SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 3
Descargar para leer sin conexión
82
Rice Market Economics
เศรษฐศาสตร์ตลาดข้าว
โดย รศ.สมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองของชาติ
	 และผู้ประสานงานโครงการ “งานวิจัยเชิงนโยบายเกษตร”
	 ภายใต้การสนับสนุนของสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ข้าวหอมมะลิไทย
กับความจ�ำเพาะ
ที่ก�ำลังจะจางหายไป
	 ข้าวเป็นพืชอาหารจานหลักของประชากรในเอเชีย ท�ำให้เอเชีย
เป็นแหล่งผลิตและบริโภคข้าวที่ส�ำคัญของโลก ข้าวที่เพาะปลูกใน
ภูมิภาคนี้มีความหลากหลายในพันธุกรรม ทั้งในด้านองค์ประกอบทาง
กายภาพ เคมี ธาตุอาหาร และสีสันของเมล็ดข้าว รวมถึงคุณสมบัติของ
ความหอม ความนุ่มอร่อยเมื่อหุงสุก เป็นต้น ท�ำให้เกิดเป็นลักษณะ
ของคุณสมบัติที่ดีมีคุณภาพน�ำไปสู่คุณค่า และความจ�ำเพาะของข้าวที่
เพาะปลูกได้ ข้าวหอมมะลิหรือข้าวขาวดอกมะลิ105 ของไทยก็เป็นหนึ่ง
ในข้าวที่มีคุณค่าและลักษณะจ�ำเพาะในตัวของสินค้า โดยเฉพาะในเรื่อง
ของความหอมและความนุ่ม
	 เดิมทีข้าวที่เพาะปลูกในภูมิภาคเอเชียเป็นข้าวพันธุ์ไวแสงหรือ
ที่เรียกกันว่าพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งมีความหลากหลายของสายพันธุ์
จ�ำนวนมาก แต่หลังจากได้มีการค้นพบข้าวพันธุ์ไม่ไวแสงโดยสถาบัน
วิจัยข้าวนานาชาติที่ตั้งอยู่ที่ประเทศฟิลิปปินส์ในช่วงปลายทศวรรษ1950
ที่เรียกกันในยุคนั้นว่า ข้าวพันธุ์มหัศจรรย์(MiracleRice) หรือข้าวพันธุ์
IR8 ซึ่งเป็นข้าวที่ให้ผลผลิตสูงและตอบสนองต่อปุ๋ยเคมีได้ดีเมื่อปลูกใน
พื้นที่ชลประทาน ซึ่งได้น�ำไปสู่ยุคของการปฏิวัติเขียวและก่อให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงในพันธุ์ข้าวในระดับไร่นาและระบบการผลิต โดยเฉพาะ
การท�ำนาแบบเข้มข้นมากกว่า1 ครั้งในรอบปี มีการแพร่กระจายของข้าว
พันธุ์ใหม่ไปในวงกว้าง แต่ข้าวพันธุ์ไม่ไวแสงที่เพาะปลูกกันในขณะนั้น
เป็นพันธุ์ข้าวที่ให้น�้ำหนักกับการเพิ่มผลผลิตและปริมาณอุปทานผลผลิต
เป็นส�ำคัญ เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่อุปทานข้าวโลกขาดแคลน จึงไม่ได้
ให้ความส�ำคัญกับมิติในเชิงของรสชาติและคุณภาพ เพราะข้าวพันธุ์ใหม่
จะมีความแข็งกระด้างเมื่อหุงสุก ไม่นุ่มนวลเหมือนข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่
นิยมปลูกกันอยู่แบบดั้งเดิม ตลาดข้าวในขณะนั้นจึงได้แยกข้าวที่มีมิติ
ด้านคุณภาพ โดยเฉพาะคุณสมบัติของความหอมและความนุ่มออกจาก
ตลาดข้าวสารเจ้าพันธุ์ไม่ไวแสง เกิดเป็นตลาดข้าวหอมที่ให้ความส�ำคัญ
กับลักษณะจ�ำเพาะพร้อมๆ กับการให้ค่าพรีเมี่ยมในตัวของสินค้า ดังเช่น
ข้าวหอมมะลิและข้าวบาสมาติ
83
	 ข้าวหอมมะลิไทยกับข้าวบาสมาติอินเดียหากเทียบ
กันแล้ว ข้าวทั้งสองชนิดนี้แม้จะอยู่ในกลุ่มของสินค้า
ข้าวหอม แต่จัดว่าไม่ได้เป็นสินค้าทดแทนกันและมี
ความต่างกัน ทั้งนี้เพราะข้าวหอมมะลิมีค่าอะไมโลส
ต�่ำกว่าข้าวหอมบาสมาติ ท�ำให้ข้าวหอมมะลิมีรสชาติ
นุ่มนวล จึงได้รับความนิยมจากกลุ่มผู้บริโภคในเอเชีย
ตะวันออกและในสหรัฐอเมริกา ส่วนข้าวบาสมาติเป็นข้าว
ที่มีค่าอะไมโลสระดับปานกลางและสูงกว่าค่าอะไมโลส
ของข้าวหอมมะลิไทย ท�ำให้ข้าวบาสมาติเมื่อหุงแล้ว
ร่วนไม่นุ่มเหมือนข้าวหอมมะลิที่ได้รับความนิยมใน
เอเชียใต้และในตะวันออกกลาง ข้าวหอมทั้งสองชนิด
จึงต่างกันทั้งในลักษณะของตัวสินค้าข้าวและลักษณะ
ของการน�ำไปปรุงเป็นอาหาร
	 ความต้องการของผู้บริโภคข้าวหอมมะลิมีการ
ขยายตัวทั้งในประเทศและต่างประเทศในช่วงกว่าสอง
ทศวรรษที่ผ่านมา ได้เป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการ
ขยายตัวของพื้นที่การเพาะปลูกข้าวหอมมะลิในไทย
กล่าวคือ พื้นที่เพาะปลูกข้าวหอมมะลิและผลผลิตได้
ขยายตัวจากประมาณ11 ล้านไร่ ผลผลิต2.82 ล้านตัน
(ประมาณ1.41 ล้านตันข้าวสาร) ในปี2532 ขยับเพิ่มขึ้น
เป็น 17 ล้านไร่ ผลผลิต 5.5 ล้านตัน (ประมาณ
2.75 ล้านตันข้าวสาร) ในปี 2545 และได้ขยายตัว
เพิ่มขึ้นเป็น 22 ล้านไร่ ผลผลิต 9 ล้านตัน (ประมาณ
4.5 ล้านตันข้าวสาร) ในปี 2556 โดยมีพื้นที่ขยายตัว
เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในสามทศวรรษที่ผ่านมา อีกทั้ง
มีผลผลิตเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัว ซึ่งผลผลิตดังกล่าว
ส่วนหนึ่งได้ใช้ในประเทศและอีกส่วนหนึ่งเป็นสินค้า
ส่งออก
	 ตลาดส่งออกข้าวหอมมะลิไทยเดิมทีจะอยู่ในสิงคโปร์และฮ่องกง ก่อนจะขยาย
ตัวไปในตลาดสหรัฐอเมริกา ตะวันออกกลาง และแอฟริกาใต้ ปริมาณการส่งออกได้
ขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงปี 2531 ถึงช่วงปี 2550 กล่าวคือมีปริมาณข้าวหอมมะลิ
ส่งออก0.15 ล้านตันข้าวสารในปี2531 ปรับเพิ่มมาเป็น1.1 ล้านตันในปี2541 และ
ในอีก10 ปีถัดมาได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น2.9 ล้านตันในปี2550 อย่างไรก็ตาม หลังจาก
ปี2550 เป็นต้นมา การส่งออกข้าวหอมมะลิของไทยได้เริ่มถดถอยลงมาเรื่อยๆ จนเหลือ
เพียง 1.5 ล้านตันในปี 2556
	 ปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้การส่งออกข้าวหอมมะลิไทยถดถอยลงนั้น ด้านหนึ่งเป็นผล
มาจากปัจจัยด้านราคาเพราะการเกิดวิกฤตข้าวแพงในปี2551 ท�ำให้ราคาข้าวหอมมะลิไทย
ได้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเกือบเท่าตัว (ตารางที่ 1) หลังจากนั้นราคาก็คงอยู่ในระดับสูง
และเพิ่มขึ้นจากเดิม ราคาข้าวหอมมะลิที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นได้เป็นปัจจัยส�ำคัญที่กระตุ้น
ให้เกิดการขยายการผลิตข้าวหอมมะลิไปในประเทศคู่แข่งขันทางการค้าโดยเฉพาะ
เวียดนาม
ตารางที่ 1 แสดงราคาส่งออกข้าวหอมมะลิไทยเฉลี่ยและการเปลี่ยนแปลงราคา
ช่วงปี เปลี่ยนแปลง (%)ราคาข้าวหอมมะลิไทย
(ดอลล่าร์สหรัฐต่อตัน)
2548-2550
2551-2553
2554-2556
492
971
1108
-
+97.35
+14.11
ที่มา: ค�ำนวณจากข้อมูลขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)
	 เวียดนามน�ำพันธุ์ข้าวหอมมะลิไทยไปปลูกในหลายพื้นที่โดยใช้ชื่อ ThaiFragrant
Rice เนื่องจากเวียดนามสามารถท�ำการปลูกข้าวหอมได้ในระดับต้นทุนที่ต�่ำกว่าไทย
ขณะเดียวกัน แม้คุณภาพของข้าวหอมมะลิที่ปลูกในเวียดนามจะมีคุณภาพและความหอม
สู้ข้าวหอมมะลิจากไทยไม่ได้ทั้งหมด แต่ระดับราคาส่งออกที่ต�่ำกว่าไทยเกือบหนึ่งเท่าตัว
ท�ำให้ปริมาณการส่งออกข้าวหอมมะลิของเวียดนามได้ขยายตัวออกไป ดังจะเห็นได้ว่า
ในปี 2554 เวียดนามส่งออกข้าวหอมรวมทั้งหอมมะลิได้เพียง 0.47 ล้านตัน และได้
เพิ่มขึ้นเป็น0.90 ล้านตันในปี2556 ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่า1 เท่าตัวในช่วง3 ปี ทั้งนี้เวียดนาม
สามารถส่งออกข้าวหอมมะลิได้ในราคาเพียงตันละ 671 ดอลลาร์สหรัฐ1
ในขณะที่
ราคาส่งออกข้าวหอมมะลิจากไทยในช่วงเดียวกันอยู่ที่ราคาตันละ 1,180 ดอลลาร์
สหรัฐ ข้าวหอมมะลิจากเวียดนามจึงเข้าไปแทนที่ตลาดข้าวหอมมะลิจากไทยในหลาย
ตลาดการค้าและท�ำให้การส่งออกข้าวหอมมะลิจากไทยลดลง
	 ขณะเดียวกัน กัมพูชาที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิดมีพรหมแดนติดกับไทย
มีพันธุ์ของข้าวหอมใกล้เคียงกับพันธุ์ข้าวหอมมะลิของไทยอย่างมาก เช่น พันธุ์ข้าวหอม
ผกามะลิ (Phaka Malis) พันธุ์ข้าวหอมผกาล�ำดวน (Phaka Romdul) เป็นต้น
ข้าวหอมผกามะลิของกัมพูชาเพิ่งได้รับรางวัลที่หนึ่งในการประกวดข้าวโลกครั้งที่ 4
และครั้งที่5 ถึงสองปีซ้อนในการประกวดที่ประเทศะอินโดนีเซียและฮ่องกงในปี2555
และปี2556 ตามล�ำดับ ท�ำให้ข้าวหอมมะลิกัมพูชามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของนานาชาติ
มากขึ้น อีกทั้งการผลิตข้าวในกัมพูชาได้มีการขยายตัวของปริมาณการส่งออกอย่าง
รวดเร็วจากที่มีปริมาณการส่งออกข้าวในปี 2554 เพียง 0.20 ล้านตัน ได้ขยายตัว
84
เพิ่มขึ้นเป็น 0.38 ล้านตันในปี 2556 การที่ประเทศกัมพูชาได้ให้ความส�ำคัญกับการ
ผลิตข้าวหอมคุณภาพเพื่อการส่งออก ท�ำให้กัมพูชามีปริมาณการส่งออกข้าวหอมถึง
ร้อยละ41 ของปริมาณการส่งออกในปี2556 อีกทั้งระดับราคาส่งออกของข้าวหอมมะลิ
กัมพูชาจะมีราคาประมาณ 890 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ซึ่งก็ต�่ำกว่าระดับราคาของ
ข้าวหอมมะลิไทยเช่นกัน
	 ข้าวหอมที่ผลิตได้ทั้งจากเวียดนามและกัมพูชาจึงได้กลายเป็นสินค้าทดแทน
ข้าวหอมมะลิจากไทยในตลาดข้าวหอมส่งออกระหว่างประเทศ โดยเฉพาะข้าวหอมจาก
เวียดนามได้ก้าวขึ้นเป็นสินค้าทดแทนข้าวหอมมะลิจากไทยในตลาดเอเชียตะวันออก
และในตลาดสหรัฐอเมริกา ส่วนข้าวหอมมะลิจากกัมพูชาก็ได้เข้ามาเป็นสินค้าทดแทน
ข้าวหอมไทยในตลาดสหภาพยุโรป2
และบางส่วนของเอเชียตะวันออก
	 นอกจากข้าวหอมทั้งจากเวียดนามและจากกัมพูชาได้เข้ามาเป็นคู่แข่งขันแล้ว
ข้าวหอมจากพม่าที่มีชื่อว่า Paw San ซึ่งได้รับรางวัลที่หนึ่งในการประกวดข้าวโลก
ครั้งที่ 3 ที่จัดขึ้นที่ประเทศเวียดนามในปี 2554 ก็นับได้ว่าเป็นข้าวหอมที่มีความหอม
และความนุ่มไม่แพ้ข้าวหอมมะลิไทยท�ำให้ก�ำลังเป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้น การผลิตข้าว
ของพม่าที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาเพราะความขัดแย้งด้านการเมือง
ภายในประเทศของพม่าเองได้สงบลง จึงส่งผลให้ปริมาณการส่งออกข้าวของพม่า
เพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยพม่าได้ส่งออกข้าวเพิ่มจาก 0.37 ล้านตันในปี 2552 เพิ่มขึ้น
มาเป็น 1.31 ล้านตันในปี 2555 ในจ�ำนวนนี้ข้าว Paw San น่าจะเป็นหนึ่งในข้าวหอม
คุณภาพที่พม่าส่งออกเพิ่มขึ้นตามมาด้วยเช่นกัน
	 อีกทั้ง ประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวหอมขึ้นหลายพันธุ์ และได้
เผยแพร่ให้มีการผลิตเป็นการค้าในหลายพื้นที่ปลูกข้าวของสหรัฐอเมริกา เช่น ข้าวพันธุ์
Jassman, Calrose, Jasmin 85 เป็นต้น ข้าวหอมเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของข้าวหอม
ที่จะเข้ามาเป็นสินค้าทดแทนกับข้าวหอมมะลิไทยไม่มากก็น้อย ในตลาดการค้าข้าวหอม
ในประเทศของสหรัฐอเมริกาที่เดิมมีการน�ำเข้าข้าวหอมมะลิจากไทยก็ก�ำลังมีสินค้า
ข้าวหอมมะลิทดแทนจากการผลิตข้าวหอมในสหรัฐอเมริกาเอง
	 ส่วนปัจจัยภายในประเทศของไทยเองที่เป็นแรงกดดันท�ำให้คุณภาพของข้าวหอมมะลิ
ได้ถดถอยต�่ำลงนั้นคงจะหนีไม่พ้นระบบการเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวข้าวหอมมะลิ
โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวหอมมะลิที่ส�ำคัญ
ของประเทศ การปลูกข้าวหอมมะลิในพื้นที่ดังกล่าว
ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก จากที่เคยท�ำนาด�ำ
ก็เปลี่ยนมาเป็นท�ำนาหว่านกันมากขึ้น เพราะหาแรงงาน
ได้ยาก อีกทั้งมีความพยายามที่จะเพิ่มผลผลิตโดยใช้
ปุ๋ยเคมีจากที่เคยใช้ปุ๋ยคอก และอาศัยธาตุอาหารที่มากับ
กระแสน�้ำในช่วงน�้ำหลาก รวมถึงการเก็บเกี่ยวที่ใช้รถ
เก็บเกี่ยวแทนแรงงานคนเพราะค่าจ้างแรงงานแพง การใช้
เครื่องอบลดความชื้นข้าว เนื่องจากเก็บเกี่ยวด้วยรถ
เก็บเกี่ยวท�ำให้ข้าวมีความชื้นสูง ปัจจัยดังกล่าวได้มีผล
ต่อคุณภาพและการสูญเสียลักษณะความจ�ำเพาะของ
ข้าวหอมมะลิไทยโดยเฉพาะการลดลงของกลิ่นหอม
ที่นับวันจะเลือนหายไปอีกทั้งการใช้เทคโนโลยีในการ
ปรับปรุงพันธุ์ท�ำให้เกิดข้าวพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะใกล้เคียง
กับข้าวหอมมะลิอย่างเช่น ข้าวปทุมธานี1 ที่มีลักษณะ
ของเมล็ดและค่าอะไมโรสใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิ
ข้าวพันธุ์ดังกล่าวเป็นข้าวพันธุ์ไม่ไวแสงที่สามารถปลูกได้
ในพื้นที่ชลประทานและปลูกได้มากกว่าหนึ่งครั้งในรอบปี
ท�ำให้เกิดเป็นสินค้าทดแทนข้าวหอมมะลิได้ในบางตลาด
การค้า เป็นต้น
	 สถานภาพดังกล่าวก�ำลังเป็นปัจจัยเร่งที่รุมเร้าให้
กับข้าวหอมมะลิไทยในตลาดการค้าข้าวโลก เพราะมี
สินค้าข้าวหอมทดแทนได้มากขึ้นตามมา ประเด็น
ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายต่อผู้บริหารนโยบายข้าวไทย
เป็นอย่างมากว่าจะมีมาตรการอย่างไรที่จะปกป้องคุ้มครอง
คุณภาพ และคุณค่าของข้าวหอมมะลิให้เป็นสมบัติ
อันล�้ำค่าของข้าวไทยได้อย่างยั่งยืนตลอดไป
1.	ราคาในเดือนพฤษภาคม 2557 จาก www.Oryza.com
2.	กัมพูชาได้รับสิทธิพิเศษในการยกเว้นภาษีสินค้าข้าวที่ส่งเข้าไป
	 จ�ำหน่ายในสหภาพยุโรป เนื่องจากเป็นประเทศในกลุ่มพัฒนา
	 น้อยที่สุด

Más contenido relacionado

Destacado

Nikhil C.V
Nikhil C.VNikhil C.V
Nikhil C.Vmonoj123
 
Ela mod1 unit1lesson3
Ela mod1 unit1lesson3Ela mod1 unit1lesson3
Ela mod1 unit1lesson3ricardmedina
 
Munasabah al qur’an
Munasabah al qur’anMunasabah al qur’an
Munasabah al qur’anMul Yadi
 
Current status and research trend on glutinous rice in gms 12 2-15
Current status and research trend on glutinous rice in gms 12 2-15Current status and research trend on glutinous rice in gms 12 2-15
Current status and research trend on glutinous rice in gms 12 2-15somporn Isvilanonda
 
Retirement Reform Presentation 2015_11_13 SW
Retirement Reform Presentation 2015_11_13 SWRetirement Reform Presentation 2015_11_13 SW
Retirement Reform Presentation 2015_11_13 SWStacey Whitwam
 
เขียนข้อเสนอโครงการวิจัยอย่างไรให้มีเสน่ห์: กรณีโครงการวิจัยด้านภูมิปัญญาของช...
เขียนข้อเสนอโครงการวิจัยอย่างไรให้มีเสน่ห์: กรณีโครงการวิจัยด้านภูมิปัญญาของช...เขียนข้อเสนอโครงการวิจัยอย่างไรให้มีเสน่ห์: กรณีโครงการวิจัยด้านภูมิปัญญาของช...
เขียนข้อเสนอโครงการวิจัยอย่างไรให้มีเสน่ห์: กรณีโครงการวิจัยด้านภูมิปัญญาของช...somporn Isvilanonda
 
НеОлимпийские Игры 2014
НеОлимпийские Игры 2014НеОлимпийские Игры 2014
НеОлимпийские Игры 2014chook3r
 
01Blaetter wortmann compare_datasheet_de_30898_20140712095731
01Blaetter wortmann compare_datasheet_de_30898_2014071209573101Blaetter wortmann compare_datasheet_de_30898_20140712095731
01Blaetter wortmann compare_datasheet_de_30898_20140712095731epspeter
 
Shared Love: Flash Fiction Challenge 2014
Shared Love: Flash Fiction Challenge 2014Shared Love: Flash Fiction Challenge 2014
Shared Love: Flash Fiction Challenge 2014Soteris Eliades
 
Bin masterr engineering
Bin masterr engineeringBin masterr engineering
Bin masterr engineeringphpamshuhu
 
Sacred purpose youth presentation
Sacred purpose youth presentationSacred purpose youth presentation
Sacred purpose youth presentationricardmedina
 
Kinderopvang Polsbroek Impressie
Kinderopvang Polsbroek ImpressieKinderopvang Polsbroek Impressie
Kinderopvang Polsbroek ImpressieSuzanne de Heer
 
Agri benchmark report 2014-1-rice-fao
Agri benchmark report 2014-1-rice-faoAgri benchmark report 2014-1-rice-fao
Agri benchmark report 2014-1-rice-faosomporn Isvilanonda
 

Destacado (16)

Nikhil C.V
Nikhil C.VNikhil C.V
Nikhil C.V
 
Ela mod1 unit1lesson3
Ela mod1 unit1lesson3Ela mod1 unit1lesson3
Ela mod1 unit1lesson3
 
Munasabah al qur’an
Munasabah al qur’anMunasabah al qur’an
Munasabah al qur’an
 
Ronatalaga
RonatalagaRonatalaga
Ronatalaga
 
Current status and research trend on glutinous rice in gms 12 2-15
Current status and research trend on glutinous rice in gms 12 2-15Current status and research trend on glutinous rice in gms 12 2-15
Current status and research trend on glutinous rice in gms 12 2-15
 
Retirement Reform Presentation 2015_11_13 SW
Retirement Reform Presentation 2015_11_13 SWRetirement Reform Presentation 2015_11_13 SW
Retirement Reform Presentation 2015_11_13 SW
 
เขียนข้อเสนอโครงการวิจัยอย่างไรให้มีเสน่ห์: กรณีโครงการวิจัยด้านภูมิปัญญาของช...
เขียนข้อเสนอโครงการวิจัยอย่างไรให้มีเสน่ห์: กรณีโครงการวิจัยด้านภูมิปัญญาของช...เขียนข้อเสนอโครงการวิจัยอย่างไรให้มีเสน่ห์: กรณีโครงการวิจัยด้านภูมิปัญญาของช...
เขียนข้อเสนอโครงการวิจัยอย่างไรให้มีเสน่ห์: กรณีโครงการวิจัยด้านภูมิปัญญาของช...
 
НеОлимпийские Игры 2014
НеОлимпийские Игры 2014НеОлимпийские Игры 2014
НеОлимпийские Игры 2014
 
01Blaetter wortmann compare_datasheet_de_30898_20140712095731
01Blaetter wortmann compare_datasheet_de_30898_2014071209573101Blaetter wortmann compare_datasheet_de_30898_20140712095731
01Blaetter wortmann compare_datasheet_de_30898_20140712095731
 
My Life My Plans
My Life My PlansMy Life My Plans
My Life My Plans
 
Shared Love: Flash Fiction Challenge 2014
Shared Love: Flash Fiction Challenge 2014Shared Love: Flash Fiction Challenge 2014
Shared Love: Flash Fiction Challenge 2014
 
Bin masterr engineering
Bin masterr engineeringBin masterr engineering
Bin masterr engineering
 
Sacred purpose youth presentation
Sacred purpose youth presentationSacred purpose youth presentation
Sacred purpose youth presentation
 
Megauniversidades
MegauniversidadesMegauniversidades
Megauniversidades
 
Kinderopvang Polsbroek Impressie
Kinderopvang Polsbroek ImpressieKinderopvang Polsbroek Impressie
Kinderopvang Polsbroek Impressie
 
Agri benchmark report 2014-1-rice-fao
Agri benchmark report 2014-1-rice-faoAgri benchmark report 2014-1-rice-fao
Agri benchmark report 2014-1-rice-fao
 

Más de somporn Isvilanonda

การปรับตัวของภาคเกษตรและอาหารไทยจากการระบาดโควิด 19
การปรับตัวของภาคเกษตรและอาหารไทยจากการระบาดโควิด 19การปรับตัวของภาคเกษตรและอาหารไทยจากการระบาดโควิด 19
การปรับตัวของภาคเกษตรและอาหารไทยจากการระบาดโควิด 19somporn Isvilanonda
 
Thailand economic depression and role of agriculture
Thailand economic depression and role of agricultureThailand economic depression and role of agriculture
Thailand economic depression and role of agriculturesomporn Isvilanonda
 
Factor influencing glutinous price rise
Factor influencing glutinous price riseFactor influencing glutinous price rise
Factor influencing glutinous price risesomporn Isvilanonda
 
Somporn reearch management 19 07-2019
Somporn reearch management  19 07-2019Somporn reearch management  19 07-2019
Somporn reearch management 19 07-2019somporn Isvilanonda
 
Durian production and consumption and thailand export 7.06.19
Durian production and consumption and thailand export  7.06.19Durian production and consumption and thailand export  7.06.19
Durian production and consumption and thailand export 7.06.19somporn Isvilanonda
 
Planting forest tree for financial asset
Planting forest tree for financial assetPlanting forest tree for financial asset
Planting forest tree for financial assetsomporn Isvilanonda
 
การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ
การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบการจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ
การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบsomporn Isvilanonda
 
Thailand rice production reform
Thailand rice production reform Thailand rice production reform
Thailand rice production reform somporn Isvilanonda
 
Driving thailand rice economy toward research
Driving thailand rice economy toward researchDriving thailand rice economy toward research
Driving thailand rice economy toward researchsomporn Isvilanonda
 
การพึ่งพิงตนเองเรื่องข้าวของประเทศในเอเชียใต้
การพึ่งพิงตนเองเรื่องข้าวของประเทศในเอเชียใต้การพึ่งพิงตนเองเรื่องข้าวของประเทศในเอเชียใต้
การพึ่งพิงตนเองเรื่องข้าวของประเทศในเอเชียใต้somporn Isvilanonda
 
13 02-18 การปรับตัวของชาวนาบนเส้นทางที่ยั่งยืน
13 02-18 การปรับตัวของชาวนาบนเส้นทางที่ยั่งยืน13 02-18 การปรับตัวของชาวนาบนเส้นทางที่ยั่งยืน
13 02-18 การปรับตัวของชาวนาบนเส้นทางที่ยั่งยืนsomporn Isvilanonda
 
เกษตรไทย 4.0 เปลี่ยนแนคิดเปลี่ยนวิถีเกษตรไทย
เกษตรไทย 4.0 เปลี่ยนแนคิดเปลี่ยนวิถีเกษตรไทยเกษตรไทย 4.0 เปลี่ยนแนคิดเปลี่ยนวิถีเกษตรไทย
เกษตรไทย 4.0 เปลี่ยนแนคิดเปลี่ยนวิถีเกษตรไทยsomporn Isvilanonda
 
The future of Thailand's rice economy
The future of Thailand's rice economyThe future of Thailand's rice economy
The future of Thailand's rice economysomporn Isvilanonda
 
ข้าวไทยกับอำนาจเหนือตลาด เมษายน 2555
ข้าวไทยกับอำนาจเหนือตลาด  เมษายน 2555ข้าวไทยกับอำนาจเหนือตลาด  เมษายน 2555
ข้าวไทยกับอำนาจเหนือตลาด เมษายน 2555somporn Isvilanonda
 
Rice policy in thailand production and economic issues (1), june 20, 2017
Rice policy in thailand production and economic issues (1), june 20, 2017Rice policy in thailand production and economic issues (1), june 20, 2017
Rice policy in thailand production and economic issues (1), june 20, 2017somporn Isvilanonda
 
ทิศทางการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร ฯ
ทิศทางการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร ฯทิศทางการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร ฯ
ทิศทางการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร ฯsomporn Isvilanonda
 
ความต้องการและสถานการณืพืชสวนไทย
ความต้องการและสถานการณืพืชสวนไทยความต้องการและสถานการณืพืชสวนไทย
ความต้องการและสถานการณืพืชสวนไทยsomporn Isvilanonda
 
อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ สถานภาพและความท้าทาย
อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ สถานภาพและความท้าทายอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ สถานภาพและความท้าทาย
อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ สถานภาพและความท้าทายsomporn Isvilanonda
 

Más de somporn Isvilanonda (20)

การปรับตัวของภาคเกษตรและอาหารไทยจากการระบาดโควิด 19
การปรับตัวของภาคเกษตรและอาหารไทยจากการระบาดโควิด 19การปรับตัวของภาคเกษตรและอาหารไทยจากการระบาดโควิด 19
การปรับตัวของภาคเกษตรและอาหารไทยจากการระบาดโควิด 19
 
World rice market and covid 19
World rice market and covid 19World rice market and covid 19
World rice market and covid 19
 
Thailand economic depression and role of agriculture
Thailand economic depression and role of agricultureThailand economic depression and role of agriculture
Thailand economic depression and role of agriculture
 
Factor influencing glutinous price rise
Factor influencing glutinous price riseFactor influencing glutinous price rise
Factor influencing glutinous price rise
 
Somporn reearch management 19 07-2019
Somporn reearch management  19 07-2019Somporn reearch management  19 07-2019
Somporn reearch management 19 07-2019
 
Durian production and consumption and thailand export 7.06.19
Durian production and consumption and thailand export  7.06.19Durian production and consumption and thailand export  7.06.19
Durian production and consumption and thailand export 7.06.19
 
Planting forest tree for financial asset
Planting forest tree for financial assetPlanting forest tree for financial asset
Planting forest tree for financial asset
 
การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ
การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบการจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ
การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ
 
Thailand rice production reform
Thailand rice production reform Thailand rice production reform
Thailand rice production reform
 
Driving thailand rice economy toward research
Driving thailand rice economy toward researchDriving thailand rice economy toward research
Driving thailand rice economy toward research
 
Agricultural product innovation
Agricultural product innovationAgricultural product innovation
Agricultural product innovation
 
การพึ่งพิงตนเองเรื่องข้าวของประเทศในเอเชียใต้
การพึ่งพิงตนเองเรื่องข้าวของประเทศในเอเชียใต้การพึ่งพิงตนเองเรื่องข้าวของประเทศในเอเชียใต้
การพึ่งพิงตนเองเรื่องข้าวของประเทศในเอเชียใต้
 
13 02-18 การปรับตัวของชาวนาบนเส้นทางที่ยั่งยืน
13 02-18 การปรับตัวของชาวนาบนเส้นทางที่ยั่งยืน13 02-18 การปรับตัวของชาวนาบนเส้นทางที่ยั่งยืน
13 02-18 การปรับตัวของชาวนาบนเส้นทางที่ยั่งยืน
 
เกษตรไทย 4.0 เปลี่ยนแนคิดเปลี่ยนวิถีเกษตรไทย
เกษตรไทย 4.0 เปลี่ยนแนคิดเปลี่ยนวิถีเกษตรไทยเกษตรไทย 4.0 เปลี่ยนแนคิดเปลี่ยนวิถีเกษตรไทย
เกษตรไทย 4.0 เปลี่ยนแนคิดเปลี่ยนวิถีเกษตรไทย
 
The future of Thailand's rice economy
The future of Thailand's rice economyThe future of Thailand's rice economy
The future of Thailand's rice economy
 
ข้าวไทยกับอำนาจเหนือตลาด เมษายน 2555
ข้าวไทยกับอำนาจเหนือตลาด  เมษายน 2555ข้าวไทยกับอำนาจเหนือตลาด  เมษายน 2555
ข้าวไทยกับอำนาจเหนือตลาด เมษายน 2555
 
Rice policy in thailand production and economic issues (1), june 20, 2017
Rice policy in thailand production and economic issues (1), june 20, 2017Rice policy in thailand production and economic issues (1), june 20, 2017
Rice policy in thailand production and economic issues (1), june 20, 2017
 
ทิศทางการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร ฯ
ทิศทางการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร ฯทิศทางการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร ฯ
ทิศทางการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร ฯ
 
ความต้องการและสถานการณืพืชสวนไทย
ความต้องการและสถานการณืพืชสวนไทยความต้องการและสถานการณืพืชสวนไทย
ความต้องการและสถานการณืพืชสวนไทย
 
อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ สถานภาพและความท้าทาย
อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ สถานภาพและความท้าทายอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ สถานภาพและความท้าทาย
อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ สถานภาพและความท้าทาย
 

Sedsad no.43

  • 1. 82 Rice Market Economics เศรษฐศาสตร์ตลาดข้าว โดย รศ.สมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองของชาติ และผู้ประสานงานโครงการ “งานวิจัยเชิงนโยบายเกษตร” ภายใต้การสนับสนุนของสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ข้าวหอมมะลิไทย กับความจ�ำเพาะ ที่ก�ำลังจะจางหายไป ข้าวเป็นพืชอาหารจานหลักของประชากรในเอเชีย ท�ำให้เอเชีย เป็นแหล่งผลิตและบริโภคข้าวที่ส�ำคัญของโลก ข้าวที่เพาะปลูกใน ภูมิภาคนี้มีความหลากหลายในพันธุกรรม ทั้งในด้านองค์ประกอบทาง กายภาพ เคมี ธาตุอาหาร และสีสันของเมล็ดข้าว รวมถึงคุณสมบัติของ ความหอม ความนุ่มอร่อยเมื่อหุงสุก เป็นต้น ท�ำให้เกิดเป็นลักษณะ ของคุณสมบัติที่ดีมีคุณภาพน�ำไปสู่คุณค่า และความจ�ำเพาะของข้าวที่ เพาะปลูกได้ ข้าวหอมมะลิหรือข้าวขาวดอกมะลิ105 ของไทยก็เป็นหนึ่ง ในข้าวที่มีคุณค่าและลักษณะจ�ำเพาะในตัวของสินค้า โดยเฉพาะในเรื่อง ของความหอมและความนุ่ม เดิมทีข้าวที่เพาะปลูกในภูมิภาคเอเชียเป็นข้าวพันธุ์ไวแสงหรือ ที่เรียกกันว่าพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งมีความหลากหลายของสายพันธุ์ จ�ำนวนมาก แต่หลังจากได้มีการค้นพบข้าวพันธุ์ไม่ไวแสงโดยสถาบัน วิจัยข้าวนานาชาติที่ตั้งอยู่ที่ประเทศฟิลิปปินส์ในช่วงปลายทศวรรษ1950 ที่เรียกกันในยุคนั้นว่า ข้าวพันธุ์มหัศจรรย์(MiracleRice) หรือข้าวพันธุ์ IR8 ซึ่งเป็นข้าวที่ให้ผลผลิตสูงและตอบสนองต่อปุ๋ยเคมีได้ดีเมื่อปลูกใน พื้นที่ชลประทาน ซึ่งได้น�ำไปสู่ยุคของการปฏิวัติเขียวและก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงในพันธุ์ข้าวในระดับไร่นาและระบบการผลิต โดยเฉพาะ การท�ำนาแบบเข้มข้นมากกว่า1 ครั้งในรอบปี มีการแพร่กระจายของข้าว พันธุ์ใหม่ไปในวงกว้าง แต่ข้าวพันธุ์ไม่ไวแสงที่เพาะปลูกกันในขณะนั้น เป็นพันธุ์ข้าวที่ให้น�้ำหนักกับการเพิ่มผลผลิตและปริมาณอุปทานผลผลิต เป็นส�ำคัญ เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่อุปทานข้าวโลกขาดแคลน จึงไม่ได้ ให้ความส�ำคัญกับมิติในเชิงของรสชาติและคุณภาพ เพราะข้าวพันธุ์ใหม่ จะมีความแข็งกระด้างเมื่อหุงสุก ไม่นุ่มนวลเหมือนข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่ นิยมปลูกกันอยู่แบบดั้งเดิม ตลาดข้าวในขณะนั้นจึงได้แยกข้าวที่มีมิติ ด้านคุณภาพ โดยเฉพาะคุณสมบัติของความหอมและความนุ่มออกจาก ตลาดข้าวสารเจ้าพันธุ์ไม่ไวแสง เกิดเป็นตลาดข้าวหอมที่ให้ความส�ำคัญ กับลักษณะจ�ำเพาะพร้อมๆ กับการให้ค่าพรีเมี่ยมในตัวของสินค้า ดังเช่น ข้าวหอมมะลิและข้าวบาสมาติ
  • 2. 83 ข้าวหอมมะลิไทยกับข้าวบาสมาติอินเดียหากเทียบ กันแล้ว ข้าวทั้งสองชนิดนี้แม้จะอยู่ในกลุ่มของสินค้า ข้าวหอม แต่จัดว่าไม่ได้เป็นสินค้าทดแทนกันและมี ความต่างกัน ทั้งนี้เพราะข้าวหอมมะลิมีค่าอะไมโลส ต�่ำกว่าข้าวหอมบาสมาติ ท�ำให้ข้าวหอมมะลิมีรสชาติ นุ่มนวล จึงได้รับความนิยมจากกลุ่มผู้บริโภคในเอเชีย ตะวันออกและในสหรัฐอเมริกา ส่วนข้าวบาสมาติเป็นข้าว ที่มีค่าอะไมโลสระดับปานกลางและสูงกว่าค่าอะไมโลส ของข้าวหอมมะลิไทย ท�ำให้ข้าวบาสมาติเมื่อหุงแล้ว ร่วนไม่นุ่มเหมือนข้าวหอมมะลิที่ได้รับความนิยมใน เอเชียใต้และในตะวันออกกลาง ข้าวหอมทั้งสองชนิด จึงต่างกันทั้งในลักษณะของตัวสินค้าข้าวและลักษณะ ของการน�ำไปปรุงเป็นอาหาร ความต้องการของผู้บริโภคข้าวหอมมะลิมีการ ขยายตัวทั้งในประเทศและต่างประเทศในช่วงกว่าสอง ทศวรรษที่ผ่านมา ได้เป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการ ขยายตัวของพื้นที่การเพาะปลูกข้าวหอมมะลิในไทย กล่าวคือ พื้นที่เพาะปลูกข้าวหอมมะลิและผลผลิตได้ ขยายตัวจากประมาณ11 ล้านไร่ ผลผลิต2.82 ล้านตัน (ประมาณ1.41 ล้านตันข้าวสาร) ในปี2532 ขยับเพิ่มขึ้น เป็น 17 ล้านไร่ ผลผลิต 5.5 ล้านตัน (ประมาณ 2.75 ล้านตันข้าวสาร) ในปี 2545 และได้ขยายตัว เพิ่มขึ้นเป็น 22 ล้านไร่ ผลผลิต 9 ล้านตัน (ประมาณ 4.5 ล้านตันข้าวสาร) ในปี 2556 โดยมีพื้นที่ขยายตัว เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในสามทศวรรษที่ผ่านมา อีกทั้ง มีผลผลิตเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัว ซึ่งผลผลิตดังกล่าว ส่วนหนึ่งได้ใช้ในประเทศและอีกส่วนหนึ่งเป็นสินค้า ส่งออก ตลาดส่งออกข้าวหอมมะลิไทยเดิมทีจะอยู่ในสิงคโปร์และฮ่องกง ก่อนจะขยาย ตัวไปในตลาดสหรัฐอเมริกา ตะวันออกกลาง และแอฟริกาใต้ ปริมาณการส่งออกได้ ขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงปี 2531 ถึงช่วงปี 2550 กล่าวคือมีปริมาณข้าวหอมมะลิ ส่งออก0.15 ล้านตันข้าวสารในปี2531 ปรับเพิ่มมาเป็น1.1 ล้านตันในปี2541 และ ในอีก10 ปีถัดมาได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น2.9 ล้านตันในปี2550 อย่างไรก็ตาม หลังจาก ปี2550 เป็นต้นมา การส่งออกข้าวหอมมะลิของไทยได้เริ่มถดถอยลงมาเรื่อยๆ จนเหลือ เพียง 1.5 ล้านตันในปี 2556 ปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้การส่งออกข้าวหอมมะลิไทยถดถอยลงนั้น ด้านหนึ่งเป็นผล มาจากปัจจัยด้านราคาเพราะการเกิดวิกฤตข้าวแพงในปี2551 ท�ำให้ราคาข้าวหอมมะลิไทย ได้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเกือบเท่าตัว (ตารางที่ 1) หลังจากนั้นราคาก็คงอยู่ในระดับสูง และเพิ่มขึ้นจากเดิม ราคาข้าวหอมมะลิที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นได้เป็นปัจจัยส�ำคัญที่กระตุ้น ให้เกิดการขยายการผลิตข้าวหอมมะลิไปในประเทศคู่แข่งขันทางการค้าโดยเฉพาะ เวียดนาม ตารางที่ 1 แสดงราคาส่งออกข้าวหอมมะลิไทยเฉลี่ยและการเปลี่ยนแปลงราคา ช่วงปี เปลี่ยนแปลง (%)ราคาข้าวหอมมะลิไทย (ดอลล่าร์สหรัฐต่อตัน) 2548-2550 2551-2553 2554-2556 492 971 1108 - +97.35 +14.11 ที่มา: ค�ำนวณจากข้อมูลขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เวียดนามน�ำพันธุ์ข้าวหอมมะลิไทยไปปลูกในหลายพื้นที่โดยใช้ชื่อ ThaiFragrant Rice เนื่องจากเวียดนามสามารถท�ำการปลูกข้าวหอมได้ในระดับต้นทุนที่ต�่ำกว่าไทย ขณะเดียวกัน แม้คุณภาพของข้าวหอมมะลิที่ปลูกในเวียดนามจะมีคุณภาพและความหอม สู้ข้าวหอมมะลิจากไทยไม่ได้ทั้งหมด แต่ระดับราคาส่งออกที่ต�่ำกว่าไทยเกือบหนึ่งเท่าตัว ท�ำให้ปริมาณการส่งออกข้าวหอมมะลิของเวียดนามได้ขยายตัวออกไป ดังจะเห็นได้ว่า ในปี 2554 เวียดนามส่งออกข้าวหอมรวมทั้งหอมมะลิได้เพียง 0.47 ล้านตัน และได้ เพิ่มขึ้นเป็น0.90 ล้านตันในปี2556 ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่า1 เท่าตัวในช่วง3 ปี ทั้งนี้เวียดนาม สามารถส่งออกข้าวหอมมะลิได้ในราคาเพียงตันละ 671 ดอลลาร์สหรัฐ1 ในขณะที่ ราคาส่งออกข้าวหอมมะลิจากไทยในช่วงเดียวกันอยู่ที่ราคาตันละ 1,180 ดอลลาร์ สหรัฐ ข้าวหอมมะลิจากเวียดนามจึงเข้าไปแทนที่ตลาดข้าวหอมมะลิจากไทยในหลาย ตลาดการค้าและท�ำให้การส่งออกข้าวหอมมะลิจากไทยลดลง ขณะเดียวกัน กัมพูชาที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิดมีพรหมแดนติดกับไทย มีพันธุ์ของข้าวหอมใกล้เคียงกับพันธุ์ข้าวหอมมะลิของไทยอย่างมาก เช่น พันธุ์ข้าวหอม ผกามะลิ (Phaka Malis) พันธุ์ข้าวหอมผกาล�ำดวน (Phaka Romdul) เป็นต้น ข้าวหอมผกามะลิของกัมพูชาเพิ่งได้รับรางวัลที่หนึ่งในการประกวดข้าวโลกครั้งที่ 4 และครั้งที่5 ถึงสองปีซ้อนในการประกวดที่ประเทศะอินโดนีเซียและฮ่องกงในปี2555 และปี2556 ตามล�ำดับ ท�ำให้ข้าวหอมมะลิกัมพูชามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของนานาชาติ มากขึ้น อีกทั้งการผลิตข้าวในกัมพูชาได้มีการขยายตัวของปริมาณการส่งออกอย่าง รวดเร็วจากที่มีปริมาณการส่งออกข้าวในปี 2554 เพียง 0.20 ล้านตัน ได้ขยายตัว
  • 3. 84 เพิ่มขึ้นเป็น 0.38 ล้านตันในปี 2556 การที่ประเทศกัมพูชาได้ให้ความส�ำคัญกับการ ผลิตข้าวหอมคุณภาพเพื่อการส่งออก ท�ำให้กัมพูชามีปริมาณการส่งออกข้าวหอมถึง ร้อยละ41 ของปริมาณการส่งออกในปี2556 อีกทั้งระดับราคาส่งออกของข้าวหอมมะลิ กัมพูชาจะมีราคาประมาณ 890 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ซึ่งก็ต�่ำกว่าระดับราคาของ ข้าวหอมมะลิไทยเช่นกัน ข้าวหอมที่ผลิตได้ทั้งจากเวียดนามและกัมพูชาจึงได้กลายเป็นสินค้าทดแทน ข้าวหอมมะลิจากไทยในตลาดข้าวหอมส่งออกระหว่างประเทศ โดยเฉพาะข้าวหอมจาก เวียดนามได้ก้าวขึ้นเป็นสินค้าทดแทนข้าวหอมมะลิจากไทยในตลาดเอเชียตะวันออก และในตลาดสหรัฐอเมริกา ส่วนข้าวหอมมะลิจากกัมพูชาก็ได้เข้ามาเป็นสินค้าทดแทน ข้าวหอมไทยในตลาดสหภาพยุโรป2 และบางส่วนของเอเชียตะวันออก นอกจากข้าวหอมทั้งจากเวียดนามและจากกัมพูชาได้เข้ามาเป็นคู่แข่งขันแล้ว ข้าวหอมจากพม่าที่มีชื่อว่า Paw San ซึ่งได้รับรางวัลที่หนึ่งในการประกวดข้าวโลก ครั้งที่ 3 ที่จัดขึ้นที่ประเทศเวียดนามในปี 2554 ก็นับได้ว่าเป็นข้าวหอมที่มีความหอม และความนุ่มไม่แพ้ข้าวหอมมะลิไทยท�ำให้ก�ำลังเป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้น การผลิตข้าว ของพม่าที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาเพราะความขัดแย้งด้านการเมือง ภายในประเทศของพม่าเองได้สงบลง จึงส่งผลให้ปริมาณการส่งออกข้าวของพม่า เพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยพม่าได้ส่งออกข้าวเพิ่มจาก 0.37 ล้านตันในปี 2552 เพิ่มขึ้น มาเป็น 1.31 ล้านตันในปี 2555 ในจ�ำนวนนี้ข้าว Paw San น่าจะเป็นหนึ่งในข้าวหอม คุณภาพที่พม่าส่งออกเพิ่มขึ้นตามมาด้วยเช่นกัน อีกทั้ง ประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวหอมขึ้นหลายพันธุ์ และได้ เผยแพร่ให้มีการผลิตเป็นการค้าในหลายพื้นที่ปลูกข้าวของสหรัฐอเมริกา เช่น ข้าวพันธุ์ Jassman, Calrose, Jasmin 85 เป็นต้น ข้าวหอมเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของข้าวหอม ที่จะเข้ามาเป็นสินค้าทดแทนกับข้าวหอมมะลิไทยไม่มากก็น้อย ในตลาดการค้าข้าวหอม ในประเทศของสหรัฐอเมริกาที่เดิมมีการน�ำเข้าข้าวหอมมะลิจากไทยก็ก�ำลังมีสินค้า ข้าวหอมมะลิทดแทนจากการผลิตข้าวหอมในสหรัฐอเมริกาเอง ส่วนปัจจัยภายในประเทศของไทยเองที่เป็นแรงกดดันท�ำให้คุณภาพของข้าวหอมมะลิ ได้ถดถอยต�่ำลงนั้นคงจะหนีไม่พ้นระบบการเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวข้าวหอมมะลิ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวหอมมะลิที่ส�ำคัญ ของประเทศ การปลูกข้าวหอมมะลิในพื้นที่ดังกล่าว ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก จากที่เคยท�ำนาด�ำ ก็เปลี่ยนมาเป็นท�ำนาหว่านกันมากขึ้น เพราะหาแรงงาน ได้ยาก อีกทั้งมีความพยายามที่จะเพิ่มผลผลิตโดยใช้ ปุ๋ยเคมีจากที่เคยใช้ปุ๋ยคอก และอาศัยธาตุอาหารที่มากับ กระแสน�้ำในช่วงน�้ำหลาก รวมถึงการเก็บเกี่ยวที่ใช้รถ เก็บเกี่ยวแทนแรงงานคนเพราะค่าจ้างแรงงานแพง การใช้ เครื่องอบลดความชื้นข้าว เนื่องจากเก็บเกี่ยวด้วยรถ เก็บเกี่ยวท�ำให้ข้าวมีความชื้นสูง ปัจจัยดังกล่าวได้มีผล ต่อคุณภาพและการสูญเสียลักษณะความจ�ำเพาะของ ข้าวหอมมะลิไทยโดยเฉพาะการลดลงของกลิ่นหอม ที่นับวันจะเลือนหายไปอีกทั้งการใช้เทคโนโลยีในการ ปรับปรุงพันธุ์ท�ำให้เกิดข้าวพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะใกล้เคียง กับข้าวหอมมะลิอย่างเช่น ข้าวปทุมธานี1 ที่มีลักษณะ ของเมล็ดและค่าอะไมโรสใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิ ข้าวพันธุ์ดังกล่าวเป็นข้าวพันธุ์ไม่ไวแสงที่สามารถปลูกได้ ในพื้นที่ชลประทานและปลูกได้มากกว่าหนึ่งครั้งในรอบปี ท�ำให้เกิดเป็นสินค้าทดแทนข้าวหอมมะลิได้ในบางตลาด การค้า เป็นต้น สถานภาพดังกล่าวก�ำลังเป็นปัจจัยเร่งที่รุมเร้าให้ กับข้าวหอมมะลิไทยในตลาดการค้าข้าวโลก เพราะมี สินค้าข้าวหอมทดแทนได้มากขึ้นตามมา ประเด็น ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายต่อผู้บริหารนโยบายข้าวไทย เป็นอย่างมากว่าจะมีมาตรการอย่างไรที่จะปกป้องคุ้มครอง คุณภาพ และคุณค่าของข้าวหอมมะลิให้เป็นสมบัติ อันล�้ำค่าของข้าวไทยได้อย่างยั่งยืนตลอดไป 1. ราคาในเดือนพฤษภาคม 2557 จาก www.Oryza.com 2. กัมพูชาได้รับสิทธิพิเศษในการยกเว้นภาษีสินค้าข้าวที่ส่งเข้าไป จ�ำหน่ายในสหภาพยุโรป เนื่องจากเป็นประเทศในกลุ่มพัฒนา น้อยที่สุด