SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 18
Descargar para leer sin conexión
คํานํา
รายงานการวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การใช้ชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการ
แสวงหาความรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นี้ เป็นการรายงานผลการใช้ชุดส่งเสริมการ
เรียนรู้ด้วยตนเอง พัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดพวงนิมิต
อําเภอเขาฉกรรจ์จังหวัดสระแก้ว ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จํานวน 20 คน ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้
นักเรียนเกิดทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนในการจัดกิจกรรมการเรียนการ
สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว
การใช้ชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ครั้งนี้ ประสบความสําเร็จตาม
วัตถุประสงค์ทุกประการ ข้าพเจ้าจึงได้จัดทํารายงานการวิจัยในชั้นเรียนฉบับนี้ขึ้น เพื่อรายงานผลและใช้
เป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในปี
การศึกษาต่อไป รวมทั้งเพื่อจะนําเผยแพร่แก่ผู้ที่สนใจทั่วไป
ศราวุธ ไชยเจริญ
สารบัญ
เรื่อง หน้า
บทที่ 1 ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา 1
ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า 1
ความสําคัญของการศึกษาค้นคว้า 1
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า 2
สมมติฐานในการศึกษาค้นคว้า 2
นิยามศัพท์เฉพาะ 2
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3
เอกสารที่เกี่ยวข้อง 3
บทที่ 3 วิธีดําเนินการศึกษาค้นคว้า 7
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 7
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า 7
การสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องมือ 7
การรวบรวมข้อมูล 8
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 8
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 10
การวิเคราะห์ข้อมูล 10
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 10
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 13
ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า 13
วิธีดําเนินการศึกษาค้นคว้า 13
วิธีดําเนินการทดลอง 13
การวิเคราะห์ข้อมูล 13
สรุปผลการศึกษาค้นคว้า 14
อภิปรายผลการศึกษาค้นคว้า 14
บรรณานุกรม 15
ภาคผนวก 16
บทที่ 1
ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา
ปัจจุบันประเทศไทยกําลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
อันเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงจําเป็นอย่างยิ่งที่ประชากร
ในประเทศจะต้องมีพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจ เพื่อให้ตระหนักในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองให้ทันต่อ
การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างรวดเร็วทั้งทางสภาพสังคม สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีต่างๆ ดังนั้น การ
จัดการศึกษาด้านการส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักการแสวงหาความรู้จึงมีบทบาทสําคัญที่จะนําประเทศไปสู่
ความทันต่อการเปลี่ยนแปลงและเจริญก้าวหน้าได้เป็นอย่างดี
เนื่องจากกระบวนการแสวงหาความรู้ มีความสําคัญ หากมนุษย์ใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่
ไปศึกษาค้นคว้าโดยอาศัยการฝึกฝนให้เกิดทักษะอย่างชํานาญ จะเกิดการพัฒนาการทางเชาว์ปัญญา
กระบวนการรู้คิด หรือกระบวนการทางปัญญา ซึ่งกระบวนการรู้คิดหมายถึง กระบวนการของสมองในการ
ปรับเปลี่ยน ลด ตัดทอน ขยาย จัดเก็บ และใช้ข้อมูลที่รับเข้ามาทางประสาทสัมผัส การบอกความหมาย ของ
สิ่งที่รับรู้ ความหมายของสิ่งเดียวกันสําหรับแต่ละคนย่อมต่างกันตามประสบการณ์
ดังนั้น การส่งเสริมผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาให้มีทักษะกระบวนการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
จึงมีความสําคัญและจําเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนรู้วิธีการแสวงหาความรู้จากสื่ออื่นๆ แล้วนําเอาวิธีการ
ดังกล่าวไปใช้แก้ปัญหาในการดํารงชีวิตตามแนวการสอนของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช
2545 ซึ่งมุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนทีคิดเป็น ทําเป็น แก้ปัญหาเป็น ตลอดจนรู้จักนําความรู้ไปใช้ในชีวิตประจําวัน
ให้มากที่สุดการสร้างชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง จึงเป็นกลวิธีในการส่งเสริมทักษะ
การแสวงหาความรู้อีกรูปแบบหนึ่ง เพื่อใช้ฝึกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดพวงนิมิต อําเภอ
เขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว ที่เป็นกลุ่มทดลองในครั้งนี้ เกิดทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
แล้วนําทักษะที่ได้รับจากการฝึกปฏิบัติไปแสวงหาความรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
เพื่อสร้างชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
มาตรฐาน 80/80
ความสําคัญของการศึกษาค้นคว้า
1. ได้ชุดส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2. พัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
โรงเรียนวัดพวงนิมิต อําเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว
3. เป็นแนวทางสําหรับครูผู้สอนวิชาสุขศึกษาในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนและส่งเสริม
ให้นักเรียนมีทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ผู้ทําการวิจัยได้กําหนดขอบเขตของการศึกษาค้นคว้าไว้ดังนี้
1. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดพวงนิมิต
อําเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จํานวน 20 คน
2. ระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนาชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้ทําการวิจัยได้ดําเนินการทดลอง
ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างจํานวน 20 คน โดยใช้เวลา 3 ชั่วโมง แยกเป็นครั้ง
ละ 1 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 3 ครั้ง
3. ชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สร้างขึ้น
สมมติฐานในการศึกษาค้นคว้า
ชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
มาตรฐาน 80/80
นิยามศัพท์เฉพาะ
1. ทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง หมายถึง การให้ผู้เรียนแสวงหาและค้นพบความรู้
ด้วยตนเอง และ ผู้เรียนได้ศึกษาความรู้เหมาะสมกับธรรมชาติของวิชา วัย ความสนใจของผู้เรียนและ
ความพร้อมด้านต่าง ๆ สร้างความรู้ของตนเอง เพื่อความสําเร็จในการเรียนรู้
2. ชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หมายถึง ชุดกิจกรรม
ที่ผู้ทําการวิจัยสร้างและพัฒนาขึ้นให้นักเรียน กลุ่มตัวอย่างได้รับการส่งเสริมให้เกิดทักษะการแสวงหา
ความรู้ด้วยตนเอง จากการลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง
3. เกณฑ์มาตรฐาน 80/80 หมายถึง ประสิทธิภาพของชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งมี
ความหมายดังนี้
3.1 80 ตัวแรก หมายถึง คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่ได้
จากการตอบแบบทดสอบหลังการปฏิบัติกิจกรรม ได้คะแนนเฉลี่ยอย่างน้อยร้อยละ 80
3.2 80 ตัวหลัง หมายถึง จํานวนนักเรียนในกลุ่มตัวอย่างที่สามารถบรรลุจุดประสงค์
ทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้อย่างน้อยร้อยละ 80
4. เกณฑ์ในการบรรลุจุดประสงค์ หมายถึง การตอบคําถามได้ถูกต้องอย่างน้อยร้อยละ 80 ของ
คําตอบทั้งหมดในจุดประสงค์นั้น
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้ทําการวิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
1. เอกสารที่เกี่ยวข้อง
1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้
1.2 กระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
วีก็อทสกี้(Vygotsky) นักจิตวิทยาชาวรัสเซีย และเปียเจท์(Piaget) เป็น นักทฤษฎีการเรียนรู้ ในกลุ่ม
พุทธินิยม (Cognitivism) ให้ความสนใจศึกษาเรื่องพัฒนาการทางเชาว์ปัญญา กระบวนการรู้คิด หรือ
กระบวนการทางปัญญา ซึ่งกระบวนการรู้คิดหมายถึง กระบวนการของสมองในการปรับเปลี่ยน ลด ตัด
ทอน ขยาย จัดเก็บ และใช้ข้อมูลที่รับเข้ามาทางประสาทสัมผัส การบอกความหมาย ของสิ่งที่รับรู้
ความหมายของสิ่งเดียวกันสําหรับแต่ละคนย่อมต่างกันตามประสบการณ์ แนวคิดดังกล่าวเป็นรากฐาน
สําคัญของ ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองแนวคิดสําคัญ
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองให้ความสําคัญของกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้าง
ความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ เชื่อว่าการเรียนรู้เป็นเรื่องเฉพาะตัวการตีความหมายของสิ่งที่เรียนรู้
เป็นไปตามประสบการณ์เดิม ความเชื่อ ความสนใจ ภูมิหลัง ฯลฯ การสร้างความรู้เป็นกระบวนการทั้ง
ทางด้านสติปัญญาและสังคม การประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
การนําทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน สามารถทําได้ดังนี้
1. ผลการเรียนรู้มุ่งเน้นที่กระบวนการสร้างความรู้ ผู้เรียนต้องฝึกฝน การสร้างความรู้ด้วยตนเอง
2. เป้าหมายการเรียนเปลี่ยนจากการถ่ายทอดสาระความรู้ที่ตายตัวเป็นการเรียนวิธีการเรียนรู้
3. ผู้เรียนต้องเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ได้จัดกระทํา ศึกษาสํารวจ ลองผิดลองถูก จนเกิดเป็นความรู้
ความเข้าใจ
4. ให้ผู้เรียนได้ใช้ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเพื่อการร่วมมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างความรู้ร่วมกัน
5. ผู้เรียนเป็นผู้เลือกสิ่งที่ต้องการเรียน ตั้งกฎระเบียบ รับผิดชอบและแก้ปัญหาการเรียนของตนเอง
6. ครูเปลี่ยนบทบาทจากผู้ถ่ายทอดความรู้เป็นผู้อํานวยความสะดวก ช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้ การสอน
เปลี่ยนจากการให้ความรู้เป็นการให้ผู้เรียนสร้างความรู้
7. การประเมินผลการเรียนการสอนใช้วิธีการที่หลากหลาย ยืดหยุ่น
การนําความรู้จากทฤษฎีการเรียนรู้ไปใช้ในการเรียนการสอน
1. ก่อนจะเริ่มดําเนินการสอนครูต้องเตรียมตัวให้พร้อมและกระตุ้นให้เด็กพร้อมที่จะเรียนเสียก่อน
โดยมีการนําเข้าสู่บทเรียนทุกครั้ง
2. มอบหมายงาน กิจกรรม แบบฝึกหัด และการบ้านให้ได้เด็กได้ฝึกหัดกระทําเพื่อให้บรรลุผลตาม
หลักสูตรที่ว่าให้คิดเป็น ทําเป็น และแก้ปัญหาเป็น
