SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 78
Descargar para leer sin conexión
๑


                                       คู่มือครู
                  ประกอบแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคาในภาษาไทย
               วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
                               เล่มที่ ๑ เรื่อง คามูล




ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา

            หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ ได้กําหนดให้ภาษาไทยซึ่งเป็นภาษา
ประจํา ชาติ เป็ นกลุ่ม สาระการเรียนรู้หลัก เพราะมีจุดมุ่งหมายในการพั ฒนาศัก ยภาพให้ผู้เรีย น
สามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องตามหลักภาษา และเกิดการเรียนรู้อย่างเหมาะสมต่อวัฒนธรรม
ไทย การเรียนรู้ภาษาไทยจะต้องเน้นการพัฒนาเพื่อการสื่อสารที่ถูกต้อง มีหลักเกณฑ์ เกิดประโยชน์
อย่ า งสูง สุดต่อผู้เรีย นในอนาคต หลัก ภาษาไทย ในเนื้อหาระดับชั้นมัธ ยมศึกษาตอนต้น เป็น
การศึกษาหลักภาษาเกี่ยวกับคําและกลุ่มคํา แบบสร้างของคํา การสังเกตลักษณะของคําที่เป็นคําไทย
เดิมกับคําที่มาจากภาษาอื่น (กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๔๑: ๑๔)
๒


           จากการพิจารณาผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O–NET) ช่วงชั้นที่ ๓ (มัธยมศึกษา
ปีที่ ๓) ปีการศึกษา ๒๕๕๑ และปีการศึกษา ๒๕๕๒ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียน
ห้วยสักวิทยาคม สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต ๑ เป็นดังนี้
ตารางที่ ๑ ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O–NET) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
          โรงเรียนห้วยสักวิทยาคม

                                                      ผลการทดสอบ
                               ปีการศึกษา ๒๕๕๑                ปีการศึกษา ๒๕๕๒
มาตรฐาน คะแนนเต็ม คะแนนเฉลี่ย              คะแนนเฉลี่ย    คะแนนเฉลี่ย คะแนนเฉลี่ย
                         ระดับโรงเรียน ระดับจังหวัด ระดับโรงเรียน ระดับจังหวัด
   ท ๑.๑       ๑๐๐.๐๐        ๔.๕๙            ๔.๘๒            ๖.๑๘          ๖.๒๔
   ท ๒.๑       ๑๐๐.๐๐        ๑๐.๑๘           ๑๐.๓๔           ๓.๗๒          ๔.๐๗
   ท ๓.๑       ๑๐๐.๐๐        ๔.๐๘             ๔.๐๘           ๓.๐๕          ๓.๒๔
   ท ๔.๑       ๑๐๐.๐๐        ๑๕.๖๑           ๑๖.๘๓          ๑๔.๖๕          ๑๔.๙๖
   ท ๕.๑       ๑๐๐.๐๐        ๔.๒๙            ๕.๒๓            ๖.๔๘           ๖.๙๙
ที่มา: (รายงานสารสนเทศโรงเรียนห้วยสักวิทยาคม ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ – ๒๕๕๒)

            จากตารางที่ ๑ พบว่ า ผลการทดสอบระดั บ ชาติ ขั้ น พื้ น ฐาน (O–NET) ของนั ก เรี ย น
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนห้วยสักวิทยาคม ปีการศึกษา ๒๕๕๒ มาตรฐาน ท ๑.๑และ
ท ๕.๑ มีคะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียน เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา ๒๕๕๑ ส่วนมาตรฐานที่ ท ๒.๑ท ๓.๑
และ ท ๔.๑ มีคะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียนลดลงจากปีการศึกษา ๒๕๕๑ ซึ่งสอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท๓๓๑๐๑ ปีการศึกษา
๒๕๕๑ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ ๒.๔๘ ปีการศึกษา ๒๕๕๒ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ ๒.๓๔ จะเห็นได้ว่ามีผลการ
เรียนเฉลี่ยลดลง ทั้งนี้การสร้างคําในภาษาไทย นับว่ามีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
อย่างยิ่ง ในการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนมีความคาดหวังให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและมี
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ สูงขึ้น แต่เนื่องจากการเรียนการสอนในปัจจุบันนัก เรียนในระดับชั้น
มัธยมศึกษามีความชอบและให้ความสําคัญกับวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นมากกว่า การเรียนการ
สอนกลุ่ ม สาระการเรี ย นรู้ ภ าษาไทย โดยเฉพาะการเรี ย นเนื้ อ หาหลั ก ภาษาไทย ซึ่ ง นั กเรี ย นมี
ความเห็นว่า เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ทําให้ยากแก่การเข้าใจ
ยึ ด หลั ก การสอนโดยเน้ น การบรรยาย การท่ อ งจํ า ไม่ มี สื่ อ เทคโนโลยี แ ละนวั ต กรรมมาใช้
๓


ประกอบการสอน นักเรียนขาดความสนใจทําให้การเรียนวิชาภาษาไทยเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ ดัง นั้น
วิธีการสอนของครูจึงเป็นเรื่องสําคัญมากและเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเรียนในระดับสูงขึ้นไปและ
มีความเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่อง นักเรียนไม่มีความเข้าใจเรื่องการสร้างคําในภาษาไทยเท่าที่ควร
ทําให้เกิดปัญหาต่อการเรียนในระดับที่สูงขึ้น
                ดัง นั้ น การเรี ย นเรื่ องการสร้า งคํ า ในภาษาไทย จึ ง มี ค วามจํ า เป็ นหากนั ก เรีย นไม่ เ ห็ น
ความสําคัญและไม่ให้ความสําคัญในเรื่องหลักภาษาไทย เท่ากับว่านักเรียนขาดบรรทัดฐานของการ
เรียนภาษา จนเป็นเหตุให้ใช้ภาษาไทยบกพร่องและผิดพลาดอยู่เสมอ ในการเรียนการสอนเรื่อง
การสร้างคํ าในภาษาไทย จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามหลักสูตร ครูผู้ส อนจะต้องทําให้ผู้เรีย น
เกิดความเข้าใจในเนื้อหาและสามารถนําไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
มากยิ่งขึ้น ดังนั้นวิธีสอนของครู จึงเป็นเรื่องสําคัญมาก ครูควรหาวิธีสอนและกิจกรรมในการสอน
เรื่องการสร้างคําที่หลากหลาย เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดทั้งความรู้และความสนุกสนานในการเรียนรู้
อี ก ทั้ ง เป็ น การจู ง ใจให้ นั ก เรี ย นเกิ ด ทั ศ นคติ ที่ ดี ต่ อ วิ ช าภาษาไทยดั ง ที่ ก ล่ า วมา โดยการใช้ สื่ อ
เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพผู้เรียนหลายรูปแบบ เช่น การจัดบทเรียน
โมดูล การจัดศูนย์การเรียน ชุดการเรียนด้วยตนเอง บทเรียนมัลติมิเดีย บทเรียนสําเร็จรูป และแบบ
ฝึกทักษะล้วนเป็นสื่อที่น่าสนใจและนํามาพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยอย่างดี
                จากการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงได้สร้างแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคํา
ในภาษาไทย วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท๓๓๑๐๑ ชั้นมัธ ยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนห้วยสักวิทยาคม
ปีการศึกษา ๒๕๕๓ เพื่อเป็นสื่อในการจัดการเรียนรู้สําหรับแก้ไขปัญหาของผู้เรียน เพราะผู้ศึกษาเห็น
ว่าแบบฝึ กเสริมทั กษะเป็ นเครื่องมือที่ ดี นักเรียนสามารถนําไปฝึ กที่บ้ านหรือในเวลาว่างได้ เมื่ อ
นักเรียนได้ฝึกฝนเป็นประจําก็จะทําให้นักเรียนเกิดทักษะในการสร้างคํามากยิ่งขึ้นตลอดจนนําไปเป็น
แนวทางในการพัฒนา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการสร้างคําในภาษาไทย วิช าภาษาไทย
รหัสวิชา ท๓๓๑๐๑ ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนห้วยสักวิทยาคม ให้มีประสิทธิภาพ
ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น

วัตถุประสงค์ในการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคาในภาษาไทย

         ๑. เพื่ อ สร้ า งและหาประสิ ท ธิ ภ าพของแบบฝึ ก เสริ ม ทั ก ษะการสร้ างคํ า ในภาษาไทย
วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐
         ๒. เพือศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ แบบฝึก
               ่
เสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
๔


ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๕ โรงเรียนห้วยสักวิทยาคม อําเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๖ ปีการศึกษา ๒๕๕๓ จํานวน ๓๘ คน
            ๓. เพื่ อ ศึ ก ษาความพึ ง พอใจของนั ก เรี ย นที่ มี ต่อ การเรี ย นโดยใช้ แ บบฝึ ก เสริ ม ทั ก ษะ
การสร้างคําในภาษาไทย วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ของนักเรียน
ชั้ นมั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ ๓/๕ โรงเรี ย นห้ว ยสัก วิท ยาคม อําเภอเมื องเชีย งราย จังหวัดเชี ย งราย
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๖ ปีการศึกษา ๒๕๕๓ จํานวน ๓๘ คน


ลักษณะของแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคาในภาษาไทย

          แบบฝึ กเสริ มทั กษะการสร้ างคํ าในภาษาไทย วิ ช าภาษาไทย รหั ส วิ ช า ท๓๓๑๐๑
ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๓ จัดทําเป็นเล่มทั้งหมด ๖ เล่ม คือ
              เล่มที่ ๑ เรื่อง คํามูล
              เล่มที่ ๒ เรื่อง คําประสม
              เล่มที่ ๓ เรื่อง คําซ้อน
              เล่มที่ ๔ เรื่อง คําซ้ํา
              เล่มที่ ๕ เรื่อง คําสมาสที่ไม่มีสนธิ
              เล่มที่ ๖ เรื่อง คําสมาสที่มีสนธิ
          แบบฝึ ก เสริ มทั กษะการสร้ างคํ าในภาษาไทย วิ ชาภาษาไทย รหั ส วิ ช า ท ๓๓๑๐๑
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ แต่ละเล่มประกอบด้วย
              ๑. ปก ได้แสดงประเภทของนวัตกรรม ชั้น ชื่อผู้จัดทําและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
              ๒. คํานํา ได้แสดงภาพรวมของการดําเนินการพอเข้าใจ
              ๓. สารบัญ แจ้งรายละเอียดในแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย
              ๔. คําชี้แจงเกี่ยวกับแบบฝึกเสริมทักษะ
              ๕. คําแนะนําการใช้แบบฝึกเสริมทักษะสําหรับนักเรียน
              ๖. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
              ๗. จุดประสงค์การเรียนรู้
              ๘. แผนภูมิแสดงลําดับขั้นตอนการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะ
              ๙. แบบทดสอบก่อนเรียนประจําแบบฝึกเสริมทักษะ จํานวน ๑๐ ข้อ
              ๑๐. สาระการเรียนรู้
              ๑๑. กิจกรรมแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย
๕


               ๑๒. เกมเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย
               ๑๓. แบบทดสอบหลังเรียนประจําแบบฝึกเสริมทักษะ จํานวน ๑๐ ข้อ
               ๑๔. แบบบันทึกคะแนนแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย
               ๑๕. ภาคผนวก
                     ๑๕.๑ เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน
                     ๑๕.๒ เฉลยแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย
                     ๑๕.๓ เฉลยเกมเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย
                     ๑๕.๔ เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน
               ๑๖. บรรณานุกรม

คาแนะนาสาหรับครู

          การใช้แบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ทั้ง ๖ เล่ม ครูผู้สอนควรปฏิบัติดังนี้
          ๑. ก่อนใช้แบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคาในภาษาไทย
               ๑.๑ ศึกษาเนื้อหาที่สอนในแต่ละเล่มอย่างละเอียด และศึกษาแบบฝึกเสริมทักษะการ-
สร้างคําในภาษาไทยให้รอบคอบ
               ๑.๒ ศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้ในแต่ละเล่มให้เข้าใจอย่างชัดเจน
               ๑.๓ ศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการใช้สื่อการเรียนรู้แต่ละชนิด
               ๑.๔ ตรวจสอบและจัดเตรียมเอกสารประกอบการเรียน สื่อการเรียนรู้ เอกสารอื่นๆ
และจัดชั้นเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้
          ๒. ขณะใช้แบบเสริมทักษะการสร้างคาในภาษาไทย
               ๒.๑ ก่ อ นเรี ย นแบบฝึ ก เสริ ม ทั ก ษะเล่ ม ที่ ๑ ให้ นั ก เรี ย นทํ า แบบทดสอบวั ด ผล
สัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนด้วยแบบฝึก เสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย วิชาภาษาไทย
รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จํานวน ๖๐ ข้อ เป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก
ประเมินความรู้พื้นฐานของผู้เรียน
               ๒.๒ ก่อนเรียนทุกครั้งครูควรแนะนําให้นักเรียนศึกษาคําชี้แจงเกี่ยวกับแบบฝึกเสริม-
ทักษะและคําแนะนําการใช้แบบฝึกเสริมทักษะสําหรับนักเรียนอย่างละเอียด
               ๒.๓ ให้นักเรียนทําแบบทดสอบก่อนเรียนประจําแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําใน-
ภาษาไทยในแต่ละเล่ม จํานวน ๑๐ ข้อ ซึ่งเป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก
๖


               ๒.๔ การดําเนินกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ แบ่งเป็น ๓ ขั้น
                    ๒.๔.๑ ขั้นนําเข้าสู่บทเรียน
                    ๒.๔.๒ ขั้นสอน
                    ๒.๔.๓ ขั้นสรุป
               ๒.๕ ขณะนักเรียนทํากิจกรรมอยู่ ครูต้องเดินดูการทํางานอย่างใกล้ชิด และทั่วถึงหาก
นักเรียนคนใดมีปัญหาครูต้องเข้าไปช่วยเหลือทันที
               ๒.๖ เมื่อเรียนจบแบบฝึกเสริมทักษะในแต่ละเล่ม ให้นักเรียนทําแบบทดสอบหลัง
เรียนประจําแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย จํานวน ๑๐ ข้อ ซึ่งเป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ
๔ ตัวเลือก เพื่อทราบผลการพัฒนา
               ๒.๗ เมื่อเรียนครบทั้ง ๖ เล่ม ให้นักเรียนทําแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จํานวน ๖๐ ข้อ เป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก เพื่อวัดความรู้ความ
เข้าใจแล้วนําผลการทดสอบก่อนและหลังเรียนมาเปรียบเทียบเพื่อทราบผลการพัฒนาในภาพรวม
ด้วย
               ๒.๘ ประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนรู้วิชาภาษาไทยด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการ-
สร้างคําในภาษาไทย วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ทั้ง ๖ เล่ม
          ๓. หลังใช้แบบเสริมทักษะการสร้างคาในภาษาไทย
               รวบรวมคะแนนสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และคะแนนการทําแบบฝึกเสริมทักษะ
การสร้างคําในภาษาไทยแต่ละเล่มเพื่อประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียน

คาแนะนาสาหรับนักเรียน

          ในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย จํานวน ๖ เล่มเป็นสื่อประกอบ
          นักเรียนควรปฏิบัติดังนี้
          ๑. ก่อนเรีย นด้วยแบบฝึกเสริมทัก ษะเล่มที่ ๑นักเรียนทําแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนก่อนเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย วิชาภาษาไทย รหัสวิชา
ท ๓๓๑๐๑ ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ ๓ จํ านวน ๖๐ ข้ อ เป็ นข้ อสอบแบบเลื อกตอบ ๔ ตั วเลื อก
เพื่อประเมินความรู้พื้นฐานของผู้เรียน
๗


