SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 8
Descargar para leer sin conexión
ข้อมูลเพิ่มเติม


โครงการความร่วมมือในการพัฒนาเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
                      สู่ภูมิภาค
      (Thailand Software Park Alliances: TSPA)
                         และ
           ข้อมูลเบื้องต้นของพาร์คแต่ละแห่ง
โครงการความร่วมมือขยายซอฟต์แวร์พาร์คสู่ภูมิภาค

(Thailand Software Park Alliances: TSPA)

หลักการและเหตุผล
           ปัจจุบันในหลายประเทศได้มีการจัดตั้งซอฟต์แวร์พาร์คขึ้นเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของ
ประเทศ โดยกําหนดให้ซอฟต์แวร์พาร์คมีบทบาทในการเป็นประตูสู่ตลาดผู้ใช้ทั้งในและต่างประเทศ เป็นช่อง
ทางการเข้าถึงผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ เป็นศูนย์กลางของข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และสร้างความ
เชื่อมั่นให้กับผู้ใช้และคู่ค้าจากทั้งในและนอกประเทศ ในหลายประเทศมีการจัดตั้งซอฟต์แวร์พาร์คมากกว่า 1
แห่ง เพื่อช่วยสนับสนุนการพัฒนาซอฟต์แวร์ของประเทศให้ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน
         สําหรับประเทศไทย Software Park Thailand ได้ตระหนักถึงภารกิจดังกล่าว และได้ดําเนินงาน
ส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศอย่างต่อเนื่องในหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านการพัฒนา
เทคโนโลยี การพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรม การส่งเสริมการตลาด และการส่งเสริมให้เกิดการนําไอทีไปใช้
ในอุตสาหกรรมอื่นๆ
        นอกจากนี้ ภารกิจที่สําคัญอีกอย่างของ Software Park Thailand คือ การเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยง
Software Park อื่นๆ ที่ตั้งอยู่ในแต่ละภูมิภาคของประเทศ ซึ่งจัดตั้งและดําเนินการส่งเสริม สนับสนุนธุรกิจ
ซอฟต์แวร์อยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ Software Park ในประเทศไทยแต่ละแห่งมีจุดแข็งที่ต่างกันออกไปและอยู่
ภายใต้การบริหารจัดการของหน่วยงานที่ต่างกันทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทั้งสิ้น 4 พาร์ค ได้แก่ เขต
อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขตอุตสาหกรรม
ซอฟต์แวร์ภูเก็ต และศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาและอุตสาหกรรม องค์การ
บริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา (Korat Software Park)
         ทั้งนี้ ซอฟต์แวร์พาร์คทั้ง 4 แห่งเล็งเห็นว่า การที่จะทําให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทยเข็มแข็งเพื่อ
แข่งขันกับนานาประเทศได้นั้น จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการรวมตัวกัน เพื่อร่วมกันสร้างและแบ่งปันความรู้
ความสามารถของตนในการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ในแต่ละพาร์คให้เข้มแข็ง มีความ
ทัดเทียมกัน สร้างความเป็นปึกแผ่นในการดําเนินกิจกรรมต่างๆ ให้ประสานและสอดคล้องกันอย่างแน่นแฟ้น
ไปในทิศทางเดียวกัน ให้เกิดความร่วมมือและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อให้อุตสากรรมซอฟต์แวร์ไทย
สามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์ความร่วมมือ

     1. สร้างเครือข่ายความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมระหว่าง TSPA เพื่อให้เกิดผลในภาพรวมต่อ
        อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ
     2. ขยายโอกาสทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ทั้งในส่วนกลางและในส่วนภูมิภาค
     3. ขยายผลการจัดกิจกรรมต่างๆ ของ SWP ออกสู่ Park ในภูมิภาค

สมาชิกเครือข่าย TSPA

        เครือข่าย Thailand Software Park Alliances (TSPA) เกิดจากความร่วมมือตั้งต้นระหว่างเขต
อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ 4 แห่งในประเทศไทย ดังต่อไปนี้

                    สมาชิก TSPA                  ลักษะ          หน่วยงานต้นสังกัด         ปีที่ก่อตั้ง
                                                หน่วยงาน                                   (พ.ศ.)
1.      เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย          ภาครัฐ   สํานักงานพัฒนา                    2540
        Software Park Thailand                            วิทยาศาสตร์และ
                                                          เทคโนโลยีแห่งชาติ
                                                          (สวทช.)
2.      ศูนย์ประสานงานเขตอุสาหกรรม            ภาคการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น                2546
        ซอฟต์แวร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
        E-Saan Software Park
3.      เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภูเก็ต            ภาคเอกชน     บริษัท บลูลากูน ภูเก็ต         2551
        Software Park Phuket                                 จํากัด
4.      ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการ        ภาครัฐ      องค์การบริหารส่วน              2552
        สื่อสารเพื่อการศึกษาและอุตสาหกรรม                    จังหวัดนครราชสีมา
        องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
        Korat Software Park
ข้อมูลเพิ่มเติม

เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย
(Software Park Thailand)
         ก่อตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2540 โดยเป็นหน่วยงานภายใต้การดูแลของ
สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. เพื่อทําหน้าที่สนับสนุน และเสริมสร้างความ
แข็งแกร่งให้ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยในทุกทาง ทั้งด้านบุคลากร การตลาด การลงทุน รวมถึงเทคโนโลยี
อันทันสมัยในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มธุรกิจทุกกลุ่มภายในประเทศ ทั้งภาคอุตสาหกรรม
ภาคการเกษตร และภาคการบริการ เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจไทย ซึ่งจะส่งผล
ให้ตลาดซอฟต์แวร์ภายในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันได้สร้างความมั่นใจให้ผู้ผลิตซอฟต์แวร์จาก
ต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศไทยด้วย

