SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 53
เอกสารประกอบการเรียน
                        หน่วยที่ ๑
       เรื่อง เวลาและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
 วิชา ประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส ๒๑๑๐๓ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑




                   นางภัทรานิษฐ์ อิ่มศิล
           ตาแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชานาญการ


                    โรงเรียนวังบ่อวิทยา
       สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ก

                                           คานา
          ในปัจจุบันสภาพการจัดการเรียนการสอน มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองให้
มากที่สุด เพื่อให้ผู้เรียนมีนิสัย ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ อยู่เสมอ ดังนั้นการจัดทาเอกสารประกอบการเรียน
เป็นแนวทางหนึ่งที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นคว้าหาคาตอบด้วยตนเอง
           เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาประวัติศาสตร์ ส ๒๑๑๐๓ เรื่อง เวลาและการแบ่งยุค
สมัยทางประวัติศาสตร์ ประกอบด้วยหัวข้อเรื่อง ความนา สาระสาคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้
แบบทดสอบก่อนเรียน เนื้อหา กิจกรรม แบบฝึก และแบบทดสอบหลังเรียน พร้อมเฉลย ซึ่งจะทา
ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและมีความเข้าใจในเนื้อหาสาระได้เป็นอย่างดี อีกทั้งทาให้
ผู้เรียนสะดวกต่อการศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเอง จึงนับได้ว่าเป็นเอกสารประกอบการเรียนที่มี
ประโยชน์ต่อการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง
          ขอขอบคุณเจ้าของตาราที่นามาอ้างอิงไว้ในเอกสาร และนายเชาวฤทธิ์ จงเกษกรณ์
ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒ ที่ให้คาปรึกษาจน
เอกสารฉบับนี้มีความชัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น


                                                    ภัทรานิษฐ์ อิ่มศิล
ข
                                       สารบัญ
เรื่อง                                                             หน้า
คานา                                                                ก
สารบัญ                                                              ข
คาชี้แจง                                                            ค
หน่วยที่ ๑ เวลาและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์                    ๑
        แบบทดสอบก่อนเรียน                                           ๒
        เฉลยคาตอบแบบทดสอบก่อนเรียน                                  ๕
        ตอนที่ ๑ ความสาคัญของเวลาและช่วงเวลา                        ๖
        กิจกรรมที่ ๑                                                ๘
       แนวตอบกิจกรรมที่ ๑                                           ๙
        ตอนที่ ๒ การนับและการเปรียบเทียบศักราชแบบต่างๆ              ๑๐
        กิจกรรมที่ ๒                                                ๑๓
        แนวตอบกิจกรรมที่ ๒                                          ๑๔
        กิจกรรมที่ ๓                                                ๑๕
        แนวตอบกิจกรรมที่ ๓                                          ๑๖
        ตอนที่ ๓ ตัวอย่างศักราชในหลักฐานทางประวัติศาสตร์            ๑๗
        กิจกรรมที่ ๔                                                ๑๘
        แนวตอบกิจกรรมที่ ๔                                          ๑๙
        ตอนที่ ๔ การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์                     ๒๐
        กิจกรรมที่ ๕                                                ๓๐
        แนวตอบกิจกรรมที่ ๕                                          ๓๑
        กิจกรรมที่ ๖                                                ๓๒
        แนวตอบกิจกรรมที่ ๖                                          ๓๓
        ตอนที่ ๕ ตัวอย่างการใช้เวลา ข่วงเวลา และสมัยทีปรากฏ
                                                      ่
                   ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย                     ๓๔
        กิจกรรมที่ ๗                                                ๓๖
        แนวตอบกิจกรรมที่ ๗                                          ๓๘
        ตอนที่ ๖ ความสัมพันธ์และความสาคัญของอดีตที่มีต่อปัจจุบัน
                   และอนาคต                                         ๓๙
        กิจกรรมที่ ๘                                                ๔๑
        แนวตอบกิจกรรมที่ ๘                                          ๔๒
        แบบทดสอบก่อนเรียน                                           ๔๓
        เฉลยคาตอบแบบทดสอบก่อนเรียน                                  ๔๖
        เอกสารอ้างอิง                                               ๔๗
ค

                                คาชี้แจงสาหรับนักเรียน
      เอกสารประกอบการเรียนเล่มนี้ นักเรียนสามารถศึกษาและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ก่อนที่จะ
ศึกษาและเรียนรู้ให้นักเรียนอ่านคาชี้แจง ดังนี้
      ๑. ศึกษา หัวข้อเรื่อง ความนา สาระสาคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้ทราบว่า เมื่อจบ
         บทเรียน นักเรียนสามารถเรียนรู้อะไรได้บ้าง
      ๒. ทาแบบทดสอบก่อนเรียน จานวน ๒๐ ข้อแล้วตรวจคาตอบจากเฉลย
      ๓. ศึกษาเนื้อหา สาระ รายละเอียดในตอนที่ ๑ ถึงตอนที่ ๖
      ๔. ทากิจกรรมตามที่กาหนดให้ด้วยตนเอง ถ้าทาไม่ได้ หรือสงสัยให้อ่านทบทวนเนื้อเรื่อง
         ใหม่ แล้วตรวจคาตอบจากเฉลย
      ๕. ทาแบบทดสอบหลังเรียน แล้วตรวจคาตอบจากเฉลย
๑
                                               หน่วยที่๑
                    เวลาและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์                 เวลา ๖ คาบ
หัวข้อเรื่อง
   ๑. ความสาคัญของเวลาและช่วงเวลา
   ๒. การนับและการเปรียบเทียบศักราชแบบต่างๆ
   ๓. ตัวอย่างศักราชในหลักฐานทางประวัติศาสตร์
   ๔. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
   ๕. ตัวอย่างการใช้เวลา ช่วงเวลา และยุคสมัยที่ปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย
   ๖. ความสัมพันธ์และความสาคัญของอดีตที่มีต่อปัจจุบันและอนาคต
ความนา
          การศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องราวของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในเวลาต่างๆซึ่งเวลาจะบอก
ให้รู้ว่าเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตผ่านไปมมากน้อยแค่ใด ถ้าเวลาไม่นานก็บอกหรือนับเป็นช่วงเวลา
คือ วัน เดือน ปี แต่ถ้าเวลาเป็นช่วงยาวมากกว่า ก็บอกหรือนับเป็นยุค สมัย ศักราช ทั้งนี้เพื่อให้ผู้
ศึกษาเกิดความเข้าใจตรงกัน สามารถเปรียบเทียบกันได้ ทาให้การศึกษาประวัติศาสตร์มีความ
ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
          ในการศึกษาและการทาความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของเวลาและการบ่งยุคสมัยทาง
ประวัติศาสตร์จะช่วยให้เกิดความเข้าใจในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ได้ดียิ่งขึ้น และประวัติศาสตร์
จะเป็นส่วนสาคัญที่มนุษย์จาเป็นต้องศึกษา เพื่อนาแนวทางในอดีตมาปรับประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน
สาระสาคัญ
      ประวัติศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวของสังคมมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไปในมิติของเวลา
เพราะกาลเวลาจะบอกให้รู้ว่าเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตผ่านไปนานมากน้อยแค่ไหน ถ้าไม่นาน
มากก็บอกเป็นเดือน เป็นปี หรือศักราช แต่ถ้านานมากขึ้นก็บอกเป็นช่วงเวลาหรือสมัย ถ้านานๆก็
บอกเป็นยุค ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันและสามารถเปรียบเทียบได้
จุดประสงค์การเรียนรู้
       หลังจากศึกษาเนื้อหาและทากิจกรรมในหน่วยนี้แล้ว ผู้เรียนจะสามารถทาสิ่งต่อไปนี้ได้
       ๑. บอกความสาคัญของเวลาและช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ได้
       ๒. นับและเปรียบเทียบศักราชแบบต่างๆที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ได้
       ๓. อธิบายตัวอย่างศักราชในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้
       ๔. แบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง
       ๕. อธิบายและยกตัวอย่างการใช้เวลา ช่วงเวลา และยุคสมัยที่ปรากฏในหลักฐานทาง
           ประวัติศาสตร์ไทยได้
       ๖. บอกความสัมพันธ์และความสาคัญของอดีตที่มีผลต่อปัจจุบันและอนาคตได้
๒
                             แบบทดสอบก่อนเรียน
                               ประจาหน่วยที่ ๑
คาชี้แจง ข้อสอบเป็นแบบปรนัย ชนิด ๔ ตัวเลือก จานวน ๒๐ ข้อ
คาสั่ง จงเลือกคาตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคาตอบเดียว แล้วกากบาท () ลงในกระดาษคาตอบ
๑. ปัจจุบันศักราชแบบใดเป็นที่นิยมใช้ในประวัติศาสตร์ไทย
   ก. มหาศักราช
   ข. พุทธศักราช
   ค. จุลศักราช
   ง. รัตนโกสินทร์ศก
๒. พุทธศักราช ๒๕๕๔ ตรงกับพุทธศตวรรษที่เท่าใด
   ก. พุทธศตวรรษที่ ๒๓
   ข. พุทธศตวรรษที่ ๒๔
   ค. พุทธศตวรรษที่ ๒๕
   ง. พุทธศตวรรษที่ ๒๖
๓. เวลามีความสาคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างไรบ้าง
   ก. ใช้หาข้อมูลทางประวัติศาสตร์
   ข. ใช้บอกรายละเอียดเหตุการณ์ที่สาคัญ
   ค. ใช้ในการลาดับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
   ง. ใช้พิจารณาว่าเหตุการณ์นั้นเป็นประวัติศาสตร์หรือไม่
๔. ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) เป็นการนับศักราชที่เกี่ยวข้องกับศาสนาใด
  ก. ศาสนาอิสลาม
  ข. คริสต์ศาสนา
  ค. พระพุทธศาสนา
  ง. ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู
๕. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง
  ก. พงศาวดารไทยสมัยอยุธยาใช้การนับแบบพุทธศักราช
  ข. การนับศักราชแบบรัตนโกสินทร์ศกเริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ ๕
  ค. ร.ศ. ๑ เท่ากับ พ.ศ. ๒๔๑๑ (ปีที่รัชกาลที่ ๕ ขึ้นครองราชย์)
  ง. พ.ศ. ๑ เริ่มใช้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย
๖. “ศักราช ๘๙๕ มะเส็งศก สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรเจ้านฤพาน จึงสมเด็จพระราช
   กุมารได้เสวยราชสมบัติ” เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.ใด
   ก. ๒๐๗๖
   ข. ๒๐๑๗
   ค. ๑๕๑๖
   ง. ๑๔๓๘
๓
๗ หากต้องการเทียบ พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้เป็น รศ. ควรคิดอย่างไร
  ก. นา ๒๕๔๔ + ๖๒๑
  ข. นา ๒๕๔๔ + ๑๑๘๑
  ค. นา ๒๕๔๔ – ๕๔๓
  ง. นา ๒๕๔๔ – ๒๓๒๔
๘. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหนึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๑ ตรงกับ
   จ.ศ. ๙๓๑ เมื่อเทียบให้เป็น ค.ศ. จะตรงกับ ค.ศ.ใด
   ก. ๑๔๙๑
   ข. ๙๓๑
   ค. ๑๕๖๙
   ง. ๙๙๐
๙. ในการสารวจหาหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์จะต้องอาศัยนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญสาขาใด
   ก. นักจิตวิทยา
   ข. นักโบราณคดี
   ค. นักภาษาศาสตร์
   ง. นักดาราศาสตร์
๑๐. ข้อใดเรียงลาดับก่อน – หลังของสมัยก่อนประวัติศาสตร์ได้ถูกต้อง
    ก. ยุคสาริด ยุคหินใหม่ ยุคเหล็ก
    ข. ยุคสาริด ยุคเหล็ก ยุคหินใหม่
    ค. ยุคหินใหม่ ยุคสาริด ยุคเหล็ก
    ง. ยุคเหล็ก ยุคหินกลาง ยุคสาริด
๑๑. การดารงชีวิตของมนุษย์ยุคหินเก่า จะมีลักษณะอย่างไร
    ก. รู้จักเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์
    ข. อาศัยอยู่ตามถ้า ใช้เครื่องมือหินแบบหยาบ
    ค. มีการติดต่อค้าขายและรับอารยธรรมจากต่างแดน
    ง. ทาเครื่องมือหินที่ประณีตและเครื่องปั้นดินเผาผิวเรียบมัน
๑๒. ข้อใดคือพัฒนาการการดารงชีวิตของมนุษย์ในยุคหินใหม่
     ก. ใช้ขวานหินขัด
     ข. ทากลองมโหระทึก
     ค. ใช้เครื่องมือหินกะเทาะ
     ง. ใช้เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทาจากเหล็ก
๑๓. หลักฐานในข้อใดที่แสดงให้เห็นว่าดินแดนประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์
     ก. จารึกศรีเทพ
     ข. จารึกวัดศรีชุม
     ค. จารึกปราสาทเขาน้อย
     ง. ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑
๔
๑๔. การแบ่งช่วงเวลาเป็นสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ใช้เกณฑ์การแบ่งอย่างไร
    ก. มนุษย์รู้จักตั้งถิ่นฐาน
    ข. มนุษย์รู้จักเพาะปลูก
    ค. มนุษย์รู้จักสั่งสมวัฒนธรรม
    ง. มนุษย์รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้
๑๕. เหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๕๗ – ๒๔๖๑ อยู่ในช่วงสมัยใด
    ก. ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ
    ข. ประวัติศาสตร์สมัยกลาง
    ค. ประวัติศาสตร์สมัยใหม่
    ง. ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
๑๖. เพราะเหตุใดมนุษย์ยุคเหล็กจึงนิยมใช้เหล็กในการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้มากกว่าสาริด
    ก. หาได้ง่ายกว่า
    ข. มีความสวยงามกว่า
    ค. นาไปขายได้ราคาแพงกว่า
    ง. มีความทนทานในการใช้งานมากกว่า
๑๗. สมัยอาณาจักรอยุธยาเริ่มขึ้นใน พ.ศ. ๑๘๙๓ จะอยู่ในประวัติศาสตร์สากลสมัยใด
    ก. สมัยโบราณ
    ข. สมัยกลาง
    ค. สมัยใหม่
    ง. ร่วมสมัย
๑๘. การแบ่งยุคสมัยออกเป็นสมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ จะตรงกับหลักการแบ่ง
    ในข้อใด
    ก. แบ่งตามรัชกาล
    ข. แบ่งตามราชวงศ์
    ค. แบ่งตามการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
    ง. แบ่งตามอาณาจักรและแบ่งตามราชธานี
๑๙. หลักฐานในข้อใดที่จะไม่ปรากฏให้เห็นในแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
    ก. กาไลสาริด
    ข. แผ่นจารึกอักษรโบราณ
    ค. เครื่องปั้นดินเผา
    ง. โครงกระดูก
๒๐. ปัจจุบันประเทศไทยมีกรุงเทพมหานครเป็นราชธานี จัดอยู่ในสมัยใด
    ก. สมัยสุโขทัย
    ข. สมัยอยุธยา
    ค. สมัยธนบุรี
    ง. สมัยรัตนโกสินทร์
๕
            เฉลย
แบบทดสอบก่อนเรียนประจาหน่วยที่ ๑

   ๑. ข
   ๒. ค
   ๓. ค
   ๔. ก
   ๕. ข
   ๖. ง
   ๗. ง
   ๘. ค
   ๙. ข
   ๑๐.    ค
   ๑๑.    ข
   ๑๒.    ก
   ๑๓.    ค
   ๑๔.    ง
   ๑๕.    ค
   ๑๖.    ง
   ๑๗.    ข
   ๑๘.    ง
   ๑๙.    ข
   ๒๐.    ง
๖
                                                      ตอนที่ ๑
                                      ความสาคัญของเวลาและช่วงเวลา

