอบ
ระดับสติปัญญา (IQ Test) หากแต่เด็กที่มีความสามารถพิเศษนั้นจะต้องมีความ
สนใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมาก ต้องมีความสงสัยใคร่รู้อย่างเต็มที่และเป็นไปอย่าง
สม่ำ�เสมอ เพื่อที่เด็กจะเติบโตกลายมาเป็นนักวิจัยที่ยิ่งใหญ่
กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6
14 nstda • September 2018
“คะแนนสอบที่ดีนั้นไม่สำ�คัญสำ�หรับการเป็นนักวิจัย สิ่งที่สำ�คัญที่สุดคือ
การที่พวกเขามีความสนใจในบางสิ่งและสามารถที่จะครุ่นคิดถึงสิ่งนั้นได้อย่างต่อ
เนื่องเป็นเวลายาวนานแรมเดือนแรมปี ดังนั้นเราจะไม่สามารถหาเด็กที่มีความ
สามารถพิเศษได้จากการทดสอบระดับไอคิว”
ทั้งนี้การสอนนั้นมีความสำ�คัญเป็นอย่างมากที่จะทำ�ให้เด็กที่มีความ
สามารถพิเศษกลายเป็น “นักวิจัย” ที่ยิ่งใหญ่ได้ ดังนั้นครูจึงมีบทบาทสำ�คัญอย่าง
มาก ครูควรจะสอนแต่สิ่งที่เป็นพื้นฐานหลักและสนับสนุนให้เด็กได้ใช้ความคิด
อย่างลึกซึ้ง ซึ่งการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการเป็นที่ปรึกษาให้เด็ก
เป็นสิ่งจำ�เป็นที่ครูจะต้องทำ�เป็นสิ่งแรก เพื่อจุดประกายความกระตือรือร้นของ
เด็กเหล่านั้นออกมา
“หลายคนดูเหมือนจะเชื่อว่า ผลของการทดสอบไอคิวนั้น จะเป็นมาตรวัด
ความอัจฉริยะของเด็กได้ แต่ความคิดส่วนตัวแล้วไม่คิดเช่นนั้น การทดสอบไอคิว
เป็นเพียงมาตรวัดความรู้และประสบการณ์ของเด็กเท่านั้น” เป็นทัศนะของ
ศาสตราจารย์จูน เมเคอร์ นักการศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยแอริโซนา สหรัฐอเมริกา
เห็นตรงกันกับศาสตราจารย์อะคิยาม่า
ทั้งนี้ ศาสตราจารย์เมเคอร์ ได้ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “อัจฉริยะสร้างได้ด้วย
ทฤษฎีPrism รังสรรค์จินตนาการบวกกับการดูแลจิตใจและสิ่งแวดล้อม ทำ�ให้เกิด
อัจฉริยะได้” และยังได้นำ�เสนอทฤษฎีผลึกแท่งเแก้ว (The Prism Theory) ซึ่งเป็น
ทฤษฎีใหม่ที่ใช้แสดงถึงความสามารถพิเศษของเด็ก เพื่อที่จะสนับสนุนและบ่ม
เพาะความสามารถพิเศษที่แสดงออกมานั้นให้เติบโตไปพร้อมกันว่า องค์ประกอบ
สำ�คัญของทฤษฎีผลึกแท่งเแก้ว คิดค้นโดย ศาสตราจารย์เมเคอร์ร่วมกับนักวิจัย
อีก 3 ท่าน คือ แสงสีขาวที่มาตกกระทบกับผลึกแท่งแก้วแล้วให้ผลลัพธ์ของแสง
ออกมาเป็นหลากหลายสี ซึ่งแสงสีขาวนั้นเปรียบได้กับปัญหา หรือความสนใจ
หรือความกระหายใครรู้ในการทำ�บางสิ่ง หรือเป็นได้ทั้งปัญหาที่ต้องการคำ�ตอบ
ต้องการทางแก้ไข เป็นได้ทั้งความหลงใหลความชอบในบางสิ่งที่มนุษย์ต้องการ
สร้าง หรือต้องการเปลี่ยนแปลง เมื่อแสงสีขาวมาตกกระทบกับผลึกแท่งแก้ว ซึ่ง
ภายในนั้นเปรียบเสมือนองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ หรือสภาพ
แวดล้อมที่บุคคลนั้นมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบข้าง อาทิ วิธีการสอน การตั้งคำ�ถาม
ของครู เป็นต้น ทำ�ให้ผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นแสงหลายเฉดสี ที่สะท้อนออกมาใน
อีกหลายด้านของผลึกแท่งแก้ว แสงสีที่สะท้อนออกมาเปรียบได้กับความสามารถ
ทั่วไปและความสามารถเฉพาะของมนุษย์ในหลากหลายสาขา
“กระบวนการภายในผลึกแท่งแก้ว คือ การให้การศึกษากับเด็กที่มีความ
สามารถพิเศษ ให้โอกาสพวกเขาได้ค้นหาและตามหาสิ่งที่ตัวเองชื่นชอบ ซึ่งจำ�เป็น
อย่างยิ่งที่ต้องออกแบบแนวทางสำ�หรับเด็กเหล่านั้นว่าควรเรียนอะไร และเรียน
อย่างไร สิ่งสำ�คัญ 3 ประการ ที่จะพัฒนาเด็กให้มีความสามารถพิเศษ ได้แก่
ส่งเสริมความสามารถตามธรรมชาติ สร้างแรงบันดาลใจ และสร้างโอกาสในการ
เรียนรู้ ซึ่งทั้ง 3 สิ่งนี้ ล้วนถูกสร้างให้เกิดขึ้นได้ด้วยพ่อแม่และครู”
กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6
15กันยายน 2561 •
>> พิพิธภัณฑ์ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ได้
ศาสตราจารย์ เว่ย ชิน ซุน (Wei-Hsin Sun) ผู้อำ�นวยการพิพิธภัณฑ์
วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งไต้หวัน ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ความท้าทายของ
พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ในการสร้างความสัมพันธ์และดึงความสนใจของเด็ก
อัจฉริยะและเด็กที่มีความสามารถในการเรียนรู้สูง” ได้ยกตัวอย่างถึงการบริหาร
พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งไต้หวัน ว่า มีการจัดกิจกรรมที่น่ามหัศจรรย์
ที่ไม่เพียงแต่มีความสนุกสนาน แต่มีความสัมพันธ์เชื่อมต่อไปยังธรรมชาติ ซึ่ง
พิพิธภัณฑ์ฯ มีพนักงานเป็นนักวิจัยและศาสตราจารย์ระดับดอกเตอร์มากกว่า
60 คน ช่วยกันคิดค้นวิธีการใหม่ๆ ในการเรียนรู้ให้กับคนที่เข้ามาเรียนรู้ใน
พิพิธภัณฑ์ฯ โดยนำ�เสนอความคิดและหัวข้อเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทาง
วิทยาศาสตร์ให้น่าสนใจอยู่อย่างสม่ำ�เสมอ อาทิ เรื่องของเมล็ดพืช ดอกไม้ ต้นไม้
พฤติกรรมสัตว์ หรือฟอสซิลไดโนเสาร์ เป็นต้น
ศาสตราจารย์ซุน กล่าวด้วยว่า ประสบการณ์ในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
ไต้หวันเราค้นพบว่าเด็กนักเรียนสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในรูปแบบที่มีความ
สนุกสนาน เมื่อเด็กมีความสนุกในการเรียนรู้ เขาจะแสดงออกซึ่งความสนใจ
ของเขาต่อสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำ�คัญที่จะสามารถค้นพบได้ว่าความสามารถ
พิเศษใดๆ ที่เด็กเหล่านั้นมีและซุกซ่อนอยู่ เด็กนักเรียนจะกลายเป็นศูนย์กลางของ
การเรียนรู้และมีบทบาทในการเรียนรู้ ในขณะที่ความรับผิดชอบของคุณครูคือ
การทำ�ให้เด็กนักเรียนมีความสนใจและอยากที่จะเรียนรู้โดยต้องมีการออกแบบ
การเรียนรู้ที่มีความท้าทายอย่างต่อเนื่อง
การจัดประชุม APCG2018 จึงเป็นอีกหนึ่งกลไกลสำ�คัญในการพัฒนา
กำ�ลังคนของประเทศซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีนโยบาย
“วิทย์สร้างคน” เพื่อเกิดการพัฒนากำ�ลังคนและองค์ความรู้ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ต่อประเทศและสังคม ในปีนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ สนับสนุนงบประมาณกว่า30
ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ994 ล้านบาท) เพื่อการพัฒนาความสามารถด้าน
STEM (Science, Technology, Engineering and Mathematics) และพัฒนา
ทักษะความเป็นนวัตกรในเด็กและเยาวชนไทย ผ่านบอร์ดสมองกลฝังตัวKidBright
ซึ่งได้แจกให้กับโรงเรียนกว่า 1,000 แห่ง อีกทั้งยังสนับสนุนโครงการโรงประลอง
ต้นแบบทางวิศวกรรม (Fabrication Lab) ให้มีห้องทดลองทางด้านวิศวกรรมใน
150 สถานศึกษา โดยความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเครือข่าย10 แห่งทั่วภูมิภาค
ความสำ�เร็จครั้งนี้จึงเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายในการพัฒนากำ�ลังคน
ที่มีความสามารถพิเศษ เกิดการพัฒนาเครือข่ายร่วมกันในโอกาสต่อไป กิจกรรม
ทุกกิจกรรมจะเป็นแรงบันดาลใจให้เยาวชนทุกคนเกิดความคิดสร้างสรรค์ เพื่อ
ให้พวกเขาเติบโตไปเป็นกำ�ลังสำ�คัญในการยกระดับประเทศไทยไปสู่ประเทศ
นวัตกรรมในอนาคต
กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6
16 nstda • September 2018
•	 ทุนช่วยเหลือวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 25 ประจำ�ปี 2561
TTSF มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย
เพื่อสนับสนุนอาจารย์ และ/หรือนักวิจัยที่กำ�ลังค้นคว้าหรือมีโครงการในการค้นคว้างานที่เป็นรากฐาน อันจะอำ�นวยประโยชน์ให้แก่การพัฒนาองค์ความรู้
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย โดยเฉพาะในสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ฟิสิกส์ เคมี และวิศวกรรมศาสตร์ 
ยกเว้นคณิตศาสตร์และแพทยศาสตร์คลินิก ทั้งนี้ผู้ขอรับทุนจะต้องเป็นอาจารย์/นักวิจัยที่มีประวัติความสำ�เร็จในผลงานเป็นที่ยอมรับของบุคคลในวงการนั้นๆ
เป็นอย่างดี หรือมีศักยภาพที่จะพัฒนาความรู้ความสามารถให้เป็นที่ยอมรับในสาขานั้นๆ ในอนาคต
กำ�หนดการรับสมัคร (สามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.ttsf.or.th)
ผู้สนใจยื่นใบสมัครได้ที่ : ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์
ประธานคณะกรรมการเงินทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ฝ่ายเลขานุการ สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เลขที่ 73/1 ถนนพระราม 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร. 02 564 7000ต่อ 81815 โทรสาร. 02 644 8134 (วงเล็บมุมซอง “ข้อเสนอโครงการเพื่อรับเงินทุนวิจัยมูลนิธิโทเรฯ”)
หมดเขตรับสมัคร 15 ตุลาคม 2561 ประกาศผล มกราคม 2562
ดูตัวอย่างโครงการที่เคยได้รับทุนในปีก่อนๆ ได้ที่ http://www.ttsf.or.th/winner2.php
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12125-ttsf-2561
•	 สวทช. ขอเชิญ SME กลุ่มอาหาร ร่วมสัมมนา “Food Fast
Track”
สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย
ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี (BIC) ขอเชิญผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหาร
และที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้สนใจ ร่วมงานสัมมนา “Food Fast Track” ในวัน
อังคารที่ 11 กันยายน 2561 เวลา 13.00 - 16.00 น. ณ โรงแรมฮอลิเดย์อินน์
กรุงเทพฯ สุขุมวิท ภายในงานพบหัวข้อบรรยายเสริมแกร่งอุตสาหกรรมอาหารใน
หลายเรื่อง ได้แก่ งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมอาหาร,
Creating Innovation for Food Business และ Trend Opportunity and
Challenge of Global Food Market รับจำ�นวนจำ�กัด
ผู้สนใจลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ https://goo.gl/wfFTy4 หรือ
สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2583 9992 ต่อ 1510-1516 อีเมล bic@nstda.or.th
กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6
17กันยายน 2561 •
•	 ขอเชิญร่วมงานประชุมวิชาการและนิทรรศการของเนคเทค ประจำ�ปี 2561
(NECTEC Annual Conference and Exhibitions 2018) “ประเทศไทยก้าวไกล ด้วยงานวิจัยใช้ได้จริง”
โดยมีเป้าหมายเป็นเวทีเพื่อนำ�เสนอผลงานวิจัยพัฒนาที่มีการนำ�ไปใช้ในภาคส่วนต่างๆ หนุนการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ไทยแลนด์ 4.0
ได้อย่างก้าวกระโดด ภายใต้กรอบวิจัย 5 ประเด็นมุ่งเน้น รวมถึงจะมีการนำ�เสนอผลงานภายใต้งบโครงการพัฒนาพิเศษขนาดใหญ่ (Big Rock)
จำ�นวน 2 โครงการ ที่ได้รับมอบหมายให้ดำ�เนินงาน ได้แก่ โครงการสื่อการสอนโปรแกรมมิ่งในโรงเรียน (Coding at School Powered by KidBright)
และโครงการขยายผลงานวิจัย DentiiScan เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย
การจัดนิทรรศการ
NECTEC-ACE 2018 นำ�เสนอผลงานของเนคเทคที่สามารถตอบสนองความต้องการของภาคส่วนต่างๆ ด้วยงานวิจัยที่สามารถใช้ได้จริง ซึ่งสอดคล้องกับ
นโยบาย 4 วิทย์ของภาครัฐ ได้แก่ วิทย์แก้จน วิทย์สร้างคน วิทย์เสริมแกร่ง และวิทย์สู่ภูมิภาค
ผลงานต่างๆ ที่นำ�เสนอนั้น ล้วนเป็นผลงานที่ใช้งานได้จริง และสามารถตอบโจทย์ทั้งในมิติของผู้ประกอบการที่ต้องการนำ�เทคโนโลยีไปต่อยอด
ธุรกิจ ตลอดจนผู้บริโภคปลายทางได้อย่างดี
25 กันยายน 2561 เวลา : 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องบอลรูม รีเซฟชั่นฮอลล์ โซนเอ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nectec.or.th/ace2018/
กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6
18 nstda • September 2018
เปิดรับสมัคร
•	 สวทช. ขอเชิญ นิสิต นักศึกษา สาขาฟิสิกส์ สมัครเข้าร่วมโครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเดซี ประจำ�ปี 2562
สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) รับสนองพระราชดำ�ริสมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมีพระประสงค์ให้นิสิต นักศึกษา สาขาฟิสิกส์ ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมวิจัยระยะสั้นในห้องปฏิบัติการ
ณ สถาบันเดซี เมืองฮัมบูรก์ หรือเมืองซอยเธน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สมัครเข้าร่วมการคัดเลือกเพื่อเป็นผู้แทนประเทศไทย เข้าร่วมโครงการนักศึกษา
ภาคฤดูร้อนเดซี ในช่วงเดือน กรกฎาคม - กันยายน 2562
กิจกรรมวิจัยระยะสั้น ณ สถาบันเดซี มี 6 สาขา ได้แก่
1. วิจัยสาขาฟิสิกส์ของอนุภาคมูลฐาน (Experiments in Elementary Particle Physics)
2. วิจัยการทดลองที่ใช้แสงซินโครตรอน (Experiments with Synchrotron Radiation)
3. วิจัยงานทดลองเกี่ยวกับเครื่องเร่งอนุภาค (Research on Accelerators)
4. วิจัยการทดลองทฤษฎีของอนุภาคมูลฐาน (Theory of Elementary Particles)
5. วิจัยงานเกี่ยวกับการคำ�นวณ (Computing in High Energy Physics)
6. วิจัยงานด้านดาราศาสตร์/ฟิสิกส์ดาราศาสตร์อนุภาค (Astrophysics / Astroparticle Physics)
• โปสเตอร์รายละเอียดการรับสมัคร https://www.nstda.or.th/desy/images/stories/document/2562/DESY-2018.jpg
• สมัครทางออนไลน์ และดูรายละเอียดเพิ่มเติม http://www.nstda.or.th/desy
• ผู้สนใจสามารถสมัครได้ตั้งแต่ วันนี้ - 15 กันยายน 2561
• ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม โทรศัพท์ 0 2529 7100 ต่อ 77224, 77800 หรือ 77206 อีเมล pdys@nstda.or.th
กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6
19กันยายน 2561 •
•	 กิจกรรม "ค่ายสนุกคิดกับโครงงานวิทยาศาสตร์” สำ�หรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย
พิษณุโลก
12-14 กันยายน 2561 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สวทช. จ.ปทุมธานี
•	 งานประชุมติดตามผลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำ�เนินการอบรมหลักสูตรการนำ�แนวคิดสะเต็มศึกษาไปใช้ในสถานศึกษา สำ�หรับ
ครูระดับชั้นประถมศึกษา ตามโครงการพัฒนาครูรูปแบบครบวงจร ประจำ�ปี 2561
15 กันยายน 2561 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สวทช. จ.ปทุมธานี
•	 กิจกรรม “การอบรมครู จัดการโครงงานสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการศึกษา” ภายใต้โครงการโรงประลองต้นแบบทาง
วิศวกรรม (Fabrication Lab) เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นนวัตกรแก่เด็กและเยาวชนไทย รุ่นที่ 1 สำ�หรับครูระดับมัธยม และอาจารย์
มหาวิทยาลัย
15-18 กันยายน 2561 ณ ห้องออดิทอเรียม บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สวทช. จ.ปทุมธานี
•	 กิจกรรมค่ายเปิดประตูสู่โลกวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ
19-21 กันยายน 2561 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สวทช. จ.ปทุมธานี