วิสัยทัศน์ “เป็นองค์กรสนับสนุนผู้ประกอบการและสร้างอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยให้เทียบเท่าระดับโลก ทํา
ให้ซอฟต์แวร์เป็นส่วนสําคัญที่ช่วยเพิ่มขีดความสามาถในการแข่งขันของเศรษฐกิจไทย”

    เขตอุ ต สาหกรรมซอฟต์ แ วร์ ป ระเทศไทยให้ ก ารสนั บ สนุ น และเสริ ม สร้ า งความแข็ ง แกร่ ง ให้ กั บ
ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย ทั้งยังช่วยผลักดันอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีพันธ
กิจหลัก 5 ด้าน ดังนี้
    o สนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรไอที
    o สนับสนุน และส่งเสริมการปรับปรุงกระบวนการซอฟต์แวร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และคุณภาพของ
         บริษัทซอฟต์แวร์ไทยสู่มาตรฐานสากล
    o สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตร เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยในการ
         ขยายช่องทางการตลาดทั้งใน และต่างประเทศ
    o ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และอุตสาหกรรมอื่นๆ ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อ
         สร้างผลิตภัณฑ์ หรือปรับปรุงบริการของหน่วยงาน
    o ให้เช่าพื้นที่สํานักงาน ห้องประชุมใหญ่ ห้องประชุม ห้องฝึกอบรม และสัมมนา
ศูนย์ประสานงานเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(E-Saan Software Park)

       เป็นองค์กรในกํากับของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับการจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2546 โดยความร่วมมือ
และการสนับสนุนจาก 6 องค์กร ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น หอการค้าจังหวัดขอนแก่น
สภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น หอการค้าสวีเดน-ไทย และชมรมธุรกิจคอมพิวเตอร์จังหวัดขอนแก่น โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และการเพิ่ม
ศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ ในรูปแบบของนครไอซีที (ICT City) และเพื่อเป็นการสนับสนุนการจัดการ
การศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการ และการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของมหาวิทยาลัย
ตามนโยบาย และยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ให้ เป็ นไปอย่า งมีป ระสิทธิภ าพตามเป้ าประสงค์ของ
มหาวิทยาลัยและของรัฐ ให้ศูนย์เป็นหน่วยงานในกํากับของมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีการดําเนินงานในลักษณะ
พึ่งตนเอง มีการบริหารจัดการที่เป็นอิสระจากระบบราชการ ซึ่งดําเนินการตามหลักการและเป้าประสงค์ที่
ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น
เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภูเก็ต
(Software Park Phuket)

        ซอฟต์แวร์พาร์คภูเก็ตเป็นพาร์คแรกที่ก่อตั้งโดย
                                                  โดยภาคเอกชน ในปี พ.ศ. 2551 ภายใต้การสนับสนุนของ
สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งประเทศไทย
อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ และบริษัท บลูลากูนภูเก็ต จํากัด ในการดําเนินการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ที่เป็น
Value Creation ให้กับภูเก็ตในการที่จะเสริมการท่องเ ่ยว และเป็นที่ที่ ICT Knowledge Worker มุ่งเข้ามา
                                                   งเที
เพื่อประกอบการ โดยมี 3 ภาระกิจหลักคือ

       ภาระกิจที่ 1    การให้บริการพื้นที่สําหรับผู้ประกอบการด้าน ICT ทั้งในและต่างประเทศ โดยได้รับ
                       ความร่วมมือจาก CAT Telecom ในการติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ผ่าน
                       Fiber Optic รองรับผู้มาใช้บริการ
       ภาระกิจที่ 2    ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ หรือ Business Incubator Center ในชื่อ "ศูนย์สร้างสรรค์
                       นวัตกรรมภูเก็ต" โดยให้บริการบ่มเพาะผู้ประกอบการใหม่ทางด้าน ICT เพื่อสร้าง
                       โอกาสทางธุรกิจ นวัตกรรมและการจ้างงาน
       ภาระกิจที่ 3    หน่วยวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมและการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม หรือ
                       Research and Development Lab เพื่อส่งเสริมและต่อยอดงานวิจัยให้พัฒนาสู่
                       เชิงพาณิชย์
ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาและอุตสาหกรรม
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
(Korat Software Park)

