SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 24
Descargar para leer sin conexión
1พฤศจิกายน 2558 •
4 7
11
13
9
18 19
บทความ Article
15
นำ�ทางคนไข้ หาหมอฉับไว
ไม่หลงขั้นตอน
สวทช./สพฐ. ร่วมกับ สกอ. จัดสัมมนาแนะนำ�แหล่งเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อประชาชนไทย
สวทช. จัดงานสะเต็มเดย์ มุ่งเสริมแกร่งเครือข่ายสะเต็มศึกษาไทย
กระทรวงวิทย์ฯ โดย สวทช./ไบโอเทค
หนุนเกษตรกรไทย สู้เพลี้ยกระโดด
ก.วิทย์ ถอดบทเรียนเหตุราชประสงค์ ดันเทคโนโลยีซีซีทีวี
“4 เมกเกอร์ไทย” ตะลุย
“เมกเกอร์แฟร์ เบอร์ลิน”
เด็กไทยเจ๋ง! ผลงานอุปกรณ์ดักจับแมลงเลียนแบบธรรมชาติ คว้ารางวัลรองชนะเลิศระดับโลก
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
บทสัมภาษณ์ Star
ผู้พัฒนางานไอทีเพื่อสังคมไทย
ดร.ชาลี วรกุลพิพัฒน์
ปฏิทินกิจกรรม Activity
ในเล่ม Insight
ข่าว News 2
EasyHos
สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยโครงการระบบสื่อสาระออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ทางไกลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระ
เทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ร่วมมือกับ
สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย ในนาม “คณะทำ�งาน
การเรียนรู้ตลอดชีวิตภายใต้คณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” จัดสัมมนาวิชาการ
เรื่อง “การศึกษาแบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ภายใต้แผนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” (Lifelong
Learning Space for Thailand Digital Economy) ระหว่างวันที่ 8-9 ตุลาคม 2558 ณ โรงแรมวินเซอร์
สวีท กรุงเทพฯ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ระบบการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และคลังทรัพยากร
การศึกษาดิจิทัลแบบเปิด ที่ได้เก็บรวบรวมข้อมูลและองค์ความรู้ของประเทศในรูปแบบดิจิทัล ตั้งแต่ความรู้ขั้น
พื้นฐานจนอุดมศึกษา ความรู้วิชาการจนภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ได้อย่างทั่วถึง เท่า
เทียมกัน ทุกที่ ทุกเวลา มุ่งสู่การใช้ดิจิทัลเพื่อสังคมและทรัพยากรความรู้ (Digital Society) ได้อย่างแท้จริง
2 nstda • พฤศจิกายน 2558
เชื่อมโยงความรู้ทุกระดับชั้น มุ่งสร้างเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล
สวทช./สพฐ. ร่วมกับ สกอ. จัดสัมมนา
แนะนำ�แหล่งเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อประชาชนไทย
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
3พฤศจิกายน 2558 •
ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ�กระทรวงเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร ประธานเปิดงาน กล่าวว่า “ตามที่รัฐบาลมีนโยบาย
ส่งเสริมภาคเศรษฐกิจดิจิทัลและวางรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัลให้ขับเคลื่อนที่
จะทำ�ให้ทุกภาคเศรษฐกิจก้าวหน้าไปได้ทันโลกและสามารถแข่งขันในโลกสมัย
ใหม่ได้ ซึ่งแนวทางการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหนึ่งในห้าด้านนั้น
คือ การส่งเสริมและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากดิจิทัล (Digital Society Promo-
tion) ที่เกี่ยวกับการสร้างสังคมดิจิทัลที่มีคุณภาพใน4 ประเด็นคือ(1) การพัฒนา
ประชาชนที่สามารถใช้เทคโนโลยีอย่างฉลาด มีความรับผิดชอบและเท่าทันสื่อ
(2) การลดความเหลื่อมล้ำ�ดิจิทัล เช่น การบูรณาการนำ�ระบบไฟฟ้าพลังงานแสง
อาทิตย์ ระบบโทรคมนาคม ระบบการเรียนอีเลิน์นนิงไปสู่ชุมชนชายขอบที่ห่าง
ไกลมากๆ หรือการนำ�เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยผู้ที่บกพร่องทางการเรียนรู้เขียน
หนังสือได้ ซึ่งในเรื่องเหล่านี้ทางคณะทำ�งานกำ�ลังดำ�เนินการอยู่(3) การแปลงสื่อ
ต่างๆให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล และมีการจัดเก็บ/ จัดแสดงอย่างฉลาด เพื่อให้สังคม
มีdigitalcontent พร้อมสำ�หรับการเรียนรู้ และ(4) การพัฒนาบริการดิจิทัลเพื่อ
สังคม โดยมีบริการเร่งด่วนที่สุดคือ บริการการศึกษา/การเรียนรู้แบบเปิดเพื่อการ
เรียนรู้ตลอดชีวิต อันเป็นที่มาของงานสัมมนาในวันนี้”
“โครงการการศึกษาแบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือ Lifelong
LearningSpace ที่คณะทำ�งานการเรียนรู้ตลอดชีวิตภายใต้คณะกรรมการเตรียม
การด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้พัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของหน่วย
งานต่างๆ ได้แก่ สำ�นักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำ�นักงานคณะกรรมการ
การอุดมศึกษา สำ�นักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ นับเป็นอีกกลไกหนึ่งที่สำ�คัญที่ช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้
เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสังคมไทยในโลกยุคใหม่ยุคดิจิทัลนี้ โดยโครงการนี้
จะมุ่งเน้นการบูรณาการและเชื่อมโยงคลังสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ในทุกระดับการ
ศึกษา จากการศึกษาพื้นฐานไปสู่ความรู้ระดับอุดมศึกษา จากความรู้วิชาการสู่
ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเป็นช่องทางและโอกาสการเรียนรู้ด้วยตนเองตาม
อัธยาศัยที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา”
“การบูรณาการภายในหน่วยงานและบูรณาการข้ามหน่วยงานของทั้ง
3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงไอซีที และ
กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดแหล่งเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อประชาชนไทย
เป็นการเปิดมิติการเข้าถึงความรู้ และเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เวลา
ใด ในขณะเดียวกันเมื่อเชื่อมโยงโครงการดังกล่าวเข้ากับการขับเคลื่อนของคณะ
ทำ�งานอื่นๆ ภายใต้คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เช่น การขยาย
โครงข่ายบรอดแบนด์เข้าถึงทุกหมู่บ้าน จะส่งผลให้เกิดความสำ�เร็จในการพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมไทยในยุคดิจิทัลนี้ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป” ประธาน
เปิดงาน กล่าวสรุปเกี่ยวกับโครงการการศึกษาแบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
โครงการการศึกษาแบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learn-
ing) มีจุดเด่นคือ เป็นการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ อันได้แก่
โครงการระบบสื่อสาระออนไลน์ฯ ของ สวทช. และ สพฐ. โครงการ DLIT ของ
สพฐ. โครงการThaiMOOC ของ สกอ. เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและการ
ศึกษาตามอัธยาศัยด้วยเทคโนโลยีออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชนอย่างเป็นรูปธรรม
เน้นความร่วมมือและแบ่งปันความรู้ ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างอิสระเสรี ตาม
แนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต(LifelongLearning) สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ได้ที่ http://www.learn.in.th/
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
4 nstda • พฤศจิกายน 2558
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี กล่าวว่า “กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำ�นักงานพัฒนา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและ
เทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) เล็งเห็นความสำ�คัญของชุมชนชนบท ซึ่ง
เป็นรากฐานของคนส่วนใหญ่ของประเทศ จึงมีการส่งเสริมการนำ�วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี และนวัตกรรม(วทน) เพื่อประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละ
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
เพิ่มรายได้-ลดการนำ�เข้าจากต่างประเทศ
กระทรวงวิทย์ฯ โดย สวทช./ไบโอเทค หนุน
เกษตรกรไทยนำ� วทน. สู้เพลี้ยกระโดดสีน้ำ�ตาล
8 ต.ค. 58 จ.พระนครศรีอยุธยา - ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี พร้อมด้วย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง
ชาติ (สวทช.) และคณะได้เข้าเยี่ยมชมการดำ�เนินงาน “โครงการขยายผลการผลิตและการใช้งานราบิวเวอเรีย”
ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ และสหกรณ์การเกษตรผักไห่ จำ�กัด และเครื่องสีข้าว
ขนาดเล็ก ที่ทาง สวทช. โดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และศูนย์เทคโนโลยี
โลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)  ดำ�เนินการขึ้น เพื่อสนับสนุนการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใน
การประกอบอาชีพเกษตรกรรมและอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของชุมชน
ชุมชน โดยได้จัดทำ� “โครงการขยายผลการผลิตและการใช้งานราบิวเวอเรีย” เพื่อ
เป็นการสนับสนุนการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการประกอบ
อาชีพเกษตรกรรมและอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนจัดตั้งศูนย์ผลิตหัวเชื้อรา
บิวเวอเรีย เพื่อส่งให้แก่กลุ่มเกษตรกรบ้านนาคูนำ�ไปผลิตเป็นก้อนเชื้อราบิวเวอเรีย
สำ�หรับใช้ในกลุ่ม และเพื่อจำ�หน่าย
5พฤศจิกายน 2558 •
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
พี้นที่ ต.ผักไห่ อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพื้นที่ที่ประสบกับปัญหา
น้ำ�ท่วมทุกปี เนื่องจากเป็น “พื้นที่แก้มลิง” เกิดผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตร โดย
เฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ปลูกข้าวที่ได้รับความเสียหายมากเมื่อประสบภาวะน้ำ�ท่วม ซึ่ง
สวทช. โดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ร่วม
กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำ�นักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว ได้พัฒนา
พันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์ทนน้ำ�ท่วมฉับพลันมาให้เกษตรกรปลูก และร่วมกับสหกรณ์
การเกษตรผักไห่ จำ�กัด ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีให้
แก่เกษตรกรในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งข้าวเปลือกหอมชลสิทธิ์ผ่านการ
ทำ�ความสะอาด ขัดสี อบ ลดความชื้นเพื่อคงสภาพความหอมและนุ่มก่อนบรรจุ
ถุงภายใต้เครื่องหมายการค้า “อ่อนหวาน” จำ�หน่ายปลีกและขายส่ง โดยในปี
2557 มีพื้นที่ปลูกเมล็ดพันธุ์ข้าวสายพันธุ์หอมชลสิทธิ์ใน จ.พระนครศรีอยุธยา ไม่
ต่ำ�กว่า2,349 ไร่ ได้ผลผลิตเมล็ดพันธุ์รวม357 ตัน ผลผลิตข้าวเปลือกรวม1,401
ตัน สามารถสร้างมูลค่าผลผลิตกว่า 21 ล้านบาท  ซึ่งในปี 2554 แปลงนายังได้
รับความเสียหายจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำ�ตาลระบาดทำ�ความเสียหาย ประมาณร้อย
ละ 80 ในจำ�นวนนี้แปลงนาร้อยละ 14 เสียหายทั้งหมด ประเมินมูลค่าความเสีย
หายปีละไม่ต่ำ�กว่า 124 ล้านบาท 
จากปัญหาความเสียหายนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ สวทช. โดย
ไบโอเทค ได้ศึกษาและวิจัยเชื้อราที่ก่อโรคในแมลงเพื่อนำ�มาใช้ในการควบคุมศัตรู
พืช ซึ่ง “เชื้อราบิวเวอเรีย” มีคุณสมบัติทำ�ลายแมลงหลายชนิด เช่น เพลี้ยแป้ง
มันสำ�ปะหลัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำ�ตาล เพลี้ยอ่อน เป็นต้น และสามารถควบคุม
และกำ�จัดศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี โดยได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช
มงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) สำ�นักงานเกษตรอำ�เภอผักไห่ และสหกรณ์
การเกษตรผักไห่ จำ�กัด นำ�มาใช้และถ่ายทอดในการผลิตเชื้อบิวเวอเรียที่
สามารถใช้ป้องกันและกำ�จัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำ�ตาลสู่ชุมชนบ้านนาคู และผลัก
ดันให้บ้านนาคูเป็น “หมู่บ้านบิวเวอเรีย” ต้นแบบหมู่บ้านแม่ข่าย ในการผลิต
เชื้อบิวเวอเรีย ซึ่งสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรปีละ 40,000 บาท และลดการเข้า
จากต่างประเทศ    
ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า การดำ�เนินงานนี้ สวทช. ในฐานะผู้