           ๒. ก่อ นเรีย นทุก ครั้ง นัก เรีย นศึก ษาคําชี้แจงเกี่ยวกับแบบฝึกเสริมทักษะและคําแนะนํา
การใช้แบบฝึก เสริมทักษะสําหรับนักเรียนอย่างละเอียด
           ๓. ทําแบบทดสอบก่อนเรียนประจําแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทยแต่ละ
เล่ม เพื่อประเมินความรู้พื้นฐานของนักเรียน
           ๔. ศึกษาเนื้อหาตามลําดับขั้นตอน จะเว้นหรือข้ามไม่ได้
           ๕. ศึ กษาคํ า ชี้แจง ทํา ความเข้าใจตัวอย่ างที่กํ าหนดให้ แล้วลงมือปฏิบัติกิ จกรรมใน
แบบฝึ ก เสริ ม ทั ก ษะที ล ะแบบฝึ ก ด้ ว ยความตั้ ง ใจและซื่ อ สั ต ย์ ห ากมี ปั ญ หาใด ๆ ควรสอบถาม
ครูผู้สอนให้เข้าใจ
           ๖. ตรวจแนวคําตอบจากเฉลยท้ายเล่ม แล้วบันทึกคะแนนลงในแบบบันทึกคะแนน เพื่อ
ทราบผลความก้าวหน้า
           ๗. เมื่อทําแบบฝึกเสริมทักษะครบทุก กิจกรรมแล้ว จึงทําแบบทดสอบหลังเรียนประจํา
แบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทยแต่ละเล่มด้วยความรอบคอบและมั่นใจ
           ๘. ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนจากเฉลยท้ายเล่มบันทึกคะแนนลงในแบบ
บันทึกคะแนน เพื่อทราบผลการเรียนและการพัฒนา
           ๙. เมื่อเรียนครบทั้ง ๖ เล่ม นักเรียนทําแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน
ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
จํานวน ๖๐ ข้ อ เป็ นข้ อสอบแบบเลือกตอบ ๔ ตัวเลื อก เพื่ อวัดความรู้ความเข้าใจแล้วนําผล
การทดสอบก่อนและหลังเรียนมาเปรียบเทียบเพื่อทราบผลการพัฒนาในภาพรวมด้วย
           ๑๐. ประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนรู้วิชาภาษาไทยด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคํา
ในภาษาไทย วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ทั้ง ๖ เล่ม
๘




แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย
                    กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
      วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
                         เล่มที่ ๑ เรื่อง คํามูล
๙


                                       แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย รหัสวิชา ท๓๓๑๐๑ ช่วงชั้นที่ ๓           ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ พระบรมราโชวาท                                  จานวน ๓๖ ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่อง คามูล (๑)                           เวลา ๒ ชั่วโมง
สอนวันที่….....เดือน………………พ.ศ……………. ภาคเรียนที่ …….                 ปีการศึกษา ………….

มาตรฐานการเรียนรู้

        มาตรฐาน ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษา
และพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ
        มาตรฐาน ท ๔.๑.๑ เข้าใจการสร้างคําไทยตามหลักเกณฑ์ของภาษา

สาระสาคัญ

        คําที่ใช้ในภาษาไทย มีลักษณะและวิธีการสร้างคําหลายแบบ ได้แก่ คําที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะ
คือ คํามูล และคําที่สร้างขึ้นใหม่จากคํามูล เช่น คําประสม คําซ้อน คําซ้ํา คําสมาส เป็นต้น
การสร้างคําขึ้นใช้ในภาษาไทยเป็นความเจริญงอกงามทางภาษา อันเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้า
ทางวิชาการ การพัฒนาทางเทคโนโลยี ตลอดจนการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศการศึกษา
หลักการสร้างคําช่วยให้การพัฒนาทางภาษาไทยมีความถูกต้องเป็นระบบมากยิ่งขึ้น

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

        มีความรู้ความเข้าใจในลักษณะของคํามูล และสามารถนําไปใช้ในการสื่อสารได้อย่าง
ถูกต้อง ตรงตามความหมาย

จุดประสงค์การเรียนรู้

        ๔.๑ ด้านความรู้
                ๔.๑ บอกที่มาของคํามูลและจําแนกชนิดของคํามูลได้ถูกต้อง
                ๔.๒ บอกลักษณะของคํามูลพยางค์เดียวและคํามูลหลายพยางค์ได้
๑๐


        ๔.๒ ด้านทักษะกระบวนการ
               ๔.๒.๑ จําแนกคํามูลพยางค์เดียวและคํามูลหลายพยางค์ได้
               ๔.๒.๒ นําคํามูลแต่งประโยคในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตรงตามความหมาย
               ๔.๒.๓ เลือกคํามูลเขียนข้อความได้โดยใช้ภาษาอย่างประณีต และถูกต้องตามระดับ
                       ภาษา
        ๔.๓ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
               ๔.๓.๑ ทํางานกลุ่มร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
               ๔.๓.๒ ปฏิบัติตนเป็นคนมีความรับผิดชอบ และความใฝ่รใฝ่เรียนในการทํากิจกรรม
                                                                ู้

สาระการเรียนรู้

        ๑. ที่มาของคํามูล
        ๒. ชนิดของคํามูล
        ๓. ลักษณะของคํามูลพยางค์เดียวและคํามูลหลายพยางค์

กระบวนการจัดการเรียนรู้

        ชั่วโมงที่ ๑
        ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
         ๑. ชี้แจงให้นักเรียนทราบว่าในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จะใช้แบบฝึกเสริมทักษะการสร้าง-
คําในภาษาไทย วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ จัดทําขึ้น จํานวน ๖ เล่ม เป็นสื่อประกอบ ดังนี้
                เล่มที่ ๑ เรื่อง คํามูล
                เล่มที่ ๒ เรื่อง คําประสม
                เล่มที่ ๓ เรื่อง คําซ้อน
                เล่มที่ ๔ เรื่อง คําซ้ํา
                เล่มที่ ๕ เรื่อง คําสมาสที่ไม่มีสนธิ
                เล่มที่ ๖ เรื่อง คําสมาสที่มีสนธิสนธิ
         ๒. ก่อนเรียนแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย เล่มที่ ๑ ให้นักเรียนทุกคนทํา
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนก่อนเรียน ลักษณะข้อสอบเป็นแบบเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก
จํานวน ๖๐ ข้อ ใช้เวลา ๔๐ นาที เพื่อประเมินความรู้พื้นฐานของผู้เรียน
๑๑


          ๓. ก่อนเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทยแต่ละเล่มนักเรียนทุกคน
จะต้องทําแบบทดสอบก่อนเรียนประจําแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย และเมื่อเรียน
จบให้นักเรียนทําแบบทดสอบหลังเรียนประจําแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทยเพื่อทราบ
ผลการพัฒนา
          ๔. เมื่อเรียนครบทั้ง ๖ เล่ม นักเรียนทุกคนทําแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
หลังเรียนซึ่งเป็นแบบทดสอบชุดเดียวกับแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน เพื่อ
วัดความรู้ความเข้าใจ แล้วนําผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนมาเปรียบเทีย บเพื่อทราบผล
การพัฒนาในภาพรวม
          ๕. นักเรียนทุกคนประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนรู้วิชาภาษาไทยด้วยแบบฝึกเสริมทักษะ-
การสร้างคําในภาษาไทย
          ขั้นสอน
          ๑. นักเรียนทุกคนลงมือทําแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนด้วยแบบฝึก-
เสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย
          ๒. ขณะที่นักเรียนทําแบบทดสอบครูดูแลอย่างใกล้ชิด นักเรียนที่มีปัญหาครูเข้าช่วยเหลือทันที
          ขั้นสรุป
          ๑. เมื่อหมดเวลาให้นักเรียนส่งแบบทดสอบและกระดาษคําตอบส่งคืน ครูตรวจและบันทึกผล
คะแนนเพื่อจะได้นําไปเปรียบเทียบความก้าวหน้าหลังจากเรียนจบ
          ๒. ครูชี้แจงให้นักเรียนทราบว่าในการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย
วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ แต่ละเล่มจะมีการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการ
พัฒนาดังนี้
               เล่มที่ ๑ พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความรับผิดชอบ ความใฝ่รู้ใฝ่เรียน
               เล่มที่ ๒ พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความมีวินัย ความมีจิตสาธารณะ
               เล่มที่ ๓ พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความตรงเวลา ความรับผิดชอบ
               เล่มที่ ๔ พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความใฝ่รู้ใฝ่เรียน ความมีวินัย
               เล่มที่ ๕ พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความมีจิตสาธารณะ ความตรงเวลา
               เล่มที่ ๖ พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความมีวินัย ความรับผิดชอบ
          ๓. นัดหมายการเรีย นครั้ งต่อ ไปด้ วยแบบฝึก เสริ มทั ก ษะการสร้ างคําในภาษาไทย
วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ เล่มที่ ๑ เรื่อง คํามูล
๑๒


          ชั่วโมงที่ ๒
          ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
             ๑. ครูฉายตัวอย่างคํามูลพยางค์เดียวและคํามูลหลายพยางค์ บนจอโปรเจคเตอร์ แล้วให้
นักเรียนทุกคนอ่านพร้อม ๆ กัน
               “ นก พ่อ เกษม สนุก ประเสริฐ ผลิต ถนัด ก๋วยเตี๋ยว เกาเหลา มะยม ”
แล้วถามนักเรียนว่า “ คําเหล่านี้เป็นคําชนิดใดและมีที่มาอย่างไร ”
             ๒. ขออาสาสมัครนักเรียน ๔ คน ออกมาเขียนตัวอย่างคํามูลที่นักเรียนรู้จัก เพิ่มอีกคน
ละ ๕ คํา บนกระดานดํา นักเรียนช่วยกันตรวจคําตอบ โดยครูคอยชี้แนะและแก้ไขคําที่นักเรียนเขียนผิด
และชมเชยนักเรียนที่เขียนได้ถูกต้อง แล้วบอกกับนักเรียนว่า “วันนี้เราจะเรียนเรื่อง คํามูล”
             ๓. ตัวแทนนักเรียนออกมารับแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย เล่มที่ ๑ เรื่อง
คํามูล แจกให้เพื่อน ๆ ทุกคน
             ๔. แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลในการเรียน
การสอนเรื่องนี้ให้นักเรียนทราบ
             ๕. นักเรียนศึกษาคําชี้แจง คําแนะนําในการใช้ ขันตอนการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะ
                                                           ้
การสร้างคําในภาษาไทย วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท๓๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เล่มที่ ๑ เรื่อง
คํามูล ในหน้าที่ ๑ - ๔ ถ้ามีข้อสงสัยให้สอบถามครูผู้สอน
           ๖. นักเรียนทําแบบทดสอบก่อนเรียนประจําแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย
เล่มที่ ๑ เรื่อง คํามูล ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบปรนัยจํานวน ๑๐ ข้อ เสร็จแล้วนักเรียนจับคู่เปลี่ยน
กันตรวจ แล้วบันทึกคะแนนไว้ในแบบบันทึกคะแนน
             ขั้นสอน
             ๑. ครูอธิบายภาพรวมของการสร้างคําใช้ในภาษาไทยเป็นความเจริญงอกงามทางภาษา
และช่วยให้การพัฒนาทางภาษาไทยมีความถูกต้องเป็นระบบมากยิ่งขึ้น
             ๒. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๖ คน โดยคละความสามารถ เลือกประธาน รองประธาน
และเลขานุการ ระดมพลังสมองเพื่อศึกษาความรู้ เรื่อง คํามูล ในหน้าที่ ๙ - ๑๒ สรุปองค์ความรู้
ที่มาของคํามูลและชนิดของคํามูลลงในกระดาษเอ ๔ ที่ครูแจกให้
             ๓. ขณะที่นักเรียนทํากิจกรรมครูดูแลอย่างใกล้ชิด กลุ่มใดที่มีปัญหาครูเข้าช่วยเหลือทันที
และสังเกตคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการพัฒนานักเรียนด้านความรับผิดชอบ ความใฝ่รู้ใฝ่เรียน
ส่วนพฤติกรรมการทํางานกลุ่มมอบหมายให้ประธานกลุ่มเป็นผู้สังเกตตามแบบสังเกตพฤติกรรม
             ๔. ตัว แทนทุก กลุ่ม นํา เสนอผลงาน นัก เรีย นและครูร่ว มกัน อภิป รายเพิ่ม เติม โดย
ครูเปิ ดโอกาสให้นักเรียนซักถาม
๑๓


           ๕. นักเรียนทุกคนทําแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง คํามูล กิจกรรมที่ ๑ ถึงกิจกรรมที่ ๔ ใน
หน้าที่ ๑๓ - ๑๖โดยนักเรียนศึกษาคําชี้แจง ทําความเข้าใจตัวอย่างที่กําหนดให้ แล้วลงมือปฏิบัติ
กิจกรรมในแบบฝึกเสริมทักษะทีละแบบฝึกด้วยความตั้งใจและซื่อสัตย์ ครูคอยดูแลแนะนําอย่าง
ใกล้ชิด
         ๖. เมื่อนักเรียนทําแบบฝึกทักษะกิจกรรม ที่ ๑ - ๔ เสร็จแล้วให้จับคู่เปลี่ยนกันตรวจ
คําตอบที่เฉลยไว้ในหน้าที่ ๓๓ - ๓๖ แล้วบันทึกคะแนนไว้ในแบบบันทึกคะแนน
          ขั้นสรุป
          ๑. ครูสนทนาซักถามนักเรียน เกี่ยวกับลักษณะของคํามูล หลังจากที่นักเรียนได้ศึกษา
จากแบบฝึกเสริมทักษะไปแล้ว ให้นักเรียนแต่ละคนเขียนคํามูล คนละ ๕ คําลงในสมุด
           ๒. อาสาสมัครนักเรียนออกไปเขียนคํามูล ของตนบนกระดานดํา และให้นักเรียนทุกคน
ออกไปเขียนให้ครบ โดยเขียนเฉพาะคําที่ไม่ซ้ํากับของเพื่อน ๆ
           ๓. นักเรียนทุกคน เขียนคํามูลบนกระดานดําลงในสมุดของตนเอง
           ๔. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปที่มาและชนิดของคํามูล อีกครั้งหนึ่งและชมเชยนักเรียน
ที่ทําแบบฝึกทักษะกิจกรรมที่ ๑ - ๔ ได้ถูกต้องมากที่สุด
           ๕. มอบหมายให้นักเรียนทุกคนศึกษาคํามูลพยางค์เดียวและคํามูลหลายพยางค์ หน้า ๑๗
และทําแบบฝึกเสริมทักษะ กิจกรรมที่ ๕ และกิจกรรมที่ ๖ ในหน้าที่ ๑๘ - ๑๙ เป็นการบ้าน
๑๔


วัสดุอุปกรณ์ / สื่อ / แหล่งเรียนรู้

           ๑. แบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย เล่มที่ ๑ เรื่อง คํามูล
               ๑.๑ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการ-
                   สร้างคําในภาษาไทย
               ๑.๒ กิจกรรมที่ ๑ บอกที่มาของคํามูล
               ๑.๓ กิจกรรมที่ ๒ จําแนกชนิดของคํามูล
               ๑.๔ กิจกรรมที่ ๓ บอกที่มาของคํามูล
               ๑.๕ กิจกรรมที่ ๔ บอกที่มาของคํามูล
               ๑.๖ กิจกรรมที่ ๕ บอกลักษณะของคํามูล
               ๑.๗ กิจกรรมที่ ๖ เติมคํามูล
           ๒. จอภาพโปรเจคเตอร์พร้อมอุปกรณ์และคอมพิวเตอร์
           ๓. ตัวอย่างคํามูล
           ๔. กระดาษเอ ๔
๑๕