          ก่อตั้งภายใต้การกํากับขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาในปี 2552 เพื่อป็นศูนย์รวมในการ
พัฒนาและแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีสารสนเทศและซอฟต์แวร์ เพื่อตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมหลักของจังหวัด
นครราชสีมาและจังหวัดใกล้เคียง และเพื่อให้การพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจในจังหวัดและพื้นที่ในภาค
อีสานเป็นไปอย่างครบวงจร จึงได้ริเริ่มจัดทําโครงการจัดตั้ง “สถาบันเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสารเขาใหญ่ (Kaoyai ICT Academy : KICTA)” ขึ้น ภายในพื้นที่ประมาณ 160 ไร่ ซึ่ง
อยู่ในเขตติดต่ออุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เพื่อให้เป็นสถาบันทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)
สาหรับลูกหลานชาวโคราช และพื้นที่ใกล้เคียง ที่มุ่งเน้นในการใช้ ICT เพื่อการสนับสนุน (Supporting
Industry) อุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วน และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
กับการท่องเที่ยว เป็นต้น โดยไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิดเมือง ICT
(Green City) ภายในโครงการดังกล่าวประกอบไปด้วย ๓ ส่วนหลักๆ ดังนี้
       1) ส่วนการศึกษาและพัฒนาอุตสาหกรรมด้าน ICT (Education Zone) (ใช้พื้นที่ประมาณ 50% ของ
โครงการฯ) เป็นสถาบันการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในระดับอุดมศึกษาทางด้าน ICT แห่งแรก
ของประเทศไทย เพื่อรองรับความต้องการทางด้าน ICT ของภาคอุตสาหกรรมหลักในจังหวัดนครราชสีมา โดย
การเชื่อมโยงการศึกษาต่อยอดจากโรงเรียนมัธยมในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา และสา
นักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อมุ่งเน้นให้นักเรียนและนักศึกษามีความเชี่ยวชาญทางด้าน ICT สามารถ
ประกอบอาชีพได้ทันที ตลอดจนการฝึกอบรมอาชีพทางด้าน ICT ต่อยอดจากนักศึกษาที่จบมาจาก
มหาวิทยาลัย และวิทยาลัยในจังหวัดนครราชสีมา ประมาณ 1,500 คน / ปี
     2) พื้นที่ประกอบอุตสาหกรรมทางด้าน ICT (Business Zone) (ใช้พื้นที่ประมาณ 30% ของโครงการฯ)
เป็นการส่งเสริมการลงทุนสาหรับผู้ประกอบการทั้งภายใน และภายนอกจังหวัดนครราชสีมา ตลอดจนนัก
ลงทุนจากต่างประเทศ ที่ต้องการประกอบกิจการทางด้าน ICT สาหรับเป็นตลาดแรงงานทางด้าน ICT ให้กับ
ลูกหลานชาวโคราช โดยผู้ประกอบการที่เข้ามาประกอบกิจการดังกล่าวนั้น จะต้องว่าจ้างลูกหลานชาวโคราชที่
ผ่านการพัฒนาอาชีพจากสถาบันฯ ให้เข้าทางานในหน่วยงานนั้นๆ ซึ่งตั้งอยู่ภายในพื้นที่โครงการฯ
    3) สาธารณูปการ และที่พักอาศัย (Facilities & Residential Zone) (ใช้พื้นที่ประมาณ 20% ของ
โครงการฯ) เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอานวยความสะดวกต่างๆ ตลอดจนที่พักอาศัยภายใน
โครงการฯ ที่จาเป็นสาหรับการศึกษา การประกอบการ และการอยู่อาศัย ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ร่มรื่นสอดคล้อง
กับภูมิประเทศที่เป็นธรรมชาติ เพื่อเป็นการเสริมสร้างสุขภาพ การผ่อนคลายในการศึกษา และการทางาน
ตลอดจนเอื้อต่อการใช้ความคิดสร้างสรรค์
จะเห็นได้ว่า โครงการสถาบันเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเขา
ใหญ่จะเป็นสถาบันการศึกษา การเรียนรู้ การวิจัย เพื่อการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางด้าน ICT ให้มีความรู้
ความสามารถและความเชี่ยวชาญระดับมาตรฐานสากล ตลอดจนเป็นการสร้างอาชีพให้กับประชาชนอย่าง
ยั่งยืน โดยให้สามารถทางานอยู่ในพื้นที่สถาบันฯ ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในท้องถิ่นที่มีความคุ้นเคยมาตั้งแต่เกิด และยัง
เป็นการสร้างรายได้ให้กับประชาชน และเสริมสร้างเศรษฐกิจให้กับท้องถิ่น ตลอดจนเป็นการสนับสนุนนโยบาย
ทางด้าน ICT ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และของรัฐบาล ต่อไป”

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย 2557
รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย 2557รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย 2557
รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย 2557Yakuzaazero
 
Thossaphol o oo_migration_success_rmutto5_16_may_2012 [compatibility mode]
Thossaphol o oo_migration_success_rmutto5_16_may_2012 [compatibility mode]Thossaphol o oo_migration_success_rmutto5_16_may_2012 [compatibility mode]
Thossaphol o oo_migration_success_rmutto5_16_may_2012 [compatibility mode]Thossaphol Noratus
 
เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้กับการจัดการความรู้
เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้กับการจัดการความรู้เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้กับการจัดการความรู้
เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้กับการจัดการความรู้แอ้ม แอ้ม
 

La actualidad más candente (6)

รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย 2557
รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย 2557รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย 2557
รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย 2557
 
ppowerpoint
ppowerpointppowerpoint
ppowerpoint
 
Thossaphol o oo_migration_success_rmutto5_16_may_2012 [compatibility mode]
Thossaphol o oo_migration_success_rmutto5_16_may_2012 [compatibility mode]Thossaphol o oo_migration_success_rmutto5_16_may_2012 [compatibility mode]
Thossaphol o oo_migration_success_rmutto5_16_may_2012 [compatibility mode]
 
20190409 social-media-backup
20190409 social-media-backup20190409 social-media-backup
20190409 social-media-backup
 
เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้กับการจัดการความรู้
เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้กับการจัดการความรู้เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้กับการจัดการความรู้
เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้กับการจัดการความรู้
 
Vaja
VajaVaja
Vaja
 

Destacado

verieties of english by s.akshay
verieties of english by s.akshayverieties of english by s.akshay
verieties of english by s.akshayakshaysuthar1137
 