พัฒนาเทคโนโลยีทำ�หน้าที่ส่งมอบเชื้อตั้งต้นของราบิวเวอเรียจากห้องปฏิบัติการ
ไบโอเทค ให้แก่ มทร.สุวรรณภูมิ ซึ่งรับเป็นศูนย์ผลิตหัวเชื้อราบิวเวอเรีย เพื่อส่ง
ให้แก่กลุ่มเกษตรกรบ้านนาคูนำ�ไปผลิตเป็นก้อนเชื้อราบิวเวอเรีย สำ�หรับใช้ในกลุ่ม
และเพื่อจำ�หน่าย โดยมีสหกรณ์การเกษตรผักไห่ จำ�กัด เป็นผู้แทนจำ�หน่ายก้อน
เชื้อราบิวเวอเรียให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ ในราคาก้อนละ 40 บาท สามารถสร้าง
รายได้ให้กับกลุ่มรวมพลังเกษตรชีวภาพบ้านนาคู ถึงปีละ 40,000 บาท ซึ่ง
ไบโอเทค/สวทช. ได้ร่วมมือกับสำ�นักงานเกษตรอำ�เภอผักไห่ ส่งเสริมให้
เกษตรกรสามารถใช้เชื้อราบิวเวอเรียเพื่อควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำ�ตาลได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้เกษตรกรบ้านนาคูสามารถทำ�การเกษตรแบบชีวภาพ
ได้อย่างยั่งยืน คาดว่าจะสามารถลดความเสียหายของผลผลิตข้าวลงได้ถึงร้อยละ
70 หรือมูลค่ากว่า80 ล้านบาท โดยขณะนี้มีเกษตรกรในอำ�เภอผักไห่นำ�เอาเชื้อรา
บิวเวอเรียไปใช้แล้ว กว่า3,000 ไร่ เมื่อคิดต้นทุนโดยเฉลี่ยแล้ว ปกติเกษตรกรจะ
เสียค่าใช้จ่ายสำ�หรับค่าสารเคมีฆ่าแมลงประมาณ300 บาท/ไร่/รอบการปลูก แต่
เมื่อเปลี่ยนมาใช้เชื้อราบิวเวอเรียในการกำ�จัดแมลงศัตรูพืช พบว่าเกษตรกรจะเสีย
ค่าใช้จ่ายเพียง 60 บาท/ไร่/รอบการปลูกเท่านั้น
นอกจากนี้ ยังนำ�เครื่องสีข้าวขนาดเล็กพัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะ
และวัสดุแห่งชาติ(เอ็มเทค) กำ�ลังการผลิตประมาณ150-200 กิโลกรัมข้าวเปลือก/
ชั่วโมง สามารถสีแปรรูปข้าวได้ทั้งข้าวกล้องและข้าวขาว โดยที่เกษตรกรเลือกใช้
งานได้ตามต้องการ ไม่ต้องเสียเวลากับการไปรอสีข้าวหรือเปลี่ยนข้าวกับโรงสี
ขนาดใหญ่ และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากการใช้งานเครื่องสีข้าวสีแปรรูปข้าว
เปลือกของตนเองเป็นข้าวกล้อง และข้าวสารเพื่อการจำ�หน่าย หรือการรับจ้างสีได้
มูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณ2,000-3,000 บาท/ตัน(คิดคำ�นวณในลักษณะการรับจ้างสี
ข้าว) นอกจากนี้ยังได้ออกแบบให้สามารถใช้อะไหล่ชิ้นส่วน กว่า80% ที่สามารถ
ซ่อมแซมได้ง่ายตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น สายพาน น็อต ลูกกระพ้อ ลูกยางกะเทาะ
เปลือก ฯลฯ และใช้มอเตอร์ต้นกำ�ลังรวม 8.5 แรงม้า แบบซิงเกิลเฟส สามารถ
ใช้ได้กับไฟฟ้าตามบ้านทั่วไป ทำ�ให้มีต้นทุนค่าไฟฟ้าในการใช้งานต่ำ�” ทั้งนี้ ยังได้
สร้างเครื่องแยกข้าวเปลือกและ ข้าวกล้องมาใช้ร่วมกับเครื่องสีข้าวดังกล่าว เพื่อ
ให้ได้ข้าวกล้องที่สะอาดไม่มีข้าวเปลือกปน พร้อมนำ�ไปบรรจุขายได้ทันที ช่วย
ลดค่าใช้จ่ายในการจ้างสีข้าวของสหกรณ์ จำ�นวน 4 แสนบาทต่อปี สร้างรายได้
เพิ่มขึ้นให้เกษตรกร ช่วยเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องจักร
กลการเกษตรในประเทศให้มีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เครื่องสีข้าวขนาดเล็กให้มี
ประสิทธิภาพสูงขึ้น มีราคาที่เหมาะสมสำ�หรับจำ�หน่ายในชุมชนเกษตรกร และ
ช่วยลดการนำ�เข้าเครื่องสีข้าวขนาดเล็กจากต่างประเทศ
6 nstda • พฤศจิกายน 2558
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
7พฤศจิกายน 2558 •
ก.วิทย์ ถอดบทเรียนเหตุราชประสงค์
ดันเทคโนโลยีซีซีทีวีเพื่อความมั่นคง
และปลอดภัยของสังคมไทย
ต่อยอดการใช้งานรองรับสังคมผู้สูงอายุ
พร้อมเปิดตัวซีซีทีวี คอนซอร์เตียม อย่างเป็นทางการ
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
15 ตุลาคม 2558 ณ ห้องจูปิเตอร์ 11-14 อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี/กระทรวง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เร่งสร้างความ
ตระหนักและความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัย เพื่อสนับสนุนนโยบายการสร้างเมืองให้เป็น “สมาร์ท
ซิตี้” ระดมองค์กรภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา พร้อมผู้เชี่ยวชาญด้านระบบซีซีทีวีในงานสัมมนา Smart
Society Smart Security สร้างเมืองให้ปลอดภัยด้วยน้ำ�ใจและเทคโนโลยี โดยได้รับเกียรติจาก ดร.พิเชฐ
ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดงาน
8 nstda • พฤศจิกายน 2558
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
ดร.พิเชฐ กล่าวว่า รัฐบาลมีภารกิจสำ�คัญในการสร้างความเข้มแข็ง
ด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งถือเป็นรากฐานของประเทศควบคู่ไปกับความมั่นคง
และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และจากบทเรียนในเหตุระเบิดที่
ราชประสงค์ซึ่งทำ�ให้สังคมไทยตระหนักถึงความสำ�คัญของเทคโนโลยีมากขี้น
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเล็งเห็นถึงความสำ�คัญของเทคโนโลยี ซีซีทีวี
แอนาลิติกส์(CCTVAnalytic) เพื่อตอบโจทย์สังคมให้เป็นสังคมที่มีความปลอดภัย
สูงขึ้น ขณะเดียวกันได้ตั้งเป้าที่จะพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีนี้
เพื่อความปลอดภัย และลดการนำ�เข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ นอกจากนี้
ประเทศไทยกำ�ลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ซึ่งเทคโนโลยีซีซีทีวีจะช่วยอำ�นวยความ
สะดวกและลดการเกิดอุบัติเหตุในกลุ่ม เป้าหมายได้    
ดร.ทวีศักดิ์ กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน
นโยบายการสร้างเมืองให้เป็นสมาร์ท ซิตี้ ที่มั่นคง ปลอดภัยด้วยพลังของสังคม
โดยการใช้ซีซีทีวีในรูปแบบต่างๆให้เหมาะสมและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ให้ผู้ที่
สัญจรบนถนนมีความสะดวกมากขึ้น สามารถกดดูสภาพการจราจรได้ล่วงหน้า
หากเกิดเหตุอาชญากรรม ผู้รักษากฏหมายก็สามารถติดตามสืบค้นข้อมูลใน
อดีตได้อย่างรวดเร็ว  และก่อนเกิดเหตุอาชญากรรม ระบบวิเคราะห์ภาพอาจจะ
สามารถแจ้งเตือนถึงเหตุการณ์ที่ผิดปกติที่กำ�ลังจะเกิดขึ้นได้ ทำ�ให้เราสามารถ
เฝ้าระวังและป้องกันเหตุได้อย่างทันท่วงที    
ทั้งนี้ ภายในงานยังได้มีการจัดงานวิชาการ การบรรยาย การจัดแสดง
นิทรรศการจากผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศ อาทิ บริษัท Huawei,
SECOM, Bosch, Panasonic, Digital Focus เป็นต้น อีกทั้งยังมีการสาธิตการ
เชื่อมโยงซีซีทีวี แอนาลิติกส์ โมดูล กับซีซีทีวีรุ่นต่างๆ ของสมาชิกผ่านเพลตฟอร์ม
กลาง เพื่อแสดงให้เห็นว่าในอนาคตสมาชิกซีซีทีวี คอนซอร์เตียม สามารถเชื่อม
หากันและเลือกใช้แอนาลิติกส์ได้ตามต้องการ
9พฤศจิกายน 2558 •
19 ตุลาคม 2558 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี - สำ�นักงาน
พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดงาน “STEM DAY: เรียนรู้ให้สนุก ฝึกคิดแบบสะเต็ม
เติมเต็มทักษะชีวิต” ระหว่างวันที่ 19-20 ต.ค. 58 เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ครู ผู้ปกครอง เยาวชน เครือ
ข่ายภาครัฐและเอกชน ตระหนักถึงคุณค่าของการเรียนรู้ในศาสตร์ 4 ด้านคือ วิทยาศาสตร์ (Science)
เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) โดยนำ�ความ
รู้ต่างศาสตร์มาเชื่อมโยงกันและนำ�สู่การแก้ปัญหาในชีวิตจริง ที่ต้องวางแผน แก้ปัญหา ลงมือทำ� จนเกิดเป็น
วิธีการหรือกระบวนการที่เป็นรูปธรรมชัดเจน รวมทั้งเพื่อพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพครูแกนนำ�ผู้สอนสะเต็ม
ศึกษาให้สามารถจัดการเรียนการสอนด้านสะเต็มได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีครู นักเรียน และผู้สนใจในวงการ
สะเต็มศึกษาเข้าร่วมงานกว่า 400 คน
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
สวทช. จัดงานสะเต็มเดย์
มุ่งเสริมแกร่งเครือข่ายสะเต็มศึกษาไทย
ยกระดับการเรียนรู้วิทย์ คณิต และไอทีของประเทศ
10 nstda • พฤศจิกายน 2558
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล รองผู้อำ�นวยการ สวทช. กล่าวว่า “สวทช.
ได้กำ�หนดให้การพัฒนากำ�ลังคนและสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีเป็นพันธกิจหนึ่งขององค์กร ซึ่งดำ�เนินงานร่วมกับพันธมิตรทั้งภาค
รัฐ ภาคเอกชน และชุมชน มาเป็นเวลานาน และในโอกาสที่สำ�นักงานคณะ
กรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ(สวทน.) ให้การ
สนับสนุน สวทช. จัดทำ�โครงการ “ส่งเสริมการใช้ศักยภาพด้านโครงสร้างพื้นฐาน
และบุคลากรของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อขับ
เคลื่อนนวัตกรรมโดยการยกระดับและทักษะความรู้ด้านSTEM ให้แก่ นักเรียน ครู
และบุคลากรวัยทำ�งาน” ในปีงบประมาณ 2557 ต่อเนื่องถึงปีงบประมาณ 2558
ทำ�ให้การดำ�เนินงานที่ผ่านมาเน้นแนวทาง STEM เพื่อเตรียมเยาวชนทั้งที่อยู่ใน
ระบบและนอกระบบการศึกษา และบุคลากรกลุ่มแรงงานหรือ STEM Workforce
เพิ่มทักษะและคุณภาพด้าน STEM ให้ครบวงจรมากยิ่งขึ้น ด้วยการทำ�งานร่วม
กับเครือข่ายพันธมิตร ได้แก่ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(สสวท.) สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ บริษัทอินเทลอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย
จำ�กัด เพื่อสร้างบุคลากรในสาขาสะเต็มให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนทั่วทั้งประเทศ
รวมทั้งการเชื่อมโยงการเรียนรู้โดยใช้โจทย์วิจัยและศักยภาพของนักวิจัยจาก 4
ศูนย์แห่งชาติของ สวทช. คือ ไบโอเทค เนคเทค เอ็มเทค และนาโนเทค การ
ทำ�งานร่วมกับคลัสเตอร์วิจัยต่างๆ และใช้ประโยชน์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่
บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร และความสามารถการบริหารงานด้านพัฒนาบุคลากร
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของสำ�นักพัฒนากำ�ลังคน สวทช. อย่างเต็มศักยภาพ”  
“โดยการดำ�เนินงานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2557 - สิงหาคม 2558 โครง
การฯ ได้พัฒนาต้นแบบสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ หลักสูตรการจัดอบรม และแนวทาง
การจัดกิจกรรมด้านสะเต็มที่เหมาะสมและครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม ได้แก่
เยาวชน ผู้ปกครอง ครู ตลอดจนบุคลากรวัยทำ�งานได้มากกว่า 12,000 คน จึง
ได้จัดงาน “STEM Day 2015: เรียนรู้ให้สนุก ฝึกคิดแบบสะเต็ม เติมเต็มทักษะ
ชีวิต” ครั้งนี้ขึ้น ซึ่งนับเป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับ
การ ขับเคลื่อนสะเต็มศึกษา ตั้งแต่เด็กและเยาวชน ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ ชุมชน
นักวิจัย ผู้ประกอบการ และผู้บริหารสายงานด้านการศึกษา ได้สรุปผลงานที่
ผ่านมา พร้อมนำ�เสนอกรณีตัวอย่างนวัตกรรมที่เกิดขึ้น รวมทั้งหารือแลกเปลี่ยน
ถึงแนวทางการทำ�งานด้าน STEM Education และการพัฒนา STEM Workforce
ต่อไปในอนาคต ถือเป็นกิจกรรมที่สร้างความเข้มแข็งให้แก่เครือข่ายสะเต็มศึกษา
เพื่อยกระดับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี และกระตุ้น
ความสนใจให้เด็กและเยาวชนรู้จักการนำ�ความรู้ด้านสะเต็มไปใช้ประโยชน์ทั้ง
ในชีวิตประจำ�วันและการทำ�งานในอนาคต รวมทั้งพัฒนาครูให้มีความสามารถ
ในการจัดการเรียนการสอนด้านสะเต็ม ตลอดจนพัฒนาบุคลากรวัยทำ�งานให้มี
ทักษะและความรู้ในการทำ�งานที่จำ�เป็นต่อการสร้างอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิต
ให้ดีขึ้น และเพิ่มผลิตภาพได้ต่อไป”  
ทั้งนี้ งาน STEM DAY 2015 ประกอบด้วยกิจกรรมไฮไลต์ อาทิ การ
บรรยายพิเศษเรื่อง สะเต็มศึกษากับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 โดย
ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ที่ปรึกษา ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี/ รองประธาน
กรรมการ สสค. ที่พูดถึงความจำ�เป็นในการปรับการเรียนการสอนเพื่อนำ�พา
เด็กและเยาวชนเข้าสู่โลกในศตวรรษที่ 21 และเรื่อง ทิศทางของสะเต็มศึกษา
ในประเทศไทย โดย ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำ�นวยการ สสวท. ที่พูดถึง
สะเต็มศึกษาจากระดับสากลสู่ทิศทางและนโยบายสะเต็มศึกษาในประเทศไทย
และการนำ�มาปรับใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนในประเทศ นอกจากนี้ ยังมี
นิทรรศการจากหน่วยงานต่างๆ การประชุมปฏิบัติการที่เป็นเวทีให้ครูนำ�เสนอ