3. ใช้หลักการให้รางวัลและการลงโทษ เพื่อให้เด็กเรียนผลของการกระทํา
ทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่ กาเย่(Gagne) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน กลุ่มพฤติกรรมนิยม
ได้สร้างทฤษฎีการเรียนรู้ เรียกว่า ทฤษฎีการรับรู้ข้อมูล (Information Processing Theory) ทฤษฎีนี้
จะกล่าวถึงความรู้จากภายนอกเข้ามาสู่ตัวเราอย่างไร การรับรู้ของสมองแล้วบันทึกไว้เป็นความจํา
ชั่วคราวกับความจําระยะยาวเป็นอย่างไร รวมถึงการระลึกได้เมื่อถูกเรียกและแสดงออกเป็นพฤติกรรม
เพื่อให้เกิดกระบวนการดังกล่าวเขาได้จัดลําดับขั้นของการสอนไว้9 ขั้น ดังนี้ (สุวัฒน์ นิยมค้า. 2531:
ข 429 – 434; อ้างอิงมาจาก Gagne)
1. เร้าความสนใจเพื่อนําเข้าสู่บทเรียน
2. แจ้งจุดประสงค์ของการสอน
3. ทบทวนความรู้เดิมที่เกี่ยวข้อง
4. แนะนําวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
5. แนะแนวทางในการเรียนรู้
6. จดให้ผู้เรียนได้กระทํากิจกรรม
7. ให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับการปฏิบัติ
8. ประเมินผลการเรียนรู้
9. ส่งเสริมความเข้าใจและถ่ายโอนการเรียนรู้
การนําทฤษฎีของกาเย่มาใช้กับการจัดการเรียนรู้ หลักการเรียนรู้ของกาเย่
สามารถนํามาใช้กับการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี หลักการที่นํามาใช้สรุปได้ดังนี้
1. การตั้งจุดประสงค์ของการสอน ซึ่งกาเย่ได้แบ่งสมรรถภาพของคนไว้เป็น 4 อย่าง ได้แก่
ด้านความรู้ ความจําเนื้อหาสาระ, ด้านทักษะ การคิด, ด้านพลังปัญญาที่กําหนดแนวความคิด และด้านทักษะ
การปฏิบัติ และตั้งจุดประสงค์เป็นกลุ่มๆ ตามนี้ ก็จะทําให้ทราบว่าขณะสอนเน้นด้านใดและขาด
สมรรถภาพด้านใด นอกจากนี้กาเย่ยังเน้นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมปลายทาง ซึ่งเป็นจุดประสงค์หลักของ
การสอนเรื่องนั้น จะช่วยให้ครูตั้งจุดประสงค์หลักมากกว่าจุดประสงค์ปลีกย่อย
2. หลักการถ่ายโอนการเรียนรู้ สามารถนํามาจัดการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี เพราะการจะ
สอนเรื่องใหม่ได้นั้นจําเป็นจะต้องอาศัยความรู้ ความสามารถพื้นฐานที่สัมพันธ์กัน การวิเคราะห์หาสิ่งที่จะ
เรียนก่อนหลัง หรือบันไดการเรียนรู้จะช่วยให้ครูรู้ว่าจะต้องสอนอะไรก่อนหลัง เมื่อทําเช่นนี้
การถ่ายโอนการเรียนรู้เชิงบวกจะเกิดขึ้น นักเรียนจะสามารถเรียนเรื่องใหม่ได้เร็วขึ้น
จะเห็นว่าลําดับขั้นของการสอนของกาเย่เป็นเครื่องเตือนใจครูว่าการดําเนินการสอนควรจะคํานึงถึง
อะไรบ้าง
ในการปลูกฝังผู้เรียนให้เป็นไปตามเป้าหมายขึ้นอยู่กับกระบวนการเรียนการสอนที่ครูจัดให้ถูกต้อง
1. ครูใช้เด็กเป็นศูนย์กลาง มีครูเป็นผู้กํากับโดยคิดวางแผนการจัดการเรียนการสอน ครูต้อง
ศึกษาหลักสูตรให้เข้าใจและประยุกต์เนื้อหา กระบวนการและวิธีการสอนต่างๆ ให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
และให้เหมาะสมสอดคล้องกับท้องถิ่น กําหนดบทบาทหรือกิจกรรมที่จะให้นักเรียนปฏิบัติอย่างหลากหลาย
และเหมาะสม
2. จัดการเรียนการสอนให้เน้นทักษะกระบวนการอย่างแท้จริง โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
ถึงการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และสามารถนําประสบการณ์เหล่านั้นไปใช้ให้เป็นประโยชน์
ต่อการดําเนินชีวิต
3. สอนคนไม่ใช่สอนหนังสือ การเตรียมคนเพื่อให้สามารถตัดสินใจแก้ปัญหา จะต้องปลูกฝัง
คุณธรรม ค่านิยม เจตคติต่างๆ
4. ให้นักเรียนได้รับการฝึกฝนทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างมีระบบ ตลอดจน
ความรู้ต่างๆ ที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของนักเรียน โดยผ่านขั้นตอนต่างๆ ในการเรียนรู้ด้วย
ตนเอง เริ่มตั้งแต่การวางแผน การเลือก การตัดสินใจ การลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ทําเอง รู้เอง โดยมีครูคอย
ให้คําปรึกษา เพื่อนําไปสู่การเรียนรู้แต่ละขั้นตอนดังกล่าว
5. ให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติควบคู่ไปกับการเรียนเนื้อหานั้นๆ เท่าที่สามารถทําได้
6. ฝึกฝนให้นักเรียนมีสุขนิสัยที่ดีในการรักษาสุขภาพอนามัย รวมกับการเรียนข่าว เหตุการณ์ ต่างๆ
7. ฝึกฝนให้นักเรียนมีความสนใจ รู้จักวิเคราะห์ข่าว เหตุการณ์ประจําวัน เพื่อให้นักเรียน
มีความรู้กว้างขวาง ทันสมัย เห็นสิ่งที่ผิดและถูก สิ่งที่ควรเชื่อและไม่ควรเชื่อ เพื่อจะได้นําสิ่งที่ดี ไปปฏิบัติ
ตาม โดยจัดให้มีการเล่าข่าว เหตุการณ์ประจําวัน รวมทั้งการอภิปรายร่วมกันระหว่างครูและนักเรียน
8. ครูสามารถยืดหยุ่นเวลาเรียนได้ตามความสนใจของผู้เรียนและความเหมาะสมกับลักษณะ
เนื้อหาวิชาแต่ละเรื่อง แต่ละตอน
กระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
กิจกรรมการเรียนการสอนควรมีกระบวนการที่สอดคล้องกัน 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นนําเข้าสู่บทเรียน/เรื่อง เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่เร้าใจให้ผู้เรียนมีความสนใจใน
บทเรียนและอยากเรียนต่อไป
2. ขั้นปฏิบัติประกอบกิจกรรม เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียน
ให้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
3. ขั้นสรุป/ขั้นส่งท้าย เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้สรุปการเรียนรู้ทั้งหมด
เพื่อให้เกิดมโนคติ
อาจกล่าวได้ว่าการจัดการเรียนการสอน ผู้เรียนต้องจัดแบ่งกิจกรรมออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. กิจกรรมการเรียนการสอนขั้นนํา เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่จะเร้าใจให้ผู้เรียน มีความ
สนใจในบทเรียนและอยากจะเรียนต่อไป
2. กิจกรรมการเรียนการสอนขั้นปฏิบัติ เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการ
เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
3. กิจกรรมการเรียนการสอนขั้นสรุป เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้สรุปการ
เรียนรู้ทั้งหมดเพื่อให้เกิดมโนคติ
ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนให้ได้ผลดีและบรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 จะต้องเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยมุ่งให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
รู้จักคิด รู้จักทํา และรู้จักแก้ปัญหาโดยการปฏิบัติจริง
บทที่ 3
วิธีดําเนินการศึกษาค้นคว้า
ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ผู้ทําการวิจัยได้ดําเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
3. การสร้างและการหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ
4. การรวบรวมข้อมูล
5. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดพวงนิมิต
อําเภอเขาฉกรรจ์จังหวัดสระแก้ว ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จํานวน 42 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดพวงนิมิต
อําเภอเขาฉกรรจ์จังหวัดสระแก้ว ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จํานวน 20 คน ซึ่งนํามาจัดกิจกรรมให้
นักเรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ประกอบด้วย
1. ชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
การสร้างและการหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ
1. การสร้างชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผู้ทําการวิจัยได้ดําเนินการ
ตามลําดับดังนี้
1.1 ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับรูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
หลักการ จุดมุ่งหมาย กระบวนการดําเนินการกิจกรรม การประเมินผล และประโยชน์ที่ได้รับ
1.2 ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับแบบฝึกทักษะ และการสร้างแบบฝึกทักษะอย่างมีประสิทธิภาพ
ตรงตามจุดมุ่งหมาย
1.3 ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
1.4 ศึกษาหลักสูตร วิเคราะห์หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว เพื่อนํามาจัดกิจกรรมให้ครอบคลุมจุดมุ่งหมาย
1.5 ดําเนินการสร้างชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้ชุดกิจกรรมที่สร้างขึ้น คือ
ชุดส่งเสริมส่งเสริมการเรียนด้วยตนเอง เรื่อง การวางแผนครอบครัว ใช้เวลา 3 ชั่วโมง
การรวบรวมข้อมูล
ผู้ทําการวิจัยได้ดําเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. สนทนากับนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 2 เป็นกลุ่มตัวอย่างเพื่อชี้แจงที่มาและจุดประสงค์ของการวิจัย
ในครั้งนี้ รวมทั้งประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับนักเรียน
2. ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมโดยใช้เวลา 3 ชั่วโมง
3. ในการปฏิบัติกิจกรรมได้ดําเนินการตามระยะเวลาที่กําหนด ตามขั้นตอนดังนี้
3.1 ขั้นนําเข้าสู่บทเรียน เป็นการเตรียมความพร้อม
3.2 ขั้นปฏิบัติกิจกรรม เป็นขั้นที่นักเรียนจะได้รับสื่อและอุปกรณ์ต่างๆ และแบบบันทึกผล
การปฏิบัติกิจกรรม
3.3 ขั้นอภิปราย เป็นขั้นสําคัญที่ตัวแทนกลุ่มจะออกมารายงานเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง
ความถูกต้อง ครูจะเป็นผู้เฉลยคําตอบที่ถูกต้อง
3.4 ขั้นสรุป เป็นขั้นรวบรวมความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่ได้รับการส่งเสริมโดยการสร้าง
คําถามจากกิจกรรมที่ผ่านมา
3.5 ทดสอบ หลังการปฏิบัติกิจกรรมทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้วทําการทดสอบนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง
โดยใช้แบบทดสอบภาคความรู้และภาคปฏิบัติ
3.6 ตรวจผลการทําแบบทดสอบภาคความรู้และภาคปฏิบัติของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างแล้วนํา
ข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้วิธีการทางสถิติ
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล หาประสิทธิภาพของชุดส่งเสริมทักษะการแสวงหาความรู้การเรียนรู้ด้วยตนเอง
ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. คะแนนเฉลี่ย
X = X
เมื่อ X แทน ค่าเฉลี่ย
เมื่อ Σ แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
เมื่อ n แทน จํานวนนักเรียนในกลุ่ม
2. หาประสิทธิภาพของชุดส่งเสริมทักษะการแสวงหาความรู้
ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
สูตร 80 ตัวแรก E = Σx  100
N A
เมื่อ E แทน ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง
จากคะแนนเฉลี่ยการตอบแบบทดสอบหลังปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน
ทั้งกลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 80
n
1
1
เมื่อ Σx แทน คะแนนรวมของนักเรียนจากการตอบแบบทดสอบ
เมื่อ N แทน จํานวนนักเรียนของกลุ่มตัวอย่าง
เมื่อ A แทน คะแนนเต็มของแบบทดสอบ