The design of cloud computing management information system accordance with t...
The design of cloud computing management information system accordance with t...The design of cloud computing management information system accordance with t...
The design of cloud computing management information system accordance with t...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
News story 2 script inprove
News story 2 script inproveNews story 2 script inprove
News story 2 script inprovedanielharrison12
 
Aapex 2011 exhibitor summit aapex express and show guide
Aapex 2011 exhibitor summit   aapex express and show guideAapex 2011 exhibitor summit   aapex express and show guide
Aapex 2011 exhibitor summit aapex express and show guideAAPEX Show
 

Destacado (7)

verieties of english by s.akshay
verieties of english by s.akshayverieties of english by s.akshay
verieties of english by s.akshay
 
Tak 1 lanscape
Tak 1 lanscapeTak 1 lanscape
Tak 1 lanscape
 
The design of cloud computing management information system accordance with t...
The design of cloud computing management information system accordance with t...The design of cloud computing management information system accordance with t...
The design of cloud computing management information system accordance with t...
 
News story 2 script inprove
News story 2 script inproveNews story 2 script inprove
News story 2 script inprove
 
Fonts used
Fonts usedFonts used
Fonts used
 
Cf pendente
Cf pendenteCf pendente
Cf pendente
 
Aapex 2011 exhibitor summit aapex express and show guide
Aapex 2011 exhibitor summit   aapex express and show guideAapex 2011 exhibitor summit   aapex express and show guide
Aapex 2011 exhibitor summit aapex express and show guide
 

Similar a Fact sheet TSPA & Members

Information Technology for Knowledge society
Information Technology for Knowledge societyInformation Technology for Knowledge society
Information Technology for Knowledge societyBoonlert Aroonpiboon
 
Powerpoint
PowerpointPowerpoint
PowerpointSirintra
 
Smart Industry Vol.16/2011 "อุตสาหกรรมท่องเที่ยว น่านน้ำสีน้ำเงิน ของซอฟต์แวร...
Smart Industry Vol.16/2011 "อุตสาหกรรมท่องเที่ยว น่านน้ำสีน้ำเงิน ของซอฟต์แวร...Smart Industry Vol.16/2011 "อุตสาหกรรมท่องเที่ยว น่านน้ำสีน้ำเงิน ของซอฟต์แวร...
Smart Industry Vol.16/2011 "อุตสาหกรรมท่องเที่ยว น่านน้ำสีน้ำเงิน ของซอฟต์แวร...Software Park Thailand
 
ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์”
ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์”ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์”
ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์”Justice MengKing
 
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารปิยะดนัย วิเคียน
 
จรรยพร
จรรยพรจรรยพร
จรรยพรjunyapron
 
งานคอมเกด
งานคอมเกดงานคอมเกด
งานคอมเกดG'ad Smile
 
แนวทางการพัฒนา จังหวัด อัจฉริยะต้นแบบ นครนายก
แนวทางการพัฒนา จังหวัด อัจฉริยะต้นแบบ นครนายกแนวทางการพัฒนา จังหวัด อัจฉริยะต้นแบบ นครนายก
แนวทางการพัฒนา จังหวัด อัจฉริยะต้นแบบ นครนายกSurachai Sriviroj
 
1ผลการวิเคราะห์ swot ของศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
1ผลการวิเคราะห์ swot   ของศูนย์คอมพิวเตอร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย1ผลการวิเคราะห์ swot   ของศูนย์คอมพิวเตอร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
1ผลการวิเคราะห์ swot ของศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยjeabjeabloei
 
IMC Institute Press release in Thai
IMC Institute Press release in ThaiIMC Institute Press release in Thai
IMC Institute Press release in ThaiIMC Institute
 

Similar a Fact sheet TSPA & Members (20)

Thailand Software Park Alliance
Thailand Software Park AllianceThailand Software Park Alliance
Thailand Software Park Alliance
 
Bangkok1
Bangkok1Bangkok1
Bangkok1
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2560NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2560
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 13 ประจำเดือนเมษายน 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 13 ประจำเดือนเมษายน 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 13 ประจำเดือนเมษายน 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 13 ประจำเดือนเมษายน 2559
 
Information Technology for Knowledge society
Information Technology for Knowledge societyInformation Technology for Knowledge society
Information Technology for Knowledge society
 
Powerpoint
PowerpointPowerpoint
Powerpoint
 
Smart Industry Vol.16/2011 "อุตสาหกรรมท่องเที่ยว น่านน้ำสีน้ำเงิน ของซอฟต์แวร...
Smart Industry Vol.16/2011 "อุตสาหกรรมท่องเที่ยว น่านน้ำสีน้ำเงิน ของซอฟต์แวร...Smart Industry Vol.16/2011 "อุตสาหกรรมท่องเที่ยว น่านน้ำสีน้ำเงิน ของซอฟต์แวร...
Smart Industry Vol.16/2011 "อุตสาหกรรมท่องเที่ยว น่านน้ำสีน้ำเงิน ของซอฟต์แวร...
 
ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์”
ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์”ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์”
ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์”
 
STKS Handbook
STKS HandbookSTKS Handbook
STKS Handbook
 
e-Government Thailand
e-Government Thailande-Government Thailand
e-Government Thailand
 
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
 
จรรยพร
จรรยพรจรรยพร
จรรยพร
 
8
88
8
 
Group1
Group1Group1
Group1
 
Computer for CIO
Computer for CIOComputer for CIO
Computer for CIO
 
งานคอมเกด
งานคอมเกดงานคอมเกด
งานคอมเกด
 
แนวทางการพัฒนา จังหวัด อัจฉริยะต้นแบบ นครนายก
แนวทางการพัฒนา จังหวัด อัจฉริยะต้นแบบ นครนายกแนวทางการพัฒนา จังหวัด อัจฉริยะต้นแบบ นครนายก
แนวทางการพัฒนา จังหวัด อัจฉริยะต้นแบบ นครนายก
 
1ผลการวิเคราะห์ swot ของศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
1ผลการวิเคราะห์ swot   ของศูนย์คอมพิวเตอร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย1ผลการวิเคราะห์ swot   ของศูนย์คอมพิวเตอร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
1ผลการวิเคราะห์ swot ของศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 17 ประจำเดือนสิงหาคม 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 17 ประจำเดือนสิงหาคม 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 17 ประจำเดือนสิงหาคม 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 17 ประจำเดือนสิงหาคม 2559
 
IMC Institute Press release in Thai
IMC Institute Press release in ThaiIMC Institute Press release in Thai
IMC Institute Press release in Thai
 

Más de Suganya Chatkaewmorakot

Invitation focus group national ict industry intelligence_25_oct2013
Invitation focus group national ict industry intelligence_25_oct2013Invitation focus group national ict industry intelligence_25_oct2013
Invitation focus group national ict industry intelligence_25_oct2013Suganya Chatkaewmorakot
 
Thailand ICT Award 2013 (TICTA 2013)_Final Result
Thailand ICT Award 2013 (TICTA 2013)_Final ResultThailand ICT Award 2013 (TICTA 2013)_Final Result
Thailand ICT Award 2013 (TICTA 2013)_Final ResultSuganya Chatkaewmorakot
 
Myanmar business guide by Pricewaterhousecoopers_July 2012
Myanmar business guide by Pricewaterhousecoopers_July 2012Myanmar business guide by Pricewaterhousecoopers_July 2012
Myanmar business guide by Pricewaterhousecoopers_July 2012Suganya Chatkaewmorakot
 
Thailand Pavilion's Exhibitors Manual for CommunicAsia2013
Thailand Pavilion's Exhibitors Manual for CommunicAsia2013Thailand Pavilion's Exhibitors Manual for CommunicAsia2013
Thailand Pavilion's Exhibitors Manual for CommunicAsia2013Suganya Chatkaewmorakot
 
Final Layout_Thailand Pavilion_Communic Asia 2013_4Jun2013
Final Layout_Thailand Pavilion_Communic Asia 2013_4Jun2013Final Layout_Thailand Pavilion_Communic Asia 2013_4Jun2013
Final Layout_Thailand Pavilion_Communic Asia 2013_4Jun2013Suganya Chatkaewmorakot
 
Adjusted booth perspective cmma2013 23_may2013
Adjusted booth perspective cmma2013 23_may2013Adjusted booth perspective cmma2013 23_may2013
Adjusted booth perspective cmma2013 23_may2013Suganya Chatkaewmorakot
 
Request info for booklet & press release cmma2013
Request info for booklet & press release cmma2013Request info for booklet & press release cmma2013
Request info for booklet & press release cmma2013Suganya Chatkaewmorakot
 
Thai it delegation to japan booklet 2012
Thai it delegation to japan booklet 2012Thai it delegation to japan booklet 2012
Thai it delegation to japan booklet 2012Suganya Chatkaewmorakot
 
Program thai it business mission to japan 2012
Program thai it business mission to japan 2012Program thai it business mission to japan 2012
Program thai it business mission to japan 2012Suganya Chatkaewmorakot
 
Event calendar thai it busienss delegation to tokyo 2012
Event calendar thai it busienss delegation to tokyo 2012Event calendar thai it busienss delegation to tokyo 2012
Event calendar thai it busienss delegation to tokyo 2012Suganya Chatkaewmorakot
 
Digital copyright asean network agenda & confirmation
Digital copyright asean network agenda & confirmationDigital copyright asean network agenda & confirmation
Digital copyright asean network agenda & confirmationSuganya Chatkaewmorakot
 

Más de Suganya Chatkaewmorakot (20)

Invitation focus group national ict industry intelligence_25_oct2013
Invitation focus group national ict industry intelligence_25_oct2013Invitation focus group national ict industry intelligence_25_oct2013
Invitation focus group national ict industry intelligence_25_oct2013
 
Thailand ICT Award 2013 (TICTA 2013)_Final Result
Thailand ICT Award 2013 (TICTA 2013)_Final ResultThailand ICT Award 2013 (TICTA 2013)_Final Result
Thailand ICT Award 2013 (TICTA 2013)_Final Result
 
Meeting agenda 17 sep2013
Meeting agenda 17 sep2013Meeting agenda 17 sep2013
Meeting agenda 17 sep2013
 
Myanmar business guide by Pricewaterhousecoopers_July 2012
Myanmar business guide by Pricewaterhousecoopers_July 2012Myanmar business guide by Pricewaterhousecoopers_July 2012
Myanmar business guide by Pricewaterhousecoopers_July 2012
 
Thailand Pavilion's Exhibitors Manual for CommunicAsia2013
Thailand Pavilion's Exhibitors Manual for CommunicAsia2013Thailand Pavilion's Exhibitors Manual for CommunicAsia2013
Thailand Pavilion's Exhibitors Manual for CommunicAsia2013
 
Final Layout_Thailand Pavilion_Communic Asia 2013_4Jun2013
Final Layout_Thailand Pavilion_Communic Asia 2013_4Jun2013Final Layout_Thailand Pavilion_Communic Asia 2013_4Jun2013
Final Layout_Thailand Pavilion_Communic Asia 2013_4Jun2013
 