         วันเวลามีความสาคัญและเกี่ยวข้องกับการดาเนินชีวิตของคนเรา วัน เวลา ทาให้เรารู้ว่า
เหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเมื่อวัน เดือน ปีใด เหตุการณ์ใดเกิดก่อน เหตุการณ์ใดเกิดหลัง
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือดาเนินอยู่ในช่วงเวลาที่ต่างกัน มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร และวัน เวลา
ที่ผ่านไปทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
         ประวัติศาสตร์มีความสัมพันธ์กับเวลาอย่างมาก เพื่อให้เกิดความเข้าใจว่าเหตุการณ์ใน
ประวัติศาสตร์เกิดขึ้นเมื่อใด มีคาที่ใช้บอกเวลาหลายอย่าง เช่น อดีต ยุคสมัย ทศวรรษ(๑๐ ปี)
ศตวรรษ(๑๐๐ ปี) สหัสวรรษ(๑,๐๐๐ ปี) ซึ่งคาดังกล่าวจะทาให้เวลาในประวัติศาสตร์แตกต่างกัน
นอกจากนี้ยังใช้ศักราชมาบอกเวลาให้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อให้รู้ว่าเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์เกิดขึ้น
เมื่อใดหรือช่วงเวลาใด ศักราชที่ใช้ในประวัติศาสตร์ไทยมีหลายอย่าง ที่นิยมใช้กันมากคือ
พุทธศักราช (พ.ศ.) จุลศักราช(จ.ศ.) และรัตนโกสินทร์ศก(ร.ศ.) แต่ศักราชดังกล่าวเริ่มนับไม่พร้อม
กัน จึงควรรู้ว่าวิธีไหนเทียบศักราชดังกล่าว เพื่อจะได้เข้าใจตรงกัน
         ประวัติศาสตร์ไทยถ้านับย้อนหลังไปถึงสมัยสุโขทัยก็เป็นเวลามากกว่า ๗๐๐ ปี ดังนั้น การ
นับเวลาและช่วงเวลาจึงมีความสาคัญมาก
         เวลาในประวัติศาสตร์ นิยมบอกเป็นปี เช่น พ.ศ. ๑๘๒๖ พ่อขุนรามคาแหงมหาราชทรง
ประดิษฐ์อักษรไทย ถ้าต้องการให้รู้ชัดเจนมากขึ้น เพราะมีความสาคัญมาก จะบอกเป็น วัน เดือน
ปี เช่น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓
วันปิยมหาราช ตรงกับวันเสด็จสวรรคต คือวันที่ ๒๓ ตุลาคม เป็นต้น




                                                   ที่มา : http://orthodox.exteen.com/20100227/entry



   พ่อขุนรามคาแหงมหาราช กษัตริย์แห่งสุโขทัย ทรง
   ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๒๒-๑๘๔๑ ซึ่งเป็นช่วงเวลา
   ใกล้เคียงกุบไลข่าน (ภาพเล็ก) พ.ศ. ๑๘๐๓-๑๘๓๗ ข่า
   ของมองโกลที่มีอานาจปกครองจีนในขณะนั้น

ที่มา : http://9sj-thaivijak.blogspot.com/2009_11_01_archive.html
๗
        ช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ เป็นการบอกให้รู้เวลาที่ชัดเจนเกี่ยวกับบุคคลหรือเหตุการณ์
ทางประวัติศาสตร์ เช่น พ่อขุนรามคาแหงมหาราชครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๒๒ – ๑๘๔๑ สมัย
สุโขทัยอยู่ในช่วงเวลา พ.ศ. ๑๗๙๒ – ๒๐๐๖ เป็นต้น

       ดังนั้น เวลาและช่วงเวลาจึงมีความสาคัญ ดังนี้
       ๑. บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นหรือสิ้นสุดในเวลาใด ช่วงเวลาใด
       ๒. บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมานานเท่าใดแล้วเมื่อนับถึงปัจจุบัน
       ๓. บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก่อน หรือหลัง เมื่อเปรียบเทียบกับ
           เหตุการณ์อื่นๆ
       ๔. บอกให้รู้ถึงความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องของเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ เพราะอยู่ในเวลา
           หรือช่วงเวลาใกล้เคียงกัน เช่น กุบไลข่าน หรือคูบิไลข่าน (พ.ศ. ๑๘๐๓ – ๑๘๓๗)
           ข่านของพวกมองโกลที่ปกครองประเทศจีนขยายอานาจ ทาให้ผู้นาไทย คือ
           พ่อขุนรามคาแหงมหาราชแห่งอาณาจักรสุโขทัย พระยางาเมืองแห่งแคว้นพะเยาเป็น
           พันธมิตรกัน เมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๐ เพื่อปกป้องตนเอง
       ๕. ทาให้เข้าใจและวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ ในประวัติศาสตร์ได้ดีขึ้นเพราะกาลเวลาที่
           เปลี่ยนแปลงหรือผ่านมา มนุษย์มีพัฒนาการ มีความเจริญรุ่งเรือง ทาให้มนุษย์
           ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น เช่น โทรเลขที่เริ่มมีขึ้นในเมืองไทยสมัยรัชกาลที่ ๕
           (พ.ศ. ๒๔๑๑ – ๒๔๕๓) และถือว่ามีความสาคัญและทันสมัยมาก แต่ในปัจจุบันเป็น
           ของล้าสมัย จนหมดความสาคัญ เพราะมีโทรศัพท์มือถือ มีอินเทอร์เน็ต (Internet)
           เข้ามาช่วยในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่า

           จะเห็นได้ว่านักประวัติศาสตร์หรือผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ ซึ่งศึกษาเหตุการณ์ในอดีตที่
ส่งผลกระทบถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันและอนาคตนั้น เมื่อศึกษาแล้วก็จะบอกเล่าเรื่องราวที่ตน
ศึกษาออกมา การบอกเล่าเรื่องราวในช่วงเวลาต่าง ๆ ต้องใช้คาที่เกี่ยวกับช่วงเวลา เช่น ศักราช
วัน เดือน ปี ชั่วโมง นาที ยุค สมัย เพื่อให้รู้ว่าเรื่องราวนั้นเกิดขึ้นเมื่อใด เหตุการณ์ใดเกิด
ก่อนเกิดหลัง และเหตุการณ์ต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ดังนั้นประวัติศาสตร์จึงมี
ความสัมพันธ์กับเวลาอย่างยิ่ง
๘
                                                                     กิจกรรมที่ ๑
คาสั่ง ให้นักเรียนบอกความสาคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์

   ๑) ..............................................................................................................................................
      ..............................................................................................................................................

   ๒) ………………………………………………………………………………………………………………………………
      ……………………………………………………………………………………………………………………………...

   ๓) ………………………………………………………………………………………………………………………………
      ……………………………………………………………………………………………………………………………...

   ๔) ………………………………………………………………………………………………………………………………
      ………………………………………………………………………………………………………………………………

   ๕) ………………………………………………………………………………………………………………………………
      ………………………………………………………………………………………………………………………………
๙
                              แนวตอบกิจกรรมที่ ๑

๑. บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นหรือสิ้นสุดในเวลาใด ช่วงเวลาใด
๒. บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมานานเท่าใดแล้วเมื่อนับถึงปัจจุบัน
๓. บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก่อน หรือหลัง เมื่อเปรียบเทียบกับ
   เหตุการณ์อื่นๆ
๔. บอกให้รู้ถึงความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องของเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ เพราะอยู่ในเวลา
   หรือช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
๕. ทาให้เข้าใจและวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ ในประวัติศาสตร์ได้ดีขึ้นเพราะกาลเวลาที่
   เปลี่ยนแปลงหรือผ่านมา มนุษย์มีพัฒนาการ มีความเจริญรุ่งเรือง ทาให้มนุษย์
   ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น
๑๐
                                                                      ตอนที่ ๒
                                            การนับและการเปรียบเทียบศักราชแบบต่างๆ

       การศึกษาประวัติศาสตร์จะมีความสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีการระบุศักราช เพราะจะทาให้เรา
ทราบว่าเหตุการณ์สาคัญต่างๆ เกิดขึ้นในช่วงเวลาใด การนับศักราชในประวัติศาสตร์ไทย มีทั้งการ
นับศักราชแบบสากลและแบบไทย ดังต่อไปนี้

                                                    การนับศักราชแบบสากล
คริสต์ศักราช                              เป็นศักราชทางศาสนาคริสต์ มีผู้นิยมใช้กันเป็นจานวนมากทั่วโลก
(ค.ศ.)                                    คริสต์ศักราชที่ ๑ เริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระเยซูคริสต์ประสูติ (ตรงกับ
                                          พ.ศ. ๕๔๔) คาว่า คริสต์ศักราช ใช้อักษรย่อว่า ค.ศ. หรือ A.D.
                                          (Anno Domini : เป็นภาษาละติน แปลว่า ปีแห่งพระผู้เป็นเจ้า)
                                          ระยะเวลาที่อยู่ก่อนคริสต์ศักราชลงไปเรียกว่า สมัยก่อนคริสต์ศักราช
                                          หรือก่อนคริสตกาล ใช้อักษรย่อว่า ก่อน ค.ศ. หรือ B.C.
                                          (Before Christ)
ฮิจเราะห์ศักราช                           เป็นศักราชทางศาสนาอิสลาม โดยยึดปีที่ท่านนบีมุฮัมมัด ได้กระทา
(ฮ.ศ.)                                    ฮิจเราะห์ (Higra แปลว่า การอพยพโยกย้าย) คืออพยพจากเมือง
                                          เมกกะ ไปอยู่ที่เมืองเมดินะ ฮ.ศ. ๑ ตรงกับ พ.ศ.๑๑๖๕ แต่ปีหนึ่ง
                                          ของฮิจเราะห์ศักราชมี ๓๕๔ วัน จึงมีความคลาดเคลื่อนกับปีของ
                                                                   ๑
                                          คริสต์ศักราชที่มี ๓๖๕ ๔ วัน จน ๓๒ ปีครึ่งจะมีความคลาดเคลื่อน
                                          เพิ่มขึ้นเป็น ๑ ปีไปเรื่อยๆปัจจุบันจะเทียบฮิจเราะห์ศักราชกับ
                                          พุทธศักราชต้องเอา ๑๑๒๒ ไปบวกหรือลบ




            พระเยซูคริสต์ทรงประสูติในคอกสัตว์                             ท่านนบีมฮมมัดได้ กระทาฮิจเราะห์ คืออพยพจาก
                                                                                   ูั
       ในเมืองเบธเลเฮม แคว้นยูเดีย ประเทศอิสราเอล                                 เมืองเมกกะไปอยูที่เมืองเมดินะ
                                                                                                 ่
ที่มา : http://primary.bcc.ac.th/jesus/life/pictureweb/born/001.htm       ที่มา : http://muslimchiangmai.net/index.php?topic=2107.0
๑๑
                                 การนับศักราชแบบไทย
พุทธศักราช               พุทธศักราชเป็นศักราชทางพระพุทธศาสนา โดยไทยเริ่มนับ
(พ.ศ.)                   พุทธศักราชที่ ๑ (พ.ศ.๑) เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไป
                         แล้ว ๑ ปี ส่วนบางประเทศ เช่น พม่า ศรีลังกาจะเริ่มนับพุทธศักราชที่
                         ๑ ตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ไทยเริ่มใช้การนับ
                         ศักราชแบบพุทธศักราชในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
                         (พ.ศ. ๒๑๙๙ – ๒๒๓๑) และนามาใช้กันอย่างแพร่หลายเป็น
                         แบบอย่างของทางราชการตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๕ รัชสมัยพระบาทสมเด็จ
                         พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา
มหาศักราช                พบหลายแห่งในหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัยและสมัย
(ม.ศ.)                   อยุธยาตอนต้น การนับมหาศักราชนี้ พระเจ้ากนิษกะแห่งราชวงศ์
                         กุษาณะ กษัตริย์ผู้ครองแคว้นคันธารราฐของอินเดียทรงตั้งขึ้น เริ่ม
                         ภายหลังพุทธศักราช ๖๒๑ ปี ภายหลังได้เผยแพร่เข้ามาสู่บริเวณ
                         สุวรรณภูมิและประเทศไทยผ่านทางพวกพราหมณ์และพ่อค้าอินเดียที่
                         เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายยังดินแดนบริเวณแถบนี้ มหาศักราชพบ
                         มากในศิลาจารึกสุโขทัยและศิลาจารึกของไทยรุ่นเก่าๆ
จุลศักราช                ผู้ตั้ง คือ โปปะสอระหันหรือบุปผะอรหันต์ หรือบุพโสรหัน (Popa
(จ.ศ.)                   Sawrahan) ซึ่งภายหลังได้ลาสิกขาออกมาเป็นกษัตริย์ขึ้นครองแผ่นดิน
                         พม่า จุลศักราชเริ่มภายหลังพุทธศักราช ๑,๑๘๑ ปี พบมากในศิลา
                         จารึกและพงศาวดารต่างๆทั้งของล้านนา สุโขทัย อยุธยา และ
                         รัตนโกสินทร์ตอนต้น
รัตนโกสินทร์ศก           เริ่มนับปีที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรง
(ร.ศ.)                   สถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นราชธานีแห่งใหม่ของอาณาจักรไทย
                         เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๕ เป็นรัตนโกสินทร์ศกที่ ๑ ทั้งนี้ไทยเริ่มใช้การนับ
                         ศักราชแบบรัตนโกสินทร์ศกใน พ.ศ. ๒๔๓๒ กลางรัชสมัย
                         พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเลิกใช้เมื่อ พ.ศ.
                         ๒๔๕๕ ตอนต้น รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

        อย่างไรก็ตาม การนับศักราชแบบต่างๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้น ในบางกรณีบางเหตุการณ์ก็ไม่
จาเป็นต้องนับอย่างละเอียด แต่อาจจะกล่าวหรือนับอย่างกว้างๆ เป็นอย่างอื่นอีกก็ได้ ที่นิยมใช้กัน
มาก ได้แก่ ทศวรรษ (รอบ ๑๐ ปี) ศตวรรษ (รอบ ๑๐๐ ปี) สหัสวรรษ (รอบ ๑,๐๐๐ ปี)
ต้นศตวรรษ (ประมาณ ๓๓ ปีแรกของศตวรรษ) ฯลฯ การนับเช่นนี้ เป็นการบอกช่วงเวลาอย่าง
กว้าง โดยไม่ระบุศักราช
๑๒
        การเทียบศักราชได้คล่องจะทาให้เราเรียนประวัติศาสตร์ได้อย่างมีความหมายและเข้าใจ
มากขึ้น การเปรียบเทียบศักราชสามารถกระทาได้ง่ายๆ โดยนาตัวเลขผลต่างของอายุศักราช
แต่ละศักราชมาบวกหือลบกับศักราชที่เราต้องการ
        ในปัจจุบันศักราชที่ใช้กันมาก คือ คริสต์ศักราชและพุทธศักราช เมื่อเทียบศักราชทั้งสอง
ต้องใช้ ๕๔๓ บวกหรือลบ แล้วแต่กรณี ถ้าเทียบได้คล่องจะทาให้เข้าใจประวัติศาสตร์ไทยหรือ
สากลได้ง่ายขึ้น

                              หลักเกณฑ์การเทียบศักราช
            ม.ศ. + ๖๒๑ = พ.ศ.                         พ.ศ. – ๖๒๑ = ม.ศ.
           จ.ศ. + ๑,๑๘๑ = พ.ศ.                      พ.ศ. – ๑,๑๘๑ = จ.ศ.
           ร.ศ. + ๒,๓๒๔ = พ.ศ.                      พ.ศ. – ๒,๓๒๔ = ร.ศ.
            ค.ศ. + ๕๔๓ = พ.ศ.                         พ.ศ. – ๕๔๓ = ค.ศ.
           ฮ.ศ. + ๑,๑๒๑ = พ.ศ.                      พ.ศ. – ๑,๑๒๒ = ฮ.ศ.