Más contenido relacionado

Similar a NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2561

พัฒนาตนเองสู่ประเทศไทย 4.0
พัฒนาตนเองสู่ประเทศไทย 4.0พัฒนาตนเองสู่ประเทศไทย 4.0
พัฒนาตนเองสู่ประเทศไทย 4.0Sudpatapee Wiengsee
 
สรรสร้าง แบรนด์ สร้างสรรค์
สรรสร้าง แบรนด์ สร้างสรรค์สรรสร้าง แบรนด์ สร้างสรรค์
สรรสร้าง แบรนด์ สร้างสรรค์Utai Sukviwatsirikul
 
จดหมายข่าว สท. ประจำเดือนพฤษภาคม 2560
จดหมายข่าว สท. ประจำเดือนพฤษภาคม 2560จดหมายข่าว สท. ประจำเดือนพฤษภาคม 2560
จดหมายข่าว สท. ประจำเดือนพฤษภาคม 2560nok Piyaporn
 
Thailand Innovation System Talk KK 2016-12-15
Thailand Innovation System Talk KK 2016-12-15Thailand Innovation System Talk KK 2016-12-15
Thailand Innovation System Talk KK 2016-12-15Pun-Arj Chairatana
 

Similar a NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2561 (20)

1
11
1
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2560NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2560
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2560NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2560
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 18 ประจำเดือนกันยายน 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 18 ประจำเดือนกันยายน 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 18 ประจำเดือนกันยายน 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 18 ประจำเดือนกันยายน 2559
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2561
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561
 
พัฒนาตนเองสู่ประเทศไทย 4.0
พัฒนาตนเองสู่ประเทศไทย 4.0พัฒนาตนเองสู่ประเทศไทย 4.0
พัฒนาตนเองสู่ประเทศไทย 4.0
 
สรรสร้าง แบรนด์ สร้างสรรค์
สรรสร้าง แบรนด์ สร้างสรรค์สรรสร้าง แบรนด์ สร้างสรรค์
สรรสร้าง แบรนด์ สร้างสรรค์
 
จดหมายข่าว สท. ประจำเดือนพฤษภาคม 2560
จดหมายข่าว สท. ประจำเดือนพฤษภาคม 2560จดหมายข่าว สท. ประจำเดือนพฤษภาคม 2560
จดหมายข่าว สท. ประจำเดือนพฤษภาคม 2560
 
Fertilizer Service
Fertilizer ServiceFertilizer Service
Fertilizer Service
 
E news-june-2018-final
E news-june-2018-finalE news-june-2018-final
E news-june-2018-final
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
 
Thailand Innovation System Talk KK 2016-12-15
Thailand Innovation System Talk KK 2016-12-15Thailand Innovation System Talk KK 2016-12-15
Thailand Innovation System Talk KK 2016-12-15
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2560NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2560
 
1
11
1
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563
 
Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558
Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558
Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558
 
Unit10
Unit10Unit10
Unit10
 

Más de National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand

Más de National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand (20)

NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
 

NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2561

  • 1. 1กันยายน 2561 • 16 2 3 5 4 7 9 11 8 10 6 เวทีรวมพลัง เพื่อ ‘เด็กความสามารถพิเศษ’ กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 ปฏิทินกิจกรรม Activity ในเล่ม Insight 12 ก.วิทย์ สวทช. โดยกลไก ITAP หนุนสหกรณ์นิคมท่าแซะ นำ� วทน. ปรับปรุงออกแบบเครื่องจักร และซอฟต์แวร์ ไทยเป็นเจ้าภาพประชุมพัฒนา “เด็กความสามารถพิเศษ” กูรูด้านการศึกษาทั่วโลกเข้าร่วม 4 พันธมิตร แถลงความสำ�เร็จด้านการสร้างต้นแบบผปก. แม่ข่าย ยกระดับมตฐ. ผลิตภัณฑ์อาหาร ก.วิทย์ เดินหน้าสร้างคน นำ�โครงการ Fab Lab พัฒนาทักษะนวัตกรแก่เด็กและเยาวชน จ.สุราษฎร์ธานี ทีมเพอร์ซูท เรสซิง จากประเทศไทย เข้าร่วมการแข่งขัน F1 In SchoolsTM อีกครั้ง สวทช. ร่วมกับเครือข่ายการวิจัยเห็ด จัดประชุมวิชาการ สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับต่างประเทศ ก.วิทย์ สวทช. ผนึก กลุ่มบริษัทโชคนำ�ชัย พัฒนาเทคโนโลยีออกแบบและผลิตยานพาหนะสมัยใหม่ สวทช. ร่วมมือ บางจาก และพันธมิตร ดันสินค้า SME ไทย ด้วยนวัตกรรมสีเขียว สู่ตลาดสากล ผู้เชี่ยวชาญไต้หวัน แนะใช้พิพิธภัณฑ์มีชีวิต กระตุ้นการเรียนรู้ “เด็กความสามารถพิเศษ” ข่าว News บทความ Article สวทช. เน้นวิทย์สร้างคน นำ� FabLand ร่วมงานมหกรรมวิทย์ฯ 2561
  • 2. กันยายน 2561 2 nstda • September 2018 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 สวทช. เน้นวิทย์สร้างคน นำ� FabLand “ดินแดนแห่งการเรียนรู้” ร่วมงานมหกรรมวิทย์ฯ 2561 สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมจัดงาน “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประจำ�ปี 2561” (National Science and Technology Fair 2018) ระหว่างวันที่ 16 -26 สิงหาคม 2561 ณ ฮอลล์ 2 - 8 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี สำ�หรับงานปีนี้ เน้นวิทย์สร้างคนนำ�ด้วยธีม “FabLand : ดินแดนแห่งการเรียนรู้” เพื่อสร้างความเข้าใจ กระตุ้นความสนใจ และให้ความสำ�คัญของ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมทั้งสนับสนุนเยาวชนที่มีความศักยภาพเข้าถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เตรียมที่จะเป็นนักวิจัยที่มีคุณภาพ โดยได้มีการจัด กิจกรรมเป็นจำ�นวนมาก ได้แก่ เพาเวอร์บอล(PowerBall), เที่ยวพิพิธภัณฑ์ยุคใหม่ไปกับMuseumPool, รถรางหรรษา,FabricationLab,WorkshopKidBright และรถฟอร์มูล่าวันจากลาดกระบัง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12126-nstda-fabland
  • 3. 3กันยายน 2561 • กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 ก.วิทย์ สวทช. โดยกลไก ITAP หนุน สหกรณ์นิคมท่าแซะ นำ� วทน. ปรับปรุง ออกแบบเครื่องจักรและซอฟต์แวร์ 19 สิงหาคม2561 ณ สหกรณ์นิคมท่าแซะ จังหวัดชุมพร ในโอกาสลงพื้นที่ตรวจราชการการดำ�เนินงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการ ประชุม ครม. อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย (ชุมพร และสุราษฎร์ธานี) - ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ผู้ติดตาม และสื่อมวลชน เข้าเยี่ยมชม “สหกรณ์นิคมท่าแซะ โรงงานสกัดน้ำ�มันปาล์มดิบ อำ�เภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร” ที่ได้รับการสนับสนุนจากโปรแกรมITAP สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ของผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2560 - 2561 จำ�นวนรวม 4 โครงการ โดยมี ดร.ฐิตาภา สมิตินนท์ รองผู้อำ�นวยการ สวทช. และ นายสรายุธ สุวรรณพหู ประธานกรรมการสหกรณ์นิคมท่าแซะให้การต้อนรับ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12127-20180819-nstda-itap
  • 4. กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 4 nstda • September 2018 ไทยเป็นเจ้าภาพประชุมพัฒนา “เด็กความสามารถพิเศษ” 20 สิงหาคม2561 ที่ห้องเพลนารี ฮอลล์1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วท.) โดยสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัด “การประชุมวิชาการนานาชาติ ด้านการพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ ครั้งที่ 15 (The 15th Asia-Pacific Conference on Giftedness 2018: APCG2018)” ซึ่งจัดขึ้นทุกๆ 2 ปี เพื่อเป็นเวที แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางวิชาการด้านการวิจัยและพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ และเผยแพร่องค์ความรู้พัฒนาเครือข่ายการทำ�งานระดับนานาชาติ ด้านการส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษ ตลอดจนเพิ่มพูนศักยภาพและสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนได้พัฒนาศักยภาพตนเองอย่างถูกหลักและเต็มความสามารถ โดยมี ดร.กัญญวิมว์ กีรติกร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดการประชุม APCG2018 ในปีนี้ประเทศไทยได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดงานขึ้นระหว่างวันที่20-24 สิงหาคม2561 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และยังมี กิจกรรมค่ายเยาวชน จัดขึ้นที่บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี โดยมีนักวิชาการด้านการศึกษาจากทั่วโลก และเยาวชน ที่มีความสามารถพิเศษด้านต่างๆ อาทิ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ดนตรี กีฬา และศิลปะ ในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย รวมผู้เข้าร่วมงานกว่า 800 คน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12129-20180820-apcg2018 กูรูด้านการศึกษาทั่วโลกเข้าร่วม
  • 5. 5กันยายน 2561 • 20 สิงหาคม2561 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ ชั้นG จังหวัดนนทบุรี: พันธมิตร4 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) สำ�นักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณะสุข(อย.) สำ�นักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) และบริษัทห้องปฏิบัติการกลาง(ประเทศไทย) จำ�กัด ร่วมพัฒนาความรู้และวัฒนธรรมใหม่ให้มีคุณภาพ ตลอดจนส่งเสริมช่องทางสนับสนุนช่องทางทางการตลาด และโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจแบบใหม่ ในงานยังมีพิธีมอบรางวัลกิจกรรม PRIMARY GMP AWARD 2018 : รางวัลแม่ข่ายนวัตกรรมอาหาร ตามโครงการ ยกระดับคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์พร้อมจำ�หน่าย สำ�หรับผู้ประกอบการการผลิตอาหารขนาดกลางและขนาดย่อมพร้อมจำ�หน่าย อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12132-20180820-1 กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 4 พันธมิตร แถลงความสำ�เร็จ ด้านการสร้างต้นแบบผู้ประกอบการแม่ข่าย ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร พร้อมมอบรางวัลแม่ข่ายนวัตกรรมอาหาร : PRIMARY GMP AWARD 2018
