SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 52
Descargar para leer sin conexión
เอกสารเผยแพร่



การสังกัดมัซฮับสะลัฟทั้งสี่


   ค้นคว้าและเรียบเรียงโดย
     อ. อาริฟีน แสงวิมาน




      พฤศจิกายน 2555
การสังกัดมัซฮับสะลัฟทั้งสี่                                                                                          1


                                                       สารบัญ


บทนํา .................................................................................................................. 2
ความสําคัญของนิติศาสตร์อิสลาม ....................................................................... 4
ความต้องการนิติศาสตร์อิสลาม ........................................................................... 7
ข้อแตกต่างระหว่างการสังกัดมัซฮับและความคลั่งไคล้ในมัซฮับ ......................... 16
นิยามของมัซฮับ ................................................................................................ 17
ความเป็นมาของมัซฮับ ...................................................................................... 20
ปวงปราชญ์มัซฮับหะนะฟีย์ ............................................................................... 25
ปวงปราชญ์มัซฮับมาลิกีย์ .................................................................................. 25
ปวงปราชญ์มัซฮับอิหม่ามอัชชาฟิอีย์.................................................................. 26
ปวงปราชญ์มัซฮับฮัมบาลีย์ ................................................................................ 26
สาเหตุที่จํากัดอยู่ในการตักลีดตามมัซฮับทั้งสี่ .................................................... 29
การตามมัซฮับอื่นจากมัซฮับทั้งสี่ ....................................................................... 32
มัซฮับทั้งสี่เป็นปัจจัยที่สร้างความเป็นเอกภาพหรือสร้างความแตกแยก ............. 34
ระดับขั้นของปราชญ์นิติศาสตร์อิสลาม .............................................................. 38
บทสรุปคําอธิบายประเภทของนักปราชญ์.......................................................... 39
การย้ายมัซฮับของนักปราชญ์ ............................................................................ 46
บทส่งท้าย ......................................................................................................... 49
2                                                         เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์


                                    บทนํา




                            ...


       ประวัติศาสตร์อันยาวนานตั้งแต่พันปีกว่าปีมาแล้วจวบจนถึงปัจจุบัน มุสลิม
ส่วนใหญ่ต่างปฏิบัติตามแนวทางของสะลัฟศอลิห์จากมัซฮับอิหม่ามทั้งสี่ที่ได้ตาม
หลักการของอัลกุรอานและซุนนะฮ์โดยได้รับสืบทอดมาจากตาบิอีน ศ่อฮาบะฮ์
และจนถึงท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม หลังจากนั้นเหล่าสานุศิษย์ของ
อิหม่ามทั้งสี่ได้ทําการบันทึกหลักการ กฎเกณฑ์ และหลักการวินิจฉัยของอิหม่าม
แต่ละมัซฮับที่ได้สืบทอดโดยปราชญ์ผู้มีคุณธรรมอย่างต่อเนื่องจนถึงเราในปัจจุบัน
ดังนั้นมัซฮับสะลัฟหลักๆ ที่มีความสืบเนื่องและไม่ขาดตอนจนถึงปัจจุบันนี้ คือ
มัซฮับหะนะฟีย์ มัซฮับมาลิกีย์ มัซฮับชาฟิอีย์ และมัซฮับฮัมบะลีย์
      ท่านอิหม่ามวะลียุลลอฮฺ อัดดิฮ์ลาวีย์ ร่อหิมะฮุล ลอฮฺ ท่านได้กล่าวว่า
“แท้จริง บรรดามัซฮับทั้งสี่ที่ได้ถูกบันทึกหลักการไว้เรียบร้อยแล้วนั้น ประชาชาติ
อิสลามหรือผู้ที่ถูกนับการลงมติของเขาได้นั้น มีมติเห็นพ้องว่า อนุญาตให้ทําการ
ตักลีดตามมัซฮับทั้งสี่ได้ จนกระทั่งถึงยุคสมัยของเรานี้ และในสิ่งดังกล่าวเป็นการ
รักษาไว้ซึ่งคุณประโยชน์อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคสมัยนี้ ซึ่งบรรดา
การสังกัดมัซฮับสะลัฟทั้งสี่                                                                            3