         โดยสรุป ความเข้าใจเกี่ยวกับศักราชมีความสาคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์มาก เพราะ
ช่วยให้ผู้ศึกษาสามารถเชื่อมโยงและเปรียบเทียบช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ในอดีตกับปัจจุบันและ
ต่อเนื่องถึงอนาคตได้ อีกทั้งยังสะท้อนถึงความสาคัญและอิทธิพลของศาสนา ซึ่งเป็นอารยธรรม
สาคัญที่มีอยู่ในวิถีชีวิตของประชาชนทุกสังคม
                                                 ประเทศไทยเริ่มใช้พุทธศักราชอย่างเป็น
                                                 ทางการ เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์
                                                 พ.ศ. ๒๔๕๕ ตรงกับรัชสมัย
                                                 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
                                                 นะค่ะ
๑๓
                                      กิจกรรมที่ ๒
คาสั่ง ให้นักเรียนนาคาที่กาหนดให้ด้านบนไปเติมลงในช่องว่างท้ายข้อความด้านล่างให้สัมพันธ์กัน


         คริสต์ศักราช                ฮิจเราะห์ศักราช                    พุทธศักราช
     มหาศักราช                       จุลศักราช                          รัตนโกสินทร์ศก

๑. ศักราชที่ตั้งขึ้นโดยพระเจ้ากนิษกะแห่งอินเดีย                        ...............................
๒. นิยมใช้ในหลักฐานประเภทศิลาจารึกและพงศาวดาร
   สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น                     ...............................
๓. เริ่มนับศักราชตั้งแต่ปีที่พระเยซูประสูติ                            ...............................
๔. เริ่มนับศักราชตั้งแต่ปีที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
   มหาราชทรงสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานี                             ...............................
๕. ศักราชที่ตั้งขึ้นในสมัยของกษัตริย์พม่าทรงมีพระนามว่า บุปผะอรหันต์   ...............................
๖. ศักราชที่ใช้กันมากในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม                      ...............................
๗. เริ่มนับเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว ๑ ปี           ...............................
๘. เริ่มนับศักราชตั้งแต่ปีที่ท่านนบีมูฮัมมัดได้อพยพจากเมืองเมกกะ
   ไปยังเมืองเมดินะ                                                    ...............................
๙. ศักราชที่นิยมใช้ในหนังสือประวัติศาสตร์ของชาติตะวันตก                ...............................
๑๐. ศักราชที่ใช้กันอย่างเป็นทางการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ
     เกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน                            ...............................
๑๔

แนวตอบกิจกรรมที่ ๒

   ๑. มหาศักราช
   ๒. จุลศักราช
   ๓. คริสต์ศักราช
   ๔. รัตนโกสินทร์ศก
   ๕. จุลศักราช
   ๖. ฮิจเราะห์ศักราช
   ๗. พุทธศักราช
   ๘. รัตนโกสินทร์ศก
   ๙. คริสต์ศักราช
   ๑๐. พุทธศักราช
๑๕

                                      กิจกรรมที่ ๓

คาสั่ง ให้นักเรียนระบุหลักเกณฑ์การเทียบศักราชให้ถูกต้อง

     1.   ม.ศ. 1320   =   พ.ศ.                    16.     พ.ศ.   2310   = ม.ศ.
     2.   จ.ศ. 1010   =   พ.ศ.                    17.     พ.ศ.   1800   = จ.ศ.
     3.   ฮ.ศ. 577    =   พ.ศ.                    18.     พ.ศ.   2530   = ฮ.ศ.
     4.   ม.ศ. 1345   =   พ.ศ.                    19.     พ.ศ.   2539   = ม.ศ.
     5.   จ.ศ. 1253   =   พ.ศ.                    20.     พ.ศ.   2010   = จ.ศ.
     6.   ค.ศ. 1520   =   พ.ศ.                    21.     พ.ศ.   2310   = ค.ศ.
     7.   ร.ศ. 120    =   พ.ศ.                    22.     พ.ศ.   1634   = ม.ศ.
     8.   ฮ.ศ. 1181   =   พ.ศ.                    23.     พ.ศ.   2516   = จ.ศ.
     9.   ค.ศ. 1347   =   พ.ศ.                    24.     พ.ศ.   2443   = ร.ศ.
    10.   ม.ศ. 1175   =   พ.ศ.                    25.     พ.ศ.   2531   = ฮ.ศ.
    11.   จ.ศ. 1450   =   พ.ศ.                    26.     พ.ศ.   2448   = จ.ศ.
    12.   ค.ศ. 1450   =   พ.ศ.                    27.     พ.ศ.   2475   = ร.ศ.
    13.   ร.ศ. 180    =   พ.ศ.                    28.     พ.ศ.   1926   = ม.ศ.
    14.   จ.ศ. 1143   =   พ.ศ.                    29.     พ.ศ.   2003   = จ.ศ.
    15.   ค.ศ. 1726   =   พ.ศ.                    30.     พ.ศ.   2112   = ค.ศ.
๑๖

                             แนวตอบกิจกรรมที่ ๓

 1.   ม.ศ. 1320   =   พ.ศ.     1941      16.   พ.ศ.   2310   = ม.ศ.    1689
 2.   จ.ศ. 1010   =   พ.ศ.     2191      17.   พ.ศ.   1800   = จ.ศ.    619
 3.   ฮ.ศ. 577    =   พ.ศ.     1699      18.   พ.ศ.   2530   = ฮ.ศ.   1408
 4.   ม.ศ. 1345   =   พ.ศ.     1966      19.   พ.ศ.   2539   = ม.ศ.   1918
 5.   จ.ศ. 1253   =   พ.ศ.     2434      20.   พ.ศ.   2010   = จ.ศ.    829
 6.   ค.ศ. 1520   =   พ.ศ.     2063      21.   พ.ศ.   2310   = ค.ศ.    1767
 7.   ร.ศ. 120    =   พ.ศ.     2444      22.   พ.ศ.   1634   = ม.ศ.    1013
 8.   ฮ.ศ. 1181   =   พ.ศ.     2303      23.   พ.ศ.   2516   = จ.ศ.    1335
 9.   ค.ศ. 1347   =   พ.ศ.     1890      24.   พ.ศ.   2443   = ร.ศ.    119
10.   ม.ศ. 1175   =   พ.ศ.     1796      25.   พ.ศ.   2531   = ฮ.ศ.    1409
11.   จ.ศ. 1450   =   พ.ศ.     2631      26.   พ.ศ.   2448   = จ.ศ.    1267
12.   ค.ศ. 1450   =   พ.ศ.     1993      27.   พ.ศ.   2475   = ร.ศ.    151
13.   ร.ศ. 180    =   พ.ศ.     2504      28.   พ.ศ.   1926   = ม.ศ.    1305
14.   จ.ศ. 1143   =   พ.ศ.     2324      29.   พ.ศ.   2003   = จ.ศ.    822
15.   ค.ศ. 1726   =   พ.ศ.     2269      30.   พ.ศ.   2112   = ค.ศ.    1569
๑๗
                                            ตอนที่ ๓
                         ตัวอย่างศักราชในหลักฐานทางประวัติศาสตร์

      ในการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย จะพบการใช้ศักราชหลายอย่างดังกล่าว
มาแล้วต่อไปนี้เป็นตัวอย่างศักราชในหลักฐานประวัติศาสตร์ไทย
    ศักราช                                หลักฐานประวัติศาสตร์ไทย
  พุทธศักราช   “บ้านโนล แครนลี ประเทศอังกฤษ”
     (พ.ศ.)         “...ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอานาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่
               ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอานาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด
               คณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อานาจนั้นโดยสิทธิ์ขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของ
               ประชาชนราษฎร...”
                                                             ประชาธิปก ปร.
                   วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ เวลา ๑๓ นาฬิกา ๔๕ นาที
                   ที่มา : ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดารัสในพระบาทสมเด็จ
               พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หน้า ๓๖๕ – ๓๗๐
                   หลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยข้างบนนี้เป็นพระราชหัตถเลขาบางตอนในการ
               สละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗
   มหาศักราช       “๑๒๐๕ ศก ปีมะแม พ่อขุนรามคาแหง หาใคร่ใจในใจ แล่ใส่ลายสือไทยนี้...”
      (ม.ศ.)       ที่มา : ศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหงมหาราช ด้านที่ ๔
                   ปี ๑๒๐๕ เป็นการนับแบบมหาศักราช เมื่อเทียบเป็น พ.ศ. บวกด้วย
               ๖๒๑ = พ.ศ. ๑๘๒๖ เป็นปีที่พ่อขุนรามคาแหงมหาราชประดิษฐ์อักษรไทย
    จุลศักราช      “ศักราช ๗๑๒ ขาลศก...แรกสถาปนากรุงพระนครศรีอยุธยา”
      (จ.ศ.)       ที่มา : พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐฯ หน้า ๑
               ศักราช ๗๑๒ เป็นการนับแบบจุลศักราช เมื่อเทียบเป็น พ.ศ. บวกด้วย ๑๑๘๑ =
               พ.ศ. ๑๑๘๑ = พ.ศ. ๑๘๙๓ เป็นปีที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (อู่ทอง) ตั้งกรุงศรี
               อยุธยาเป็นราชธานี
รัตนโกสินทร์ศก    “วันที่ ๑๙ เมษายน รัตนโกสินทร์ศก๒๓ ๑๐๙ ถึงที่ประชุมเสนาบดี ซึ่งอยู่รักษา
       (ร.ศ.)  พระนคร”
                   ที่มา : ประชุมพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่
               ทรงบริหารราชการแผ่นดิน ภาคที่ ๓ (ตอน ๒) หน้า ๒๖๗
                   รัตนโกสินทร์ศก หรือ ร.ศ. ๑๐๙ เมื่อเทียบเป็น พ.ศ. บวกด้วย ๒๓๒๔ = พ.ศ.
               ๒๔๓๓ สาหรับเลข ๒๓ ที่อยู่ข้างบนคาว่า “ศก” หมายถึง ปีที่พระบาทสมเด็จพระ
               จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครองราชสมบัติเป็นปีที่ ๒๓ พระราฃหัตถเลขานี้ทรงมีถึง
               คณะเสนาบดีระหว่างเสด็จประพาสแหลมมลายู
๑๘
                                                            กิจกรรมที่ ๔

คาสั่ง ให้นักเรียนอ่านข้อความ แล้วเติมคาตอบให้ถูกต้อง


  ๑. “ศักราช ๗๑๒ ขาลศก... แรกสถาปนากรุงพระนครศรีอยุธยา”
                                                            ที่มา : พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐฯ
  ศักราช ๗๑๒ เป็นการนับแบบ............................เทียบเป็น พ.ศ. .............................................
  ตีความได้ว่า ...............................................................................................................................
  …………………………………………………………………………………………………………………………………..




  ๒. “๑๒๐๕ ศก ปีมะแม พ่อขุนราคาแหง หาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้...”
                                             ที่มา : ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามคาแหงมหาราช ด้านที่ ๔
  ๑๒๐๕ เป็นการนับแบบ............................เทียบเป็น พ.ศ. .............................................
  ตีความได้ว่า ...............................................................................................................................
  …………………………………………………………………………………………………………………………………..




  ๓. ...ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอานาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่เดิมให้แก่ราษฎรทั่วไป แต่
  ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอานาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ...”
         วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ เวลา ๑๓ นาฬิกา ๔๕ นาที
           ที่มา : ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดารัสในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หน้า ๓๖๕ – ๓๗๐

  พ.ศ. ๒๔๗๗ เป็นการนับแบบ............................เทียบเป็น พ.ศ. .............................................
  ตีความได้ว่า ...............................................................................................................................
  …………………………………………………………………………………………………………………………………..
๑๙
                              แนวตอบกิจกรรมที่ ๔


๑. “ศักราช ๗๑๒ ขาลศก... แรกสถาปนากรุงพระนครศรีอยุธยา”
                                       ที่มา : พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐฯ
ศักราช ๗๑๒ เป็นการนับแบบ จุลศักราช .เทียบเป็น พ.ศ. บวกด้วย ๑๑๘๑ = พ.ศ. ๑๘๙๓
ตีความได้ว่า เป็นปีที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (อู่ทอง) ตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี




๒. “๑๒๐๕ ศก ปีมะแม พ่อขุนราคาแหง หาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้...”
                             ที่มา : ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามคาแหงมหาราช ด้านที่ ๔
๑๒๐๕ เป็นการนับแบบ มหาศักราช เทียบเป็น พ.ศ. บวกด้วย ๖๒๑ = พ.ศ. ๑๘๒๖
ตีความได้ว่า เป็นปีที่พ่อขุนรามคาแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทย




๓. ...ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอานาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่เดิมให้แก่ราษฎรทั่วไป แต่
ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอานาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ...”
       วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ เวลา ๑๓ นาฬิกา ๔๕ นาที
      ที่มา : ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดารัสในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หน้า ๓๖๕ – ๓๗๐

พ.ศ. ๒๔๗๗ เป็นการนับแบบ พุทธศักราช เทียบเป็น พ.ศ. ๒๔๗๗
ตีความได้ว่า เป็นพระราชหัตถเลขาบางตอนในการสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๗๗
๒๐
                                               ตอนที่ ๔
                                  การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

        การนับเวลาเป็นศักราช มีประโยชน์ในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ได้เข้าใจและ
ชัดเจน แต่การระบุศักราชบ่อยๆ อาจทาให้เกิดความสับสน หรือยากการจดจา นักประวัติศาสตร์
จึงมีการแบ่งสมัย ซึ่งกาหนดโดยถือเอาลักษณะเฉพาะที่ชัดเจนของสมัยนั้นๆ มาเป็นชื่อสมัย หรือ
บางทีเรียกเป็นยุคก็มี การแบ่งสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยมีทั้งการแบ่งตามแบบสากลและแบบของ
ไทย เพื่อให้เกิดความเข้าใจจะกล่าวถึงการบ่งแบบสากลก่อน ซึ่งจัดแบ่งได้ดังนี้

การแบ่งช่วงเวลาตามแบบสากล
        ๑) สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสมัยที่มนุษย์ยังไม่มีการประดิษฐ์อักษรขึ้นใช้ การศึกษา
เรื่องราวของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์จึงต้องอาศัยการวิเคราะห์ตีความจากหลักฐาน
โบราณคดีต่างๆ ได้แก่ เครื่องมือเครื่องใช้ โครงกระดูก งานศิลปะ รูปแบบหรือวิถีการดาเนินชีวิต
ซึ่งจะปรากฏอยู่ในแหล่งโบราณคดีต่างๆ ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตามแบบสากลยังแบ่งย่อยลง
ไปอีก โดยใช้หลักการดังนี้
           (๑) แบ่งตามเทคโนโลยีการทาเครื่องมือเครื่องใช้ หลักเกณฑ์นี้ถือว่าเป็นเทคโนโลยีมี
ความสาคัญต่อพัฒนาการของมนุษย์จึงนามาใช้แบ่งสมัยก่อนประวัติศาสตร์ออกเป็น ๒ ยุค
ประกอบด้วย
               ๑. ยุคหิน จะแบ่งย่อยออกเป็นยุคหินเก่า ยุคหินกลาง และยุคหินใหม่ มีอายุ
ประมาณ ๒ – ๕ ล้านปี – ๔,๐๐๐ ปีล่วงมาแล้ว
               ๒. ยุคโลหะ ครอบคลุมช่วงเวลาประมาณ ๔,๐๐๐ ปี – ๑,๕๐๐ ปีล่วงมาแล้ว
สามารถแบ่งย่อยออกเป็นยุคสาริด และยุคเหล็ก คือ ยึดเอาชนิดของโลหะที่มนุษย์นามาใช้
ประโยชน์เป็นหลักเกณฑ์การแบ่ง
        (๒) แบ่งตามลักษณะการดารงชีวิตของผู้คน สามารถจัดแบ่งย่อยได้อีก ๓ ยุคด้วยกัน ดังนี้
               ๑. ยุคล่าสัตว์ เก็บหาอาหาร มนุษย์ล่าสัตว์ เก็บหาอาหาร ยังไม่มีที่พานักแน่นอน ยุค
นี้ครอบคลุมช่วงเวลาประมาณ ๒.๕ ล้านปี – ๘,๐๐๐ ปีล่วงมาแล้ว
               ๒. ยุคสังคมเกษตรกรรม มนุษย์รู้จักการดารงชีพด้วยการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ เริ่มต้น
การตั้งถิ่นฐานอยู่รวมกัน จนเป็นสังคม ยุคนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ ๘,๐๐๐ ปี – ๖,๐๐๐ ปีล่วง
มาแล้ว
               ๓. ยุคสังคมเมือง เป็นช่วงที่ชุมชนพัฒนาเป็นสังคมเมือง มีลักษณะเป็นเมืองเล็กๆ
สังคมแบบนี้จะถือกาเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อ ๖,๐๐๐ ปีล่วงมาแล้ว
        อย่างไรก็ดี การกาหนดอายุของยุคหิน ยุคโลหะ ดังที่กล่าวมาเป็นการกาหนดในภาพรวม
แต่ไม่ใช่ว่าทุกแห่งจะเริ่มและสิ้นสุดพร้อมกันในเวลาเดียวกัน บางแห่งอาจจะเริ่มและสิ้นสุดเร็วกว่า
หรือช้ากว่ากันก็มี เพราะชุมชนมนุษย์แต่ละแห่งมีความเจริญไม่เท่ากัน
๒๑
              ตารางแสดงการแบ่งยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์แบบสากล