  • 6. 6 nstda • September 2018 กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 ผู้เชี่ยวชาญไต้หวัน แนะใช้พิพิธภัณฑ์มีชีวิต กระตุ้นการเรียนรู้ “เด็กความสามารถพิเศษ” 20 สิงหาคม 2561 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ : ศาสตราจารย์ เว่ย ชิน ซุน (Wei-Hsin Sun) ผู้อำ�นวยการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่ง ไต้หวัน ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ความท้าทายของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ในการสร้างความสัมพันธ์และดึงความสนใจของเด็กอัจฉริยะและเด็กที่มีความสามารถใน การเรียนรู้สูง” ใน “การประชุมวิชาการนานาชาติด้านการพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ ครั้งที่ 15 (The 15th Asia-Pacific Conference on Giftedness 2018 : APCG2018)” จัดโดย สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสำ�นักงานคณะกรรมการการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ศาสตราจารย์ซุน กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับวิทยาศาสตร์นั้น เกิดจากการมองเห็นวิทยาศาสตร์ในธรรมชาติและการเข้าใจธรรมชาติ โดยการใช้วิทยาศาสตร์ จึงทำ�ให้พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เป็นสถานที่ที่สร้างความอยากรู้และสร้างแรงบันดาลใจสำ�หรับการเรียนรู้แบบก้าวหน้าสำ�หรับเด็ก โดย พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ควรมีหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ การสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้แบบก้าวหน้า การสร้างแบบจำ�ลองและความท้าทายในการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ และการให้ความใส่ใจในธรรมชาติและชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษยชาติ นอกจากนั้นแล้ว การเกิดขึ้นของความสนใจใคร่รู้คือสิ่งที่สำ�คัญที่สุดในการสร้างแรงบันดาลใจด้วยตนเอง ซึ่งเด็กที่มีความสามารถพิเศษจะชื่นชอบการ เรียนรู้ที่ท้าทายความสามารถทางสติปัญญา เพราะจะกระตุ้นและจุดพลังแห่งความกระหายในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทั้งนี้ ได้ยกตัวอย่างถึงการบริหารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งไต้หวันว่า มีการจัดกิจกรรมที่น่ามหัศจรรย์ที่ไม่เพียงแต่มีความสนุกสนาน แต่มีความสัมพันธ์เชื่อมต่อไปยังธรรมชาติ ซึ่งพิพิธภัณฑ์ฯ มีพนักงานเป็นนักวิจัยและศาสตราจารย์ระดับดอกเตอร์มากกว่า 60 คน ช่วยกันคิดค้นวิธีการใหม่ๆ ในการเรียนรู้ให้กับคนที่เข้ามาเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ฯ โดยนำ�เสนอความคิดและหัวข้อเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้น่าสนใจอยู่อย่างสม่ำ�เสมอ ดังตัวอย่างเรื่องของเมล็ดพืช ดอกไม้ ต้นไม้ พฤติกรรมสัตว์ หรือฟอสซิลไดโนเสาร์ เป็นต้น อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12133-20180820-2
  • 7. 7กันยายน 2561 • ก.วิทย์ เดินหน้าสร้างคน นำ�โครงการ Fab Lab พัฒนาทักษะนวัตกรแก่เด็กและเยาวชน จ.สุราษฎร์ธานี หนุนไทยแลนด์ 4.0 20 สิงหาคม 2561 ณ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี - ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะ เข้าเยี่ยมชมการดำ�เนินงาน “โครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม(FabricationLab) และโครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์” ที่ทางสำ�นักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำ�เนินโครงการโรงประลองต้นแบบทาง วิศวกรรม(FabricationLab) เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นนวัตกรแก่เด็กและเยาวชนไทย ซึ่งโครงการฯ ส่งเสริมให้มีการจัดพื้นที่การเรียนรู้ โดยมี ผศ. ดร.ประภาศ เมืองจันทบุรี รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและชุมชนสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ในฐานะผู้จัดการโครงการ FabLab ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และนายศุกเกษม อ่อนพูล นักวิชาการ ฝ่ายวิชาการและกิจกรรมพัฒนาเยาวชนวิทยาศาสตร์(AYS) ร่วมให้การต้อนรับ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12134-20180823-fabrication-lab กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6
  • 8. 8 nstda • September 2018 กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 ทีมเพอร์ซูท เรสซิง จากประเทศไทย เข้าร่วมการแข่งขัน F1 In SchoolsTM อีกครั้ง หลังจากที่ได้เป็นตัวแทนประเทศไทยในปีที่ผ่านมา ในปีนี้ทีมเพอร์ซูท เรสซิง กลับมาอีกครั้ง พร้อมความมุ่งมั่น ตั้งใจอันเต็มเปี่ยม เพื่อเผยศักยภาพ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาของไทย ในการเข้าร่วมเวทีระดับโลกกับนักเรียนกว่า 50 ทีมจากนานาชาติในการแข่งขัน “F1 In SchoolsTM World Finals 2018” ที่เกาะเซ็นโตซา ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 9-12 กันยายน ศกนี้ F1 In SchoolsTM ถือเป็นโปรแกรมการแข่งขันที่ท้าทายความรู้ ความสามารถ อีกทั้งแนวคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ซึ่งจำ�ลองมาจาก ต้นแบบการแข่งขันรถระดับโลกฟอร์มูลาวัน โดยทีมผู้เข้าแข่งขันต้องผนวกความรู้ทางวิชาการด้าน STEM ทั้ง 4 สาขาวิชา ซึ่งประกอบไปด้วย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ในการออกแบบและประดิษฐ์รถแข่งขนาดเล็กที่ถูกขับเคลื่อนโดยเเก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อประลองความเร็วบนราง ที่มีความยาว 20 เมตร อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12145-f1-in-schools-2018
  • 9. กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 9กันยายน 2561 • สวทช. ร่วมกับเครือข่ายการวิจัยเห็ด ยกระดับเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเห็ด สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับต่างประเทศ 30 สิงหาคม 2561 ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ กรุงเทพฯ - กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยโปรแกรมการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ คลัสเตอร์ทรัพยากรชีวภาพ ร่วมกับเครือข่ายการวิจัยเห็ด จัดการประชุมวิชาการ “1st Symposium on Mushroom Research and Cultivation Technology : Progress & Challenges” ระหว่างวันที่ 30 - 31 สิงหาคม 2561 ณ โรงแรม เซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ เป้าหมายสำ�คัญในการพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเห็ดเศรษฐกิจ5 ชนิด ได้แก่ เห็ดหูหนู เห็ดฟาง เห็ดสกุลนางรมนางฟ้า เห็ดขอนขาว เห็ดกระด้าง และเห็ดเศรษฐกิจสำ�คัญอื่นๆ เพื่อวางกรอบแผนการพัฒนาเห็ดเศรษฐกิจไว้ 2 ด้าน ประกอบด้วยการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เน้นพัฒนาด้านการ เพาะเลี้ยงเห็ดเศรษฐกิจที่ให้ผลผลิตสูง และการพัฒนาบุคลากรนักวิจัยรุ่นใหม่ สร้างนักเพาะเลี้ยงเห็ดและปรับปรุงพันธุ์เห็ด เพื่อพัฒนาและยกระดับเทคโนโลยีการ เพาะเลี้ยงเห็ดของประเทศไทย สร้างเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างเกษตรกร นักวิจัยไทยและต่างประเทศได้เรียนรู้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเห็ด จากผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ สร้างเครือข่ายความร่วมมือการวิจัยร่วมกับประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และอินโดนีเซียในอนาคต อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12146-20180830-progress-challenges