การวัดผลและประเมินผล

     สิ่งที่ต้องการวัด             วิธีการวัดผลและ         เครื่องมือวัดผลและ     เกณฑ์การวัดผล
                                      ประเมินผล                 ประเมินผล         และประเมินผล
ด้านความรู้
๑. บอกที่มาของคํามูลและ        ๑. การทดสอบวัดผล-         ๑. แบบทดสอบวัดผล-        ๑. นักเรียนได้
จําแนกชนิดของคํามูลได้         สัมฤทธิ์ทางการเรียน       สัมฤทธิ์ทางการเรียน      คะแนนจากการทํา
ถูกต้อง                        ก่อนเรียนด้วยแบบฝึก-      ก่อนเรียนด้วยแบบฝึก-     แบบทดสอบวัดผลฯ
๒. บอกลักษณะของคํามูล          เสริมทักษะการสร้างคํา-    เสริมทักษะการสร้างคํา-   และจากการทํา
พยางค์เดียวและคํามูล-          ในภาษาไทยวิชาภาษาไทย      ในภาษาไทยวิชา            แบบทดสอบ
หลายพยางค์ได้                  รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑          ภาษาไทย                  ประจําแบบฝึกฯ
ด้านทักษะกระบวนการ             ๒. การทดสอบก่อนเรียน      รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑         ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป
๓. จําแนกคํามูลพยางค์-         ประจําแบบฝึกเสริมทักษะ-   ๒. แบบทดสอบ              ถือว่าผ่าน
เดียวและคํามูลหลาย-            การสร้างคําในภาษาไทย      ก่อนเรียนประจําแบบฝึก-   ๒. นักเรียนได้
พยางค์ได้                      เล่มที่ ๑ เรื่อง คํามูล   เสริมทักษะการสร้างคํา-   คะแนนจาก
๔. นําคํามูลแต่งประโยค         ๓. ตรวจผลงานกิจกรรม       ในภาษาไทย เล่มที่ ๑      การตรวจผลงาน
ในการสื่อสารได้อย่าง-          ที่ ๑ ถึง ๖ ในแบบฝึก-     เรื่อง คํามูล            ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป
ถูกต้องตรงตามความหมาย          เสริมทักษะการสร้างคํา-    ๓. แบบตรวจผลงาน          ถือว่าผ่าน
๕. เลือกคํามูลเขียนข้อความ     ในภาษาไทย เล่มที่ ๑       ๔. แบบสังเกต             ๓. นักเรียน
ได้โดยใช้ภาษาอย่าประณีต        เรื่อง คํามูล             พฤติกรรม-                ได้คะแนนจาก
และถูกต้องตามระดับภาษา         ๔. สังเกตพฤติกรรม-        การทํางานกลุ่ม           การสังเกต
ด้านคุณลักษณะอันพึง-           การทํางานกลุ่ม            ๕. แบบสังเกต             พฤติกรรม-
ประสงค์                        ๕. สังเกตคุณลักษณะอัน-    คุณลักษณะอันพึง-         การทํางานกลุ่ม
๖. ทํางานกลุ่มร่วมกับผู้อื่น   พึงประสงค์                ประสงค์                  และคุณลักษณะ-
ได้อย่างมีความสุข                                                                 อันพึงประสงค์
๗. ปฏิบัตตนเป็นคนมี
           ิ                                                                      ระดับคุณภาพ
ความรับผิดชอบ และ                                                                 ๓ ขึ้นไปถือว่า
ความใฝ่รู้ใฝ่เรียนใน                                                              ผ่านเกณฑ์
การทํากิจกรรม
๑๖


บันทึกผลหลังจากจัดการเรียนรู้

         ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง…………………….…………………..…………
โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย เล่มที่ …….. เรื่อง …………………….
ผลปรากฏว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ………… จํานวน ……………. คน
         ๑. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคํา
ในภาษาไทย วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑
             ได้คะแนนเฉลี่ย……………..…คิดเป็นร้อยละ…………………..
         ๒. ทดสอบก่อนเรียนประจําแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย เล่มที่ ๑ เรื่อง
คํามูล
              ได้คะแนนเฉลี่ย……………………………………………………
         ๒. ผลการทําแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย เล่มที่ ๑ เรื่อง คํามูล
             กิจกรรมที่ ๑ ได้คะแนนเฉลี่ย ………………………………………………….……
             กิจกรรมที่ ๒ ได้คะแนนเฉลี่ย ………………………………...……………….……
             กิจกรรมที่ ๓ ได้คะแนนเฉลี่ย ………………………………...……………….……
             กิจกรรมที่ ๔ ได้คะแนนเฉลี่ย ………………………………...……………….……
             กิจกรรมที่ ๕ ได้คะแนนเฉลี่ย ………………………………...……………….……
             กิจกรรมที่ ๖ ได้คะแนนเฉลี่ย ………………………………...……………….……
         ๓. ผลการประเมินทํางานกลุ่มร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
             ได้คะแนนเฉลี่ย………..…คิดเป็นร้อยละ………………เฉลี่ยระดับคุณภาพ……….
         ๔. ผลการประเมินนักเรียนเป็นรายบุคคลด้าน ความรับผิดชอบ และความใฝ่รู้ใฝ่เรียนใน
การทํากิจกรรม
             ได้คะแนนเฉลี่ย………..…คิดเป็นร้อยละ………………เฉลี่ยระดับคุณภาพ……….

    ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
๑๗


………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
    ปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………

                    ลงชื่อ
                             (………………………………….)
                                    ครูผู้สอน
๑๘


ความคิดเห็น / ข้อเสนอแนะของผู้บริหาร

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ………… เรื่อง ………………………..

            ได้ตรวจแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้…………………………………
ชั้น……………………………… ของ ……………………………….. แล้วมีความคิดเห็นดังนี้
                ๑. เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่
                          ดี
                          พอใช้
                          ควรปรับปรุง
                 ๒. การจัดกิจกรรมได้นําเอากระบวนการเรียนรู้
                          ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญมาใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม
นําไปใช้ได้จริง
                          ที่ยังไม่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ควรปรับปรุงพัฒนาก่อนนําไปใช้
                 ๓. ข้อเสนอแนะอื่น ๆ

.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................



                                                                                     ลงชื่อ
                                                                                               (………………………………)
                                                                                                  ผู้อํานวยการโรงเรียน
๑๙




ภาคผนวก
๒๐


   แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน เรื่อง การสร้างคาในภาษาไทย
วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ ช่วงชั้นที่ ๓ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เวลา ๔๐ นาที
คาชี้แจง ๑. ข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก
            จํานวน ๖๐ ข้อ ให้นักเรียน  ทับอักษร ก ข ค หรือ ง ที่เห็นว่าถูกต้องที่สุด
            เพียงข้อเดียวลงในกระดาษคําตอบที่ครูแจกให้
         ๒. ห้ามขีดเขียนหรือทําเครื่องหมายใดๆ ลงในแบบทดสอบ

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

      มีความรู้ความเข้าใจในลักษณะของ คํามูล คําประสม คําซ้อน คําซ้ํา คําสมาส และ
สามารถนําไปใช้ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง ตรงตามความหมาย

เล่มที่ ๑ เรื่อง คามูล
จุดประสงค์การเรียนรู้
         ๑. บอกที่มาของคํามูลและจําแนกชนิดของคํามูลได้ถูกต้อง
         ๒. บอกลักษณะของคํามูลพยางค์เดียวและคํามูลหลายพยางค์ได้
         ๓. จําแนกคํามูลพยางค์เดียวและคํามูลหลายพยางค์ได้
         ๔. นําคํามูลแต่งประโยคในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตรงตามความหมาย
         ๕. เลือกคํามูลเขียนข้อความได้โดยใช้ภาษาอย่างประณีต และถูกต้องตามระดับภาษา
๑. “คําไทยแท้ หรือคําที่มาจากภาษาอื่น อาจเป็นคําพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้” คํากล่าวนี้
เป็นลักษณะของคําใด
    ก. คํามูล
    ข. คําซ้ํา
    ค. คําซ้อน
    ง. คําประสม
๒. ข้อใดเป็นคํามูลพยางค์เดียวที่เป็นคําไทยแท้ทุกคํา
    ก. เมรุ เปล ใหญ่
    ข. แปรก ตู้ ปราณ
    ค. แขวน เดิน บ้าน
    ง. เพ็ญ เทป เหมือน
๒๑


๓. ข้อใดเป็นคํามูลที่มาจากภาษาเขมรทุกคํา
    ก. เถลิง เฌอ
    ข. จําเรียง ห้าง
    ค. เผอิญ ตะหลิว
    ง. ฉงาย ราชการ
๔. ข้อใดเป็นคํามูลที่มาจากภาษาอังกฤษทุกคํา
    ก. โค้ก การ์ด เซ้ง
    ข. แซยิด สุขี ปรีดา
    ค. กุยเฮง เมตา ปราณี
    ง. โปรแกรม ออฟฟิศ เทนนิส
๕. ข้อใดเป็นคํามูลที่ยืมมาจากภาษาจีนทุกคํา
    ก. เตี่ย อั๊ว ลื้อ
    ข. เจ๊ เซ้ง เจี้ยม
    ค. เขียม เล้ง เลี่ยม
    ง. เหนียม เสียม เจ๊ง
๖. ข้อใดมีคํามูลที่มีภาษาต่างประเทศหลากหลายที่สุด
    ก. โต๊ะ ห้าง จมูก เขนย
    ข. ลิฟต์ บุ้งกี๋ อัคคี ปัญญา
    ค. ไมล์ โตนด พัสดุ วาสนา
    ง. เจริญ อัลบั้ม พฤกษา บุหลัน
๗. ข้อใดเป็นคํามูลพยางค์เดียวทุกคํา
    ก. คุณ สวย แล้ว
    ข. น้ํา ข้าม ทะเล
    ค. โยเย ปลา หอย
    ง. โต๊ะ เตะ เกะกะ
๘. ข้อใดเป็นคํามูลทุกคํา
    ก. ดินสอ เตารีด ระเบียง
    ข. ตะกร้า กระบุง หนังสือ
    ค. กระถาง วิทยุ ช้อนส้อม
    ง. สัญญา กระจก เสื้อคลุม
๒๒


๙. ประโยคต่อไปนี้ข้อใดมีคํามูลสองพยางค์
    ก. ฉันเสียใจ
    ข. ฉันกินข้าว
    ค. นกบินกลับรัง
    ง. พ่อปลูกมะม่วง
๑๐. ข้อความใดมีคํามูลสองพยางค์
    ก. ยากยิ่งนักที่เธอฝากรัก
    ข. แก้วใบนี้แหละของเธอ
    ค. ฉันละเมอเพ้อถึงเธอทุกวัน
    ง. ไม้ผุดั่งคนทราม สอนยาก

เล่มที่ ๒ เรื่อง คาประสม
จุดประสงค์การเรียนรู้
       ๑. บอกความหมายและลักษณะของคําประสมได้
     ๒. จําแนกคํามูลกับคําประสมได้
     ๓. สร้างคําประสมได้
     ๔. นําคําประสมแต่งประโยคในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตรงตามความหมาย
     ๕. เลือกคําประสมเขียนข้อความได้โดยใช้ภาษาอย่างประณีต และถูกต้องตามระดับภาษา
๑๑. “ คําที่ประกอบขึ้นจากคํามูล ทําให้เกิดความหมายใหม่ โดยมีเค้าความหมายเดิมอยู่” คํากล่าวนี้
เป็นลักษณะของคําใด
    ก. คํามูล
    ข. คําซ้ํา
    ค. คําซ้อน
    ง. คําประสม
๑๒. คําประสมในข้อใดเกิดจากคําไทยแท้ประสมกับคําภาษาอังกฤษ
    ก. ถนนหลวง
    ข. พวงหรีด
    ค. บังแทรก
    ง. สวนสัตว์
๒๓


๑๓. คําประสมในข้อใดเป็นคําวิเศษณ์ที่เกิดจากคําไทยแท้กับคําที่มาจากภาษาอื่น
   ก. ใจดี
   ข. ใจร้าย
   ค. ใจกุศล
   ง. ใจปลาซิว
๑๔. คําประสมในข้อใดเกิดจากคํานาม + คํานาม
   ก. ใบไม้
   ข. ลูกน้อง
   ค. เครื่องร่อน
   ง. เรียงพิมพ์
๑๕. คําประสมในข้อใดที่เป็นคําไทยทุกคํา
   ก. น้ําปลา เลือกตั้ง รถจี๊ป
   ข. เลขท้าย ห่อหมก เด็กปั๊ม
   ค. หมอฟัน เตาถ่าน กันสาด
   ง. ผลไม้ ลายเซ็น ร้านกาแฟ
๑๖. ข้อใดเป็นคําประสมทุกคํา
   ก. รถไฟ ปฏิทิน ดินสอ
   ข. ความรัก เงินเดือน เครื่องบิน
   ค. เก้าอี้ ชุดนักเรียน เปรี้ยวหวาน
   ง. กระเป๋า รถประจําทาง แกงส้ม
๑๗. ข้อความใดที่มีคํา “นกกินปลา” เป็นคําประสม
   ก. นกกินปลาตัวนี้
   ข. นกกินปลาตัวโต
   ค. นกกินปลาอยู่ที่ริมคลอง
   ง. นกกินปลาตัวนี้สีสวยประหลาด
๑๘. ข้อใดมีคําประสมที่เป็นประโยคได้
   ก. หมอยารักษาไข้
   ข. ปลาเสือกินปลาเสือ
   ค. ของหวานรับประทานอร่อย
   ง. พิมพ์ดีดเครื่องนี้ราคาย่อมเยา
๒๔


๑๙. ข้อความใดมีคําประสมมากที่สุด
   ก. แม่บ้านทํากับข้าวอยู่ในครัว
   ข. นักเรียนต้องไม่เป็นคนใจแคบ
   ค. ช่างภาพของหนังสือพิมพ์ต้องเป็นคนอย่างไร
   ง. ชาวไร่ชาวนาพอใจที่ผู้นําประเทศเหลียวแลพวกตน
๒๐. ข้อความใดมีคําประสมมากที่สุด
   ก. ฝูงนางนวลบินว่อนร่อนเวหา
   ข. คาดเข็มขัดนิรภัยปลอดภัยจริงหรือ
   ค. ดาวเทียมช่วยในการสื่อสารได้มาก
   ง. ภาพเขียนภาพนี้ทําให้ชื่อเสียงเขากระฉ่อน

เล่มที่ ๓ เรื่อง คาซ้อน
จุดประสงค์การเรียนรู้
         ๑. บอกความหมายและลักษณะของคําซ้อนได้
         ๒. จําแนกคําซ้อนได้
         ๓. สร้างคําซ้อนได้
         ๔. นําคําซ้อนแต่งประโยคในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตรงตามความหมาย
         ๕. เลือกคําซ้อนเขียนข้อความได้โดยใช้ภาษาอย่างประณีต และถูกต้องตามระดับภาษา


๒๑. “คําที่ประกอบขึ้นจากคํามูลตั้งแต่ ๒ คําขึ้นไปที่มีความหมายคล้ายกัน ความหมายเหมือนกัน
หรือความหมายตรงข้ามกัน” คํากล่าวนี้เป็นลักษณะของคําใด
    ก. คํามูล
    ข. คําซ้ํา
    ค. คําซ้อน
    ง. คําประสม
๒๒. คําในข้อใดเป็นคําซ้อนเพื่อความหมายทุกคํา
    ก. เร็วไว สื่อสาร กาลเวลา
    ข. สูญเปล่า ขัดแย้ง เก็บตก
    ค. รอคอย หมู่คณะ บอกเล่า
    ง. เขตแดน เดินทาง บ้านเรือน
๒๕


๒๓. ข้อใดเป็นคําซ้อนเพื่อเสียง
   ก. ดูแล
   ข. กักขัง
   ค. คิดเห็น
   ง. สุ้มเสียง
๒๔. คําซ้อนในข้อใดมีทั้งคําซ้อนเพื่อเสียงและเพื่อความหมาย
   ก. พอกพูน เชือนแช ยุยง
   ข. แคะไค้ คึกคัก โฉ่งฉ่าง
   ค. ทอดทิ้ง รีบร้อน เบาบาง
   ง. กีดกัน เหงาหงอย ปลอมแปลง
๒๕. ข้อใดจัดเป็นคําซ้อนที่มีความหมายตรงข้ามกัน
   ก. ได้เสีย ชั่วดี
   ข. ขัดถู ห่างไกล
   ค. ถ้วยชาม เสื้อผ้า
   ง. หน้าตา เหล้ายา
๒๖. ข้อใดเป็นคําซ้อนทั้งหมด
   ก. ดี๊ดี ช้อบชอบ
   ข. จืดจืด คัดเลือก
   ค. คัดเลือก ซักฟอก
   ง. เผ็ดร้อน รถไฟฟ้า
๒๗. คําซ้อนในข้อใดเกิดจากการซ้อนคําไทยกับคําเขมร
   ก. ตัดสิน
   ข. แมกไม้
   ค. ข้าวทิพย์
   ง. ทรัพย์สมบัติ
๒๘. ประโยคข้อใดไม่มีคําซ้อน
   ก. ความสุขของฉันอยู่ที่การทําดี
   ข. ฉันออกกําลังกายเพื่อให้แข็งแรง
   ค. พ่อค้ากักตุนสินค้าเพื่อต้องการกําไร
   ง. พ่อแม่เมื่อแก่ชราก็อยากให้ลูกๆ ดูแล
๒๖