 ประเภท       แบ่งตามเทคโนโลยี ช่วงระยะเวลา
                                                                 ลักษณะการดาเนินชีวิต
 ของยุค       เครื่องมือเครื่องใช้   โดยประมาณ
                   ยุคหินเก่า      ๒,๕๐๐,๐๐๐ ปี –       มนุษย์ดารงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ เก็บหา
                                   ๑๐,๐๐๐ ปีล่วงมา      อาหาร อาศัยอยู่ในถ้า ใช้เครื่องมือหินที่ทา
                                   แล้ว                 หยาบๆ รู้จักเขียนภาพตามผนังถ้า
                 ยุคหินกลาง        ๑๐,๐๐๐ ปี –          มนุษย์ดารงชีวิตเหมือนมนุษย์ยุคหินเก่ารู้จัก
  ยุคหิน                           ๘,๐๐๐ ปีล่วง         ทาเครื่องมือหินที่ประณีตมากขึ้นรู้จักทา
                                   มาแล้ว               เครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะผิวเรียบมัน
                   ยุคหินใหม่      ๘,๐๐๐ ปี –           มนุษย์ในยุคนี้ดารงชีวิตโดยการเพราะปลูก
                                   ๔,๐๐๐ ปีล่วง         เลี้ยงสัตว์ ตั้งหลักแหล่งถาวร ทาเครื่องดิน
                                   มาแล้ว               เผา ทาเครื่องประดับ
                    ยุคสาริด       ๔,๐๐๐ ปี –           มนุษย์อาศัยอยู่เป็นชุมชนใหญ่ขึ้น ดารงชีวิต
                                   ๓,๐๐๐ ปีล่วง         ด้วยการเพาะปลูก รู้จักปลูกข้าว มีการเลี้ยง
                                   มาแล้ว               สัตว์ เช่น วัว หมู มีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่า
                                                        ยุคหินใหม่ รู้จักทาสาริดเป็นเครื่องใช้
 ยุคโลหะ                                                เครื่องประดับ
                   ยุคเหล็ก        ๓,๐๐๐ ปี –           การดารงชีวิตเจริญขึ้นและซับซ้อนกว่ายุค
                                   ๑,๕๐๐ ปี             สาริด มีการติดต่อค้าขาย และรับ
                                   ล่วงมาแล้ว           อารยธรรมจากต่างแดน ทาให้ผู้คนมีความ
                                                        เจริญแตกต่างกัน มีการนาเหล็กมาทาเป็น
                                                        เครื่องมือเครื่องใช้ ซึ่งมีความคงทนกว่า
                                                        สาริด จึงใช้งานได้ดีกว่า

         ๒. สมัยประวัติศาสตร์ เริ่มเมื่อมนุษย์รู้จักคิดประดิษฐ์อักษรบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่
เกี่ยวกับความเชื่อ กิจกรรม จึงทาให้เรารู้เรื่องราวที่ละเอียดชัดเจนมากขึ้น บันทึกในระยะแรกจะ
ปรากฏอยู่บนกระดูก ไม้ไผ่ ผ้าไหม(ดังกรณีของจีน) แผ่นดินเหนียว ศิลา แผ่นทอง แผ่นเงิน ใบลาน
กระดาษ อย่างไรก็ตาม บันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรอาจไม่สมบูรณ์ สูญหาย หรือถูกทาลายไป
นักประวัติศาสตร์จึงต้องใช้หลักฐานทางโบราณคดีมาประกอบการวิเคราะห์ข้อมูล
         สมัยประวัติศาสตร์นิยมแบ่งดังนี้
                   (๑) ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ แต่ละประเทศเริ่มต้นและสิ้นสุดไม่พร้อมกัน ใน
กรณีประวัติศาสตร์สากลเริ่มต้นตั้งแต่อารยธรรมเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) และสิ้นสุดใน
พ.ศ. ๑๐๑๙ เมื่อกรุงโรมของอาณาจักรโรมันถูกพวกอนารยชนตีแตก
๒๒


                                                            โคลอสเซียม สถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงของ
                                                            โรมัน เป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความ
                                                            รุ่งเรืองของประวัติศาสตร์สมัยโบราณ
                                                        ที่มา : http://www.baanmaha.com/community/thread23536.html




                   (๒) ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มภายหลังกรุงโรมแตกใน พ.ศ. ๑๐๑๙ ถึง พ.ศ.
๑๙๙๖ เมื่อพวกเติร์ก (Turk) ที่นับถือศาสนาอิสลามตีกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ปัจจุบัน คือ
อิสตันบูล ประเทศตุรกี) ของอาณาจักรโรมันตะวันออกแตก เป็นสมัยที่อารยธรรมหยุดชะงักใน
ช่วงแรก และเริ่มเปลี่ยนแปลงในครึ่งหลัง
                   (๓) ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มภายหลังกรุงคอนสแตนติโนเปิลแตก จนสิ้นสุด
สงครามโลกครั้งที่ ๒ ในพ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงมากมายทั้งด้านศาสนา (มีการ
ปฏิรูปศาสนา) ด้านการปกครอง (เกิดแนวคิดเสรีเสรีนิยมประชาธิปไตย และคอมมิวนิสต์) ด้าน
เศรษฐกิจ (มีการขยายเส้นทางการค้า มีการแสวงหาดินแดนใหม่มาเป็นอาณานิคม มีการปฏิวัติ
อุตสาหกรรม)
                   (๔) ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ จนถึงปัจจุบัน
เป็นสมัยที่โลกมีความก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าสมัยใดๆ โดยเฉพาะเครื่องมือ
และอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ เครื่องระบุ
ตาแหน่งบนพื้นโลก (จีพีเอส) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่รับสัญญาณจากดาวเทียมกาหนดตาแหน่งบนโลก
ที่ใช้ข้อมูลพื้นฐานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทาให้การติดต่อในโลกเป็นไปอย่างสะดวกและ
รวดเร็วมากขึ้น
                   การแบ่งยุคสมัยดังที่กล่าวมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ทาให้เข้าใจง่ายขึ้นโดยไม่ต้อง
กล่าวถึงเวลาที่เป็นศักราช เช่นกล่าวว่า ในประวัติศาสตร์สมัยใหม่โลกมีการเปลี่ยนแปลงทางด้าน
คมนาคม มีเรือกลไฟ รถไฟ เป็นต้น ก็จะทาให้เรารู้ว่าคาพูดนี้หมายถึงช่วงเวลาใด โดยไม่ต้องระบุ
ศักราช อย่างไรก็ดี ในประวัติศาสตร์ไทยไม่ค่อยนิยมใช้ แต่จะใช้อาณาจักรหรือราชธานีเป็น
ตัวกาหนด
                                        เรื่องน่ ารู้
                                                         มัสยิดเซนต์โซเฟีย ตั้งอยู่ในกรุงคอนสแตนติโนเปิล
                                                         ประเทศตุรกี เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปกรรม
                                                         แบบคริสเตียนกับอิสลาม จนได้รบการบันทึกให้เป็น
                                                                                          ั
                                                         ๑ ใน ๗ สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลาง

                                                ที่มา : http://www.wonder7th.com/2hagia_sophia.htm
๒๓
การแบ่งช่วงเวลาตามแบบไทย
        การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ไทยมีทั้งสอดคล้องและแตกต่างไปจากแบบสากลใน
ส่วนที่สอดคล้องหรือเหมือนกับแบบสากล ก็คือ ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่แบ่งเป็นยุคหินและยุค
โลหะ แต่พอมาถึงสมัยประวัติศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ไทยจะไม่นิยมแบ่งเป็นสมัยโบราณ สมัย
กลาง สมัยใหม่ และร่วมสมัย แต่จะจัดแบ่งให้เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย ซึ่งภาพรวมการแบ่ง
ช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ไทยจะนิยมใช้รูปแบบดังต่อไปนี้
               ๑) แบ่งตามสมัย การแบ่งออกเป็นสมัยจะแบ่งอย่างกว้างๆ ออกเป็นสมัยก่อน
ประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ ดังนี้
                  (๑) สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีอายุตั้งแต่ประมาณ ๗๐๐,๐๐๐ ปี – ๑,๒๐๐ ปี
ล่วงมาแล้ว สาหรับก่อนประวัติศาสตร์ก็ยังแบ่งย่อยออกเป็นยุคหิน (ยุคหินเก่า หินกลาง และ
หินใหม่) และยุคโลหะ (สาริดและเหล็ก) ทั้งนี้ได้มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อน
ประวัติศาสตร์ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ตัวอย่างเช่น

       ยุค                    แหล่งค้นพบ                        เครื่องมือที่พบ
                   พบเครื่องมือหินยุคหินเก่า จาก
    ยุคหินเก่า     แหล่งโบราณคดีถ้าฉานเรน ตาบล
                   ตะโก อาเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร

                   พบขวานหินยุคหินกลาง จากแหล่ง
   ยุคหินกลาง      โบราณคดีบ้านพลีควาย ตาบล
                   กระดังงา อาเภอสทิงพระ จังหวัด
                   สงขลา
                   พบขวานหินขัด จากการขุดค้นที่
   ยุคหินใหม่      โคกพนมดี อาเภอพนัสนิคม จังหวัด
                   ชลบุรี

                   พบขวานสาริด ที่บ้านเชียง
    ยุคสาริด       อาเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

                   พบเครื่องมือเหล็ก
    ยุคเหล็ก       ที่บ้านดอนตาเพชร
                   อาเภอพนมทวน
                   จังหวัดกาญจนบุรี
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

ห้องสีขาว 1.1
ห้องสีขาว 1.1ห้องสีขาว 1.1
ห้องสีขาว 1.1peter dontoom
 
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1prayut2516
 
แบบประเมินการนำเสนอผลงาน
แบบประเมินการนำเสนอผลงานแบบประเมินการนำเสนอผลงาน
แบบประเมินการนำเสนอผลงานKhemjira_P
 
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาThongsawan Seeha
 
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์สมศรี หอมเนียม
 
Slชุดฝึกเฉลยแบบฝึกทักษะ
SlชุดฝึกเฉลยแบบฝึกทักษะSlชุดฝึกเฉลยแบบฝึกทักษะ
Slชุดฝึกเฉลยแบบฝึกทักษะkrupornpana55
 
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน หน่วย พลังงานไฟฟ้า
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน  หน่วย พลังงานไฟฟ้าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน  หน่วย พลังงานไฟฟ้า
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน หน่วย พลังงานไฟฟ้าdnavaroj
 
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาThongsawan Seeha
 
เฉลยฝึกหัดการแต่งโคลงสี่สุภาพ
เฉลยฝึกหัดการแต่งโคลงสี่สุภาพเฉลยฝึกหัดการแต่งโคลงสี่สุภาพ
เฉลยฝึกหัดการแต่งโคลงสี่สุภาพกึม จันทิภา
 
Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57
Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57
Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57Pracha Wongsrida
 
ชุดการสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ
ชุดการสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือชุดการสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ
ชุดการสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือSAKANAN ANANTASOOK
 
ถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ
ถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ
ถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการsupaporn2516mw
 
142968777910465
142968777910465142968777910465
142968777910465YingZaa TK
 
เรียงความ Is1
เรียงความ Is1เรียงความ Is1
เรียงความ Is1panisra
 
แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ_ม.4
แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ_ม.4แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ_ม.4
แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ_ม.4Sivagon Soontong
 

La actualidad más candente (20)

ห้องสีขาว 1.1
ห้องสีขาว 1.1ห้องสีขาว 1.1
ห้องสีขาว 1.1
 
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
 
แบบประเมินการนำเสนอผลงาน
แบบประเมินการนำเสนอผลงานแบบประเมินการนำเสนอผลงาน
แบบประเมินการนำเสนอผลงาน
 
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
 
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม3
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม3เอกสารประกอบการเรียนเล่ม3
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม3
 
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
 
Slชุดฝึกเฉลยแบบฝึกทักษะ
SlชุดฝึกเฉลยแบบฝึกทักษะSlชุดฝึกเฉลยแบบฝึกทักษะ
Slชุดฝึกเฉลยแบบฝึกทักษะ
 
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน หน่วย พลังงานไฟฟ้า
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน  หน่วย พลังงานไฟฟ้าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน  หน่วย พลังงานไฟฟ้า
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน หน่วย พลังงานไฟฟ้า
 
หน่วย 2
หน่วย 2หน่วย 2
หน่วย 2
 
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
 
ใบงาน อเมริกาเหนือ
ใบงาน อเมริกาเหนือใบงาน อเมริกาเหนือ
ใบงาน อเมริกาเหนือ
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๕
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๕แผนการจัดการเรียนรู้ที่๕
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๕
 
เฉลยฝึกหัดการแต่งโคลงสี่สุภาพ
เฉลยฝึกหัดการแต่งโคลงสี่สุภาพเฉลยฝึกหัดการแต่งโคลงสี่สุภาพ
เฉลยฝึกหัดการแต่งโคลงสี่สุภาพ
 
Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57
Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57
Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57
 
ชุดการสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ
ชุดการสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือชุดการสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ
ชุดการสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ
 
คำศัพท์พื้นฐานชั้น ป.4
คำศัพท์พื้นฐานชั้น ป.4คำศัพท์พื้นฐานชั้น ป.4
คำศัพท์พื้นฐานชั้น ป.4
 
ถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ
ถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ
ถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ
 
142968777910465
142968777910465142968777910465
142968777910465
 
เรียงความ Is1
เรียงความ Is1เรียงความ Is1
เรียงความ Is1
 
แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ_ม.4
แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ_ม.4แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ_ม.4
แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ_ม.4
 

Destacado

รายวิชาสังคมศึกษาพื้นฐาน รหัสวิชา ส 21101
รายวิชาสังคมศึกษาพื้นฐาน รหัสวิชา ส 21101รายวิชาสังคมศึกษาพื้นฐาน รหัสวิชา ส 21101
รายวิชาสังคมศึกษาพื้นฐาน รหัสวิชา ส 21101spk906
 
เอกสารประกอบการเรียน เศรษฐกิจ1ฯ
เอกสารประกอบการเรียน เศรษฐกิจ1ฯเอกสารประกอบการเรียน เศรษฐกิจ1ฯ
เอกสารประกอบการเรียน เศรษฐกิจ1ฯthnaporn999
 
วิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดสาระเศรษฐ
วิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดสาระเศรษฐวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดสาระเศรษฐ
วิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดสาระเศรษฐนันทนา วงศ์สมิตกุล
 
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์Kruorawan Kongpila
 
หัวข้อที่ ๒ หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๒  หลักฐานทางประวัติศาสตร์หัวข้อที่ ๒  หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๒ หลักฐานทางประวัติศาสตร์chakaew4524
 
การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์
การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์
การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์Thanawut Rattanadon
 
บทที่ 1 วิธีการทางประวัติศาสตร์ และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
บทที่ 1 วิธีการทางประวัติศาสตร์  และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์บทที่ 1 วิธีการทางประวัติศาสตร์  และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
บทที่ 1 วิธีการทางประวัติศาสตร์ และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์krunumc
 
เอกสารประกอบการเรียประวัติศาสตร์
เอกสารประกอบการเรียประวัติศาสตร์เอกสารประกอบการเรียประวัติศาสตร์
เอกสารประกอบการเรียประวัติศาสตร์พัน พัน
 

Destacado (12)

รายวิชาสังคมศึกษาพื้นฐาน รหัสวิชา ส 21101
รายวิชาสังคมศึกษาพื้นฐาน รหัสวิชา ส 21101รายวิชาสังคมศึกษาพื้นฐาน รหัสวิชา ส 21101
รายวิชาสังคมศึกษาพื้นฐาน รหัสวิชา ส 21101
 
เอกสารประกอบการเรียน เศรษฐกิจ1ฯ
เอกสารประกอบการเรียน เศรษฐกิจ1ฯเอกสารประกอบการเรียน เศรษฐกิจ1ฯ
เอกสารประกอบการเรียน เศรษฐกิจ1ฯ
 
วิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดสาระเศรษฐ
วิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดสาระเศรษฐวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดสาระเศรษฐ
วิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดสาระเศรษฐ
 
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
 
ผลสอบปรีชาญาณ59
ผลสอบปรีชาญาณ59ผลสอบปรีชาญาณ59
ผลสอบปรีชาญาณ59
 
ช่วยเหลือ
ช่วยเหลือช่วยเหลือ
ช่วยเหลือ
 
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม2
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม2เอกสารประกอบการเรียนเล่ม2
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม2
 
หัวข้อที่ ๒ หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๒  หลักฐานทางประวัติศาสตร์หัวข้อที่ ๒  หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๒ หลักฐานทางประวัติศาสตร์
 
การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์
การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์
การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์
 
บทที่ 1 วิธีการทางประวัติศาสตร์ และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
บทที่ 1 วิธีการทางประวัติศาสตร์  และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์บทที่ 1 วิธีการทางประวัติศาสตร์  และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
บทที่ 1 วิธีการทางประวัติศาสตร์ และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
 
เอกสารประกอบการเรียประวัติศาสตร์
เอกสารประกอบการเรียประวัติศาสตร์เอกสารประกอบการเรียประวัติศาสตร์
เอกสารประกอบการเรียประวัติศาสตร์
 
สรุปวิชาประวัติศาสตร์
สรุปวิชาประวัติศาสตร์สรุปวิชาประวัติศาสตร์
สรุปวิชาประวัติศาสตร์
 

Similar a เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1

บทเรียนสำเร็จรูป ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย
บทเรียนสำเร็จรูป ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัยบทเรียนสำเร็จรูป ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย
บทเรียนสำเร็จรูป ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัยairja
 
วันออกพรรษา
วันออกพรรษาวันออกพรรษา
วันออกพรรษาsuchinmam
 
วันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชาวันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชาsuchinmam
 