ปณิธานความมุ่งมั่นได้ถดถอยลงไปอย่างมาก และบรรดาจิตใจได้ดื่มด่ํากับอารมณ์
และทุกๆ คนทีมีความเห็นต่างก็อวดว่าความเห็นของเขาดี”1
            ่
      ดังนั้นผู้เขียนจึงค้นคว้าและเรียบเรียงเกี่ยวกับความสําคัญของมัซฮับทั้งสี่
และบทบาทสําคัญที่มีต่อนิติศาสตร์อิสลาม เพื่อให้พี่น้องมุสลิมส่วนใหญ่ตระหนัก
ว่า แนวทางที่พวกเขาดําเนินอยู่นั้นคือแนวทางของสะลัฟศอลิหฺที่อยู่บนทางนํา
และเป็นแนวทางที่อัล ลอฮฺตะอาลาทรงเลือกให้ป ระชาชาติอิสลามส่วนใหญ่ได้
เจริญรอยตาม
                                                                      อาริฟีน แสงวิมาน
                                                                        บ่าวผู้ต่ําต้อย
                                                                      สถาบันอัลกุดวะฮ์




1
  วะลียุลลอฮฺ อัดดิฮ์ละวีย,์ อัลอินศ็อฟ, หน้า 53. และวะลียุลลอฮฺ อัดดิฮ์ละวีย์, อัลหุจญฺตุลบาลิเฆาะฮ์, เล่ม
1, หน้า 123.
4                                                                 เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์


ความสําคัญของนิติศาสตร์อิสลาม
      เป็นที่ประจักษ์ว่า นิติศาสตร์อิสลาม(วิชาฟิกฮฺ) เป็นหนึ่งจากศาสตร์แขนง
ต่างๆ ของอิส ลามที่มีความสําคัญและมีเกียรติเป็น อย่างยิ่ง และการบ่งชี้ ให้
ตระหนั ก ถึ ง ความสํ า คั ญ ในศาสตร์ แ ขนงนี้ ก็ ถื อ ว่ า เพี ย งพอแล้ ว ด้ ว ยคํ า ตรั ส
ของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ว่า




       “และบรรดาศรัทธาชนทั้งหลายไม่บังควรที่จะออก(ไปสู่สมรภูมิรบ)
       พร้อมกันทั้งหมด ดังนั้นไฉนเล่าจึงไม่ให้แต่ละกลุ่มย่อยจากพวกเขา
       ทั้งหมดออกไป(สมรภูมิ) เพื่อ (พวกที่เหลือ) จะได้ศึกษาให้เข้าใจ
       ในเรื่องศาสนาและเพื่อพวกนี้จะได้ชี้แจงแก่พวกพ้องของเขา(ที่
       ออกไปสมรภูมิ) เมื่อพวกเขากลับมายังพวกตน เพื่อพวกเขาจะได้
       สังวรตน(ในบัญญัติของอัลลอฮฺ)”[อัตเตาบะฮ์: 122]
และพระองค์ทรงตรัสว่า




       “อัล ลอฮฺทรงยืน ยันว่า อัน ที่จริงพระองค์นั้น ไม่มีพระเจ้าอื่น ใด
       นอกจากพระองค์ และ(ได้ยืนยันเช่นนั้น) โดยมะลาอิกะฮ์และ
       บรรดาผู้ทรงความรู้ทั้งหลาย โดยยืน ยัน อยู่กั บ ความเที่ย งธรรม
การสังกัดมัซฮับสะลัฟทั้งสี่                                                              5


           แน่นอนที่สุดไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ผู้ทรงอํานาจยิ่ง อีก
           ทั้งทรงปรีชายิ่ง”[อาละอิมรอน: 18]
        ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ กล่าวว่า “ดังนั้น ท่านโปรดพิจารณาว่า อย่างไร
เล่าที่อัลลอฮฺทรงเริ่มกล่าวยืนยันด้วยกับพระองค์เองเป็นอันดับแรก(ในการรู้มา
ตั้งแต่เดิมแล้วว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์) และรองลงมาคือบรรดามะ
ลาอิกะฮ์ และกล่าวยืนยันเป็นอันดับที่สามด้วยกับบรรดาผู้มีความรู้ เพราะฉะนั้น
ท่านจงตอบรับเกียรติภูมิ ความเลอเลิศ ความโดดเด่น และความสลักสําคัญเหล่านี้
เถิด”2 พระองค์ทรงตรัสเช่นกันว่า