สูตร 80 ตัวหลัง E = Σf  100
N
เมื่อ E แทน ประสิทธิภาพของชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองจากจํานวน
นักเรียนที่บรรลุจุดประสงค์ของทักษะการแสวงหาความรู้คิดเป็น
ร้อยละ 80
เมื่อ Σf แทน จํานวนนักเรียนในกลุ่มตัวอย่างที่บรรลุจุดประสงค์
เมื่อ N แทน จํานวนนักเรียนของกลุ่มตัวอย่าง
2
2
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้ทําการวิจัยได้นําชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้ทําการวิจัยได้
สร้างขึ้นจํานวน 1 ชุด ไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดพวง
นิมิต อําเภอเขาฉกรรจ์จังหวัดสระแก้ว จํานวน 20 คน หลังจากนั้นผู้ทําการวิจัยได้นําข้อมูลที่ได้จากการ
ทดลองมาวิเคราะห์เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
โดยมีวิธีดําเนินการดังนี้
1. รวมคะแนนจากการทําแบบทดสอบภาคความรู้ของนักเรียน และนํามาหาค่าเฉลี่ยร้อยละ เพื่อ
นําไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน 80 ตัวแรก
2. รวมจํานวนนักเรียนที่บรรลุจุดประสงค์แต่ละข้อ แล้วคิดเป็นร้อยละของจํานวนนักเรียนที่บรรลุ
จุดประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อนําไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน 80 ตัวหลัง
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาประสิทธิภาพของชุดส่งเสริมความรู้ด้วยตนเอง ปรากฏผล
ดังแสดงในตารางต่อไปนี้
ตอนที่ 1 เปรียบเทียบเกณฑ์มาตรฐาน 80 ตัวแรก
ตารางที่ 1 แสดงคะแนนเฉลี่ยจากการทําแบบทดสอบวัดทักษะการแสวงหาความรู้ ของนักเรียน หลังการ
ปฏิบัติกิจกรรม
จํานวนนักเรียน(คน) คะแนนรวม
จากคะแนนเต็ม 200 คะแนนเต็ม 100 คิดเป็นร้อยละ
20 167 83.50 83.50
จากตารางที่ 1 พบว่า นักเรียนจํานวน 20 คน ทําแบบทดสอบวัดทักษะการแสวงหาความรู้ หลังจาก
การปฏิบัติกิจกรรมได้คะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 83.50 แสดงว่า ชุดส่งเสริมทักษะการแสวงหาความรู้
ที่ผู้ทําการวิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80 ตัวแรกที่ตั้งไว้
คะแนนเฉลี่ย
ตอนที่ 2 เปรียบเทียบเกณฑ์มาตรฐาน 80 ตัวหลัง
ตารางที่ 2 แสดงจํานวนนักเรียนที่บรรลุจุดประสงค์กิจกรรมทักษะการแสวงหาความรู้
จุดประสงค์ จํานวนนักเรียนที่บรรลุจุดประสงค์ คิดเป็นร้อยละ
ข้อที่ 1 รู้ความหมายของการ
วางแผนครอบครัวได้อย่าง
ถูกต้อง
20 100
ข้อที่ 2 แยกแยะวิธีการ
คุมกําเนิดแบบต่างๆได้อย่าง
ถูกต้องและเหมาะสม
20 100
ข้อที่ 3 สามารถวางแผน
ครอบครัวและแนะนําผู้อื่นได้
อย่างเหมาะสม
20 100
เฉลี่ยรวม 20 100
จากตารางที่ 2 พบว่า ในกิจกรรมทักษะการแสวงหาความรู้ ด้วยจุดประสงค์จํานวน 3 ข้อ มีจํานวน
นักเรียนที่ผ่านจุดประสงค์แต่ละข้อเฉลี่ยรวม 20 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80
ตัวหลัง แสดงว่าชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้
ตารางที่ 3 แสดงคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนจากการทําแบบทดสอบวัดทักษะการแสวงหาความรู้ จําแนกเป็น
รายบุคคล
นักเรียน
คนที่
กิจกรรม
ที่ 1
(10 คะแนน)
กิจกรรม
ที่ 2
(10 คะแนน)
กิจกรรม
ที่ 3
(10 คะแนน)
แบบทดสอบ
(10 คะแนน)
รวม
คะแนน
(40 คะแนน)
คะแนน
เฉลี่ย
(ร้อยละ)
1
2
3
8
8
8
8
8
9
9
9
10
8
8
8
33
33
35
82.50
82.50
87.50
นักเรียน
คนที่
กิจกรรม
ที่ 1
(10 คะแนน)
กิจกรรม
ที่ 2
(10 คะแนน)
กิจกรรม
ที่ 3
(10 คะแนน)
แบบทดสอบ
(10 คะแนน)
รวม
คะแนน
(40 คะแนน)
คะแนน
เฉลี่ย
(ร้อยละ)
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
9
8
9
8
9
8
8
8
8
8
9
8
5
8
9
9
9
10
10
10
8
10
10
10
10
9
9
10
10
5
9
8
10
10
10
10
10
9
10
10
10
10
10
10
10
10
8
9
9
10
10
8
8
8
10
9
9
9
8
9
8
9
8
5
8
9
9
9
37
36
37
35
38
37
37
36
36
35
38
36
23
34
35
38
38
92.50
90
92.50
87.50
95
92.50
92.50
90
90
87.50
95
90
57.50
85
87.50
95
95
รวม 164 183 193 167 707 88.37
จากตารางที่ 3 พบว่า ชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ
88.37 ซึ่งแสดงว่าชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น
บทที่ 5
สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งสรุปผลการศึกษาค้นคว้าได้ดังต่อไปนี้
ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
เพื่อสร้างชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
มาตรฐาน 80/80
วิธีดําเนินการศึกษาค้นคว้า
1. กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ โรงเรียนวัดพวงนิมิต อําเภอเขาฉกรรจ์
จังหวัดสระแก้ว ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จํานวน 20 คน โดยดําเนินการเลือกกลุ่มตัวอย่างจากการ
ประเมินผลการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา เพื่อส่งเสริมความรู้เพิ่มเติม
ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า มีดังนี้
ชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้ทําการวิจัยได้สร้างขึ้น โดย
การศึกษารายละเอียดของเนื้อหาและจุดประสงค์จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะการแสวงหา
ความรู้ด้วยตนเอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สาระที่ 2 เพื่อนํามาจัดกิจกรรมและกําหนดสถานการณ์เพิ่มเติมให้
สอดคล้องและครอบคลุมจุดประสงค์ของกิจกรรมชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง
วิธีดําเนินการทดลอง
ผู้ทําการวิจัยได้นําชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ทดลองใช้กับ
นักเรียนกลุ่มตัวอย่างจํานวน 20 คน โรงเรียนวัดพวงนิมิต อําเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว โดยได้
ดําเนินการสอนด้วยตนเอง เมื่อการปฏิบัติกิจกรรมเสร็จสิ้นแล้วได้ให้นักเรียนทําแบบทดสอบวัดทักษะ
การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
การวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผู้ทําการวิจัยได้ดําเนินการดังนี้
1. หาประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80 ตัวแรก โดยการหาค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ย
ที่ได้จากการทําแบบทดสอบวัดทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2. หาประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80 ตัวหลัง โดยการหาค่าร้อยละของจํานวนนักเรียน
ที่บรรลุจุดประสงค์แต่ละข้อ แล้วนําค่าร้อยละของนักเรียนมาหาค่าเฉลี่ยรวม
สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
ชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 83.50/100 สูงกว่าเกณฑ์
มาตรฐาน 80/80 ตามสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้
อภิปรายผลการศึกษาค้นคว้า
1. ประสิทธิภาพของชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
จากผลการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ พบว่า ชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้
นําไปใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างนั้น นักเรียนกลุ่มตัวอย่างสามารถตอบแบบทดสอบหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติ
กิจกรรมได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 83.50 และจํานวนนักเรียนที่บรรลุจุดประสงค์ของทักษะการแสวงหา
ความรู้เฉลี่ยรวมร้อยละ 100
การที่ชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์
มาตรฐานนั้น เนื่องจากการสร้างชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2มีระบบขั้นตอนจาก
การศึกษารูปแบบของการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ขอบข่ายของ
ทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เพื่อศึกษาเนื้อหาและจุดประสงค์ของทักษะการแสวงหาความรู้ด้วย
ตนเอง แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สาระที่ 2 ชีวิตและ
ครอบครัว เรื่อง การวางแผนครอบครัว เป็นแนวทางในการกําหนดสถานการณ์ของกิจกรรมโดยคํานึงถึง
ความสอดคล้องกับระดับของผู้เรียน
ชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นการจัดกิจกรรมที่ยึดผู้เรียนเป็นสําคัญ โดยมีครูเป็นผู้
ประสานงาน ให้คําแนะนํา ชี้แจง ส่งเสริมให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมไปตามจุดประสงค์โดยมีขั้นตอนที่
สําคัญ คือ ขั้นนํา ซึ่งเป็นขั้นเร้าความสนใจให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน ขั้นปฏิบัติกิจกรรม เป็นกิจกรรมที่จัดให้
ผู้เรียนเพื่อบรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้และขั้นสรุปการเรียนรู้ทั้งหมดเพื่อให้ผู้เรียนเกิดมโนคติ
2. กิจกรรมส่งเสริมทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ซึ่งมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.90/100 เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับการใช้
ชีวิตเพื่อเตรียมทักษะขั้นพื้นฐานในการดํารงชีวิตอยู่อย่างมีความสุขและถูกต้อง โดยมีขอบเขตการแสวงหา
เพื่อให้เกิดการพัฒนาความรู้ที่ถูกต้องและเป็นพื้นฐานดําเนินชีวิตต่อไป จะเห็นได้ว่าชุดส่งเสริมการเรียนรู้
ด้วยตนเอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สร้างขึ้นนี้เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการแสวงหาความรู้ด้วย
ตนเอง จากการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ยึดตัวผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีครูเป็นผู้ชี้แนะประสานงาน ดําเนิน
กิจกรรมไปตามกระบวนการ และให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการสร้าง
ชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ชั้นมัธยม
ศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้ทําการวิจัยได้สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 82.90/100 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ตามที่
กําหนดไว้
บรรณานุกรม
ธงชัย ทวิชาชาติ. (2555). หนังสือเรียนสมบูรณ์แบบ วิชาสุขศึกษา: สํานักพิมพ์วัฒนาพานิช. กรุงเทพฯ.
ธงชัย ทวิชาชาติ. (2555). แบบฝึกทักษะและประเมินผล วิชาสุขศึกษา: สํานักพิมพ์วัฒนาพานิช. กรุงเทพฯ.
ธงชัย ทวิชาชาติ. (2555). แบบฝึกพัฒนาความคิด วิชาสุขศึกษา: สํานักพิมพ์วัฒนาพานิช. กรุงเทพฯ.
ไพโรจน์ สุวรรณภักดี. (2540). แบบฝึกทักษะกระบวนการ วิชาสุขศึกษา: สํานักพิมพ์วัฒนาพานิช.
กรุงเทพฯ.
รายงานวิจัยในชั้นเรียน
เรื่อง
การใช้ชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง
เพื่อพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดพวงนิมิต
ปีการศึกษา 2557
โดย
นายศราวุธ ไชยเจริญ
ครู โรงเรียนวัดพวงนิมิต
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