วันเข้าพรรษา
วันเข้าพรรษาวันเข้าพรรษา
วันเข้าพรรษาsuchinmam
 
แผนการเรียนรู้ที่1 เรื่อง ถ่ายทอดพันธุกรรม
แผนการเรียนรู้ที่1 เรื่อง ถ่ายทอดพันธุกรรมแผนการเรียนรู้ที่1 เรื่อง ถ่ายทอดพันธุกรรม
แผนการเรียนรู้ที่1 เรื่อง ถ่ายทอดพันธุกรรมWichai Likitponrak
 
โครงงานคณิตศาสตร์math_box_lock_ความเย็น.pdf
โครงงานคณิตศาสตร์math_box_lock_ความเย็น.pdfโครงงานคณิตศาสตร์math_box_lock_ความเย็น.pdf
โครงงานคณิตศาสตร์math_box_lock_ความเย็น.pdfmimizung
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...Kobwit Piriyawat
 
สื่อประสมปก
สื่อประสมปกสื่อประสมปก
สื่อประสมปกkrupornpana55
 
09แผน เรื่อง ทอร์กกับการเคลื่อนที่แบบหมุน
09แผน เรื่อง ทอร์กกับการเคลื่อนที่แบบหมุน09แผน เรื่อง ทอร์กกับการเคลื่อนที่แบบหมุน
09แผน เรื่อง ทอร์กกับการเคลื่อนที่แบบหมุนWijitta DevilTeacher
 
E0b981e0b89ce0b899e0b881e0b8b2e0b8a3e0b888e0b8b1e0b894e0b881e0b8b2e0b8a3e0b98...
E0b981e0b89ce0b899e0b881e0b8b2e0b8a3e0b888e0b8b1e0b894e0b881e0b8b2e0b8a3e0b98...E0b981e0b89ce0b899e0b881e0b8b2e0b8a3e0b888e0b8b1e0b894e0b881e0b8b2e0b8a3e0b98...
E0b981e0b89ce0b899e0b881e0b8b2e0b8a3e0b888e0b8b1e0b894e0b881e0b8b2e0b8a3e0b98...Sirirat Faiubon
 
นำเสนองานวิจัยประชุมวิชาการ มศว นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
นำเสนองานวิจัยประชุมวิชาการ มศว นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์นำเสนองานวิจัยประชุมวิชาการ มศว นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
นำเสนองานวิจัยประชุมวิชาการ มศว นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์Kobwit Piriyawat
 
วันธรรมสวนะ
วันธรรมสวนะวันธรรมสวนะ
วันธรรมสวนะsuchinmam
 
วิจัยในชั้นเรียนตรีโกณมิติ
วิจัยในชั้นเรียนตรีโกณมิติวิจัยในชั้นเรียนตรีโกณมิติ
วิจัยในชั้นเรียนตรีโกณมิติWichai Likitponrak
 

Similar a เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1 (20)

บทเรียนสำเร็จรูป ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย
บทเรียนสำเร็จรูป ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัยบทเรียนสำเร็จรูป ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย
บทเรียนสำเร็จรูป ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย
 
1
11
1
 
วันออกพรรษา
วันออกพรรษาวันออกพรรษา
วันออกพรรษา
 
วันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชาวันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา
 
วันเข้าพรรษา
วันเข้าพรรษาวันเข้าพรรษา
วันเข้าพรรษา
 
Workhistrory1
Workhistrory1Workhistrory1
Workhistrory1
 
แผนการเรียนรู้ที่1 เรื่อง ถ่ายทอดพันธุกรรม
แผนการเรียนรู้ที่1 เรื่อง ถ่ายทอดพันธุกรรมแผนการเรียนรู้ที่1 เรื่อง ถ่ายทอดพันธุกรรม
แผนการเรียนรู้ที่1 เรื่อง ถ่ายทอดพันธุกรรม
 
โครงงานคณิตศาสตร์math_box_lock_ความเย็น.pdf
โครงงานคณิตศาสตร์math_box_lock_ความเย็น.pdfโครงงานคณิตศาสตร์math_box_lock_ความเย็น.pdf
โครงงานคณิตศาสตร์math_box_lock_ความเย็น.pdf
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
 
แผนที16
แผนที16แผนที16
แผนที16
 
สื่อประสมปก
สื่อประสมปกสื่อประสมปก
สื่อประสมปก
 
09แผน เรื่อง ทอร์กกับการเคลื่อนที่แบบหมุน
09แผน เรื่อง ทอร์กกับการเคลื่อนที่แบบหมุน09แผน เรื่อง ทอร์กกับการเคลื่อนที่แบบหมุน
09แผน เรื่อง ทอร์กกับการเคลื่อนที่แบบหมุน
 
E0b981e0b89ce0b899e0b881e0b8b2e0b8a3e0b888e0b8b1e0b894e0b881e0b8b2e0b8a3e0b98...
E0b981e0b89ce0b899e0b881e0b8b2e0b8a3e0b888e0b8b1e0b894e0b881e0b8b2e0b8a3e0b98...E0b981e0b89ce0b899e0b881e0b8b2e0b8a3e0b888e0b8b1e0b894e0b881e0b8b2e0b8a3e0b98...
E0b981e0b89ce0b899e0b881e0b8b2e0b8a3e0b888e0b8b1e0b894e0b881e0b8b2e0b8a3e0b98...
 
นำเสนองานวิจัยประชุมวิชาการ มศว นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
นำเสนองานวิจัยประชุมวิชาการ มศว นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์นำเสนองานวิจัยประชุมวิชาการ มศว นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
นำเสนองานวิจัยประชุมวิชาการ มศว นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
 
วันธรรมสวนะ
วันธรรมสวนะวันธรรมสวนะ
วันธรรมสวนะ
 
รายงานการประเมินตนเองรายบุคคล Sar
รายงานการประเมินตนเองรายบุคคล Sarรายงานการประเมินตนเองรายบุคคล Sar
รายงานการประเมินตนเองรายบุคคล Sar
 
03chap1
03chap103chap1
03chap1
 
วิจัยในชั้นเรียนตรีโกณมิติ
วิจัยในชั้นเรียนตรีโกณมิติวิจัยในชั้นเรียนตรีโกณมิติ
วิจัยในชั้นเรียนตรีโกณมิติ
 
หน่วย 3
หน่วย 3 หน่วย 3
หน่วย 3
 
หน่วย 3
หน่วย 3 หน่วย 3
หน่วย 3
 

Más de ชิตชัย โพธิ์ประภา

รายชื่อผู้เข้าค่าย ศูนย์ สอวน. ชีววิทยา
รายชื่อผู้เข้าค่าย ศูนย์ สอวน. ชีววิทยารายชื่อผู้เข้าค่าย ศูนย์ สอวน. ชีววิทยา
รายชื่อผู้เข้าค่าย ศูนย์ สอวน. ชีววิทยาชิตชัย โพธิ์ประภา
 
4กำหนดการเข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการ ค่าย 1
4กำหนดการเข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการ ค่าย 1 4กำหนดการเข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการ ค่าย 1
4กำหนดการเข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการ ค่าย 1 ชิตชัย โพธิ์ประภา
 
6รายชื่อนักเรียนเข้าค่าย 1 ปีการศึกษา 2556
6รายชื่อนักเรียนเข้าค่าย 1  ปีการศึกษา 25566รายชื่อนักเรียนเข้าค่าย 1  ปีการศึกษา 2556
6รายชื่อนักเรียนเข้าค่าย 1 ปีการศึกษา 2556ชิตชัย โพธิ์ประภา
 
ตารางเวรครูชาย เดือน ต.ค.ถึง มี.ค. 2556
ตารางเวรครูชาย เดือน ต.ค.ถึง มี.ค. 2556ตารางเวรครูชาย เดือน ต.ค.ถึง มี.ค. 2556
ตารางเวรครูชาย เดือน ต.ค.ถึง มี.ค. 2556ชิตชัย โพธิ์ประภา
 
คู่มือนักเรียนและผู้ปกครอง ฝ่ายกิจการนักเรียน
คู่มือนักเรียนและผู้ปกครอง ฝ่ายกิจการนักเรียนคู่มือนักเรียนและผู้ปกครอง ฝ่ายกิจการนักเรียน
คู่มือนักเรียนและผู้ปกครอง ฝ่ายกิจการนักเรียนชิตชัย โพธิ์ประภา
 
โครงการประชุมวิชาการนักเรียนโครงการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้ง...
โครงการประชุมวิชาการนักเรียนโครงการวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี  ครั้ง...โครงการประชุมวิชาการนักเรียนโครงการวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี  ครั้ง...
โครงการประชุมวิชาการนักเรียนโครงการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้ง...ชิตชัย โพธิ์ประภา
 

Más de ชิตชัย โพธิ์ประภา (20)

รายชื่อผู้เข้าค่าย ศูนย์ สอวน. ชีววิทยา
รายชื่อผู้เข้าค่าย ศูนย์ สอวน. ชีววิทยารายชื่อผู้เข้าค่าย ศูนย์ สอวน. ชีววิทยา
รายชื่อผู้เข้าค่าย ศูนย์ สอวน. ชีววิทยา
 
ครุฑน้อยกับเห็ดพิษ
ครุฑน้อยกับเห็ดพิษครุฑน้อยกับเห็ดพิษ
ครุฑน้อยกับเห็ดพิษ
 
ทหารหาญ
ทหารหาญทหารหาญ
ทหารหาญ
 
ยีราฟกลับใจ
ยีราฟกลับใจยีราฟกลับใจ
ยีราฟกลับใจ
 
วานรขาวเจ้าปัญญา
วานรขาวเจ้าปัญญาวานรขาวเจ้าปัญญา
วานรขาวเจ้าปัญญา
 
สมบัติวิเศษ
สมบัติวิเศษสมบัติวิเศษ
สมบัติวิเศษ
 
วิหคสีรุ้ง
วิหคสีรุ้งวิหคสีรุ้ง
วิหคสีรุ้ง
 
5ตารางสรุปจำนวนนักเรียน
5ตารางสรุปจำนวนนักเรียน5ตารางสรุปจำนวนนักเรียน
5ตารางสรุปจำนวนนักเรียน
 
4กำหนดการเข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการ ค่าย 1
4กำหนดการเข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการ ค่าย 1 4กำหนดการเข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการ ค่าย 1
4กำหนดการเข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการ ค่าย 1
 
3แนวปฏิบัติการอยู่ค่าย
3แนวปฏิบัติการอยู่ค่าย3แนวปฏิบัติการอยู่ค่าย
3แนวปฏิบัติการอยู่ค่าย
 
1โครงการขยายผล สอวน
1โครงการขยายผล สอวน1โครงการขยายผล สอวน
1โครงการขยายผล สอวน
 
6รายชื่อนักเรียนเข้าค่าย 1 ปีการศึกษา 2556
6รายชื่อนักเรียนเข้าค่าย 1  ปีการศึกษา 25566รายชื่อนักเรียนเข้าค่าย 1  ปีการศึกษา 2556
6รายชื่อนักเรียนเข้าค่าย 1 ปีการศึกษา 2556
 
ตารางเวรครูชาย เดือน ต.ค.ถึง มี.ค. 2556
ตารางเวรครูชาย เดือน ต.ค.ถึง มี.ค. 2556ตารางเวรครูชาย เดือน ต.ค.ถึง มี.ค. 2556
ตารางเวรครูชาย เดือน ต.ค.ถึง มี.ค. 2556
 
คู่มือนักเรียนและผู้ปกครอง ฝ่ายกิจการนักเรียน
คู่มือนักเรียนและผู้ปกครอง ฝ่ายกิจการนักเรียนคู่มือนักเรียนและผู้ปกครอง ฝ่ายกิจการนักเรียน
คู่มือนักเรียนและผู้ปกครอง ฝ่ายกิจการนักเรียน
 
ตารางการนำเสนอโครงงาน
ตารางการนำเสนอโครงงานตารางการนำเสนอโครงงาน
ตารางการนำเสนอโครงงาน
 
รายชื่อครูวิพากษ์โครงงาน
รายชื่อครูวิพากษ์โครงงานรายชื่อครูวิพากษ์โครงงาน
รายชื่อครูวิพากษ์โครงงาน
 
โครงการประชุมวิชาการนักเรียนโครงการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้ง...
โครงการประชุมวิชาการนักเรียนโครงการวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี  ครั้ง...โครงการประชุมวิชาการนักเรียนโครงการวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี  ครั้ง...
โครงการประชุมวิชาการนักเรียนโครงการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้ง...
 
รายชื่อโรงแรมในจังหวัดแพร่
รายชื่อโรงแรมในจังหวัดแพร่รายชื่อโรงแรมในจังหวัดแพร่
รายชื่อโรงแรมในจังหวัดแพร่
 