           “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย เมื่อมีผู้กล่าวแก่พวกเขาว่า พวกท่านจง
           ขยายที่นั่ง(ของพวกท่านให้กับคนอื่นเข้ามานั่งด้วย) ดังนั้น พวกเจ้าก็
           จงขยาย(ที่ นั่ง )เถิ ด แล้ ว อั ล ลอฮฺ จัก ทรงขยายแก่ พวกเจ้ า (ให้ กว้ า ง
           ขวาง) และเมื่อมีผู้พูดว่า พวกท่านจงลุกขึ้นเถิด พวกเจ้าก็จงลุกขึ้น
           เถิด อัลลอฮฺทรงยกย่องบรรดาผู้ศรัทธาจากพวกเจ้าและบรรดาผู้
           ได้รับความรอบรู้หลายฐานันดร และอัลลอฮฺทรงตระหนักยิ่งในสิ่งที่
           พวกเจ้าประพฤติ”[อัลมุญาดะละฮ์: 11]
       ท่านอัลบุคคอรีย์ ได้รายงานจากท่านมุอาวิยะฮ์ว่า ท่านร่อซูลุลลอฮฺ
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

2
    อัลฆ่อซาลีย,์ อิหฺยาอ์ อุลูมิดดีน, เล่ม 1, หน้า 4.
6                                                                            เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์




        “ผู้ใดที่อัลลอฮฺทรงประสงค์ความดีให้แก่เขา แน่นอนพระองค์จะทรง
        ให้เขามีความเข้าใจในเรื่องของศาสนา”3
ท่านอัตติรมีซีย์ จากท่านอะบีอุมามะฮ์ อัลบาฮิลีย์ ว่า




        “ได้ ถู ก เอ่ ย ขึ้ น แก่ ท่ า นร่ อ ซู ลุ ล ลอฮฺ ศ็ อ ลลั ล ลอฮุ อ ะลั ย ฮิ ว ะซั ล ลั ม
        เกี่ยวกับบุรุษสองประเภท คือคนหนึ่งเป็นนักอิบาดะฮ์4 และอีกคน
        หนึ่งเป็น ผู้มีความรู้ แล้ว ท่านร่อซูลุล ลอฮฺ ศ็อลลัล ลอฮุอะลัย ฮิ
        วะซัลลัม กล่าวว่า ผู้มีความรู้ย่อมประเสริฐเหนือกว่าผู้ทําอิบาดะฮ์
        เปรียบดั่งความประเสริฐของฉันเหนือกว่าผู้ต่ําต้อยจากพวกท่าน
        หลังจากนั้น ท่านร่อซูลุลลอฮฺกล่าวอีกว่า แท้จริงอัลลอฮฺ มาลาอิกะฮ์
        ของพระองค์ ผู้ที่อยู่ในฟากฟ้าและแผ่นดิน แม้กระทั่งมดที่อยู่ในรัง
        และหมู่ปลาในท้องทะเล ก็จะประสาทพรให้แก่ผู้ที่สั่งสอนบรรดา
        มนุษย์ในเรื่องความดีงาม”5

3
  รายงานโดยอัลบุคอรีย,์ หะดีษเลขที่ 71. และมุสลิม, หะดีษเลขที่ 1037.
4
  คือนักทําอิบาดะฮ์ที่ไม่มีความรู.้
5
  รายงานโดยอัตติรมีซีย,์ หะดีษเลขที่ 2685.
การสังกัดมัซฮับสะลัฟทั้งสี่                                                   7


        ท่านอัลค่อฏีบ อัลบัฆดาดีย์ ได้กล่าวรายงานจากท่านอุมัร บิน อับดุลอะซีซ
ว่า “ผู้ใดที่ปฏิบัติบนพื้นฐานที่ปราศจากความรู้ แน่นอน สิ่งที่เขาทํานั้นก่อให้เกิด
ความเสียหายมากกว่าทําให้เกิดประโยชน์”6