  • 10. กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 10 nstda • September 2018 สวทช. ร่วมมือ บางจาก และพันธมิตร ดันสินค้า SME ไทย ด้วยวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมสีเขียว สู่ตลาดสากล 31 สิงหาคม 2561 ณ อาคารเอ็มทาวเวอร์ กรุงเทพฯ - ดร.ฐิตาภา สมิตินนท์ รองผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการยกระดับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ด้วยการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี และ นวัตกรรมสีเขียวสู่ตลาดสากล” ซึ่งเป็นความร่วมมือครั้งสำ�คัญขององค์กรพันธมิตร ทั้งภาครัฐและเอกชนรวม 10 แห่ง ได้แก่ สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), สำ�นักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.), สถาบันอาหาร (NFI), สำ�นักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การ มหาชน)(NIA), สำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.), สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.), สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, ธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน) และกลุ่มบริษัทบางจากฯ โดยสถาบันนวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจบางจาก (Bangchak Initiative and Innovation Center - BIIC) และบริษัท บางจาก รีเทล จำ�กัด (BCR) ผู้ดำ�เนินธุรกิจกลุ่ม Non-Oil พร้อมเปิดตัวโครงการแรก SPAR Awards : Taste of Thailand คัดผู้ประกอบการร่วมทดสอบตลาด ใน SPAR หรือร้านอินทนิล อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12151-20180831-mou
  • 11. กันยายน 2561 11กันยายน 2561 • ก.วิทย์ สวทช. ผนึก กลุ่มบริษัทโชคนำ�ชัย พัฒนาเทคโนโลยีออกแบบและผลิตยานพาหนะสมัยใหม่ น้ำ�หนักเบา เพิ่อพัฒนายานยนต์สัญชาติไทยรุ่นใหม่ ครั้งแรกในไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) จับมือ บริษัทโชคนำ�ชัย ไฮ-เทค เพรสซิ่ง จำ�กัด และ บริษัทสกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น จำ�กัด หนึ่งในกลุ่มบริษัทโชคนำ�ชัย (CNC Group) ผู้ผลิตแม่พิมพ์ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ลงนามบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการออกแบบการผลิตยานพาหนะสมัยใหม่ และโครงการสร้างน้ำ�หนักเบา รวมถึงการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนายานยนต์สัญชาติไทยรุ่นใหม่ครั้งแรกในประเทศไทย ที่สามารถนำ�มาต่อยอดในการสร้าง หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ พร้อมทั้งสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไทยให้สูงขึ้น ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า ทาง สวทช. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลง กับกลุ่มบริษัทโชคนำ�ชัย ในด้านการวิจัยและพัฒนาโครงสร้างเรือ และรถโดยสาร โดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ(เอ็มเทค) และ ศูนย์บริการปรึกษา การออกแบบและวิศวกรรม(DECC) หน่วยงานในสังกัด สวทช. ด้วยการใช้กลไกของโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือITAP รวมถึงการ สนับสนุนงบประมาณในการดำ�เนินงานด้วยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ� การยื่นขอรับการพิจารณาบัญชีนวัตกรรม และการลดภาษี300% ซึ่งการดำ�เนินโครงการต่างๆ นั้น ประสบผลสำ�เร็จเป็นอย่างดี ช่วยให้บริษัทโชคนำ�ชัย และบริษัทสกุลฎ์ซี อินโนเวชั่นฯ สามารถพัฒนากระบวนการผลิตโดยมีนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญให้คำ�ปรึกษา อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12152-20180903-mou-cnc-group
  • 12. กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 12 nstda • September 2018 เวทีรวมพลัง เพื่อ ‘เด็กความสามารถพิเศษ’ ถือเป็นช่วงเวลาสำ�คัญของการพัฒนากำ�ลังคนของประเทศไทย โดยเฉพาะเยาวชนอนาคตของชาติ ที่ต้องวาง รากฐานและบ่มเพาะอย่างต่อเนื่อง ในงาน “การประชุมวิชาการนานาชาติด้านการพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ ครั้งที่ 15 (The 15th Asia-Pacific Conference on Giftedness 2018: APCG2018)” ซึ่งผ่านพ้นการจัดงานไปแล้วระหว่างวันที่ 20 - 24 สิงหาคม 2561 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เป็นงานใหญ่ซึ่งจัดขึ้นทุกๆ 2 ปี และในปีนี้ประเทศไทยได้รับ เกียรติเป็นเจ้าภาพการจัดงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) โดย สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (สวทช.) และกระทรวงศึกษาธิการ โดย สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสมาคมพัฒนา ศักยภาพและอัจฉริยภาพมนุษย์ ร่วมกันจัดขึ้น เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางวิชาการด้านการวิจัยและพัฒนา ผู้มีความสามารถพิเศษ และเผยแพร่องค์ความรู้พัฒนาเครือข่ายการทำ�งานระดับนานาชาติ ด้านการส่งเสริมผู้มี ความสามารถพิเศษ ตลอดจนเพิ่มพูนศักยภาพและสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนได้พัฒนาศักยภาพตนเองอย่าง ถูกหลักและเต็มความสามารถ โดยมี ดร.กัญญวิมว์ กีรติกร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดการประชุม APCG2018 เรียบเรียงโดย อาทิตย์ ลมูลปลั่ง ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สวทช.
  • 13. กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 13กันยายน 2561 • ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กล่าวว่า สวทช. เป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนาสังกัด กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ซึ่งนอกจากทำ�งานวิจัยและผลักดันงานวิจัยให้สามารถ ถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์แล้ว สวทช. ยังให้ความ สำ�คัญกับการพัฒนากำ�ลังคนเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนา ประเทศอย่างยั่งยืน โดยการจัดงานการประชุมวิชาการนานาชาติด้านการพัฒนา ผู้มีความสามารถพิเศษ ครั้งที่15 หรือAPCG2018 ครั้งนี้ เป็นส่วนสำ�คัญในการ พัฒนากำ�ลังคนของประเทศไทยที่จะได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนากำ�ลัง คนของชาติร่วมกับเยาวชนประเทศอื่นๆ ที่มีความสามารถพิเศษด้านต่างๆ อาทิ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ดนตรี กีฬา และศิลปะ ในระดับชั้นประถมศึกษา ตอนปลายถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย ผ่านกิจกรรมค่ายเยาวชนนานาชาตที่จัดขึ้นที่ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี นอกจากนี้ ยังมีวิทยากรด้านการศึกษาและการพัฒนาการเรียนรู้ชั้นแนวหน้าของโลกและจาก ประเทศไทย จำ�นวน 19 ท่าน จาก 9 ประเทศ ที่มาร่วมประชุมและแลกเปลี่ยน ประสบการณ์การทำ�งานด้านการส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษในด้านต่างๆ ที่มารวมตัวกันมากที่สุดงานหนึ่ง มียอดผู้สนใจมีผู้ลงทะเบียนกว่า 500 คน จาก 27 ประเทศที่เข้าร่วมประชุม สำ�หรับการจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติด้านการพัฒนาผู้มีความ สามารถพิเศษ ครั้งที่ 15 หรือ APCG2018 นี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ให้ความ สำ�คัญและสนับสนุนการพัฒนากำ�ลังคน โดยเฉพาะเด็กที่มีความสามารถพิเศษ ซึ่งยังได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนอย่างเข้มแข็ง โดยตลอดการประชุมนั้นมีผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและการพัฒนาการเรียนรู้ ชั้น แนวหน้าของโลก ร่วมให้ทัศนะที่น่าสนใจต่อการพัฒนาเด็กผู้มีความสามารถพิเศษ >> วัดไอคิว ไม่ใช่วิธีค้นหาเด็ก Gifted เสมอไป เริ่มด้วยการทำ�ความเข้าใจให้ตรงกัน สำ�หรับการพัฒนาและค้นหาเด็ก ความสามารถพิเศษ โดยศาสตราจารย์จิน อะคิยาม่า รองประธานมหาวิทยาลัย โตเกียวและผู้อำ�นวยการศูนย์วิจัยการศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “บ่มเพาะเด็กอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์ IQ สูง สู่การเป็นนักวิจัยที่มีศักยภาพสูง” ได้กล่าวว่า ส่วนตัวไม่คิดว่าเด็กที่มีความ สามารถพิเศษ หมายถึงเด็กที่มีระดับไอคิว(IntelligenceQuotient:IQ) สูง หรือ มีความรู้มากๆ และไม่เชื่อว่าจะสามารถค้นพบเด็กอัจฉริยะได้จากการทดสอบ ระดับสติปัญญา (IQ Test) หากแต่เด็กที่มีความสามารถพิเศษนั้นจะต้องมีความ สนใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมาก ต้องมีความสงสัยใคร่รู้อย่างเต็มที่และเป็นไปอย่าง สม่ำ�เสมอ เพื่อที่เด็กจะเติบโตกลายมาเป็นนักวิจัยที่ยิ่งใหญ่