Adjusted booth perspective cmma2013 23_may2013
Adjusted booth perspective cmma2013 23_may2013Adjusted booth perspective cmma2013 23_may2013
Adjusted booth perspective cmma2013 23_may2013
 
Votes for booth communic asia 2013
Votes for booth communic asia 2013Votes for booth communic asia 2013
Votes for booth communic asia 2013
 
Request info for booklet & press release cmma2013
Request info for booklet & press release cmma2013Request info for booklet & press release cmma2013
Request info for booklet & press release cmma2013
 
Communic asia2013 floorplan
Communic asia2013 floorplanCommunic asia2013 floorplan
Communic asia2013 floorplan
 
How to Register "Intel Developer Zone"
How to Register "Intel Developer Zone"How to Register "Intel Developer Zone"
How to Register "Intel Developer Zone"
 
The Social Media Report 2012 By Neilsen
The Social Media Report 2012 By NeilsenThe Social Media Report 2012 By Neilsen
The Social Media Report 2012 By Neilsen
 
Thai it delegation to japan booklet 2012
Thai it delegation to japan booklet 2012Thai it delegation to japan booklet 2012
Thai it delegation to japan booklet 2012
 
Program final japan delegation 2012
Program final japan delegation 2012Program final japan delegation 2012
Program final japan delegation 2012
 
Program thai it business mission to japan 2012
Program thai it business mission to japan 2012Program thai it business mission to japan 2012
Program thai it business mission to japan 2012
 
Pre activity manual japan 2012
Pre activity manual japan 2012Pre activity manual japan 2012
Pre activity manual japan 2012
 
Event calendar thai it busienss delegation to tokyo 2012
Event calendar thai it busienss delegation to tokyo 2012Event calendar thai it busienss delegation to tokyo 2012
Event calendar thai it busienss delegation to tokyo 2012
 
TICTA Awards 2012_Final Result
TICTA Awards 2012_Final ResultTICTA Awards 2012_Final Result
TICTA Awards 2012_Final Result
 
Agenda china market
Agenda china marketAgenda china market
Agenda china market
 
Digital copyright asean network agenda & confirmation
Digital copyright asean network agenda & confirmationDigital copyright asean network agenda & confirmation
Digital copyright asean network agenda & confirmation
 