ปอซอ
ปอซอปอซอ
ปอซอ
 
ฮารีรายอ
ฮารีรายอฮารีรายอ
ฮารีรายอ
 

เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1

  • 1. เอกสารประกอบการเรียน หน่วยที่ ๑ เรื่อง เวลาและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ วิชา ประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส ๒๑๑๐๓ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ นางภัทรานิษฐ์ อิ่มศิล ตาแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชานาญการ โรงเรียนวังบ่อวิทยา สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
  • 2. คานา ในปัจจุบันสภาพการจัดการเรียนการสอน มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองให้ มากที่สุด เพื่อให้ผู้เรียนมีนิสัย ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ อยู่เสมอ ดังนั้นการจัดทาเอกสารประกอบการเรียน เป็นแนวทางหนึ่งที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นคว้าหาคาตอบด้วยตนเอง เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาประวัติศาสตร์ ส ๒๑๑๐๓ เรื่อง เวลาและการแบ่งยุค สมัยทางประวัติศาสตร์ ประกอบด้วยหัวข้อเรื่อง ความนา สาระสาคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนเรียน เนื้อหา กิจกรรม แบบฝึก และแบบทดสอบหลังเรียน พร้อมเฉลย ซึ่งจะทา ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและมีความเข้าใจในเนื้อหาสาระได้เป็นอย่างดี อีกทั้งทาให้ ผู้เรียนสะดวกต่อการศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเอง จึงนับได้ว่าเป็นเอกสารประกอบการเรียนที่มี ประโยชน์ต่อการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง ขอขอบคุณเจ้าของตาราที่นามาอ้างอิงไว้ในเอกสาร และนายเชาวฤทธิ์ จงเกษกรณ์ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒ ที่ให้คาปรึกษาจน เอกสารฉบับนี้มีความชัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ภัทรานิษฐ์ อิ่มศิล
  • 3. สารบัญ เรื่อง หน้า คานา ก สารบัญ ข คาชี้แจง ค หน่วยที่ ๑ เวลาและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ๑ แบบทดสอบก่อนเรียน ๒ เฉลยคาตอบแบบทดสอบก่อนเรียน ๕ ตอนที่ ๑ ความสาคัญของเวลาและช่วงเวลา ๖ กิจกรรมที่ ๑ ๘ แนวตอบกิจกรรมที่ ๑ ๙ ตอนที่ ๒ การนับและการเปรียบเทียบศักราชแบบต่างๆ ๑๐ กิจกรรมที่ ๒ ๑๓ แนวตอบกิจกรรมที่ ๒ ๑๔ กิจกรรมที่ ๓ ๑๕ แนวตอบกิจกรรมที่ ๓ ๑๖ ตอนที่ ๓ ตัวอย่างศักราชในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ๑๗ กิจกรรมที่ ๔ ๑๘ แนวตอบกิจกรรมที่ ๔ ๑๙ ตอนที่ ๔ การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ๒๐ กิจกรรมที่ ๕ ๓๐ แนวตอบกิจกรรมที่ ๕ ๓๑ กิจกรรมที่ ๖ ๓๒ แนวตอบกิจกรรมที่ ๖ ๓๓ ตอนที่ ๕ ตัวอย่างการใช้เวลา ข่วงเวลา และสมัยทีปรากฏ ่ ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย ๓๔ กิจกรรมที่ ๗ ๓๖ แนวตอบกิจกรรมที่ ๗ ๓๘ ตอนที่ ๖ ความสัมพันธ์และความสาคัญของอดีตที่มีต่อปัจจุบัน และอนาคต ๓๙ กิจกรรมที่ ๘ ๔๑ แนวตอบกิจกรรมที่ ๘ ๔๒ แบบทดสอบก่อนเรียน ๔๓ เฉลยคาตอบแบบทดสอบก่อนเรียน ๔๖ เอกสารอ้างอิง ๔๗
  • 4. คาชี้แจงสาหรับนักเรียน เอกสารประกอบการเรียนเล่มนี้ นักเรียนสามารถศึกษาและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ก่อนที่จะ ศึกษาและเรียนรู้ให้นักเรียนอ่านคาชี้แจง ดังนี้ ๑. ศึกษา หัวข้อเรื่อง ความนา สาระสาคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้ทราบว่า เมื่อจบ บทเรียน นักเรียนสามารถเรียนรู้อะไรได้บ้าง ๒. ทาแบบทดสอบก่อนเรียน จานวน ๒๐ ข้อแล้วตรวจคาตอบจากเฉลย ๓. ศึกษาเนื้อหา สาระ รายละเอียดในตอนที่ ๑ ถึงตอนที่ ๖ ๔. ทากิจกรรมตามที่กาหนดให้ด้วยตนเอง ถ้าทาไม่ได้ หรือสงสัยให้อ่านทบทวนเนื้อเรื่อง ใหม่ แล้วตรวจคาตอบจากเฉลย ๕. ทาแบบทดสอบหลังเรียน แล้วตรวจคาตอบจากเฉลย
  • 5. หน่วยที่๑ เวลาและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ เวลา ๖ คาบ หัวข้อเรื่อง ๑. ความสาคัญของเวลาและช่วงเวลา ๒. การนับและการเปรียบเทียบศักราชแบบต่างๆ ๓. ตัวอย่างศักราชในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ๔. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ๕. ตัวอย่างการใช้เวลา ช่วงเวลา และยุคสมัยที่ปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย ๖. ความสัมพันธ์และความสาคัญของอดีตที่มีต่อปัจจุบันและอนาคต ความนา การศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องราวของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในเวลาต่างๆซึ่งเวลาจะบอก ให้รู้ว่าเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตผ่านไปมมากน้อยแค่ใด ถ้าเวลาไม่นานก็บอกหรือนับเป็นช่วงเวลา คือ วัน เดือน ปี แต่ถ้าเวลาเป็นช่วงยาวมากกว่า ก็บอกหรือนับเป็นยุค สมัย ศักราช ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ ศึกษาเกิดความเข้าใจตรงกัน สามารถเปรียบเทียบกันได้ ทาให้การศึกษาประวัติศาสตร์มีความ ถูกต้องมากยิ่งขึ้น ในการศึกษาและการทาความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของเวลาและการบ่งยุคสมัยทาง ประวัติศาสตร์จะช่วยให้เกิดความเข้าใจในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ได้ดียิ่งขึ้น และประวัติศาสตร์ จะเป็นส่วนสาคัญที่มนุษย์จาเป็นต้องศึกษา เพื่อนาแนวทางในอดีตมาปรับประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน สาระสาคัญ ประวัติศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวของสังคมมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไปในมิติของเวลา เพราะกาลเวลาจะบอกให้รู้ว่าเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตผ่านไปนานมากน้อยแค่ไหน ถ้าไม่นาน มากก็บอกเป็นเดือน เป็นปี หรือศักราช แต่ถ้านานมากขึ้นก็บอกเป็นช่วงเวลาหรือสมัย ถ้านานๆก็ บอกเป็นยุค ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันและสามารถเปรียบเทียบได้ จุดประสงค์การเรียนรู้ หลังจากศึกษาเนื้อหาและทากิจกรรมในหน่วยนี้แล้ว ผู้เรียนจะสามารถทาสิ่งต่อไปนี้ได้ ๑. บอกความสาคัญของเวลาและช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ได้ ๒. นับและเปรียบเทียบศักราชแบบต่างๆที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ได้ ๓. อธิบายตัวอย่างศักราชในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ ๔. แบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง ๕. อธิบายและยกตัวอย่างการใช้เวลา ช่วงเวลา และยุคสมัยที่ปรากฏในหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ไทยได้ ๖. บอกความสัมพันธ์และความสาคัญของอดีตที่มีผลต่อปัจจุบันและอนาคตได้
  • 6. แบบทดสอบก่อนเรียน ประจาหน่วยที่ ๑ คาชี้แจง ข้อสอบเป็นแบบปรนัย ชนิด ๔ ตัวเลือก จานวน ๒๐ ข้อ คาสั่ง จงเลือกคาตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคาตอบเดียว แล้วกากบาท () ลงในกระดาษคาตอบ ๑. ปัจจุบันศักราชแบบใดเป็นที่นิยมใช้ในประวัติศาสตร์ไทย ก. มหาศักราช ข. พุทธศักราช ค. จุลศักราช ง. รัตนโกสินทร์ศก ๒. พุทธศักราช ๒๕๕๔ ตรงกับพุทธศตวรรษที่เท่าใด ก. พุทธศตวรรษที่ ๒๓ ข. พุทธศตวรรษที่ ๒๔ ค. พุทธศตวรรษที่ ๒๕ ง. พุทธศตวรรษที่ ๒๖ ๓. เวลามีความสาคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างไรบ้าง ก. ใช้หาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ข. ใช้บอกรายละเอียดเหตุการณ์ที่สาคัญ ค. ใช้ในการลาดับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ง. ใช้พิจารณาว่าเหตุการณ์นั้นเป็นประวัติศาสตร์หรือไม่ ๔. ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) เป็นการนับศักราชที่เกี่ยวข้องกับศาสนาใด ก. ศาสนาอิสลาม ข. คริสต์ศาสนา ค. พระพุทธศาสนา ง. ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ๕. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง ก. พงศาวดารไทยสมัยอยุธยาใช้การนับแบบพุทธศักราช ข. การนับศักราชแบบรัตนโกสินทร์ศกเริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ค. ร.ศ. ๑ เท่ากับ พ.ศ. ๒๔๑๑ (ปีที่รัชกาลที่ ๕ ขึ้นครองราชย์) ง. พ.ศ. ๑ เริ่มใช้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ๖. “ศักราช ๘๙๕ มะเส็งศก สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรเจ้านฤพาน จึงสมเด็จพระราช กุมารได้เสวยราชสมบัติ” เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.ใด ก. ๒๐๗๖ ข. ๒๐๑๗ ค. ๑๕๑๖ ง. ๑๔๓๘
  • 7. ๓ ๗ หากต้องการเทียบ พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้เป็น รศ. ควรคิดอย่างไร ก. นา ๒๕๔๔ + ๖๒๑ ข. นา ๒๕๔๔ + ๑๑๘๑ ค. นา ๒๕๔๔ – ๕๔๓ ง. นา ๒๕๔๔ – ๒๓๒๔ ๘. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหนึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๑ ตรงกับ จ.ศ. ๙๓๑ เมื่อเทียบให้เป็น ค.ศ. จะตรงกับ ค.ศ.ใด ก. ๑๔๙๑ ข. ๙๓๑ ค. ๑๕๖๙ ง. ๙๙๐ ๙. ในการสารวจหาหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์จะต้องอาศัยนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญสาขาใด ก. นักจิตวิทยา ข. นักโบราณคดี ค. นักภาษาศาสตร์ ง. นักดาราศาสตร์ ๑๐. ข้อใดเรียงลาดับก่อน – หลังของสมัยก่อนประวัติศาสตร์ได้ถูกต้อง ก. ยุคสาริด ยุคหินใหม่ ยุคเหล็ก ข. ยุคสาริด ยุคเหล็ก ยุคหินใหม่ ค. ยุคหินใหม่ ยุคสาริด ยุคเหล็ก ง. ยุคเหล็ก ยุคหินกลาง ยุคสาริด ๑๑. การดารงชีวิตของมนุษย์ยุคหินเก่า จะมีลักษณะอย่างไร ก. รู้จักเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ข. อาศัยอยู่ตามถ้า ใช้เครื่องมือหินแบบหยาบ ค. มีการติดต่อค้าขายและรับอารยธรรมจากต่างแดน ง. ทาเครื่องมือหินที่ประณีตและเครื่องปั้นดินเผาผิวเรียบมัน ๑๒. ข้อใดคือพัฒนาการการดารงชีวิตของมนุษย์ในยุคหินใหม่ ก. ใช้ขวานหินขัด ข. ทากลองมโหระทึก ค. ใช้เครื่องมือหินกะเทาะ ง. ใช้เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทาจากเหล็ก ๑๓. หลักฐานในข้อใดที่แสดงให้เห็นว่าดินแดนประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ ก. จารึกศรีเทพ ข. จารึกวัดศรีชุม ค. จารึกปราสาทเขาน้อย ง. ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑
  • 8. ๔ ๑๔. การแบ่งช่วงเวลาเป็นสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ใช้เกณฑ์การแบ่งอย่างไร ก. มนุษย์รู้จักตั้งถิ่นฐาน ข. มนุษย์รู้จักเพาะปลูก ค. มนุษย์รู้จักสั่งสมวัฒนธรรม ง. มนุษย์รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ ๑๕. เหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๕๗ – ๒๔๖๑ อยู่ในช่วงสมัยใด ก. ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ ข. ประวัติศาสตร์สมัยกลาง ค. ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ง. ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ๑๖. เพราะเหตุใดมนุษย์ยุคเหล็กจึงนิยมใช้เหล็กในการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้มากกว่าสาริด ก. หาได้ง่ายกว่า ข. มีความสวยงามกว่า ค. นาไปขายได้ราคาแพงกว่า ง. มีความทนทานในการใช้งานมากกว่า ๑๗. สมัยอาณาจักรอยุธยาเริ่มขึ้นใน พ.ศ. ๑๘๙๓ จะอยู่ในประวัติศาสตร์สากลสมัยใด ก. สมัยโบราณ ข. สมัยกลาง ค. สมัยใหม่ ง. ร่วมสมัย ๑๘. การแบ่งยุคสมัยออกเป็นสมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ จะตรงกับหลักการแบ่ง ในข้อใด ก. แบ่งตามรัชกาล ข. แบ่งตามราชวงศ์ ค. แบ่งตามการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ง. แบ่งตามอาณาจักรและแบ่งตามราชธานี ๑๙. หลักฐานในข้อใดที่จะไม่ปรากฏให้เห็นในแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ก. กาไลสาริด ข. แผ่นจารึกอักษรโบราณ ค. เครื่องปั้นดินเผา ง. โครงกระดูก ๒๐. ปัจจุบันประเทศไทยมีกรุงเทพมหานครเป็นราชธานี จัดอยู่ในสมัยใด ก. สมัยสุโขทัย ข. สมัยอยุธยา ค. สมัยธนบุรี ง. สมัยรัตนโกสินทร์
  • 9. เฉลย แบบทดสอบก่อนเรียนประจาหน่วยที่ ๑ ๑. ข ๒. ค ๓. ค ๔. ก ๕. ข ๖. ง ๗. ง ๘. ค ๙. ข ๑๐. ค ๑๑. ข ๑๒. ก ๑๓. ค ๑๔. ง ๑๕. ค ๑๖. ง ๑๗. ข ๑๘. ง ๑๙. ข ๒๐. ง
  • 10. ตอนที่ ๑ ความสาคัญของเวลาและช่วงเวลา วันเวลามีความสาคัญและเกี่ยวข้องกับการดาเนินชีวิตของคนเรา วัน เวลา ทาให้เรารู้ว่า เหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเมื่อวัน เดือน ปีใด เหตุการณ์ใดเกิดก่อน เหตุการณ์ใดเกิดหลัง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือดาเนินอยู่ในช่วงเวลาที่ต่างกัน มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร และวัน เวลา ที่ผ่านไปทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ประวัติศาสตร์มีความสัมพันธ์กับเวลาอย่างมาก เพื่อให้เกิดความเข้าใจว่าเหตุการณ์ใน ประวัติศาสตร์เกิดขึ้นเมื่อใด มีคาที่ใช้บอกเวลาหลายอย่าง เช่น อดีต ยุคสมัย ทศวรรษ(๑๐ ปี) ศตวรรษ(๑๐๐ ปี) สหัสวรรษ(๑,๐๐๐ ปี) ซึ่งคาดังกล่าวจะทาให้เวลาในประวัติศาสตร์แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังใช้ศักราชมาบอกเวลาให้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อให้รู้ว่าเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์เกิดขึ้น เมื่อใดหรือช่วงเวลาใด ศักราชที่ใช้ในประวัติศาสตร์ไทยมีหลายอย่าง ที่นิยมใช้กันมากคือ พุทธศักราช (พ.ศ.) จุลศักราช(จ.ศ.) และรัตนโกสินทร์ศก(ร.ศ.) แต่ศักราชดังกล่าวเริ่มนับไม่พร้อม กัน จึงควรรู้ว่าวิธีไหนเทียบศักราชดังกล่าว เพื่อจะได้เข้าใจตรงกัน ประวัติศาสตร์ไทยถ้านับย้อนหลังไปถึงสมัยสุโขทัยก็เป็นเวลามากกว่า ๗๐๐ ปี ดังนั้น การ นับเวลาและช่วงเวลาจึงมีความสาคัญมาก เวลาในประวัติศาสตร์ นิยมบอกเป็นปี เช่น พ.ศ. ๑๘๒๖ พ่อขุนรามคาแหงมหาราชทรง ประดิษฐ์อักษรไทย ถ้าต้องการให้รู้ชัดเจนมากขึ้น เพราะมีความสาคัญมาก จะบอกเป็น วัน เดือน ปี เช่น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ วันปิยมหาราช ตรงกับวันเสด็จสวรรคต คือวันที่ ๒๓ ตุลาคม เป็นต้น ที่มา : http://orthodox.exteen.com/20100227/entry พ่อขุนรามคาแหงมหาราช กษัตริย์แห่งสุโขทัย ทรง ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๒๒-๑๘๔๑ ซึ่งเป็นช่วงเวลา ใกล้เคียงกุบไลข่าน (ภาพเล็ก) พ.ศ. ๑๘๐๓-๑๘๓๗ ข่า ของมองโกลที่มีอานาจปกครองจีนในขณะนั้น ที่มา : http://9sj-thaivijak.blogspot.com/2009_11_01_archive.html