๒๙. ประโยคในข้อใดมีคําซ้อนมากที่สุด
   ก. น้องทําเสียงอ้อแอ้คลานเตาะแตะมาหาฉัน
   ข. เพราะความขัดแย้งเธอจึงถูกกักขังอย่างลึกลับ
   ค. เธอเดินเคว้งคว้างมองหาใครสักคนให้ช่วยเหลือ
   ง. ขอทานแต่งตัวมอมแมมกินอาหารอย่างมูมมามเลอะเทอะเปรอะเปื้อน
๓๐. ข้อความใดนําคําซ้อนมาเขียนข้อความมากที่สุด
   ก. เขาเป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา
   ข. บุญคุณของแม่มีค่าอย่างใหญ่หลวง
   ค. คนชั่วช้าเลวทรามต้องใช้กรรมที่ตนริเริ่มไว้
   ง. ผู้บังคับบัญชาต้องเด็ดขาดต่อผู้ใต้บังคับบัญชา

เล่มที่ ๔ เรื่องคาซ้า
จุดประสงค์การเรียนรู้
         ๑. บอกความหมายและลักษณะของคําซ้ําได้
         ๒. จําแนกคําซ้ําได้
         ๓. สร้างคําซ้ําได้
         ๔. นําคําซ้ําแต่งประโยคในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตรงตามความหมาย
         ๕. เลือกคําซ้ําเขียนข้อความได้โดยใช้ภาษาอย่างประณีต และถูกต้องตามระดับภาษา


๓๑. คําซ้ําในข้อใดมีความหมายเป็นพหูพจน์
   ก. ข้อสอบปีนี้ออกตามเนื้อหาเป็นช่วงๆ
   ข. โดยหยิบมาทุกเล่มแล้วเทียบเนื้อหาแต่ละเรื่องๆ
   ค. หน้าตาแจ่มใสเด็ก ๆ กันอย่างนี้สมองคงแล่นปรู๊ดปร๊าด
   ง. จะมีก็แต่ครูๆ ที่คุมสอบนั่นเอง ที่จะรู้สึกว่าทําไมต้องคุมนาน
๓๒. คําซ้ําในข้อใดมีความหมายเป็นอุปมา
   ก. นั่งๆ นอนๆ ไปวัน ๆ ดีกว่า
   ข. เรื่องผัวๆ เมียๆ ขี้เกียจจะยุ่ง
   ค. ยังไงๆ ก็เรื่องในครอบครัวเขา
   ง. ยุ่งกับเขามากนัก ไปๆ มาๆ จะเป็นหมาหัวเน่า
๒๗


๓๓. คําซ้ําในข้อใดที่มีความหมายแยกจํานวน
   ก. เขามีเสื้อผ้าเป็นตูๆ้
   ข. ฟัง ๆ ดูเรื่องนี้ท่าจะยุ่ง
   ค. เธอเล่าเป็นเรื่องๆ ไปนะ
   ง. แม่ ๆ ยืนดูลูกๆ อยู่ริมสนาม
๓๔. คําซ้ําในข้อใดเป็นการเน้นความและบอกคําสั่ง
   ก. พูดดังๆ หน่อยไม่ได้ยินเลย
   ข. นั่งๆ นอนๆ ทําให้เกียจคร้านได้
   ค. เมื่อคืนนี้ฉันนอนหลับๆ ตื่นๆ ทั้งคืนเลย
   ง. ไม่มีอะไรทําหรือ เอาแต่นั่งๆ นอนๆ ทั้งวัน
๓๕. ข้อใดมีคําซ้ํา
   ก. นักเขียนเขียนหนังสือช้ามาก
   ข. เมืองไทยไม่มีคนจนจนอดตาย
   ค. สมใจพูดแต่เรื่องเงินเงินทองทอง
   ง. นักยิมนาสติกทําพลาดท่าท่าบังคับ
๓๖. คําซ้ําต่อไปนี้ทุกข้อแสดงความไม่เจาะจงยกเว้นข้อใด
   ก. เขาอยู่แถว ๆ อีสาน
   ข. เขามาหาฉันราว ๆ ต้นเดือน
   ค. ช่วยเลือกเอาแต่ลูกเล็ก ๆ นะ
   ง. นักเรียนรุนแรก ๆ ท่าทางขันแข็งดี
                  ่
๓๗. ข้อใดเป็นคําซ้ําที่เป็นคําวิเศษณ์
   ก. เรารักเพื่อนเพื่อนทุกคน
   ข. ใครใครก็อยากเป็นคนดี
   ค. นายหนึ่งพูดง่ายง่ายว่าก้าวไปให้ทันโลก
   ง. โรงเรียนเราอยู่ใกล้ใกล้ศาลากลางจังหวัด
๓๘. คําซ้ําข้อใดแสดงอาการต่อเนื่อง
   ก. ฉันรู้เรื่องนี้พอเลาๆ
   ข. เธอทํางานลวกๆ พอให้เสร็จ
   ค. นักเรียนจะรู้แค่งูๆ ปลาๆ ไม่ได้นะ
   ง. อาจารย์สอนๆ ไปก็ให้นักเรียนทําการบ้าน
๒๘


๓๙. คําซ้ําในประโยคใดที่ไม่สามารถใช้ไม้ยมก (ๆ) ได้
   ก. วัวแก่ชอบกินหญ้าอ่อนอ่อน
   ข. น้ําในถาดน้ําแข็งแข็งใช้ได้แล้ว
   ค. คุณแม่ชอบนั่งยองยองเวลาซักผ้า
   ง. ดึกดึกดื่นดื่นทําไมยังไม่กลับบ้าน
๔๐. ข้อความใดมีคําซ้ําที่ใช้ถูกต้อง
   ก. เนื้อเค็มๆ เกินไป
   ข. ยายดําๆ ไปกว่าเดิมมาก
   ค. เพชรมีค่าๆ มันมากเกินประมาณ
   ง. เกิดเหตุร้ายในจังหวัดภาคใต้บ่อยๆ

เล่มที่ ๕ เรื่อง คาสมาสที่ไม่มีสนธิ
จุดประสงค์การเรียนรู้
         ๑. บอกความหมายและลักษณะของคําสมาสที่ไม่มีสนธิได้
         ๒. จําแนกคําสมาสที่ไม่มีสนธิได้
         ๓. สร้างคําสมาสที่ไม่มีสนธิได้
         ๔. นําคําสมาสที่ไม่มีสนธิแต่งประโยคในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตรงตามความหมาย
         ๕. เลือกคําสมาสที่ไม่มีสนธิเขียนข้อความได้โดยใช้ภาษาอย่างประณีต และ
           ถูกต้องตามระดับภาษา
๔๑. “การนําคําบาลีและสันสกฤตมารวมกันเกิดความหมายใหม่ แต่คงเค้าความหมายเดิม” คํากล่าว
นี้เป็นลักษณะของคําใด
      ก. คํามูล
      ข. คําซ้ํา
      ค. คําสมาส
      ง. คําประสม
๔๒. “ศึกษาศาสตร์” เป็นคําสมาสที่ไม่มีสนธิ สร้างมาจากภาษาใด
      ก. บาลี + บาลี
      ข. บาลี + สันสกฤต
      ค. สันสกฤต + บาลี
      ง. สันสกฤต + สันสกฤต
๒๙


๔๓. “หัตถศึกษา ” เป็นคําสมาสที่ไม่มีสนธิ สร้างมาจากภาษาใด
   ก. บาลี + บาลี
   ข. บาลี + สันสกฤต
   ค. สันสกฤต + บาลี
   ง. สันสกฤต + สันสกฤต
๔๔. คําในข้อใดเป็นคําสมาสที่ไม่มีสนธิทุกคํา
   ก. มหกรรม กรมท่า วรพงค์
   ข. เอกภาพ สุนทรพจน์ วีรชน
   ค. ยุทธการ นวพล ประวัติศาสตร์
   ง. กุลสตรี ราชานุเคราะห์ รัฐมนตรี
๔๕. ข้อใดมีคําสมาสที่ไม่มีสนธิอยู่ในข้อความ
   ก. ศูนย์ศิลปาชีพน้ําท่วม
   ข. เขาเป็นคนรักความสันโดษ
   ค. ลูกชายฉันเรียนอยู่ที่เกษตรศาสตร์
   ง. นักเรียนไปเที่ยวชมอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
๔๖. คําสมาสที่ไม่มีสนธิคู่ใดสร้างไม่ถูกต้อง
   ก. เสรี + ภาพ = เสรีภาพ
   ข. ทุกข + ลาภ = ทุกข์ลาภ
   ค. สังฆ + นายก = สังฆนายก
   ง. มนุษย์ + ชาติ = มนุษยชาติ
๔๗. คําว่า “ทิพย + รส” สร้างเป็นคําสมาสที่ไม่มีสนธิได้ตามข้อใด
   ก. ทิพรส
   ข. ทิพย์รส
   ค. ทิพยรส
   ง. ทิพยารส
๔๘. คําสมาสที่ไม่มีสนธิคู่ใดสร้างไม่ถูกต้อง
   ก. ราช + โอรส = ราชโอรส
   ข. บุตร + ภรรยา = บุตรภรรยา
   ค. พฤกษ + ชาติ = พฤกษชาติ
   ง. เทศ + บัญญัติ = เทศะบัญญัติ
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

การพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนTunggy
 
วิจัย การพัฒนาความสามารถในการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกมออนไลน์
วิจัย การพัฒนาความสามารถในการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกมออนไลน์วิจัย การพัฒนาความสามารถในการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกมออนไลน์
วิจัย การพัฒนาความสามารถในการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกมออนไลน์Areeya Hongsuwan
 
คู่มือบัญชีคำพื้นฐานป.๑
คู่มือบัญชีคำพื้นฐานป.๑คู่มือบัญชีคำพื้นฐานป.๑
คู่มือบัญชีคำพื้นฐานป.๑Knp Wan
 
วิชาภาษาไทย มัธยมศึกษา ปีที่ 3 – วิเคราะห์ข้อสอบ-โลกแห่งการเรียนรู้ – โลกแห่ง...
วิชาภาษาไทย มัธยมศึกษา ปีที่ 3 – วิเคราะห์ข้อสอบ-โลกแห่งการเรียนรู้ – โลกแห่ง...วิชาภาษาไทย มัธยมศึกษา ปีที่ 3 – วิเคราะห์ข้อสอบ-โลกแห่งการเรียนรู้ – โลกแห่ง...
วิชาภาษาไทย มัธยมศึกษา ปีที่ 3 – วิเคราะห์ข้อสอบ-โลกแห่งการเรียนรู้ – โลกแห่ง...Kruthai Kidsdee
 
สาขาวิชาการสอนภาษาไทย
สาขาวิชาการสอนภาษาไทยสาขาวิชาการสอนภาษาไทย
สาขาวิชาการสอนภาษาไทยpentanino
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1Krudoremon
 
ข้อสอบ O net ภาษาไทย ม.๓ ชุด ๒
ข้อสอบ O net ภาษาไทย ม.๓ ชุด ๒ข้อสอบ O net ภาษาไทย ม.๓ ชุด ๒
ข้อสอบ O net ภาษาไทย ม.๓ ชุด ๒Manas Panjai
 
บัญชีคำพื้นฐาน
บัญชีคำพื้นฐานบัญชีคำพื้นฐาน
บัญชีคำพื้นฐานPatcha Linsay
 

La actualidad más candente (17)

Thai
ThaiThai
Thai
 
Post selt2
Post selt2Post selt2
Post selt2
 
การพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
 
วิจัย การพัฒนาความสามารถในการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกมออนไลน์
วิจัย การพัฒนาความสามารถในการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกมออนไลน์วิจัย การพัฒนาความสามารถในการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกมออนไลน์
วิจัย การพัฒนาความสามารถในการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกมออนไลน์
 
12. บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
12.  บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล12.  บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
12. บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
 
คู่มือบัญชีคำพื้นฐานป.๑
คู่มือบัญชีคำพื้นฐานป.๑คู่มือบัญชีคำพื้นฐานป.๑
คู่มือบัญชีคำพื้นฐานป.๑
 
วิชาภาษาไทย มัธยมศึกษา ปีที่ 3 – วิเคราะห์ข้อสอบ-โลกแห่งการเรียนรู้ – โลกแห่ง...
วิชาภาษาไทย มัธยมศึกษา ปีที่ 3 – วิเคราะห์ข้อสอบ-โลกแห่งการเรียนรู้ – โลกแห่ง...วิชาภาษาไทย มัธยมศึกษา ปีที่ 3 – วิเคราะห์ข้อสอบ-โลกแห่งการเรียนรู้ – โลกแห่ง...
วิชาภาษาไทย มัธยมศึกษา ปีที่ 3 – วิเคราะห์ข้อสอบ-โลกแห่งการเรียนรู้ – โลกแห่ง...
 
สาขาวิชาการสอนภาษาไทย
สาขาวิชาการสอนภาษาไทยสาขาวิชาการสอนภาษาไทย
สาขาวิชาการสอนภาษาไทย
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
ข้อสอบ O net ภาษาไทย ม.๓ ชุด ๒
ข้อสอบ O net ภาษาไทย ม.๓ ชุด ๒ข้อสอบ O net ภาษาไทย ม.๓ ชุด ๒
ข้อสอบ O net ภาษาไทย ม.๓ ชุด ๒
 
Plan
PlanPlan
Plan
 
Thai
ThaiThai
Thai
 
2014อังกฤษ ม.3
2014อังกฤษ ม.32014อังกฤษ ม.3
2014อังกฤษ ม.3
 
The idol
The idol The idol
The idol
 
บัญชีคำพื้นฐาน
บัญชีคำพื้นฐานบัญชีคำพื้นฐาน
บัญชีคำพื้นฐาน
 
Las m2 53
Las m2 53Las m2 53
Las m2 53
 
วิจัย ม
วิจัย มวิจัย ม
วิจัย ม
 

Destacado

ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙
ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙
ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙Nongkran Jarurnphong
 
ประโยคความรวม กลุ่ม๓
ประโยคความรวม กลุ่ม๓ประโยคความรวม กลุ่ม๓
ประโยคความรวม กลุ่ม๓Nongkran Jarurnphong
 
งานนำเสนอ1ภาษาไทย(ประโยคความรวม) (2)
งานนำเสนอ1ภาษาไทย(ประโยคความรวม) (2)งานนำเสนอ1ภาษาไทย(ประโยคความรวม) (2)
งานนำเสนอ1ภาษาไทย(ประโยคความรวม) (2)Nongkran Jarurnphong
 
ประโยคตามเจตนา 7
ประโยคตามเจตนา 7ประโยคตามเจตนา 7
ประโยคตามเจตนา 7Nongkran Jarurnphong
 

Destacado (7)

ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙
ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙
ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙
 
กลุ่มที่ ๒
กลุ่มที่ ๒กลุ่มที่ ๒
กลุ่มที่ ๒
 
ประโยคความรวม กลุ่ม๓
ประโยคความรวม กลุ่ม๓ประโยคความรวม กลุ่ม๓
ประโยคความรวม กลุ่ม๓
 
งานนำเสนอ1ภาษาไทย(ประโยคความรวม) (2)
งานนำเสนอ1ภาษาไทย(ประโยคความรวม) (2)งานนำเสนอ1ภาษาไทย(ประโยคความรวม) (2)
งานนำเสนอ1ภาษาไทย(ประโยคความรวม) (2)
 