  • 14. กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 14 nstda • September 2018 “คะแนนสอบที่ดีนั้นไม่สำ�คัญสำ�หรับการเป็นนักวิจัย สิ่งที่สำ�คัญที่สุดคือ การที่พวกเขามีความสนใจในบางสิ่งและสามารถที่จะครุ่นคิดถึงสิ่งนั้นได้อย่างต่อ เนื่องเป็นเวลายาวนานแรมเดือนแรมปี ดังนั้นเราจะไม่สามารถหาเด็กที่มีความ สามารถพิเศษได้จากการทดสอบระดับไอคิว” ทั้งนี้การสอนนั้นมีความสำ�คัญเป็นอย่างมากที่จะทำ�ให้เด็กที่มีความ สามารถพิเศษกลายเป็น “นักวิจัย” ที่ยิ่งใหญ่ได้ ดังนั้นครูจึงมีบทบาทสำ�คัญอย่าง มาก ครูควรจะสอนแต่สิ่งที่เป็นพื้นฐานหลักและสนับสนุนให้เด็กได้ใช้ความคิด อย่างลึกซึ้ง ซึ่งการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการเป็นที่ปรึกษาให้เด็ก เป็นสิ่งจำ�เป็นที่ครูจะต้องทำ�เป็นสิ่งแรก เพื่อจุดประกายความกระตือรือร้นของ เด็กเหล่านั้นออกมา “หลายคนดูเหมือนจะเชื่อว่า ผลของการทดสอบไอคิวนั้น จะเป็นมาตรวัด ความอัจฉริยะของเด็กได้ แต่ความคิดส่วนตัวแล้วไม่คิดเช่นนั้น การทดสอบไอคิว เป็นเพียงมาตรวัดความรู้และประสบการณ์ของเด็กเท่านั้น” เป็นทัศนะของ ศาสตราจารย์จูน เมเคอร์ นักการศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยแอริโซนา สหรัฐอเมริกา เห็นตรงกันกับศาสตราจารย์อะคิยาม่า ทั้งนี้ ศาสตราจารย์เมเคอร์ ได้ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “อัจฉริยะสร้างได้ด้วย ทฤษฎีPrism รังสรรค์จินตนาการบวกกับการดูแลจิตใจและสิ่งแวดล้อม ทำ�ให้เกิด อัจฉริยะได้” และยังได้นำ�เสนอทฤษฎีผลึกแท่งเแก้ว (The Prism Theory) ซึ่งเป็น ทฤษฎีใหม่ที่ใช้แสดงถึงความสามารถพิเศษของเด็ก เพื่อที่จะสนับสนุนและบ่ม เพาะความสามารถพิเศษที่แสดงออกมานั้นให้เติบโตไปพร้อมกันว่า องค์ประกอบ สำ�คัญของทฤษฎีผลึกแท่งเแก้ว คิดค้นโดย ศาสตราจารย์เมเคอร์ร่วมกับนักวิจัย อีก 3 ท่าน คือ แสงสีขาวที่มาตกกระทบกับผลึกแท่งแก้วแล้วให้ผลลัพธ์ของแสง ออกมาเป็นหลากหลายสี ซึ่งแสงสีขาวนั้นเปรียบได้กับปัญหา หรือความสนใจ หรือความกระหายใครรู้ในการทำ�บางสิ่ง หรือเป็นได้ทั้งปัญหาที่ต้องการคำ�ตอบ ต้องการทางแก้ไข เป็นได้ทั้งความหลงใหลความชอบในบางสิ่งที่มนุษย์ต้องการ สร้าง หรือต้องการเปลี่ยนแปลง เมื่อแสงสีขาวมาตกกระทบกับผลึกแท่งแก้ว ซึ่ง ภายในนั้นเปรียบเสมือนองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ หรือสภาพ แวดล้อมที่บุคคลนั้นมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบข้าง อาทิ วิธีการสอน การตั้งคำ�ถาม ของครู เป็นต้น ทำ�ให้ผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นแสงหลายเฉดสี ที่สะท้อนออกมาใน อีกหลายด้านของผลึกแท่งแก้ว แสงสีที่สะท้อนออกมาเปรียบได้กับความสามารถ ทั่วไปและความสามารถเฉพาะของมนุษย์ในหลากหลายสาขา “กระบวนการภายในผลึกแท่งแก้ว คือ การให้การศึกษากับเด็กที่มีความ สามารถพิเศษ ให้โอกาสพวกเขาได้ค้นหาและตามหาสิ่งที่ตัวเองชื่นชอบ ซึ่งจำ�เป็น อย่างยิ่งที่ต้องออกแบบแนวทางสำ�หรับเด็กเหล่านั้นว่าควรเรียนอะไร และเรียน อย่างไร สิ่งสำ�คัญ 3 ประการ ที่จะพัฒนาเด็กให้มีความสามารถพิเศษ ได้แก่ ส่งเสริมความสามารถตามธรรมชาติ สร้างแรงบันดาลใจ และสร้างโอกาสในการ เรียนรู้ ซึ่งทั้ง 3 สิ่งนี้ ล้วนถูกสร้างให้เกิดขึ้นได้ด้วยพ่อแม่และครู”
  • 15. กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 15กันยายน 2561 • >> พิพิธภัณฑ์ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ได้ ศาสตราจารย์ เว่ย ชิน ซุน (Wei-Hsin Sun) ผู้อำ�นวยการพิพิธภัณฑ์ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งไต้หวัน ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ความท้าทายของ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ในการสร้างความสัมพันธ์และดึงความสนใจของเด็ก อัจฉริยะและเด็กที่มีความสามารถในการเรียนรู้สูง” ได้ยกตัวอย่างถึงการบริหาร พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งไต้หวัน ว่า มีการจัดกิจกรรมที่น่ามหัศจรรย์ ที่ไม่เพียงแต่มีความสนุกสนาน แต่มีความสัมพันธ์เชื่อมต่อไปยังธรรมชาติ ซึ่ง พิพิธภัณฑ์ฯ มีพนักงานเป็นนักวิจัยและศาสตราจารย์ระดับดอกเตอร์มากกว่า 60 คน ช่วยกันคิดค้นวิธีการใหม่ๆ ในการเรียนรู้ให้กับคนที่เข้ามาเรียนรู้ใน พิพิธภัณฑ์ฯ โดยนำ�เสนอความคิดและหัวข้อเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทาง วิทยาศาสตร์ให้น่าสนใจอยู่อย่างสม่ำ�เสมอ อาทิ เรื่องของเมล็ดพืช ดอกไม้ ต้นไม้ พฤติกรรมสัตว์ หรือฟอสซิลไดโนเสาร์ เป็นต้น ศาสตราจารย์ซุน กล่าวด้วยว่า ประสบการณ์ในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ไต้หวันเราค้นพบว่าเด็กนักเรียนสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในรูปแบบที่มีความ สนุกสนาน เมื่อเด็กมีความสนุกในการเรียนรู้ เขาจะแสดงออกซึ่งความสนใจ ของเขาต่อสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำ�คัญที่จะสามารถค้นพบได้ว่าความสามารถ พิเศษใดๆ ที่เด็กเหล่านั้นมีและซุกซ่อนอยู่ เด็กนักเรียนจะกลายเป็นศูนย์กลางของ การเรียนรู้และมีบทบาทในการเรียนรู้ ในขณะที่ความรับผิดชอบของคุณครูคือ การทำ�ให้เด็กนักเรียนมีความสนใจและอยากที่จะเรียนรู้โดยต้องมีการออกแบบ การเรียนรู้ที่มีความท้าทายอย่างต่อเนื่อง การจัดประชุม APCG2018 จึงเป็นอีกหนึ่งกลไกลสำ�คัญในการพัฒนา กำ�ลังคนของประเทศซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีนโยบาย “วิทย์สร้างคน” เพื่อเกิดการพัฒนากำ�ลังคนและองค์ความรู้ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่อประเทศและสังคม ในปีนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ สนับสนุนงบประมาณกว่า30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ994 ล้านบาท) เพื่อการพัฒนาความสามารถด้าน STEM (Science, Technology, Engineering and Mathematics) และพัฒนา ทักษะความเป็นนวัตกรในเด็กและเยาวชนไทย ผ่านบอร์ดสมองกลฝังตัวKidBright ซึ่งได้แจกให้กับโรงเรียนกว่า 1,000 แห่ง อีกทั้งยังสนับสนุนโครงการโรงประลอง ต้นแบบทางวิศวกรรม (Fabrication Lab) ให้มีห้องทดลองทางด้านวิศวกรรมใน 150 สถานศึกษา โดยความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเครือข่าย10 แห่งทั่วภูมิภาค ความสำ�เร็จครั้งนี้จึงเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายในการพัฒนากำ�ลังคน ที่มีความสามารถพิเศษ เกิดการพัฒนาเครือข่ายร่วมกันในโอกาสต่อไป กิจกรรม ทุกกิจกรรมจะเป็นแรงบันดาลใจให้เยาวชนทุกคนเกิดความคิดสร้างสรรค์ เพื่อ ให้พวกเขาเติบโตไปเป็นกำ�ลังสำ�คัญในการยกระดับประเทศไทยไปสู่ประเทศ นวัตกรรมในอนาคต