Fact sheet TSPA & Members

  • 1. ข้อมูลเพิ่มเติม โครงการความร่วมมือในการพัฒนาเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ สู่ภูมิภาค (Thailand Software Park Alliances: TSPA) และ ข้อมูลเบื้องต้นของพาร์คแต่ละแห่ง
  • 2. โครงการความร่วมมือขยายซอฟต์แวร์พาร์คสู่ภูมิภาค (Thailand Software Park Alliances: TSPA) หลักการและเหตุผล ปัจจุบันในหลายประเทศได้มีการจัดตั้งซอฟต์แวร์พาร์คขึ้นเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของ ประเทศ โดยกําหนดให้ซอฟต์แวร์พาร์คมีบทบาทในการเป็นประตูสู่ตลาดผู้ใช้ทั้งในและต่างประเทศ เป็นช่อง ทางการเข้าถึงผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ เป็นศูนย์กลางของข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และสร้างความ เชื่อมั่นให้กับผู้ใช้และคู่ค้าจากทั้งในและนอกประเทศ ในหลายประเทศมีการจัดตั้งซอฟต์แวร์พาร์คมากกว่า 1 แห่ง เพื่อช่วยสนับสนุนการพัฒนาซอฟต์แวร์ของประเทศให้ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน สําหรับประเทศไทย Software Park Thailand ได้ตระหนักถึงภารกิจดังกล่าว และได้ดําเนินงาน ส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศอย่างต่อเนื่องในหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านการพัฒนา เทคโนโลยี การพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรม การส่งเสริมการตลาด และการส่งเสริมให้เกิดการนําไอทีไปใช้ ในอุตสาหกรรมอื่นๆ นอกจากนี้ ภารกิจที่สําคัญอีกอย่างของ Software Park Thailand คือ การเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยง Software Park อื่นๆ ที่ตั้งอยู่ในแต่ละภูมิภาคของประเทศ ซึ่งจัดตั้งและดําเนินการส่งเสริม สนับสนุนธุรกิจ ซอฟต์แวร์อยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ Software Park ในประเทศไทยแต่ละแห่งมีจุดแข็งที่ต่างกันออกไปและอยู่ ภายใต้การบริหารจัดการของหน่วยงานที่ต่างกันทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทั้งสิ้น 4 พาร์ค ได้แก่ เขต อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขตอุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์ภูเก็ต และศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาและอุตสาหกรรม องค์การ บริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา (Korat Software Park) ทั้งนี้ ซอฟต์แวร์พาร์คทั้ง 4 แห่งเล็งเห็นว่า การที่จะทําให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทยเข็มแข็งเพื่อ แข่งขันกับนานาประเทศได้นั้น จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการรวมตัวกัน เพื่อร่วมกันสร้างและแบ่งปันความรู้ ความสามารถของตนในการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ในแต่ละพาร์คให้เข้มแข็ง มีความ ทัดเทียมกัน สร้างความเป็นปึกแผ่นในการดําเนินกิจกรรมต่างๆ ให้ประสานและสอดคล้องกันอย่างแน่นแฟ้น ไปในทิศทางเดียวกัน ให้เกิดความร่วมมือและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อให้อุตสากรรมซอฟต์แวร์ไทย สามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืน
  • 3. วัตถุประสงค์ความร่วมมือ 1. สร้างเครือข่ายความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมระหว่าง TSPA เพื่อให้เกิดผลในภาพรวมต่อ อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ 2. ขยายโอกาสทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ทั้งในส่วนกลางและในส่วนภูมิภาค 3. ขยายผลการจัดกิจกรรมต่างๆ ของ SWP ออกสู่ Park ในภูมิภาค สมาชิกเครือข่าย TSPA เครือข่าย Thailand Software Park Alliances (TSPA) เกิดจากความร่วมมือตั้งต้นระหว่างเขต อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ 4 แห่งในประเทศไทย ดังต่อไปนี้ สมาชิก TSPA ลักษะ หน่วยงานต้นสังกัด ปีที่ก่อตั้ง หน่วยงาน (พ.ศ.) 1. เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย ภาครัฐ สํานักงานพัฒนา 2540 Software Park Thailand วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 2. ศูนย์ประสานงานเขตอุสาหกรรม ภาคการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2546 ซอฟต์แวร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ E-Saan Software Park 3. เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภูเก็ต ภาคเอกชน บริษัท บลูลากูน ภูเก็ต 2551 Software Park Phuket จํากัด 4. ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการ ภาครัฐ องค์การบริหารส่วน 2552 สื่อสารเพื่อการศึกษาและอุตสาหกรรม จังหวัดนครราชสีมา องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา Korat Software Park
  • 4. ข้อมูลเพิ่มเติม เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (Software Park Thailand) ก่อตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2540 โดยเป็นหน่วยงานภายใต้การดูแลของ สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. เพื่อทําหน้าที่สนับสนุน และเสริมสร้างความ แข็งแกร่งให้ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยในทุกทาง ทั้งด้านบุคลากร การตลาด การลงทุน รวมถึงเทคโนโลยี อันทันสมัยในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มธุรกิจทุกกลุ่มภายในประเทศ ทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร และภาคการบริการ เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจไทย ซึ่งจะส่งผล ให้ตลาดซอฟต์แวร์ภายในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันได้สร้างความมั่นใจให้ผู้ผลิตซอฟต์แวร์จาก ต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศไทยด้วย วิสัยทัศน์ “เป็นองค์กรสนับสนุนผู้ประกอบการและสร้างอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยให้เทียบเท่าระดับโลก ทํา ให้ซอฟต์แวร์เป็นส่วนสําคัญที่ช่วยเพิ่มขีดความสามาถในการแข่งขันของเศรษฐกิจไทย” เขตอุ ต สาหกรรมซอฟต์ แ วร์ ป ระเทศไทยให้ ก ารสนั บ สนุ น และเสริ ม สร้ า งความแข็ ง แกร่ ง ให้ กั บ ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย ทั้งยังช่วยผลักดันอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีพันธ กิจหลัก 5 ด้าน ดังนี้ o สนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรไอที o สนับสนุน และส่งเสริมการปรับปรุงกระบวนการซอฟต์แวร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และคุณภาพของ บริษัทซอฟต์แวร์ไทยสู่มาตรฐานสากล o สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตร เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยในการ ขยายช่องทางการตลาดทั้งใน และต่างประเทศ o ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และอุตสาหกรรมอื่นๆ ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อ สร้างผลิตภัณฑ์ หรือปรับปรุงบริการของหน่วยงาน o ให้เช่าพื้นที่สํานักงาน ห้องประชุมใหญ่ ห้องประชุม ห้องฝึกอบรม และสัมมนา