ห้องสีขาว 1.1
ห้องสีขาว 1.1ห้องสีขาว 1.1
ห้องสีขาว 1.1peter dontoom
 
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงWareerut Hunter
 
แรงลัพธ์
แรงลัพธ์แรงลัพธ์
แรงลัพธ์Kan Pan
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและการจำแนกสาร ชุดที่ 1 สสารและสาร
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและการจำแนกสาร ชุดที่ 1 สสารและสารชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและการจำแนกสาร ชุดที่ 1 สสารและสาร
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและการจำแนกสาร ชุดที่ 1 สสารและสารKetsarin Prommajun
 
แบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆแบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆNaphachol Aon
 
แบบประเมินชิ้นงาน
แบบประเมินชิ้นงานแบบประเมินชิ้นงาน
แบบประเมินชิ้นงานkrunueng1
 
เขียนเรื่องจากจินตนาการ ป.3
เขียนเรื่องจากจินตนาการ ป.3เขียนเรื่องจากจินตนาการ ป.3
เขียนเรื่องจากจินตนาการ ป.3เกษสุดา สนน้อย
 
แบบประเมินทักษะกระบวนการ
แบบประเมินทักษะกระบวนการแบบประเมินทักษะกระบวนการ
แบบประเมินทักษะกระบวนการsomdetpittayakom school
 
แบบประเมินการนำเสนอผลงาน
แบบประเมินการนำเสนอผลงานแบบประเมินการนำเสนอผลงาน
แบบประเมินการนำเสนอผลงานKhemjira_P
 
แบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงานแบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงานpacharawalee
 
โครงสร้างหลักสูตรประถม
โครงสร้างหลักสูตรประถมโครงสร้างหลักสูตรประถม
โครงสร้างหลักสูตรประถมwangasom
 
ข้อสอบกลางภาคเรียนที่ 1 วิชาสุขศึกษา 5
ข้อสอบกลางภาคเรียนที่ 1  วิชาสุขศึกษา  5ข้อสอบกลางภาคเรียนที่ 1  วิชาสุขศึกษา  5
ข้อสอบกลางภาคเรียนที่ 1 วิชาสุขศึกษา 5Tikaben Phutako
 
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงาน
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า  ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงานชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า  ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงาน
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงานSAKANAN ANANTASOOK
 
แบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจแบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจDuangnapa Inyayot
 

La actualidad más candente (20)

ห้องสีขาว 1.1
ห้องสีขาว 1.1ห้องสีขาว 1.1
ห้องสีขาว 1.1
 
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
 
แรงลัพธ์
แรงลัพธ์แรงลัพธ์
แรงลัพธ์
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและการจำแนกสาร ชุดที่ 1 สสารและสาร
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและการจำแนกสาร ชุดที่ 1 สสารและสารชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและการจำแนกสาร ชุดที่ 1 สสารและสาร
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและการจำแนกสาร ชุดที่ 1 สสารและสาร
 
แผนการจัดการเรียนรู้ หน้าที่พลเมือง ม.1
แผนการจัดการเรียนรู้  หน้าที่พลเมือง ม.1แผนการจัดการเรียนรู้  หน้าที่พลเมือง ม.1
แผนการจัดการเรียนรู้ หน้าที่พลเมือง ม.1
 
แบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆแบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆ
 
แบบประเมินชิ้นงาน
แบบประเมินชิ้นงานแบบประเมินชิ้นงาน
แบบประเมินชิ้นงาน
 
เขียนเรื่องจากจินตนาการ ป.3
เขียนเรื่องจากจินตนาการ ป.3เขียนเรื่องจากจินตนาการ ป.3
เขียนเรื่องจากจินตนาการ ป.3
 
แบบประเมินทักษะกระบวนการ
แบบประเมินทักษะกระบวนการแบบประเมินทักษะกระบวนการ
แบบประเมินทักษะกระบวนการ
 
ใบงาน อเมริกาเหนือ
ใบงาน อเมริกาเหนือใบงาน อเมริกาเหนือ
ใบงาน อเมริกาเหนือ
 
แบบประเมินการนำเสนอผลงาน
แบบประเมินการนำเสนอผลงานแบบประเมินการนำเสนอผลงาน
แบบประเมินการนำเสนอผลงาน
 
7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง
7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง
7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง
 
แบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงานแบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงาน
 
โครงสร้างหลักสูตรประถม
โครงสร้างหลักสูตรประถมโครงสร้างหลักสูตรประถม
โครงสร้างหลักสูตรประถม
 
ใบความรู้โครงงานคุณธรรม
ใบความรู้โครงงานคุณธรรมใบความรู้โครงงานคุณธรรม
ใบความรู้โครงงานคุณธรรม
 
ข้อสอบกลางภาคเรียนที่ 1 วิชาสุขศึกษา 5
ข้อสอบกลางภาคเรียนที่ 1  วิชาสุขศึกษา  5ข้อสอบกลางภาคเรียนที่ 1  วิชาสุขศึกษา  5
ข้อสอบกลางภาคเรียนที่ 1 วิชาสุขศึกษา 5
 
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงาน
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า  ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงานชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า  ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงาน
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงาน
 
แบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจแบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจ
 
8. ชุดที่ 5 การลำเลียง
8. ชุดที่ 5 การลำเลียง8. ชุดที่ 5 การลำเลียง
8. ชุดที่ 5 การลำเลียง
 
แผนKpa ส่งจริง (ซ่อมแซม)
แผนKpa ส่งจริง (ซ่อมแซม)แผนKpa ส่งจริง (ซ่อมแซม)
แผนKpa ส่งจริง (ซ่อมแซม)
 

Similar a วิจัยในชั้นเรียนวิจัยในชั้นเรียนชั้นม.2

รายงานการศึกษาการพัฒนาการจัดกิจกรรมแนะแนว
รายงานการศึกษาการพัฒนาการจัดกิจกรรมแนะแนวรายงานการศึกษาการพัฒนาการจัดกิจกรรมแนะแนว
รายงานการศึกษาการพัฒนาการจัดกิจกรรมแนะแนวโม่ย แสงจันทร์
 
รายงานการศึกษาการพัฒนาการจัดกิจกรรมแนะแนว
รายงานการศึกษาการพัฒนาการจัดกิจกรรมแนะแนวรายงานการศึกษาการพัฒนาการจัดกิจกรรมแนะแนว
รายงานการศึกษาการพัฒนาการจัดกิจกรรมแนะแนวโม่ย แสงจันทร์
 
นางขวัญฤดี กันทเสน01
นางขวัญฤดี  กันทเสน01นางขวัญฤดี  กันทเสน01
นางขวัญฤดี กันทเสน01Art Nan
 
รายงาน SAR โดยกลุ่มงานประกันคุณภาพ โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา บทที่ 3
รายงาน SAR โดยกลุ่มงานประกันคุณภาพ โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา บทที่ 3รายงาน SAR โดยกลุ่มงานประกันคุณภาพ โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา บทที่ 3
รายงาน SAR โดยกลุ่มงานประกันคุณภาพ โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา บทที่ 3Yodhathai Reesrikom
 
รูปแบบการบริหารการป้องกันนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักง...
รูปแบบการบริหารการป้องกันนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักง...รูปแบบการบริหารการป้องกันนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักง...
รูปแบบการบริหารการป้องกันนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักง...ณรงค์ พร้อมบัวป่า
 
ชุดกิจกรรมเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะโลหะ
ชุดกิจกรรมเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะโลหะชุดกิจกรรมเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะโลหะ
ชุดกิจกรรมเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะโลหะโรงเรียนเดชอุดม
 
วิจัยสุขศึกษา
วิจัยสุขศึกษาวิจัยสุขศึกษา
วิจัยสุขศึกษาan1030
 
เค้าโครงแนะแนว เพาเวอร์พ้อยท์
เค้าโครงแนะแนว เพาเวอร์พ้อยท์เค้าโครงแนะแนว เพาเวอร์พ้อยท์
เค้าโครงแนะแนว เพาเวอร์พ้อยท์guestadbcd4b0
 
แฟ้มสะสมผลงานสำหรับสอนนักเรียน
แฟ้มสะสมผลงานสำหรับสอนนักเรียนแฟ้มสะสมผลงานสำหรับสอนนักเรียน
แฟ้มสะสมผลงานสำหรับสอนนักเรียนOrawan Inon
 
รายงานผลการจัดการเรียนรู้นวัตกรรมคุณธรรมนำความคิด เรื่องสารละลาย ชั้น ม.1 ครู...
รายงานผลการจัดการเรียนรู้นวัตกรรมคุณธรรมนำความคิด เรื่องสารละลาย ชั้น ม.1 ครู...รายงานผลการจัดการเรียนรู้นวัตกรรมคุณธรรมนำความคิด เรื่องสารละลาย ชั้น ม.1 ครู...
รายงานผลการจัดการเรียนรู้นวัตกรรมคุณธรรมนำความคิด เรื่องสารละลาย ชั้น ม.1 ครู...Kobwit Piriyawat
 
3 บทคัดย่อ
3 บทคัดย่อ3 บทคัดย่อ
3 บทคัดย่อKoiy Yuencheewit
 
การพัฒนาทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันของบุคคลออทิสติกโดยใช้กลวิธีการเ...
การพัฒนาทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันของบุคคลออทิสติกโดยใช้กลวิธีการเ...การพัฒนาทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันของบุคคลออทิสติกโดยใช้กลวิธีการเ...
การพัฒนาทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันของบุคคลออทิสติกโดยใช้กลวิธีการเ...iTylor
 
ภารกิจระดับครูผู้ช่วย2
ภารกิจระดับครูผู้ช่วย2ภารกิจระดับครูผู้ช่วย2
ภารกิจระดับครูผู้ช่วย2Jiramet Ponyiam
 
ทดสอบอัพโหลดงานขึ้น slideshare
ทดสอบอัพโหลดงานขึ้น slideshareทดสอบอัพโหลดงานขึ้น slideshare
ทดสอบอัพโหลดงานขึ้น slideshareKruManthana
 
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้นเครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้นLathika Phapchai
 
การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมสร...
การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมสร...การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมสร...
การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมสร...Kwan Service
 