  • 11. ช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ เป็นการบอกให้รู้เวลาที่ชัดเจนเกี่ยวกับบุคคลหรือเหตุการณ์ ทางประวัติศาสตร์ เช่น พ่อขุนรามคาแหงมหาราชครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๒๒ – ๑๘๔๑ สมัย สุโขทัยอยู่ในช่วงเวลา พ.ศ. ๑๗๙๒ – ๒๐๐๖ เป็นต้น ดังนั้น เวลาและช่วงเวลาจึงมีความสาคัญ ดังนี้ ๑. บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นหรือสิ้นสุดในเวลาใด ช่วงเวลาใด ๒. บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมานานเท่าใดแล้วเมื่อนับถึงปัจจุบัน ๓. บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก่อน หรือหลัง เมื่อเปรียบเทียบกับ เหตุการณ์อื่นๆ ๔. บอกให้รู้ถึงความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องของเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ เพราะอยู่ในเวลา หรือช่วงเวลาใกล้เคียงกัน เช่น กุบไลข่าน หรือคูบิไลข่าน (พ.ศ. ๑๘๐๓ – ๑๘๓๗) ข่านของพวกมองโกลที่ปกครองประเทศจีนขยายอานาจ ทาให้ผู้นาไทย คือ พ่อขุนรามคาแหงมหาราชแห่งอาณาจักรสุโขทัย พระยางาเมืองแห่งแคว้นพะเยาเป็น พันธมิตรกัน เมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๐ เพื่อปกป้องตนเอง ๕. ทาให้เข้าใจและวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ ในประวัติศาสตร์ได้ดีขึ้นเพราะกาลเวลาที่ เปลี่ยนแปลงหรือผ่านมา มนุษย์มีพัฒนาการ มีความเจริญรุ่งเรือง ทาให้มนุษย์ ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น เช่น โทรเลขที่เริ่มมีขึ้นในเมืองไทยสมัยรัชกาลที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๑๑ – ๒๔๕๓) และถือว่ามีความสาคัญและทันสมัยมาก แต่ในปัจจุบันเป็น ของล้าสมัย จนหมดความสาคัญ เพราะมีโทรศัพท์มือถือ มีอินเทอร์เน็ต (Internet) เข้ามาช่วยในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่า จะเห็นได้ว่านักประวัติศาสตร์หรือผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ ซึ่งศึกษาเหตุการณ์ในอดีตที่ ส่งผลกระทบถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันและอนาคตนั้น เมื่อศึกษาแล้วก็จะบอกเล่าเรื่องราวที่ตน ศึกษาออกมา การบอกเล่าเรื่องราวในช่วงเวลาต่าง ๆ ต้องใช้คาที่เกี่ยวกับช่วงเวลา เช่น ศักราช วัน เดือน ปี ชั่วโมง นาที ยุค สมัย เพื่อให้รู้ว่าเรื่องราวนั้นเกิดขึ้นเมื่อใด เหตุการณ์ใดเกิด ก่อนเกิดหลัง และเหตุการณ์ต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ดังนั้นประวัติศาสตร์จึงมี ความสัมพันธ์กับเวลาอย่างยิ่ง
  • 12. กิจกรรมที่ ๑ คาสั่ง ให้นักเรียนบอกความสาคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์ ๑) .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. ๒) ……………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………... ๓) ……………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………... ๔) ……………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………… ๕) ……………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………
  • 13. แนวตอบกิจกรรมที่ ๑ ๑. บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นหรือสิ้นสุดในเวลาใด ช่วงเวลาใด ๒. บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมานานเท่าใดแล้วเมื่อนับถึงปัจจุบัน ๓. บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก่อน หรือหลัง เมื่อเปรียบเทียบกับ เหตุการณ์อื่นๆ ๔. บอกให้รู้ถึงความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องของเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ เพราะอยู่ในเวลา หรือช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ๕. ทาให้เข้าใจและวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ ในประวัติศาสตร์ได้ดีขึ้นเพราะกาลเวลาที่ เปลี่ยนแปลงหรือผ่านมา มนุษย์มีพัฒนาการ มีความเจริญรุ่งเรือง ทาให้มนุษย์ ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น
  • 14. ๑๐ ตอนที่ ๒ การนับและการเปรียบเทียบศักราชแบบต่างๆ การศึกษาประวัติศาสตร์จะมีความสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีการระบุศักราช เพราะจะทาให้เรา ทราบว่าเหตุการณ์สาคัญต่างๆ เกิดขึ้นในช่วงเวลาใด การนับศักราชในประวัติศาสตร์ไทย มีทั้งการ นับศักราชแบบสากลและแบบไทย ดังต่อไปนี้ การนับศักราชแบบสากล คริสต์ศักราช เป็นศักราชทางศาสนาคริสต์ มีผู้นิยมใช้กันเป็นจานวนมากทั่วโลก (ค.ศ.) คริสต์ศักราชที่ ๑ เริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระเยซูคริสต์ประสูติ (ตรงกับ พ.ศ. ๕๔๔) คาว่า คริสต์ศักราช ใช้อักษรย่อว่า ค.ศ. หรือ A.D. (Anno Domini : เป็นภาษาละติน แปลว่า ปีแห่งพระผู้เป็นเจ้า) ระยะเวลาที่อยู่ก่อนคริสต์ศักราชลงไปเรียกว่า สมัยก่อนคริสต์ศักราช หรือก่อนคริสตกาล ใช้อักษรย่อว่า ก่อน ค.ศ. หรือ B.C. (Before Christ) ฮิจเราะห์ศักราช เป็นศักราชทางศาสนาอิสลาม โดยยึดปีที่ท่านนบีมุฮัมมัด ได้กระทา (ฮ.ศ.) ฮิจเราะห์ (Higra แปลว่า การอพยพโยกย้าย) คืออพยพจากเมือง เมกกะ ไปอยู่ที่เมืองเมดินะ ฮ.ศ. ๑ ตรงกับ พ.ศ.๑๑๖๕ แต่ปีหนึ่ง ของฮิจเราะห์ศักราชมี ๓๕๔ วัน จึงมีความคลาดเคลื่อนกับปีของ ๑ คริสต์ศักราชที่มี ๓๖๕ ๔ วัน จน ๓๒ ปีครึ่งจะมีความคลาดเคลื่อน เพิ่มขึ้นเป็น ๑ ปีไปเรื่อยๆปัจจุบันจะเทียบฮิจเราะห์ศักราชกับ พุทธศักราชต้องเอา ๑๑๒๒ ไปบวกหรือลบ พระเยซูคริสต์ทรงประสูติในคอกสัตว์ ท่านนบีมฮมมัดได้ กระทาฮิจเราะห์ คืออพยพจาก ูั ในเมืองเบธเลเฮม แคว้นยูเดีย ประเทศอิสราเอล เมืองเมกกะไปอยูที่เมืองเมดินะ ่ ที่มา : http://primary.bcc.ac.th/jesus/life/pictureweb/born/001.htm ที่มา : http://muslimchiangmai.net/index.php?topic=2107.0
  • 15. ๑๑ การนับศักราชแบบไทย พุทธศักราช พุทธศักราชเป็นศักราชทางพระพุทธศาสนา โดยไทยเริ่มนับ (พ.ศ.) พุทธศักราชที่ ๑ (พ.ศ.๑) เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไป แล้ว ๑ ปี ส่วนบางประเทศ เช่น พม่า ศรีลังกาจะเริ่มนับพุทธศักราชที่ ๑ ตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ไทยเริ่มใช้การนับ ศักราชแบบพุทธศักราชในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. ๒๑๙๙ – ๒๒๓๑) และนามาใช้กันอย่างแพร่หลายเป็น แบบอย่างของทางราชการตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๕ รัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา มหาศักราช พบหลายแห่งในหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัยและสมัย (ม.ศ.) อยุธยาตอนต้น การนับมหาศักราชนี้ พระเจ้ากนิษกะแห่งราชวงศ์ กุษาณะ กษัตริย์ผู้ครองแคว้นคันธารราฐของอินเดียทรงตั้งขึ้น เริ่ม ภายหลังพุทธศักราช ๖๒๑ ปี ภายหลังได้เผยแพร่เข้ามาสู่บริเวณ สุวรรณภูมิและประเทศไทยผ่านทางพวกพราหมณ์และพ่อค้าอินเดียที่ เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายยังดินแดนบริเวณแถบนี้ มหาศักราชพบ มากในศิลาจารึกสุโขทัยและศิลาจารึกของไทยรุ่นเก่าๆ จุลศักราช ผู้ตั้ง คือ โปปะสอระหันหรือบุปผะอรหันต์ หรือบุพโสรหัน (Popa (จ.ศ.) Sawrahan) ซึ่งภายหลังได้ลาสิกขาออกมาเป็นกษัตริย์ขึ้นครองแผ่นดิน พม่า จุลศักราชเริ่มภายหลังพุทธศักราช ๑,๑๘๑ ปี พบมากในศิลา จารึกและพงศาวดารต่างๆทั้งของล้านนา สุโขทัย อยุธยา และ รัตนโกสินทร์ตอนต้น รัตนโกสินทร์ศก เริ่มนับปีที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรง (ร.ศ.) สถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นราชธานีแห่งใหม่ของอาณาจักรไทย เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๕ เป็นรัตนโกสินทร์ศกที่ ๑ ทั้งนี้ไทยเริ่มใช้การนับ ศักราชแบบรัตนโกสินทร์ศกใน พ.ศ. ๒๔๓๒ กลางรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเลิกใช้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕ ตอนต้น รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อย่างไรก็ตาม การนับศักราชแบบต่างๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้น ในบางกรณีบางเหตุการณ์ก็ไม่ จาเป็นต้องนับอย่างละเอียด แต่อาจจะกล่าวหรือนับอย่างกว้างๆ เป็นอย่างอื่นอีกก็ได้ ที่นิยมใช้กัน มาก ได้แก่ ทศวรรษ (รอบ ๑๐ ปี) ศตวรรษ (รอบ ๑๐๐ ปี) สหัสวรรษ (รอบ ๑,๐๐๐ ปี) ต้นศตวรรษ (ประมาณ ๓๓ ปีแรกของศตวรรษ) ฯลฯ การนับเช่นนี้ เป็นการบอกช่วงเวลาอย่าง กว้าง โดยไม่ระบุศักราช
  • 16. ๑๒ การเทียบศักราชได้คล่องจะทาให้เราเรียนประวัติศาสตร์ได้อย่างมีความหมายและเข้าใจ มากขึ้น การเปรียบเทียบศักราชสามารถกระทาได้ง่ายๆ โดยนาตัวเลขผลต่างของอายุศักราช แต่ละศักราชมาบวกหือลบกับศักราชที่เราต้องการ ในปัจจุบันศักราชที่ใช้กันมาก คือ คริสต์ศักราชและพุทธศักราช เมื่อเทียบศักราชทั้งสอง ต้องใช้ ๕๔๓ บวกหรือลบ แล้วแต่กรณี ถ้าเทียบได้คล่องจะทาให้เข้าใจประวัติศาสตร์ไทยหรือ สากลได้ง่ายขึ้น หลักเกณฑ์การเทียบศักราช ม.ศ. + ๖๒๑ = พ.ศ. พ.ศ. – ๖๒๑ = ม.ศ. จ.ศ. + ๑,๑๘๑ = พ.ศ. พ.ศ. – ๑,๑๘๑ = จ.ศ. ร.ศ. + ๒,๓๒๔ = พ.ศ. พ.ศ. – ๒,๓๒๔ = ร.ศ. ค.ศ. + ๕๔๓ = พ.ศ. พ.ศ. – ๕๔๓ = ค.ศ. ฮ.ศ. + ๑,๑๒๑ = พ.ศ. พ.ศ. – ๑,๑๒๒ = ฮ.ศ. โดยสรุป ความเข้าใจเกี่ยวกับศักราชมีความสาคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์มาก เพราะ ช่วยให้ผู้ศึกษาสามารถเชื่อมโยงและเปรียบเทียบช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ในอดีตกับปัจจุบันและ ต่อเนื่องถึงอนาคตได้ อีกทั้งยังสะท้อนถึงความสาคัญและอิทธิพลของศาสนา ซึ่งเป็นอารยธรรม สาคัญที่มีอยู่ในวิถีชีวิตของประชาชนทุกสังคม ประเทศไทยเริ่มใช้พุทธศักราชอย่างเป็น ทางการ เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๕ ตรงกับรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นะค่ะ
  • 17. ๑๓ กิจกรรมที่ ๒ คาสั่ง ให้นักเรียนนาคาที่กาหนดให้ด้านบนไปเติมลงในช่องว่างท้ายข้อความด้านล่างให้สัมพันธ์กัน คริสต์ศักราช ฮิจเราะห์ศักราช พุทธศักราช มหาศักราช จุลศักราช รัตนโกสินทร์ศก ๑. ศักราชที่ตั้งขึ้นโดยพระเจ้ากนิษกะแห่งอินเดีย ............................... ๒. นิยมใช้ในหลักฐานประเภทศิลาจารึกและพงศาวดาร สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ............................... ๓. เริ่มนับศักราชตั้งแต่ปีที่พระเยซูประสูติ ............................... ๔. เริ่มนับศักราชตั้งแต่ปีที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชทรงสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานี ............................... ๕. ศักราชที่ตั้งขึ้นในสมัยของกษัตริย์พม่าทรงมีพระนามว่า บุปผะอรหันต์ ............................... ๖. ศักราชที่ใช้กันมากในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ............................... ๗. เริ่มนับเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว ๑ ปี ............................... ๘. เริ่มนับศักราชตั้งแต่ปีที่ท่านนบีมูฮัมมัดได้อพยพจากเมืองเมกกะ ไปยังเมืองเมดินะ ............................... ๙. ศักราชที่นิยมใช้ในหนังสือประวัติศาสตร์ของชาติตะวันตก ............................... ๑๐. ศักราชที่ใช้กันอย่างเป็นทางการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ...............................
  • 18. ๑๔ แนวตอบกิจกรรมที่ ๒ ๑. มหาศักราช ๒. จุลศักราช ๓. คริสต์ศักราช ๔. รัตนโกสินทร์ศก ๕. จุลศักราช ๖. ฮิจเราะห์ศักราช ๗. พุทธศักราช ๘. รัตนโกสินทร์ศก ๙. คริสต์ศักราช ๑๐. พุทธศักราช
  • 19. ๑๕ กิจกรรมที่ ๓ คาสั่ง ให้นักเรียนระบุหลักเกณฑ์การเทียบศักราชให้ถูกต้อง 1. ม.ศ. 1320 = พ.ศ. 16. พ.ศ. 2310 = ม.ศ. 2. จ.ศ. 1010 = พ.ศ. 17. พ.ศ. 1800 = จ.ศ. 3. ฮ.ศ. 577 = พ.ศ. 18. พ.ศ. 2530 = ฮ.ศ. 4. ม.ศ. 1345 = พ.ศ. 19. พ.ศ. 2539 = ม.ศ. 5. จ.ศ. 1253 = พ.ศ. 20. พ.ศ. 2010 = จ.ศ. 6. ค.ศ. 1520 = พ.ศ. 21. พ.ศ. 2310 = ค.ศ. 7. ร.ศ. 120 = พ.ศ. 22. พ.ศ. 1634 = ม.ศ. 8. ฮ.ศ. 1181 = พ.ศ. 23. พ.ศ. 2516 = จ.ศ. 9. ค.ศ. 1347 = พ.ศ. 24. พ.ศ. 2443 = ร.ศ. 10. ม.ศ. 1175 = พ.ศ. 25. พ.ศ. 2531 = ฮ.ศ. 11. จ.ศ. 1450 = พ.ศ. 26. พ.ศ. 2448 = จ.ศ. 12. ค.ศ. 1450 = พ.ศ. 27. พ.ศ. 2475 = ร.ศ. 13. ร.ศ. 180 = พ.ศ. 28. พ.ศ. 1926 = ม.ศ. 14. จ.ศ. 1143 = พ.ศ. 29. พ.ศ. 2003 = จ.ศ. 15. ค.ศ. 1726 = พ.ศ. 30. พ.ศ. 2112 = ค.ศ.
  • 20. ๑๖ แนวตอบกิจกรรมที่ ๓ 1. ม.ศ. 1320 = พ.ศ. 1941 16. พ.ศ. 2310 = ม.ศ. 1689 2. จ.ศ. 1010 = พ.ศ. 2191 17. พ.ศ. 1800 = จ.ศ. 619 3. ฮ.ศ. 577 = พ.ศ. 1699 18. พ.ศ. 2530 = ฮ.ศ. 1408 4. ม.ศ. 1345 = พ.ศ. 1966 19. พ.ศ. 2539 = ม.ศ. 1918 5. จ.ศ. 1253 = พ.ศ. 2434 20. พ.ศ. 2010 = จ.ศ. 829 6. ค.ศ. 1520 = พ.ศ. 2063 21. พ.ศ. 2310 = ค.ศ. 1767 7. ร.ศ. 120 = พ.ศ. 2444 22. พ.ศ. 1634 = ม.ศ. 1013 8. ฮ.ศ. 1181 = พ.ศ. 2303 23. พ.ศ. 2516 = จ.ศ. 1335 9. ค.ศ. 1347 = พ.ศ. 1890 24. พ.ศ. 2443 = ร.ศ. 119 10. ม.ศ. 1175 = พ.ศ. 1796 25. พ.ศ. 2531 = ฮ.ศ. 1409 11. จ.ศ. 1450 = พ.ศ. 2631 26. พ.ศ. 2448 = จ.ศ. 1267 12. ค.ศ. 1450 = พ.ศ. 1993 27. พ.ศ. 2475 = ร.ศ. 151 13. ร.ศ. 180 = พ.ศ. 2504 28. พ.ศ. 1926 = ม.ศ. 1305 14. จ.ศ. 1143 = พ.ศ. 2324 29. พ.ศ. 2003 = จ.ศ. 822 15. ค.ศ. 1726 = พ.ศ. 2269 30. พ.ศ. 2112 = ค.ศ. 1569
  • 21. ๑๗ ตอนที่ ๓ ตัวอย่างศักราชในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ในการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย จะพบการใช้ศักราชหลายอย่างดังกล่าว มาแล้วต่อไปนี้เป็นตัวอย่างศักราชในหลักฐานประวัติศาสตร์ไทย ศักราช หลักฐานประวัติศาสตร์ไทย พุทธศักราช “บ้านโนล แครนลี ประเทศอังกฤษ” (พ.ศ.) “...ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอานาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอานาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อานาจนั้นโดยสิทธิ์ขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของ ประชาชนราษฎร...” ประชาธิปก ปร. วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ เวลา ๑๓ นาฬิกา ๔๕ นาที ที่มา : ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดารัสในพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หน้า ๓๖๕ – ๓๗๐ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยข้างบนนี้เป็นพระราชหัตถเลขาบางตอนในการ สละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ มหาศักราช “๑๒๐๕ ศก ปีมะแม พ่อขุนรามคาแหง หาใคร่ใจในใจ แล่ใส่ลายสือไทยนี้...” (ม.ศ.) ที่มา : ศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหงมหาราช ด้านที่ ๔ ปี ๑๒๐๕ เป็นการนับแบบมหาศักราช เมื่อเทียบเป็น พ.ศ. บวกด้วย ๖๒๑ = พ.ศ. ๑๘๒๖ เป็นปีที่พ่อขุนรามคาแหงมหาราชประดิษฐ์อักษรไทย จุลศักราช “ศักราช ๗๑๒ ขาลศก...แรกสถาปนากรุงพระนครศรีอยุธยา” (จ.ศ.) ที่มา : พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐฯ หน้า ๑ ศักราช ๗๑๒ เป็นการนับแบบจุลศักราช เมื่อเทียบเป็น พ.ศ. บวกด้วย ๑๑๘๑ = พ.ศ. ๑๑๘๑ = พ.ศ. ๑๘๙๓ เป็นปีที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (อู่ทอง) ตั้งกรุงศรี อยุธยาเป็นราชธานี รัตนโกสินทร์ศก “วันที่ ๑๙ เมษายน รัตนโกสินทร์ศก๒๓ ๑๐๙ ถึงที่ประชุมเสนาบดี ซึ่งอยู่รักษา (ร.ศ.) พระนคร” ที่มา : ประชุมพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ ทรงบริหารราชการแผ่นดิน ภาคที่ ๓ (ตอน ๒) หน้า ๒๖๗ รัตนโกสินทร์ศก หรือ ร.ศ. ๑๐๙ เมื่อเทียบเป็น พ.ศ. บวกด้วย ๒๓๒๔ = พ.ศ. ๒๔๓๓ สาหรับเลข ๒๓ ที่อยู่ข้างบนคาว่า “ศก” หมายถึง ปีที่พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครองราชสมบัติเป็นปีที่ ๒๓ พระราฃหัตถเลขานี้ทรงมีถึง คณะเสนาบดีระหว่างเสด็จประพาสแหลมมลายู