และแลกเปลี่ยนผลงานที่ได้ดำ�เนินงานจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาในชั้นเรียน และ
การแนะแนวอาชีพด้านสะเต็มจากฑูตสะเต็ม เป็นต้น
ในปัจจุบันการบูรณาการการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาถือเป็น รูปแบบการ
เรียนการสอนที่ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนสามารถบูรณาการเนื้อหาทาง วิทยาศาสตร์
เข้ากับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นรอบตัว เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์และการวางแผน
ในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นทักษะสำ�คัญสำ�หรับศตวรรษที่21 กล่าวคือ
สะเต็มศึกษาจะมุ่งเน้นให้เชื่อมโยงความรู้ในหลายๆ วิชาเพื่อนำ�ไปสู่การแก้ปัญหา
ในชีวิตจริง ที่นักเรียนต้องมีการวางแผนเพื่อแก้ปัญหา ลงมือปฏิบัติ และได้ผลลัพธ์
ออกมา ซึ่งอาจเป็นวิธีการที่ช่วยแก้ปัญหาหรือทำ�ให้ดีขึ้นหรือเกิดเป็นชิ้นงาน/โครง
งานวิทยาศาสตร์ก็ได้ นับเป็นกระบวนการทางวิศวกรรมที่เกิดขึ้นนั่นเอง กิจกรรม
สะเต็มถือเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาที่เพิ่มเสริมขึ้นมาเพื่อให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยง
ความรู้เข้ากับชีวิตจริง เกิดเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมายมากขึ้นในท้ายที่สุด
11พฤศจิกายน 2558 •
“4 เมกเกอร์ไทย” ตะลุย
“เมกเกอร์แฟร์ เบอร์ลิน”
ต่อยอดไอเดีย สร้างนวัตกรรม
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำ� 4 เมกเกอร์ไทย ผู้ชนะโครงการ
ประกวด Enjoy Science: Let’s print the world ซึ่งจัดโดย สวทช.ร่วมกับ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำ�รวจ
และผลิต จำ�กัด เข้าชมงานเมกเกอร์แฟร์ เบอร์ลิน ที่ประเทศเยอรมนี ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 3-4 ตุลาคม ที่ผ่านมา
เพื่อเปิดโอกาสให้เมกเกอร์ไทยได้เรียนรู้ถึงแนวคิดและเทคโนโลยีใหม่ๆ สำ�หรับใช้ต่อยอดไอเดีย สร้างสรรค์
นวัตกรรมไทยเพื่อคนไทยในอนาคต
ดร.นำ�ชัย ชีววิวรรธน์ รองผู้อำ�นวยการฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์ สวทช. กล่าว
ว่า “การไปดูผลงานของเมกเกอร์ชาวเยอรมันในงานเมกเกอร์แฟร์ เบอร์ลิน ทำ�ให้
เมกเกอร์ไทยได้เห็นแนวคิดและความนิยมของเมกเกอร์ในแถบยุโรป ซึ่งจะเห็นว่า
มีผลงานที่เป็นหุ่นยนต์จำ�นวนมากและมีรูปแบบที่หลากหลาย งานอีกกลุ่มหนึ่งที่
เห็นชัดเจนคือ เครื่องพิมพ์ 3 มิติ และพอลิเมอร์ที่ใช้ในการพิมพ์ ซึ่งมีหลายแบบ
น่าตื่นตาตื่นใจ เช่น พลาสติกรูปแบบใหม่ๆ ที่มีสีสันหลากหลายและยืดหยุ่นสูง
เมื่อพิมพ์ออกมาแล้วสามารถบิดและเปลี่ยนกลับเป็นรูปแบบเดิมได้ไม่เสียหาย
น่าจะนำ�มาประยุกต์กับงานต่างๆ ได้มาก 
นางสาวศิริลักษณ์ สังวาลย์วรวุฒิ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เจ้าของ
รางวัลชนะเลิศประเภทนักเรียน นักศึกษา จากผลงานปะการังเทียม กล่าวว่า การ
ได้มางานเมกเกอร์แฟร์ เบอร์ลิน ทำ�ให้ได้แรงบันดาลใจและไอเดียใหม่ๆ มาปรับ
ไปใช้กับงานค่อนข้างเยอะ เช่น ถ้วยเซรามิกที่นำ�ไปใช้ทำ�นาฬิกา ลำ�โพง วิธีคิด
12 nstda • พฤศจิกายน 2558
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
เขาน่าสนใจมากในการทำ�ผลิตภัณฑ์ และที่ชอบมากคือ อุปกรณ์ที่ชื่อ Okinesio
ซึ่งใช้เซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว เวลาที่เราดึงโดยใช้แรงหรือน้ำ�หนักที่ต่างกัน
แสงที่ฉายลงบนฉากก็จะมีรูปแบบที่ต่างกันด้วย เป็นงานแบบ interactive
น่าสนใจ และคิดว่าจะลองมาปรับใช้กับงานที่ทำ�อยู่
นางสาวเสาวคนธ์ ภุมมาลี เจ้าของรางวัลชนะเลิศประเภทบุคคลทั่วไป
จากผลงานทศกัณฑ์ กล่าวว่า ผลงานที่ประทับใจ คือ โรบอต ซู (Robot zoo)
หุ่นยนต์แมลงที่ตัวโครงหลักทำ�จากกระดาษแข็ง เด็กๆ เห็นก็จะรู้สึกว่าน่าจะทำ�ได้
นะ แค่เอากระดาษแข็งมาใส่อิเล็กทรอนิกส์เข้าไป และผลงานAvakai ตุ๊กตาไม้ที่
ผสมผสานกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยและวิธีการเล่นแบบดั้งเดิมของเด็กๆ เช่น การ
เล่นซ่อนหา นอกจากนี้ยังได้เห็นเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ที่ก้าวหน้าไปมาก
สามารถพิมพ์ออกมาได้หลายวัสดุ เช่น ไม้ เงิน ทอง ทองแดง เซรามิก ทำ�ให้ได้
สัมผัสชิ้นงานจริงในงานนี้ เห็นแล้วก็มีแรงกระตุ้น อยากทำ�งานพิมพ์ 3 มิติจาก
วัสดุเหล่านี้บ้าง มันช่วยเปิดกรอบการคิดงาน ต่อยอดไอเดียได้เยอะเลยทีเดียว
นายสุพัฒ สังวรวงษ์พนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
พระนครเหนือ ผู้ช่วยพัฒนาผลงานปะการังเทียม กล่าวว่า โครงการนี้ช่วยเปิด
กว้างให้เราได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์และเห็นนวัตกรรมมากมายที่หาดูไม่ได้ในเมือง
ไทยครับ ในงานมีหุ่นยนต์ ผลงานพิมพ์ 3 มิติเยอะมาก ผมชอบเครื่องสแกน 3
มิติ ซึ่งเขาประดิษฐ์ตัวสแกนขึ้นเอง โดยพัฒนาให้ฐานหมุนได้ แล้วใช้กล้องคิเนค
จับภาพสแกน3 มิติ และแปลงเป็นไฟล์ที่พร้อมพิมพ์เป็นชิ้นงาน3 มิติได้เลย เห็น
แล้วก็อยากศึกษาเพิ่มเติม เพื่อกลับไปพัฒนาต่อเป็นผลงานเจ๋งๆ สักชิ้นไปโชว์ใน
งานเมกเกอร์แฟร์ของประเทศไทยในปีหน้าครับ 
นางสาวทิพย์สิริ ฤทธิกุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
พระนครเหนือ ผู้ช่วยพัฒนาผลงานเครื่องนวดเท้า กล่าวว่า ที่ชอบมากคือ คือ
“หุ่นยนต์พ่นไฟ” ที่ชื่อว่า “เคลวิน” มีความสูง 9 เมตร กว้าง 5 เมตร สร้างขึ้น
จากตู้คอนเทนเนอร์ และใช้ไฮโดรลิกในการควบคุมให้ขยับได้ ก่อนโชว์จะเห็น
เหมือนตู้คอนเทนเนอร์สี่เหลี่ยมธรรมดา จากนั้นก็ค่อยๆ แปลงร่างจนกลาย
เป็นหุ่นยนต์ และพ่นไฟออกจากมือได้ ตื่นตาตื่นใจมาก นอกจากนี้ยังมีเปียโน
หุ่นยนต์ เครื่องทอผ้า ที่สำ�คัญเลย คือ การได้ไปเยี่ยมชม FAB LAB หน่วยงาน
OTTOBOCK และพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ทำ�ให้เราได้เห็นนวัตกรรมมากมาย ซึ่งช่วย
ต่อยอดสานฝันเราได้มาก ได้เห็นเทคโนโลยี ได้แนวคิด ได้มุมมองใหม่ๆ ที่จะ
นำ�กลับมาใช้พัฒนาตัวเองต่อไปค่ะ
13พฤศจิกายน 2558 •
เด็กไทยเจ๋ง! ผลงานอุปกรณ์
ดักจับแมลงเลียนแบบธรรมชาติ
คว้ารางวัลรองชนะเลิศระดับโลกจาก
Biomimicry Global Design Challenge 2015
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ส่งตัวแทน
เยาวชนไทยจากโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์สำ�หรับเด็กและ เยาวชน หรือ Junior Science
Talent Project (JSTP) เข้าร่วมแข่งขัน “Biomimicry Global Design Challenge 2015” ซึ่งเป็นการแข่งขัน
ระดับโลก จัดโดย Biomimicry Institute ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเยาวชนไทยทีม BioX ได้รับรางวัลรอง
ชนะเลิศในระดับประชาชนทั่วไป พร้อมคว้ารางวัลไปกว่ามูลค่า $7,500 (225,000 บาท)
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
14 nstda • พฤศจิกายน 2558
Global Biomimicry Design Challenge เป็นการเเข่งขันระดับโลก
จัดโดย Biomimicry Institute ประเทศสหรัฐอเมริกา และ Ray C. Anderson
Foundation ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยและการศึกษาที่สร้างผลกระทบทางด้านนวัตกรรม
เลียนแบบธรรมชาติ โดยให้คนจากทั่วโลกส่งนวัตกรรมที่เลียนแบบกระบวนการ
ทำ�งานของสิ่งมีชีวิต(Biomimic) ซึ่งเป็นtrend ของนวัตกรรมในช่วง5 ปีนี้ และ
โจทย์ในปีนี้เป็นเรื่องของการแก้ปัญหาอาหารของโลก โดยการแข่งขันแบ่งออก
เป็นสามรอบ คือ รอบที่หนึ่งคัดจาก “ข้อเสนอโครงการ” ให้เหลือ 8 ทีมที่ได้ไป
showcase ที่SXSWEco ซึ่งเป็นการประชุมด้านนวัตกรรมสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุด
ในอเมริกาและมีการเปิดตัวนวัตกรรมที่ทันสมัยที่สุดในโลก ส่วนในรอบที่สองเป็น
รอบ “การนำ�เสนอ” ซึ่งจะมีรางวัลให้สามทีมที่ดีที่สุดคัดโดยกรรมการ ทีมที่ได้ที่
1 จะได้งบ$10,000(300,000 บาท) เพื่อนำ�ไปจัดทำ�ต้นแบบในรอบที่สามสำ�หรับ
สร้าง impact และรอบสุดท้ายจะจัดในอีก 6 เดือนข้างหน้า และทีมที่มีผลงาน
ดีที่สุดจะได้รางวัลมูลค่า $100,000 (3,000,000 บาท) 
ทั้งนี้ ทีม BioX เป็นทีมเยาวชนไทยระดับมัธยมและปริญญาตรี ซึ่งเป็น
ทีมไทยทีมเดียวที่ส่งเข้าแข่งขัน โดยเข้ารอบที่สองของการตัดสินและได้ที่สองของ
โลก (รางวัลรองชนะเลิศ) ซึ่งนับเป็นทีมที่เด็กที่สุดในการแข่งขัน โดยนวัตกรรม
ที่ส่งเข้าประกวดคือ Jube ซึ่งก็คืออุปกรณ์จับแมลงที่เลียนแบบการทำ�งานของ
ต้นไม้กินแมลง หน้าที่ของ Jube คือหาโปรตีนทางเลือก (แมลง) ให้กับท้องถิ่น
ที่ธุรกันดาร Jube ได้ถูกออกแบบให้สร้างด้วยเทคนิคเครื่องจักรสานของไทย
ทำ�ให้ Jube สามารถสร้างได้ง่ายในหลายๆ พื้นที่ด้วยอุปกรณ์ท้องถิ่น ถือได้ว่า
งานชิ้นนี้น่าสนใจเพราะมีการผสมผสานแนวคิดทาง “การเลียนแบบธรรมชาติ”
(Biomimicry) เข้ากับมุมมองทางศิลปะ และวัฒนธรรม ทำ�ให้งานมีมิติใหม่ ผนวก
กับการที่ตีโจทย์ในด้านการขาดแคลนอาหารได้ชัดเจนซึ่งเข้าตากรรมการผู้ตัดสิน
สำ�หรับรายชื่อน้องๆ เยาวชนทีมBioXTeam ได้แก่ นางสาวภูริชญา คุป
ตะจิตJSTP รุ่นที่13 กำ�ลังศึกษาระดับชั้นปริญญาตรีปีที่4 คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คนที่สอง นายรัชต์ภาคศ์ ตันติแสงหิรัญ JSTP รุ่นที่ 13
กำ�ลังศึกษาระดับPreschool ณTheGovernor’sAcademy คนที่สาม นายพัทน์
ภัทรนุธาพร JSTP รุ่นที่ 12 กำ�ลังศึกษาระดับชั้นปริญญาตรีปีที่ 2 Arizona State
University คนที่สี่ นายกชกานต์ พรหมนรา JSTP รุ่นที่ 17 กำ�ลังศึกษาระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสภาราชินี จ.ตรัง และน้องคนสุดท้าย นางสาวทวิตา
กุลศุภกานต์ กำ�ลังศึกษาระดับชั้นปริญญาตรี ปีที่ 1 วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิ
ทลัยสงขลานครินทร์ 
นอกจากนี้ ในการเฟ้นหาเด็กและเยาวชนผู้มีความสามารถพิเศษทาง
วิทยาศาสตร์ และเด็กที่มีความสนใจในวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่กำ�ลังศึกษา
อยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษา หรือระดับอุดมศึกษา ให้ฝึกทำ�วิจัยและประยุกต์
วิทยาศาสตร์ในด้านต่างๆ ที่มีหลากหลาย นับเป็นสิ่งที่ดีที่ส่งผลให้เด็กและ
เยาวชนเหล่านี้ สามารถพัฒนาทักษะความสามารถทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ให้
เพิ่มขึ้นอย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อสร้างรากฐานวิทยาศาสตร์ที่เข้มแข็งของ
ประเทศได้ต่อไปในอนาคต
ข้อมูลเพิ่มเติม : 
1. เว็บไซต์ Global Biomimicry Design Challenge
http://challenge.biomimicry.org/en/blog/and-the-winners-are
2. เว็บไซต์ของทีม BioX http://www.biox.tech/
3. วิดีโอ presentation https://vimeo.com/140968606
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
15พฤศจิกายน 2558 •
EasyHos นำ�ทางคนไข้
หาหมอฉับไว ไม่หลงขั้นตอน
แอปพลิเคชันใหม่ พัฒนาโดยนักวิจัย สวทช. ช่วยอำ�นวยความสะดวกให้คนไข้ในการไป
พบแพทย์ที่โรงพยาบาล ทั้งทราบขั้นตอนในการติดต่อ จำ�นวนคิวในการรอ แผนผังห้องต่างๆ
ระยะเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอน และแจ้งยอดค่ารักษาพยาบาล
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
16 nstda • พฤศจิกายน 2558
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
การไปใช้บริการที่โรงพยาบาลรัฐอาจเป็นฝันร้ายของใครหลายคน เพราะ
คนไข้ส่วนใหญ่ต้องรีบไปตั้งแต่เช้าเพื่อรับบัตรคิว แต่กว่าจะได้พบหมอก็ต้องนั่ง
รอนานกันเป็นชั่วโมงหรือเสียเวลาไปครึ่งค่อนวัน ครั้นจะลุกไปทำ�ธุระอื่นก็ไม่
กล้า เพราะกลัวว่าหากลุกไปแล้วอาจจะพลาดคิวของตนเอง ทำ�ให้เสียเวลาต้อง
กลับมารอคิวใหม่
คนไข้อีกจำ�นวนไม่น้อยเมื่อไปถึงโรงพยาบาลแล้วไม่รู้ว่าจะต้องไปติดต่อ
ที่ไหน ติดต่อใคร อย่างไร หรือไม่รู้ขั้นตอนอันยุ่งยากที่ต้องปฏิบัติในโรงพยาบาล
โดยเฉพาะคนไข้ที่เพิ่งไปโรงพยาบาลนั้นครั้งแรก จะสอบถามพยาบาลหรือ
เจ้าหน้าที่ก็ไม่กล้า หรือถามไปแล้วเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนกัน ก็ยิ่งทำ�ให้
เสียเวลาด้วยกันทั้งคนไข้และพยาบาลผู้ให้บริการ ทำ�ให้หลงขั้นตอน หลงทาง
กว่าจะทราบว่าตนเองจะต้องทำ�อะไรบ้าง ก็เสียเวลาไปมาก และเกิดความรู้สึก
ว่าการไปโรงพยาบาลรัฐแต่ละครั้งไม่ราบรื่น