ประโยคตามเจตนา 7
ประโยคตามเจตนา 7ประโยคตามเจตนา 7
ประโยคตามเจตนา 7
 
Flickr
FlickrFlickr
Flickr
 
กลุ่มที่ ๑
กลุ่มที่ ๑กลุ่มที่ ๑
กลุ่มที่ ๑
 

Similar a คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล

แบบรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา โสภิญญา
แบบรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา โสภิญญาแบบรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา โสภิญญา
แบบรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา โสภิญญาSophinyaDara
 
จุดเน้นการดำเนินงาน ที่ 1
จุดเน้นการดำเนินงาน   ที่ 1จุดเน้นการดำเนินงาน   ที่ 1
จุดเน้นการดำเนินงาน ที่ 1kruchaily
 
รายงานผลจุดเน้นที่ 1
รายงานผลจุดเน้นที่ 1รายงานผลจุดเน้นที่ 1
รายงานผลจุดเน้นที่ 1kruchaily
 
Best practice บทเรียนการ์ตูนและเกมส์ช่วยสอน โรงเรียนบ้านซับสนุ่น
Best practice   บทเรียนการ์ตูนและเกมส์ช่วยสอน โรงเรียนบ้านซับสนุ่นBest practice   บทเรียนการ์ตูนและเกมส์ช่วยสอน โรงเรียนบ้านซับสนุ่น
Best practice บทเรียนการ์ตูนและเกมส์ช่วยสอน โรงเรียนบ้านซับสนุ่นatunya2530
 
Ssr รร 2555
Ssr รร 2555Ssr รร 2555
Ssr รร 2555supphawan
 
เผยแพร่ Sar25ุ59 บ้านโคกสามัคคี
เผยแพร่ Sar25ุ59 บ้านโคกสามัคคีเผยแพร่ Sar25ุ59 บ้านโคกสามัคคี
เผยแพร่ Sar25ุ59 บ้านโคกสามัคคีcomed
 
นำเสนอหลักสูตร ร.ร.เมืองยม
นำเสนอหลักสูตร ร.ร.เมืองยมนำเสนอหลักสูตร ร.ร.เมืองยม
นำเสนอหลักสูตร ร.ร.เมืองยมkrupawit
 
๔. แนวทดสอบ ผอ.กศน.จังหวัด และ ผอ.กศน.อำเภอ สังกัดสำนักงาน กศน.ชุดที่ ๔ (จาก...
๔. แนวทดสอบ ผอ.กศน.จังหวัด และ ผอ.กศน.อำเภอ สังกัดสำนักงาน กศน.ชุดที่ ๔  (จาก...๔. แนวทดสอบ ผอ.กศน.จังหวัด และ ผอ.กศน.อำเภอ สังกัดสำนักงาน กศน.ชุดที่ ๔  (จาก...
๔. แนวทดสอบ ผอ.กศน.จังหวัด และ ผอ.กศน.อำเภอ สังกัดสำนักงาน กศน.ชุดที่ ๔ (จาก...นายจักราวุธ คำทวี
 
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้นเครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้นLathika Phapchai
 
ผลการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ผลการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ผลการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ผลการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์Nattapon
 
Wanida 134 cai
Wanida 134 cai Wanida 134 cai
Wanida 134 cai kruwanida
 
การบริหารงานโรงเรียนปรางค์กู่
การบริหารงานโรงเรียนปรางค์กู่การบริหารงานโรงเรียนปรางค์กู่
การบริหารงานโรงเรียนปรางค์กู่prangkupk
 
คู่มือการใช้
คู่มือการใช้คู่มือการใช้
คู่มือการใช้Noir Black
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5Krudoremon
 
ผลงานทางวิชาการ ครูสุพัฒน์ ชาติเจริญ
ผลงานทางวิชาการ ครูสุพัฒน์  ชาติเจริญผลงานทางวิชาการ ครูสุพัฒน์  ชาติเจริญ
ผลงานทางวิชาการ ครูสุพัฒน์ ชาติเจริญPrasong Somarat
 

Similar a คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล (20)

แบบรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา โสภิญญา
แบบรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา โสภิญญาแบบรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา โสภิญญา
แบบรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา โสภิญญา
 
จุดเน้นการดำเนินงาน ที่ 1
จุดเน้นการดำเนินงาน   ที่ 1จุดเน้นการดำเนินงาน   ที่ 1
จุดเน้นการดำเนินงาน ที่ 1
 
รายงานผลจุดเน้นที่ 1
รายงานผลจุดเน้นที่ 1รายงานผลจุดเน้นที่ 1
รายงานผลจุดเน้นที่ 1
 
Best practice บทเรียนการ์ตูนและเกมส์ช่วยสอน โรงเรียนบ้านซับสนุ่น
Best practice   บทเรียนการ์ตูนและเกมส์ช่วยสอน โรงเรียนบ้านซับสนุ่นBest practice   บทเรียนการ์ตูนและเกมส์ช่วยสอน โรงเรียนบ้านซับสนุ่น
Best practice บทเรียนการ์ตูนและเกมส์ช่วยสอน โรงเรียนบ้านซับสนุ่น
 
Ssr รร 2555
Ssr รร 2555Ssr รร 2555
Ssr รร 2555
 
เผยแพร่ Sar25ุ59 บ้านโคกสามัคคี
เผยแพร่ Sar25ุ59 บ้านโคกสามัคคีเผยแพร่ Sar25ุ59 บ้านโคกสามัคคี
เผยแพร่ Sar25ุ59 บ้านโคกสามัคคี
 
Port peter
Port peterPort peter
Port peter
 
นำเสนอหลักสูตร ร.ร.เมืองยม
นำเสนอหลักสูตร ร.ร.เมืองยมนำเสนอหลักสูตร ร.ร.เมืองยม
นำเสนอหลักสูตร ร.ร.เมืองยม
 
Sar peter 60
Sar peter 60Sar peter 60
Sar peter 60
 
B1
B1B1
B1
 
๔. แนวทดสอบ ผอ.กศน.จังหวัด และ ผอ.กศน.อำเภอ สังกัดสำนักงาน กศน.ชุดที่ ๔ (จาก...
๔. แนวทดสอบ ผอ.กศน.จังหวัด และ ผอ.กศน.อำเภอ สังกัดสำนักงาน กศน.ชุดที่ ๔  (จาก...๔. แนวทดสอบ ผอ.กศน.จังหวัด และ ผอ.กศน.อำเภอ สังกัดสำนักงาน กศน.ชุดที่ ๔  (จาก...
๔. แนวทดสอบ ผอ.กศน.จังหวัด และ ผอ.กศน.อำเภอ สังกัดสำนักงาน กศน.ชุดที่ ๔ (จาก...
 
Work you selt
Work you seltWork you selt
Work you selt
 
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้นเครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
 
Work you selt3
Work you selt3Work you selt3
Work you selt3
 
ผลการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ผลการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ผลการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ผลการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
 
Wanida 134 cai
Wanida 134 cai Wanida 134 cai
Wanida 134 cai
 
การบริหารงานโรงเรียนปรางค์กู่
การบริหารงานโรงเรียนปรางค์กู่การบริหารงานโรงเรียนปรางค์กู่
การบริหารงานโรงเรียนปรางค์กู่
 
คู่มือการใช้
คู่มือการใช้คู่มือการใช้
คู่มือการใช้
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
ผลงานทางวิชาการ ครูสุพัฒน์ ชาติเจริญ
ผลงานทางวิชาการ ครูสุพัฒน์  ชาติเจริญผลงานทางวิชาการ ครูสุพัฒน์  ชาติเจริญ
ผลงานทางวิชาการ ครูสุพัฒน์ ชาติเจริญ
 

Más de phornphan1111

พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ22
พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ22พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ22
พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ22phornphan1111
 
คำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤตคำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤตphornphan1111
 
คำทับศัพท์
คำทับศัพท์คำทับศัพท์
คำทับศัพท์phornphan1111
 
อิศรญาณตอ..
อิศรญาณตอ..อิศรญาณตอ..
อิศรญาณตอ..phornphan1111
 
งานนำเสนอคำไวพจน์
งานนำเสนอคำไวพจน์งานนำเสนอคำไวพจน์
งานนำเสนอคำไวพจน์phornphan1111
 
คำทับศัพท์
คำทับศัพท์คำทับศัพท์
คำทับศัพท์phornphan1111
 
คำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤตคำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤตphornphan1111
 
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูลคู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูลphornphan1111
 

Más de phornphan1111 (8)

พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ22
พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ22พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ22
พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ22
 
คำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤตคำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤต
 
คำทับศัพท์
คำทับศัพท์คำทับศัพท์
คำทับศัพท์
 
อิศรญาณตอ..
อิศรญาณตอ..อิศรญาณตอ..
อิศรญาณตอ..
 
งานนำเสนอคำไวพจน์
งานนำเสนอคำไวพจน์งานนำเสนอคำไวพจน์
งานนำเสนอคำไวพจน์
 
คำทับศัพท์
คำทับศัพท์คำทับศัพท์
คำทับศัพท์
 
คำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤตคำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤต
 
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูลคู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล
 