%E2%a4ç%c3%e8ҧ%a1Ԩ%a1%c3%c3%c1%a1%d2äդ
%E2%a4ç%c3%e8ҧ%a1Ԩ%a1%c3%c3%c1%a1%d2äդ%E2%a4ç%c3%e8ҧ%a1Ԩ%a1%c3%c3%c1%a1%d2äդ
%E2%a4ç%c3%e8ҧ%a1Ԩ%a1%c3%c3%c1%a1%d2äդwhawhasa06006
 

Similar a วิจัยในชั้นเรียนวิจัยในชั้นเรียนชั้นม.2 (20)

รายงานการศึกษาการพัฒนาการจัดกิจกรรมแนะแนว
รายงานการศึกษาการพัฒนาการจัดกิจกรรมแนะแนวรายงานการศึกษาการพัฒนาการจัดกิจกรรมแนะแนว
รายงานการศึกษาการพัฒนาการจัดกิจกรรมแนะแนว
 
รายงานการศึกษาการพัฒนาการจัดกิจกรรมแนะแนว
รายงานการศึกษาการพัฒนาการจัดกิจกรรมแนะแนวรายงานการศึกษาการพัฒนาการจัดกิจกรรมแนะแนว
รายงานการศึกษาการพัฒนาการจัดกิจกรรมแนะแนว
 
นางขวัญฤดี กันทเสน01
นางขวัญฤดี  กันทเสน01นางขวัญฤดี  กันทเสน01
นางขวัญฤดี กันทเสน01
 
รายงาน SAR โดยกลุ่มงานประกันคุณภาพ โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา บทที่ 3
รายงาน SAR โดยกลุ่มงานประกันคุณภาพ โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา บทที่ 3รายงาน SAR โดยกลุ่มงานประกันคุณภาพ โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา บทที่ 3
รายงาน SAR โดยกลุ่มงานประกันคุณภาพ โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา บทที่ 3
 
รูปแบบการบริหารการป้องกันนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักง...
รูปแบบการบริหารการป้องกันนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักง...รูปแบบการบริหารการป้องกันนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักง...
รูปแบบการบริหารการป้องกันนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักง...
 
ชุดกิจกรรมเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะโลหะ
ชุดกิจกรรมเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะโลหะชุดกิจกรรมเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะโลหะ
ชุดกิจกรรมเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะโลหะ
 
วิจัยสุขศึกษา
วิจัยสุขศึกษาวิจัยสุขศึกษา
วิจัยสุขศึกษา
 
เค้าโครงแนะแนว เพาเวอร์พ้อยท์
เค้าโครงแนะแนว เพาเวอร์พ้อยท์เค้าโครงแนะแนว เพาเวอร์พ้อยท์
เค้าโครงแนะแนว เพาเวอร์พ้อยท์
 
แฟ้มสะสมผลงานสำหรับสอนนักเรียน
แฟ้มสะสมผลงานสำหรับสอนนักเรียนแฟ้มสะสมผลงานสำหรับสอนนักเรียน
แฟ้มสะสมผลงานสำหรับสอนนักเรียน
 
รายงานผลการจัดการเรียนรู้นวัตกรรมคุณธรรมนำความคิด เรื่องสารละลาย ชั้น ม.1 ครู...
รายงานผลการจัดการเรียนรู้นวัตกรรมคุณธรรมนำความคิด เรื่องสารละลาย ชั้น ม.1 ครู...รายงานผลการจัดการเรียนรู้นวัตกรรมคุณธรรมนำความคิด เรื่องสารละลาย ชั้น ม.1 ครู...
รายงานผลการจัดการเรียนรู้นวัตกรรมคุณธรรมนำความคิด เรื่องสารละลาย ชั้น ม.1 ครู...
 
บทคัดย่อ
บทคัดย่อบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
 
3 บทคัดย่อ
3 บทคัดย่อ3 บทคัดย่อ
3 บทคัดย่อ
 
Learning media 4 oct 2014
Learning media 4 oct 2014Learning media 4 oct 2014
Learning media 4 oct 2014
 
การพัฒนาทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันของบุคคลออทิสติกโดยใช้กลวิธีการเ...
การพัฒนาทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันของบุคคลออทิสติกโดยใช้กลวิธีการเ...การพัฒนาทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันของบุคคลออทิสติกโดยใช้กลวิธีการเ...
การพัฒนาทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันของบุคคลออทิสติกโดยใช้กลวิธีการเ...
 
ภารกิจระดับครูผู้ช่วย2
ภารกิจระดับครูผู้ช่วย2ภารกิจระดับครูผู้ช่วย2
ภารกิจระดับครูผู้ช่วย2
 
ทดสอบอัพโหลดงานขึ้น slideshare
ทดสอบอัพโหลดงานขึ้น slideshareทดสอบอัพโหลดงานขึ้น slideshare
ทดสอบอัพโหลดงานขึ้น slideshare
 
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้นเครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
 
การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมสร...
การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมสร...การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมสร...
การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมสร...
 
%E2%a4ç%c3%e8ҧ%a1Ԩ%a1%c3%c3%c1%a1%d2äդ
%E2%a4ç%c3%e8ҧ%a1Ԩ%a1%c3%c3%c1%a1%d2äդ%E2%a4ç%c3%e8ҧ%a1Ԩ%a1%c3%c3%c1%a1%d2äդ
%E2%a4ç%c3%e8ҧ%a1Ԩ%a1%c3%c3%c1%a1%d2äդ
 
Sar 58 wichai li
Sar 58 wichai liSar 58 wichai li
Sar 58 wichai li
 

Más de sarawut chaicharoen

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 สุข ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  7 สุข ม.2แผนการจัดการเรียนรู้ที่  7 สุข ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 สุข ม.2sarawut chaicharoen
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 สุข ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  5 สุข ม.2แผนการจัดการเรียนรู้ที่  5 สุข ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 สุข ม.2sarawut chaicharoen
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 สุข ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  3 สุข ม.2แผนการจัดการเรียนรู้ที่  3 สุข ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 สุข ม.2sarawut chaicharoen
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 สุข ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 สุข ม.2แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 สุข ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 สุข ม.2sarawut chaicharoen
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 สุข ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1 สุข ม.2แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1 สุข ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 สุข ม.2sarawut chaicharoen
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 สุข ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  2 สุข ม.2แผนการจัดการเรียนรู้ที่  2 สุข ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 สุข ม.2sarawut chaicharoen
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7sarawut chaicharoen
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 sarawut chaicharoen
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 สุข ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 สุข ม.2แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 สุข ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 สุข ม.2sarawut chaicharoen
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 สุข ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 สุข ม.2แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 สุข ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 สุข ม.2sarawut chaicharoen
 
ชุดส่งเสริมการเรียนรู้เวิชาสุขศึกษา ม.2
ชุดส่งเสริมการเรียนรู้เวิชาสุขศึกษา ม.2ชุดส่งเสริมการเรียนรู้เวิชาสุขศึกษา ม.2
ชุดส่งเสริมการเรียนรู้เวิชาสุขศึกษา ม.2sarawut chaicharoen
 
การช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
การช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติดการช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
การช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติดsarawut chaicharoen
 
เทคโนโลยีทางสุขภาพ
เทคโนโลยีทางสุขภาพเทคโนโลยีทางสุขภาพ
เทคโนโลยีทางสุขภาพsarawut chaicharoen
 
การฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
การฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติดการฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
การฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติดsarawut chaicharoen
 
การจัดการอารมณ์และความเครียด
การจัดการอารมณ์และความเครียดการจัดการอารมณ์และความเครียด
การจัดการอารมณ์และความเครียดsarawut chaicharoen
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3sarawut chaicharoen
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  4แผนการจัดการเรียนรู้ที่  4
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4sarawut chaicharoen
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1sarawut chaicharoen
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  2แผนการจัดการเรียนรู้ที่  2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2sarawut chaicharoen
 
แบบวิเคราะห์ลีลาการเรียนรู้ตามพฤติกรรมการเรียนรู้
แบบวิเคราะห์ลีลาการเรียนรู้ตามพฤติกรรมการเรียนรู้แบบวิเคราะห์ลีลาการเรียนรู้ตามพฤติกรรมการเรียนรู้
แบบวิเคราะห์ลีลาการเรียนรู้ตามพฤติกรรมการเรียนรู้sarawut chaicharoen
 

Más de sarawut chaicharoen (20)

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 สุข ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  7 สุข ม.2แผนการจัดการเรียนรู้ที่  7 สุข ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 สุข ม.2
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 สุข ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  5 สุข ม.2แผนการจัดการเรียนรู้ที่  5 สุข ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 สุข ม.2
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 สุข ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  3 สุข ม.2แผนการจัดการเรียนรู้ที่  3 สุข ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 สุข ม.2
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 สุข ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 สุข ม.2แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 สุข ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 สุข ม.2
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 สุข ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1 สุข ม.2แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1 สุข ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 สุข ม.2
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 สุข ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  2 สุข ม.2แผนการจัดการเรียนรู้ที่  2 สุข ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 สุข ม.2
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 สุข ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 สุข ม.2แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 สุข ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 สุข ม.2
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 สุข ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 สุข ม.2แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 สุข ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 สุข ม.2
 
ชุดส่งเสริมการเรียนรู้เวิชาสุขศึกษา ม.2
ชุดส่งเสริมการเรียนรู้เวิชาสุขศึกษา ม.2ชุดส่งเสริมการเรียนรู้เวิชาสุขศึกษา ม.2
ชุดส่งเสริมการเรียนรู้เวิชาสุขศึกษา ม.2
 
การช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
การช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติดการช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
การช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
 
เทคโนโลยีทางสุขภาพ
เทคโนโลยีทางสุขภาพเทคโนโลยีทางสุขภาพ
เทคโนโลยีทางสุขภาพ
 
การฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
การฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติดการฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
การฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
 
การจัดการอารมณ์และความเครียด
การจัดการอารมณ์และความเครียดการจัดการอารมณ์และความเครียด
การจัดการอารมณ์และความเครียด
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  4แผนการจัดการเรียนรู้ที่  4
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  2แผนการจัดการเรียนรู้ที่  2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
 
แบบวิเคราะห์ลีลาการเรียนรู้ตามพฤติกรรมการเรียนรู้
แบบวิเคราะห์ลีลาการเรียนรู้ตามพฤติกรรมการเรียนรู้แบบวิเคราะห์ลีลาการเรียนรู้ตามพฤติกรรมการเรียนรู้
แบบวิเคราะห์ลีลาการเรียนรู้ตามพฤติกรรมการเรียนรู้
 