นอกจากนี้ยังมีปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความแออัด
ในโรงพยาบาล ที่นั่งไม่เพียงพอต่อคนไข้ที่มารอคิวจำ�นวนมาก ที่จอดรถไม่
เพียงพอ เป็นต้น ส่งผลให้คนไข้เกิดความเครียด รู้สึกหงุดหงิดรำ�คาญใจ
ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่ผู้ไปใช้บริการโรงพยาบาลของรัฐ
ส่วนใหญ่ มักประสบพบเจอด้วยตนเองและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่นเดียวกับ
ดร.ชาลี วรกุลพิพัฒน์ นักวิจัย หน่วยวิจัยเทคโนโลยีไร้สาย ข้อมูล ความมั่นคง
และนวัตกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพื่ออนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ศูนย์เทคโนโลยี
อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) และเป็นที่มาของการพัฒนาระบบนำ�ทางข้อมูล
แก่คนไข้ในโรงพยาบาลรัฐ หรือ อีซี่ฮอส (EasyHos)
ดร.ชาลี ให้ข้อมูลว่า อีซี่ฮอสเป็นระบบให้บริการผู้ป่วยนอก ช่วยอำ�นวย
ความสะดวกให้แก่ผู้ป่วยที่มาใช้บริการในโรงพยาบาลรัฐ โดยออกแบบให้ระบบ
สามารถใช้งานได้ง่าย เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลและคนไข้ไม่ต้องทำ�อะไรเพิ่ม
เติมให้ยุ่งยากมากขึ้น เพียงนำ�ข้อมูลที่ทางโรงพยาบาลมีอยู่แล้วและเป็นข้อมูลที่
คนไข้ควรจะทราบ นำ�มาวิเคราะห์ กลั่นกรอง และจัดการข้อมูลด้วยเทคนิค Big
DataAnalysis เพื่อให้มีการแสดงผลให้คนไข้ทราบผ่านแอปพลิเคชันบนแท็บเล็ต
หรือสมาร์ทโฟนของคนไข้ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
วิธีการใช้งานอีซี่ฮอสนั้นเริ่มแรกคนไข้ต้องสแกนบาร์โค้ดหรือคิวอาร์โค้ด
ที่บัตรประจำ�ตัวของคนไข้ ระบบก็จะแสดงชื่อคนไข้ขึ้นมา พร้อมทั้งแจ้งขั้นตอน
ที่คนไข้ต้องปฏิบัติ ตั้งแต่ขั้นตอนลงทะเบียนที่แผนกผู้ป่วยนอก เมื่อลงทะเบียน
เสร็จเรียบร้อยแล้ว ระบบจะแสดงข้อมูลต่างๆ ที่คนไข้จำ�เป็นต้องทราบด้วย
ภาษาที่เข้าใจง่าย คนไข้ก็จะทราบทันทีว่าขั้นตอนต่อไปต้องทำ�อะไร สถานที่ที่
ต้องไปติดต่อ จำ�นวนคิวที่ต้องรอ และเวลาที่ใช้ไปในการรอคิว หากคนไข้ไม่
ทราบจุดที่ต้องการไปติดต่อ ก็สามารถกดปุ่มเลือกให้ระบบแสดงแผนที่ในโรง
พยาบาล ซึ่งระบบจะแสดงตำ�แหน่งที่คนไข้อยู่และตำ�แหน่งของสถานที่นั้นๆ
พร้อมเครื่องหมายบอกเส้นทางให้คนไข้เดินไปตามแผนที่อย่างง่ายดาย ทั้งนี้
คนไข้สามารถดาวน์โหลดเพื่อติดตั้งแอปพลิเคชัน อีซี่ฮอสได้ที่เว็บไซต์ของโรง
พยาบาลที่มีการใช้งานระบบอีซี่ฮอส ซึ่งวิธีการใช้งานก็อาจจะแตกต่างกันในแต่ละ
โรงพยาบาลขึ้นอยู่กับขั้นตอนการทำ�งานของแต่ละโรงพยาบาล
“จุดเด่นของอีซี่ฮอสคือ สามารถใช้ได้จริงโดยที่โรงพยาบาลไม่ต้อง
เปลี่ยนแปลงขั้นตอนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และไม่ต้องลงทุนเพิ่ม แต่ช่วย
ให้คนไข้สามารถทราบข้อมูลการใช้บริการของตนเองในโรงพยาบาลได้ โดย
คนไข้แทบไม่ต้องเรียนรู้อะไรเพิ่มเติม และแทบไม่ต้องกดปุ่มใดๆ บนอุปกรณ์
เลย เหมือนมีเพื่อนหรือมีผู้ช่วยส่วนตัวคอยบอกอยู่ตลอดเวลาว่าต่อไปต้อง
ทำ�อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ต้องรออีกกี่คิว แต่ละคิวใช้เวลารอนานแค่ไหน ก็จะ
ช่วยคนไข้ก็ไม่ให้สับสนหรือหลงขั้นตอน ไม่เสียเวลา และไม่ต้องคอยสอบถาม
เจ้าหน้าที่” ดร.ชาลี อธิบาย
17พฤศจิกายน 2558 •
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
นักวิจัยอธิบายเพิ่มเติมว่า อีซี่ฮอสไม่ได้ช่วยให้คนไข้ได้พบแพทย์เร็วขึ้น
เพราะถึงอย่างไรคนไข้ก็ต้องรอพบแพทย์ตามคิวที่ได้รับ แต่อีซี่ฮอสจะช่วยให้คนไข้
สามารถบริหารจัดการเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่หลงขั้น
ตอน ช่วยให้คนไข้รู้สึกผ่อนคลาย ลดความเครียดและความรู้สึกหงุดหงิดรำ�คาญ
ใจจากการรอคิวนานหรือหลงขั้นตอน
“คนไข้ที่ไปใช้บริการในโรงพยาบาลรัฐต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการรอ
คิวพบแพทย์อยู่แล้ว แต่เดิมทีคนไข้ต้องนั่งรอคิวโดยที่ไม่มีทางทราบได้เลยว่าเมื่อ
ไหร่จะถึงคิวของตัวเอง จะลุกไปทำ�ธุระอย่างอื่น เช่น กินข้าว หรือไปเข้าห้องน้ำ�
ก็ไม่กล้าไป แต่เมื่อมีอีซี่ฮอส คนไข้จะรู้ได้เลยว่าตัวเองต้องรออีกกี่คิว รอนานอีก
กี่นาทีถึงจะถึงคิวเรา ก็จะสามารถลุกไปทำ�ธุระอื่นได้โดยไม่ต้องกังวล และไม่ต้อง
เสียเวลานั่งรอโดยเปล่าประโยชน์” ดร.ชาลี อธิบาย
เมื่อคนไข้ได้รับการตรวจรักษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ระบบอีซี่ฮอสยัง
สามารถแสดงยอดใบเสร็จ รวมทั้งรายการยาที่แพทย์สั่งจ่ายให้คนไข้ทราบล่วง
หน้าได้ โดยไม่ต้องรอให้ถึงคิวชำ�ระเงิน ทำ�ให้คนไข้สามารถเตรียมเงินค่าใช้จ่าย
ให้พอดีได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาหากเกิดกรณีค่ารักษาพยาบาลเกินกว่าเงินที่คนไข้
เตรียมไว้เมื่อถึงคิวจ่ายเงิน
ทีมนักวิจัยได้นำ�ระบบนำ�ทางข้อมูลแก่คนไข้ในโรงพยาบาลรัฐไปทดสอบ
ใช้งานจริงที่สถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า
สามารถสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ใช้ทั้งคนไข้และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลเป็น
อย่างดี ลดปัญหาความแออัดในโรงพยาบาล คนไข้ไม่หลงขั้นตอน ไม่เสียเวลา
หมดปัญหาคนไข้รอคิวผิดที่ ไปติดต่อเจ้าหน้าที่ผิดทาง ในขณะที่พยาบาลและเจ้า
หน้าที่โรงพยาบาลก็ปฏิบัติงานหลักของตนได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องเสียเวลาค้นข้อมูล
เพื่อคอยตอบคำ�ถามคนไข้ ช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่สถานพยาบาลด้วย
สำ�หรับคนไข้ที่กังวลว่าข้อมูลการรักษาพยาบาลของตนอาจจะรั่วไหลได้
ก็ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะนักวิจัยยืนยันว่าระบบอีซี่ฮอสมีความปลอดภัยต่อข้อมูล
ของคนไข้อย่างแน่นอน เนื่องจากระบบจะแสดงเฉพาะข้อมูลที่จำ�เป็นในการ
เข้ารับบริการของคนไข้เท่านั้น และจะลบข้อมูลออกทันทีที่คนไข้ได้ผ่านขั้นตอน
นั้นๆ ไปแล้ว โดยไม่มีการเก็บข้อมูลใดๆ ไว้ในสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตของผู้ใช้
ด้วยข้อเด่นดังกล่าวของระบบอีซี่ฮอส จึงได้รับรางวัลชนะเลิศจาก
การประกวดผลงานการพัฒนา Mobile Application ภาครัฐ หรือ Mobile
e-Government Award 2014 (MEGA 2014) และได้รับรางวัล ชมเชยจากการ
ประกวด ICT Excellence Awards 2015 ประเภทโครงการนวัตกรรม
ปัจจุบันมีการนำ�ระบบอีซี่ฮอสไปนำ�ร่องใช้งานจริงที่สถาบันทันตกรรม
และยังได้รับความสนใจเพิ่มเติมจากโรงพยาบาลรัฐอีกหลายแห่ง โดยในอนาคต
นักวิจัยมองว่าอาจจะพัฒนาแพลตฟอร์มสำ�หรับเป็นศูนย์กลางการเก็บรวบรวม
ข้อมูลการให้บริการคนไข้ของโรงพยาบาลรัฐแต่ละแห่งไว้ในที่เดียวกัน ซึ่งจะ
ช่วยให้ระบบอีซี่ฮอสและโรงพยาบาลรัฐมีประสิทธิภาพในการให้บริการมากยิ่งขึ้น
มีแอปพลิเคชันที่ช่วยอำ�นวยความสะดวกให้คนไข้ได้ใช้งานแบบนี้ การไป
พบแพทย์ที่โรงพยาบาลรัฐก็จะไม่ใช่ฝันร้ายหรือเป็นเรื่องน่าเบื่ออีกต่อไป
18 nstda • พฤศจิกายน 2558
• สถาบันวิทยาการ สวทช. (NSTDA Academy) เปิดหลักสูตรการอบรมด้านการบริหาร และไอที ประจำ�เดือนพฤศจิกายน 2558 ดังนี้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 0 2644 8150 ต่อ 81885-81887 หรือ e-mail: training@nstda.or.th
รหัส วันอบรมหลักสูตร ราคา (บาท)
LCA
CFP
CFO
STIL
PET
28 - 30 ต.ค. 58
4 - 6 พ.ย. 58
18 - 19 พ.ย. 58
5 พ.ย. - 4 ธ.ค. 58
(อบรมทุกวันพฤหัสบดีและวันศุกร์)
2 - 4 ธ.ค. 58
หลักสูตรหลักการประเมินวัฏจักรชีวิต ของ
ผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment: LCA)
หลักสูตรการประเมินคาร์บอนฟุต พรินต์ ของ
ผลิตภัณฑ์ (Carbon Foortprint of Products:
CFP)
หลักสูตรหลักการประเมินคาร์บอนฟุต พรินต์ของ
องค์กร รุ่นที่ 4 (Carbon Footprint for
Organization: CFO4)
หลักสูตรผู้นำ�ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ
นวัตกรรม (STI Leadership Program: STIL)
หลักสูตรเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ แบบพิมพ์
(Printed Electronics Technology: PET)
12,000
12,000
10,000
69,000
15,000
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
19พฤศจิกายน 2558 •
ผู้พัฒนางานไอทีเพื่อสังคมไทย
ดร.ชาลี วรกุลพิพัฒน์
หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
ในฐานะของประชาชนคนไทยธรรมดาคนหนึ่ง หากได้มีโอกาสใช้ความรู้ความสามารถของตนเองช่วยเหลือ
สังคมและประเทศชาติได้ ย่อมเป็นความภาคภูมิใจแก่ตนเองเป็นอย่างยิ่ง ดังเช่นดอกเตอร์หนุ่มจากศูนย์เทคโนโลยี
อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ซึ่งใช้ความรู้ด้านไอที คิดค้นและพัฒนาผลงานมาช่วยเหลือสังคม
และประเทศชาติมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ที่นำ�ไปใช้ช่วยชีวิตทหารชายแดนภาคใต้
ดิกชันนารี-แปลเป็นไทย Sansarn-เซิร์ชเอ็นจินภาษาไทยยุคบุกเบิก หรือ Vaja ตัวแปลง Text เป็นเสียง รวมถึง OCR
ตัวแปล Image เป็น Text เป็นต้น และล่าสุดคือ คิดค้นแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน EasyHos : ระบบนำ�ทางข้อมูล
การใช้บริการในโรงพยาบาลรัฐ ที่เพิ่งได้รับรางวัลชนะเลิศ จากการประกวดผลงานการพัฒนา Mobile Application
ภาครัฐ หรือ Mobile e-Government Award 2014 (MEGA 2014)
แขกรับเชิญในสัมภาษณ์พิเศษของเราฉบับนี้ก็คือ ดร.ชาลี วรกุลพิพัฒน์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัย
ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ หน่วยวิจัยเทคโนโลยีไร้สายข้อมูลความมั่นคงและนวัตกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพื่ออนุรักษ์
พลังงานและสิ่งแวดล้อม ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ค่ะ
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
20 nstda • พฤศจิกายน 2558
ถาม : ขอทราบเส้นทางการศึกษาและการเข้ามาทำ�งานที่ สวทช.
เป็นมาอย่างไรคะ
ตอบ : ผมเริ่มงานที่เนคเทค(ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่ง
ชาติ) สวทช. เมื่อเดือนพฤษภาคม18 ปีที่แล้ว ตั้งแต่เรียนจบระดับปริญญาตรี อยู่
ห้องปฏิบัติการไมโครอิเล็กทรอนิกส์ แล้วย้ายไปอยู่งานบริการระบบสารสนเทศ ก็
ไปสายIT เลย ระหว่างนั้นผมเรียนปริญญาโทพร้อมกันไปด้วย อยู่ตรงนั้นมาจนถึง
ปี 2547 ก็ได้รับทุนไปเรียนปริญญาเอกทางด้าน Engineering Management
ผมไปเริ่มเรียนตอนปี 2548 ที่ประเทศอังกฤษ เรียนจบกลับมาในปี 2551 ครับ
การเรียนระดับปริญญาเอก ผมเลือกเรียนสาขา Knowledge Man-
agement ซึ่งอยู่ภายใต้สาขา Information Systems เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการนำ�
คอมพิวเตอร์หรือระบบสารสนเทศไปใช้ในองค์กรโดยมีคนมาเกี่ยวข้อง คือ
อันนี้คนอาจจะคิดว่ามันต่างจาก Information Technology (IT) อย่างไร
สาขาที่ผมเรียนคือศาสตร์ที่ต้องนำ�ทั้งเทคโนโลยี องค์กร และคน ทั้ง
สามอย่างนี้มารวมกัน มันจึงออกมาเป็น Information Systems ถ้าเราเลือกแต่
เทคโนโลยี แต่ไม่เอาปัจจัยอย่างองค์กร หรือคนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย มันก็จะ
มีแต่คำ�ว่า Hardware หรือ Software แต่ไม่มีการบอกว่ามันเป็นที่ยอมรับหรือ
ไม่ยอมรับอย่างไร ปัจจัยอย่างแนวคิด ความเชื่อ วัฒนธรรม ความขัดแย้ง มัน
จะถูกนำ�มาพิจารณาด้วย ถ้าเรามองข้าม เราจะบริหาร IT ไม่ได้ อันนี้แหละ
คือสิ่งที่ไปเรียนมา ผมจบปริญญาโทด้าน IT ทำ�ให้ผมมีทักษะด้านคอมพิวเตอร์
แล้ว แต่ยังขาดทักษะด้านบริหารหรือการมองภาพกว้าง ก็เลยอยากลองศึกษาดู
ถาม : เรียนจบกลับมาชีวิตเป็นอย่างไรบ้างคะ
ตอบ : พอเรียนจบกลับมาปี 2551 ก็ได้มาอยู่ห้องแล็บที่อยู่ตอนนี้ ห้องปฏิบัติ
การวิจัยความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ปัจจุบันก็เป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติการครับ
ซึ่งในชีวิตการทำ�งานก็ไต่ระดับมาตั้งแต่ ผู้ช่วยนักวิจัย 1-2-3 นักวิจัย 1-2 แถม
ผมเคยอยู่มาทั้งงาน Support และงาน Research ทำ�ให้พอจะทราบจะมุมมอง
ตั้งแต่ระดับ Operation จนถึงตอนนี้ก็เป็นระดับหัวหน้า ก็อาจจะเป็นข้อดีอย่าง
หนึ่งที่ทำ�ให้เราได้มีโอกาสเรียนรู้ในงานที่หลากหลาย
ถ้าเรามีทัศนคติต่อ
การทำ�งานไม่ดี
งานมันก็จะออกมา
ไม่ดีด้วย แต่ถึงแม้
จะออกมาดี มันก็จะ
ดีแป๊ปเดียว
เดี๋ยวก็กลับมาแย่
มันไม่ยั่งยืน
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2558

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 

La actualidad más candente (20)

NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2560NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2560
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
 
Nstda Newsletter ฉบับที่ 4 เดือนกรกฎาคม 2558
Nstda Newsletter ฉบับที่ 4 เดือนกรกฎาคม 2558Nstda Newsletter ฉบับที่ 4 เดือนกรกฎาคม 2558
Nstda Newsletter ฉบับที่ 4 เดือนกรกฎาคม 2558
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2560NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2560
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2561
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 15 ประจำเดือนมิถุนายน 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 15 ประจำเดือนมิถุนายน 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 15 ประจำเดือนมิถุนายน 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 15 ประจำเดือนมิถุนายน 2559
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2562
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2561
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
 

Similar a NSTDA Newsletter ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2558

NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 

Similar a NSTDA Newsletter ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2558 (20)

NSTDA Newsletter ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม 2558NSTDA Newsletter ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม 2558
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
 
20150327 newsletter-april-2015
20150327 newsletter-april-201520150327 newsletter-april-2015
20150327 newsletter-april-2015
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 1 เดือนเมษายน 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 1 เดือนเมษายน 2558NSTDA Newsletter ฉบับที่ 1 เดือนเมษายน 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 1 เดือนเมษายน 2558
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2562
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2560NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2560
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559
 
Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558
Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558
Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
 

Más de National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand

Más de National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand (9)

NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
 
คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564
คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564
คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564
 