  • 22. ๑๘ กิจกรรมที่ ๔ คาสั่ง ให้นักเรียนอ่านข้อความ แล้วเติมคาตอบให้ถูกต้อง ๑. “ศักราช ๗๑๒ ขาลศก... แรกสถาปนากรุงพระนครศรีอยุธยา” ที่มา : พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐฯ ศักราช ๗๑๒ เป็นการนับแบบ............................เทียบเป็น พ.ศ. ............................................. ตีความได้ว่า ............................................................................................................................... ………………………………………………………………………………………………………………………………….. ๒. “๑๒๐๕ ศก ปีมะแม พ่อขุนราคาแหง หาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้...” ที่มา : ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามคาแหงมหาราช ด้านที่ ๔ ๑๒๐๕ เป็นการนับแบบ............................เทียบเป็น พ.ศ. ............................................. ตีความได้ว่า ............................................................................................................................... ………………………………………………………………………………………………………………………………….. ๓. ...ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอานาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่เดิมให้แก่ราษฎรทั่วไป แต่ ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอานาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ...” วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ เวลา ๑๓ นาฬิกา ๔๕ นาที ที่มา : ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดารัสในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หน้า ๓๖๕ – ๓๗๐ พ.ศ. ๒๔๗๗ เป็นการนับแบบ............................เทียบเป็น พ.ศ. ............................................. ตีความได้ว่า ............................................................................................................................... …………………………………………………………………………………………………………………………………..
  • 23. ๑๙ แนวตอบกิจกรรมที่ ๔ ๑. “ศักราช ๗๑๒ ขาลศก... แรกสถาปนากรุงพระนครศรีอยุธยา” ที่มา : พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐฯ ศักราช ๗๑๒ เป็นการนับแบบ จุลศักราช .เทียบเป็น พ.ศ. บวกด้วย ๑๑๘๑ = พ.ศ. ๑๘๙๓ ตีความได้ว่า เป็นปีที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (อู่ทอง) ตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ๒. “๑๒๐๕ ศก ปีมะแม พ่อขุนราคาแหง หาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้...” ที่มา : ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามคาแหงมหาราช ด้านที่ ๔ ๑๒๐๕ เป็นการนับแบบ มหาศักราช เทียบเป็น พ.ศ. บวกด้วย ๖๒๑ = พ.ศ. ๑๘๒๖ ตีความได้ว่า เป็นปีที่พ่อขุนรามคาแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทย ๓. ...ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอานาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่เดิมให้แก่ราษฎรทั่วไป แต่ ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอานาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ...” วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ เวลา ๑๓ นาฬิกา ๔๕ นาที ที่มา : ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดารัสในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หน้า ๓๖๕ – ๓๗๐ พ.ศ. ๒๔๗๗ เป็นการนับแบบ พุทธศักราช เทียบเป็น พ.ศ. ๒๔๗๗ ตีความได้ว่า เป็นพระราชหัตถเลขาบางตอนในการสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๗๗
  • 24. ๒๐ ตอนที่ ๔ การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ การนับเวลาเป็นศักราช มีประโยชน์ในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ได้เข้าใจและ ชัดเจน แต่การระบุศักราชบ่อยๆ อาจทาให้เกิดความสับสน หรือยากการจดจา นักประวัติศาสตร์ จึงมีการแบ่งสมัย ซึ่งกาหนดโดยถือเอาลักษณะเฉพาะที่ชัดเจนของสมัยนั้นๆ มาเป็นชื่อสมัย หรือ บางทีเรียกเป็นยุคก็มี การแบ่งสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยมีทั้งการแบ่งตามแบบสากลและแบบของ ไทย เพื่อให้เกิดความเข้าใจจะกล่าวถึงการบ่งแบบสากลก่อน ซึ่งจัดแบ่งได้ดังนี้ การแบ่งช่วงเวลาตามแบบสากล ๑) สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสมัยที่มนุษย์ยังไม่มีการประดิษฐ์อักษรขึ้นใช้ การศึกษา เรื่องราวของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์จึงต้องอาศัยการวิเคราะห์ตีความจากหลักฐาน โบราณคดีต่างๆ ได้แก่ เครื่องมือเครื่องใช้ โครงกระดูก งานศิลปะ รูปแบบหรือวิถีการดาเนินชีวิต ซึ่งจะปรากฏอยู่ในแหล่งโบราณคดีต่างๆ ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตามแบบสากลยังแบ่งย่อยลง ไปอีก โดยใช้หลักการดังนี้ (๑) แบ่งตามเทคโนโลยีการทาเครื่องมือเครื่องใช้ หลักเกณฑ์นี้ถือว่าเป็นเทคโนโลยีมี ความสาคัญต่อพัฒนาการของมนุษย์จึงนามาใช้แบ่งสมัยก่อนประวัติศาสตร์ออกเป็น ๒ ยุค ประกอบด้วย ๑. ยุคหิน จะแบ่งย่อยออกเป็นยุคหินเก่า ยุคหินกลาง และยุคหินใหม่ มีอายุ ประมาณ ๒ – ๕ ล้านปี – ๔,๐๐๐ ปีล่วงมาแล้ว ๒. ยุคโลหะ ครอบคลุมช่วงเวลาประมาณ ๔,๐๐๐ ปี – ๑,๕๐๐ ปีล่วงมาแล้ว สามารถแบ่งย่อยออกเป็นยุคสาริด และยุคเหล็ก คือ ยึดเอาชนิดของโลหะที่มนุษย์นามาใช้ ประโยชน์เป็นหลักเกณฑ์การแบ่ง (๒) แบ่งตามลักษณะการดารงชีวิตของผู้คน สามารถจัดแบ่งย่อยได้อีก ๓ ยุคด้วยกัน ดังนี้ ๑. ยุคล่าสัตว์ เก็บหาอาหาร มนุษย์ล่าสัตว์ เก็บหาอาหาร ยังไม่มีที่พานักแน่นอน ยุค นี้ครอบคลุมช่วงเวลาประมาณ ๒.๕ ล้านปี – ๘,๐๐๐ ปีล่วงมาแล้ว ๒. ยุคสังคมเกษตรกรรม มนุษย์รู้จักการดารงชีพด้วยการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ เริ่มต้น การตั้งถิ่นฐานอยู่รวมกัน จนเป็นสังคม ยุคนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ ๘,๐๐๐ ปี – ๖,๐๐๐ ปีล่วง มาแล้ว ๓. ยุคสังคมเมือง เป็นช่วงที่ชุมชนพัฒนาเป็นสังคมเมือง มีลักษณะเป็นเมืองเล็กๆ สังคมแบบนี้จะถือกาเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อ ๖,๐๐๐ ปีล่วงมาแล้ว อย่างไรก็ดี การกาหนดอายุของยุคหิน ยุคโลหะ ดังที่กล่าวมาเป็นการกาหนดในภาพรวม แต่ไม่ใช่ว่าทุกแห่งจะเริ่มและสิ้นสุดพร้อมกันในเวลาเดียวกัน บางแห่งอาจจะเริ่มและสิ้นสุดเร็วกว่า หรือช้ากว่ากันก็มี เพราะชุมชนมนุษย์แต่ละแห่งมีความเจริญไม่เท่ากัน
  • 25. ๒๑ ตารางแสดงการแบ่งยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์แบบสากล ประเภท แบ่งตามเทคโนโลยี ช่วงระยะเวลา ลักษณะการดาเนินชีวิต ของยุค เครื่องมือเครื่องใช้ โดยประมาณ ยุคหินเก่า ๒,๕๐๐,๐๐๐ ปี – มนุษย์ดารงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ เก็บหา ๑๐,๐๐๐ ปีล่วงมา อาหาร อาศัยอยู่ในถ้า ใช้เครื่องมือหินที่ทา แล้ว หยาบๆ รู้จักเขียนภาพตามผนังถ้า ยุคหินกลาง ๑๐,๐๐๐ ปี – มนุษย์ดารงชีวิตเหมือนมนุษย์ยุคหินเก่ารู้จัก ยุคหิน ๘,๐๐๐ ปีล่วง ทาเครื่องมือหินที่ประณีตมากขึ้นรู้จักทา มาแล้ว เครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะผิวเรียบมัน ยุคหินใหม่ ๘,๐๐๐ ปี – มนุษย์ในยุคนี้ดารงชีวิตโดยการเพราะปลูก ๔,๐๐๐ ปีล่วง เลี้ยงสัตว์ ตั้งหลักแหล่งถาวร ทาเครื่องดิน มาแล้ว เผา ทาเครื่องประดับ ยุคสาริด ๔,๐๐๐ ปี – มนุษย์อาศัยอยู่เป็นชุมชนใหญ่ขึ้น ดารงชีวิต ๓,๐๐๐ ปีล่วง ด้วยการเพาะปลูก รู้จักปลูกข้าว มีการเลี้ยง มาแล้ว สัตว์ เช่น วัว หมู มีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่า ยุคหินใหม่ รู้จักทาสาริดเป็นเครื่องใช้ ยุคโลหะ เครื่องประดับ ยุคเหล็ก ๓,๐๐๐ ปี – การดารงชีวิตเจริญขึ้นและซับซ้อนกว่ายุค ๑,๕๐๐ ปี สาริด มีการติดต่อค้าขาย และรับ ล่วงมาแล้ว อารยธรรมจากต่างแดน ทาให้ผู้คนมีความ เจริญแตกต่างกัน มีการนาเหล็กมาทาเป็น เครื่องมือเครื่องใช้ ซึ่งมีความคงทนกว่า สาริด จึงใช้งานได้ดีกว่า ๒. สมัยประวัติศาสตร์ เริ่มเมื่อมนุษย์รู้จักคิดประดิษฐ์อักษรบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ เกี่ยวกับความเชื่อ กิจกรรม จึงทาให้เรารู้เรื่องราวที่ละเอียดชัดเจนมากขึ้น บันทึกในระยะแรกจะ ปรากฏอยู่บนกระดูก ไม้ไผ่ ผ้าไหม(ดังกรณีของจีน) แผ่นดินเหนียว ศิลา แผ่นทอง แผ่นเงิน ใบลาน กระดาษ อย่างไรก็ตาม บันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรอาจไม่สมบูรณ์ สูญหาย หรือถูกทาลายไป นักประวัติศาสตร์จึงต้องใช้หลักฐานทางโบราณคดีมาประกอบการวิเคราะห์ข้อมูล สมัยประวัติศาสตร์นิยมแบ่งดังนี้ (๑) ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ แต่ละประเทศเริ่มต้นและสิ้นสุดไม่พร้อมกัน ใน กรณีประวัติศาสตร์สากลเริ่มต้นตั้งแต่อารยธรรมเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) และสิ้นสุดใน พ.ศ. ๑๐๑๙ เมื่อกรุงโรมของอาณาจักรโรมันถูกพวกอนารยชนตีแตก
  • 26. ๒๒ โคลอสเซียม สถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงของ โรมัน เป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความ รุ่งเรืองของประวัติศาสตร์สมัยโบราณ ที่มา : http://www.baanmaha.com/community/thread23536.html (๒) ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มภายหลังกรุงโรมแตกใน พ.ศ. ๑๐๑๙ ถึง พ.ศ. ๑๙๙๖ เมื่อพวกเติร์ก (Turk) ที่นับถือศาสนาอิสลามตีกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ปัจจุบัน คือ อิสตันบูล ประเทศตุรกี) ของอาณาจักรโรมันตะวันออกแตก เป็นสมัยที่อารยธรรมหยุดชะงักใน ช่วงแรก และเริ่มเปลี่ยนแปลงในครึ่งหลัง (๓) ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มภายหลังกรุงคอนสแตนติโนเปิลแตก จนสิ้นสุด สงครามโลกครั้งที่ ๒ ในพ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงมากมายทั้งด้านศาสนา (มีการ ปฏิรูปศาสนา) ด้านการปกครอง (เกิดแนวคิดเสรีเสรีนิยมประชาธิปไตย และคอมมิวนิสต์) ด้าน เศรษฐกิจ (มีการขยายเส้นทางการค้า มีการแสวงหาดินแดนใหม่มาเป็นอาณานิคม มีการปฏิวัติ อุตสาหกรรม) (๔) ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ จนถึงปัจจุบัน เป็นสมัยที่โลกมีความก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าสมัยใดๆ โดยเฉพาะเครื่องมือ และอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ เครื่องระบุ ตาแหน่งบนพื้นโลก (จีพีเอส) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่รับสัญญาณจากดาวเทียมกาหนดตาแหน่งบนโลก ที่ใช้ข้อมูลพื้นฐานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทาให้การติดต่อในโลกเป็นไปอย่างสะดวกและ รวดเร็วมากขึ้น การแบ่งยุคสมัยดังที่กล่าวมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ทาให้เข้าใจง่ายขึ้นโดยไม่ต้อง กล่าวถึงเวลาที่เป็นศักราช เช่นกล่าวว่า ในประวัติศาสตร์สมัยใหม่โลกมีการเปลี่ยนแปลงทางด้าน คมนาคม มีเรือกลไฟ รถไฟ เป็นต้น ก็จะทาให้เรารู้ว่าคาพูดนี้หมายถึงช่วงเวลาใด โดยไม่ต้องระบุ ศักราช อย่างไรก็ดี ในประวัติศาสตร์ไทยไม่ค่อยนิยมใช้ แต่จะใช้อาณาจักรหรือราชธานีเป็น ตัวกาหนด เรื่องน่ ารู้ มัสยิดเซนต์โซเฟีย ตั้งอยู่ในกรุงคอนสแตนติโนเปิล ประเทศตุรกี เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปกรรม แบบคริสเตียนกับอิสลาม จนได้รบการบันทึกให้เป็น ั ๑ ใน ๗ สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลาง ที่มา : http://www.wonder7th.com/2hagia_sophia.htm
  • 27. ๒๓ การแบ่งช่วงเวลาตามแบบไทย การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ไทยมีทั้งสอดคล้องและแตกต่างไปจากแบบสากลใน ส่วนที่สอดคล้องหรือเหมือนกับแบบสากล ก็คือ ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่แบ่งเป็นยุคหินและยุค โลหะ แต่พอมาถึงสมัยประวัติศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ไทยจะไม่นิยมแบ่งเป็นสมัยโบราณ สมัย กลาง สมัยใหม่ และร่วมสมัย แต่จะจัดแบ่งให้เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย ซึ่งภาพรวมการแบ่ง ช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ไทยจะนิยมใช้รูปแบบดังต่อไปนี้ ๑) แบ่งตามสมัย การแบ่งออกเป็นสมัยจะแบ่งอย่างกว้างๆ ออกเป็นสมัยก่อน ประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ ดังนี้ (๑) สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีอายุตั้งแต่ประมาณ ๗๐๐,๐๐๐ ปี – ๑,๒๐๐ ปี ล่วงมาแล้ว สาหรับก่อนประวัติศาสตร์ก็ยังแบ่งย่อยออกเป็นยุคหิน (ยุคหินเก่า หินกลาง และ หินใหม่) และยุคโลหะ (สาริดและเหล็ก) ทั้งนี้ได้มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อน ประวัติศาสตร์ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ตัวอย่างเช่น ยุค แหล่งค้นพบ เครื่องมือที่พบ พบเครื่องมือหินยุคหินเก่า จาก ยุคหินเก่า แหล่งโบราณคดีถ้าฉานเรน ตาบล ตะโก อาเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร พบขวานหินยุคหินกลาง จากแหล่ง ยุคหินกลาง โบราณคดีบ้านพลีควาย ตาบล กระดังงา อาเภอสทิงพระ จังหวัด สงขลา พบขวานหินขัด จากการขุดค้นที่ ยุคหินใหม่ โคกพนมดี อาเภอพนัสนิคม จังหวัด ชลบุรี พบขวานสาริด ที่บ้านเชียง ยุคสาริด อาเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี พบเครื่องมือเหล็ก ยุคเหล็ก ที่บ้านดอนตาเพชร อาเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี