SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 199
Descargar para leer sin conexión
หน้า 1 จาก 1
(แจกฟรี) ประพันธ์ เวารัมย์ (ไม่มีลิขสิทธิ์) http://pun2013.bth.cc
แจกฟรี
https://www.facebook.com/prapun2523
แนวข้อสอบภาค ก.
ก.พ. ท้องถิ่น และกระทรวง
ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจต่างๆ
http://valrom.igetweb.com
1เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
1.โครงสร้างของข้อสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป
ข้อสอบภาคนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1.วิชาความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์ และสรุปเหตุผล (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
เป็นการทดสอบความสามารถในการศึกษาวิเคราะห์และสรุปเหตุผล โดยการให้สรุปความหรือให้จับ
ประเด็นในข้อความ หรือเรื่องราว หรือให้วิเคราะห์เหตุการณ์ หรือสรุปเหตุผลทางการเมืองเศรษฐกิจหรือสังคม
หรือให้หาแนวโน้ม หรือความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเป็นไปตามข้อมูลหรือสมมติฐาน หรือให้ศึกษาหาเหตุผล
แล้วสรุปความอุปมาอุปไมย โดยอาศัยความรู้ทั่วไปและคิดหาเหตุผลด้วยตัวเลข
2.วิชาภาษาไทย ( คะแนนเต็ม 100 คะแนน ) เป็นการทดสอบความรู้เกี่ยวกับ
2.1 คำศัพท์ ในเรื่องของการเขียนสะกดคำ การอ่านคำ และความหมายของคำหรือกลุ่มคำ
2.2 ความเข้าใจภาษา ได้แก่ การอ่านและทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทความ หรือข้อความที่กำหนด
ให้แล้วตอบคำถามที่ให้มาในแต่ละบทความ หรือข้อความ ทั้งนี้รวมถึงการสรุปความและการตีความหมายด้วย
2.3 การเขียน ได้แก่ การเลือกใช้กลุ่มคำ หรือสำนวนต่างๆ การเขียนประโยคให้ถูกต้องตามหลัก
ภาษาและการเรียงข้อความ
2.ลักษณะของข้อสอบ
ข้อสอบภาควิชาความรู้ความสามารถทั่วไป ในส่วนความสามารถในการศึกษาวิเคราะห์และสรุปเหตุผล
นั้น ข้อสอบมักเป็นข้อสอบเพื่อวัดเชาวน์ปัญญา ( Aptitude test ) มากกว่าจะวัดว่า ผู้เข้าสอบท่านใดใคร
มีความรู้มากกว่ากันในวิชาที่เรียนมา
ดังนั้น จึงไม่แปลกแต่อย่างใดที่ผู้ที่เรียนหนังสือเก่งๆ ได้คะแนนสอบดีๆ ในการเรียนปกติ จะสอบตก
ในวิชานี้ ในขณะที่พวกที่เรียนไม่เก่งในวิชาเรียนปกติ บางคนกลับทำคะแนนในข้อสอบวิชานี้ได้ดีกว่า
ข้อสอบนี้จะวัดสติปัญญา เชาวน์ ไหวพริบ ปฏิภาณ การช่างสังเกต การแก้ไข ปัญหาเฉพาะหน้า และ
ความรวดเร็วของแต่ละคนเป็นหลัก มิใช่เพื่อวัดความเป็นเลิศหรือความเป็นอัจฉริยะในทางวิชาการ
1
บทนำ
นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
2 เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
3.ประเภทของข้อสอบ
เท่าที่ผ่านมา ข้อสอบวิชา ก.พ. นี้จะมีแนวข้อสอบอยู่ 3 กลุ่มใหญ่ คือ การวัดความสามารถทาง ด้าน
ความมีเหตุผล ( Reasoning ) ด้านตัวเลข ( Numerical ) และ ด้านภาษา ( Verbal ) ซึ่งสามารถแยกย่อย
ออกได้ เป็น 7 ประเภท เรียงตามความยากง่าย ดังนี้
1.การวิเคราะห์สรุปเหตุผลจากเงื่อนไขภาษา ประมาณ 10 ข้อ ( เหตุผล )
2.การวิเคราะห์สรุปเหตุผลจากเงื่อนไขทางสัญลักษณ์ ประมาณ 10 ข้อ (เหตุผล )
3.อนุกรมตัวเลข ประมาณ 5 ข้อ ( ตัวเลข )
4.คำอุปมาอุปไมย ประมาณ 10 ข้อ ( เหตุผล )
5.คณิตศาสตร์ทั่วไป ประมาณ 5 ข้อ ( ตัวเลข )
6.การอ่านจับใจความ ประมาณ 5 ข้อ ( ภาษา )
7.การแปลความหมายจากกราฟ ตารางหรือแผนภูมิ ประมาณ 5 ข้อ ( ตัวเลข )
ประเภทข้อสอบ 3 ประเภทแรกจัดได้ว่ายากที่สุด และกินเวลาในการคิดมากที่สุด ผู้เข้าสอบส่วนมาก
จะทำข้อสอบประเภทนี้ไม่ได้ อย่างไรก็ดี ข้อสอบ 3 ประเภทนี้ ถ้าหากได้มีการทำความเข้าใจและฝึกฝนดีๆ
แล้ว ข้อสอบประเภทนี้ก็จะกลายเป็นข้อสอบที่ทำคะแนนให้ได้เหมือนกัน เพราะข้อสอบ 3 ประเภทนี้ คือ
ครึ่งหนึ่งของข้อสอบ ก.พ. ทั้งหมดนั่นเอง
ส่วนข้อสอบประเภทที่ 4 และ 5 นั้น ถือได้ว่าเป็นข้อสอบที่มีความยากอยู่ในระดับปานกลาง ผู้เข้าสอบ
ควรจะเก็บคะแนนจากข้อสอบ 2 ประเภทนี้ได้ครึ่งหนึ่งเป็นอย่างน้อย อย่างไรก็ดี ข้อสอบในประเภทนี้ต้อง
อาศัยความรอบคอบพอสมควร
สำหรับข้อสอบประเภทที่ 6 และ 7 นั้น คือ ข้อสอบที่ทุกคนควรจะทำได้เพื่อเป็นคะแนนสำรองไว้ให้
กับตัวเอง เวลาที่ใช้ในข้อสอบประเภทนี้ก็น้อยมาก
4.วิธีการใช้หนังสือ
หนังสือเล่มนี้จะครอบคลุมเฉพาะในส่วนที่เป็นวิชาความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล
เท่านั้น ในส่วนวิชาภาษาไทย เชื่อว่า ผู้อ่านคงหาได้จากหนังสือเล่มอื่น ๆ และโดยทั่วไปวิชาภาษาไทยข้อสอบ
จะไม่ยากนัก ส่วนใหญ่จะทำกันได้พอสมควร และที่สอบตกกันก็ไม่ใช่ส่วนนี้ แต่จะเป็นส่วนความสามารถใน
การศึกษา วิเคราะห์ และสรุปเหตุผล หนังสือเล่มนี้จึงเน้นเฉพาะวิชาที่ผู้เข้าสอบส่วนใหญ่ทำไม่ได้เป็นหลัก
วิธีการใช้หนังสือเล่มนี้ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่ามากที่สุด ขอให้ผู้อ่าน ได้อ่านเนื้อหาในแต่ละบทโดย
ละเอียด พยายามทำความเข้าใจให้ได้ ถ้ายังไม่เข้าใจ อย่าได้ผ่านไป โดยในแต่ละบทจะประกอบด้วย ลักษณะ
ของข้อสอบ ตัวอย่างข้อสอบ หลักในการคิด แบบฝึกหัด
ให้ผู้อ่านทำความเข้าใจลักษณะของข้อสอบและลองฝึกคิดแก้โจทย์ตามตัวอย่างที่ให้ไว้ เมื่อมั่นใจพอ
สมควรแล้ว ลองทำแบบฝึกหัดดู เมื่อทำเสร็จแล้วให้ดูเฉลย ถ้าไม่ถูกให้ลองฝึกทำข้อที่ผิดอีก 1–2 ครั้ง ถ้ายัง
ไม่ถูกจึงค่อยกลับไปดูคำอธิบาย ทิ้งระยะไว้ช่วงหนึ่ง แล้วลองกลับมาทำแบบฝึกหัดอีกครั้งหนึ่งจนกว่าจะทำให้
คะแนนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
3เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
1.ลักษณะของข้อสอบ
โจทย์การวิเคราะห์สรุปเหตุผลจากเงื่อนไขภาษา ในแต่ละข้อจะประกอบด้วยเงื่อนไขภาษา หรือ
ข้อมูลที่กำหนดให้ และข้อสรุปเป็นคู่ๆ โดยเงื่อนไขภาษาหรือข้อมูล ที่โจทย์กำหนดมาให้นั้นจะเป็น
ข้อความสั้น-ยาว คละเคล้ากันไป ผู้เข้าสอบจะต้องมาคิดพิจารณาตีความหมายโดยอาศัยหลักเหตุและผล
(Reasoning ) เป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ โดยสิ่งที่ได้จากการวิเคราะห์จะไม่มีความเกี่ยวข้องกับความเป็น
จริงในโลกแต่อย่างใด
เงื่อนไขแต่ละเงื่อนไขจะมีความสัมพันธ์ต่อกันและกันทั้งหมด ซึ่งโดยปกติแล้วข้อสอบที่มี
ความยาก จะกำหนดเงื่อนไขมาไม่ต่ำกว่า 8 เงื่อนไข แต่โดยมากแล้วจะมีมากกว่า 10 เงื่อนไขขึ้นไป
ลักษณะของเงื่อนไขแบ่งได้ตามลักษณะของข้อสอบที่ผ่าน ๆ มา ได้ 2 ลักษณะ คือ
1.เงื่อนไขทางภาษาอย่างเดียว คือ เงื่อนไขจะเป็นประโยคข้อความบอกเล่าธรรมดา เช่น
- แก๊สสีเหลืองทุกชนิดติดไฟ
- คนที่หลงทางไปตลาดน้ำคือ ชาวญี่ปุ่น
2.เงื่อนไขทางภาษาผสมกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น
-นักเรียนชั้น ม.1 มีจำนวนเป็น 2 เท่าของนักเรียนชั้น ม.4
-ร้อยละ 20 ของผู้จบนิติศาสตร์เป็นทนายความ เป็นต้น
ชุดเงื่อนไขภาษาแต่ละชุด จะไม่มีข้อมูลที่สมบูรณ์ครบถ้วน อย่างน้อยจะต้องขาดข้อมูลใดข้อมูล
หนึ่งไปบ้าง ดังนั้น ผู้เข้าสอบจึงไม่ควรจะเป็นกังวลว่า มีข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่งตกหายไปหรือไม่
เพราะจุดสำคัญของข้อสอบนี้ไม่ได้ดูที่ความครบถ้วนของข้อมูล แต่อยู่ที่ การใช้เหตุผลมา
เป็นหลักในการวิเคราะห์
โจทย์การวิเคราะห์สรุปเหตุผลจากเงื่อนไขภาษานี้ ในการสอบแต่ละครั้งมักจะแบ่งข้อสอบออกเป็น
2
การวิเคราะห์สรุปเหตุผลจากเงื่อนไขภาษา
นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
4 เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
สองข้อใหญ่ ในแต่ละข้อจะมีชุดเงื่อนไขภาษา 1 ชุด และจะมีโจทย์ข้อย่อยอยู่ 5 ข้อ
ดังนั้น ผู้ที่สามารถทำโจทย์ข้อสอบนี้ได้ก็มักจะทำได้ถูกหมดไปเลย แต่ถ้าทำไม่ได้ก็จะไม่ได้เลยเช่นกัน
ซึ่งนี่เป็นลักษณะที่ต่างไปจากโจทย์ข้อสอบแบบอื่นๆ
โจทย์การวิเคราะห์สรุปเหตุผลจากเงื่อนไขภาษานี้ คำตอบจะถูกกำหนดไว้เป็นหลักการตายตัวเพียง
แต่ผู้เข้าสอบนำผลการวิเคราะห์เหตุผลจากโจทย์ มาเทียบกับข้อสรุปในข้อคำถามย่อยแต่ละข้อว่า ถูกต้อง
หรือไม่ แล้วจึงนำไปเทียบกับคำตอบที่ถูกกำหนดไว้อีกทางหนึ่ง
คำตอบที่ถูกกำหนดไว้นั้นมีอยู่ 4 คำตอบ คือ
ก.ถ้าข้อสอบทั้งสองเป็นจริงตามเงื่อนไข
ข.ถ้าข้อสอบทั้งสองไม่เป็นจริงตามเงื่อนไข
ค.ถ้าข้อสรุปทั้งสองไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่าถูกหรือผิดตามเงื่อนไข
ง.ถ้าข้อสรุปทั้งสองมีข้อสรุปใดข้อสรุปหนึ่งที่เป็นจริงหรือไม่เป็นจริงหรือไม่แน่ชัด
ซึ่งไม่ซ้ำกับอีกข้อสรุปหนึ่ง
เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ขอให้ดูจากตารางต่อไปนี้
ข้อสรุปที่ 1 ข้อสรุปที่ 2 คำตอบ
ถูก ถูก ก.
ผิด ผิด ข.
สรุปไม่ได้ สรุปไม่ได้ ค.
ถูก ผิด ง.
ถูก สรุปไม่ได้ ง.
ผิด ถูก ง.
ผิด สรุปไม่ได้ ง.
สรุปไม่ได้ ถูก ง.
นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
5เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
2. ตัวอย่างข้อสอบ
ตัวอย่างที่ 1
ตัวอย่างนี้เป็นแบบง่ายที่ไม่ค่อยปรากฏในการสอบที่มีผู้เข้าสอบจำนวนมาก และรับจำนวนน้อย
เงื่อนไข : - แก๊สสีเหลืองทุกชนิดติดไฟ
- A เป็นแก๊สสีเขียวติดไฟ
- B เป็นแก๊สติดไฟ
- C จุดไฟติด
- D เป็นแก๊สจุดไฟไม่ติด
- E เป็นแก๊สสีเหลือง
- F เป็นแก๊สชนิดเดียวกับ E
คำถาม
ข้อ 1. ข้อสรุปที่ 1 C เป็นแก๊สสีเหลือง
ข้อสรุปที่ 2 แก๊สสีเขียวทุกชนิดติดไฟ
ข้อ 2. ข้อสรุปที่ 1 E ติดไฟ
ข้อสรุปที่ 2 D เป็นแก๊สสีอื่น ซึ่งไม่ใช่สีเหลือง
ข้อ 3. ข้อสรุปที่ 1 F ไม่ติดไฟ
ข้อสรุปที่ 2 A และ B มีสีเดียวกัน
ตัวอย่างที่ 2 แบบเงื่อนไขภาษาอย่างเดียว
เงื่อนไข -มีนักท่องเที่ยว 5 ชาติ คือ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เยอรมัน สเปน และฝรั่งเศส
มาเที่ยวเมืองไทย แต่ละคนต้องการไปชมสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งไม่ซ้ำแห่งกัน
-สถานที่ที่นักท่องเที่ยวแต่ละคนต้องการไปคือ วัดเบญจมบพิตร ตลาดน้ำวัดไทร
วัดพระแก้ว ศาลหลักเมืองและพิพิธภัณฑ์ แต่ปรากฏว่ามีนักท่องเที่ยว 4 คน
ที่หลงไปที่อื่น คือ ตลาดน้ำตลิ่งชัน วัดอรุณราชวราราม วัดโพธิ์และวัดสุทัศน์
-มีนักท่องเที่ยวที่ต้องการไปตลาดน้ำวัดไทร ไปถามทางจากนักศึกษาจึงหลงทาง
ไปตลาดน้ำตลิ่งชัน
-มีนักท่องเที่ยวอยู่คนหนึ่งที่ไม่ได้ถามทางใคร และไม่หลงทางไปไหน
-ชาวสเปนต้องการไปชมหินอ่อนวัดเบญจมบพิตร
-ชาวสิงคโปร์ไปถามทางจากคนแต่งชุดสีกากี แล้วหลงทางไปวัดโพธิ์
นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
6 เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
-คนญี่ปุ่นไม่ต้องการไปพิพิธภัณฑ์และหลงทางไปวัดอรุณฯ
-ชาวฝรั่งเศสไปถามทางจากพระ จึงหลงทางไปที่อื่นทั้งๆ ที่จะไปศาลหลักเมือง
-คนที่หลงไปตลาดน้ำตลิ่งชัน คือ ชาวเยอรมัน
-มีนักท่องเที่ยวคนหนึ่งที่ถามทางจากกระเป๋ารถเมล์
คำถาม
ข้อ 1 ข้อสรุปที่ 1 ชาวญี่ปุ่นไปถามทางจากกระเป๋ารถเมล์
ข้อสรุปที่ 2 ชาวสิงคโปร์ถามทางตำรวจ
ข้อ 2 ข้อสรุปที่ 1 ชาวสเปนหลงทางไปวัดสุทัศน์
ข้อสรุปที่ 2 ชาวฝรั่งเศสไม่ได้หลงทาง
ข้อ 3 ข้อสรุปที่ 1 นักศึกษาบอกทางคนเยอรมัน
ข้อสรุปที่ 2 ชาวญี่ปุ่นต้องการไปเที่ยววัดพระแก้ว
ข้อ 4 ข้อสรุปที่ 1 คนที่หลงไปวัดสุทัศน์คือคนอยากไปศาลหลักเมือง
ข้อสรุปที่ 2 ชาวเยอรมันต้องการไปเที่ยวตลาดน้ำมากกว่าเที่ยววัด
ข้อ 5 ข้อสรุปที่ 1 คนที่ต้องการไปพิพิธภัณฑ์กลับหลงทางไปเที่ยววัดโพธิ์
ข้อสรุปที่ 2 กระเป๋ารถเมล์ช่วยบอกทางให้กับคนที่ต้องการไปวัดเบญจมบพิตร
ตัวอย่างที่ 3 แบบเงื่อนไขภาษาผสมคณิตศาสตร์
เงื่อนไข -กมลมีอายุ 30 ปี เมื่อลูกชายของเขาคือ วิรัช เกิด
-วิรัช มีอาคนเดียวชื่อ วิไล มีอายุอ่อนกว่าพี่ชาย 3 ปี
และอ่อนกว่าสามีของเธอคือ บวร อยู่ 5 ปี
-วิไลและบวร มีลูกชาย 3 คนด้วยกันคือ อมร อนันต์ และอรสา
-เมื่อ 12 ปี มาแล้ว อมรเกิดขึ้นมาในขณะที่พ่อของเขามีอายุ 28 ปี
-อีก 10 ปีข้างหน้า อนันต์น้องชายของอมร จะมีอายุน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง
ของอายุของพ่อ อยู่ 7 ปี และน้องสาวของอมรคือ อรสา จะมีอายุ
เป็น 1 ใน 3 ของอายุแม่
นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
7เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
คำถาม
ข้อ 1 ข้อสรุปที่ 1 กมลมีอายุน้อยกว่าบวร 3 ปี
ข้อสรุปที่ 2 อนันต์มีอายุมากกว่าวิรัช
ข้อ 2 ข้อสรุปที่ 1 ตอนอนันต์เกิด วิไลมีอายุ 27 ปี
ข้อสรุปที่ 2 อายุของอมร อนันต์ และอรสา รวมกันได้ 25 ปี
ข้อ 3 ข้อสรุปที่ 1 อายุของกมลรวมกับวิรัชแล้วมากกว่าอายุของวิไลและอมรรวมกัน
ข้อสรุปที่ 2 อนันต์เกิดก่อนวิรัช
3.หลักในการทำโจทย์เงื่อนไขภาษา
การทำโจทย์เงื่อนไขภาษา หากผู้เข้าสอบไม่เคยรู้ หรือเคยพบกับโจทย์แบบนี้มาก่อน คงจะต้องเสีย
เวลา "งง" อยู่พอสมควรว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี หลักในการทำโจทย์เงื่อนไขภาษาที่จะนำเสนอต่อไปนี้ เป็น
เพียงแนวทางที่สามารถใช้ได้ผลในทางปฏิบัติแนวทางหนึ่งเท่านั้น ผู้เข้าสอบแต่ละคนอาจจะมีหลักคิดของ
ตนเองโดยไม่จำเป็นต้องเหมือนกับที่ผู้เขียนนำเสนอไว้ก็ได้ สำหรับหลักในการทำข้อสอบแบบนี้ควรจะทำตาม
ลำดับดังนี้คือ
อ่าน ให้อ่านเงื่อนไขภาษาที่โจทย์ให้มาให้ดี ๆ ก่อน 1 เที่ยว
หาตัวแปร พิจารณาหาตัวแปร (variable) ที่เป็นเงื่อนไขในโจทย์ออกมาให้ได้ว่า
มีอะไรบ้างและมีกี่ตัวเช่น สถานที่ ชื่อคน สี เพศ เป็นต้น
หาความ พิจารณาดูว่าชุดเงื่อนไขที่โจทย์กำหนดมานั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
สัมพันธ์ ควรทำเป็นตารางแผนภาพ (Venn–Diagram) การสมมุติค่าหรือวิธีการอื่น ๆ
ที่เหมาะสม
หากุญแจ พิจารณาหาเงื่อนไขที่เป็นกุญแจ (clue) ที่จะนำไปสู่เงื่อนไขอื่น ๆ
ลักษณะเงื่อนไขประเภทนี้จะมีความสมบูรณ์ (absolute) อยู่ในตัวเอง
ไม่ต้องนำไปเทียบเคียงหาความสัมพันธ์กับเงื่อนไขอื่น ๆ เช่น
คนไทยชอบกินข้าว ชาวสเปนต้องการไปวัดเบญจมบพิตร
ทั้งนี้ เงื่อนไขใดที่ใช้ไปแล้วให้ทำเครื่องหมายกันลืมไว้ จะโดยการขีดเส้นใต้หรือขีดทับข้อความก็แล้ว
แต่ และให้จดจำและระลึกอยู่เสมอว่า
นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
8 เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
โจทย์มิได้มีเงื่อนไขที่เรียงกันมาตามลำดับ ดังนั้น ให้แก้เงื่อนไขใดก่อนก็ได้
โดยโจทย์แต่ละชุดควรใช้เวลาประมาณ 20 นาที และมากที่สุดไม่ควรเกิน 25 นาที
4.วิธีการแก้ไขโจทย์เงื่อนไขภาษา
ในการแก้ไขโจทย์เงื่อนไขภาษานั้น จะมีวิธีการแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ความเหมาะสมของเงื่อนไข
อย่างไรก็ตามอาจสรุปรวมได้เป็น 4 วิธี ด้วยกันคือ
การแก้โดยใช้หลักตรรก
เป็นการพิจารณาสมมุติฐานหรือเงื่อนไขที่ถูกกำหนดไว้ โดยใช้หลักตรรกศาสตร์ (logic) ถึงแม้ว่า
ในการสอบระดับยาก ๆ จะไม่ค่อยได้ใช้มากนัก แต่ขอให้ทำความเข้าใจไว้เพื่อประโยชน์ในการสอบรับ
ราชการในที่อื่น ๆ เช่น
เงื่อนไข : ปลัดอำเภอทุกคนต้องเป็นชาย
โจทย์ : สมศักดิ์ซึ่งเป็นผู้ชายเป็นปลัดอำเภอ ถูกต้องหรือไม่
คำตอบ : ไม่อาจสรุปได้แน่ชัดว่าถูก หรือ ผิด
เพราะจากเงื่อนไขนี้เราไม่อาจรู้ได้ว่า สมศักดิ์จะเป็นปลัดอำเภอหรือไม่
เงื่อนไข : ถ้าฝนตกฉันจะอยู่บ้าน
โจทย์ : ฉันไม่อยู่บ้านเพราะ ……….
ก. ฝนตก ข. ฝนไม่ตก ค. ฉันไปซื้อของ ง. สรุปแน่นอนไม่ได้
คำตอบ : ข. เพราะเมื่อฉันไม่อยู่บ้านแสดงว่าฝนไม่ตก
วิธีการนี้ขอให้ผู้เข้าสอบยึดสูตรในการคิดไว้ดังนี้
1.ข้อความในเงื่อนไขซึ่งมีอยู่ 2 ข้อความในรูป
ถ้า ….( 1 ) … แล้ว ….( 2 ) ….
นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
9เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
ให้ถือข้อความที่ 1 เป็นส่วน A ข้อความที่ 2 เป็นส่วน B เช่น
ข้อความ : ปลัดอำเภอต้องเป็นชาย
ให้ข้อความส่วนที่ 1 คือ “ปลัดอำเภอ” เป็น A
และข้อความส่วนที่ 2 “เป็นชาย” เป็น B
ข้อความ : ถ้าฝนตกฉันจะอยู่บ้าน
ให้ข้อความส่วนที่ 1 คือ “ถ้าฝนตก” เป็น A
และข้อความส่วนที่ 2 “ฉันจะอยู่บ้าน” เป็น B
ซึ่งเขียนเป็นรูปความสัมพันธ์ได้ดังนี้
ข้อความ A ———————————> B
ปลัดอำเภอ ———————————-> เป็นชาย
ถ้าฝนตก ———————————> ฉันจะอยู่บ้าน
2.เมื่อทำตามข้อ 1 แล้ว ให้นำมาพิจารณาเทียบกับสูตรดังนี้
คำถาม คำตอบที่ควรเป็น
A B
~A สรุปแน่นอนไม่ได้
B สรุปแน่นอนไม่ได้
~B ~A
ทั้งนี้ เครื่องหมาย ~ หมายถึง ปฏิเสธ ตรงกันข้าม / ไม่ใช่
ตัวอย่างการคิด
ข้อความ -ปลัดอำเภอต้องเป็นชาย
-สมศักดิ์เป็นชาย
วิธีคิด ให้ปลัดอำเภอเป็น A เป็นชายเป็น B
ดังนั้น เมื่อสมศักดิ์เป็นชายจึงเท่ากับ B ก็นำ B ไปเทียบในช่องคำถาม
จะได้คำตอบคือ สรุปแน่นอนไม่ได้
นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
10 เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
โจทย์ : -สมชายนอนดึก จึงตื่นสาย
-สมชายนอนแต่หัวค่ำ ดังนั้น
ก.สมชายตื่นสาย ข.สมชายไม่สบาย
ค.สมชายตื่นเช้า ง.สรุปแน่นอนไม่ได้
วิธีคิด ให้สมชายนอนดึกเป็น A ตื่นสายเป็น B
ดังนั้น เมื่อสมชายนอนแต่หัวค่ำ จึงเท่ากับตรงกันข้ามกับ A เป็น ~A
นำไปเทียบในตารางจะได้เป็น สรุปแน่นอนไม่ได้
ต่อไปลองดูวิธีการคิดจากตัวอย่างเงื่อนไขภาษาแบบเต็มๆ ให้ลองคิดก่อนหรือคิดตามไปด้วย อย่า
เพียงแค่ดูตามไปอย่างเดียว โดยไม่คิดตามจะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น
เงื่อนไข ( 1 ) แก๊สสีเหลืองทุกชนิดติดไฟ
( 2 ) A เป็นแก๊สสีเขียวติดไฟ
( 3 ) B เป็นแก๊สติดไฟ
( 4 ) C จุดไฟติด
( 5 ) D เป็นแก๊สจุดไฟไม่ติด
( 6 ) E เป็นแก๊สสีเหลือง
( 7 ) F เป็นแก๊สชนิดเดียวกับ E
ข้อ 1. ข้อสรุปที่ 1 C เป็นแก๊สสีเหลือง
ข้อสรุปที่ 2 แก๊สสีเขียวทุกชนิดติดไฟ
ข้อ 2. ข้อสรุปที่ 1 E ติดไฟ
ข้อสรุปที่ 2 D เป็นแก๊สสีอื่น ซึ่งไม่ใช่สีเหลือง
ข้อ 3. ข้อสรุปที่ 1 F ไม่ติดไฟ
ข้อสรุปที่ 2 A และ B มีสีเดียวกัน
วิธีคิด ตัวแปรที่สำคัญของโจทย์ชุดนี้ คือ สีของแก๊ส กับ การติดไฟ ซึ่งปรากฎอยู่
ในเงื่อนไขข้อความ (1) ที่ว่า “แก๊สสีเหลืองทุกชนิดติดไฟ“ ซึ่งจะใช้เป็นกุญแจ
ในการแก้ไขโจทย์
นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
11เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
คำถามข้อที่ 1
ข้อสรุปที่ 1 C เป็นแก๊สสีเหลือง
วิธีคิด จะต้องพิจารณาว่าข้อสรุปที่ว่า C เป็นแก๊สสีเหลือง ถูกต้องหรือไม่
ซึ่งในเงื่อนไขภาษาที่ให้มามีข้อความที่เกี่ยวข้องคือ ข้อความ (4) ซึ่งมีว่า
"C จุดไฟติด" เมื่อนำไปพิจารณาร่วมกับข้อความ (1) ที่ว่า
“แก๊สสีเหลืองทุกชนิดติดไฟ“ เมื่อคิดตามสูตรที่กำหนด คำตอบ คือ
ไม่อาจสรุปได้ว่า C เป็นแก๊สสีเหลืองหรือไม่
ข้อสรุปที่ 2 แก๊สสีเขียวทุกชนิดติดไฟ
วิธีคิด จะต้องพิจารณาว่าข้อสรุปที่ว่า แก๊สสีเขียวทุกชนิดติดไฟ ถูกต้องหรือไม่
ซึ่งเมื่อดูจากเงื่อนไขภาษาที่ให้มานั้นจะมีข้อความที่เกี่ยวข้องคือ ข้อความ (2)
"A เป็นแก๊สสีเขียวติดไฟ" ซึ่ง ไม่อาจสรุปได้ว่า แก๊สสีเขียวทุกชนิดติดไฟ
คำตอบ คำตอบคำถามข้อที่ 1 คือ ค. (สรุปไม่ได้ทั้งสองข้อสรุป)
คำถามข้อที่ 2
ข้อสรุปที่ 1 E ติดไฟ
วิธีคิด ให้ดูข้อความที่เกี่ยวข้องคือ ข้อความ (6) "E เป็นแก๊สสีเหลือง" และข้อความ (1)
“แก๊สสีเหลืองทุกชนิดติดไฟ“ เมื่อคิดตามสูตรที่กำหนด จะได้ข้อสรุปว่าถูกต้อง
ข้อสรุปที่ 2 D เป็นแก๊สสีอื่น ซึ่งไม่ใช่สีเหลือง
วิธีคิด ให้ดูข้อความ (5) "D เป็นแก๊สจุดไฟไม่ติด" และข้อความ (1) “แก๊สสีเหลือง
ทุกชนิดติดไฟ“ เมื่อคิดตามสูตรที่กำหนด จะได้ข้อสรุปว่าถูกต้อง
คำตอบ คำตอบคำถามข้อที่ 1 คือ ก. (ถูกต้องทั้งสองข้อสรุป)
คำถามข้อที่ 3
ข้อสรุปที่ 1 F ไม่ติดไฟ
วิธีคิด ให้ดูข้อความ (7) "F เป็นแก๊สชนิดเดียวกับ E " และข้อความ (6)
"E เป็นแก๊สสีเหลือง" จะได้ว่า F ก็เป็นแก๊สสีเหลืองเช่นเดียวกับ E
นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
12 เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
ดังนั้นเมื่อเทียบกับข้อความ (1) “แก๊สสีเหลืองทุกชนิดติดไฟ“
จะได้ข้อสรุปว่า ไม่ถูกต้อง
ข้อสรุปที่ 2 A และ B มีสีเดียวกัน
วิธีคิด ให้ดูข้อความ (2) "A เป็นแก๊สสีเขียวติดไฟ " และดูข้อความ (3)
"B เป็นแก๊สติดไฟ" ดังนั้น เมื่อนำมาเทียบกับข้อความ (1) “แก๊สสีเหลือง
ทุกชนิดติดไฟ“ จึงไม่อาจสรุปได้ว่า B เป็นแก๊สสีอะไร ซึ่งหมายความ
อาจจะมีสีเดียวกับแก๊ส A หรือไม่ก็ได้
คำตอบ คำตอบคำถามข้อที่ 1 คือ ง. (สรุปไม่ต้องหนึ่งข้อ สรุปไม่ได้อีกหนึ่งข้อ)
การแก้โดยการใช้ตาราง
เป็นการแก้โจทย์โดยการทำเป็นตารางสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรต่างๆ ภายในเงื่อนไขภาษาที
ได้มา ซึ่งโดยปกติข้อสอบจะออกมาในลักษณะนี้เป็นประจำ จึงควรทำความเข้าใจให้ดีและใช้เป็นพื้นฐานใน
การทำโจทย์เงื่อนไขภาษาทุกครั้งที่มีการสอบ
ข้อสังเกตในการเลือกใช้วิธีนี้คือ ในเงื่อนไขที่ให้มานั้นจะมีตัวแปรอยู่หลาย ๆ ตัว ไม่เหมือนกับ
การใช้หลักตรรก ซึ่งจะมีตัวแปร 1 – 2 ตัวเท่านั้น
ตัวอย่างการคิด
เงื่อนไข 1.มีนักท่องเที่ยว 5 ชาติ คือ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เยอรมัน สเปน และฝรั่งเศส
มาเที่ยวเมืองไทย แต่ละคนต้องการไปชมสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งไม่ซ้ำแห่งกัน
2.สถานที่ที่นักท่องเที่ยวแต่ละคนต้องการไปคือ วัดเบญจมบพิตร ตลาดน้ำวัดไทร
วัดพระแก้ว ศาลหลักเมืองและพิพิธภัณฑ์ แต่ปรากฏว่ามีนักท่องเที่ยว 4 คน
ที่หลงไปที่อื่น คือ ตลาดน้ำตลิ่งชัน วัดอรุณราชวราราม วัดโพธิ์และวัดสุทัศน์
3.มีนักท่องเที่ยวที่ต้องการไปตลาดน้ำวัดไทร ไปถามทางจากนักศึกษาจึงหลงทาง
ไปตลาดน้ำตลิ่งชัน
4.มีนักท่องเที่ยวอยู่คนหนึ่งที่ไม่ได้ถามทางใคร และไม่หลงทางไปไหน
5.ชาวสเปนต้องการไปชมหินอ่อนวัดเบญจมบพิตร
นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
13เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
ญี่ปุน สิงคโปร เยอรมัน สเปน ฝรั่งเศส
สถานที่
หลงไป
ถาม
6.ชาวสิงคโปร์ไปถามทางจากคนแต่งชุดสีกากี แล้วหลงทางไปวัดโพธิ์
7.คนญี่ปุ่นไม่ต้องการไปพิพิธภัณฑ์และหลงทางไปวัดอรุณฯ
8.ชาวฝรั่งเศสไปถามทางจากพระ จึงหลงทางไปที่อื่นทั้ง ๆ ที่จะไปศาลหลักเมือง
9.คนที่หลงไปตลาดน้ำตลิ่งชัน คือ ชาวเยอรมัน
10.มีนักท่องเที่ยวคนหนึ่งที่ถามทางจากกระเป๋ารถเมล์
ข้อ 1 ข้อสรุปที่ 1 ชาวญี่ปุ่นไปถามทางจากกระเป๋ารถเมล์
ข้อสรุปที่ 2 ชาวสิงคโปร์ถามทางตำรวจ
ข้อ 2 ข้อสรุปที่ 1 ชาวสเปนหลงทางไปวัดสุทัศน์
ข้อสรุปที่ 2 ชาวฝรั่งเศสไม่ได้หลงทาง
ข้อ 3 ข้อสรุปที่ 1 นักศึกษาบอกทางคนเยอรมัน
ข้อสรุปที่ 2 ชาวญี่ปุ่นต้องการไปเที่ยววัดพระแก้ว
ข้อ 4 ข้อสรุปที่ 1 คนที่หลงไปวัดสุทัศน์คือคนอยากไปศาลหลักเมือง
ข้อสรุปที่ 2 ชาวเยอรมันต้องการไปเที่ยวตลาดน้ำมากกว่าเที่ยววัด
ข้อ 5 ข้อสรุปที่ 1 คนที่ต้องการไปพิพิธภัณฑ์กลับหลงทางไปเที่ยววัดโพธิ์
ข้อสรุปที่ 2 กระเป๋ารถเมล์ช่วยบอกทางให้กับคนที่ต้องการไปวัดเบญจมบพิตร
วิธีคิด
1.อ่านข้อความในเงื่อนไขให้หมดก่อน แล้วเริ่มพิจารณาดูตัวแปรที่เกี่ยวข้องในเงื่อนไขนี้ว่า มีอะไรบ้าง
หรือกล่าวอีกอย่างคือ หาตัวแปรที่เป็นลักษณะร่วมกัน เพื่อนำมาสร้างหัวตาราง
ในตัวอย่างนี้ ได้แก่ ชาติ สถานที่เที่ยว สถานที่หลงคนบอกทาง แล้วนำมาทำตารางได้ดังนี้
นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
14 เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
ญี่ปุน สิงคโปร เยอรมัน สเปน ฝรั่งเศส
สถานที่ วัดเบญจฯ ศาลฯ
หลงไป วัดอรุณ วัดโพธิ์ ตลิ่งชัน
ถาม ชุดสีกากี พระ
เงื่อนไขที่ 5
เงื่อนไขที่ 9
เงื่อนไขที่ 7 เงื่อนไขที่ 6
เงื่อนไขที่ 8
2.พิจารณาหาเงื่อนไขที่สามารถนำข้อมูลมาใส่ตารางได้เลย โดยไม่ต้องคิดหรือแปรความหมายใดๆ
ซึ่งตามตัวอย่าง ดังนี้
เงื่อนไขที่ 5. ชาวสเปน ต้องการไปชมหินอ่อน วัดเบญจมบพิตร
เงื่อนไขที่ 6. ชาวสิงคโปร์ ไปถามทางจาก คนแต่งชุดสีกากี แล้วหลงทางไป วัดโพธิ์
เงื่อนไขที่ 7. คนญี่ปุ่น ไม่ต้องการไปพิพิธภัณฑ์ และหลงทางไป วัดอรุณฯ
เงื่อนไขที่ 8. ชาวฝรั่งเศส ไปถามทางจาก พระ จึงหลงทางไปที่อื่นทั้งๆ ที่จะไป ศาล
หลักเมือง
เงื่อนไขที่ 9. คนที่หลงไป ตลาดน้ำตลิ่งชัน คือ ชาวเยอรมัน
แล้วอย่าลืม ! ขีดเส้นใต้ข้อความที่ใช้แล้ว เพื่อกันลืม
3. เมื่อนำข้อมูลต่างๆ ที่ได้ไปใส่ในตารางข้างต้นและทำเครื่องหมายแล้ว ถึงตอนนี้จะเหลือเงื่อนไข
ที่จะต้องมาพิจารณาต่อไป ดังนี้
(ตัวหนา คือ เงื่อนไข ข้อความที่ยังไม่ได้ใช้ ตัวเอียนขีดเส้นใต้ คือ เงื่อนไขข้อความที่ใช้ไปแล้ว )
1.มีนักท่องเที่ยว 5 ชาติ คือ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เยอรมัน สเปน และฝรั่งเศส
มาเที่ยวเมืองไทย แต่ละคนต้องการไปชมสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งไม่ซ้ำแห่งกัน
2.สถานที่ที่นักท่องเที่ยวแต่ละคนต้องการไปคือ วัดเบญจมบพิตร ตลาดน้ำวัดไทร
วัดพระแก้ว ศาลหลักเมือง และพิพิธภัณฑ์ แต่ปรากฏว่ามีนักท่องเที่ยว 4 คน
ที่หลงไปที่อื่น คือ ตลาดน้ำตลิ่งชัน วัดอรุณราชวราราม วัดโพธิ์ และวัดสุทัศน์
3.มีนักท่องเที่ยวที่ต้องการไปตลาดน้ำวัดไทร ไปถามทางจากนักศึกษาจึงหลงทาง
ไปตลาดน้ำตลิ่งชัน
4.มีนักท่องเที่ยวอยู่คนหนึ่งที่ไม่ได้ถามทางใคร และไม่หลงทางไปไหน
5.ชาวสเปนต้องการไปชมหินอ่อนวัดเบญจมบพิตร
6.ชาวสิงคโปร์ไปถามทางจากคนแต่งชุดสีกากี แล้วหลงทางไปวัดโพธิ์
นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
15เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
ญี่ปุน สิงคโปร เยอรมัน สเปน ฝรั่งเศส
สถานที่ วัดไทร วัดเบญจฯ ศาลฯ
หลงไป วัดอรุณ วัดโพธิ์ ตลิ่งชัน
ถาม ชุดสีกากี นักศึกษา พระ
ญี่ปุน สิงคโปร เยอรมัน สเปน ฝรั่งเศส
สถานที่ วัดพระแกว พิพิธภัณฑ วัดไทร วัดเบญจฯ ศาลฯ
หลงไป วัดอรุณ วัดโพธิ์ ตลิ่งชัน ?
ถาม ชุดสีกากี นักศึกษา ? พระ
7.คนญี่ปุ่นไม่ต้องการไปพิพิธภัณฑ์ และหลงทางไปวัดอรุณฯ
8.ชาวฝรั่งเศสไปถามทางจากพระ จึงหลงทางไปที่อื่นทั้ง ๆ ที่จะไปศาลหลักเมือง
9.คนที่หลงไปตลาดน้ำตลิ่งชัน คือ ชาวเยอรมัน
10.มีนักท่องเที่ยวคนหนึ่งที่ถามทางจากกระเป๋ารถเมล์
นำข้อมูลที่พอมีใน เงื่อนไขที่ 3. มีนักท่องเที่ยวที่ต้องการไปตลาดน้ำวัดไทร ไปถามทางจาก
นักศึกษาจึงหลงทางไปตลาดน้ำตลิ่งชัน มาวิเคราะห์กับข้อมูลที่มีอยู่ในตาราง
เมื่อข้อมูลในตาราง ปรากฎว่าคนที่หลงทางไปตลาดน้ำตลิ่งชันคือ ชาวเยอรมัน ดังนั้น จึงหมายความ
ว่า ชาวเยอรมันคือนักท่องเที่ยวที่ต้องการไปตลาดน้ำวัดไทร
เอาข้อมูล "ตลาดน้ำวัดไทร" ไปใส่ในช่อง "สถานที่" ของชาวเยอรมันได้ (แล้วอย่าลืมทำเครื่องหมาย
ในเงื่อนไขที่ 2 ตรง ตลาดน้ำวัดไทร ด้วย เพราะจะโยงกับการคิดในลำดับถัดไป)
ข้อมูลในตารางจะเป็นดังนี้
4. ต่อไป ดูเงื่อนไขที่ 7. คนญี่ปุ่นไม่ต้องการไปพิพิธภัณฑ์ เมื่อพิจารณาจากข้อมูลในตารางในช่อง
สถานที่เหลือว่างอยู่ 2 ช่อง
และ จากเงื่อนไขที่ 2 สถานที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่ยังเหลืออีก 2 แห่ง คือ วัดพระแก้ว และ
พิพิธภัณฑ์
ดังนั้น เมื่อคนญี่ปุ่นไม่ต้องการไปพิพิธภัณฑ์ แสดงว่าเขาต้องไปสถานที่ที่เหลือ คือ วัดพระแก้ว
และนั่นหมายความว่า คนที่เหลือ คือ ชาวสิงค์โปร์ เป็นผู้ไปพิพิธภัณฑ์ ให้เอาข้อมูลไปใส่ตารางได้
นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
16 เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
ญี่ปุน สิงคโปร เยอรมัน สเปน ฝรั่งเศส
สถานที่ วัดพระแกว พิพิธภัณฑ วัดไทร วัดเบญจฯ ศาลฯ
หลงไป วัดอรุณ วัดโพธิ์ ตลิ่งชัน ?
ถาม ชุดสีกากี นักศึกษา ? พระ
5. ต่อไป ดูเงื่อนไขที่ 4. มีนักท่องเที่ยวอยู่คนหนึ่งที่ไม่ได้ถามทางใคร และไม่หลงทางไปไหน
ดูจากข้อมูลในตาราง ช่องหลงทาง ที่เหลือว่าง คือ ช่องของชาวสเปน และชาวฝรั่งเศส แสดงว่า คนที่ไม่ถาม
ทางใคร และไม่หลงทางไปไหน ต้องเป็นคนใดคนหนึ่งระหว่าง 2 คนนี้
พิจารณาต่อไปว่าจะเป็นใคร เราต้องไปดู ช่องถามทาง ปรากฎว่า ชาวฝรั่งเศสไปถามทางจากพระ
แล้ว ดังนั้น ชาวสเปน จึงเป็นคนที่ไม่หลงทางและไม่ได้ถามใคร ให้ทำเครื่องหมายในตาราง ให้รู้ว่าไม่มี
ข้อมูลในช่อง หลงทาง และช่อง ถามทาง ของชาวสเปน ดังรูป
6. ถึงตอนนี้มาทบทวนอีกครั้งว่าได้ใช้เงื่อนไขและข้อมูลใดไปบ้างแล้ว
1.มีนักท่องเที่ยว 5 ชาติ คือ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เยอรมัน สเปน และฝรั่งเศส
มาเที่ยวเมืองไทย แต่ละคนต้องการไปชมสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งไม่ซ้ำแห่งกัน
2.สถานที่ที่นักท่องเที่ยวแต่ละคนต้องการไปคือ วัดเบญจมบพิตร ตลาดน้ำวัดไทร
วัดพระแก้ว ศาลหลักเมือง และพิพิธภัณฑ์ แต่ปรากฏว่ามีนักท่องเที่ยว 4 คน
ที่หลงไปที่อื่น คือ ตลาดน้ำตลิ่งชัน วัดอรุณราชวราราม วัดโพธิ์ และวัดสุทัศน์
3.มีนักท่องเที่ยวที่ต้องการไปตลาดน้ำวัดไทร ไปถามทางจากนักศึกษาจึงหลงทาง
ไปตลาดน้ำตลิ่งชัน
4.มีนักท่องเที่ยวอยู่คนหนึ่งที่ไม่ได้ถามทางใคร และไม่หลงทางไปไหน
5.ชาวสเปนต้องการไปชมหินอ่อนวัดเบญจมบพิตร
6.ชาวสิงคโปร์ไปถามทางจากคนแต่งชุดสีกากี แล้วหลงทางไปวัดโพธิ์
7.คนญี่ปุ่นไม่ต้องการไปพิพิธภัณฑ์ และหลงทางไปวัดอรุณฯ
8.ชาวฝรั่งเศสไปถามทางจากพระ จึงหลงทางไปที่อื่นทั้ง ๆ ที่จะไปศาลหลักเมือง
9.คนที่หลงไปตลาดน้ำตลิ่งชัน คือ ชาวเยอรมัน
10.มีนักท่องเที่ยวคนหนึ่งที่ถามทางจากกระเป๋ารถเมล์
จะเห็นได้ว่าเหลือเงื่อนไขที่ 10.ที่ยังไม่ได้พิจารณา เมื่อพิจารณาข้อมูลจากตาราง จะเห็นได้ว่า
นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
17เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
ญี่ปุน สิงคโปร เยอรมัน สเปน ฝรั่งเศส
สถานที่ วัดพระแกว พิพิธภัณฑ วัดไทร วัดเบญจฯ ศาลฯ
หลงไป วัดอรุณ วัดโพธิ์ ตลิ่งชัน ? วัดสุทัศน
ถาม กระเปา ชุดสีกากี นักศึกษา ? พระ
ในช่อง ถามทาง จะเหลือช่องของคนญี่ปุ่นว่างช่องเดียว ดังนั้น คนที่ถามทางกระเป๋ารถเมล์ คือ
ชาวญี่ปุ่น
และเมื่อดูเงื่อนไขที่ 2 ประกอบกับข้อมูลในตาราง ในช่องหลงทาง จะว่างอยู่ช่องเดียวของชาว
ฝรั่งเศส และข้อมูลที่เหลือคือ วัดสุทัศน์ แสดงว่า ชาวฝรั่งเศสหลงไปวัดสุทัศน์
ข้อแนะนำ อ่านกันมาถึงตรงนี้แล้วเชื่อว่า หลายๆ คน อาจจะยังงงๆ หรือ อาจจะยังไม่ค่อย
มั่นใจว่าเข้าใจดีหรือไม่ ลองหยุดพักสักนิด เพื่อรวบรวมสมาธิแล้วกลับมาอ่านใหม่อีกครั้ง
น่าจะดีกว่า
การแก้ไขโดยใช้คณิตศาสตร์ประกอบ
เป็นการพิจารณาหาคำตอบโดยใช้ การคำนวณทางคณิตศาสตร์เข้ามาประกอบ ข้อสังเกตเพื่อเลือก
ใช้วิธีนี้คือ โจทย์เงื่อนไขมักจะมีตัวเลขประกอบมาเป็นเรื่องหลักแทนภาษา
ตัวอย่างการคิด
เงื่อนไข
1. กมลมีอายุ 30 ปี เมื่อลูกชายของเขาคือ วิรัช เกิด
2. วิรัช มีอาคนเดียวชื่อ วิไล มีอายุอ่อนกว่าพี่ชายอยู่ 3 ปี และอ่อนกว่าสามีของเธอ
คือ บวรอยู่ 5 ปี
3. วิไลและบวร มีลูกด้วยกัน 3 คน คือ อมร อนันต์ และอรสา
4. เมื่อ 12 ปี มาแล้ว อมรเกิดขึ้นมาในขณะที่พ่อมีอายุ 28 ปี
5. อีก 10 ปีข้างหน้า อนันต์ น้องชายของอมรจะมีอายุน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของอายุของพ่อ
อยู่ 7 ปี และน้องสาวของอมรคือ อรสาจะมีอายุเป็น 1 ใน 3 ของอายุแม่
ข้อ 1 ข้อสรุปที่ 1 กมลมีอายุน้อยกว่าบวร 3 ปี
ข้อสรุปที่ 2 อนันต์มีอายุมากกว่าวิรัชนำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
18 เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
ข้อ 2 ข้อสรุปที่ 1 ตอนอนันต์เกิด วิไลมีอายุ 27 ปี
ข้อสรุปที่ 2 อายุของอมร อนันต์และอรสา รวมกันได้ 25 ปี
ข้อ 3 ข้อสรุปที่ 1 อายุของกมลรวมกับวิรัชแล้วมากกว่าอายุของวิไลและอมรรวมกัน
ข้อสรุปที่ 2 อนันต์เกิดก่อนวิรัช
วิธีคิด
1. ดูตัวแปรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในโจทย์ข้อนี้มีเพียงเรื่อง อายุ กับ ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
2. ใช้เงื่อนไข 4. "เมื่อ 12 ปี มาแล้ว อมรเกิด ขึ้นมาในขณะที่ พ่อมีอายุ 28 ปี " เป็นตัวเริ่ม เพราะ
เป็นเงื่อนไขที่บอกว่าปัจจุบัน อมรมีอายุเท่าใด ซึ่งข้อมูลก็คือ ปัจจุบัน อมรมี 12 ปี นั่นเอง
ปัญหาที่ต้องคบคิดต่อไป คือ ใครเป็นพ่อของอมร ?
จากเงื่อนไข 3. "วิไลและบวรมีลูก ด้วยกัน 3 คน คือ อมร อนันต์ และอรสา " ดังนั้น พ่อของอมร
คือ บวร
เมื่อรู้ว่า บวร เป็นพ่อของอมรแล้ว ก็จะทราบว่าอายุบวรคือกี่ปี ? โดยใช้ข้อมูลจากเงื่อนไขที่ 4
อายุ บวร = อายุของบวรเมื่ออมรเกิด + เวลา 12 ปีที่แล้ว
= 28+12
= 40 ปี
3. ต่อไปดูเงื่อนไข 2. “วิรัช มีอาคนเดียวชื่อ วิไล มีอายุอ่อนกว่าพี่ชายอยู่ 3 ปีและ อ่อนกว่าสามี
ของเธอคือ บวรอยู่ 5 ปี” ดังนั้น จะหา อายุของวิไลในปัจจุบัน ได้ดังนี้
อายุของวิไล = อายุของบวร - 5
= 40-5
= 35 ปี
4. จากเงื่อนไข 5. " อีก10ปีข้างหน้าอนันต์น้องชายของอมร จะมีอายุน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของอายุ
ของพ่ออยู่7ปี และน้องสาวของอมรคือ อรสาจะมีอายุเป็น 1 ใน 3 ของอายุแม่ " ดังนั้นจะหา อายุของอนันต์
ในปัจจุบัน ได้ดังนี้
อายุของอนันต์ =
=
= 10 ปี
ปขางหนา10
3
10
−
⎭
⎬
⎫
⎩
⎨
⎧ + )( ปขางหนาปจจุบันอายุวิไลใน
10
3
1035
−
⎭
⎬
⎫
⎩
⎨
⎧ +
นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
19เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
ชื่อ บวร วิไล อมร อนันต อรสา กมล วิรัช
อายุ 40 35 12 8 5 38 8
5. จากเงื่อนไขที่ 5 เช่นเดียวกัน “อีก 10 ปีข้างหน้า อนันต์น้องชายของอมรจะมีอายุน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง
ของอายุของพ่ออยู่ 7 ปี และ น้องสาวของอมรคือ อรสาจะมีอายุเป็น 1 ใน 3 ของอายุแม่ ” ดังนั้น จะหา
อายุของอรสาได้ดังนี้
อายุของอรสา =
=
= 5 ปี
6.จากเงื่อนไข 1. “กมลมีอายุ 30 ปี เมื่อลูกชายของเขาคือ วิรัช เกิด" และ เงื่อนไข 2. "วิรัชมีอา
คนเดียวชื่อ วิไล มีอายุอ่อนกว่าพี่ชายอยู่ 3 ปี...” ดังนั้น วิไลจึงต้องเป็น น้องสาวของวิรัช จะหาอายุของ
กมล และวิรัชได้ดังนี้
อายุของกมล = อายุของวิไลในปัจจุบัน + 3
= 35 + 3
= 38 ปี
อายุของวิรัช = อายุของกมลในปัจจุบัน - อายุของกมลเมื่อวิรัชเกิด
= 38-30
= 8 ปี
เมื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาเรียงกัน จะได้ดังนี้
นำข้อมูลทั้งหมดไปพิจารณาข้อสรุปในคำถามข้อต่างๆ จะได้ดังนี้
ข้อ 1 ข้อสรุปที่ 1 กมลมีอายุน้อยกว่าบวร 3 ปี
ผิด เพราะ กมลมีอายุน้อยกว่า บวร 2 ปี
ข้อสรุปที่ 2 อนันต์มีอายุมากกว่าวิรัช
ผิด เพราะมีอายุ 8 ปี เท่ากัน
ปขางหนา10
3
10
−
⎭
⎬
⎫
⎩
⎨
⎧ + )( ปขางหนาปจจุบันอายุวิไลใน
10
3
1035
−
⎭
⎬
⎫
⎩
⎨
⎧ +
นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
20 เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
ข้อ 2 ข้อสรุปที่ 1 ตอนอนันต์เกิด วิไลมีอายุ 27 ปี
ถูก เพราะอายุของวิไลมากกว่าอนันต์ 27 ปี
ข้อสรุปที่ 2 อายุของอมร อนันต์และอรสา รวมกันได้ 25 ปี
ถูก เมื่อรวมอายุของทั้งสามคนมีอายุเท่ากับ 25 ปี
ข้อ 3 ข้อสรุปที่ 1 อายุของกมลรวมกับวิรัชแล้วมากกว่าอายุของวิไลและอมรรวมกัน
ผิด เพราะอายุของกมลรวมกับวิรัชเท่ากับ 46 ขณะที่อายุของวิไลและอมรรวมกัน
เท่ากับ 47
ข้อสรุปที่ 2 อนันต์เกิดก่อนวิรัช
สรุปไม่ได้ เพราะไม่มีข้อมูลใดบอกว่าใครเกิดก่อนใคร
การแก้ไขโดยใช้การสมมุติค่า
เป็นการแก้โจทย์โดยการสมมุติค่าใดค่าหนึ่งมาเป็นฐานในการคำนวณ โดยมากไม่ค่อยใช้ในการสอบ
ที่มีระดับความยากมากๆ แต่ก็ต้องฝึกทำความเข้าใจไว้ เพราะสามารถนำไปใช้ในการสอบประเภทอื่นๆ ได้
ตัวอย่างการคิด
เงื่อนไข
1.หอศิลป์แห่งหนึ่งจัดแสดงภาพเขียน 7 รูป ของศิลปิน 7 คน คือ กนก มนัส สุรชัย วิบูลย์
ภมร อนุวัฒน์ และฐิติ รูปแต่ละรูปถูกประเมินค่าโดยเจ้าของร้านต่างกันไป
2.รูปของฐิติ มีค่าเป็น 3 เท่า ของอนุวัฒน์
3.รูปของวิบูลย์มีค่าน้อยที่สุดในบรรดารูปทั้งหมด
4.ภาพของกนกและสุรชัย มีค่าเท่ากันพอดี
5.ภาพของมนัสมีค่าเท่ากับภาพของฐิติและอนุวัฒน์รวมกัน
6.ภาพของภมรมีค่าเท่ากับสุรชัย มนัส และฐิติรวมกัน ในขณะที่ภาพของกนกมีค่าเท่ากับฐิติและ
มนัสรวมกัน
1. ข้อสรุปที่ 1 ภาพของภมรมีค่ามากกว่าภาพของกนกอยู่ 2 เท่า)
ข้อสรุปที่ 2 ภาพของกนกรวมกับสุรชัยแล้วมีค่าไม่มากกว่าภาพของภมร
2. ข้อสรุปที่ 1 ภาพของวิบูลย์มีค่าน้อยกว่าภาพของอนุวัฒน์ 3 เท่า
ข้อสรุปที่ 2 ภาพของมนัสมีค่ามากกว่าภาพของฐิติ แต่น้อยกว่าภาพของสุรชัย
3. ข้อสรุปที่ 1 ภาพฐิติมีค่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของสุรชัย
ข้อสรุปที่ 2 ภาพของภมรรวมกับอนุวัฒน์แล้วมากกว่าของฐิติถึง 4 เท่า
นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
21เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
ภาพ กนก มนัส สุรชัย วิบูลย ภมร อนุวัฒน ฐิติ
คา 7 4 7 14 1 3
วิธีคิด
1.พิจารณาหาตัวแปรที่เกี่ยวข้อง จะพบว่ามีอยู่ 2 ตัว คือ รูปและค่าของรูป
2.จากเงื่อนไขทั้งหมดดูแล้วจะมีเงื่อนไข 2. เพียงเงื่อนไขเดียวที่ใช้เริ่มต้นได้ โดยเงื่อนไขกำหนดว่า
“รูปของฐิติมีค่าเป็น 3 เท่าของอนุวัฒน์” เพราะมีตัวเลขที่ใช้เปรียบเทียบกันได้
ดังนั้น จึงสมมุติค่าของ รูปของอนุวัฒน์ = 1
และ รูปของฐิติจะมีค่า = 3 (3 X 1)
3.จากเงื่อนไข 5. “ภาพของมนัส มีค่าเท่ากับ ภาพของฐิติและอนุวัฒน์รวมกัน”
ดังนั้น ภาพของมนัสจะมีค่า = 4 (1+3)
4.จากเงื่อนไข 6 “ภาพของภมรมีค่าเท่ากับสุรชัย มนัส และฐิติรวมกัน ในขณะที่ภาพของกนกมีค่า
เท่ากับฐิติและมนัสรวมกัน”
ดังนั้น ภาพของกนก มีค่า = 7 (4+3)
และจากเงื่อนไข 4. "ภาพของกนกและสุรชัย มีค่าเท่ากันพอดี"
ดังนั้น ภาพของสุรชัย มีค่า = 7
5.จากเงื่อนไข 6 “ภาพของภมรมีค่าเท่ากับสุรชัยมนัสและฐิติรวมกัน ในขณะที่ภาพของกนกมีค่า
เท่ากับฐิติและมนัสรวมกัน”
ดังนั้น ภาพของภมรมีค่า = 14 (7+4+3)
ถ้านำมาเขียนเป็นภาพจะได้ดังนี้
นำข้อมูลทั้งหมดไปพิจารณาข้อสรุปในคำถามข้อต่างๆ จะได้ดังนี้
ข้อ1. ข้อสรุปที่ 1 ภาพของภมรมีค่ามากกว่าภาพของกนกอยู่ 2 เท่า
ถูก เพราะภาพของกนกมีค่าสมมุติเท่ากับ 7 ในขณะที่ของภมรเท่ากับ 14
ข้อสรุปที่ 2 ภาพของกนกรวมกับสุรชัยแล้วมีค่าไม่มากกว่าภาพของภมร
ถูก เพราะภาพของกนกรวมกับสุรชัยเท่ากับ 14 เท่ากับของภมร
นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
22 เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
ข้อ 2. ข้อสรุปที่ 1 ภาพของวิบูลย์มีค่าน้อยกว่าภาพของอนุวัฒน์ 3 เท่า
สรุปไม่ได้ เพราะไม่มีข้อมูลใดๆ บอกว่าภาพของวิบูลย์มีค่าเท่าใด จึงไม่อาจเปรียบ
เทียบได้
ข้อสรุปที่ 2 ภาพของมนัสมีค่ามากกว่าภาพของฐิติ แต่น้อยกว่าภาพของสุรชัย
ถูก เพราะภาพของมนัสเท่ากับ 4 ของฐิติเท่ากับ 3 และของสุรชัย เท่ากับ 7
ข้อ 3. ข้อสรุปที่ 1 ภาพฐิติมีค่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของสุรชัย
ผิด เพราะภาพของฐิติเท่ากับ 3 ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของสุรชัยซึ่งมีค่าเท่ากับ 7
ข้อสรุปที่ 2 ภาพของภมรรวมกับอนุวัฒน์แล้วมากกว่าของฐิติถึง 4 เท่า
ผิด เพราะภาพของภมรรวมกับอนุวัฒน์ได้เท่ากับ 15 เป็น 5 เท่า
ของฐิติซึ่งมีค่าเท่ากับ 3
นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
23เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
แบบฝึกหัด
โจทย์ข้อ 1.
เงื่อนไข
1. A, B, C, D, E, F, และ G เป็นตัวอักษรแทนค่าเลขจำนวนเต็มระหว่าง 1 – 10 ซึ่งมีค่าเรียงติดกัน
2. D น้อยกว่า A อยู่ 3
3. B มีค่าอยู่กึ่งกลาง
4. F น้อยกว่า B เท่ากับที่ C มากกว่า D
5. G มากกว่า F
ข้อ 1. ข้อสรุปที่ 1 G มีค่ามากที่สุด
ข้อสรุปที่ 2 B มีค่าน้อยกว่า C
ข้อ 2. ข้อสรุปที่ 1 B มีค่าเท่ากับ 5
ข้อสรุปที่ 2 D มีค่าน้อยที่สุด
ข้อ 3. ข้อสรุปที่ 1 D มีค่ามากกว่า B
ข้อสรุปที่ 2 E มีค่ามากกว่า F
วิธีการคิด ดูรายละเอียดในตอนท้ายบท
คำตอบ1)ก.ถูก/ถูก2)ง.สรุปไม่ได้/ผิด3)ข.ผิด/ผิด
นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
24 เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
โจทย์ข้อ 2.
เงื่อนไข
1.บริษัทแห่งหนึ่งจัดที่ทำงานให้เจ้าหน้าที่ 6 คนใหม่เพื่อความเหมาะสม โดยให้แต่ละคนมีห้องส่วนตัว
คนละ 1 ห้อง มีห้องหมายเลข 1 – 6 เรียงติดกันตามลำดับ
2.ห้องแต่ละห้องมีฉากสูง 2 เมตรกั้นเท่ากัน ดังนั้น เสียงและควันบุหรี่จึงผ่านถึงกันไม่ได้
3.งานของบวรและวิทย์ต้องพูดโทรศัพท์ตลอดวันทำให้มีเสียงดัง
4.วิทย์และดำรงต้องปรึกษางานกันอยู่เสมอจึงต้องการอยู่ติดกัน
5.กนกพรเป็นพนักงานอาวุโส จองห้องที่ 5 ซึ่งมีหน้าต่างใหญ่ที่สุด
6.ประกอบต้องการให้ห้องติดกับห้องเขามีเสียงเงียบ ๆ
7.อรัญ วิทย์และประกอบสูบบุหรี่ ในขณะที่กนกพรแพ้ควันบุหรี่ และต้องการให้ห้องติดกับเธอ ไม่ใช่คน
สูบบุหรี่
ข้อ 1. ข้อสรุปที่ 1 บวรอยู่ห้องติดกับอรัญ
ข้อสรุปที่ 2 วิทย์อยู่ห้องถัดจากประกอบ
ข้อ 2. ข้อสรุปที่ 1 บวรไม่สูบบุหรี่
ข้อสรุปที่ 2 ห้องของดำรงอยู่กลางระหว่างวิทย์กับกนกพร
ข้อ 3. ข้อสรุปที่ 1 ห้องของประกอบอยู่ห่างจากกนกพร 4 ห้อง
ข้อสรุปที่ 2 เมื่อเทียบระหว่างอรัญกับประกอบแล้ว ห้องของประกอบอยู่ใกล้กับดำรงมากกว่า
คำตอบ1)ข.ผิด/ผิด2)ก.ถูก/ถูก3)ง.ถูก/ผิด
วิธีการคิด ดูรายละเอียดในตอนท้ายบท
นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
25เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
โจทย์ข้อที่ 3
เงื่อนไข
1.ในการประกวดสุนัข มีสุนัข 4 พันธุ์ที่ชนะรางวัลที่ 1 – 4 โดยไม่ได้เรียงลำดับ คือ พันธุ์ปักกิ่ง บอกเซอร์
ไทย และโดเบอร์แมน
2.เจ้าของสุนัขแต่ละตัวมี อดิศร เฟื่องฟ้า กฤษณ์ และธนู ในขณะที่สุนัขแต่ละตัวมีชื่อ แจ๊ค ป๊อบ
ดิ๊กกี้ และแม๊ค
3.สุนัขของกฤษณ์ไม่ชนะรางวัลที่ 1 หรือรางวัลที่ 2
4.สุนัขพันธุ์ไทยชนะรางวัลที่ 1
5.สุนัขที่ชื่อแม๊คชนะรางวัลที่ 2
6.สุนัขพันธุ์ปักกิ่งชื่อ แจ๊ค
7.สุนัขของธนูชื่อป๊อบ ส่วนสุนัขของเฟื่องฟ้า คือ พันธุ์โดเบอร์แมน และชนะรางวัลที่ 4
ข้อ 1. ข้อสรุปที่ 1 สุนัขของธนูเป็นพันธุ์บ๊อกเซอร์
ข้อสรุปที่ 2 สุนัขของอดิศรชนะรางวัลที่ 1
ข้อ 2. ข้อสรุปที่ 1 สุนัขของเฟื่องฟ้าชื่อดิ๊กกี้
ข้อสรุปที่ 2 สุนัขของธนูชนะสุนัขของอดิศร
ข้อ 3. ข้อสรุปที่ 1 สุนัขพันธุ์ไทยชื่อป๊อบ
ข้อสรุปที่ 2 แจ๊คเป็นสุนัขของอดิศร
คำตอบ1)ข.ผิด/ผิด2)ก.ถูก/ถูก3)ง.ถูก/ผิด
วิธีการคิด ดูรายละเอียดในตอนท้ายบท
นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
26 เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
โจทย์ข้อที่ 4
เงื่อนไข
1.พนม ทินกร วิทยาและสุชาติมีที่อยู่กันคนละแห่งคือหมู่บ้านลาดหญ้าบ้านบาก หนองบัวและเนินสูง
ซึ่งไม่ได้เรียงกันตามลำดับ
2.หมู่บ้านแต่ละแห่งอยู่ในตำบลต่าง ๆ กันไป คือ น้ำเย็น บ้านนา พระนอน แม่บัว ซึ่งไม่ได้เรียงกัน
ตามลำดับ
3.ตำบลแต่ละแห่งอยู่ในอำเภอต่าง ๆ กันคือ พนาไทร ไกรลาส สามมิตรและเมือง
4.ทินกรอยู่ตำบลพระนอน ในขณะที่พนมอยู่ในอำเภอสามมิตร
5.หมู่บ้านเนินสูงอยู่ในตำบลบ้านนาในอำเภอไกรลาส
6.คนหนึ่งอยู่ตำบลน้ำเย็นในอำเภอเมือง
7.สุชาติอยู่ที่บ้านบาก
ข้อ 1. ข้อสรุปที่ 1 พนมอยู่ที่บ้านหนองบัว
ข้อสรุปที่ 2 ทินกรอยู่ที่หมู่บ้านบ้านลาด
ข้อ 2. ข้อสรุปที่ 1 คนที่อยู่ในตำบลน้ำเย็น คือ วิทยา
ข้อสรุปที่ 2 บ้านหนองบัวอยู่ในอำเภอสามมิตร
ข้อ 3. ข้อสรุปที่ 1 คนที่อยู่ในอำเภอไกรลาส คือ วิทยา
ข้อสรุปที่ 2 คนที่อยู่ในอำเภอพนาไพร คือ ทินกร
ข้อ 4. ข้อสรุปที่ 1 บ้านบากอยู่ในตำบลน้ำเย็น
ข้อสรุปที่ 2 วิทยาไม่ได้อยู่ที่บ้านเนินสูง
ข้อ 5. ข้อสรุปที่ 1 ตำบลพระนอนมีหมู่บ้านชื่อหนองบัว
ข้อสรุปที่ 2 สุชาติอยู่ที่อำเภอเมือง
คำตอบ1)ค.สรุปไม่ได้/สรุปไม่ได้2)ง.ผิด/สรุปไม่ได้3)ก.ถูก/ถูก
4)ง.ถูก/ผิด5)ง.สรุปไม่ได้/ถูก
วิธีการคิด ดูรายละเอียดในตอนท้ายบท
นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
27เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
โจทย์ข้อที่ 5
เงื่อนไข
1.มีปลัดอำเภอบรรจุใหม่ 5 คน คือ อมร สนั่น อภิชัย ธานีและพายัพ ได้รับการแต่งตั้งให้ไปอยู่อำเภอ
ต่างๆ กัน คือ กมลาสน์ รัตนธานี นวราษฎร์ นาคบุรีและพยัคฆวิเชียร
2.อักษรตัวสุดท้ายของชื่อปลัดแต่ละคน ไม่ตรงกับอักษรตัวหน้าของชื่ออำเภอที่แต่ละคนไปอยู่
3.อำเภอแต่ละแห่งห่างไกลจากกรุงเทพ ฯ ดังนี้ คือ 400, 420, 450, 470 และ 500 กิโลเมตร และ
แต่ละ อำเภอประชาชนส่วนใหญ่จะมีอาชีพต่าง ๆ กันดังนี้ คือ ทำไร่อ้อย, หาของป่า, ประมง, น้ำเค็ม,
ทำนาและประมงน้ำจืด, อุตสาหกรรม
4.อำเภอที่อภิชัยไปอยู่ห่างไกลจากกรุงเทพ ฯ มากที่สุดและยังมีป่าไม้เหลืออยู่มาก
5.พายัพไปอยู่ที่อำเภอกมลาสน์ซึ่งอยู่ไกลกว่าอำเภอที่สนั่นไปอยู่ 50 กิโลเมตร
6.ธานีได้ไปอยู่อำเภอที่ประชาชนส่วนใหญ่ทำนาและประมงน้ำจืด
7.อำเภอที่อมรไปอยู่ไกลกว่าที่สนั่นไปอยู่ 20 กิโลเมตร และประชาชนไม่ได้มีอาชีพหาของป่า
และประมงน้ำเค็ม
8.ประชาชนที่อำเภอพยัคฆวิเชียรมีอาชีพอุตสาหกรรม
9.อำเภอนวราษฎร์อยู่ใกล้กรุงเทพ ฯ มากกว่าอำเภอนาคบุรี
10.คนที่สอบได้ที่ดีกว่าจะได้รับการบรรจุให้อยู่อำเภอที่ใกล้กว่า
ข้อ 1. ข้อสรุปที่ 1 สนั่นสอบได้ที่ดีกว่าคนอื่น
ข้อสรุปที่ 2 ธานีอยู่ที่อำเภอพยัคฆวิเชียร
ข้อ 2. ข้อสรุปที่ 1 อำเภอที่อภิชัยอยู่ห่างจากกรุงเทพ ฯ มากกว่าอมร 80 กิโลเมตร
ข้อสรุปที่ 2 อมรอยู่ที่อำภอนวราษฎร์
ข้อ 3. ข้อสรุปที่ 1 อำเภอที่อภิชัยอยู่ประชาชนมีอาชีพหาของป่า
ข้อสรุปที่ 2 อำเภอรัตนธานีประชาชนประกอบอาชีพประมงน้ำจืดมากกว่าทำนา
ข้อ 4. ข้อสรุปที่ 1 ธานีสอบได้ที่ดีกว่าอมร
ข้อสรุปที่ 2 เทียบกันในระหว่าง 5 คน พายัพสอบได้เป็นลำดับ 2
ข้อ 5. ข้อสรุปที่ 1 อำเภอรัตนธานีอยู่ห่างจากกรุงเทพ ฯ 400 เมตร
ข้อสรุปที่ 2 อำเภอที่พายัพอยู่ประชาชนไม่ได้ประกอบอาชีพทำไร่อ้อย
คำตอบ1)ง.ถูก/ผิด2)ก.ถูก/ถูก3)ค.สรุปไม่ได้/สรุปไม่ได้
4)ข.ผิด/ผิด5)ง.ผิด/ถูก
วิธีการคิด ดูรายละเอียดในตอนท้ายบท
นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

ข้อสอบความรู้ทั่วไป
ข้อสอบความรู้ทั่วไปข้อสอบความรู้ทั่วไป
ข้อสอบความรู้ทั่วไปRattarida Thatid
 
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ. พ.ศ. 2540
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ. พ.ศ. 2540แนวข้อสอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ. พ.ศ. 2540
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ. พ.ศ. 2540ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ นักวิชาการคอมพิวเตอร์และทุกตำแหน่งอื่นๆที่ต้องมีคว...
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ นักวิชาการคอมพิวเตอร์และทุกตำแหน่งอื่นๆที่ต้องมีคว...แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ นักวิชาการคอมพิวเตอร์และทุกตำแหน่งอื่นๆที่ต้องมีคว...
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ นักวิชาการคอมพิวเตอร์และทุกตำแหน่งอื่นๆที่ต้องมีคว...ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบพรบ.เทศบาล 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
แนวข้อสอบพรบ.เทศบาล 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติมแนวข้อสอบพรบ.เทศบาล 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
แนวข้อสอบพรบ.เทศบาล 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติมsasithorn pachareon
 
แนวข้อสอบเตรียมสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 154 ข้อ
แนวข้อสอบเตรียมสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป  154 ข้อแนวข้อสอบเตรียมสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป  154 ข้อ
แนวข้อสอบเตรียมสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 154 ข้อประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบเตรียมสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน ..เก็ง....... ดัก.......-เดา.........
แนวข้อสอบเตรียมสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน ..เก็ง....... ดัก.......-เดา.........แนวข้อสอบเตรียมสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน ..เก็ง....... ดัก.......-เดา.........
แนวข้อสอบเตรียมสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน ..เก็ง....... ดัก.......-เดา.........ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ และนักจัดการงานทั่วไป สอบท้องถิ่น
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ และนักจัดการงานทั่วไป สอบท้องถิ่นแนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ และนักจัดการงานทั่วไป สอบท้องถิ่น
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ และนักจัดการงานทั่วไป สอบท้องถิ่นประพันธ์ เวารัมย์
 
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบั...
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบั...แนวข้อสอบพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบั...
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบั...ประพันธ์ เวารัมย์
 

La actualidad más candente (20)

ข้อสอบความรู้ทั่วไป
ข้อสอบความรู้ทั่วไปข้อสอบความรู้ทั่วไป
ข้อสอบความรู้ทั่วไป
 
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ. พ.ศ. 2540
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ. พ.ศ. 2540แนวข้อสอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ. พ.ศ. 2540
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ. พ.ศ. 2540
 
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540แนวข้อสอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
 
แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ...
แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ...แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ...
แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ...
 
แนวข้อสอบ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
แนวข้อสอบ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539แนวข้อสอบ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
แนวข้อสอบ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ นักวิชาการคอมพิวเตอร์และทุกตำแหน่งอื่นๆที่ต้องมีคว...
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ นักวิชาการคอมพิวเตอร์และทุกตำแหน่งอื่นๆที่ต้องมีคว...แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ นักวิชาการคอมพิวเตอร์และทุกตำแหน่งอื่นๆที่ต้องมีคว...
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ นักวิชาการคอมพิวเตอร์และทุกตำแหน่งอื่นๆที่ต้องมีคว...
 
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่...
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่...สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่...
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่...
 
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
 
แนวข้อสอบจริง 75 ข้อ
แนวข้อสอบจริง  75 ข้อแนวข้อสอบจริง  75 ข้อ
แนวข้อสอบจริง 75 ข้อ
 
แนวข้อสอบจริง 75 ข้อ
แนวข้อสอบจริง  75 ข้อแนวข้อสอบจริง  75 ข้อ
แนวข้อสอบจริง 75 ข้อ
 
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
 
แนวข้อสอบพรบ.เทศบาล 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
แนวข้อสอบพรบ.เทศบาล 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติมแนวข้อสอบพรบ.เทศบาล 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
แนวข้อสอบพรบ.เทศบาล 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
 
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเต...
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเต...แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเต...
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเต...
 
แนวข้อสอบเตรียมสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 154 ข้อ
แนวข้อสอบเตรียมสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป  154 ข้อแนวข้อสอบเตรียมสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป  154 ข้อ
แนวข้อสอบเตรียมสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 154 ข้อ
 
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534แนวข้อสอบพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534
 
แนวข้อสอบเตรียมสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน ..เก็ง....... ดัก.......-เดา.........
แนวข้อสอบเตรียมสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน ..เก็ง....... ดัก.......-เดา.........แนวข้อสอบเตรียมสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน ..เก็ง....... ดัก.......-เดา.........
แนวข้อสอบเตรียมสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน ..เก็ง....... ดัก.......-เดา.........
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ และนักจัดการงานทั่วไป สอบท้องถิ่น
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ และนักจัดการงานทั่วไป สอบท้องถิ่นแนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ และนักจัดการงานทั่วไป สอบท้องถิ่น
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ และนักจัดการงานทั่วไป สอบท้องถิ่น
 
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
 
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560
 
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบั...
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบั...แนวข้อสอบพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบั...
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบั...
 

Más de ประพันธ์ เวารัมย์

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้และนักวิชาการจัดเก็บรายได้
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้และนักวิชาการจัดเก็บรายได้แนวข้อสอบเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้และนักวิชาการจัดเก็บรายได้
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้และนักวิชาการจัดเก็บรายได้ประพันธ์ เวารัมย์
 
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินครั้งที่ 2 เพื่อคัดเลือกพนักงานราชกา...
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินครั้งที่ 2 เพื่อคัดเลือกพนักงานราชกา...ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินครั้งที่ 2 เพื่อคัดเลือกพนักงานราชกา...
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินครั้งที่ 2 เพื่อคัดเลือกพนักงานราชกา...ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ชุดที่ 2
แนวข้อสอบข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  ชุดที่ 2แนวข้อสอบข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  ชุดที่ 2
แนวข้อสอบข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ชุดที่ 2ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงาน/นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงาน/นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแนวข้อสอบเจ้าพนักงาน/นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงาน/นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประพันธ์ เวารัมย์
 
สรุปแผนยุทธศาสตร์แผนกรมพัฒนาชุมชน
สรุปแผนยุทธศาสตร์แผนกรมพัฒนาชุมชนสรุปแผนยุทธศาสตร์แผนกรมพัฒนาชุมชน
สรุปแผนยุทธศาสตร์แผนกรมพัฒนาชุมชนประพันธ์ เวารัมย์
 
ประกาศรายชื่อมีสิทธิเข้ารับการประเมินฯ กำหนดวัน เวลา สถานที่ และระเบียบฯ เพื่...
ประกาศรายชื่อมีสิทธิเข้ารับการประเมินฯ กำหนดวัน เวลา สถานที่ และระเบียบฯ เพื่...ประกาศรายชื่อมีสิทธิเข้ารับการประเมินฯ กำหนดวัน เวลา สถานที่ และระเบียบฯ เพื่...
ประกาศรายชื่อมีสิทธิเข้ารับการประเมินฯ กำหนดวัน เวลา สถานที่ และระเบียบฯ เพื่...ประพันธ์ เวารัมย์
 
รวมแนวข้อสอบทีเคยออกชุดพิเศษ (แนวข้อสอบเก่า)
รวมแนวข้อสอบทีเคยออกชุดพิเศษ (แนวข้อสอบเก่า)รวมแนวข้อสอบทีเคยออกชุดพิเศษ (แนวข้อสอบเก่า)
รวมแนวข้อสอบทีเคยออกชุดพิเศษ (แนวข้อสอบเก่า)ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประพันธ์ เวารัมย์
 
หัวข้อสอบเตรียมสอบ นักวิเคราะห์นโยบายบายและแผน สังกัดท้องถิ่น
หัวข้อสอบเตรียมสอบ นักวิเคราะห์นโยบายบายและแผน สังกัดท้องถิ่น หัวข้อสอบเตรียมสอบ นักวิเคราะห์นโยบายบายและแผน สังกัดท้องถิ่น
หัวข้อสอบเตรียมสอบ นักวิเคราะห์นโยบายบายและแผน สังกัดท้องถิ่น ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบท้องถิ่น บรรจุแต่งตั้งสังกัดอบต. เทศบาล อบจ. และเมืองพัทยา จำนวน 211...
แนวข้อสอบท้องถิ่น บรรจุแต่งตั้งสังกัดอบต. เทศบาล อบจ. และเมืองพัทยา จำนวน 211...แนวข้อสอบท้องถิ่น บรรจุแต่งตั้งสังกัดอบต. เทศบาล อบจ. และเมืองพัทยา จำนวน 211...
แนวข้อสอบท้องถิ่น บรรจุแต่งตั้งสังกัดอบต. เทศบาล อบจ. และเมืองพัทยา จำนวน 211...ประพันธ์ เวารัมย์
 
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึง ฉบ...
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึง ฉบ...สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึง ฉบ...
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึง ฉบ...ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบ เตรียมสอบจังหวัดศรีสะเกษ (แนวข้อสอบเก่า)
แนวข้อสอบ เตรียมสอบจังหวัดศรีสะเกษ (แนวข้อสอบเก่า)แนวข้อสอบ เตรียมสอบจังหวัดศรีสะเกษ (แนวข้อสอบเก่า)
แนวข้อสอบ เตรียมสอบจังหวัดศรีสะเกษ (แนวข้อสอบเก่า)ประพันธ์ เวารัมย์
 
นักวิชาการเกษตร(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)
นักวิชาการเกษตร(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)นักวิชาการเกษตร(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)
นักวิชาการเกษตร(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)ประพันธ์ เวารัมย์
 
นักวิชาการตรวจสอบภายใน(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)
นักวิชาการตรวจสอบภายใน(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)นักวิชาการตรวจสอบภายใน(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)
นักวิชาการตรวจสอบภายใน(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)ประพันธ์ เวารัมย์
 

Más de ประพันธ์ เวารัมย์ (20)

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้และนักวิชาการจัดเก็บรายได้
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้และนักวิชาการจัดเก็บรายได้แนวข้อสอบเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้และนักวิชาการจัดเก็บรายได้
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้และนักวิชาการจัดเก็บรายได้
 
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินครั้งที่ 2 เพื่อคัดเลือกพนักงานราชกา...
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินครั้งที่ 2 เพื่อคัดเลือกพนักงานราชกา...ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินครั้งที่ 2 เพื่อคัดเลือกพนักงานราชกา...
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินครั้งที่ 2 เพื่อคัดเลือกพนักงานราชกา...
 
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
 
แนวข้อสอบข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ชุดที่ 2
แนวข้อสอบข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  ชุดที่ 2แนวข้อสอบข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  ชุดที่ 2
แนวข้อสอบข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ชุดที่ 2
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงาน/นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงาน/นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแนวข้อสอบเจ้าพนักงาน/นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงาน/นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
 
สรุปแผนยุทธศาสตร์แผนกรมพัฒนาชุมชน
สรุปแผนยุทธศาสตร์แผนกรมพัฒนาชุมชนสรุปแผนยุทธศาสตร์แผนกรมพัฒนาชุมชน
สรุปแผนยุทธศาสตร์แผนกรมพัฒนาชุมชน
 
แนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณ
แนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณแนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณ
แนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณ
 
ประกาศรายชื่อมีสิทธิเข้ารับการประเมินฯ กำหนดวัน เวลา สถานที่ และระเบียบฯ เพื่...
ประกาศรายชื่อมีสิทธิเข้ารับการประเมินฯ กำหนดวัน เวลา สถานที่ และระเบียบฯ เพื่...ประกาศรายชื่อมีสิทธิเข้ารับการประเมินฯ กำหนดวัน เวลา สถานที่ และระเบียบฯ เพื่...
ประกาศรายชื่อมีสิทธิเข้ารับการประเมินฯ กำหนดวัน เวลา สถานที่ และระเบียบฯ เพื่...
 
แนวข้อสอบท้องถิ่น 407 ข้อ
แนวข้อสอบท้องถิ่น 407 ข้อแนวข้อสอบท้องถิ่น 407 ข้อ
แนวข้อสอบท้องถิ่น 407 ข้อ
 
แนวข้อสอบท้องถิ่น
แนวข้อสอบท้องถิ่นแนวข้อสอบท้องถิ่น
แนวข้อสอบท้องถิ่น
 
รวมแนวข้อสอบทีเคยออกชุดพิเศษ (แนวข้อสอบเก่า)
รวมแนวข้อสอบทีเคยออกชุดพิเศษ (แนวข้อสอบเก่า)รวมแนวข้อสอบทีเคยออกชุดพิเศษ (แนวข้อสอบเก่า)
รวมแนวข้อสอบทีเคยออกชุดพิเศษ (แนวข้อสอบเก่า)
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
 
หัวข้อสอบเตรียมสอบ นักวิเคราะห์นโยบายบายและแผน สังกัดท้องถิ่น
หัวข้อสอบเตรียมสอบ นักวิเคราะห์นโยบายบายและแผน สังกัดท้องถิ่น หัวข้อสอบเตรียมสอบ นักวิเคราะห์นโยบายบายและแผน สังกัดท้องถิ่น
หัวข้อสอบเตรียมสอบ นักวิเคราะห์นโยบายบายและแผน สังกัดท้องถิ่น
 
แนวข้อสอบท้องถิ่น บรรจุแต่งตั้งสังกัดอบต. เทศบาล อบจ. และเมืองพัทยา จำนวน 211...
แนวข้อสอบท้องถิ่น บรรจุแต่งตั้งสังกัดอบต. เทศบาล อบจ. และเมืองพัทยา จำนวน 211...แนวข้อสอบท้องถิ่น บรรจุแต่งตั้งสังกัดอบต. เทศบาล อบจ. และเมืองพัทยา จำนวน 211...
แนวข้อสอบท้องถิ่น บรรจุแต่งตั้งสังกัดอบต. เทศบาล อบจ. และเมืองพัทยา จำนวน 211...
 
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึง ฉบ...
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึง ฉบ...สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึง ฉบ...
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึง ฉบ...
 
แนวข้อสอบ เตรียมสอบจังหวัดศรีสะเกษ (แนวข้อสอบเก่า)
แนวข้อสอบ เตรียมสอบจังหวัดศรีสะเกษ (แนวข้อสอบเก่า)แนวข้อสอบ เตรียมสอบจังหวัดศรีสะเกษ (แนวข้อสอบเก่า)
แนวข้อสอบ เตรียมสอบจังหวัดศรีสะเกษ (แนวข้อสอบเก่า)
 
นักวิชาการเกษตร(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)
นักวิชาการเกษตร(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)นักวิชาการเกษตร(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)
นักวิชาการเกษตร(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)
 
นักวิชาการตรวจสอบภายใน(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)
นักวิชาการตรวจสอบภายใน(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)นักวิชาการตรวจสอบภายใน(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)
นักวิชาการตรวจสอบภายใน(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)
 

แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)

  • 1. หน้า 1 จาก 1 (แจกฟรี) ประพันธ์ เวารัมย์ (ไม่มีลิขสิทธิ์) http://pun2013.bth.cc แจกฟรี https://www.facebook.com/prapun2523 แนวข้อสอบภาค ก. ก.พ. ท้องถิ่น และกระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจต่างๆ http://valrom.igetweb.com
  • 2. 1เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป 1.โครงสร้างของข้อสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ข้อสอบภาคนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.วิชาความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์ และสรุปเหตุผล (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) เป็นการทดสอบความสามารถในการศึกษาวิเคราะห์และสรุปเหตุผล โดยการให้สรุปความหรือให้จับ ประเด็นในข้อความ หรือเรื่องราว หรือให้วิเคราะห์เหตุการณ์ หรือสรุปเหตุผลทางการเมืองเศรษฐกิจหรือสังคม หรือให้หาแนวโน้ม หรือความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเป็นไปตามข้อมูลหรือสมมติฐาน หรือให้ศึกษาหาเหตุผล แล้วสรุปความอุปมาอุปไมย โดยอาศัยความรู้ทั่วไปและคิดหาเหตุผลด้วยตัวเลข 2.วิชาภาษาไทย ( คะแนนเต็ม 100 คะแนน ) เป็นการทดสอบความรู้เกี่ยวกับ 2.1 คำศัพท์ ในเรื่องของการเขียนสะกดคำ การอ่านคำ และความหมายของคำหรือกลุ่มคำ 2.2 ความเข้าใจภาษา ได้แก่ การอ่านและทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทความ หรือข้อความที่กำหนด ให้แล้วตอบคำถามที่ให้มาในแต่ละบทความ หรือข้อความ ทั้งนี้รวมถึงการสรุปความและการตีความหมายด้วย 2.3 การเขียน ได้แก่ การเลือกใช้กลุ่มคำ หรือสำนวนต่างๆ การเขียนประโยคให้ถูกต้องตามหลัก ภาษาและการเรียงข้อความ 2.ลักษณะของข้อสอบ ข้อสอบภาควิชาความรู้ความสามารถทั่วไป ในส่วนความสามารถในการศึกษาวิเคราะห์และสรุปเหตุผล นั้น ข้อสอบมักเป็นข้อสอบเพื่อวัดเชาวน์ปัญญา ( Aptitude test ) มากกว่าจะวัดว่า ผู้เข้าสอบท่านใดใคร มีความรู้มากกว่ากันในวิชาที่เรียนมา ดังนั้น จึงไม่แปลกแต่อย่างใดที่ผู้ที่เรียนหนังสือเก่งๆ ได้คะแนนสอบดีๆ ในการเรียนปกติ จะสอบตก ในวิชานี้ ในขณะที่พวกที่เรียนไม่เก่งในวิชาเรียนปกติ บางคนกลับทำคะแนนในข้อสอบวิชานี้ได้ดีกว่า ข้อสอบนี้จะวัดสติปัญญา เชาวน์ ไหวพริบ ปฏิภาณ การช่างสังเกต การแก้ไข ปัญหาเฉพาะหน้า และ ความรวดเร็วของแต่ละคนเป็นหลัก มิใช่เพื่อวัดความเป็นเลิศหรือความเป็นอัจฉริยะในทางวิชาการ 1 บทนำ นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
  • 3. 2 เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป 3.ประเภทของข้อสอบ เท่าที่ผ่านมา ข้อสอบวิชา ก.พ. นี้จะมีแนวข้อสอบอยู่ 3 กลุ่มใหญ่ คือ การวัดความสามารถทาง ด้าน ความมีเหตุผล ( Reasoning ) ด้านตัวเลข ( Numerical ) และ ด้านภาษา ( Verbal ) ซึ่งสามารถแยกย่อย ออกได้ เป็น 7 ประเภท เรียงตามความยากง่าย ดังนี้ 1.การวิเคราะห์สรุปเหตุผลจากเงื่อนไขภาษา ประมาณ 10 ข้อ ( เหตุผล ) 2.การวิเคราะห์สรุปเหตุผลจากเงื่อนไขทางสัญลักษณ์ ประมาณ 10 ข้อ (เหตุผล ) 3.อนุกรมตัวเลข ประมาณ 5 ข้อ ( ตัวเลข ) 4.คำอุปมาอุปไมย ประมาณ 10 ข้อ ( เหตุผล ) 5.คณิตศาสตร์ทั่วไป ประมาณ 5 ข้อ ( ตัวเลข ) 6.การอ่านจับใจความ ประมาณ 5 ข้อ ( ภาษา ) 7.การแปลความหมายจากกราฟ ตารางหรือแผนภูมิ ประมาณ 5 ข้อ ( ตัวเลข ) ประเภทข้อสอบ 3 ประเภทแรกจัดได้ว่ายากที่สุด และกินเวลาในการคิดมากที่สุด ผู้เข้าสอบส่วนมาก จะทำข้อสอบประเภทนี้ไม่ได้ อย่างไรก็ดี ข้อสอบ 3 ประเภทนี้ ถ้าหากได้มีการทำความเข้าใจและฝึกฝนดีๆ แล้ว ข้อสอบประเภทนี้ก็จะกลายเป็นข้อสอบที่ทำคะแนนให้ได้เหมือนกัน เพราะข้อสอบ 3 ประเภทนี้ คือ ครึ่งหนึ่งของข้อสอบ ก.พ. ทั้งหมดนั่นเอง ส่วนข้อสอบประเภทที่ 4 และ 5 นั้น ถือได้ว่าเป็นข้อสอบที่มีความยากอยู่ในระดับปานกลาง ผู้เข้าสอบ ควรจะเก็บคะแนนจากข้อสอบ 2 ประเภทนี้ได้ครึ่งหนึ่งเป็นอย่างน้อย อย่างไรก็ดี ข้อสอบในประเภทนี้ต้อง อาศัยความรอบคอบพอสมควร สำหรับข้อสอบประเภทที่ 6 และ 7 นั้น คือ ข้อสอบที่ทุกคนควรจะทำได้เพื่อเป็นคะแนนสำรองไว้ให้ กับตัวเอง เวลาที่ใช้ในข้อสอบประเภทนี้ก็น้อยมาก 4.วิธีการใช้หนังสือ หนังสือเล่มนี้จะครอบคลุมเฉพาะในส่วนที่เป็นวิชาความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล เท่านั้น ในส่วนวิชาภาษาไทย เชื่อว่า ผู้อ่านคงหาได้จากหนังสือเล่มอื่น ๆ และโดยทั่วไปวิชาภาษาไทยข้อสอบ จะไม่ยากนัก ส่วนใหญ่จะทำกันได้พอสมควร และที่สอบตกกันก็ไม่ใช่ส่วนนี้ แต่จะเป็นส่วนความสามารถใน การศึกษา วิเคราะห์ และสรุปเหตุผล หนังสือเล่มนี้จึงเน้นเฉพาะวิชาที่ผู้เข้าสอบส่วนใหญ่ทำไม่ได้เป็นหลัก วิธีการใช้หนังสือเล่มนี้ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่ามากที่สุด ขอให้ผู้อ่าน ได้อ่านเนื้อหาในแต่ละบทโดย ละเอียด พยายามทำความเข้าใจให้ได้ ถ้ายังไม่เข้าใจ อย่าได้ผ่านไป โดยในแต่ละบทจะประกอบด้วย ลักษณะ ของข้อสอบ ตัวอย่างข้อสอบ หลักในการคิด แบบฝึกหัด ให้ผู้อ่านทำความเข้าใจลักษณะของข้อสอบและลองฝึกคิดแก้โจทย์ตามตัวอย่างที่ให้ไว้ เมื่อมั่นใจพอ สมควรแล้ว ลองทำแบบฝึกหัดดู เมื่อทำเสร็จแล้วให้ดูเฉลย ถ้าไม่ถูกให้ลองฝึกทำข้อที่ผิดอีก 1–2 ครั้ง ถ้ายัง ไม่ถูกจึงค่อยกลับไปดูคำอธิบาย ทิ้งระยะไว้ช่วงหนึ่ง แล้วลองกลับมาทำแบบฝึกหัดอีกครั้งหนึ่งจนกว่าจะทำให้ คะแนนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
  • 4. 3เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป 1.ลักษณะของข้อสอบ โจทย์การวิเคราะห์สรุปเหตุผลจากเงื่อนไขภาษา ในแต่ละข้อจะประกอบด้วยเงื่อนไขภาษา หรือ ข้อมูลที่กำหนดให้ และข้อสรุปเป็นคู่ๆ โดยเงื่อนไขภาษาหรือข้อมูล ที่โจทย์กำหนดมาให้นั้นจะเป็น ข้อความสั้น-ยาว คละเคล้ากันไป ผู้เข้าสอบจะต้องมาคิดพิจารณาตีความหมายโดยอาศัยหลักเหตุและผล (Reasoning ) เป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ โดยสิ่งที่ได้จากการวิเคราะห์จะไม่มีความเกี่ยวข้องกับความเป็น จริงในโลกแต่อย่างใด เงื่อนไขแต่ละเงื่อนไขจะมีความสัมพันธ์ต่อกันและกันทั้งหมด ซึ่งโดยปกติแล้วข้อสอบที่มี ความยาก จะกำหนดเงื่อนไขมาไม่ต่ำกว่า 8 เงื่อนไข แต่โดยมากแล้วจะมีมากกว่า 10 เงื่อนไขขึ้นไป ลักษณะของเงื่อนไขแบ่งได้ตามลักษณะของข้อสอบที่ผ่าน ๆ มา ได้ 2 ลักษณะ คือ 1.เงื่อนไขทางภาษาอย่างเดียว คือ เงื่อนไขจะเป็นประโยคข้อความบอกเล่าธรรมดา เช่น - แก๊สสีเหลืองทุกชนิดติดไฟ - คนที่หลงทางไปตลาดน้ำคือ ชาวญี่ปุ่น 2.เงื่อนไขทางภาษาผสมกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น -นักเรียนชั้น ม.1 มีจำนวนเป็น 2 เท่าของนักเรียนชั้น ม.4 -ร้อยละ 20 ของผู้จบนิติศาสตร์เป็นทนายความ เป็นต้น ชุดเงื่อนไขภาษาแต่ละชุด จะไม่มีข้อมูลที่สมบูรณ์ครบถ้วน อย่างน้อยจะต้องขาดข้อมูลใดข้อมูล หนึ่งไปบ้าง ดังนั้น ผู้เข้าสอบจึงไม่ควรจะเป็นกังวลว่า มีข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่งตกหายไปหรือไม่ เพราะจุดสำคัญของข้อสอบนี้ไม่ได้ดูที่ความครบถ้วนของข้อมูล แต่อยู่ที่ การใช้เหตุผลมา เป็นหลักในการวิเคราะห์ โจทย์การวิเคราะห์สรุปเหตุผลจากเงื่อนไขภาษานี้ ในการสอบแต่ละครั้งมักจะแบ่งข้อสอบออกเป็น 2 การวิเคราะห์สรุปเหตุผลจากเงื่อนไขภาษา นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
  • 5. 4 เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป สองข้อใหญ่ ในแต่ละข้อจะมีชุดเงื่อนไขภาษา 1 ชุด และจะมีโจทย์ข้อย่อยอยู่ 5 ข้อ ดังนั้น ผู้ที่สามารถทำโจทย์ข้อสอบนี้ได้ก็มักจะทำได้ถูกหมดไปเลย แต่ถ้าทำไม่ได้ก็จะไม่ได้เลยเช่นกัน ซึ่งนี่เป็นลักษณะที่ต่างไปจากโจทย์ข้อสอบแบบอื่นๆ โจทย์การวิเคราะห์สรุปเหตุผลจากเงื่อนไขภาษานี้ คำตอบจะถูกกำหนดไว้เป็นหลักการตายตัวเพียง แต่ผู้เข้าสอบนำผลการวิเคราะห์เหตุผลจากโจทย์ มาเทียบกับข้อสรุปในข้อคำถามย่อยแต่ละข้อว่า ถูกต้อง หรือไม่ แล้วจึงนำไปเทียบกับคำตอบที่ถูกกำหนดไว้อีกทางหนึ่ง คำตอบที่ถูกกำหนดไว้นั้นมีอยู่ 4 คำตอบ คือ ก.ถ้าข้อสอบทั้งสองเป็นจริงตามเงื่อนไข ข.ถ้าข้อสอบทั้งสองไม่เป็นจริงตามเงื่อนไข ค.ถ้าข้อสรุปทั้งสองไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่าถูกหรือผิดตามเงื่อนไข ง.ถ้าข้อสรุปทั้งสองมีข้อสรุปใดข้อสรุปหนึ่งที่เป็นจริงหรือไม่เป็นจริงหรือไม่แน่ชัด ซึ่งไม่ซ้ำกับอีกข้อสรุปหนึ่ง เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ขอให้ดูจากตารางต่อไปนี้ ข้อสรุปที่ 1 ข้อสรุปที่ 2 คำตอบ ถูก ถูก ก. ผิด ผิด ข. สรุปไม่ได้ สรุปไม่ได้ ค. ถูก ผิด ง. ถูก สรุปไม่ได้ ง. ผิด ถูก ง. ผิด สรุปไม่ได้ ง. สรุปไม่ได้ ถูก ง. นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
  • 6. 5เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป 2. ตัวอย่างข้อสอบ ตัวอย่างที่ 1 ตัวอย่างนี้เป็นแบบง่ายที่ไม่ค่อยปรากฏในการสอบที่มีผู้เข้าสอบจำนวนมาก และรับจำนวนน้อย เงื่อนไข : - แก๊สสีเหลืองทุกชนิดติดไฟ - A เป็นแก๊สสีเขียวติดไฟ - B เป็นแก๊สติดไฟ - C จุดไฟติด - D เป็นแก๊สจุดไฟไม่ติด - E เป็นแก๊สสีเหลือง - F เป็นแก๊สชนิดเดียวกับ E คำถาม ข้อ 1. ข้อสรุปที่ 1 C เป็นแก๊สสีเหลือง ข้อสรุปที่ 2 แก๊สสีเขียวทุกชนิดติดไฟ ข้อ 2. ข้อสรุปที่ 1 E ติดไฟ ข้อสรุปที่ 2 D เป็นแก๊สสีอื่น ซึ่งไม่ใช่สีเหลือง ข้อ 3. ข้อสรุปที่ 1 F ไม่ติดไฟ ข้อสรุปที่ 2 A และ B มีสีเดียวกัน ตัวอย่างที่ 2 แบบเงื่อนไขภาษาอย่างเดียว เงื่อนไข -มีนักท่องเที่ยว 5 ชาติ คือ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เยอรมัน สเปน และฝรั่งเศส มาเที่ยวเมืองไทย แต่ละคนต้องการไปชมสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งไม่ซ้ำแห่งกัน -สถานที่ที่นักท่องเที่ยวแต่ละคนต้องการไปคือ วัดเบญจมบพิตร ตลาดน้ำวัดไทร วัดพระแก้ว ศาลหลักเมืองและพิพิธภัณฑ์ แต่ปรากฏว่ามีนักท่องเที่ยว 4 คน ที่หลงไปที่อื่น คือ ตลาดน้ำตลิ่งชัน วัดอรุณราชวราราม วัดโพธิ์และวัดสุทัศน์ -มีนักท่องเที่ยวที่ต้องการไปตลาดน้ำวัดไทร ไปถามทางจากนักศึกษาจึงหลงทาง ไปตลาดน้ำตลิ่งชัน -มีนักท่องเที่ยวอยู่คนหนึ่งที่ไม่ได้ถามทางใคร และไม่หลงทางไปไหน -ชาวสเปนต้องการไปชมหินอ่อนวัดเบญจมบพิตร -ชาวสิงคโปร์ไปถามทางจากคนแต่งชุดสีกากี แล้วหลงทางไปวัดโพธิ์ นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
  • 7. 6 เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป -คนญี่ปุ่นไม่ต้องการไปพิพิธภัณฑ์และหลงทางไปวัดอรุณฯ -ชาวฝรั่งเศสไปถามทางจากพระ จึงหลงทางไปที่อื่นทั้งๆ ที่จะไปศาลหลักเมือง -คนที่หลงไปตลาดน้ำตลิ่งชัน คือ ชาวเยอรมัน -มีนักท่องเที่ยวคนหนึ่งที่ถามทางจากกระเป๋ารถเมล์ คำถาม ข้อ 1 ข้อสรุปที่ 1 ชาวญี่ปุ่นไปถามทางจากกระเป๋ารถเมล์ ข้อสรุปที่ 2 ชาวสิงคโปร์ถามทางตำรวจ ข้อ 2 ข้อสรุปที่ 1 ชาวสเปนหลงทางไปวัดสุทัศน์ ข้อสรุปที่ 2 ชาวฝรั่งเศสไม่ได้หลงทาง ข้อ 3 ข้อสรุปที่ 1 นักศึกษาบอกทางคนเยอรมัน ข้อสรุปที่ 2 ชาวญี่ปุ่นต้องการไปเที่ยววัดพระแก้ว ข้อ 4 ข้อสรุปที่ 1 คนที่หลงไปวัดสุทัศน์คือคนอยากไปศาลหลักเมือง ข้อสรุปที่ 2 ชาวเยอรมันต้องการไปเที่ยวตลาดน้ำมากกว่าเที่ยววัด ข้อ 5 ข้อสรุปที่ 1 คนที่ต้องการไปพิพิธภัณฑ์กลับหลงทางไปเที่ยววัดโพธิ์ ข้อสรุปที่ 2 กระเป๋ารถเมล์ช่วยบอกทางให้กับคนที่ต้องการไปวัดเบญจมบพิตร ตัวอย่างที่ 3 แบบเงื่อนไขภาษาผสมคณิตศาสตร์ เงื่อนไข -กมลมีอายุ 30 ปี เมื่อลูกชายของเขาคือ วิรัช เกิด -วิรัช มีอาคนเดียวชื่อ วิไล มีอายุอ่อนกว่าพี่ชาย 3 ปี และอ่อนกว่าสามีของเธอคือ บวร อยู่ 5 ปี -วิไลและบวร มีลูกชาย 3 คนด้วยกันคือ อมร อนันต์ และอรสา -เมื่อ 12 ปี มาแล้ว อมรเกิดขึ้นมาในขณะที่พ่อของเขามีอายุ 28 ปี -อีก 10 ปีข้างหน้า อนันต์น้องชายของอมร จะมีอายุน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง ของอายุของพ่อ อยู่ 7 ปี และน้องสาวของอมรคือ อรสา จะมีอายุ เป็น 1 ใน 3 ของอายุแม่ นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
  • 8. 7เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป คำถาม ข้อ 1 ข้อสรุปที่ 1 กมลมีอายุน้อยกว่าบวร 3 ปี ข้อสรุปที่ 2 อนันต์มีอายุมากกว่าวิรัช ข้อ 2 ข้อสรุปที่ 1 ตอนอนันต์เกิด วิไลมีอายุ 27 ปี ข้อสรุปที่ 2 อายุของอมร อนันต์ และอรสา รวมกันได้ 25 ปี ข้อ 3 ข้อสรุปที่ 1 อายุของกมลรวมกับวิรัชแล้วมากกว่าอายุของวิไลและอมรรวมกัน ข้อสรุปที่ 2 อนันต์เกิดก่อนวิรัช 3.หลักในการทำโจทย์เงื่อนไขภาษา การทำโจทย์เงื่อนไขภาษา หากผู้เข้าสอบไม่เคยรู้ หรือเคยพบกับโจทย์แบบนี้มาก่อน คงจะต้องเสีย เวลา "งง" อยู่พอสมควรว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี หลักในการทำโจทย์เงื่อนไขภาษาที่จะนำเสนอต่อไปนี้ เป็น เพียงแนวทางที่สามารถใช้ได้ผลในทางปฏิบัติแนวทางหนึ่งเท่านั้น ผู้เข้าสอบแต่ละคนอาจจะมีหลักคิดของ ตนเองโดยไม่จำเป็นต้องเหมือนกับที่ผู้เขียนนำเสนอไว้ก็ได้ สำหรับหลักในการทำข้อสอบแบบนี้ควรจะทำตาม ลำดับดังนี้คือ อ่าน ให้อ่านเงื่อนไขภาษาที่โจทย์ให้มาให้ดี ๆ ก่อน 1 เที่ยว หาตัวแปร พิจารณาหาตัวแปร (variable) ที่เป็นเงื่อนไขในโจทย์ออกมาให้ได้ว่า มีอะไรบ้างและมีกี่ตัวเช่น สถานที่ ชื่อคน สี เพศ เป็นต้น หาความ พิจารณาดูว่าชุดเงื่อนไขที่โจทย์กำหนดมานั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร สัมพันธ์ ควรทำเป็นตารางแผนภาพ (Venn–Diagram) การสมมุติค่าหรือวิธีการอื่น ๆ ที่เหมาะสม หากุญแจ พิจารณาหาเงื่อนไขที่เป็นกุญแจ (clue) ที่จะนำไปสู่เงื่อนไขอื่น ๆ ลักษณะเงื่อนไขประเภทนี้จะมีความสมบูรณ์ (absolute) อยู่ในตัวเอง ไม่ต้องนำไปเทียบเคียงหาความสัมพันธ์กับเงื่อนไขอื่น ๆ เช่น คนไทยชอบกินข้าว ชาวสเปนต้องการไปวัดเบญจมบพิตร ทั้งนี้ เงื่อนไขใดที่ใช้ไปแล้วให้ทำเครื่องหมายกันลืมไว้ จะโดยการขีดเส้นใต้หรือขีดทับข้อความก็แล้ว แต่ และให้จดจำและระลึกอยู่เสมอว่า นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
  • 9. 8 เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป โจทย์มิได้มีเงื่อนไขที่เรียงกันมาตามลำดับ ดังนั้น ให้แก้เงื่อนไขใดก่อนก็ได้ โดยโจทย์แต่ละชุดควรใช้เวลาประมาณ 20 นาที และมากที่สุดไม่ควรเกิน 25 นาที 4.วิธีการแก้ไขโจทย์เงื่อนไขภาษา ในการแก้ไขโจทย์เงื่อนไขภาษานั้น จะมีวิธีการแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ความเหมาะสมของเงื่อนไข อย่างไรก็ตามอาจสรุปรวมได้เป็น 4 วิธี ด้วยกันคือ การแก้โดยใช้หลักตรรก เป็นการพิจารณาสมมุติฐานหรือเงื่อนไขที่ถูกกำหนดไว้ โดยใช้หลักตรรกศาสตร์ (logic) ถึงแม้ว่า ในการสอบระดับยาก ๆ จะไม่ค่อยได้ใช้มากนัก แต่ขอให้ทำความเข้าใจไว้เพื่อประโยชน์ในการสอบรับ ราชการในที่อื่น ๆ เช่น เงื่อนไข : ปลัดอำเภอทุกคนต้องเป็นชาย โจทย์ : สมศักดิ์ซึ่งเป็นผู้ชายเป็นปลัดอำเภอ ถูกต้องหรือไม่ คำตอบ : ไม่อาจสรุปได้แน่ชัดว่าถูก หรือ ผิด เพราะจากเงื่อนไขนี้เราไม่อาจรู้ได้ว่า สมศักดิ์จะเป็นปลัดอำเภอหรือไม่ เงื่อนไข : ถ้าฝนตกฉันจะอยู่บ้าน โจทย์ : ฉันไม่อยู่บ้านเพราะ ………. ก. ฝนตก ข. ฝนไม่ตก ค. ฉันไปซื้อของ ง. สรุปแน่นอนไม่ได้ คำตอบ : ข. เพราะเมื่อฉันไม่อยู่บ้านแสดงว่าฝนไม่ตก วิธีการนี้ขอให้ผู้เข้าสอบยึดสูตรในการคิดไว้ดังนี้ 1.ข้อความในเงื่อนไขซึ่งมีอยู่ 2 ข้อความในรูป ถ้า ….( 1 ) … แล้ว ….( 2 ) …. นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
  • 10. 9เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป ให้ถือข้อความที่ 1 เป็นส่วน A ข้อความที่ 2 เป็นส่วน B เช่น ข้อความ : ปลัดอำเภอต้องเป็นชาย ให้ข้อความส่วนที่ 1 คือ “ปลัดอำเภอ” เป็น A และข้อความส่วนที่ 2 “เป็นชาย” เป็น B ข้อความ : ถ้าฝนตกฉันจะอยู่บ้าน ให้ข้อความส่วนที่ 1 คือ “ถ้าฝนตก” เป็น A และข้อความส่วนที่ 2 “ฉันจะอยู่บ้าน” เป็น B ซึ่งเขียนเป็นรูปความสัมพันธ์ได้ดังนี้ ข้อความ A ———————————> B ปลัดอำเภอ ———————————-> เป็นชาย ถ้าฝนตก ———————————> ฉันจะอยู่บ้าน 2.เมื่อทำตามข้อ 1 แล้ว ให้นำมาพิจารณาเทียบกับสูตรดังนี้ คำถาม คำตอบที่ควรเป็น A B ~A สรุปแน่นอนไม่ได้ B สรุปแน่นอนไม่ได้ ~B ~A ทั้งนี้ เครื่องหมาย ~ หมายถึง ปฏิเสธ ตรงกันข้าม / ไม่ใช่ ตัวอย่างการคิด ข้อความ -ปลัดอำเภอต้องเป็นชาย -สมศักดิ์เป็นชาย วิธีคิด ให้ปลัดอำเภอเป็น A เป็นชายเป็น B ดังนั้น เมื่อสมศักดิ์เป็นชายจึงเท่ากับ B ก็นำ B ไปเทียบในช่องคำถาม จะได้คำตอบคือ สรุปแน่นอนไม่ได้ นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
  • 11. 10 เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป โจทย์ : -สมชายนอนดึก จึงตื่นสาย -สมชายนอนแต่หัวค่ำ ดังนั้น ก.สมชายตื่นสาย ข.สมชายไม่สบาย ค.สมชายตื่นเช้า ง.สรุปแน่นอนไม่ได้ วิธีคิด ให้สมชายนอนดึกเป็น A ตื่นสายเป็น B ดังนั้น เมื่อสมชายนอนแต่หัวค่ำ จึงเท่ากับตรงกันข้ามกับ A เป็น ~A นำไปเทียบในตารางจะได้เป็น สรุปแน่นอนไม่ได้ ต่อไปลองดูวิธีการคิดจากตัวอย่างเงื่อนไขภาษาแบบเต็มๆ ให้ลองคิดก่อนหรือคิดตามไปด้วย อย่า เพียงแค่ดูตามไปอย่างเดียว โดยไม่คิดตามจะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น เงื่อนไข ( 1 ) แก๊สสีเหลืองทุกชนิดติดไฟ ( 2 ) A เป็นแก๊สสีเขียวติดไฟ ( 3 ) B เป็นแก๊สติดไฟ ( 4 ) C จุดไฟติด ( 5 ) D เป็นแก๊สจุดไฟไม่ติด ( 6 ) E เป็นแก๊สสีเหลือง ( 7 ) F เป็นแก๊สชนิดเดียวกับ E ข้อ 1. ข้อสรุปที่ 1 C เป็นแก๊สสีเหลือง ข้อสรุปที่ 2 แก๊สสีเขียวทุกชนิดติดไฟ ข้อ 2. ข้อสรุปที่ 1 E ติดไฟ ข้อสรุปที่ 2 D เป็นแก๊สสีอื่น ซึ่งไม่ใช่สีเหลือง ข้อ 3. ข้อสรุปที่ 1 F ไม่ติดไฟ ข้อสรุปที่ 2 A และ B มีสีเดียวกัน วิธีคิด ตัวแปรที่สำคัญของโจทย์ชุดนี้ คือ สีของแก๊ส กับ การติดไฟ ซึ่งปรากฎอยู่ ในเงื่อนไขข้อความ (1) ที่ว่า “แก๊สสีเหลืองทุกชนิดติดไฟ“ ซึ่งจะใช้เป็นกุญแจ ในการแก้ไขโจทย์ นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
  • 12. 11เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป คำถามข้อที่ 1 ข้อสรุปที่ 1 C เป็นแก๊สสีเหลือง วิธีคิด จะต้องพิจารณาว่าข้อสรุปที่ว่า C เป็นแก๊สสีเหลือง ถูกต้องหรือไม่ ซึ่งในเงื่อนไขภาษาที่ให้มามีข้อความที่เกี่ยวข้องคือ ข้อความ (4) ซึ่งมีว่า "C จุดไฟติด" เมื่อนำไปพิจารณาร่วมกับข้อความ (1) ที่ว่า “แก๊สสีเหลืองทุกชนิดติดไฟ“ เมื่อคิดตามสูตรที่กำหนด คำตอบ คือ ไม่อาจสรุปได้ว่า C เป็นแก๊สสีเหลืองหรือไม่ ข้อสรุปที่ 2 แก๊สสีเขียวทุกชนิดติดไฟ วิธีคิด จะต้องพิจารณาว่าข้อสรุปที่ว่า แก๊สสีเขียวทุกชนิดติดไฟ ถูกต้องหรือไม่ ซึ่งเมื่อดูจากเงื่อนไขภาษาที่ให้มานั้นจะมีข้อความที่เกี่ยวข้องคือ ข้อความ (2) "A เป็นแก๊สสีเขียวติดไฟ" ซึ่ง ไม่อาจสรุปได้ว่า แก๊สสีเขียวทุกชนิดติดไฟ คำตอบ คำตอบคำถามข้อที่ 1 คือ ค. (สรุปไม่ได้ทั้งสองข้อสรุป) คำถามข้อที่ 2 ข้อสรุปที่ 1 E ติดไฟ วิธีคิด ให้ดูข้อความที่เกี่ยวข้องคือ ข้อความ (6) "E เป็นแก๊สสีเหลือง" และข้อความ (1) “แก๊สสีเหลืองทุกชนิดติดไฟ“ เมื่อคิดตามสูตรที่กำหนด จะได้ข้อสรุปว่าถูกต้อง ข้อสรุปที่ 2 D เป็นแก๊สสีอื่น ซึ่งไม่ใช่สีเหลือง วิธีคิด ให้ดูข้อความ (5) "D เป็นแก๊สจุดไฟไม่ติด" และข้อความ (1) “แก๊สสีเหลือง ทุกชนิดติดไฟ“ เมื่อคิดตามสูตรที่กำหนด จะได้ข้อสรุปว่าถูกต้อง คำตอบ คำตอบคำถามข้อที่ 1 คือ ก. (ถูกต้องทั้งสองข้อสรุป) คำถามข้อที่ 3 ข้อสรุปที่ 1 F ไม่ติดไฟ วิธีคิด ให้ดูข้อความ (7) "F เป็นแก๊สชนิดเดียวกับ E " และข้อความ (6) "E เป็นแก๊สสีเหลือง" จะได้ว่า F ก็เป็นแก๊สสีเหลืองเช่นเดียวกับ E นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
  • 13. 12 เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป ดังนั้นเมื่อเทียบกับข้อความ (1) “แก๊สสีเหลืองทุกชนิดติดไฟ“ จะได้ข้อสรุปว่า ไม่ถูกต้อง ข้อสรุปที่ 2 A และ B มีสีเดียวกัน วิธีคิด ให้ดูข้อความ (2) "A เป็นแก๊สสีเขียวติดไฟ " และดูข้อความ (3) "B เป็นแก๊สติดไฟ" ดังนั้น เมื่อนำมาเทียบกับข้อความ (1) “แก๊สสีเหลือง ทุกชนิดติดไฟ“ จึงไม่อาจสรุปได้ว่า B เป็นแก๊สสีอะไร ซึ่งหมายความ อาจจะมีสีเดียวกับแก๊ส A หรือไม่ก็ได้ คำตอบ คำตอบคำถามข้อที่ 1 คือ ง. (สรุปไม่ต้องหนึ่งข้อ สรุปไม่ได้อีกหนึ่งข้อ) การแก้โดยการใช้ตาราง เป็นการแก้โจทย์โดยการทำเป็นตารางสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรต่างๆ ภายในเงื่อนไขภาษาที ได้มา ซึ่งโดยปกติข้อสอบจะออกมาในลักษณะนี้เป็นประจำ จึงควรทำความเข้าใจให้ดีและใช้เป็นพื้นฐานใน การทำโจทย์เงื่อนไขภาษาทุกครั้งที่มีการสอบ ข้อสังเกตในการเลือกใช้วิธีนี้คือ ในเงื่อนไขที่ให้มานั้นจะมีตัวแปรอยู่หลาย ๆ ตัว ไม่เหมือนกับ การใช้หลักตรรก ซึ่งจะมีตัวแปร 1 – 2 ตัวเท่านั้น ตัวอย่างการคิด เงื่อนไข 1.มีนักท่องเที่ยว 5 ชาติ คือ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เยอรมัน สเปน และฝรั่งเศส มาเที่ยวเมืองไทย แต่ละคนต้องการไปชมสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งไม่ซ้ำแห่งกัน 2.สถานที่ที่นักท่องเที่ยวแต่ละคนต้องการไปคือ วัดเบญจมบพิตร ตลาดน้ำวัดไทร วัดพระแก้ว ศาลหลักเมืองและพิพิธภัณฑ์ แต่ปรากฏว่ามีนักท่องเที่ยว 4 คน ที่หลงไปที่อื่น คือ ตลาดน้ำตลิ่งชัน วัดอรุณราชวราราม วัดโพธิ์และวัดสุทัศน์ 3.มีนักท่องเที่ยวที่ต้องการไปตลาดน้ำวัดไทร ไปถามทางจากนักศึกษาจึงหลงทาง ไปตลาดน้ำตลิ่งชัน 4.มีนักท่องเที่ยวอยู่คนหนึ่งที่ไม่ได้ถามทางใคร และไม่หลงทางไปไหน 5.ชาวสเปนต้องการไปชมหินอ่อนวัดเบญจมบพิตร นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
  • 14. 13เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป ญี่ปุน สิงคโปร เยอรมัน สเปน ฝรั่งเศส สถานที่ หลงไป ถาม 6.ชาวสิงคโปร์ไปถามทางจากคนแต่งชุดสีกากี แล้วหลงทางไปวัดโพธิ์ 7.คนญี่ปุ่นไม่ต้องการไปพิพิธภัณฑ์และหลงทางไปวัดอรุณฯ 8.ชาวฝรั่งเศสไปถามทางจากพระ จึงหลงทางไปที่อื่นทั้ง ๆ ที่จะไปศาลหลักเมือง 9.คนที่หลงไปตลาดน้ำตลิ่งชัน คือ ชาวเยอรมัน 10.มีนักท่องเที่ยวคนหนึ่งที่ถามทางจากกระเป๋ารถเมล์ ข้อ 1 ข้อสรุปที่ 1 ชาวญี่ปุ่นไปถามทางจากกระเป๋ารถเมล์ ข้อสรุปที่ 2 ชาวสิงคโปร์ถามทางตำรวจ ข้อ 2 ข้อสรุปที่ 1 ชาวสเปนหลงทางไปวัดสุทัศน์ ข้อสรุปที่ 2 ชาวฝรั่งเศสไม่ได้หลงทาง ข้อ 3 ข้อสรุปที่ 1 นักศึกษาบอกทางคนเยอรมัน ข้อสรุปที่ 2 ชาวญี่ปุ่นต้องการไปเที่ยววัดพระแก้ว ข้อ 4 ข้อสรุปที่ 1 คนที่หลงไปวัดสุทัศน์คือคนอยากไปศาลหลักเมือง ข้อสรุปที่ 2 ชาวเยอรมันต้องการไปเที่ยวตลาดน้ำมากกว่าเที่ยววัด ข้อ 5 ข้อสรุปที่ 1 คนที่ต้องการไปพิพิธภัณฑ์กลับหลงทางไปเที่ยววัดโพธิ์ ข้อสรุปที่ 2 กระเป๋ารถเมล์ช่วยบอกทางให้กับคนที่ต้องการไปวัดเบญจมบพิตร วิธีคิด 1.อ่านข้อความในเงื่อนไขให้หมดก่อน แล้วเริ่มพิจารณาดูตัวแปรที่เกี่ยวข้องในเงื่อนไขนี้ว่า มีอะไรบ้าง หรือกล่าวอีกอย่างคือ หาตัวแปรที่เป็นลักษณะร่วมกัน เพื่อนำมาสร้างหัวตาราง ในตัวอย่างนี้ ได้แก่ ชาติ สถานที่เที่ยว สถานที่หลงคนบอกทาง แล้วนำมาทำตารางได้ดังนี้ นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
  • 15. 14 เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป ญี่ปุน สิงคโปร เยอรมัน สเปน ฝรั่งเศส สถานที่ วัดเบญจฯ ศาลฯ หลงไป วัดอรุณ วัดโพธิ์ ตลิ่งชัน ถาม ชุดสีกากี พระ เงื่อนไขที่ 5 เงื่อนไขที่ 9 เงื่อนไขที่ 7 เงื่อนไขที่ 6 เงื่อนไขที่ 8 2.พิจารณาหาเงื่อนไขที่สามารถนำข้อมูลมาใส่ตารางได้เลย โดยไม่ต้องคิดหรือแปรความหมายใดๆ ซึ่งตามตัวอย่าง ดังนี้ เงื่อนไขที่ 5. ชาวสเปน ต้องการไปชมหินอ่อน วัดเบญจมบพิตร เงื่อนไขที่ 6. ชาวสิงคโปร์ ไปถามทางจาก คนแต่งชุดสีกากี แล้วหลงทางไป วัดโพธิ์ เงื่อนไขที่ 7. คนญี่ปุ่น ไม่ต้องการไปพิพิธภัณฑ์ และหลงทางไป วัดอรุณฯ เงื่อนไขที่ 8. ชาวฝรั่งเศส ไปถามทางจาก พระ จึงหลงทางไปที่อื่นทั้งๆ ที่จะไป ศาล หลักเมือง เงื่อนไขที่ 9. คนที่หลงไป ตลาดน้ำตลิ่งชัน คือ ชาวเยอรมัน แล้วอย่าลืม ! ขีดเส้นใต้ข้อความที่ใช้แล้ว เพื่อกันลืม 3. เมื่อนำข้อมูลต่างๆ ที่ได้ไปใส่ในตารางข้างต้นและทำเครื่องหมายแล้ว ถึงตอนนี้จะเหลือเงื่อนไข ที่จะต้องมาพิจารณาต่อไป ดังนี้ (ตัวหนา คือ เงื่อนไข ข้อความที่ยังไม่ได้ใช้ ตัวเอียนขีดเส้นใต้ คือ เงื่อนไขข้อความที่ใช้ไปแล้ว ) 1.มีนักท่องเที่ยว 5 ชาติ คือ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เยอรมัน สเปน และฝรั่งเศส มาเที่ยวเมืองไทย แต่ละคนต้องการไปชมสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งไม่ซ้ำแห่งกัน 2.สถานที่ที่นักท่องเที่ยวแต่ละคนต้องการไปคือ วัดเบญจมบพิตร ตลาดน้ำวัดไทร วัดพระแก้ว ศาลหลักเมือง และพิพิธภัณฑ์ แต่ปรากฏว่ามีนักท่องเที่ยว 4 คน ที่หลงไปที่อื่น คือ ตลาดน้ำตลิ่งชัน วัดอรุณราชวราราม วัดโพธิ์ และวัดสุทัศน์ 3.มีนักท่องเที่ยวที่ต้องการไปตลาดน้ำวัดไทร ไปถามทางจากนักศึกษาจึงหลงทาง ไปตลาดน้ำตลิ่งชัน 4.มีนักท่องเที่ยวอยู่คนหนึ่งที่ไม่ได้ถามทางใคร และไม่หลงทางไปไหน 5.ชาวสเปนต้องการไปชมหินอ่อนวัดเบญจมบพิตร 6.ชาวสิงคโปร์ไปถามทางจากคนแต่งชุดสีกากี แล้วหลงทางไปวัดโพธิ์ นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
  • 16. 15เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป ญี่ปุน สิงคโปร เยอรมัน สเปน ฝรั่งเศส สถานที่ วัดไทร วัดเบญจฯ ศาลฯ หลงไป วัดอรุณ วัดโพธิ์ ตลิ่งชัน ถาม ชุดสีกากี นักศึกษา พระ ญี่ปุน สิงคโปร เยอรมัน สเปน ฝรั่งเศส สถานที่ วัดพระแกว พิพิธภัณฑ วัดไทร วัดเบญจฯ ศาลฯ หลงไป วัดอรุณ วัดโพธิ์ ตลิ่งชัน ? ถาม ชุดสีกากี นักศึกษา ? พระ 7.คนญี่ปุ่นไม่ต้องการไปพิพิธภัณฑ์ และหลงทางไปวัดอรุณฯ 8.ชาวฝรั่งเศสไปถามทางจากพระ จึงหลงทางไปที่อื่นทั้ง ๆ ที่จะไปศาลหลักเมือง 9.คนที่หลงไปตลาดน้ำตลิ่งชัน คือ ชาวเยอรมัน 10.มีนักท่องเที่ยวคนหนึ่งที่ถามทางจากกระเป๋ารถเมล์ นำข้อมูลที่พอมีใน เงื่อนไขที่ 3. มีนักท่องเที่ยวที่ต้องการไปตลาดน้ำวัดไทร ไปถามทางจาก นักศึกษาจึงหลงทางไปตลาดน้ำตลิ่งชัน มาวิเคราะห์กับข้อมูลที่มีอยู่ในตาราง เมื่อข้อมูลในตาราง ปรากฎว่าคนที่หลงทางไปตลาดน้ำตลิ่งชันคือ ชาวเยอรมัน ดังนั้น จึงหมายความ ว่า ชาวเยอรมันคือนักท่องเที่ยวที่ต้องการไปตลาดน้ำวัดไทร เอาข้อมูล "ตลาดน้ำวัดไทร" ไปใส่ในช่อง "สถานที่" ของชาวเยอรมันได้ (แล้วอย่าลืมทำเครื่องหมาย ในเงื่อนไขที่ 2 ตรง ตลาดน้ำวัดไทร ด้วย เพราะจะโยงกับการคิดในลำดับถัดไป) ข้อมูลในตารางจะเป็นดังนี้ 4. ต่อไป ดูเงื่อนไขที่ 7. คนญี่ปุ่นไม่ต้องการไปพิพิธภัณฑ์ เมื่อพิจารณาจากข้อมูลในตารางในช่อง สถานที่เหลือว่างอยู่ 2 ช่อง และ จากเงื่อนไขที่ 2 สถานที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่ยังเหลืออีก 2 แห่ง คือ วัดพระแก้ว และ พิพิธภัณฑ์ ดังนั้น เมื่อคนญี่ปุ่นไม่ต้องการไปพิพิธภัณฑ์ แสดงว่าเขาต้องไปสถานที่ที่เหลือ คือ วัดพระแก้ว และนั่นหมายความว่า คนที่เหลือ คือ ชาวสิงค์โปร์ เป็นผู้ไปพิพิธภัณฑ์ ให้เอาข้อมูลไปใส่ตารางได้ นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
  • 17. 16 เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป ญี่ปุน สิงคโปร เยอรมัน สเปน ฝรั่งเศส สถานที่ วัดพระแกว พิพิธภัณฑ วัดไทร วัดเบญจฯ ศาลฯ หลงไป วัดอรุณ วัดโพธิ์ ตลิ่งชัน ? ถาม ชุดสีกากี นักศึกษา ? พระ 5. ต่อไป ดูเงื่อนไขที่ 4. มีนักท่องเที่ยวอยู่คนหนึ่งที่ไม่ได้ถามทางใคร และไม่หลงทางไปไหน ดูจากข้อมูลในตาราง ช่องหลงทาง ที่เหลือว่าง คือ ช่องของชาวสเปน และชาวฝรั่งเศส แสดงว่า คนที่ไม่ถาม ทางใคร และไม่หลงทางไปไหน ต้องเป็นคนใดคนหนึ่งระหว่าง 2 คนนี้ พิจารณาต่อไปว่าจะเป็นใคร เราต้องไปดู ช่องถามทาง ปรากฎว่า ชาวฝรั่งเศสไปถามทางจากพระ แล้ว ดังนั้น ชาวสเปน จึงเป็นคนที่ไม่หลงทางและไม่ได้ถามใคร ให้ทำเครื่องหมายในตาราง ให้รู้ว่าไม่มี ข้อมูลในช่อง หลงทาง และช่อง ถามทาง ของชาวสเปน ดังรูป 6. ถึงตอนนี้มาทบทวนอีกครั้งว่าได้ใช้เงื่อนไขและข้อมูลใดไปบ้างแล้ว 1.มีนักท่องเที่ยว 5 ชาติ คือ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เยอรมัน สเปน และฝรั่งเศส มาเที่ยวเมืองไทย แต่ละคนต้องการไปชมสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งไม่ซ้ำแห่งกัน 2.สถานที่ที่นักท่องเที่ยวแต่ละคนต้องการไปคือ วัดเบญจมบพิตร ตลาดน้ำวัดไทร วัดพระแก้ว ศาลหลักเมือง และพิพิธภัณฑ์ แต่ปรากฏว่ามีนักท่องเที่ยว 4 คน ที่หลงไปที่อื่น คือ ตลาดน้ำตลิ่งชัน วัดอรุณราชวราราม วัดโพธิ์ และวัดสุทัศน์ 3.มีนักท่องเที่ยวที่ต้องการไปตลาดน้ำวัดไทร ไปถามทางจากนักศึกษาจึงหลงทาง ไปตลาดน้ำตลิ่งชัน 4.มีนักท่องเที่ยวอยู่คนหนึ่งที่ไม่ได้ถามทางใคร และไม่หลงทางไปไหน 5.ชาวสเปนต้องการไปชมหินอ่อนวัดเบญจมบพิตร 6.ชาวสิงคโปร์ไปถามทางจากคนแต่งชุดสีกากี แล้วหลงทางไปวัดโพธิ์ 7.คนญี่ปุ่นไม่ต้องการไปพิพิธภัณฑ์ และหลงทางไปวัดอรุณฯ 8.ชาวฝรั่งเศสไปถามทางจากพระ จึงหลงทางไปที่อื่นทั้ง ๆ ที่จะไปศาลหลักเมือง 9.คนที่หลงไปตลาดน้ำตลิ่งชัน คือ ชาวเยอรมัน 10.มีนักท่องเที่ยวคนหนึ่งที่ถามทางจากกระเป๋ารถเมล์ จะเห็นได้ว่าเหลือเงื่อนไขที่ 10.ที่ยังไม่ได้พิจารณา เมื่อพิจารณาข้อมูลจากตาราง จะเห็นได้ว่า นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
  • 18. 17เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป ญี่ปุน สิงคโปร เยอรมัน สเปน ฝรั่งเศส สถานที่ วัดพระแกว พิพิธภัณฑ วัดไทร วัดเบญจฯ ศาลฯ หลงไป วัดอรุณ วัดโพธิ์ ตลิ่งชัน ? วัดสุทัศน ถาม กระเปา ชุดสีกากี นักศึกษา ? พระ ในช่อง ถามทาง จะเหลือช่องของคนญี่ปุ่นว่างช่องเดียว ดังนั้น คนที่ถามทางกระเป๋ารถเมล์ คือ ชาวญี่ปุ่น และเมื่อดูเงื่อนไขที่ 2 ประกอบกับข้อมูลในตาราง ในช่องหลงทาง จะว่างอยู่ช่องเดียวของชาว ฝรั่งเศส และข้อมูลที่เหลือคือ วัดสุทัศน์ แสดงว่า ชาวฝรั่งเศสหลงไปวัดสุทัศน์ ข้อแนะนำ อ่านกันมาถึงตรงนี้แล้วเชื่อว่า หลายๆ คน อาจจะยังงงๆ หรือ อาจจะยังไม่ค่อย มั่นใจว่าเข้าใจดีหรือไม่ ลองหยุดพักสักนิด เพื่อรวบรวมสมาธิแล้วกลับมาอ่านใหม่อีกครั้ง น่าจะดีกว่า การแก้ไขโดยใช้คณิตศาสตร์ประกอบ เป็นการพิจารณาหาคำตอบโดยใช้ การคำนวณทางคณิตศาสตร์เข้ามาประกอบ ข้อสังเกตเพื่อเลือก ใช้วิธีนี้คือ โจทย์เงื่อนไขมักจะมีตัวเลขประกอบมาเป็นเรื่องหลักแทนภาษา ตัวอย่างการคิด เงื่อนไข 1. กมลมีอายุ 30 ปี เมื่อลูกชายของเขาคือ วิรัช เกิด 2. วิรัช มีอาคนเดียวชื่อ วิไล มีอายุอ่อนกว่าพี่ชายอยู่ 3 ปี และอ่อนกว่าสามีของเธอ คือ บวรอยู่ 5 ปี 3. วิไลและบวร มีลูกด้วยกัน 3 คน คือ อมร อนันต์ และอรสา 4. เมื่อ 12 ปี มาแล้ว อมรเกิดขึ้นมาในขณะที่พ่อมีอายุ 28 ปี 5. อีก 10 ปีข้างหน้า อนันต์ น้องชายของอมรจะมีอายุน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของอายุของพ่อ อยู่ 7 ปี และน้องสาวของอมรคือ อรสาจะมีอายุเป็น 1 ใน 3 ของอายุแม่ ข้อ 1 ข้อสรุปที่ 1 กมลมีอายุน้อยกว่าบวร 3 ปี ข้อสรุปที่ 2 อนันต์มีอายุมากกว่าวิรัชนำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
  • 19. 18 เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป ข้อ 2 ข้อสรุปที่ 1 ตอนอนันต์เกิด วิไลมีอายุ 27 ปี ข้อสรุปที่ 2 อายุของอมร อนันต์และอรสา รวมกันได้ 25 ปี ข้อ 3 ข้อสรุปที่ 1 อายุของกมลรวมกับวิรัชแล้วมากกว่าอายุของวิไลและอมรรวมกัน ข้อสรุปที่ 2 อนันต์เกิดก่อนวิรัช วิธีคิด 1. ดูตัวแปรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในโจทย์ข้อนี้มีเพียงเรื่อง อายุ กับ ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ 2. ใช้เงื่อนไข 4. "เมื่อ 12 ปี มาแล้ว อมรเกิด ขึ้นมาในขณะที่ พ่อมีอายุ 28 ปี " เป็นตัวเริ่ม เพราะ เป็นเงื่อนไขที่บอกว่าปัจจุบัน อมรมีอายุเท่าใด ซึ่งข้อมูลก็คือ ปัจจุบัน อมรมี 12 ปี นั่นเอง ปัญหาที่ต้องคบคิดต่อไป คือ ใครเป็นพ่อของอมร ? จากเงื่อนไข 3. "วิไลและบวรมีลูก ด้วยกัน 3 คน คือ อมร อนันต์ และอรสา " ดังนั้น พ่อของอมร คือ บวร เมื่อรู้ว่า บวร เป็นพ่อของอมรแล้ว ก็จะทราบว่าอายุบวรคือกี่ปี ? โดยใช้ข้อมูลจากเงื่อนไขที่ 4 อายุ บวร = อายุของบวรเมื่ออมรเกิด + เวลา 12 ปีที่แล้ว = 28+12 = 40 ปี 3. ต่อไปดูเงื่อนไข 2. “วิรัช มีอาคนเดียวชื่อ วิไล มีอายุอ่อนกว่าพี่ชายอยู่ 3 ปีและ อ่อนกว่าสามี ของเธอคือ บวรอยู่ 5 ปี” ดังนั้น จะหา อายุของวิไลในปัจจุบัน ได้ดังนี้ อายุของวิไล = อายุของบวร - 5 = 40-5 = 35 ปี 4. จากเงื่อนไข 5. " อีก10ปีข้างหน้าอนันต์น้องชายของอมร จะมีอายุน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของอายุ ของพ่ออยู่7ปี และน้องสาวของอมรคือ อรสาจะมีอายุเป็น 1 ใน 3 ของอายุแม่ " ดังนั้นจะหา อายุของอนันต์ ในปัจจุบัน ได้ดังนี้ อายุของอนันต์ = = = 10 ปี ปขางหนา10 3 10 − ⎭ ⎬ ⎫ ⎩ ⎨ ⎧ + )( ปขางหนาปจจุบันอายุวิไลใน 10 3 1035 − ⎭ ⎬ ⎫ ⎩ ⎨ ⎧ + นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
  • 20. 19เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป ชื่อ บวร วิไล อมร อนันต อรสา กมล วิรัช อายุ 40 35 12 8 5 38 8 5. จากเงื่อนไขที่ 5 เช่นเดียวกัน “อีก 10 ปีข้างหน้า อนันต์น้องชายของอมรจะมีอายุน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง ของอายุของพ่ออยู่ 7 ปี และ น้องสาวของอมรคือ อรสาจะมีอายุเป็น 1 ใน 3 ของอายุแม่ ” ดังนั้น จะหา อายุของอรสาได้ดังนี้ อายุของอรสา = = = 5 ปี 6.จากเงื่อนไข 1. “กมลมีอายุ 30 ปี เมื่อลูกชายของเขาคือ วิรัช เกิด" และ เงื่อนไข 2. "วิรัชมีอา คนเดียวชื่อ วิไล มีอายุอ่อนกว่าพี่ชายอยู่ 3 ปี...” ดังนั้น วิไลจึงต้องเป็น น้องสาวของวิรัช จะหาอายุของ กมล และวิรัชได้ดังนี้ อายุของกมล = อายุของวิไลในปัจจุบัน + 3 = 35 + 3 = 38 ปี อายุของวิรัช = อายุของกมลในปัจจุบัน - อายุของกมลเมื่อวิรัชเกิด = 38-30 = 8 ปี เมื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาเรียงกัน จะได้ดังนี้ นำข้อมูลทั้งหมดไปพิจารณาข้อสรุปในคำถามข้อต่างๆ จะได้ดังนี้ ข้อ 1 ข้อสรุปที่ 1 กมลมีอายุน้อยกว่าบวร 3 ปี ผิด เพราะ กมลมีอายุน้อยกว่า บวร 2 ปี ข้อสรุปที่ 2 อนันต์มีอายุมากกว่าวิรัช ผิด เพราะมีอายุ 8 ปี เท่ากัน ปขางหนา10 3 10 − ⎭ ⎬ ⎫ ⎩ ⎨ ⎧ + )( ปขางหนาปจจุบันอายุวิไลใน 10 3 1035 − ⎭ ⎬ ⎫ ⎩ ⎨ ⎧ + นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
  • 21. 20 เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป ข้อ 2 ข้อสรุปที่ 1 ตอนอนันต์เกิด วิไลมีอายุ 27 ปี ถูก เพราะอายุของวิไลมากกว่าอนันต์ 27 ปี ข้อสรุปที่ 2 อายุของอมร อนันต์และอรสา รวมกันได้ 25 ปี ถูก เมื่อรวมอายุของทั้งสามคนมีอายุเท่ากับ 25 ปี ข้อ 3 ข้อสรุปที่ 1 อายุของกมลรวมกับวิรัชแล้วมากกว่าอายุของวิไลและอมรรวมกัน ผิด เพราะอายุของกมลรวมกับวิรัชเท่ากับ 46 ขณะที่อายุของวิไลและอมรรวมกัน เท่ากับ 47 ข้อสรุปที่ 2 อนันต์เกิดก่อนวิรัช สรุปไม่ได้ เพราะไม่มีข้อมูลใดบอกว่าใครเกิดก่อนใคร การแก้ไขโดยใช้การสมมุติค่า เป็นการแก้โจทย์โดยการสมมุติค่าใดค่าหนึ่งมาเป็นฐานในการคำนวณ โดยมากไม่ค่อยใช้ในการสอบ ที่มีระดับความยากมากๆ แต่ก็ต้องฝึกทำความเข้าใจไว้ เพราะสามารถนำไปใช้ในการสอบประเภทอื่นๆ ได้ ตัวอย่างการคิด เงื่อนไข 1.หอศิลป์แห่งหนึ่งจัดแสดงภาพเขียน 7 รูป ของศิลปิน 7 คน คือ กนก มนัส สุรชัย วิบูลย์ ภมร อนุวัฒน์ และฐิติ รูปแต่ละรูปถูกประเมินค่าโดยเจ้าของร้านต่างกันไป 2.รูปของฐิติ มีค่าเป็น 3 เท่า ของอนุวัฒน์ 3.รูปของวิบูลย์มีค่าน้อยที่สุดในบรรดารูปทั้งหมด 4.ภาพของกนกและสุรชัย มีค่าเท่ากันพอดี 5.ภาพของมนัสมีค่าเท่ากับภาพของฐิติและอนุวัฒน์รวมกัน 6.ภาพของภมรมีค่าเท่ากับสุรชัย มนัส และฐิติรวมกัน ในขณะที่ภาพของกนกมีค่าเท่ากับฐิติและ มนัสรวมกัน 1. ข้อสรุปที่ 1 ภาพของภมรมีค่ามากกว่าภาพของกนกอยู่ 2 เท่า) ข้อสรุปที่ 2 ภาพของกนกรวมกับสุรชัยแล้วมีค่าไม่มากกว่าภาพของภมร 2. ข้อสรุปที่ 1 ภาพของวิบูลย์มีค่าน้อยกว่าภาพของอนุวัฒน์ 3 เท่า ข้อสรุปที่ 2 ภาพของมนัสมีค่ามากกว่าภาพของฐิติ แต่น้อยกว่าภาพของสุรชัย 3. ข้อสรุปที่ 1 ภาพฐิติมีค่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของสุรชัย ข้อสรุปที่ 2 ภาพของภมรรวมกับอนุวัฒน์แล้วมากกว่าของฐิติถึง 4 เท่า นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
  • 22. 21เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป ภาพ กนก มนัส สุรชัย วิบูลย ภมร อนุวัฒน ฐิติ คา 7 4 7 14 1 3 วิธีคิด 1.พิจารณาหาตัวแปรที่เกี่ยวข้อง จะพบว่ามีอยู่ 2 ตัว คือ รูปและค่าของรูป 2.จากเงื่อนไขทั้งหมดดูแล้วจะมีเงื่อนไข 2. เพียงเงื่อนไขเดียวที่ใช้เริ่มต้นได้ โดยเงื่อนไขกำหนดว่า “รูปของฐิติมีค่าเป็น 3 เท่าของอนุวัฒน์” เพราะมีตัวเลขที่ใช้เปรียบเทียบกันได้ ดังนั้น จึงสมมุติค่าของ รูปของอนุวัฒน์ = 1 และ รูปของฐิติจะมีค่า = 3 (3 X 1) 3.จากเงื่อนไข 5. “ภาพของมนัส มีค่าเท่ากับ ภาพของฐิติและอนุวัฒน์รวมกัน” ดังนั้น ภาพของมนัสจะมีค่า = 4 (1+3) 4.จากเงื่อนไข 6 “ภาพของภมรมีค่าเท่ากับสุรชัย มนัส และฐิติรวมกัน ในขณะที่ภาพของกนกมีค่า เท่ากับฐิติและมนัสรวมกัน” ดังนั้น ภาพของกนก มีค่า = 7 (4+3) และจากเงื่อนไข 4. "ภาพของกนกและสุรชัย มีค่าเท่ากันพอดี" ดังนั้น ภาพของสุรชัย มีค่า = 7 5.จากเงื่อนไข 6 “ภาพของภมรมีค่าเท่ากับสุรชัยมนัสและฐิติรวมกัน ในขณะที่ภาพของกนกมีค่า เท่ากับฐิติและมนัสรวมกัน” ดังนั้น ภาพของภมรมีค่า = 14 (7+4+3) ถ้านำมาเขียนเป็นภาพจะได้ดังนี้ นำข้อมูลทั้งหมดไปพิจารณาข้อสรุปในคำถามข้อต่างๆ จะได้ดังนี้ ข้อ1. ข้อสรุปที่ 1 ภาพของภมรมีค่ามากกว่าภาพของกนกอยู่ 2 เท่า ถูก เพราะภาพของกนกมีค่าสมมุติเท่ากับ 7 ในขณะที่ของภมรเท่ากับ 14 ข้อสรุปที่ 2 ภาพของกนกรวมกับสุรชัยแล้วมีค่าไม่มากกว่าภาพของภมร ถูก เพราะภาพของกนกรวมกับสุรชัยเท่ากับ 14 เท่ากับของภมร นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
  • 23. 22 เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป ข้อ 2. ข้อสรุปที่ 1 ภาพของวิบูลย์มีค่าน้อยกว่าภาพของอนุวัฒน์ 3 เท่า สรุปไม่ได้ เพราะไม่มีข้อมูลใดๆ บอกว่าภาพของวิบูลย์มีค่าเท่าใด จึงไม่อาจเปรียบ เทียบได้ ข้อสรุปที่ 2 ภาพของมนัสมีค่ามากกว่าภาพของฐิติ แต่น้อยกว่าภาพของสุรชัย ถูก เพราะภาพของมนัสเท่ากับ 4 ของฐิติเท่ากับ 3 และของสุรชัย เท่ากับ 7 ข้อ 3. ข้อสรุปที่ 1 ภาพฐิติมีค่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของสุรชัย ผิด เพราะภาพของฐิติเท่ากับ 3 ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของสุรชัยซึ่งมีค่าเท่ากับ 7 ข้อสรุปที่ 2 ภาพของภมรรวมกับอนุวัฒน์แล้วมากกว่าของฐิติถึง 4 เท่า ผิด เพราะภาพของภมรรวมกับอนุวัฒน์ได้เท่ากับ 15 เป็น 5 เท่า ของฐิติซึ่งมีค่าเท่ากับ 3 นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
  • 24. 23เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป แบบฝึกหัด โจทย์ข้อ 1. เงื่อนไข 1. A, B, C, D, E, F, และ G เป็นตัวอักษรแทนค่าเลขจำนวนเต็มระหว่าง 1 – 10 ซึ่งมีค่าเรียงติดกัน 2. D น้อยกว่า A อยู่ 3 3. B มีค่าอยู่กึ่งกลาง 4. F น้อยกว่า B เท่ากับที่ C มากกว่า D 5. G มากกว่า F ข้อ 1. ข้อสรุปที่ 1 G มีค่ามากที่สุด ข้อสรุปที่ 2 B มีค่าน้อยกว่า C ข้อ 2. ข้อสรุปที่ 1 B มีค่าเท่ากับ 5 ข้อสรุปที่ 2 D มีค่าน้อยที่สุด ข้อ 3. ข้อสรุปที่ 1 D มีค่ามากกว่า B ข้อสรุปที่ 2 E มีค่ามากกว่า F วิธีการคิด ดูรายละเอียดในตอนท้ายบท คำตอบ1)ก.ถูก/ถูก2)ง.สรุปไม่ได้/ผิด3)ข.ผิด/ผิด นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
  • 25. 24 เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป โจทย์ข้อ 2. เงื่อนไข 1.บริษัทแห่งหนึ่งจัดที่ทำงานให้เจ้าหน้าที่ 6 คนใหม่เพื่อความเหมาะสม โดยให้แต่ละคนมีห้องส่วนตัว คนละ 1 ห้อง มีห้องหมายเลข 1 – 6 เรียงติดกันตามลำดับ 2.ห้องแต่ละห้องมีฉากสูง 2 เมตรกั้นเท่ากัน ดังนั้น เสียงและควันบุหรี่จึงผ่านถึงกันไม่ได้ 3.งานของบวรและวิทย์ต้องพูดโทรศัพท์ตลอดวันทำให้มีเสียงดัง 4.วิทย์และดำรงต้องปรึกษางานกันอยู่เสมอจึงต้องการอยู่ติดกัน 5.กนกพรเป็นพนักงานอาวุโส จองห้องที่ 5 ซึ่งมีหน้าต่างใหญ่ที่สุด 6.ประกอบต้องการให้ห้องติดกับห้องเขามีเสียงเงียบ ๆ 7.อรัญ วิทย์และประกอบสูบบุหรี่ ในขณะที่กนกพรแพ้ควันบุหรี่ และต้องการให้ห้องติดกับเธอ ไม่ใช่คน สูบบุหรี่ ข้อ 1. ข้อสรุปที่ 1 บวรอยู่ห้องติดกับอรัญ ข้อสรุปที่ 2 วิทย์อยู่ห้องถัดจากประกอบ ข้อ 2. ข้อสรุปที่ 1 บวรไม่สูบบุหรี่ ข้อสรุปที่ 2 ห้องของดำรงอยู่กลางระหว่างวิทย์กับกนกพร ข้อ 3. ข้อสรุปที่ 1 ห้องของประกอบอยู่ห่างจากกนกพร 4 ห้อง ข้อสรุปที่ 2 เมื่อเทียบระหว่างอรัญกับประกอบแล้ว ห้องของประกอบอยู่ใกล้กับดำรงมากกว่า คำตอบ1)ข.ผิด/ผิด2)ก.ถูก/ถูก3)ง.ถูก/ผิด วิธีการคิด ดูรายละเอียดในตอนท้ายบท นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
  • 26. 25เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป โจทย์ข้อที่ 3 เงื่อนไข 1.ในการประกวดสุนัข มีสุนัข 4 พันธุ์ที่ชนะรางวัลที่ 1 – 4 โดยไม่ได้เรียงลำดับ คือ พันธุ์ปักกิ่ง บอกเซอร์ ไทย และโดเบอร์แมน 2.เจ้าของสุนัขแต่ละตัวมี อดิศร เฟื่องฟ้า กฤษณ์ และธนู ในขณะที่สุนัขแต่ละตัวมีชื่อ แจ๊ค ป๊อบ ดิ๊กกี้ และแม๊ค 3.สุนัขของกฤษณ์ไม่ชนะรางวัลที่ 1 หรือรางวัลที่ 2 4.สุนัขพันธุ์ไทยชนะรางวัลที่ 1 5.สุนัขที่ชื่อแม๊คชนะรางวัลที่ 2 6.สุนัขพันธุ์ปักกิ่งชื่อ แจ๊ค 7.สุนัขของธนูชื่อป๊อบ ส่วนสุนัขของเฟื่องฟ้า คือ พันธุ์โดเบอร์แมน และชนะรางวัลที่ 4 ข้อ 1. ข้อสรุปที่ 1 สุนัขของธนูเป็นพันธุ์บ๊อกเซอร์ ข้อสรุปที่ 2 สุนัขของอดิศรชนะรางวัลที่ 1 ข้อ 2. ข้อสรุปที่ 1 สุนัขของเฟื่องฟ้าชื่อดิ๊กกี้ ข้อสรุปที่ 2 สุนัขของธนูชนะสุนัขของอดิศร ข้อ 3. ข้อสรุปที่ 1 สุนัขพันธุ์ไทยชื่อป๊อบ ข้อสรุปที่ 2 แจ๊คเป็นสุนัขของอดิศร คำตอบ1)ข.ผิด/ผิด2)ก.ถูก/ถูก3)ง.ถูก/ผิด วิธีการคิด ดูรายละเอียดในตอนท้ายบท นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
  • 27. 26 เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป โจทย์ข้อที่ 4 เงื่อนไข 1.พนม ทินกร วิทยาและสุชาติมีที่อยู่กันคนละแห่งคือหมู่บ้านลาดหญ้าบ้านบาก หนองบัวและเนินสูง ซึ่งไม่ได้เรียงกันตามลำดับ 2.หมู่บ้านแต่ละแห่งอยู่ในตำบลต่าง ๆ กันไป คือ น้ำเย็น บ้านนา พระนอน แม่บัว ซึ่งไม่ได้เรียงกัน ตามลำดับ 3.ตำบลแต่ละแห่งอยู่ในอำเภอต่าง ๆ กันคือ พนาไทร ไกรลาส สามมิตรและเมือง 4.ทินกรอยู่ตำบลพระนอน ในขณะที่พนมอยู่ในอำเภอสามมิตร 5.หมู่บ้านเนินสูงอยู่ในตำบลบ้านนาในอำเภอไกรลาส 6.คนหนึ่งอยู่ตำบลน้ำเย็นในอำเภอเมือง 7.สุชาติอยู่ที่บ้านบาก ข้อ 1. ข้อสรุปที่ 1 พนมอยู่ที่บ้านหนองบัว ข้อสรุปที่ 2 ทินกรอยู่ที่หมู่บ้านบ้านลาด ข้อ 2. ข้อสรุปที่ 1 คนที่อยู่ในตำบลน้ำเย็น คือ วิทยา ข้อสรุปที่ 2 บ้านหนองบัวอยู่ในอำเภอสามมิตร ข้อ 3. ข้อสรุปที่ 1 คนที่อยู่ในอำเภอไกรลาส คือ วิทยา ข้อสรุปที่ 2 คนที่อยู่ในอำเภอพนาไพร คือ ทินกร ข้อ 4. ข้อสรุปที่ 1 บ้านบากอยู่ในตำบลน้ำเย็น ข้อสรุปที่ 2 วิทยาไม่ได้อยู่ที่บ้านเนินสูง ข้อ 5. ข้อสรุปที่ 1 ตำบลพระนอนมีหมู่บ้านชื่อหนองบัว ข้อสรุปที่ 2 สุชาติอยู่ที่อำเภอเมือง คำตอบ1)ค.สรุปไม่ได้/สรุปไม่ได้2)ง.ผิด/สรุปไม่ได้3)ก.ถูก/ถูก 4)ง.ถูก/ผิด5)ง.สรุปไม่ได้/ถูก วิธีการคิด ดูรายละเอียดในตอนท้ายบท นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com
  • 28. 27เตรียมสอบความรู้ความสามารถทั่วไป โจทย์ข้อที่ 5 เงื่อนไข 1.มีปลัดอำเภอบรรจุใหม่ 5 คน คือ อมร สนั่น อภิชัย ธานีและพายัพ ได้รับการแต่งตั้งให้ไปอยู่อำเภอ ต่างๆ กัน คือ กมลาสน์ รัตนธานี นวราษฎร์ นาคบุรีและพยัคฆวิเชียร 2.อักษรตัวสุดท้ายของชื่อปลัดแต่ละคน ไม่ตรงกับอักษรตัวหน้าของชื่ออำเภอที่แต่ละคนไปอยู่ 3.อำเภอแต่ละแห่งห่างไกลจากกรุงเทพ ฯ ดังนี้ คือ 400, 420, 450, 470 และ 500 กิโลเมตร และ แต่ละ อำเภอประชาชนส่วนใหญ่จะมีอาชีพต่าง ๆ กันดังนี้ คือ ทำไร่อ้อย, หาของป่า, ประมง, น้ำเค็ม, ทำนาและประมงน้ำจืด, อุตสาหกรรม 4.อำเภอที่อภิชัยไปอยู่ห่างไกลจากกรุงเทพ ฯ มากที่สุดและยังมีป่าไม้เหลืออยู่มาก 5.พายัพไปอยู่ที่อำเภอกมลาสน์ซึ่งอยู่ไกลกว่าอำเภอที่สนั่นไปอยู่ 50 กิโลเมตร 6.ธานีได้ไปอยู่อำเภอที่ประชาชนส่วนใหญ่ทำนาและประมงน้ำจืด 7.อำเภอที่อมรไปอยู่ไกลกว่าที่สนั่นไปอยู่ 20 กิโลเมตร และประชาชนไม่ได้มีอาชีพหาของป่า และประมงน้ำเค็ม 8.ประชาชนที่อำเภอพยัคฆวิเชียรมีอาชีพอุตสาหกรรม 9.อำเภอนวราษฎร์อยู่ใกล้กรุงเทพ ฯ มากกว่าอำเภอนาคบุรี 10.คนที่สอบได้ที่ดีกว่าจะได้รับการบรรจุให้อยู่อำเภอที่ใกล้กว่า ข้อ 1. ข้อสรุปที่ 1 สนั่นสอบได้ที่ดีกว่าคนอื่น ข้อสรุปที่ 2 ธานีอยู่ที่อำเภอพยัคฆวิเชียร ข้อ 2. ข้อสรุปที่ 1 อำเภอที่อภิชัยอยู่ห่างจากกรุงเทพ ฯ มากกว่าอมร 80 กิโลเมตร ข้อสรุปที่ 2 อมรอยู่ที่อำภอนวราษฎร์ ข้อ 3. ข้อสรุปที่ 1 อำเภอที่อภิชัยอยู่ประชาชนมีอาชีพหาของป่า ข้อสรุปที่ 2 อำเภอรัตนธานีประชาชนประกอบอาชีพประมงน้ำจืดมากกว่าทำนา ข้อ 4. ข้อสรุปที่ 1 ธานีสอบได้ที่ดีกว่าอมร ข้อสรุปที่ 2 เทียบกันในระหว่าง 5 คน พายัพสอบได้เป็นลำดับ 2 ข้อ 5. ข้อสรุปที่ 1 อำเภอรัตนธานีอยู่ห่างจากกรุงเทพ ฯ 400 เมตร ข้อสรุปที่ 2 อำเภอที่พายัพอยู่ประชาชนไม่ได้ประกอบอาชีพทำไร่อ้อย คำตอบ1)ง.ถูก/ผิด2)ก.ถูก/ถูก3)ค.สรุปไม่ได้/สรุปไม่ได้ 4)ข.ผิด/ผิด5)ง.ผิด/ถูก วิธีการคิด ดูรายละเอียดในตอนท้ายบท นำมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ http://valrom.igetweb.com