NSTDA Newsletter ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2558

  • 1. 1พฤศจิกายน 2558 • 4 7 11 13 9 18 19 บทความ Article 15 นำ�ทางคนไข้ หาหมอฉับไว ไม่หลงขั้นตอน สวทช./สพฐ. ร่วมกับ สกอ. จัดสัมมนาแนะนำ�แหล่งเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อประชาชนไทย สวทช. จัดงานสะเต็มเดย์ มุ่งเสริมแกร่งเครือข่ายสะเต็มศึกษาไทย กระทรวงวิทย์ฯ โดย สวทช./ไบโอเทค หนุนเกษตรกรไทย สู้เพลี้ยกระโดด ก.วิทย์ ถอดบทเรียนเหตุราชประสงค์ ดันเทคโนโลยีซีซีทีวี “4 เมกเกอร์ไทย” ตะลุย “เมกเกอร์แฟร์ เบอร์ลิน” เด็กไทยเจ๋ง! ผลงานอุปกรณ์ดักจับแมลงเลียนแบบธรรมชาติ คว้ารางวัลรองชนะเลิศระดับโลก พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8 บทสัมภาษณ์ Star ผู้พัฒนางานไอทีเพื่อสังคมไทย ดร.ชาลี วรกุลพิพัฒน์ ปฏิทินกิจกรรม Activity ในเล่ม Insight ข่าว News 2 EasyHos
  • 2. สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยโครงการระบบสื่อสาระออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ทางไกลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระ เทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ร่วมมือกับ สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย ในนาม “คณะทำ�งาน การเรียนรู้ตลอดชีวิตภายใต้คณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” จัดสัมมนาวิชาการ เรื่อง “การศึกษาแบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ภายใต้แผนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” (Lifelong Learning Space for Thailand Digital Economy) ระหว่างวันที่ 8-9 ตุลาคม 2558 ณ โรงแรมวินเซอร์ สวีท กรุงเทพฯ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ระบบการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และคลังทรัพยากร การศึกษาดิจิทัลแบบเปิด ที่ได้เก็บรวบรวมข้อมูลและองค์ความรู้ของประเทศในรูปแบบดิจิทัล ตั้งแต่ความรู้ขั้น พื้นฐานจนอุดมศึกษา ความรู้วิชาการจนภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ได้อย่างทั่วถึง เท่า เทียมกัน ทุกที่ ทุกเวลา มุ่งสู่การใช้ดิจิทัลเพื่อสังคมและทรัพยากรความรู้ (Digital Society) ได้อย่างแท้จริง 2 nstda • พฤศจิกายน 2558 เชื่อมโยงความรู้ทุกระดับชั้น มุ่งสร้างเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล สวทช./สพฐ. ร่วมกับ สกอ. จัดสัมมนา แนะนำ�แหล่งเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อประชาชนไทย พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
  • 3. 3พฤศจิกายน 2558 • ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ�กระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ประธานเปิดงาน กล่าวว่า “ตามที่รัฐบาลมีนโยบาย ส่งเสริมภาคเศรษฐกิจดิจิทัลและวางรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัลให้ขับเคลื่อนที่ จะทำ�ให้ทุกภาคเศรษฐกิจก้าวหน้าไปได้ทันโลกและสามารถแข่งขันในโลกสมัย ใหม่ได้ ซึ่งแนวทางการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหนึ่งในห้าด้านนั้น คือ การส่งเสริมและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากดิจิทัล (Digital Society Promo- tion) ที่เกี่ยวกับการสร้างสังคมดิจิทัลที่มีคุณภาพใน4 ประเด็นคือ(1) การพัฒนา ประชาชนที่สามารถใช้เทคโนโลยีอย่างฉลาด มีความรับผิดชอบและเท่าทันสื่อ (2) การลดความเหลื่อมล้ำ�ดิจิทัล เช่น การบูรณาการนำ�ระบบไฟฟ้าพลังงานแสง อาทิตย์ ระบบโทรคมนาคม ระบบการเรียนอีเลิน์นนิงไปสู่ชุมชนชายขอบที่ห่าง ไกลมากๆ หรือการนำ�เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยผู้ที่บกพร่องทางการเรียนรู้เขียน หนังสือได้ ซึ่งในเรื่องเหล่านี้ทางคณะทำ�งานกำ�ลังดำ�เนินการอยู่(3) การแปลงสื่อ ต่างๆให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล และมีการจัดเก็บ/ จัดแสดงอย่างฉลาด เพื่อให้สังคม มีdigitalcontent พร้อมสำ�หรับการเรียนรู้ และ(4) การพัฒนาบริการดิจิทัลเพื่อ สังคม โดยมีบริการเร่งด่วนที่สุดคือ บริการการศึกษา/การเรียนรู้แบบเปิดเพื่อการ เรียนรู้ตลอดชีวิต อันเป็นที่มาของงานสัมมนาในวันนี้” “โครงการการศึกษาแบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือ Lifelong LearningSpace ที่คณะทำ�งานการเรียนรู้ตลอดชีวิตภายใต้คณะกรรมการเตรียม การด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้พัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของหน่วย งานต่างๆ ได้แก่ สำ�นักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำ�นักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา สำ�นักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ นับเป็นอีกกลไกหนึ่งที่สำ�คัญที่ช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้ เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสังคมไทยในโลกยุคใหม่ยุคดิจิทัลนี้ โดยโครงการนี้ จะมุ่งเน้นการบูรณาการและเชื่อมโยงคลังสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ในทุกระดับการ ศึกษา จากการศึกษาพื้นฐานไปสู่ความรู้ระดับอุดมศึกษา จากความรู้วิชาการสู่ ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเป็นช่องทางและโอกาสการเรียนรู้ด้วยตนเองตาม อัธยาศัยที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา” “การบูรณาการภายในหน่วยงานและบูรณาการข้ามหน่วยงานของทั้ง 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงไอซีที และ กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดแหล่งเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อประชาชนไทย เป็นการเปิดมิติการเข้าถึงความรู้ และเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เวลา ใด ในขณะเดียวกันเมื่อเชื่อมโยงโครงการดังกล่าวเข้ากับการขับเคลื่อนของคณะ ทำ�งานอื่นๆ ภายใต้คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เช่น การขยาย โครงข่ายบรอดแบนด์เข้าถึงทุกหมู่บ้าน จะส่งผลให้เกิดความสำ�เร็จในการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมไทยในยุคดิจิทัลนี้ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป” ประธาน เปิดงาน กล่าวสรุปเกี่ยวกับโครงการการศึกษาแบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต โครงการการศึกษาแบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learn- ing) มีจุดเด่นคือ เป็นการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ อันได้แก่ โครงการระบบสื่อสาระออนไลน์ฯ ของ สวทช. และ สพฐ. โครงการ DLIT ของ สพฐ. โครงการThaiMOOC ของ สกอ. เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและการ ศึกษาตามอัธยาศัยด้วยเทคโนโลยีออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชนอย่างเป็นรูปธรรม เน้นความร่วมมือและแบ่งปันความรู้ ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างอิสระเสรี ตาม แนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต(LifelongLearning) สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ http://www.learn.in.th/ พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
  • 4. 4 nstda • พฤศจิกายน 2558 ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี กล่าวว่า “กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำ�นักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและ เทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) เล็งเห็นความสำ�คัญของชุมชนชนบท ซึ่ง เป็นรากฐานของคนส่วนใหญ่ของประเทศ จึงมีการส่งเสริมการนำ�วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม(วทน) เพื่อประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละ พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8 เพิ่มรายได้-ลดการนำ�เข้าจากต่างประเทศ กระทรวงวิทย์ฯ โดย สวทช./ไบโอเทค หนุน เกษตรกรไทยนำ� วทน. สู้เพลี้ยกระโดดสีน้ำ�ตาล 8 ต.ค. 58 จ.พระนครศรีอยุธยา - ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี พร้อมด้วย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง ชาติ (สวทช.) และคณะได้เข้าเยี่ยมชมการดำ�เนินงาน “โครงการขยายผลการผลิตและการใช้งานราบิวเวอเรีย” ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ และสหกรณ์การเกษตรผักไห่ จำ�กัด และเครื่องสีข้าว ขนาดเล็ก ที่ทาง สวทช. โดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และศูนย์เทคโนโลยี โลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)  ดำ�เนินการขึ้น เพื่อสนับสนุนการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใน การประกอบอาชีพเกษตรกรรมและอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของชุมชน ชุมชน โดยได้จัดทำ� “โครงการขยายผลการผลิตและการใช้งานราบิวเวอเรีย” เพื่อ เป็นการสนับสนุนการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการประกอบ อาชีพเกษตรกรรมและอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนจัดตั้งศูนย์ผลิตหัวเชื้อรา บิวเวอเรีย เพื่อส่งให้แก่กลุ่มเกษตรกรบ้านนาคูนำ�ไปผลิตเป็นก้อนเชื้อราบิวเวอเรีย สำ�หรับใช้ในกลุ่ม และเพื่อจำ�หน่าย
  • 5. 5พฤศจิกายน 2558 • พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8 พี้นที่ ต.ผักไห่ อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพื้นที่ที่ประสบกับปัญหา น้ำ�ท่วมทุกปี เนื่องจากเป็น “พื้นที่แก้มลิง” เกิดผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตร โดย เฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ปลูกข้าวที่ได้รับความเสียหายมากเมื่อประสบภาวะน้ำ�ท่วม ซึ่ง สวทช. โดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ร่วม กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำ�นักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว ได้พัฒนา พันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์ทนน้ำ�ท่วมฉับพลันมาให้เกษตรกรปลูก และร่วมกับสหกรณ์ การเกษตรผักไห่ จำ�กัด ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีให้ แก่เกษตรกรในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งข้าวเปลือกหอมชลสิทธิ์ผ่านการ ทำ�ความสะอาด ขัดสี อบ ลดความชื้นเพื่อคงสภาพความหอมและนุ่มก่อนบรรจุ ถุงภายใต้เครื่องหมายการค้า “อ่อนหวาน” จำ�หน่ายปลีกและขายส่ง โดยในปี 2557 มีพื้นที่ปลูกเมล็ดพันธุ์ข้าวสายพันธุ์หอมชลสิทธิ์ใน จ.พระนครศรีอยุธยา ไม่ ต่ำ�กว่า2,349 ไร่ ได้ผลผลิตเมล็ดพันธุ์รวม357 ตัน ผลผลิตข้าวเปลือกรวม1,401 ตัน สามารถสร้างมูลค่าผลผลิตกว่า 21 ล้านบาท  ซึ่งในปี 2554 แปลงนายังได้ รับความเสียหายจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำ�ตาลระบาดทำ�ความเสียหาย ประมาณร้อย ละ 80 ในจำ�นวนนี้แปลงนาร้อยละ 14 เสียหายทั้งหมด ประเมินมูลค่าความเสีย หายปีละไม่ต่ำ�กว่า 124 ล้านบาท  จากปัญหาความเสียหายนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ สวทช. โดย ไบโอเทค ได้ศึกษาและวิจัยเชื้อราที่ก่อโรคในแมลงเพื่อนำ�มาใช้ในการควบคุมศัตรู พืช ซึ่ง “เชื้อราบิวเวอเรีย” มีคุณสมบัติทำ�ลายแมลงหลายชนิด เช่น เพลี้ยแป้ง มันสำ�ปะหลัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำ�ตาล เพลี้ยอ่อน เป็นต้น และสามารถควบคุม และกำ�จัดศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี โดยได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) สำ�นักงานเกษตรอำ�เภอผักไห่ และสหกรณ์ การเกษตรผักไห่ จำ�กัด นำ�มาใช้และถ่ายทอดในการผลิตเชื้อบิวเวอเรียที่ สามารถใช้ป้องกันและกำ�จัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำ�ตาลสู่ชุมชนบ้านนาคู และผลัก ดันให้บ้านนาคูเป็น “หมู่บ้านบิวเวอเรีย” ต้นแบบหมู่บ้านแม่ข่าย ในการผลิต เชื้อบิวเวอเรีย ซึ่งสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรปีละ 40,000 บาท และลดการเข้า จากต่างประเทศ     ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า การดำ�เนินงานนี้ สวทช. ในฐานะผู้ พัฒนาเทคโนโลยีทำ�หน้าที่ส่งมอบเชื้อตั้งต้นของราบิวเวอเรียจากห้องปฏิบัติการ ไบโอเทค ให้แก่ มทร.สุวรรณภูมิ ซึ่งรับเป็นศูนย์ผลิตหัวเชื้อราบิวเวอเรีย เพื่อส่ง ให้แก่กลุ่มเกษตรกรบ้านนาคูนำ�ไปผลิตเป็นก้อนเชื้อราบิวเวอเรีย สำ�หรับใช้ในกลุ่ม และเพื่อจำ�หน่าย โดยมีสหกรณ์การเกษตรผักไห่ จำ�กัด เป็นผู้แทนจำ�หน่ายก้อน เชื้อราบิวเวอเรียให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ ในราคาก้อนละ 40 บาท สามารถสร้าง รายได้ให้กับกลุ่มรวมพลังเกษตรชีวภาพบ้านนาคู ถึงปีละ 40,000 บาท ซึ่ง ไบโอเทค/สวทช. ได้ร่วมมือกับสำ�นักงานเกษตรอำ�เภอผักไห่ ส่งเสริมให้ เกษตรกรสามารถใช้เชื้อราบิวเวอเรียเพื่อควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำ�ตาลได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้เกษตรกรบ้านนาคูสามารถทำ�การเกษตรแบบชีวภาพ ได้อย่างยั่งยืน คาดว่าจะสามารถลดความเสียหายของผลผลิตข้าวลงได้ถึงร้อยละ 70 หรือมูลค่ากว่า80 ล้านบาท โดยขณะนี้มีเกษตรกรในอำ�เภอผักไห่นำ�เอาเชื้อรา บิวเวอเรียไปใช้แล้ว กว่า3,000 ไร่ เมื่อคิดต้นทุนโดยเฉลี่ยแล้ว ปกติเกษตรกรจะ เสียค่าใช้จ่ายสำ�หรับค่าสารเคมีฆ่าแมลงประมาณ300 บาท/ไร่/รอบการปลูก แต่ เมื่อเปลี่ยนมาใช้เชื้อราบิวเวอเรียในการกำ�จัดแมลงศัตรูพืช พบว่าเกษตรกรจะเสีย ค่าใช้จ่ายเพียง 60 บาท/ไร่/รอบการปลูกเท่านั้น นอกจากนี้ ยังนำ�เครื่องสีข้าวขนาดเล็กพัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะ และวัสดุแห่งชาติ(เอ็มเทค) กำ�ลังการผลิตประมาณ150-200 กิโลกรัมข้าวเปลือก/ ชั่วโมง สามารถสีแปรรูปข้าวได้ทั้งข้าวกล้องและข้าวขาว โดยที่เกษตรกรเลือกใช้ งานได้ตามต้องการ ไม่ต้องเสียเวลากับการไปรอสีข้าวหรือเปลี่ยนข้าวกับโรงสี ขนาดใหญ่ และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากการใช้งานเครื่องสีข้าวสีแปรรูปข้าว เปลือกของตนเองเป็นข้าวกล้อง และข้าวสารเพื่อการจำ�หน่าย หรือการรับจ้างสีได้ มูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณ2,000-3,000 บาท/ตัน(คิดคำ�นวณในลักษณะการรับจ้างสี ข้าว) นอกจากนี้ยังได้ออกแบบให้สามารถใช้อะไหล่ชิ้นส่วน กว่า80% ที่สามารถ ซ่อมแซมได้ง่ายตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น สายพาน น็อต ลูกกระพ้อ ลูกยางกะเทาะ เปลือก ฯลฯ และใช้มอเตอร์ต้นกำ�ลังรวม 8.5 แรงม้า แบบซิงเกิลเฟส สามารถ ใช้ได้กับไฟฟ้าตามบ้านทั่วไป ทำ�ให้มีต้นทุนค่าไฟฟ้าในการใช้งานต่ำ�” ทั้งนี้ ยังได้ สร้างเครื่องแยกข้าวเปลือกและ ข้าวกล้องมาใช้ร่วมกับเครื่องสีข้าวดังกล่าว เพื่อ ให้ได้ข้าวกล้องที่สะอาดไม่มีข้าวเปลือกปน พร้อมนำ�ไปบรรจุขายได้ทันที ช่วย ลดค่าใช้จ่ายในการจ้างสีข้าวของสหกรณ์ จำ�นวน 4 แสนบาทต่อปี สร้างรายได้ เพิ่มขึ้นให้เกษตรกร ช่วยเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องจักร กลการเกษตรในประเทศให้มีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เครื่องสีข้าวขนาดเล็กให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้น มีราคาที่เหมาะสมสำ�หรับจำ�หน่ายในชุมชนเกษตรกร และ ช่วยลดการนำ�เข้าเครื่องสีข้าวขนาดเล็กจากต่างประเทศ
  • 6. 6 nstda • พฤศจิกายน 2558 พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
  • 7. 7พฤศจิกายน 2558 • ก.วิทย์ ถอดบทเรียนเหตุราชประสงค์ ดันเทคโนโลยีซีซีทีวีเพื่อความมั่นคง และปลอดภัยของสังคมไทย ต่อยอดการใช้งานรองรับสังคมผู้สูงอายุ พร้อมเปิดตัวซีซีทีวี คอนซอร์เตียม อย่างเป็นทางการ พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8 15 ตุลาคม 2558 ณ ห้องจูปิเตอร์ 11-14 อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี/กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เร่งสร้างความ ตระหนักและความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัย เพื่อสนับสนุนนโยบายการสร้างเมืองให้เป็น “สมาร์ท ซิตี้” ระดมองค์กรภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา พร้อมผู้เชี่ยวชาญด้านระบบซีซีทีวีในงานสัมมนา Smart Society Smart Security สร้างเมืองให้ปลอดภัยด้วยน้ำ�ใจและเทคโนโลยี โดยได้รับเกียรติจาก ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดงาน
  • 8. 8 nstda • พฤศจิกายน 2558 พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8 ดร.พิเชฐ กล่าวว่า รัฐบาลมีภารกิจสำ�คัญในการสร้างความเข้มแข็ง ด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งถือเป็นรากฐานของประเทศควบคู่ไปกับความมั่นคง และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และจากบทเรียนในเหตุระเบิดที่ ราชประสงค์ซึ่งทำ�ให้สังคมไทยตระหนักถึงความสำ�คัญของเทคโนโลยีมากขี้น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเล็งเห็นถึงความสำ�คัญของเทคโนโลยี ซีซีทีวี แอนาลิติกส์(CCTVAnalytic) เพื่อตอบโจทย์สังคมให้เป็นสังคมที่มีความปลอดภัย สูงขึ้น ขณะเดียวกันได้ตั้งเป้าที่จะพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีนี้ เพื่อความปลอดภัย และลดการนำ�เข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ นอกจากนี้ ประเทศไทยกำ�ลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ซึ่งเทคโนโลยีซีซีทีวีจะช่วยอำ�นวยความ สะดวกและลดการเกิดอุบัติเหตุในกลุ่ม เป้าหมายได้     ดร.ทวีศักดิ์ กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน นโยบายการสร้างเมืองให้เป็นสมาร์ท ซิตี้ ที่มั่นคง ปลอดภัยด้วยพลังของสังคม โดยการใช้ซีซีทีวีในรูปแบบต่างๆให้เหมาะสมและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ให้ผู้ที่ สัญจรบนถนนมีความสะดวกมากขึ้น สามารถกดดูสภาพการจราจรได้ล่วงหน้า หากเกิดเหตุอาชญากรรม ผู้รักษากฏหมายก็สามารถติดตามสืบค้นข้อมูลใน อดีตได้อย่างรวดเร็ว  และก่อนเกิดเหตุอาชญากรรม ระบบวิเคราะห์ภาพอาจจะ สามารถแจ้งเตือนถึงเหตุการณ์ที่ผิดปกติที่กำ�ลังจะเกิดขึ้นได้ ทำ�ให้เราสามารถ เฝ้าระวังและป้องกันเหตุได้อย่างทันท่วงที     ทั้งนี้ ภายในงานยังได้มีการจัดงานวิชาการ การบรรยาย การจัดแสดง นิทรรศการจากผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศ อาทิ บริษัท Huawei, SECOM, Bosch, Panasonic, Digital Focus เป็นต้น อีกทั้งยังมีการสาธิตการ เชื่อมโยงซีซีทีวี แอนาลิติกส์ โมดูล กับซีซีทีวีรุ่นต่างๆ ของสมาชิกผ่านเพลตฟอร์ม กลาง เพื่อแสดงให้เห็นว่าในอนาคตสมาชิกซีซีทีวี คอนซอร์เตียม สามารถเชื่อม หากันและเลือกใช้แอนาลิติกส์ได้ตามต้องการ
  • 9. 9พฤศจิกายน 2558 • 19 ตุลาคม 2558 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี - สำ�นักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดงาน “STEM DAY: เรียนรู้ให้สนุก ฝึกคิดแบบสะเต็ม เติมเต็มทักษะชีวิต” ระหว่างวันที่ 19-20 ต.ค. 58 เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ครู ผู้ปกครอง เยาวชน เครือ ข่ายภาครัฐและเอกชน ตระหนักถึงคุณค่าของการเรียนรู้ในศาสตร์ 4 ด้านคือ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) โดยนำ�ความ รู้ต่างศาสตร์มาเชื่อมโยงกันและนำ�สู่การแก้ปัญหาในชีวิตจริง ที่ต้องวางแผน แก้ปัญหา ลงมือทำ� จนเกิดเป็น วิธีการหรือกระบวนการที่เป็นรูปธรรมชัดเจน รวมทั้งเพื่อพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพครูแกนนำ�ผู้สอนสะเต็ม ศึกษาให้สามารถจัดการเรียนการสอนด้านสะเต็มได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีครู นักเรียน และผู้สนใจในวงการ สะเต็มศึกษาเข้าร่วมงานกว่า 400 คน พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8 สวทช. จัดงานสะเต็มเดย์ มุ่งเสริมแกร่งเครือข่ายสะเต็มศึกษาไทย ยกระดับการเรียนรู้วิทย์ คณิต และไอทีของประเทศ
  • 10. 10 nstda • พฤศจิกายน 2558 พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8 ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล รองผู้อำ�นวยการ สวทช. กล่าวว่า “สวทช. ได้กำ�หนดให้การพัฒนากำ�ลังคนและสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีเป็นพันธกิจหนึ่งขององค์กร ซึ่งดำ�เนินงานร่วมกับพันธมิตรทั้งภาค รัฐ ภาคเอกชน และชุมชน มาเป็นเวลานาน และในโอกาสที่สำ�นักงานคณะ กรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ(สวทน.) ให้การ สนับสนุน สวทช. จัดทำ�โครงการ “ส่งเสริมการใช้ศักยภาพด้านโครงสร้างพื้นฐาน และบุคลากรของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อขับ เคลื่อนนวัตกรรมโดยการยกระดับและทักษะความรู้ด้านSTEM ให้แก่ นักเรียน ครู และบุคลากรวัยทำ�งาน” ในปีงบประมาณ 2557 ต่อเนื่องถึงปีงบประมาณ 2558 ทำ�ให้การดำ�เนินงานที่ผ่านมาเน้นแนวทาง STEM เพื่อเตรียมเยาวชนทั้งที่อยู่ใน ระบบและนอกระบบการศึกษา และบุคลากรกลุ่มแรงงานหรือ STEM Workforce เพิ่มทักษะและคุณภาพด้าน STEM ให้ครบวงจรมากยิ่งขึ้น ด้วยการทำ�งานร่วม กับเครือข่ายพันธมิตร ได้แก่ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ บริษัทอินเทลอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย จำ�กัด เพื่อสร้างบุคลากรในสาขาสะเต็มให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนทั่วทั้งประเทศ รวมทั้งการเชื่อมโยงการเรียนรู้โดยใช้โจทย์วิจัยและศักยภาพของนักวิจัยจาก 4 ศูนย์แห่งชาติของ สวทช. คือ ไบโอเทค เนคเทค เอ็มเทค และนาโนเทค การ ทำ�งานร่วมกับคลัสเตอร์วิจัยต่างๆ และใช้ประโยชน์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร และความสามารถการบริหารงานด้านพัฒนาบุคลากร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของสำ�นักพัฒนากำ�ลังคน สวทช. อย่างเต็มศักยภาพ”   “โดยการดำ�เนินงานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2557 - สิงหาคม 2558 โครง การฯ ได้พัฒนาต้นแบบสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ หลักสูตรการจัดอบรม และแนวทาง การจัดกิจกรรมด้านสะเต็มที่เหมาะสมและครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม ได้แก่ เยาวชน ผู้ปกครอง ครู ตลอดจนบุคลากรวัยทำ�งานได้มากกว่า 12,000 คน จึง ได้จัดงาน “STEM Day 2015: เรียนรู้ให้สนุก ฝึกคิดแบบสะเต็ม เติมเต็มทักษะ ชีวิต” ครั้งนี้ขึ้น ซึ่งนับเป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การ ขับเคลื่อนสะเต็มศึกษา ตั้งแต่เด็กและเยาวชน ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ ชุมชน นักวิจัย ผู้ประกอบการ และผู้บริหารสายงานด้านการศึกษา ได้สรุปผลงานที่ ผ่านมา พร้อมนำ�เสนอกรณีตัวอย่างนวัตกรรมที่เกิดขึ้น รวมทั้งหารือแลกเปลี่ยน ถึงแนวทางการทำ�งานด้าน STEM Education และการพัฒนา STEM Workforce ต่อไปในอนาคต ถือเป็นกิจกรรมที่สร้างความเข้มแข็งให้แก่เครือข่ายสะเต็มศึกษา เพื่อยกระดับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี และกระตุ้น ความสนใจให้เด็กและเยาวชนรู้จักการนำ�ความรู้ด้านสะเต็มไปใช้ประโยชน์ทั้ง ในชีวิตประจำ�วันและการทำ�งานในอนาคต รวมทั้งพัฒนาครูให้มีความสามารถ ในการจัดการเรียนการสอนด้านสะเต็ม ตลอดจนพัฒนาบุคลากรวัยทำ�งานให้มี ทักษะและความรู้ในการทำ�งานที่จำ�เป็นต่อการสร้างอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ดีขึ้น และเพิ่มผลิตภาพได้ต่อไป”   ทั้งนี้ งาน STEM DAY 2015 ประกอบด้วยกิจกรรมไฮไลต์ อาทิ การ บรรยายพิเศษเรื่อง สะเต็มศึกษากับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 โดย ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ที่ปรึกษา ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี/ รองประธาน กรรมการ สสค. ที่พูดถึงความจำ�เป็นในการปรับการเรียนการสอนเพื่อนำ�พา เด็กและเยาวชนเข้าสู่โลกในศตวรรษที่ 21 และเรื่อง ทิศทางของสะเต็มศึกษา ในประเทศไทย โดย ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำ�นวยการ สสวท. ที่พูดถึง สะเต็มศึกษาจากระดับสากลสู่ทิศทางและนโยบายสะเต็มศึกษาในประเทศไทย และการนำ�มาปรับใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนในประเทศ นอกจากนี้ ยังมี นิทรรศการจากหน่วยงานต่างๆ การประชุมปฏิบัติการที่เป็นเวทีให้ครูนำ�เสนอ และแลกเปลี่ยนผลงานที่ได้ดำ�เนินงานจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาในชั้นเรียน และ การแนะแนวอาชีพด้านสะเต็มจากฑูตสะเต็ม เป็นต้น ในปัจจุบันการบูรณาการการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาถือเป็น รูปแบบการ เรียนการสอนที่ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนสามารถบูรณาการเนื้อหาทาง วิทยาศาสตร์ เข้ากับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นรอบตัว เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์และการวางแผน ในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นทักษะสำ�คัญสำ�หรับศตวรรษที่21 กล่าวคือ สะเต็มศึกษาจะมุ่งเน้นให้เชื่อมโยงความรู้ในหลายๆ วิชาเพื่อนำ�ไปสู่การแก้ปัญหา ในชีวิตจริง ที่นักเรียนต้องมีการวางแผนเพื่อแก้ปัญหา ลงมือปฏิบัติ และได้ผลลัพธ์ ออกมา ซึ่งอาจเป็นวิธีการที่ช่วยแก้ปัญหาหรือทำ�ให้ดีขึ้นหรือเกิดเป็นชิ้นงาน/โครง งานวิทยาศาสตร์ก็ได้ นับเป็นกระบวนการทางวิศวกรรมที่เกิดขึ้นนั่นเอง กิจกรรม สะเต็มถือเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาที่เพิ่มเสริมขึ้นมาเพื่อให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยง ความรู้เข้ากับชีวิตจริง เกิดเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมายมากขึ้นในท้ายที่สุด
  • 11. 11พฤศจิกายน 2558 • “4 เมกเกอร์ไทย” ตะลุย “เมกเกอร์แฟร์ เบอร์ลิน” ต่อยอดไอเดีย สร้างนวัตกรรม พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8 สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำ� 4 เมกเกอร์ไทย ผู้ชนะโครงการ ประกวด Enjoy Science: Let’s print the world ซึ่งจัดโดย สวทช.ร่วมกับ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำ�รวจ และผลิต จำ�กัด เข้าชมงานเมกเกอร์แฟร์ เบอร์ลิน ที่ประเทศเยอรมนี ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 3-4 ตุลาคม ที่ผ่านมา เพื่อเปิดโอกาสให้เมกเกอร์ไทยได้เรียนรู้ถึงแนวคิดและเทคโนโลยีใหม่ๆ สำ�หรับใช้ต่อยอดไอเดีย สร้างสรรค์ นวัตกรรมไทยเพื่อคนไทยในอนาคต ดร.นำ�ชัย ชีววิวรรธน์ รองผู้อำ�นวยการฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์ สวทช. กล่าว ว่า “การไปดูผลงานของเมกเกอร์ชาวเยอรมันในงานเมกเกอร์แฟร์ เบอร์ลิน ทำ�ให้ เมกเกอร์ไทยได้เห็นแนวคิดและความนิยมของเมกเกอร์ในแถบยุโรป ซึ่งจะเห็นว่า มีผลงานที่เป็นหุ่นยนต์จำ�นวนมากและมีรูปแบบที่หลากหลาย งานอีกกลุ่มหนึ่งที่ เห็นชัดเจนคือ เครื่องพิมพ์ 3 มิติ และพอลิเมอร์ที่ใช้ในการพิมพ์ ซึ่งมีหลายแบบ น่าตื่นตาตื่นใจ เช่น พลาสติกรูปแบบใหม่ๆ ที่มีสีสันหลากหลายและยืดหยุ่นสูง เมื่อพิมพ์ออกมาแล้วสามารถบิดและเปลี่ยนกลับเป็นรูปแบบเดิมได้ไม่เสียหาย น่าจะนำ�มาประยุกต์กับงานต่างๆ ได้มาก  นางสาวศิริลักษณ์ สังวาลย์วรวุฒิ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เจ้าของ รางวัลชนะเลิศประเภทนักเรียน นักศึกษา จากผลงานปะการังเทียม กล่าวว่า การ ได้มางานเมกเกอร์แฟร์ เบอร์ลิน ทำ�ให้ได้แรงบันดาลใจและไอเดียใหม่ๆ มาปรับ ไปใช้กับงานค่อนข้างเยอะ เช่น ถ้วยเซรามิกที่นำ�ไปใช้ทำ�นาฬิกา ลำ�โพง วิธีคิด
  • 12. 12 nstda • พฤศจิกายน 2558 พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8 เขาน่าสนใจมากในการทำ�ผลิตภัณฑ์ และที่ชอบมากคือ อุปกรณ์ที่ชื่อ Okinesio ซึ่งใช้เซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว เวลาที่เราดึงโดยใช้แรงหรือน้ำ�หนักที่ต่างกัน แสงที่ฉายลงบนฉากก็จะมีรูปแบบที่ต่างกันด้วย เป็นงานแบบ interactive น่าสนใจ และคิดว่าจะลองมาปรับใช้กับงานที่ทำ�อยู่ นางสาวเสาวคนธ์ ภุมมาลี เจ้าของรางวัลชนะเลิศประเภทบุคคลทั่วไป จากผลงานทศกัณฑ์ กล่าวว่า ผลงานที่ประทับใจ คือ โรบอต ซู (Robot zoo) หุ่นยนต์แมลงที่ตัวโครงหลักทำ�จากกระดาษแข็ง เด็กๆ เห็นก็จะรู้สึกว่าน่าจะทำ�ได้ นะ แค่เอากระดาษแข็งมาใส่อิเล็กทรอนิกส์เข้าไป และผลงานAvakai ตุ๊กตาไม้ที่ ผสมผสานกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยและวิธีการเล่นแบบดั้งเดิมของเด็กๆ เช่น การ เล่นซ่อนหา นอกจากนี้ยังได้เห็นเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ที่ก้าวหน้าไปมาก สามารถพิมพ์ออกมาได้หลายวัสดุ เช่น ไม้ เงิน ทอง ทองแดง เซรามิก ทำ�ให้ได้ สัมผัสชิ้นงานจริงในงานนี้ เห็นแล้วก็มีแรงกระตุ้น อยากทำ�งานพิมพ์ 3 มิติจาก วัสดุเหล่านี้บ้าง มันช่วยเปิดกรอบการคิดงาน ต่อยอดไอเดียได้เยอะเลยทีเดียว นายสุพัฒ สังวรวงษ์พนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ ผู้ช่วยพัฒนาผลงานปะการังเทียม กล่าวว่า โครงการนี้ช่วยเปิด กว้างให้เราได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์และเห็นนวัตกรรมมากมายที่หาดูไม่ได้ในเมือง ไทยครับ ในงานมีหุ่นยนต์ ผลงานพิมพ์ 3 มิติเยอะมาก ผมชอบเครื่องสแกน 3 มิติ ซึ่งเขาประดิษฐ์ตัวสแกนขึ้นเอง โดยพัฒนาให้ฐานหมุนได้ แล้วใช้กล้องคิเนค จับภาพสแกน3 มิติ และแปลงเป็นไฟล์ที่พร้อมพิมพ์เป็นชิ้นงาน3 มิติได้เลย เห็น แล้วก็อยากศึกษาเพิ่มเติม เพื่อกลับไปพัฒนาต่อเป็นผลงานเจ๋งๆ สักชิ้นไปโชว์ใน งานเมกเกอร์แฟร์ของประเทศไทยในปีหน้าครับ  นางสาวทิพย์สิริ ฤทธิกุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ ผู้ช่วยพัฒนาผลงานเครื่องนวดเท้า กล่าวว่า ที่ชอบมากคือ คือ “หุ่นยนต์พ่นไฟ” ที่ชื่อว่า “เคลวิน” มีความสูง 9 เมตร กว้าง 5 เมตร สร้างขึ้น จากตู้คอนเทนเนอร์ และใช้ไฮโดรลิกในการควบคุมให้ขยับได้ ก่อนโชว์จะเห็น เหมือนตู้คอนเทนเนอร์สี่เหลี่ยมธรรมดา จากนั้นก็ค่อยๆ แปลงร่างจนกลาย เป็นหุ่นยนต์ และพ่นไฟออกจากมือได้ ตื่นตาตื่นใจมาก นอกจากนี้ยังมีเปียโน หุ่นยนต์ เครื่องทอผ้า ที่สำ�คัญเลย คือ การได้ไปเยี่ยมชม FAB LAB หน่วยงาน OTTOBOCK และพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ทำ�ให้เราได้เห็นนวัตกรรมมากมาย ซึ่งช่วย ต่อยอดสานฝันเราได้มาก ได้เห็นเทคโนโลยี ได้แนวคิด ได้มุมมองใหม่ๆ ที่จะ นำ�กลับมาใช้พัฒนาตัวเองต่อไปค่ะ
  • 13. 13พฤศจิกายน 2558 • เด็กไทยเจ๋ง! ผลงานอุปกรณ์ ดักจับแมลงเลียนแบบธรรมชาติ คว้ารางวัลรองชนะเลิศระดับโลกจาก Biomimicry Global Design Challenge 2015 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ส่งตัวแทน เยาวชนไทยจากโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์สำ�หรับเด็กและ เยาวชน หรือ Junior Science Talent Project (JSTP) เข้าร่วมแข่งขัน “Biomimicry Global Design Challenge 2015” ซึ่งเป็นการแข่งขัน ระดับโลก จัดโดย Biomimicry Institute ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเยาวชนไทยทีม BioX ได้รับรางวัลรอง ชนะเลิศในระดับประชาชนทั่วไป พร้อมคว้ารางวัลไปกว่ามูลค่า $7,500 (225,000 บาท) พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