ความต้องการนิติศาสตร์อิสลาม
      ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาอดีต ปัจจุบัน และอนาคต บรรดามนุษย์นั้น จะไม่
ต้องการสิ่งใดที่เราจะเปรียบเสมือนได้เทียบเท่ากับความต้องการไปยัง นิติศาสตร์
อิสลาม(ฟิกห์) เนื่องจากว่านิติศาสตร์อิสลามมีบทบาทและสัมผัสกับทุกแง่มุมต่างๆ
ในการดําเนินชีวิต ด้วยเหตุนี้ นักปราชญ์นิติศาสตร์อิสลาม(อัลฟุก่อฮาอฺ)จึงมี
ตําแหน่งที่สําคัญและฐานันดรที่สูงส่ง บรรดานักปราชญ์นิติศาสตร์อิสลามระดับ
แนวหน้า ได้เน้นเอาใจใส่นิติศาสตร์อิสลามก่อนวิชาหะดีษ ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขา
จะให้ความสําคัญในการรายงานหะดีษของนักปราชญ์นิติศาสตร์ ที่รายงานจาก
นักปราชญ์นิติศาสตร์ มาอยู่ก่อนการรายงานของนักปราชญ์หะดีษ ที่รายงานจาก
นักปราชญ์หะดีษ
          ท่านอิหม่ามอัรรอมะฮุรมุซีย์ ได้กล่าวว่า “รายงาน จากท่านวะกีอฺ บิน ญัร
รอหฺ ผู้เป็นอาจารย์ของท่านอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ ซึ่งเขาได้กล่าวแก่บรรดาสานุศิษย์
ว่า การรายงานของ อัลอะอฺมัช จาก อะบีวาอิล จาก อับดุลลอฮฺ(อิบนุมัสอูด) เป็น
ที่รักยิ่งสําหรับพวกท่าน หรือว่า การรายงานของท่านซุฟยาน (อัษเษารีย์) จาก
มันซูร จาก อิบรอฮีม จาก อัลก่อมะฮ์ จาก อับดุลลอฮฺ(อิบนุมัสอูด)?” พวกเรา
กล่าวตอบว่า “การรายงานของ อัลอะอฺมัช จาก อะบีวาอิล ย่อมใกล้กว่า” แล้ว

6
    อัลค่อฏีบ อัลบัฆดาดีย,์ อัลฟะกีฮ์ วัล มุตะฟักกิฮ,์ เล่ม 1, หน้า 109.
8                                                                              เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์


ท่านอัลวะกีอฺ กล่าวว่า “อัลอะอฺมัชคืออาจารย์(นักหะดีษ) และอะบูวาอิล ก็คือ
อาจารย์(นักหะดีษ) แต่การรายงานของท่านซุฟยาน จาก มันซูร จาก อิบรอ
ฮีม จาก อัลก่อมะฮ์ จาก ท่านอับดุลลอฮฺ(อิบนุมัสอูด) นั้น คือการรายงานของ
นักปราชญ์นิติศาสตร์ จาก นักปราชญ์นิติศาสตร์ จาก นักปราชญ์นิติศาสตร์
จาก นักปราชญ์นิติศาสตร์”7
       ดังนั้น ท่านโปรดจงพิจารณาคํากล่าวของท่านอัลวะกีอฺ บิน อัลญัรรอหฺ ซึ่ง
ท่านถือว่า สายโซ่จากการรายงานของบรรดานักปราชญ์นิติศาสตร์ย่อมเหนือกว่า
สายโซ่การรายงานของนักปราชญ์ที่ไม่ชํานาญในด้านนิติศาสตร์ ถึงแม้ว่าพวกเขา
จะเป็นนักปราชญ์ในวิชาหะดีษก็ตาม
          ส่วนหนึ่งจากความบกพร่องอย่างชัดเจน ก็คือ มีผู้คนมากมายที่ทําการอัน
ไร้สาระในเชิงวิชาการ โดยแอบอ้างชวนเชื่อว่าอยู่ภายใต้เอกลักษณ์ ความโดดเด่น
ในการเจริญรอยตามและให้ความสําคัญกับซุนนะฮ์ แต่ท่านจะเห็นว่า เขาผู้นั้นขาด
ความเข้าใจและปราศจากความรู้ ในลักษณะที่เขาได้ทําการศึกษาบรรดาตําราหะ
ดีษเป็นอันดับแรก เช่น หนังสือศ่อฮีหฺอัลบุคอรีย์ ศ่อฮีหฺมุสลิม หรือสุนันอะบีดาวูด
หลังจากนั้น เขาก็ยึดตําราหะดีษมาเป็นข้ออ้างอิงในการฟัตวาไขปัญหาศาสนาและ
ตั ด สิ น ฮุ กุ่ ม ต่ า งๆ ออกมา ทั้ ง ที่ ผู้ เ ข้ า ใจในหลั ก วิ ช าการศาสนาย่ อ มทราบดี ว่ า
คุณสมบัติของการฟัตวาไขปัญหาศาสนานั้น ต้องมีกฎเกณฑ์และเงื่อนไขมากมาย
ซึ่งผู้ใดที่ไม่มีคุณสมบัติดังกล่าว ก็ไม่อนุญาตให้เขาทําการฟัตวาและตัดสินฮุกุ่ม
ออกมา
           นีคือ ท่านอิหม่ามอะหฺมัด บิน ฮัมบัล ซึ่งได้มีชายผู้หนึ่งถามท่านว่า
             ่