วิจัยในชั้นเรียนวิจัยในชั้นเรียนชั้นม.2

  • 1. คํานํา รายงานการวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การใช้ชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการ แสวงหาความรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นี้ เป็นการรายงานผลการใช้ชุดส่งเสริมการ เรียนรู้ด้วยตนเอง พัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดพวงนิมิต อําเภอเขาฉกรรจ์จังหวัดสระแก้ว ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จํานวน 20 คน ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ นักเรียนเกิดทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนในการจัดกิจกรรมการเรียนการ สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว การใช้ชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ครั้งนี้ ประสบความสําเร็จตาม วัตถุประสงค์ทุกประการ ข้าพเจ้าจึงได้จัดทํารายงานการวิจัยในชั้นเรียนฉบับนี้ขึ้น เพื่อรายงานผลและใช้ เป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในปี การศึกษาต่อไป รวมทั้งเพื่อจะนําเผยแพร่แก่ผู้ที่สนใจทั่วไป ศราวุธ ไชยเจริญ
  • 2. สารบัญ เรื่อง หน้า บทที่ 1 ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา 1 ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า 1 ความสําคัญของการศึกษาค้นคว้า 1 ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า 2 สมมติฐานในการศึกษาค้นคว้า 2 นิยามศัพท์เฉพาะ 2 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 3 บทที่ 3 วิธีดําเนินการศึกษาค้นคว้า 7 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 7 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า 7 การสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องมือ 7 การรวบรวมข้อมูล 8 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 8 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 10 การวิเคราะห์ข้อมูล 10 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 10 บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 13 ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า 13 วิธีดําเนินการศึกษาค้นคว้า 13 วิธีดําเนินการทดลอง 13 การวิเคราะห์ข้อมูล 13 สรุปผลการศึกษาค้นคว้า 14 อภิปรายผลการศึกษาค้นคว้า 14 บรรณานุกรม 15 ภาคผนวก 16
  • 3. บทที่ 1 ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา ปัจจุบันประเทศไทยกําลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม อันเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงจําเป็นอย่างยิ่งที่ประชากร ในประเทศจะต้องมีพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจ เพื่อให้ตระหนักในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองให้ทันต่อ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างรวดเร็วทั้งทางสภาพสังคม สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีต่างๆ ดังนั้น การ จัดการศึกษาด้านการส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักการแสวงหาความรู้จึงมีบทบาทสําคัญที่จะนําประเทศไปสู่ ความทันต่อการเปลี่ยนแปลงและเจริญก้าวหน้าได้เป็นอย่างดี เนื่องจากกระบวนการแสวงหาความรู้ มีความสําคัญ หากมนุษย์ใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่ ไปศึกษาค้นคว้าโดยอาศัยการฝึกฝนให้เกิดทักษะอย่างชํานาญ จะเกิดการพัฒนาการทางเชาว์ปัญญา กระบวนการรู้คิด หรือกระบวนการทางปัญญา ซึ่งกระบวนการรู้คิดหมายถึง กระบวนการของสมองในการ ปรับเปลี่ยน ลด ตัดทอน ขยาย จัดเก็บ และใช้ข้อมูลที่รับเข้ามาทางประสาทสัมผัส การบอกความหมาย ของ สิ่งที่รับรู้ ความหมายของสิ่งเดียวกันสําหรับแต่ละคนย่อมต่างกันตามประสบการณ์ ดังนั้น การส่งเสริมผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาให้มีทักษะกระบวนการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง จึงมีความสําคัญและจําเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนรู้วิธีการแสวงหาความรู้จากสื่ออื่นๆ แล้วนําเอาวิธีการ ดังกล่าวไปใช้แก้ปัญหาในการดํารงชีวิตตามแนวการสอนของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 ซึ่งมุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนทีคิดเป็น ทําเป็น แก้ปัญหาเป็น ตลอดจนรู้จักนําความรู้ไปใช้ในชีวิตประจําวัน ให้มากที่สุดการสร้างชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง จึงเป็นกลวิธีในการส่งเสริมทักษะ การแสวงหาความรู้อีกรูปแบบหนึ่ง เพื่อใช้ฝึกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดพวงนิมิต อําเภอ เขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว ที่เป็นกลุ่มทดลองในครั้งนี้ เกิดทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง แล้วนําทักษะที่ได้รับจากการฝึกปฏิบัติไปแสวงหาความรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์ให้เกิดประโยชน์ต่อไป ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า เพื่อสร้างชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ มาตรฐาน 80/80 ความสําคัญของการศึกษาค้นคว้า 1. ได้ชุดส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2. พัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดพวงนิมิต อําเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว 3. เป็นแนวทางสําหรับครูผู้สอนวิชาสุขศึกษาในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนและส่งเสริม ให้นักเรียนมีทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
  • 4. ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ผู้ทําการวิจัยได้กําหนดขอบเขตของการศึกษาค้นคว้าไว้ดังนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดพวงนิมิต อําเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จํานวน 20 คน 2. ระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนาชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้ทําการวิจัยได้ดําเนินการทดลอง ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างจํานวน 20 คน โดยใช้เวลา 3 ชั่วโมง แยกเป็นครั้ง ละ 1 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 3 ครั้ง 3. ชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สร้างขึ้น สมมติฐานในการศึกษาค้นคว้า ชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ มาตรฐาน 80/80 นิยามศัพท์เฉพาะ 1. ทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง หมายถึง การให้ผู้เรียนแสวงหาและค้นพบความรู้ ด้วยตนเอง และ ผู้เรียนได้ศึกษาความรู้เหมาะสมกับธรรมชาติของวิชา วัย ความสนใจของผู้เรียนและ ความพร้อมด้านต่าง ๆ สร้างความรู้ของตนเอง เพื่อความสําเร็จในการเรียนรู้ 2. ชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หมายถึง ชุดกิจกรรม ที่ผู้ทําการวิจัยสร้างและพัฒนาขึ้นให้นักเรียน กลุ่มตัวอย่างได้รับการส่งเสริมให้เกิดทักษะการแสวงหา ความรู้ด้วยตนเอง จากการลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง 3. เกณฑ์มาตรฐาน 80/80 หมายถึง ประสิทธิภาพของชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งมี ความหมายดังนี้ 3.1 80 ตัวแรก หมายถึง คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่ได้ จากการตอบแบบทดสอบหลังการปฏิบัติกิจกรรม ได้คะแนนเฉลี่ยอย่างน้อยร้อยละ 80 3.2 80 ตัวหลัง หมายถึง จํานวนนักเรียนในกลุ่มตัวอย่างที่สามารถบรรลุจุดประสงค์ ทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้อย่างน้อยร้อยละ 80 4. เกณฑ์ในการบรรลุจุดประสงค์ หมายถึง การตอบคําถามได้ถูกต้องอย่างน้อยร้อยละ 80 ของ คําตอบทั้งหมดในจุดประสงค์นั้น
  • 5. บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้ทําการวิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแบ่งได้ดังนี้ 1. เอกสารที่เกี่ยวข้อง 1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้ 1.2 กระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เอกสารที่เกี่ยวข้อง ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง วีก็อทสกี้(Vygotsky) นักจิตวิทยาชาวรัสเซีย และเปียเจท์(Piaget) เป็น นักทฤษฎีการเรียนรู้ ในกลุ่ม พุทธินิยม (Cognitivism) ให้ความสนใจศึกษาเรื่องพัฒนาการทางเชาว์ปัญญา กระบวนการรู้คิด หรือ กระบวนการทางปัญญา ซึ่งกระบวนการรู้คิดหมายถึง กระบวนการของสมองในการปรับเปลี่ยน ลด ตัด ทอน ขยาย จัดเก็บ และใช้ข้อมูลที่รับเข้ามาทางประสาทสัมผัส การบอกความหมาย ของสิ่งที่รับรู้ ความหมายของสิ่งเดียวกันสําหรับแต่ละคนย่อมต่างกันตามประสบการณ์ แนวคิดดังกล่าวเป็นรากฐาน สําคัญของ ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองแนวคิดสําคัญ ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองให้ความสําคัญของกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้าง ความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ เชื่อว่าการเรียนรู้เป็นเรื่องเฉพาะตัวการตีความหมายของสิ่งที่เรียนรู้ เป็นไปตามประสบการณ์เดิม ความเชื่อ ความสนใจ ภูมิหลัง ฯลฯ การสร้างความรู้เป็นกระบวนการทั้ง ทางด้านสติปัญญาและสังคม การประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน การนําทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน สามารถทําได้ดังนี้ 1. ผลการเรียนรู้มุ่งเน้นที่กระบวนการสร้างความรู้ ผู้เรียนต้องฝึกฝน การสร้างความรู้ด้วยตนเอง 2. เป้าหมายการเรียนเปลี่ยนจากการถ่ายทอดสาระความรู้ที่ตายตัวเป็นการเรียนวิธีการเรียนรู้ 3. ผู้เรียนต้องเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ได้จัดกระทํา ศึกษาสํารวจ ลองผิดลองถูก จนเกิดเป็นความรู้ ความเข้าใจ 4. ให้ผู้เรียนได้ใช้ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเพื่อการร่วมมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างความรู้ร่วมกัน 5. ผู้เรียนเป็นผู้เลือกสิ่งที่ต้องการเรียน ตั้งกฎระเบียบ รับผิดชอบและแก้ปัญหาการเรียนของตนเอง 6. ครูเปลี่ยนบทบาทจากผู้ถ่ายทอดความรู้เป็นผู้อํานวยความสะดวก ช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้ การสอน เปลี่ยนจากการให้ความรู้เป็นการให้ผู้เรียนสร้างความรู้ 7. การประเมินผลการเรียนการสอนใช้วิธีการที่หลากหลาย ยืดหยุ่น
  • 6. การนําความรู้จากทฤษฎีการเรียนรู้ไปใช้ในการเรียนการสอน 1. ก่อนจะเริ่มดําเนินการสอนครูต้องเตรียมตัวให้พร้อมและกระตุ้นให้เด็กพร้อมที่จะเรียนเสียก่อน โดยมีการนําเข้าสู่บทเรียนทุกครั้ง 2. มอบหมายงาน กิจกรรม แบบฝึกหัด และการบ้านให้ได้เด็กได้ฝึกหัดกระทําเพื่อให้บรรลุผลตาม หลักสูตรที่ว่าให้คิดเป็น ทําเป็น และแก้ปัญหาเป็น 3. ใช้หลักการให้รางวัลและการลงโทษ เพื่อให้เด็กเรียนผลของการกระทํา ทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่ กาเย่(Gagne) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน กลุ่มพฤติกรรมนิยม ได้สร้างทฤษฎีการเรียนรู้ เรียกว่า ทฤษฎีการรับรู้ข้อมูล (Information Processing Theory) ทฤษฎีนี้ จะกล่าวถึงความรู้จากภายนอกเข้ามาสู่ตัวเราอย่างไร การรับรู้ของสมองแล้วบันทึกไว้เป็นความจํา ชั่วคราวกับความจําระยะยาวเป็นอย่างไร รวมถึงการระลึกได้เมื่อถูกเรียกและแสดงออกเป็นพฤติกรรม เพื่อให้เกิดกระบวนการดังกล่าวเขาได้จัดลําดับขั้นของการสอนไว้9 ขั้น ดังนี้ (สุวัฒน์ นิยมค้า. 2531: ข 429 – 434; อ้างอิงมาจาก Gagne) 1. เร้าความสนใจเพื่อนําเข้าสู่บทเรียน 2. แจ้งจุดประสงค์ของการสอน 3. ทบทวนความรู้เดิมที่เกี่ยวข้อง 4. แนะนําวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ 5. แนะแนวทางในการเรียนรู้ 6. จดให้ผู้เรียนได้กระทํากิจกรรม 7. ให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับการปฏิบัติ 8. ประเมินผลการเรียนรู้ 9. ส่งเสริมความเข้าใจและถ่ายโอนการเรียนรู้ การนําทฤษฎีของกาเย่มาใช้กับการจัดการเรียนรู้ หลักการเรียนรู้ของกาเย่ สามารถนํามาใช้กับการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี หลักการที่นํามาใช้สรุปได้ดังนี้ 1. การตั้งจุดประสงค์ของการสอน ซึ่งกาเย่ได้แบ่งสมรรถภาพของคนไว้เป็น 4 อย่าง ได้แก่ ด้านความรู้ ความจําเนื้อหาสาระ, ด้านทักษะ การคิด, ด้านพลังปัญญาที่กําหนดแนวความคิด และด้านทักษะ การปฏิบัติ และตั้งจุดประสงค์เป็นกลุ่มๆ ตามนี้ ก็จะทําให้ทราบว่าขณะสอนเน้นด้านใดและขาด สมรรถภาพด้านใด นอกจากนี้กาเย่ยังเน้นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมปลายทาง ซึ่งเป็นจุดประสงค์หลักของ การสอนเรื่องนั้น จะช่วยให้ครูตั้งจุดประสงค์หลักมากกว่าจุดประสงค์ปลีกย่อย 2. หลักการถ่ายโอนการเรียนรู้ สามารถนํามาจัดการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี เพราะการจะ สอนเรื่องใหม่ได้นั้นจําเป็นจะต้องอาศัยความรู้ ความสามารถพื้นฐานที่สัมพันธ์กัน การวิเคราะห์หาสิ่งที่จะ เรียนก่อนหลัง หรือบันไดการเรียนรู้จะช่วยให้ครูรู้ว่าจะต้องสอนอะไรก่อนหลัง เมื่อทําเช่นนี้ การถ่ายโอนการเรียนรู้เชิงบวกจะเกิดขึ้น นักเรียนจะสามารถเรียนเรื่องใหม่ได้เร็วขึ้น
  • 7. จะเห็นว่าลําดับขั้นของการสอนของกาเย่เป็นเครื่องเตือนใจครูว่าการดําเนินการสอนควรจะคํานึงถึง อะไรบ้าง ในการปลูกฝังผู้เรียนให้เป็นไปตามเป้าหมายขึ้นอยู่กับกระบวนการเรียนการสอนที่ครูจัดให้ถูกต้อง 1. ครูใช้เด็กเป็นศูนย์กลาง มีครูเป็นผู้กํากับโดยคิดวางแผนการจัดการเรียนการสอน ครูต้อง ศึกษาหลักสูตรให้เข้าใจและประยุกต์เนื้อหา กระบวนการและวิธีการสอนต่างๆ ให้เข้ากับสภาพแวดล้อม และให้เหมาะสมสอดคล้องกับท้องถิ่น กําหนดบทบาทหรือกิจกรรมที่จะให้นักเรียนปฏิบัติอย่างหลากหลาย และเหมาะสม 2. จัดการเรียนการสอนให้เน้นทักษะกระบวนการอย่างแท้จริง โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ถึงการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และสามารถนําประสบการณ์เหล่านั้นไปใช้ให้เป็นประโยชน์ ต่อการดําเนินชีวิต 3. สอนคนไม่ใช่สอนหนังสือ การเตรียมคนเพื่อให้สามารถตัดสินใจแก้ปัญหา จะต้องปลูกฝัง คุณธรรม ค่านิยม เจตคติต่างๆ 4. ให้นักเรียนได้รับการฝึกฝนทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างมีระบบ ตลอดจน ความรู้ต่างๆ ที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของนักเรียน โดยผ่านขั้นตอนต่างๆ ในการเรียนรู้ด้วย ตนเอง เริ่มตั้งแต่การวางแผน การเลือก การตัดสินใจ การลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ทําเอง รู้เอง โดยมีครูคอย ให้คําปรึกษา เพื่อนําไปสู่การเรียนรู้แต่ละขั้นตอนดังกล่าว 5. ให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติควบคู่ไปกับการเรียนเนื้อหานั้นๆ เท่าที่สามารถทําได้ 6. ฝึกฝนให้นักเรียนมีสุขนิสัยที่ดีในการรักษาสุขภาพอนามัย รวมกับการเรียนข่าว เหตุการณ์ ต่างๆ 7. ฝึกฝนให้นักเรียนมีความสนใจ รู้จักวิเคราะห์ข่าว เหตุการณ์ประจําวัน เพื่อให้นักเรียน มีความรู้กว้างขวาง ทันสมัย เห็นสิ่งที่ผิดและถูก สิ่งที่ควรเชื่อและไม่ควรเชื่อ เพื่อจะได้นําสิ่งที่ดี ไปปฏิบัติ ตาม โดยจัดให้มีการเล่าข่าว เหตุการณ์ประจําวัน รวมทั้งการอภิปรายร่วมกันระหว่างครูและนักเรียน 8. ครูสามารถยืดหยุ่นเวลาเรียนได้ตามความสนใจของผู้เรียนและความเหมาะสมกับลักษณะ เนื้อหาวิชาแต่ละเรื่อง แต่ละตอน กระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน กิจกรรมการเรียนการสอนควรมีกระบวนการที่สอดคล้องกัน 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ขั้นนําเข้าสู่บทเรียน/เรื่อง เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่เร้าใจให้ผู้เรียนมีความสนใจใน บทเรียนและอยากเรียนต่อไป 2. ขั้นปฏิบัติประกอบกิจกรรม เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ 3. ขั้นสรุป/ขั้นส่งท้าย เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้สรุปการเรียนรู้ทั้งหมด เพื่อให้เกิดมโนคติ อาจกล่าวได้ว่าการจัดการเรียนการสอน ผู้เรียนต้องจัดแบ่งกิจกรรมออกเป็น 3 ส่วน คือ
  • 8. 1. กิจกรรมการเรียนการสอนขั้นนํา เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่จะเร้าใจให้ผู้เรียน มีความ สนใจในบทเรียนและอยากจะเรียนต่อไป 2. กิจกรรมการเรียนการสอนขั้นปฏิบัติ เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการ เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ 3. กิจกรรมการเรียนการสอนขั้นสรุป เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้สรุปการ เรียนรู้ทั้งหมดเพื่อให้เกิดมโนคติ ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนให้ได้ผลดีและบรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จะต้องเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยมุ่งให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง รู้จักคิด รู้จักทํา และรู้จักแก้ปัญหาโดยการปฏิบัติจริง
  • 9. บทที่ 3 วิธีดําเนินการศึกษาค้นคว้า ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ผู้ทําการวิจัยได้ดําเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า 3. การสร้างและการหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ 4. การรวบรวมข้อมูล 5. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดพวงนิมิต อําเภอเขาฉกรรจ์จังหวัดสระแก้ว ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จํานวน 42 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดพวงนิมิต อําเภอเขาฉกรรจ์จังหวัดสระแก้ว ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จํานวน 20 คน ซึ่งนํามาจัดกิจกรรมให้ นักเรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ประกอบด้วย 1. ชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การสร้างและการหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ 1. การสร้างชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผู้ทําการวิจัยได้ดําเนินการ ตามลําดับดังนี้ 1.1 ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับรูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง หลักการ จุดมุ่งหมาย กระบวนการดําเนินการกิจกรรม การประเมินผล และประโยชน์ที่ได้รับ 1.2 ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับแบบฝึกทักษะ และการสร้างแบบฝึกทักษะอย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามจุดมุ่งหมาย 1.3 ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง 1.4 ศึกษาหลักสูตร วิเคราะห์หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว เพื่อนํามาจัดกิจกรรมให้ครอบคลุมจุดมุ่งหมาย 1.5 ดําเนินการสร้างชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้ชุดกิจกรรมที่สร้างขึ้น คือ ชุดส่งเสริมส่งเสริมการเรียนด้วยตนเอง เรื่อง การวางแผนครอบครัว ใช้เวลา 3 ชั่วโมง
  • 10. การรวบรวมข้อมูล ผู้ทําการวิจัยได้ดําเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. สนทนากับนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 2 เป็นกลุ่มตัวอย่างเพื่อชี้แจงที่มาและจุดประสงค์ของการวิจัย ในครั้งนี้ รวมทั้งประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับนักเรียน 2. ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมโดยใช้เวลา 3 ชั่วโมง 3. ในการปฏิบัติกิจกรรมได้ดําเนินการตามระยะเวลาที่กําหนด ตามขั้นตอนดังนี้ 3.1 ขั้นนําเข้าสู่บทเรียน เป็นการเตรียมความพร้อม 3.2 ขั้นปฏิบัติกิจกรรม เป็นขั้นที่นักเรียนจะได้รับสื่อและอุปกรณ์ต่างๆ และแบบบันทึกผล การปฏิบัติกิจกรรม 3.3 ขั้นอภิปราย เป็นขั้นสําคัญที่ตัวแทนกลุ่มจะออกมารายงานเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง ความถูกต้อง ครูจะเป็นผู้เฉลยคําตอบที่ถูกต้อง 3.4 ขั้นสรุป เป็นขั้นรวบรวมความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่ได้รับการส่งเสริมโดยการสร้าง คําถามจากกิจกรรมที่ผ่านมา 3.5 ทดสอบ หลังการปฏิบัติกิจกรรมทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้วทําการทดสอบนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบทดสอบภาคความรู้และภาคปฏิบัติ 3.6 ตรวจผลการทําแบบทดสอบภาคความรู้และภาคปฏิบัติของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างแล้วนํา ข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้วิธีการทางสถิติ การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล หาประสิทธิภาพของชุดส่งเสริมทักษะการแสวงหาความรู้การเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1. คะแนนเฉลี่ย X = X เมื่อ X แทน ค่าเฉลี่ย เมื่อ Σ แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด เมื่อ n แทน จํานวนนักเรียนในกลุ่ม 2. หาประสิทธิภาพของชุดส่งเสริมทักษะการแสวงหาความรู้ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 สูตร 80 ตัวแรก E = Σx  100 N A เมื่อ E แทน ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง จากคะแนนเฉลี่ยการตอบแบบทดสอบหลังปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน ทั้งกลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 80 n 1 1