  • 14. 14 nstda • พฤศจิกายน 2558 Global Biomimicry Design Challenge เป็นการเเข่งขันระดับโลก จัดโดย Biomimicry Institute ประเทศสหรัฐอเมริกา และ Ray C. Anderson Foundation ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยและการศึกษาที่สร้างผลกระทบทางด้านนวัตกรรม เลียนแบบธรรมชาติ โดยให้คนจากทั่วโลกส่งนวัตกรรมที่เลียนแบบกระบวนการ ทำ�งานของสิ่งมีชีวิต(Biomimic) ซึ่งเป็นtrend ของนวัตกรรมในช่วง5 ปีนี้ และ โจทย์ในปีนี้เป็นเรื่องของการแก้ปัญหาอาหารของโลก โดยการแข่งขันแบ่งออก เป็นสามรอบ คือ รอบที่หนึ่งคัดจาก “ข้อเสนอโครงการ” ให้เหลือ 8 ทีมที่ได้ไป showcase ที่SXSWEco ซึ่งเป็นการประชุมด้านนวัตกรรมสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุด ในอเมริกาและมีการเปิดตัวนวัตกรรมที่ทันสมัยที่สุดในโลก ส่วนในรอบที่สองเป็น รอบ “การนำ�เสนอ” ซึ่งจะมีรางวัลให้สามทีมที่ดีที่สุดคัดโดยกรรมการ ทีมที่ได้ที่ 1 จะได้งบ$10,000(300,000 บาท) เพื่อนำ�ไปจัดทำ�ต้นแบบในรอบที่สามสำ�หรับ สร้าง impact และรอบสุดท้ายจะจัดในอีก 6 เดือนข้างหน้า และทีมที่มีผลงาน ดีที่สุดจะได้รางวัลมูลค่า $100,000 (3,000,000 บาท)  ทั้งนี้ ทีม BioX เป็นทีมเยาวชนไทยระดับมัธยมและปริญญาตรี ซึ่งเป็น ทีมไทยทีมเดียวที่ส่งเข้าแข่งขัน โดยเข้ารอบที่สองของการตัดสินและได้ที่สองของ โลก (รางวัลรองชนะเลิศ) ซึ่งนับเป็นทีมที่เด็กที่สุดในการแข่งขัน โดยนวัตกรรม ที่ส่งเข้าประกวดคือ Jube ซึ่งก็คืออุปกรณ์จับแมลงที่เลียนแบบการทำ�งานของ ต้นไม้กินแมลง หน้าที่ของ Jube คือหาโปรตีนทางเลือก (แมลง) ให้กับท้องถิ่น ที่ธุรกันดาร Jube ได้ถูกออกแบบให้สร้างด้วยเทคนิคเครื่องจักรสานของไทย ทำ�ให้ Jube สามารถสร้างได้ง่ายในหลายๆ พื้นที่ด้วยอุปกรณ์ท้องถิ่น ถือได้ว่า งานชิ้นนี้น่าสนใจเพราะมีการผสมผสานแนวคิดทาง “การเลียนแบบธรรมชาติ” (Biomimicry) เข้ากับมุมมองทางศิลปะ และวัฒนธรรม ทำ�ให้งานมีมิติใหม่ ผนวก กับการที่ตีโจทย์ในด้านการขาดแคลนอาหารได้ชัดเจนซึ่งเข้าตากรรมการผู้ตัดสิน สำ�หรับรายชื่อน้องๆ เยาวชนทีมBioXTeam ได้แก่ นางสาวภูริชญา คุป ตะจิตJSTP รุ่นที่13 กำ�ลังศึกษาระดับชั้นปริญญาตรีปีที่4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คนที่สอง นายรัชต์ภาคศ์ ตันติแสงหิรัญ JSTP รุ่นที่ 13 กำ�ลังศึกษาระดับPreschool ณTheGovernor’sAcademy คนที่สาม นายพัทน์ ภัทรนุธาพร JSTP รุ่นที่ 12 กำ�ลังศึกษาระดับชั้นปริญญาตรีปีที่ 2 Arizona State University คนที่สี่ นายกชกานต์ พรหมนรา JSTP รุ่นที่ 17 กำ�ลังศึกษาระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสภาราชินี จ.ตรัง และน้องคนสุดท้าย นางสาวทวิตา กุลศุภกานต์ กำ�ลังศึกษาระดับชั้นปริญญาตรี ปีที่ 1 วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิ ทลัยสงขลานครินทร์  นอกจากนี้ ในการเฟ้นหาเด็กและเยาวชนผู้มีความสามารถพิเศษทาง วิทยาศาสตร์ และเด็กที่มีความสนใจในวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่กำ�ลังศึกษา อยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษา หรือระดับอุดมศึกษา ให้ฝึกทำ�วิจัยและประยุกต์ วิทยาศาสตร์ในด้านต่างๆ ที่มีหลากหลาย นับเป็นสิ่งที่ดีที่ส่งผลให้เด็กและ เยาวชนเหล่านี้ สามารถพัฒนาทักษะความสามารถทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ให้ เพิ่มขึ้นอย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อสร้างรากฐานวิทยาศาสตร์ที่เข้มแข็งของ ประเทศได้ต่อไปในอนาคต ข้อมูลเพิ่มเติม :  1. เว็บไซต์ Global Biomimicry Design Challenge http://challenge.biomimicry.org/en/blog/and-the-winners-are 2. เว็บไซต์ของทีม BioX http://www.biox.tech/ 3. วิดีโอ presentation https://vimeo.com/140968606 พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
  • 15. 15พฤศจิกายน 2558 • EasyHos นำ�ทางคนไข้ หาหมอฉับไว ไม่หลงขั้นตอน แอปพลิเคชันใหม่ พัฒนาโดยนักวิจัย สวทช. ช่วยอำ�นวยความสะดวกให้คนไข้ในการไป พบแพทย์ที่โรงพยาบาล ทั้งทราบขั้นตอนในการติดต่อ จำ�นวนคิวในการรอ แผนผังห้องต่างๆ ระยะเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอน และแจ้งยอดค่ารักษาพยาบาล พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
  • 16. 16 nstda • พฤศจิกายน 2558 พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8 การไปใช้บริการที่โรงพยาบาลรัฐอาจเป็นฝันร้ายของใครหลายคน เพราะ คนไข้ส่วนใหญ่ต้องรีบไปตั้งแต่เช้าเพื่อรับบัตรคิว แต่กว่าจะได้พบหมอก็ต้องนั่ง รอนานกันเป็นชั่วโมงหรือเสียเวลาไปครึ่งค่อนวัน ครั้นจะลุกไปทำ�ธุระอื่นก็ไม่ กล้า เพราะกลัวว่าหากลุกไปแล้วอาจจะพลาดคิวของตนเอง ทำ�ให้เสียเวลาต้อง กลับมารอคิวใหม่ คนไข้อีกจำ�นวนไม่น้อยเมื่อไปถึงโรงพยาบาลแล้วไม่รู้ว่าจะต้องไปติดต่อ ที่ไหน ติดต่อใคร อย่างไร หรือไม่รู้ขั้นตอนอันยุ่งยากที่ต้องปฏิบัติในโรงพยาบาล โดยเฉพาะคนไข้ที่เพิ่งไปโรงพยาบาลนั้นครั้งแรก จะสอบถามพยาบาลหรือ เจ้าหน้าที่ก็ไม่กล้า หรือถามไปแล้วเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนกัน ก็ยิ่งทำ�ให้ เสียเวลาด้วยกันทั้งคนไข้และพยาบาลผู้ให้บริการ ทำ�ให้หลงขั้นตอน หลงทาง กว่าจะทราบว่าตนเองจะต้องทำ�อะไรบ้าง ก็เสียเวลาไปมาก และเกิดความรู้สึก ว่าการไปโรงพยาบาลรัฐแต่ละครั้งไม่ราบรื่น นอกจากนี้ยังมีปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความแออัด ในโรงพยาบาล ที่นั่งไม่เพียงพอต่อคนไข้ที่มารอคิวจำ�นวนมาก ที่จอดรถไม่ เพียงพอ เป็นต้น ส่งผลให้คนไข้เกิดความเครียด รู้สึกหงุดหงิดรำ�คาญใจ ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่ผู้ไปใช้บริการโรงพยาบาลของรัฐ ส่วนใหญ่ มักประสบพบเจอด้วยตนเองและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่นเดียวกับ ดร.ชาลี วรกุลพิพัฒน์ นักวิจัย หน่วยวิจัยเทคโนโลยีไร้สาย ข้อมูล ความมั่นคง และนวัตกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพื่ออนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) และเป็นที่มาของการพัฒนาระบบนำ�ทางข้อมูล แก่คนไข้ในโรงพยาบาลรัฐ หรือ อีซี่ฮอส (EasyHos) ดร.ชาลี ให้ข้อมูลว่า อีซี่ฮอสเป็นระบบให้บริการผู้ป่วยนอก ช่วยอำ�นวย ความสะดวกให้แก่ผู้ป่วยที่มาใช้บริการในโรงพยาบาลรัฐ โดยออกแบบให้ระบบ สามารถใช้งานได้ง่าย เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลและคนไข้ไม่ต้องทำ�อะไรเพิ่ม เติมให้ยุ่งยากมากขึ้น เพียงนำ�ข้อมูลที่ทางโรงพยาบาลมีอยู่แล้วและเป็นข้อมูลที่ คนไข้ควรจะทราบ นำ�มาวิเคราะห์ กลั่นกรอง และจัดการข้อมูลด้วยเทคนิค Big DataAnalysis เพื่อให้มีการแสดงผลให้คนไข้ทราบผ่านแอปพลิเคชันบนแท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟนของคนไข้ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ วิธีการใช้งานอีซี่ฮอสนั้นเริ่มแรกคนไข้ต้องสแกนบาร์โค้ดหรือคิวอาร์โค้ด ที่บัตรประจำ�ตัวของคนไข้ ระบบก็จะแสดงชื่อคนไข้ขึ้นมา พร้อมทั้งแจ้งขั้นตอน ที่คนไข้ต้องปฏิบัติ ตั้งแต่ขั้นตอนลงทะเบียนที่แผนกผู้ป่วยนอก เมื่อลงทะเบียน เสร็จเรียบร้อยแล้ว ระบบจะแสดงข้อมูลต่างๆ ที่คนไข้จำ�เป็นต้องทราบด้วย ภาษาที่เข้าใจง่าย คนไข้ก็จะทราบทันทีว่าขั้นตอนต่อไปต้องทำ�อะไร สถานที่ที่ ต้องไปติดต่อ จำ�นวนคิวที่ต้องรอ และเวลาที่ใช้ไปในการรอคิว หากคนไข้ไม่ ทราบจุดที่ต้องการไปติดต่อ ก็สามารถกดปุ่มเลือกให้ระบบแสดงแผนที่ในโรง พยาบาล ซึ่งระบบจะแสดงตำ�แหน่งที่คนไข้อยู่และตำ�แหน่งของสถานที่นั้นๆ พร้อมเครื่องหมายบอกเส้นทางให้คนไข้เดินไปตามแผนที่อย่างง่ายดาย ทั้งนี้ คนไข้สามารถดาวน์โหลดเพื่อติดตั้งแอปพลิเคชัน อีซี่ฮอสได้ที่เว็บไซต์ของโรง พยาบาลที่มีการใช้งานระบบอีซี่ฮอส ซึ่งวิธีการใช้งานก็อาจจะแตกต่างกันในแต่ละ โรงพยาบาลขึ้นอยู่กับขั้นตอนการทำ�งานของแต่ละโรงพยาบาล “จุดเด่นของอีซี่ฮอสคือ สามารถใช้ได้จริงโดยที่โรงพยาบาลไม่ต้อง เปลี่ยนแปลงขั้นตอนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และไม่ต้องลงทุนเพิ่ม แต่ช่วย ให้คนไข้สามารถทราบข้อมูลการใช้บริการของตนเองในโรงพยาบาลได้ โดย คนไข้แทบไม่ต้องเรียนรู้อะไรเพิ่มเติม และแทบไม่ต้องกดปุ่มใดๆ บนอุปกรณ์ เลย เหมือนมีเพื่อนหรือมีผู้ช่วยส่วนตัวคอยบอกอยู่ตลอดเวลาว่าต่อไปต้อง ทำ�อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ต้องรออีกกี่คิว แต่ละคิวใช้เวลารอนานแค่ไหน ก็จะ ช่วยคนไข้ก็ไม่ให้สับสนหรือหลงขั้นตอน ไม่เสียเวลา และไม่ต้องคอยสอบถาม เจ้าหน้าที่” ดร.ชาลี อธิบาย
  • 17. 17พฤศจิกายน 2558 • พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8 นักวิจัยอธิบายเพิ่มเติมว่า อีซี่ฮอสไม่ได้ช่วยให้คนไข้ได้พบแพทย์เร็วขึ้น เพราะถึงอย่างไรคนไข้ก็ต้องรอพบแพทย์ตามคิวที่ได้รับ แต่อีซี่ฮอสจะช่วยให้คนไข้ สามารถบริหารจัดการเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่หลงขั้น ตอน ช่วยให้คนไข้รู้สึกผ่อนคลาย ลดความเครียดและความรู้สึกหงุดหงิดรำ�คาญ ใจจากการรอคิวนานหรือหลงขั้นตอน “คนไข้ที่ไปใช้บริการในโรงพยาบาลรัฐต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการรอ คิวพบแพทย์อยู่แล้ว แต่เดิมทีคนไข้ต้องนั่งรอคิวโดยที่ไม่มีทางทราบได้เลยว่าเมื่อ ไหร่จะถึงคิวของตัวเอง จะลุกไปทำ�ธุระอย่างอื่น เช่น กินข้าว หรือไปเข้าห้องน้ำ� ก็ไม่กล้าไป แต่เมื่อมีอีซี่ฮอส คนไข้จะรู้ได้เลยว่าตัวเองต้องรออีกกี่คิว รอนานอีก กี่นาทีถึงจะถึงคิวเรา ก็จะสามารถลุกไปทำ�ธุระอื่นได้โดยไม่ต้องกังวล และไม่ต้อง เสียเวลานั่งรอโดยเปล่าประโยชน์” ดร.ชาลี อธิบาย เมื่อคนไข้ได้รับการตรวจรักษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ระบบอีซี่ฮอสยัง สามารถแสดงยอดใบเสร็จ รวมทั้งรายการยาที่แพทย์สั่งจ่ายให้คนไข้ทราบล่วง หน้าได้ โดยไม่ต้องรอให้ถึงคิวชำ�ระเงิน ทำ�ให้คนไข้สามารถเตรียมเงินค่าใช้จ่าย ให้พอดีได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาหากเกิดกรณีค่ารักษาพยาบาลเกินกว่าเงินที่คนไข้ เตรียมไว้เมื่อถึงคิวจ่ายเงิน ทีมนักวิจัยได้นำ�ระบบนำ�ทางข้อมูลแก่คนไข้ในโรงพยาบาลรัฐไปทดสอบ ใช้งานจริงที่สถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า สามารถสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ใช้ทั้งคนไข้และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลเป็น อย่างดี ลดปัญหาความแออัดในโรงพยาบาล คนไข้ไม่หลงขั้นตอน ไม่เสียเวลา หมดปัญหาคนไข้รอคิวผิดที่ ไปติดต่อเจ้าหน้าที่ผิดทาง ในขณะที่พยาบาลและเจ้า หน้าที่โรงพยาบาลก็ปฏิบัติงานหลักของตนได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องเสียเวลาค้นข้อมูล เพื่อคอยตอบคำ�ถามคนไข้ ช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่สถานพยาบาลด้วย สำ�หรับคนไข้ที่กังวลว่าข้อมูลการรักษาพยาบาลของตนอาจจะรั่วไหลได้ ก็ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะนักวิจัยยืนยันว่าระบบอีซี่ฮอสมีความปลอดภัยต่อข้อมูล ของคนไข้อย่างแน่นอน เนื่องจากระบบจะแสดงเฉพาะข้อมูลที่จำ�เป็นในการ เข้ารับบริการของคนไข้เท่านั้น และจะลบข้อมูลออกทันทีที่คนไข้ได้ผ่านขั้นตอน นั้นๆ ไปแล้ว โดยไม่มีการเก็บข้อมูลใดๆ ไว้ในสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตของผู้ใช้ ด้วยข้อเด่นดังกล่าวของระบบอีซี่ฮอส จึงได้รับรางวัลชนะเลิศจาก การประกวดผลงานการพัฒนา Mobile Application ภาครัฐ หรือ Mobile e-Government Award 2014 (MEGA 2014) และได้รับรางวัล ชมเชยจากการ ประกวด ICT Excellence Awards 2015 ประเภทโครงการนวัตกรรม ปัจจุบันมีการนำ�ระบบอีซี่ฮอสไปนำ�ร่องใช้งานจริงที่สถาบันทันตกรรม และยังได้รับความสนใจเพิ่มเติมจากโรงพยาบาลรัฐอีกหลายแห่ง โดยในอนาคต นักวิจัยมองว่าอาจจะพัฒนาแพลตฟอร์มสำ�หรับเป็นศูนย์กลางการเก็บรวบรวม ข้อมูลการให้บริการคนไข้ของโรงพยาบาลรัฐแต่ละแห่งไว้ในที่เดียวกัน ซึ่งจะ ช่วยให้ระบบอีซี่ฮอสและโรงพยาบาลรัฐมีประสิทธิภาพในการให้บริการมากยิ่งขึ้น มีแอปพลิเคชันที่ช่วยอำ�นวยความสะดวกให้คนไข้ได้ใช้งานแบบนี้ การไป พบแพทย์ที่โรงพยาบาลรัฐก็จะไม่ใช่ฝันร้ายหรือเป็นเรื่องน่าเบื่ออีกต่อไป
  • 18. 18 nstda • พฤศจิกายน 2558 • สถาบันวิทยาการ สวทช. (NSTDA Academy) เปิดหลักสูตรการอบรมด้านการบริหาร และไอที ประจำ�เดือนพฤศจิกายน 2558 ดังนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 0 2644 8150 ต่อ 81885-81887 หรือ e-mail: training@nstda.or.th รหัส วันอบรมหลักสูตร ราคา (บาท) LCA CFP CFO STIL PET 28 - 30 ต.ค. 58 4 - 6 พ.ย. 58 18 - 19 พ.ย. 58 5 พ.ย. - 4 ธ.ค. 58 (อบรมทุกวันพฤหัสบดีและวันศุกร์) 2 - 4 ธ.ค. 58 หลักสูตรหลักการประเมินวัฏจักรชีวิต ของ ผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment: LCA) หลักสูตรการประเมินคาร์บอนฟุต พรินต์ ของ ผลิตภัณฑ์ (Carbon Foortprint of Products: CFP) หลักสูตรหลักการประเมินคาร์บอนฟุต พรินต์ของ องค์กร รุ่นที่ 4 (Carbon Footprint for Organization: CFO4) หลักสูตรผู้นำ�ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรม (STI Leadership Program: STIL) หลักสูตรเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ แบบพิมพ์ (Printed Electronics Technology: PET) 12,000 12,000 10,000 69,000 15,000 พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
  • 19. 19พฤศจิกายน 2558 • ผู้พัฒนางานไอทีเพื่อสังคมไทย ดร.ชาลี วรกุลพิพัฒน์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ในฐานะของประชาชนคนไทยธรรมดาคนหนึ่ง หากได้มีโอกาสใช้ความรู้ความสามารถของตนเองช่วยเหลือ สังคมและประเทศชาติได้ ย่อมเป็นความภาคภูมิใจแก่ตนเองเป็นอย่างยิ่ง ดังเช่นดอกเตอร์หนุ่มจากศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ซึ่งใช้ความรู้ด้านไอที คิดค้นและพัฒนาผลงานมาช่วยเหลือสังคม และประเทศชาติมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ที่นำ�ไปใช้ช่วยชีวิตทหารชายแดนภาคใต้ ดิกชันนารี-แปลเป็นไทย Sansarn-เซิร์ชเอ็นจินภาษาไทยยุคบุกเบิก หรือ Vaja ตัวแปลง Text เป็นเสียง รวมถึง OCR ตัวแปล Image เป็น Text เป็นต้น และล่าสุดคือ คิดค้นแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน EasyHos : ระบบนำ�ทางข้อมูล การใช้บริการในโรงพยาบาลรัฐ ที่เพิ่งได้รับรางวัลชนะเลิศ จากการประกวดผลงานการพัฒนา Mobile Application ภาครัฐ หรือ Mobile e-Government Award 2014 (MEGA 2014) แขกรับเชิญในสัมภาษณ์พิเศษของเราฉบับนี้ก็คือ ดร.ชาลี วรกุลพิพัฒน์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัย ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ หน่วยวิจัยเทคโนโลยีไร้สายข้อมูลความมั่นคงและนวัตกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพื่ออนุรักษ์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ค่ะ พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
  • 20. 20 nstda • พฤศจิกายน 2558 ถาม : ขอทราบเส้นทางการศึกษาและการเข้ามาทำ�งานที่ สวทช. เป็นมาอย่างไรคะ ตอบ : ผมเริ่มงานที่เนคเทค(ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่ง ชาติ) สวทช. เมื่อเดือนพฤษภาคม18 ปีที่แล้ว ตั้งแต่เรียนจบระดับปริญญาตรี อยู่ ห้องปฏิบัติการไมโครอิเล็กทรอนิกส์ แล้วย้ายไปอยู่งานบริการระบบสารสนเทศ ก็ ไปสายIT เลย ระหว่างนั้นผมเรียนปริญญาโทพร้อมกันไปด้วย อยู่ตรงนั้นมาจนถึง ปี 2547 ก็ได้รับทุนไปเรียนปริญญาเอกทางด้าน Engineering Management ผมไปเริ่มเรียนตอนปี 2548 ที่ประเทศอังกฤษ เรียนจบกลับมาในปี 2551 ครับ การเรียนระดับปริญญาเอก ผมเลือกเรียนสาขา Knowledge Man- agement ซึ่งอยู่ภายใต้สาขา Information Systems เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการนำ� คอมพิวเตอร์หรือระบบสารสนเทศไปใช้ในองค์กรโดยมีคนมาเกี่ยวข้อง คือ อันนี้คนอาจจะคิดว่ามันต่างจาก Information Technology (IT) อย่างไร สาขาที่ผมเรียนคือศาสตร์ที่ต้องนำ�ทั้งเทคโนโลยี องค์กร และคน ทั้ง สามอย่างนี้มารวมกัน มันจึงออกมาเป็น Information Systems ถ้าเราเลือกแต่ เทคโนโลยี แต่ไม่เอาปัจจัยอย่างองค์กร หรือคนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย มันก็จะ มีแต่คำ�ว่า Hardware หรือ Software แต่ไม่มีการบอกว่ามันเป็นที่ยอมรับหรือ ไม่ยอมรับอย่างไร ปัจจัยอย่างแนวคิด ความเชื่อ วัฒนธรรม ความขัดแย้ง มัน จะถูกนำ�มาพิจารณาด้วย ถ้าเรามองข้าม เราจะบริหาร IT ไม่ได้ อันนี้แหละ คือสิ่งที่ไปเรียนมา ผมจบปริญญาโทด้าน IT ทำ�ให้ผมมีทักษะด้านคอมพิวเตอร์ แล้ว แต่ยังขาดทักษะด้านบริหารหรือการมองภาพกว้าง ก็เลยอยากลองศึกษาดู ถาม : เรียนจบกลับมาชีวิตเป็นอย่างไรบ้างคะ ตอบ : พอเรียนจบกลับมาปี 2551 ก็ได้มาอยู่ห้องแล็บที่อยู่ตอนนี้ ห้องปฏิบัติ การวิจัยความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ปัจจุบันก็เป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติการครับ ซึ่งในชีวิตการทำ�งานก็ไต่ระดับมาตั้งแต่ ผู้ช่วยนักวิจัย 1-2-3 นักวิจัย 1-2 แถม ผมเคยอยู่มาทั้งงาน Support และงาน Research ทำ�ให้พอจะทราบจะมุมมอง ตั้งแต่ระดับ Operation จนถึงตอนนี้ก็เป็นระดับหัวหน้า ก็อาจจะเป็นข้อดีอย่าง หนึ่งที่ทำ�ให้เราได้มีโอกาสเรียนรู้ในงานที่หลากหลาย ถ้าเรามีทัศนคติต่อ การทำ�งานไม่ดี งานมันก็จะออกมา ไม่ดีด้วย แต่ถึงแม้ จะออกมาดี มันก็จะ ดีแป๊ปเดียว เดี๋ยวก็กลับมาแย่ มันไม่ยั่งยืน พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8