คู่มือครู เล่มที่ ๑ เรื่อง คำมูล

  • 1. คู่มือครู ประกอบแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคาในภาษาไทย วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เล่มที่ ๑ เรื่อง คามูล ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ ได้กําหนดให้ภาษาไทยซึ่งเป็นภาษา ประจํา ชาติ เป็ นกลุ่ม สาระการเรียนรู้หลัก เพราะมีจุดมุ่งหมายในการพั ฒนาศัก ยภาพให้ผู้เรีย น สามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องตามหลักภาษา และเกิดการเรียนรู้อย่างเหมาะสมต่อวัฒนธรรม ไทย การเรียนรู้ภาษาไทยจะต้องเน้นการพัฒนาเพื่อการสื่อสารที่ถูกต้อง มีหลักเกณฑ์ เกิดประโยชน์ อย่ า งสูง สุดต่อผู้เรีย นในอนาคต หลัก ภาษาไทย ในเนื้อหาระดับชั้นมัธ ยมศึกษาตอนต้น เป็น การศึกษาหลักภาษาเกี่ยวกับคําและกลุ่มคํา แบบสร้างของคํา การสังเกตลักษณะของคําที่เป็นคําไทย เดิมกับคําที่มาจากภาษาอื่น (กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๔๑: ๑๔)
  • 2. จากการพิจารณาผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O–NET) ช่วงชั้นที่ ๓ (มัธยมศึกษา ปีที่ ๓) ปีการศึกษา ๒๕๕๑ และปีการศึกษา ๒๕๕๒ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียน ห้วยสักวิทยาคม สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต ๑ เป็นดังนี้ ตารางที่ ๑ ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O–NET) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนห้วยสักวิทยาคม ผลการทดสอบ ปีการศึกษา ๒๕๕๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๒ มาตรฐาน คะแนนเต็ม คะแนนเฉลี่ย คะแนนเฉลี่ย คะแนนเฉลี่ย คะแนนเฉลี่ย ระดับโรงเรียน ระดับจังหวัด ระดับโรงเรียน ระดับจังหวัด ท ๑.๑ ๑๐๐.๐๐ ๔.๕๙ ๔.๘๒ ๖.๑๘ ๖.๒๔ ท ๒.๑ ๑๐๐.๐๐ ๑๐.๑๘ ๑๐.๓๔ ๓.๗๒ ๔.๐๗ ท ๓.๑ ๑๐๐.๐๐ ๔.๐๘ ๔.๐๘ ๓.๐๕ ๓.๒๔ ท ๔.๑ ๑๐๐.๐๐ ๑๕.๖๑ ๑๖.๘๓ ๑๔.๖๕ ๑๔.๙๖ ท ๕.๑ ๑๐๐.๐๐ ๔.๒๙ ๕.๒๓ ๖.๔๘ ๖.๙๙ ที่มา: (รายงานสารสนเทศโรงเรียนห้วยสักวิทยาคม ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ – ๒๕๕๒) จากตารางที่ ๑ พบว่ า ผลการทดสอบระดั บ ชาติ ขั้ น พื้ น ฐาน (O–NET) ของนั ก เรี ย น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนห้วยสักวิทยาคม ปีการศึกษา ๒๕๕๒ มาตรฐาน ท ๑.๑และ ท ๕.๑ มีคะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียน เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา ๒๕๕๑ ส่วนมาตรฐานที่ ท ๒.๑ท ๓.๑ และ ท ๔.๑ มีคะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียนลดลงจากปีการศึกษา ๒๕๕๑ ซึ่งสอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท๓๓๑๐๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๑ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ ๒.๔๘ ปีการศึกษา ๒๕๕๒ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ ๒.๓๔ จะเห็นได้ว่ามีผลการ เรียนเฉลี่ยลดลง ทั้งนี้การสร้างคําในภาษาไทย นับว่ามีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน อย่างยิ่ง ในการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนมีความคาดหวังให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและมี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ สูงขึ้น แต่เนื่องจากการเรียนการสอนในปัจจุบันนัก เรียนในระดับชั้น มัธยมศึกษามีความชอบและให้ความสําคัญกับวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นมากกว่า การเรียนการ สอนกลุ่ ม สาระการเรี ย นรู้ ภ าษาไทย โดยเฉพาะการเรี ย นเนื้ อ หาหลั ก ภาษาไทย ซึ่ ง นั กเรี ย นมี ความเห็นว่า เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ทําให้ยากแก่การเข้าใจ ยึ ด หลั ก การสอนโดยเน้ น การบรรยาย การท่ อ งจํ า ไม่ มี สื่ อ เทคโนโลยี แ ละนวั ต กรรมมาใช้
  • 3. ๓ ประกอบการสอน นักเรียนขาดความสนใจทําให้การเรียนวิชาภาษาไทยเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ ดัง นั้น วิธีการสอนของครูจึงเป็นเรื่องสําคัญมากและเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเรียนในระดับสูงขึ้นไปและ มีความเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่อง นักเรียนไม่มีความเข้าใจเรื่องการสร้างคําในภาษาไทยเท่าที่ควร ทําให้เกิดปัญหาต่อการเรียนในระดับที่สูงขึ้น ดัง นั้ น การเรี ย นเรื่ องการสร้า งคํ า ในภาษาไทย จึ ง มี ค วามจํ า เป็ นหากนั ก เรีย นไม่ เ ห็ น ความสําคัญและไม่ให้ความสําคัญในเรื่องหลักภาษาไทย เท่ากับว่านักเรียนขาดบรรทัดฐานของการ เรียนภาษา จนเป็นเหตุให้ใช้ภาษาไทยบกพร่องและผิดพลาดอยู่เสมอ ในการเรียนการสอนเรื่อง การสร้างคํ าในภาษาไทย จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามหลักสูตร ครูผู้ส อนจะต้องทําให้ผู้เรีย น เกิดความเข้าใจในเนื้อหาและสามารถนําไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น ดังนั้นวิธีสอนของครู จึงเป็นเรื่องสําคัญมาก ครูควรหาวิธีสอนและกิจกรรมในการสอน เรื่องการสร้างคําที่หลากหลาย เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดทั้งความรู้และความสนุกสนานในการเรียนรู้ อี ก ทั้ ง เป็ น การจู ง ใจให้ นั ก เรี ย นเกิ ด ทั ศ นคติ ที่ ดี ต่ อ วิ ช าภาษาไทยดั ง ที่ ก ล่ า วมา โดยการใช้ สื่ อ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพผู้เรียนหลายรูปแบบ เช่น การจัดบทเรียน โมดูล การจัดศูนย์การเรียน ชุดการเรียนด้วยตนเอง บทเรียนมัลติมิเดีย บทเรียนสําเร็จรูป และแบบ ฝึกทักษะล้วนเป็นสื่อที่น่าสนใจและนํามาพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยอย่างดี จากการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงได้สร้างแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคํา ในภาษาไทย วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท๓๓๑๐๑ ชั้นมัธ ยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนห้วยสักวิทยาคม ปีการศึกษา ๒๕๕๓ เพื่อเป็นสื่อในการจัดการเรียนรู้สําหรับแก้ไขปัญหาของผู้เรียน เพราะผู้ศึกษาเห็น ว่าแบบฝึ กเสริมทั กษะเป็ นเครื่องมือที่ ดี นักเรียนสามารถนําไปฝึ กที่บ้ านหรือในเวลาว่างได้ เมื่ อ นักเรียนได้ฝึกฝนเป็นประจําก็จะทําให้นักเรียนเกิดทักษะในการสร้างคํามากยิ่งขึ้นตลอดจนนําไปเป็น แนวทางในการพัฒนา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการสร้างคําในภาษาไทย วิช าภาษาไทย รหัสวิชา ท๓๓๑๐๑ ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนห้วยสักวิทยาคม ให้มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น วัตถุประสงค์ในการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคาในภาษาไทย ๑. เพื่ อ สร้ า งและหาประสิ ท ธิ ภ าพของแบบฝึ ก เสริ ม ทั ก ษะการสร้ างคํ า ในภาษาไทย วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๒. เพือศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ แบบฝึก ่ เสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
  • 4. ๔ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๕ โรงเรียนห้วยสักวิทยาคม อําเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๖ ปีการศึกษา ๒๕๕๓ จํานวน ๓๘ คน ๓. เพื่ อ ศึ ก ษาความพึ ง พอใจของนั ก เรี ย นที่ มี ต่อ การเรี ย นโดยใช้ แ บบฝึ ก เสริ ม ทั ก ษะ การสร้างคําในภาษาไทย วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ของนักเรียน ชั้ นมั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ ๓/๕ โรงเรี ย นห้ว ยสัก วิท ยาคม อําเภอเมื องเชีย งราย จังหวัดเชี ย งราย สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๖ ปีการศึกษา ๒๕๕๓ จํานวน ๓๘ คน ลักษณะของแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคาในภาษาไทย แบบฝึ กเสริ มทั กษะการสร้ างคํ าในภาษาไทย วิ ช าภาษาไทย รหั ส วิ ช า ท๓๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๓ จัดทําเป็นเล่มทั้งหมด ๖ เล่ม คือ เล่มที่ ๑ เรื่อง คํามูล เล่มที่ ๒ เรื่อง คําประสม เล่มที่ ๓ เรื่อง คําซ้อน เล่มที่ ๔ เรื่อง คําซ้ํา เล่มที่ ๕ เรื่อง คําสมาสที่ไม่มีสนธิ เล่มที่ ๖ เรื่อง คําสมาสที่มีสนธิ แบบฝึ ก เสริ มทั กษะการสร้ างคํ าในภาษาไทย วิ ชาภาษาไทย รหั ส วิ ช า ท ๓๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ แต่ละเล่มประกอบด้วย ๑. ปก ได้แสดงประเภทของนวัตกรรม ชั้น ชื่อผู้จัดทําและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๒. คํานํา ได้แสดงภาพรวมของการดําเนินการพอเข้าใจ ๓. สารบัญ แจ้งรายละเอียดในแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย ๔. คําชี้แจงเกี่ยวกับแบบฝึกเสริมทักษะ ๕. คําแนะนําการใช้แบบฝึกเสริมทักษะสําหรับนักเรียน ๖. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ๗. จุดประสงค์การเรียนรู้ ๘. แผนภูมิแสดงลําดับขั้นตอนการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะ ๙. แบบทดสอบก่อนเรียนประจําแบบฝึกเสริมทักษะ จํานวน ๑๐ ข้อ ๑๐. สาระการเรียนรู้ ๑๑. กิจกรรมแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย
  • 5. ๑๒. เกมเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย ๑๓. แบบทดสอบหลังเรียนประจําแบบฝึกเสริมทักษะ จํานวน ๑๐ ข้อ ๑๔. แบบบันทึกคะแนนแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย ๑๕. ภาคผนวก ๑๕.๑ เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน ๑๕.๒ เฉลยแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย ๑๕.๓ เฉลยเกมเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย ๑๕.๔ เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน ๑๖. บรรณานุกรม คาแนะนาสาหรับครู การใช้แบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ทั้ง ๖ เล่ม ครูผู้สอนควรปฏิบัติดังนี้ ๑. ก่อนใช้แบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคาในภาษาไทย ๑.๑ ศึกษาเนื้อหาที่สอนในแต่ละเล่มอย่างละเอียด และศึกษาแบบฝึกเสริมทักษะการ- สร้างคําในภาษาไทยให้รอบคอบ ๑.๒ ศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้ในแต่ละเล่มให้เข้าใจอย่างชัดเจน ๑.๓ ศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการใช้สื่อการเรียนรู้แต่ละชนิด ๑.๔ ตรวจสอบและจัดเตรียมเอกสารประกอบการเรียน สื่อการเรียนรู้ เอกสารอื่นๆ และจัดชั้นเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ๒. ขณะใช้แบบเสริมทักษะการสร้างคาในภาษาไทย ๒.๑ ก่ อ นเรี ย นแบบฝึ ก เสริ ม ทั ก ษะเล่ ม ที่ ๑ ให้ นั ก เรี ย นทํ า แบบทดสอบวั ด ผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนด้วยแบบฝึก เสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จํานวน ๖๐ ข้อ เป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก ประเมินความรู้พื้นฐานของผู้เรียน ๒.๒ ก่อนเรียนทุกครั้งครูควรแนะนําให้นักเรียนศึกษาคําชี้แจงเกี่ยวกับแบบฝึกเสริม- ทักษะและคําแนะนําการใช้แบบฝึกเสริมทักษะสําหรับนักเรียนอย่างละเอียด ๒.๓ ให้นักเรียนทําแบบทดสอบก่อนเรียนประจําแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําใน- ภาษาไทยในแต่ละเล่ม จํานวน ๑๐ ข้อ ซึ่งเป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก
  • 6. ๒.๔ การดําเนินกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ แบ่งเป็น ๓ ขั้น ๒.๔.๑ ขั้นนําเข้าสู่บทเรียน ๒.๔.๒ ขั้นสอน ๒.๔.๓ ขั้นสรุป ๒.๕ ขณะนักเรียนทํากิจกรรมอยู่ ครูต้องเดินดูการทํางานอย่างใกล้ชิด และทั่วถึงหาก นักเรียนคนใดมีปัญหาครูต้องเข้าไปช่วยเหลือทันที ๒.๖ เมื่อเรียนจบแบบฝึกเสริมทักษะในแต่ละเล่ม ให้นักเรียนทําแบบทดสอบหลัง เรียนประจําแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย จํานวน ๑๐ ข้อ ซึ่งเป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก เพื่อทราบผลการพัฒนา ๒.๗ เมื่อเรียนครบทั้ง ๖ เล่ม ให้นักเรียนทําแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จํานวน ๖๐ ข้อ เป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก เพื่อวัดความรู้ความ เข้าใจแล้วนําผลการทดสอบก่อนและหลังเรียนมาเปรียบเทียบเพื่อทราบผลการพัฒนาในภาพรวม ด้วย ๒.๘ ประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนรู้วิชาภาษาไทยด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการ- สร้างคําในภาษาไทย วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ทั้ง ๖ เล่ม ๓. หลังใช้แบบเสริมทักษะการสร้างคาในภาษาไทย รวบรวมคะแนนสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และคะแนนการทําแบบฝึกเสริมทักษะ การสร้างคําในภาษาไทยแต่ละเล่มเพื่อประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียน คาแนะนาสาหรับนักเรียน ในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย จํานวน ๖ เล่มเป็นสื่อประกอบ นักเรียนควรปฏิบัติดังนี้ ๑. ก่อนเรีย นด้วยแบบฝึกเสริมทัก ษะเล่มที่ ๑นักเรียนทําแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนก่อนเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ ๓ จํ านวน ๖๐ ข้ อ เป็ นข้ อสอบแบบเลื อกตอบ ๔ ตั วเลื อก เพื่อประเมินความรู้พื้นฐานของผู้เรียน