  • 16. กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 16 nstda • September 2018 • ทุนช่วยเหลือวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 25 ประจำ�ปี 2561 TTSF มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย เพื่อสนับสนุนอาจารย์ และ/หรือนักวิจัยที่กำ�ลังค้นคว้าหรือมีโครงการในการค้นคว้างานที่เป็นรากฐาน อันจะอำ�นวยประโยชน์ให้แก่การพัฒนาองค์ความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย โดยเฉพาะในสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ฟิสิกส์ เคมี และวิศวกรรมศาสตร์  ยกเว้นคณิตศาสตร์และแพทยศาสตร์คลินิก ทั้งนี้ผู้ขอรับทุนจะต้องเป็นอาจารย์/นักวิจัยที่มีประวัติความสำ�เร็จในผลงานเป็นที่ยอมรับของบุคคลในวงการนั้นๆ เป็นอย่างดี หรือมีศักยภาพที่จะพัฒนาความรู้ความสามารถให้เป็นที่ยอมรับในสาขานั้นๆ ในอนาคต กำ�หนดการรับสมัคร (สามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.ttsf.or.th) ผู้สนใจยื่นใบสมัครได้ที่ : ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ประธานคณะกรรมการเงินทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ฝ่ายเลขานุการ สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เลขที่ 73/1 ถนนพระราม 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร. 02 564 7000ต่อ 81815 โทรสาร. 02 644 8134 (วงเล็บมุมซอง “ข้อเสนอโครงการเพื่อรับเงินทุนวิจัยมูลนิธิโทเรฯ”) หมดเขตรับสมัคร 15 ตุลาคม 2561 ประกาศผล มกราคม 2562 ดูตัวอย่างโครงการที่เคยได้รับทุนในปีก่อนๆ ได้ที่ http://www.ttsf.or.th/winner2.php อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12125-ttsf-2561 • สวทช. ขอเชิญ SME กลุ่มอาหาร ร่วมสัมมนา “Food Fast Track” สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี (BIC) ขอเชิญผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหาร และที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้สนใจ ร่วมงานสัมมนา “Food Fast Track” ในวัน อังคารที่ 11 กันยายน 2561 เวลา 13.00 - 16.00 น. ณ โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ กรุงเทพฯ สุขุมวิท ภายในงานพบหัวข้อบรรยายเสริมแกร่งอุตสาหกรรมอาหารใน หลายเรื่อง ได้แก่ งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมอาหาร, Creating Innovation for Food Business และ Trend Opportunity and Challenge of Global Food Market รับจำ�นวนจำ�กัด ผู้สนใจลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ https://goo.gl/wfFTy4 หรือ สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2583 9992 ต่อ 1510-1516 อีเมล bic@nstda.or.th
  • 17. กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 17กันยายน 2561 • • ขอเชิญร่วมงานประชุมวิชาการและนิทรรศการของเนคเทค ประจำ�ปี 2561 (NECTEC Annual Conference and Exhibitions 2018) “ประเทศไทยก้าวไกล ด้วยงานวิจัยใช้ได้จริง” โดยมีเป้าหมายเป็นเวทีเพื่อนำ�เสนอผลงานวิจัยพัฒนาที่มีการนำ�ไปใช้ในภาคส่วนต่างๆ หนุนการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างก้าวกระโดด ภายใต้กรอบวิจัย 5 ประเด็นมุ่งเน้น รวมถึงจะมีการนำ�เสนอผลงานภายใต้งบโครงการพัฒนาพิเศษขนาดใหญ่ (Big Rock) จำ�นวน 2 โครงการ ที่ได้รับมอบหมายให้ดำ�เนินงาน ได้แก่ โครงการสื่อการสอนโปรแกรมมิ่งในโรงเรียน (Coding at School Powered by KidBright) และโครงการขยายผลงานวิจัย DentiiScan เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย การจัดนิทรรศการ NECTEC-ACE 2018 นำ�เสนอผลงานของเนคเทคที่สามารถตอบสนองความต้องการของภาคส่วนต่างๆ ด้วยงานวิจัยที่สามารถใช้ได้จริง ซึ่งสอดคล้องกับ นโยบาย 4 วิทย์ของภาครัฐ ได้แก่ วิทย์แก้จน วิทย์สร้างคน วิทย์เสริมแกร่ง และวิทย์สู่ภูมิภาค ผลงานต่างๆ ที่นำ�เสนอนั้น ล้วนเป็นผลงานที่ใช้งานได้จริง และสามารถตอบโจทย์ทั้งในมิติของผู้ประกอบการที่ต้องการนำ�เทคโนโลยีไปต่อยอด ธุรกิจ ตลอดจนผู้บริโภคปลายทางได้อย่างดี 25 กันยายน 2561 เวลา : 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องบอลรูม รีเซฟชั่นฮอลล์ โซนเอ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nectec.or.th/ace2018/
  • 18. กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 18 nstda • September 2018 เปิดรับสมัคร • สวทช. ขอเชิญ นิสิต นักศึกษา สาขาฟิสิกส์ สมัครเข้าร่วมโครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเดซี ประจำ�ปี 2562 สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) รับสนองพระราชดำ�ริสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมีพระประสงค์ให้นิสิต นักศึกษา สาขาฟิสิกส์ ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมวิจัยระยะสั้นในห้องปฏิบัติการ ณ สถาบันเดซี เมืองฮัมบูรก์ หรือเมืองซอยเธน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สมัครเข้าร่วมการคัดเลือกเพื่อเป็นผู้แทนประเทศไทย เข้าร่วมโครงการนักศึกษา ภาคฤดูร้อนเดซี ในช่วงเดือน กรกฎาคม - กันยายน 2562 กิจกรรมวิจัยระยะสั้น ณ สถาบันเดซี มี 6 สาขา ได้แก่ 1. วิจัยสาขาฟิสิกส์ของอนุภาคมูลฐาน (Experiments in Elementary Particle Physics) 2. วิจัยการทดลองที่ใช้แสงซินโครตรอน (Experiments with Synchrotron Radiation) 3. วิจัยงานทดลองเกี่ยวกับเครื่องเร่งอนุภาค (Research on Accelerators) 4. วิจัยการทดลองทฤษฎีของอนุภาคมูลฐาน (Theory of Elementary Particles) 5. วิจัยงานเกี่ยวกับการคำ�นวณ (Computing in High Energy Physics) 6. วิจัยงานด้านดาราศาสตร์/ฟิสิกส์ดาราศาสตร์อนุภาค (Astrophysics / Astroparticle Physics) • โปสเตอร์รายละเอียดการรับสมัคร https://www.nstda.or.th/desy/images/stories/document/2562/DESY-2018.jpg • สมัครทางออนไลน์ และดูรายละเอียดเพิ่มเติม http://www.nstda.or.th/desy • ผู้สนใจสามารถสมัครได้ตั้งแต่ วันนี้ - 15 กันยายน 2561 • ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม โทรศัพท์ 0 2529 7100 ต่อ 77224, 77800 หรือ 77206 อีเมล pdys@nstda.or.th
  • 19. กันยายน 2561 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 19กันยายน 2561 • • กิจกรรม "ค่ายสนุกคิดกับโครงงานวิทยาศาสตร์” สำ�หรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก 12-14 กันยายน 2561 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สวทช. จ.ปทุมธานี • งานประชุมติดตามผลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำ�เนินการอบรมหลักสูตรการนำ�แนวคิดสะเต็มศึกษาไปใช้ในสถานศึกษา สำ�หรับ ครูระดับชั้นประถมศึกษา ตามโครงการพัฒนาครูรูปแบบครบวงจร ประจำ�ปี 2561 15 กันยายน 2561 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สวทช. จ.ปทุมธานี • กิจกรรม “การอบรมครู จัดการโครงงานสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการศึกษา” ภายใต้โครงการโรงประลองต้นแบบทาง วิศวกรรม (Fabrication Lab) เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นนวัตกรแก่เด็กและเยาวชนไทย รุ่นที่ 1 สำ�หรับครูระดับมัธยม และอาจารย์ มหาวิทยาลัย 15-18 กันยายน 2561 ณ ห้องออดิทอเรียม บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สวทช. จ.ปทุมธานี • กิจกรรมค่ายเปิดประตูสู่โลกวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ 19-21 กันยายน 2561 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สวทช. จ.ปทุมธานี