  • 11. เมื่อ Σx แทน คะแนนรวมของนักเรียนจากการตอบแบบทดสอบ เมื่อ N แทน จํานวนนักเรียนของกลุ่มตัวอย่าง เมื่อ A แทน คะแนนเต็มของแบบทดสอบ สูตร 80 ตัวหลัง E = Σf  100 N เมื่อ E แทน ประสิทธิภาพของชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองจากจํานวน นักเรียนที่บรรลุจุดประสงค์ของทักษะการแสวงหาความรู้คิดเป็น ร้อยละ 80 เมื่อ Σf แทน จํานวนนักเรียนในกลุ่มตัวอย่างที่บรรลุจุดประสงค์ เมื่อ N แทน จํานวนนักเรียนของกลุ่มตัวอย่าง 2 2
  • 12. บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ทําการวิจัยได้นําชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้ทําการวิจัยได้ สร้างขึ้นจํานวน 1 ชุด ไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดพวง นิมิต อําเภอเขาฉกรรจ์จังหวัดสระแก้ว จํานวน 20 คน หลังจากนั้นผู้ทําการวิจัยได้นําข้อมูลที่ได้จากการ ทดลองมาวิเคราะห์เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 โดยมีวิธีดําเนินการดังนี้ 1. รวมคะแนนจากการทําแบบทดสอบภาคความรู้ของนักเรียน และนํามาหาค่าเฉลี่ยร้อยละ เพื่อ นําไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน 80 ตัวแรก 2. รวมจํานวนนักเรียนที่บรรลุจุดประสงค์แต่ละข้อ แล้วคิดเป็นร้อยละของจํานวนนักเรียนที่บรรลุ จุดประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อนําไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน 80 ตัวหลัง ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาประสิทธิภาพของชุดส่งเสริมความรู้ด้วยตนเอง ปรากฏผล ดังแสดงในตารางต่อไปนี้ ตอนที่ 1 เปรียบเทียบเกณฑ์มาตรฐาน 80 ตัวแรก ตารางที่ 1 แสดงคะแนนเฉลี่ยจากการทําแบบทดสอบวัดทักษะการแสวงหาความรู้ ของนักเรียน หลังการ ปฏิบัติกิจกรรม จํานวนนักเรียน(คน) คะแนนรวม จากคะแนนเต็ม 200 คะแนนเต็ม 100 คิดเป็นร้อยละ 20 167 83.50 83.50 จากตารางที่ 1 พบว่า นักเรียนจํานวน 20 คน ทําแบบทดสอบวัดทักษะการแสวงหาความรู้ หลังจาก การปฏิบัติกิจกรรมได้คะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 83.50 แสดงว่า ชุดส่งเสริมทักษะการแสวงหาความรู้ ที่ผู้ทําการวิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80 ตัวแรกที่ตั้งไว้ คะแนนเฉลี่ย
  • 13. ตอนที่ 2 เปรียบเทียบเกณฑ์มาตรฐาน 80 ตัวหลัง ตารางที่ 2 แสดงจํานวนนักเรียนที่บรรลุจุดประสงค์กิจกรรมทักษะการแสวงหาความรู้ จุดประสงค์ จํานวนนักเรียนที่บรรลุจุดประสงค์ คิดเป็นร้อยละ ข้อที่ 1 รู้ความหมายของการ วางแผนครอบครัวได้อย่าง ถูกต้อง 20 100 ข้อที่ 2 แยกแยะวิธีการ คุมกําเนิดแบบต่างๆได้อย่าง ถูกต้องและเหมาะสม 20 100 ข้อที่ 3 สามารถวางแผน ครอบครัวและแนะนําผู้อื่นได้ อย่างเหมาะสม 20 100 เฉลี่ยรวม 20 100 จากตารางที่ 2 พบว่า ในกิจกรรมทักษะการแสวงหาความรู้ ด้วยจุดประสงค์จํานวน 3 ข้อ มีจํานวน นักเรียนที่ผ่านจุดประสงค์แต่ละข้อเฉลี่ยรวม 20 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80 ตัวหลัง แสดงว่าชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ ตารางที่ 3 แสดงคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนจากการทําแบบทดสอบวัดทักษะการแสวงหาความรู้ จําแนกเป็น รายบุคคล นักเรียน คนที่ กิจกรรม ที่ 1 (10 คะแนน) กิจกรรม ที่ 2 (10 คะแนน) กิจกรรม ที่ 3 (10 คะแนน) แบบทดสอบ (10 คะแนน) รวม คะแนน (40 คะแนน) คะแนน เฉลี่ย (ร้อยละ) 1 2 3 8 8 8 8 8 9 9 9 10 8 8 8 33 33 35 82.50 82.50 87.50
  • 14. นักเรียน คนที่ กิจกรรม ที่ 1 (10 คะแนน) กิจกรรม ที่ 2 (10 คะแนน) กิจกรรม ที่ 3 (10 คะแนน) แบบทดสอบ (10 คะแนน) รวม คะแนน (40 คะแนน) คะแนน เฉลี่ย (ร้อยละ) 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 9 8 9 8 9 8 8 8 8 8 9 8 5 8 9 9 9 10 10 10 8 10 10 10 10 9 9 10 10 5 9 8 10 10 10 10 10 9 10 10 10 10 10 10 10 10 8 9 9 10 10 8 8 8 10 9 9 9 8 9 8 9 8 5 8 9 9 9 37 36 37 35 38 37 37 36 36 35 38 36 23 34 35 38 38 92.50 90 92.50 87.50 95 92.50 92.50 90 90 87.50 95 90 57.50 85 87.50 95 95 รวม 164 183 193 167 707 88.37 จากตารางที่ 3 พบว่า ชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 88.37 ซึ่งแสดงว่าชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น
  • 15. บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การศึกษาครั้งนี้เป็นการสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งสรุปผลการศึกษาค้นคว้าได้ดังต่อไปนี้ ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า เพื่อสร้างชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ มาตรฐาน 80/80 วิธีดําเนินการศึกษาค้นคว้า 1. กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ โรงเรียนวัดพวงนิมิต อําเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จํานวน 20 คน โดยดําเนินการเลือกกลุ่มตัวอย่างจากการ ประเมินผลการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา เพื่อส่งเสริมความรู้เพิ่มเติม ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า มีดังนี้ ชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้ทําการวิจัยได้สร้างขึ้น โดย การศึกษารายละเอียดของเนื้อหาและจุดประสงค์จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะการแสวงหา ความรู้ด้วยตนเอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สาระที่ 2 เพื่อนํามาจัดกิจกรรมและกําหนดสถานการณ์เพิ่มเติมให้ สอดคล้องและครอบคลุมจุดประสงค์ของกิจกรรมชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง วิธีดําเนินการทดลอง ผู้ทําการวิจัยได้นําชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ทดลองใช้กับ นักเรียนกลุ่มตัวอย่างจํานวน 20 คน โรงเรียนวัดพวงนิมิต อําเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว โดยได้ ดําเนินการสอนด้วยตนเอง เมื่อการปฏิบัติกิจกรรมเสร็จสิ้นแล้วได้ให้นักเรียนทําแบบทดสอบวัดทักษะ การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผู้ทําการวิจัยได้ดําเนินการดังนี้ 1. หาประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80 ตัวแรก โดยการหาค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ย ที่ได้จากการทําแบบทดสอบวัดทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2. หาประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80 ตัวหลัง โดยการหาค่าร้อยละของจํานวนนักเรียน ที่บรรลุจุดประสงค์แต่ละข้อ แล้วนําค่าร้อยละของนักเรียนมาหาค่าเฉลี่ยรวม
  • 16. สรุปผลการศึกษาค้นคว้า ชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 83.50/100 สูงกว่าเกณฑ์ มาตรฐาน 80/80 ตามสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ อภิปรายผลการศึกษาค้นคว้า 1. ประสิทธิภาพของชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากผลการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ พบว่า ชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้ นําไปใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างนั้น นักเรียนกลุ่มตัวอย่างสามารถตอบแบบทดสอบหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติ กิจกรรมได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 83.50 และจํานวนนักเรียนที่บรรลุจุดประสงค์ของทักษะการแสวงหา ความรู้เฉลี่ยรวมร้อยละ 100 การที่ชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ มาตรฐานนั้น เนื่องจากการสร้างชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2มีระบบขั้นตอนจาก การศึกษารูปแบบของการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ขอบข่ายของ ทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เพื่อศึกษาเนื้อหาและจุดประสงค์ของทักษะการแสวงหาความรู้ด้วย ตนเอง แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สาระที่ 2 ชีวิตและ ครอบครัว เรื่อง การวางแผนครอบครัว เป็นแนวทางในการกําหนดสถานการณ์ของกิจกรรมโดยคํานึงถึง ความสอดคล้องกับระดับของผู้เรียน ชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นการจัดกิจกรรมที่ยึดผู้เรียนเป็นสําคัญ โดยมีครูเป็นผู้ ประสานงาน ให้คําแนะนํา ชี้แจง ส่งเสริมให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมไปตามจุดประสงค์โดยมีขั้นตอนที่ สําคัญ คือ ขั้นนํา ซึ่งเป็นขั้นเร้าความสนใจให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน ขั้นปฏิบัติกิจกรรม เป็นกิจกรรมที่จัดให้ ผู้เรียนเพื่อบรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้และขั้นสรุปการเรียนรู้ทั้งหมดเพื่อให้ผู้เรียนเกิดมโนคติ 2. กิจกรรมส่งเสริมทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.90/100 เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับการใช้ ชีวิตเพื่อเตรียมทักษะขั้นพื้นฐานในการดํารงชีวิตอยู่อย่างมีความสุขและถูกต้อง โดยมีขอบเขตการแสวงหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาความรู้ที่ถูกต้องและเป็นพื้นฐานดําเนินชีวิตต่อไป จะเห็นได้ว่าชุดส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยตนเอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สร้างขึ้นนี้เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการแสวงหาความรู้ด้วย ตนเอง จากการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ยึดตัวผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีครูเป็นผู้ชี้แนะประสานงาน ดําเนิน กิจกรรมไปตามกระบวนการ และให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการสร้าง ชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้ทําการวิจัยได้สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 82.90/100 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ตามที่ กําหนดไว้
  • 17. บรรณานุกรม ธงชัย ทวิชาชาติ. (2555). หนังสือเรียนสมบูรณ์แบบ วิชาสุขศึกษา: สํานักพิมพ์วัฒนาพานิช. กรุงเทพฯ. ธงชัย ทวิชาชาติ. (2555). แบบฝึกทักษะและประเมินผล วิชาสุขศึกษา: สํานักพิมพ์วัฒนาพานิช. กรุงเทพฯ. ธงชัย ทวิชาชาติ. (2555). แบบฝึกพัฒนาความคิด วิชาสุขศึกษา: สํานักพิมพ์วัฒนาพานิช. กรุงเทพฯ. ไพโรจน์ สุวรรณภักดี. (2540). แบบฝึกทักษะกระบวนการ วิชาสุขศึกษา: สํานักพิมพ์วัฒนาพานิช. กรุงเทพฯ.