  • 5. ศูนย์ประสานงานเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (E-Saan Software Park) เป็นองค์กรในกํากับของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับการจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2546 โดยความร่วมมือ และการสนับสนุนจาก 6 องค์กร ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น หอการค้าจังหวัดขอนแก่น สภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น หอการค้าสวีเดน-ไทย และชมรมธุรกิจคอมพิวเตอร์จังหวัดขอนแก่น โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และการเพิ่ม ศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ ในรูปแบบของนครไอซีที (ICT City) และเพื่อเป็นการสนับสนุนการจัดการ การศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการ และการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของมหาวิทยาลัย ตามนโยบาย และยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ให้ เป็ นไปอย่า งมีป ระสิทธิภ าพตามเป้ าประสงค์ของ มหาวิทยาลัยและของรัฐ ให้ศูนย์เป็นหน่วยงานในกํากับของมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีการดําเนินงานในลักษณะ พึ่งตนเอง มีการบริหารจัดการที่เป็นอิสระจากระบบราชการ ซึ่งดําเนินการตามหลักการและเป้าประสงค์ที่ ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • 6. เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภูเก็ต (Software Park Phuket) ซอฟต์แวร์พาร์คภูเก็ตเป็นพาร์คแรกที่ก่อตั้งโดย โดยภาคเอกชน ในปี พ.ศ. 2551 ภายใต้การสนับสนุนของ สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งประเทศไทย อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ และบริษัท บลูลากูนภูเก็ต จํากัด ในการดําเนินการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ที่เป็น Value Creation ให้กับภูเก็ตในการที่จะเสริมการท่องเ ่ยว และเป็นที่ที่ ICT Knowledge Worker มุ่งเข้ามา งเที เพื่อประกอบการ โดยมี 3 ภาระกิจหลักคือ ภาระกิจที่ 1 การให้บริการพื้นที่สําหรับผู้ประกอบการด้าน ICT ทั้งในและต่างประเทศ โดยได้รับ ความร่วมมือจาก CAT Telecom ในการติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ผ่าน Fiber Optic รองรับผู้มาใช้บริการ ภาระกิจที่ 2 ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ หรือ Business Incubator Center ในชื่อ "ศูนย์สร้างสรรค์ นวัตกรรมภูเก็ต" โดยให้บริการบ่มเพาะผู้ประกอบการใหม่ทางด้าน ICT เพื่อสร้าง โอกาสทางธุรกิจ นวัตกรรมและการจ้างงาน ภาระกิจที่ 3 หน่วยวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมและการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม หรือ Research and Development Lab เพื่อส่งเสริมและต่อยอดงานวิจัยให้พัฒนาสู่ เชิงพาณิชย์
  • 7. ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาและอุตสาหกรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา (Korat Software Park) ก่อตั้งภายใต้การกํากับขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาในปี 2552 เพื่อป็นศูนย์รวมในการ พัฒนาและแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีสารสนเทศและซอฟต์แวร์ เพื่อตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมหลักของจังหวัด นครราชสีมาและจังหวัดใกล้เคียง และเพื่อให้การพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจในจังหวัดและพื้นที่ในภาค อีสานเป็นไปอย่างครบวงจร จึงได้ริเริ่มจัดทําโครงการจัดตั้ง “สถาบันเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารเขาใหญ่ (Kaoyai ICT Academy : KICTA)” ขึ้น ภายในพื้นที่ประมาณ 160 ไร่ ซึ่ง อยู่ในเขตติดต่ออุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เพื่อให้เป็นสถาบันทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) สาหรับลูกหลานชาวโคราช และพื้นที่ใกล้เคียง ที่มุ่งเน้นในการใช้ ICT เพื่อการสนับสนุน (Supporting Industry) อุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วน และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง กับการท่องเที่ยว เป็นต้น โดยไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิดเมือง ICT (Green City) ภายในโครงการดังกล่าวประกอบไปด้วย ๓ ส่วนหลักๆ ดังนี้ 1) ส่วนการศึกษาและพัฒนาอุตสาหกรรมด้าน ICT (Education Zone) (ใช้พื้นที่ประมาณ 50% ของ โครงการฯ) เป็นสถาบันการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในระดับอุดมศึกษาทางด้าน ICT แห่งแรก ของประเทศไทย เพื่อรองรับความต้องการทางด้าน ICT ของภาคอุตสาหกรรมหลักในจังหวัดนครราชสีมา โดย การเชื่อมโยงการศึกษาต่อยอดจากโรงเรียนมัธยมในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา และสา นักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อมุ่งเน้นให้นักเรียนและนักศึกษามีความเชี่ยวชาญทางด้าน ICT สามารถ ประกอบอาชีพได้ทันที ตลอดจนการฝึกอบรมอาชีพทางด้าน ICT ต่อยอดจากนักศึกษาที่จบมาจาก มหาวิทยาลัย และวิทยาลัยในจังหวัดนครราชสีมา ประมาณ 1,500 คน / ปี 2) พื้นที่ประกอบอุตสาหกรรมทางด้าน ICT (Business Zone) (ใช้พื้นที่ประมาณ 30% ของโครงการฯ) เป็นการส่งเสริมการลงทุนสาหรับผู้ประกอบการทั้งภายใน และภายนอกจังหวัดนครราชสีมา ตลอดจนนัก ลงทุนจากต่างประเทศ ที่ต้องการประกอบกิจการทางด้าน ICT สาหรับเป็นตลาดแรงงานทางด้าน ICT ให้กับ ลูกหลานชาวโคราช โดยผู้ประกอบการที่เข้ามาประกอบกิจการดังกล่าวนั้น จะต้องว่าจ้างลูกหลานชาวโคราชที่ ผ่านการพัฒนาอาชีพจากสถาบันฯ ให้เข้าทางานในหน่วยงานนั้นๆ ซึ่งตั้งอยู่ภายในพื้นที่โครงการฯ 3) สาธารณูปการ และที่พักอาศัย (Facilities & Residential Zone) (ใช้พื้นที่ประมาณ 20% ของ โครงการฯ) เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอานวยความสะดวกต่างๆ ตลอดจนที่พักอาศัยภายใน โครงการฯ ที่จาเป็นสาหรับการศึกษา การประกอบการ และการอยู่อาศัย ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ร่มรื่นสอดคล้อง กับภูมิประเทศที่เป็นธรรมชาติ เพื่อเป็นการเสริมสร้างสุขภาพ การผ่อนคลายในการศึกษา และการทางาน ตลอดจนเอื้อต่อการใช้ความคิดสร้างสรรค์
  • 8. จะเห็นได้ว่า โครงการสถาบันเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเขา ใหญ่จะเป็นสถาบันการศึกษา การเรียนรู้ การวิจัย เพื่อการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางด้าน ICT ให้มีความรู้ ความสามารถและความเชี่ยวชาญระดับมาตรฐานสากล ตลอดจนเป็นการสร้างอาชีพให้กับประชาชนอย่าง ยั่งยืน โดยให้สามารถทางานอยู่ในพื้นที่สถาบันฯ ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในท้องถิ่นที่มีความคุ้นเคยมาตั้งแต่เกิด และยัง เป็นการสร้างรายได้ให้กับประชาชน และเสริมสร้างเศรษฐกิจให้กับท้องถิ่น ตลอดจนเป็นการสนับสนุนนโยบาย ทางด้าน ICT ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และของรัฐบาล ต่อไป”