  • 7. ๒. ก่อ นเรีย นทุก ครั้ง นัก เรีย นศึก ษาคําชี้แจงเกี่ยวกับแบบฝึกเสริมทักษะและคําแนะนํา การใช้แบบฝึก เสริมทักษะสําหรับนักเรียนอย่างละเอียด ๓. ทําแบบทดสอบก่อนเรียนประจําแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทยแต่ละ เล่ม เพื่อประเมินความรู้พื้นฐานของนักเรียน ๔. ศึกษาเนื้อหาตามลําดับขั้นตอน จะเว้นหรือข้ามไม่ได้ ๕. ศึ กษาคํ า ชี้แจง ทํา ความเข้าใจตัวอย่ างที่กํ าหนดให้ แล้วลงมือปฏิบัติกิ จกรรมใน แบบฝึ ก เสริ ม ทั ก ษะที ล ะแบบฝึ ก ด้ ว ยความตั้ ง ใจและซื่ อ สั ต ย์ ห ากมี ปั ญ หาใด ๆ ควรสอบถาม ครูผู้สอนให้เข้าใจ ๖. ตรวจแนวคําตอบจากเฉลยท้ายเล่ม แล้วบันทึกคะแนนลงในแบบบันทึกคะแนน เพื่อ ทราบผลความก้าวหน้า ๗. เมื่อทําแบบฝึกเสริมทักษะครบทุก กิจกรรมแล้ว จึงทําแบบทดสอบหลังเรียนประจํา แบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทยแต่ละเล่มด้วยความรอบคอบและมั่นใจ ๘. ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนจากเฉลยท้ายเล่มบันทึกคะแนนลงในแบบ บันทึกคะแนน เพื่อทราบผลการเรียนและการพัฒนา ๙. เมื่อเรียนครบทั้ง ๖ เล่ม นักเรียนทําแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จํานวน ๖๐ ข้ อ เป็ นข้ อสอบแบบเลือกตอบ ๔ ตัวเลื อก เพื่ อวัดความรู้ความเข้าใจแล้วนําผล การทดสอบก่อนและหลังเรียนมาเปรียบเทียบเพื่อทราบผลการพัฒนาในภาพรวมด้วย ๑๐. ประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนรู้วิชาภาษาไทยด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคํา ในภาษาไทย วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ทั้ง ๖ เล่ม
  • 8. ๘ แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เล่มที่ ๑ เรื่อง คํามูล
  • 9. แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย รหัสวิชา ท๓๓๑๐๑ ช่วงชั้นที่ ๓ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ พระบรมราโชวาท จานวน ๓๖ ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่อง คามูล (๑) เวลา ๒ ชั่วโมง สอนวันที่….....เดือน………………พ.ศ……………. ภาคเรียนที่ ……. ปีการศึกษา …………. มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษา และพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ มาตรฐาน ท ๔.๑.๑ เข้าใจการสร้างคําไทยตามหลักเกณฑ์ของภาษา สาระสาคัญ คําที่ใช้ในภาษาไทย มีลักษณะและวิธีการสร้างคําหลายแบบ ได้แก่ คําที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะ คือ คํามูล และคําที่สร้างขึ้นใหม่จากคํามูล เช่น คําประสม คําซ้อน คําซ้ํา คําสมาส เป็นต้น การสร้างคําขึ้นใช้ในภาษาไทยเป็นความเจริญงอกงามทางภาษา อันเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้า ทางวิชาการ การพัฒนาทางเทคโนโลยี ตลอดจนการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศการศึกษา หลักการสร้างคําช่วยให้การพัฒนาทางภาษาไทยมีความถูกต้องเป็นระบบมากยิ่งขึ้น ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง มีความรู้ความเข้าใจในลักษณะของคํามูล และสามารถนําไปใช้ในการสื่อสารได้อย่าง ถูกต้อง ตรงตามความหมาย จุดประสงค์การเรียนรู้ ๔.๑ ด้านความรู้ ๔.๑ บอกที่มาของคํามูลและจําแนกชนิดของคํามูลได้ถูกต้อง ๔.๒ บอกลักษณะของคํามูลพยางค์เดียวและคํามูลหลายพยางค์ได้
  • 10. ๑๐ ๔.๒ ด้านทักษะกระบวนการ ๔.๒.๑ จําแนกคํามูลพยางค์เดียวและคํามูลหลายพยางค์ได้ ๔.๒.๒ นําคํามูลแต่งประโยคในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตรงตามความหมาย ๔.๒.๓ เลือกคํามูลเขียนข้อความได้โดยใช้ภาษาอย่างประณีต และถูกต้องตามระดับ ภาษา ๔.๓ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๔.๓.๑ ทํางานกลุ่มร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ๔.๓.๒ ปฏิบัติตนเป็นคนมีความรับผิดชอบ และความใฝ่รใฝ่เรียนในการทํากิจกรรม ู้ สาระการเรียนรู้ ๑. ที่มาของคํามูล ๒. ชนิดของคํามูล ๓. ลักษณะของคํามูลพยางค์เดียวและคํามูลหลายพยางค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ ๑ ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน ๑. ชี้แจงให้นักเรียนทราบว่าในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จะใช้แบบฝึกเสริมทักษะการสร้าง- คําในภาษาไทย วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ จัดทําขึ้น จํานวน ๖ เล่ม เป็นสื่อประกอบ ดังนี้ เล่มที่ ๑ เรื่อง คํามูล เล่มที่ ๒ เรื่อง คําประสม เล่มที่ ๓ เรื่อง คําซ้อน เล่มที่ ๔ เรื่อง คําซ้ํา เล่มที่ ๕ เรื่อง คําสมาสที่ไม่มีสนธิ เล่มที่ ๖ เรื่อง คําสมาสที่มีสนธิสนธิ ๒. ก่อนเรียนแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย เล่มที่ ๑ ให้นักเรียนทุกคนทํา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนก่อนเรียน ลักษณะข้อสอบเป็นแบบเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก จํานวน ๖๐ ข้อ ใช้เวลา ๔๐ นาที เพื่อประเมินความรู้พื้นฐานของผู้เรียน
  • 11. ๑๑ ๓. ก่อนเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทยแต่ละเล่มนักเรียนทุกคน จะต้องทําแบบทดสอบก่อนเรียนประจําแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย และเมื่อเรียน จบให้นักเรียนทําแบบทดสอบหลังเรียนประจําแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทยเพื่อทราบ ผลการพัฒนา ๔. เมื่อเรียนครบทั้ง ๖ เล่ม นักเรียนทุกคนทําแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนซึ่งเป็นแบบทดสอบชุดเดียวกับแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน เพื่อ วัดความรู้ความเข้าใจ แล้วนําผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนมาเปรียบเทีย บเพื่อทราบผล การพัฒนาในภาพรวม ๕. นักเรียนทุกคนประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนรู้วิชาภาษาไทยด้วยแบบฝึกเสริมทักษะ- การสร้างคําในภาษาไทย ขั้นสอน ๑. นักเรียนทุกคนลงมือทําแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนด้วยแบบฝึก- เสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย ๒. ขณะที่นักเรียนทําแบบทดสอบครูดูแลอย่างใกล้ชิด นักเรียนที่มีปัญหาครูเข้าช่วยเหลือทันที ขั้นสรุป ๑. เมื่อหมดเวลาให้นักเรียนส่งแบบทดสอบและกระดาษคําตอบส่งคืน ครูตรวจและบันทึกผล คะแนนเพื่อจะได้นําไปเปรียบเทียบความก้าวหน้าหลังจากเรียนจบ ๒. ครูชี้แจงให้นักเรียนทราบว่าในการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ แต่ละเล่มจะมีการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการ พัฒนาดังนี้ เล่มที่ ๑ พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความรับผิดชอบ ความใฝ่รู้ใฝ่เรียน เล่มที่ ๒ พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความมีวินัย ความมีจิตสาธารณะ เล่มที่ ๓ พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความตรงเวลา ความรับผิดชอบ เล่มที่ ๔ พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความใฝ่รู้ใฝ่เรียน ความมีวินัย เล่มที่ ๕ พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความมีจิตสาธารณะ ความตรงเวลา เล่มที่ ๖ พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความมีวินัย ความรับผิดชอบ ๓. นัดหมายการเรีย นครั้ งต่อ ไปด้ วยแบบฝึก เสริ มทั ก ษะการสร้ างคําในภาษาไทย วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ เล่มที่ ๑ เรื่อง คํามูล
  • 12. ๑๒ ชั่วโมงที่ ๒ ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน ๑. ครูฉายตัวอย่างคํามูลพยางค์เดียวและคํามูลหลายพยางค์ บนจอโปรเจคเตอร์ แล้วให้ นักเรียนทุกคนอ่านพร้อม ๆ กัน “ นก พ่อ เกษม สนุก ประเสริฐ ผลิต ถนัด ก๋วยเตี๋ยว เกาเหลา มะยม ” แล้วถามนักเรียนว่า “ คําเหล่านี้เป็นคําชนิดใดและมีที่มาอย่างไร ” ๒. ขออาสาสมัครนักเรียน ๔ คน ออกมาเขียนตัวอย่างคํามูลที่นักเรียนรู้จัก เพิ่มอีกคน ละ ๕ คํา บนกระดานดํา นักเรียนช่วยกันตรวจคําตอบ โดยครูคอยชี้แนะและแก้ไขคําที่นักเรียนเขียนผิด และชมเชยนักเรียนที่เขียนได้ถูกต้อง แล้วบอกกับนักเรียนว่า “วันนี้เราจะเรียนเรื่อง คํามูล” ๓. ตัวแทนนักเรียนออกมารับแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย เล่มที่ ๑ เรื่อง คํามูล แจกให้เพื่อน ๆ ทุกคน ๔. แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลในการเรียน การสอนเรื่องนี้ให้นักเรียนทราบ ๕. นักเรียนศึกษาคําชี้แจง คําแนะนําในการใช้ ขันตอนการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะ ้ การสร้างคําในภาษาไทย วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท๓๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เล่มที่ ๑ เรื่อง คํามูล ในหน้าที่ ๑ - ๔ ถ้ามีข้อสงสัยให้สอบถามครูผู้สอน ๖. นักเรียนทําแบบทดสอบก่อนเรียนประจําแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย เล่มที่ ๑ เรื่อง คํามูล ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบปรนัยจํานวน ๑๐ ข้อ เสร็จแล้วนักเรียนจับคู่เปลี่ยน กันตรวจ แล้วบันทึกคะแนนไว้ในแบบบันทึกคะแนน ขั้นสอน ๑. ครูอธิบายภาพรวมของการสร้างคําใช้ในภาษาไทยเป็นความเจริญงอกงามทางภาษา และช่วยให้การพัฒนาทางภาษาไทยมีความถูกต้องเป็นระบบมากยิ่งขึ้น ๒. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๖ คน โดยคละความสามารถ เลือกประธาน รองประธาน และเลขานุการ ระดมพลังสมองเพื่อศึกษาความรู้ เรื่อง คํามูล ในหน้าที่ ๙ - ๑๒ สรุปองค์ความรู้ ที่มาของคํามูลและชนิดของคํามูลลงในกระดาษเอ ๔ ที่ครูแจกให้ ๓. ขณะที่นักเรียนทํากิจกรรมครูดูแลอย่างใกล้ชิด กลุ่มใดที่มีปัญหาครูเข้าช่วยเหลือทันที และสังเกตคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการพัฒนานักเรียนด้านความรับผิดชอบ ความใฝ่รู้ใฝ่เรียน ส่วนพฤติกรรมการทํางานกลุ่มมอบหมายให้ประธานกลุ่มเป็นผู้สังเกตตามแบบสังเกตพฤติกรรม ๔. ตัว แทนทุก กลุ่ม นํา เสนอผลงาน นัก เรีย นและครูร่ว มกัน อภิป รายเพิ่ม เติม โดย ครูเปิ ดโอกาสให้นักเรียนซักถาม
  • 13. ๑๓ ๕. นักเรียนทุกคนทําแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง คํามูล กิจกรรมที่ ๑ ถึงกิจกรรมที่ ๔ ใน หน้าที่ ๑๓ - ๑๖โดยนักเรียนศึกษาคําชี้แจง ทําความเข้าใจตัวอย่างที่กําหนดให้ แล้วลงมือปฏิบัติ กิจกรรมในแบบฝึกเสริมทักษะทีละแบบฝึกด้วยความตั้งใจและซื่อสัตย์ ครูคอยดูแลแนะนําอย่าง ใกล้ชิด ๖. เมื่อนักเรียนทําแบบฝึกทักษะกิจกรรม ที่ ๑ - ๔ เสร็จแล้วให้จับคู่เปลี่ยนกันตรวจ คําตอบที่เฉลยไว้ในหน้าที่ ๓๓ - ๓๖ แล้วบันทึกคะแนนไว้ในแบบบันทึกคะแนน ขั้นสรุป ๑. ครูสนทนาซักถามนักเรียน เกี่ยวกับลักษณะของคํามูล หลังจากที่นักเรียนได้ศึกษา จากแบบฝึกเสริมทักษะไปแล้ว ให้นักเรียนแต่ละคนเขียนคํามูล คนละ ๕ คําลงในสมุด ๒. อาสาสมัครนักเรียนออกไปเขียนคํามูล ของตนบนกระดานดํา และให้นักเรียนทุกคน ออกไปเขียนให้ครบ โดยเขียนเฉพาะคําที่ไม่ซ้ํากับของเพื่อน ๆ ๓. นักเรียนทุกคน เขียนคํามูลบนกระดานดําลงในสมุดของตนเอง ๔. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปที่มาและชนิดของคํามูล อีกครั้งหนึ่งและชมเชยนักเรียน ที่ทําแบบฝึกทักษะกิจกรรมที่ ๑ - ๔ ได้ถูกต้องมากที่สุด ๕. มอบหมายให้นักเรียนทุกคนศึกษาคํามูลพยางค์เดียวและคํามูลหลายพยางค์ หน้า ๑๗ และทําแบบฝึกเสริมทักษะ กิจกรรมที่ ๕ และกิจกรรมที่ ๖ ในหน้าที่ ๑๘ - ๑๙ เป็นการบ้าน
  • 14. ๑๔ วัสดุอุปกรณ์ / สื่อ / แหล่งเรียนรู้ ๑. แบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย เล่มที่ ๑ เรื่อง คํามูล ๑.๑ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการ- สร้างคําในภาษาไทย ๑.๒ กิจกรรมที่ ๑ บอกที่มาของคํามูล ๑.๓ กิจกรรมที่ ๒ จําแนกชนิดของคํามูล ๑.๔ กิจกรรมที่ ๓ บอกที่มาของคํามูล ๑.๕ กิจกรรมที่ ๔ บอกที่มาของคํามูล ๑.๖ กิจกรรมที่ ๕ บอกลักษณะของคํามูล ๑.๗ กิจกรรมที่ ๖ เติมคํามูล ๒. จอภาพโปรเจคเตอร์พร้อมอุปกรณ์และคอมพิวเตอร์ ๓. ตัวอย่างคํามูล ๔. กระดาษเอ ๔
  • 15. ๑๕ การวัดผลและประเมินผล สิ่งที่ต้องการวัด วิธีการวัดผลและ เครื่องมือวัดผลและ เกณฑ์การวัดผล ประเมินผล ประเมินผล และประเมินผล ด้านความรู้ ๑. บอกที่มาของคํามูลและ ๑. การทดสอบวัดผล- ๑. แบบทดสอบวัดผล- ๑. นักเรียนได้ จําแนกชนิดของคํามูลได้ สัมฤทธิ์ทางการเรียน สัมฤทธิ์ทางการเรียน คะแนนจากการทํา ถูกต้อง ก่อนเรียนด้วยแบบฝึก- ก่อนเรียนด้วยแบบฝึก- แบบทดสอบวัดผลฯ ๒. บอกลักษณะของคํามูล เสริมทักษะการสร้างคํา- เสริมทักษะการสร้างคํา- และจากการทํา พยางค์เดียวและคํามูล- ในภาษาไทยวิชาภาษาไทย ในภาษาไทยวิชา แบบทดสอบ หลายพยางค์ได้ รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ ภาษาไทย ประจําแบบฝึกฯ ด้านทักษะกระบวนการ ๒. การทดสอบก่อนเรียน รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป ๓. จําแนกคํามูลพยางค์- ประจําแบบฝึกเสริมทักษะ- ๒. แบบทดสอบ ถือว่าผ่าน เดียวและคํามูลหลาย- การสร้างคําในภาษาไทย ก่อนเรียนประจําแบบฝึก- ๒. นักเรียนได้ พยางค์ได้ เล่มที่ ๑ เรื่อง คํามูล เสริมทักษะการสร้างคํา- คะแนนจาก ๔. นําคํามูลแต่งประโยค ๓. ตรวจผลงานกิจกรรม ในภาษาไทย เล่มที่ ๑ การตรวจผลงาน ในการสื่อสารได้อย่าง- ที่ ๑ ถึง ๖ ในแบบฝึก- เรื่อง คํามูล ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป ถูกต้องตรงตามความหมาย เสริมทักษะการสร้างคํา- ๓. แบบตรวจผลงาน ถือว่าผ่าน ๕. เลือกคํามูลเขียนข้อความ ในภาษาไทย เล่มที่ ๑ ๔. แบบสังเกต ๓. นักเรียน ได้โดยใช้ภาษาอย่าประณีต เรื่อง คํามูล พฤติกรรม- ได้คะแนนจาก และถูกต้องตามระดับภาษา ๔. สังเกตพฤติกรรม- การทํางานกลุ่ม การสังเกต ด้านคุณลักษณะอันพึง- การทํางานกลุ่ม ๕. แบบสังเกต พฤติกรรม- ประสงค์ ๕. สังเกตคุณลักษณะอัน- คุณลักษณะอันพึง- การทํางานกลุ่ม ๖. ทํางานกลุ่มร่วมกับผู้อื่น พึงประสงค์ ประสงค์ และคุณลักษณะ- ได้อย่างมีความสุข อันพึงประสงค์ ๗. ปฏิบัตตนเป็นคนมี ิ ระดับคุณภาพ ความรับผิดชอบ และ ๓ ขึ้นไปถือว่า ความใฝ่รู้ใฝ่เรียนใน ผ่านเกณฑ์ การทํากิจกรรม
  • 16. ๑๖ บันทึกผลหลังจากจัดการเรียนรู้ ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง…………………….…………………..………… โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย เล่มที่ …….. เรื่อง ……………………. ผลปรากฏว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ………… จํานวน ……………. คน ๑. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคํา ในภาษาไทย วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ ได้คะแนนเฉลี่ย……………..…คิดเป็นร้อยละ………………….. ๒. ทดสอบก่อนเรียนประจําแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย เล่มที่ ๑ เรื่อง คํามูล ได้คะแนนเฉลี่ย…………………………………………………… ๒. ผลการทําแบบฝึกเสริมทักษะการสร้างคําในภาษาไทย เล่มที่ ๑ เรื่อง คํามูล กิจกรรมที่ ๑ ได้คะแนนเฉลี่ย ………………………………………………….…… กิจกรรมที่ ๒ ได้คะแนนเฉลี่ย ………………………………...……………….…… กิจกรรมที่ ๓ ได้คะแนนเฉลี่ย ………………………………...……………….…… กิจกรรมที่ ๔ ได้คะแนนเฉลี่ย ………………………………...……………….…… กิจกรรมที่ ๕ ได้คะแนนเฉลี่ย ………………………………...……………….…… กิจกรรมที่ ๖ ได้คะแนนเฉลี่ย ………………………………...……………….…… ๓. ผลการประเมินทํางานกลุ่มร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ได้คะแนนเฉลี่ย………..…คิดเป็นร้อยละ………………เฉลี่ยระดับคุณภาพ………. ๔. ผลการประเมินนักเรียนเป็นรายบุคคลด้าน ความรับผิดชอบ และความใฝ่รู้ใฝ่เรียนใน การทํากิจกรรม ได้คะแนนเฉลี่ย………..…คิดเป็นร้อยละ………………เฉลี่ยระดับคุณภาพ………. ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ……………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………
  • 17. ๑๗ ……………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………… ปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข ……………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………… ลงชื่อ (………………………………….) ครูผู้สอน
  • 18. ๑๘ ความคิดเห็น / ข้อเสนอแนะของผู้บริหาร แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ………… เรื่อง ……………………….. ได้ตรวจแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้………………………………… ชั้น……………………………… ของ ……………………………….. แล้วมีความคิดเห็นดังนี้ ๑. เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่  ดี  พอใช้  ควรปรับปรุง ๒. การจัดกิจกรรมได้นําเอากระบวนการเรียนรู้  ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญมาใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม นําไปใช้ได้จริง  ที่ยังไม่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ควรปรับปรุงพัฒนาก่อนนําไปใช้ ๓. ข้อเสนอแนะอื่น ๆ ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ลงชื่อ (………………………………) ผู้อํานวยการโรงเรียน
  • 20. ๒๐ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน เรื่อง การสร้างคาในภาษาไทย วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ ช่วงชั้นที่ ๓ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เวลา ๔๐ นาที คาชี้แจง ๑. ข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก จํานวน ๖๐ ข้อ ให้นักเรียน  ทับอักษร ก ข ค หรือ ง ที่เห็นว่าถูกต้องที่สุด เพียงข้อเดียวลงในกระดาษคําตอบที่ครูแจกให้ ๒. ห้ามขีดเขียนหรือทําเครื่องหมายใดๆ ลงในแบบทดสอบ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง มีความรู้ความเข้าใจในลักษณะของ คํามูล คําประสม คําซ้อน คําซ้ํา คําสมาส และ สามารถนําไปใช้ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง ตรงตามความหมาย เล่มที่ ๑ เรื่อง คามูล จุดประสงค์การเรียนรู้ ๑. บอกที่มาของคํามูลและจําแนกชนิดของคํามูลได้ถูกต้อง ๒. บอกลักษณะของคํามูลพยางค์เดียวและคํามูลหลายพยางค์ได้ ๓. จําแนกคํามูลพยางค์เดียวและคํามูลหลายพยางค์ได้ ๔. นําคํามูลแต่งประโยคในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตรงตามความหมาย ๕. เลือกคํามูลเขียนข้อความได้โดยใช้ภาษาอย่างประณีต และถูกต้องตามระดับภาษา ๑. “คําไทยแท้ หรือคําที่มาจากภาษาอื่น อาจเป็นคําพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้” คํากล่าวนี้ เป็นลักษณะของคําใด ก. คํามูล ข. คําซ้ํา ค. คําซ้อน ง. คําประสม ๒. ข้อใดเป็นคํามูลพยางค์เดียวที่เป็นคําไทยแท้ทุกคํา ก. เมรุ เปล ใหญ่ ข. แปรก ตู้ ปราณ ค. แขวน เดิน บ้าน ง. เพ็ญ เทป เหมือน
  • 21. ๒๑ ๓. ข้อใดเป็นคํามูลที่มาจากภาษาเขมรทุกคํา ก. เถลิง เฌอ ข. จําเรียง ห้าง ค. เผอิญ ตะหลิว ง. ฉงาย ราชการ ๔. ข้อใดเป็นคํามูลที่มาจากภาษาอังกฤษทุกคํา ก. โค้ก การ์ด เซ้ง ข. แซยิด สุขี ปรีดา ค. กุยเฮง เมตา ปราณี ง. โปรแกรม ออฟฟิศ เทนนิส ๕. ข้อใดเป็นคํามูลที่ยืมมาจากภาษาจีนทุกคํา ก. เตี่ย อั๊ว ลื้อ ข. เจ๊ เซ้ง เจี้ยม ค. เขียม เล้ง เลี่ยม ง. เหนียม เสียม เจ๊ง ๖. ข้อใดมีคํามูลที่มีภาษาต่างประเทศหลากหลายที่สุด ก. โต๊ะ ห้าง จมูก เขนย ข. ลิฟต์ บุ้งกี๋ อัคคี ปัญญา ค. ไมล์ โตนด พัสดุ วาสนา ง. เจริญ อัลบั้ม พฤกษา บุหลัน ๗. ข้อใดเป็นคํามูลพยางค์เดียวทุกคํา ก. คุณ สวย แล้ว ข. น้ํา ข้าม ทะเล ค. โยเย ปลา หอย ง. โต๊ะ เตะ เกะกะ ๘. ข้อใดเป็นคํามูลทุกคํา ก. ดินสอ เตารีด ระเบียง ข. ตะกร้า กระบุง หนังสือ ค. กระถาง วิทยุ ช้อนส้อม ง. สัญญา กระจก เสื้อคลุม
  • 22. ๒๒ ๙. ประโยคต่อไปนี้ข้อใดมีคํามูลสองพยางค์ ก. ฉันเสียใจ ข. ฉันกินข้าว ค. นกบินกลับรัง ง. พ่อปลูกมะม่วง ๑๐. ข้อความใดมีคํามูลสองพยางค์ ก. ยากยิ่งนักที่เธอฝากรัก ข. แก้วใบนี้แหละของเธอ ค. ฉันละเมอเพ้อถึงเธอทุกวัน ง. ไม้ผุดั่งคนทราม สอนยาก เล่มที่ ๒ เรื่อง คาประสม จุดประสงค์การเรียนรู้ ๑. บอกความหมายและลักษณะของคําประสมได้ ๒. จําแนกคํามูลกับคําประสมได้ ๓. สร้างคําประสมได้ ๔. นําคําประสมแต่งประโยคในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตรงตามความหมาย ๕. เลือกคําประสมเขียนข้อความได้โดยใช้ภาษาอย่างประณีต และถูกต้องตามระดับภาษา ๑๑. “ คําที่ประกอบขึ้นจากคํามูล ทําให้เกิดความหมายใหม่ โดยมีเค้าความหมายเดิมอยู่” คํากล่าวนี้ เป็นลักษณะของคําใด ก. คํามูล ข. คําซ้ํา ค. คําซ้อน ง. คําประสม ๑๒. คําประสมในข้อใดเกิดจากคําไทยแท้ประสมกับคําภาษาอังกฤษ ก. ถนนหลวง ข. พวงหรีด ค. บังแทรก ง. สวนสัตว์
  • 23. ๒๓ ๑๓. คําประสมในข้อใดเป็นคําวิเศษณ์ที่เกิดจากคําไทยแท้กับคําที่มาจากภาษาอื่น ก. ใจดี ข. ใจร้าย ค. ใจกุศล ง. ใจปลาซิว ๑๔. คําประสมในข้อใดเกิดจากคํานาม + คํานาม ก. ใบไม้ ข. ลูกน้อง ค. เครื่องร่อน ง. เรียงพิมพ์ ๑๕. คําประสมในข้อใดที่เป็นคําไทยทุกคํา ก. น้ําปลา เลือกตั้ง รถจี๊ป ข. เลขท้าย ห่อหมก เด็กปั๊ม ค. หมอฟัน เตาถ่าน กันสาด ง. ผลไม้ ลายเซ็น ร้านกาแฟ ๑๖. ข้อใดเป็นคําประสมทุกคํา ก. รถไฟ ปฏิทิน ดินสอ ข. ความรัก เงินเดือน เครื่องบิน ค. เก้าอี้ ชุดนักเรียน เปรี้ยวหวาน ง. กระเป๋า รถประจําทาง แกงส้ม ๑๗. ข้อความใดที่มีคํา “นกกินปลา” เป็นคําประสม ก. นกกินปลาตัวนี้ ข. นกกินปลาตัวโต ค. นกกินปลาอยู่ที่ริมคลอง ง. นกกินปลาตัวนี้สีสวยประหลาด ๑๘. ข้อใดมีคําประสมที่เป็นประโยคได้ ก. หมอยารักษาไข้ ข. ปลาเสือกินปลาเสือ ค. ของหวานรับประทานอร่อย ง. พิมพ์ดีดเครื่องนี้ราคาย่อมเยา
  • 24. ๒๔ ๑๙. ข้อความใดมีคําประสมมากที่สุด ก. แม่บ้านทํากับข้าวอยู่ในครัว ข. นักเรียนต้องไม่เป็นคนใจแคบ ค. ช่างภาพของหนังสือพิมพ์ต้องเป็นคนอย่างไร ง. ชาวไร่ชาวนาพอใจที่ผู้นําประเทศเหลียวแลพวกตน ๒๐. ข้อความใดมีคําประสมมากที่สุด ก. ฝูงนางนวลบินว่อนร่อนเวหา ข. คาดเข็มขัดนิรภัยปลอดภัยจริงหรือ ค. ดาวเทียมช่วยในการสื่อสารได้มาก ง. ภาพเขียนภาพนี้ทําให้ชื่อเสียงเขากระฉ่อน เล่มที่ ๓ เรื่อง คาซ้อน จุดประสงค์การเรียนรู้ ๑. บอกความหมายและลักษณะของคําซ้อนได้ ๒. จําแนกคําซ้อนได้ ๓. สร้างคําซ้อนได้ ๔. นําคําซ้อนแต่งประโยคในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตรงตามความหมาย ๕. เลือกคําซ้อนเขียนข้อความได้โดยใช้ภาษาอย่างประณีต และถูกต้องตามระดับภาษา ๒๑. “คําที่ประกอบขึ้นจากคํามูลตั้งแต่ ๒ คําขึ้นไปที่มีความหมายคล้ายกัน ความหมายเหมือนกัน หรือความหมายตรงข้ามกัน” คํากล่าวนี้เป็นลักษณะของคําใด ก. คํามูล ข. คําซ้ํา ค. คําซ้อน ง. คําประสม ๒๒. คําในข้อใดเป็นคําซ้อนเพื่อความหมายทุกคํา ก. เร็วไว สื่อสาร กาลเวลา ข. สูญเปล่า ขัดแย้ง เก็บตก ค. รอคอย หมู่คณะ บอกเล่า ง. เขตแดน เดินทาง บ้านเรือน
  • 25. ๒๕ ๒๓. ข้อใดเป็นคําซ้อนเพื่อเสียง ก. ดูแล ข. กักขัง ค. คิดเห็น ง. สุ้มเสียง ๒๔. คําซ้อนในข้อใดมีทั้งคําซ้อนเพื่อเสียงและเพื่อความหมาย ก. พอกพูน เชือนแช ยุยง ข. แคะไค้ คึกคัก โฉ่งฉ่าง ค. ทอดทิ้ง รีบร้อน เบาบาง ง. กีดกัน เหงาหงอย ปลอมแปลง ๒๕. ข้อใดจัดเป็นคําซ้อนที่มีความหมายตรงข้ามกัน ก. ได้เสีย ชั่วดี ข. ขัดถู ห่างไกล ค. ถ้วยชาม เสื้อผ้า ง. หน้าตา เหล้ายา ๒๖. ข้อใดเป็นคําซ้อนทั้งหมด ก. ดี๊ดี ช้อบชอบ ข. จืดจืด คัดเลือก ค. คัดเลือก ซักฟอก ง. เผ็ดร้อน รถไฟฟ้า ๒๗. คําซ้อนในข้อใดเกิดจากการซ้อนคําไทยกับคําเขมร ก. ตัดสิน ข. แมกไม้ ค. ข้าวทิพย์ ง. ทรัพย์สมบัติ ๒๘. ประโยคข้อใดไม่มีคําซ้อน ก. ความสุขของฉันอยู่ที่การทําดี ข. ฉันออกกําลังกายเพื่อให้แข็งแรง ค. พ่อค้ากักตุนสินค้าเพื่อต้องการกําไร ง. พ่อแม่เมื่อแก่ชราก็อยากให้ลูกๆ ดูแล
  • 26. ๒๖ ๒๙. ประโยคในข้อใดมีคําซ้อนมากที่สุด ก. น้องทําเสียงอ้อแอ้คลานเตาะแตะมาหาฉัน ข. เพราะความขัดแย้งเธอจึงถูกกักขังอย่างลึกลับ ค. เธอเดินเคว้งคว้างมองหาใครสักคนให้ช่วยเหลือ ง. ขอทานแต่งตัวมอมแมมกินอาหารอย่างมูมมามเลอะเทอะเปรอะเปื้อน ๓๐. ข้อความใดนําคําซ้อนมาเขียนข้อความมากที่สุด ก. เขาเป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา ข. บุญคุณของแม่มีค่าอย่างใหญ่หลวง ค. คนชั่วช้าเลวทรามต้องใช้กรรมที่ตนริเริ่มไว้ ง. ผู้บังคับบัญชาต้องเด็ดขาดต่อผู้ใต้บังคับบัญชา เล่มที่ ๔ เรื่องคาซ้า จุดประสงค์การเรียนรู้ ๑. บอกความหมายและลักษณะของคําซ้ําได้ ๒. จําแนกคําซ้ําได้ ๓. สร้างคําซ้ําได้ ๔. นําคําซ้ําแต่งประโยคในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตรงตามความหมาย ๕. เลือกคําซ้ําเขียนข้อความได้โดยใช้ภาษาอย่างประณีต และถูกต้องตามระดับภาษา ๓๑. คําซ้ําในข้อใดมีความหมายเป็นพหูพจน์ ก. ข้อสอบปีนี้ออกตามเนื้อหาเป็นช่วงๆ ข. โดยหยิบมาทุกเล่มแล้วเทียบเนื้อหาแต่ละเรื่องๆ ค. หน้าตาแจ่มใสเด็ก ๆ กันอย่างนี้สมองคงแล่นปรู๊ดปร๊าด ง. จะมีก็แต่ครูๆ ที่คุมสอบนั่นเอง ที่จะรู้สึกว่าทําไมต้องคุมนาน ๓๒. คําซ้ําในข้อใดมีความหมายเป็นอุปมา ก. นั่งๆ นอนๆ ไปวัน ๆ ดีกว่า ข. เรื่องผัวๆ เมียๆ ขี้เกียจจะยุ่ง ค. ยังไงๆ ก็เรื่องในครอบครัวเขา ง. ยุ่งกับเขามากนัก ไปๆ มาๆ จะเป็นหมาหัวเน่า
  • 27. ๒๗ ๓๓. คําซ้ําในข้อใดที่มีความหมายแยกจํานวน ก. เขามีเสื้อผ้าเป็นตูๆ้ ข. ฟัง ๆ ดูเรื่องนี้ท่าจะยุ่ง ค. เธอเล่าเป็นเรื่องๆ ไปนะ ง. แม่ ๆ ยืนดูลูกๆ อยู่ริมสนาม ๓๔. คําซ้ําในข้อใดเป็นการเน้นความและบอกคําสั่ง ก. พูดดังๆ หน่อยไม่ได้ยินเลย ข. นั่งๆ นอนๆ ทําให้เกียจคร้านได้ ค. เมื่อคืนนี้ฉันนอนหลับๆ ตื่นๆ ทั้งคืนเลย ง. ไม่มีอะไรทําหรือ เอาแต่นั่งๆ นอนๆ ทั้งวัน ๓๕. ข้อใดมีคําซ้ํา ก. นักเขียนเขียนหนังสือช้ามาก ข. เมืองไทยไม่มีคนจนจนอดตาย ค. สมใจพูดแต่เรื่องเงินเงินทองทอง ง. นักยิมนาสติกทําพลาดท่าท่าบังคับ ๓๖. คําซ้ําต่อไปนี้ทุกข้อแสดงความไม่เจาะจงยกเว้นข้อใด ก. เขาอยู่แถว ๆ อีสาน ข. เขามาหาฉันราว ๆ ต้นเดือน ค. ช่วยเลือกเอาแต่ลูกเล็ก ๆ นะ ง. นักเรียนรุนแรก ๆ ท่าทางขันแข็งดี ่ ๓๗. ข้อใดเป็นคําซ้ําที่เป็นคําวิเศษณ์ ก. เรารักเพื่อนเพื่อนทุกคน ข. ใครใครก็อยากเป็นคนดี ค. นายหนึ่งพูดง่ายง่ายว่าก้าวไปให้ทันโลก ง. โรงเรียนเราอยู่ใกล้ใกล้ศาลากลางจังหวัด ๓๘. คําซ้ําข้อใดแสดงอาการต่อเนื่อง ก. ฉันรู้เรื่องนี้พอเลาๆ ข. เธอทํางานลวกๆ พอให้เสร็จ ค. นักเรียนจะรู้แค่งูๆ ปลาๆ ไม่ได้นะ ง. อาจารย์สอนๆ ไปก็ให้นักเรียนทําการบ้าน
  • 28. ๒๘ ๓๙. คําซ้ําในประโยคใดที่ไม่สามารถใช้ไม้ยมก (ๆ) ได้ ก. วัวแก่ชอบกินหญ้าอ่อนอ่อน ข. น้ําในถาดน้ําแข็งแข็งใช้ได้แล้ว ค. คุณแม่ชอบนั่งยองยองเวลาซักผ้า ง. ดึกดึกดื่นดื่นทําไมยังไม่กลับบ้าน ๔๐. ข้อความใดมีคําซ้ําที่ใช้ถูกต้อง ก. เนื้อเค็มๆ เกินไป ข. ยายดําๆ ไปกว่าเดิมมาก ค. เพชรมีค่าๆ มันมากเกินประมาณ ง. เกิดเหตุร้ายในจังหวัดภาคใต้บ่อยๆ เล่มที่ ๕ เรื่อง คาสมาสที่ไม่มีสนธิ จุดประสงค์การเรียนรู้ ๑. บอกความหมายและลักษณะของคําสมาสที่ไม่มีสนธิได้ ๒. จําแนกคําสมาสที่ไม่มีสนธิได้ ๓. สร้างคําสมาสที่ไม่มีสนธิได้ ๔. นําคําสมาสที่ไม่มีสนธิแต่งประโยคในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตรงตามความหมาย ๕. เลือกคําสมาสที่ไม่มีสนธิเขียนข้อความได้โดยใช้ภาษาอย่างประณีต และ ถูกต้องตามระดับภาษา ๔๑. “การนําคําบาลีและสันสกฤตมารวมกันเกิดความหมายใหม่ แต่คงเค้าความหมายเดิม” คํากล่าว นี้เป็นลักษณะของคําใด ก. คํามูล ข. คําซ้ํา ค. คําสมาส ง. คําประสม ๔๒. “ศึกษาศาสตร์” เป็นคําสมาสที่ไม่มีสนธิ สร้างมาจากภาษาใด ก. บาลี + บาลี ข. บาลี + สันสกฤต ค. สันสกฤต + บาลี ง. สันสกฤต + สันสกฤต
  • 29. ๒๙ ๔๓. “หัตถศึกษา ” เป็นคําสมาสที่ไม่มีสนธิ สร้างมาจากภาษาใด ก. บาลี + บาลี ข. บาลี + สันสกฤต ค. สันสกฤต + บาลี ง. สันสกฤต + สันสกฤต ๔๔. คําในข้อใดเป็นคําสมาสที่ไม่มีสนธิทุกคํา ก. มหกรรม กรมท่า วรพงค์ ข. เอกภาพ สุนทรพจน์ วีรชน ค. ยุทธการ นวพล ประวัติศาสตร์ ง. กุลสตรี ราชานุเคราะห์ รัฐมนตรี ๔๕. ข้อใดมีคําสมาสที่ไม่มีสนธิอยู่ในข้อความ ก. ศูนย์ศิลปาชีพน้ําท่วม ข. เขาเป็นคนรักความสันโดษ ค. ลูกชายฉันเรียนอยู่ที่เกษตรศาสตร์ ง. นักเรียนไปเที่ยวชมอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ๔๖. คําสมาสที่ไม่มีสนธิคู่ใดสร้างไม่ถูกต้อง ก. เสรี + ภาพ = เสรีภาพ ข. ทุกข + ลาภ = ทุกข์ลาภ ค. สังฆ + นายก = สังฆนายก ง. มนุษย์ + ชาติ = มนุษยชาติ ๔๗. คําว่า “ทิพย + รส” สร้างเป็นคําสมาสที่ไม่มีสนธิได้ตามข้อใด ก. ทิพรส ข. ทิพย์รส ค. ทิพยรส ง. ทิพยารส ๔๘. คําสมาสที่ไม่มีสนธิคู่ใดสร้างไม่ถูกต้อง ก. ราช + โอรส = ราชโอรส ข. บุตร + ภรรยา = บุตรภรรยา ค. พฤกษ + ชาติ = พฤกษชาติ ง. เทศ + บัญญัติ = เทศะบัญญัติ