7
    อัรรอมะฮุรมุซีย,์ อัลมุหัดดิษ อัลฟาซิล บัยนัร รอวีย์ วัล วาอี, หน้า 238.
การสังกัดมัซฮับสะลัฟทั้งสี่                                                   9


                    :       . :
                                  :       . :                   :   . :
                                                            .             :



           “เมื่อมีชายผู้หนึ่งได้ท่องจําหนึ่งแสนหะดีษ เขาย่อมเป็นนักปราชญ์
           นิติศาสตร์(ฟิกฮฺ)หรือไม่?” ท่านอะหฺมัดตอบว่า “ยังไม่สามารถเป็น
           นักปราชญ์นิติศาสตร์ได้หรอก” ชายผู้นั้นกล่าวถามอีกว่า “แล้วถ้า
           จําสองแสนหะดีษล่ะ?” ท่านอะหฺมัดตอบว่า “ก็ยังไม่เป็นหรอก”
           ชายผู้นั้นกล่าวถามอีกว่า “แล้วถ้าสามแสนหะดีษล่ะ?” ท่านอะหฺมัด
           ตอบว่า “ก็ยังไม่ได้เป็นหรอก” ชายผู้นั้นกล่าวถามอีกว่า “แล้วสี่
           แสนหะดีษล่ะ?” ดังนั้น ท่านอะหฺมัดจึงกล่าวด้วยการทําสัญญาณ
           เคลื่อนไหวมือ ซึ่งหมายถึง อนุญาตให้เ ขาเป็น นักปราชญ์
           นิติศาสตร์ได้ หากเขาสามารถท่องจําหะดีษได้เป็นจํานวนมาก
           พร้อมกับรู้ความหมายทางภาษาอาหรับ รู้ถึงบรรดาหลักมูลฐาน
           ของนิติศาสตร์อิสลาม(อุศูลุลฟิกฮฺ) และบรรดาคํากล่าวของปวง
           ปราชญ์ที่อยู่ก่อนจากเขา ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่า บางทีเขาก็อาจจะมี
           คุณสมบัติในการฟัตวาไขปัญหาศาสนาแก่ผู้คนทั้งหลายด้วยคําพูด
           และการวินิจฉัยของเขาเองได้”8



8
    อิบนุก็อยยิม, อิอฺลาม อัลมุวักกิอีน, เล่ม 1, หน้า 45.
10                                                                    เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์


ได้ถูกตั้งคําถามกับท่านอิบนุชากิลา ผู้เป็นนักปราชญ์ท่านสําคัญของมัซฮับฮัม
บาลีย์ ว่า




           “ท่านจดจําบรรดาหะดีษ(สี่แสนหะดีษ)หรือไม่? ท่านอิบนุชากิลา
           กล่าวว่า “หากฉันไม่จดจํามัน แน่นอน ฉันก็จะทําการฟัตวาด้วย
           คํ า พู ด ของบรรดานั ก ปราชญ์ ที่ จ ดจํ า มั น หรื อ นั ก ปราชญ์ ที่ จ ดจํ า
           มากกว่านั้น”9 จุดมุ่งหมายก็คือ ท่านอิบนุชากิลา ได้ทําการตักลีดฟัต
           วาของท่านอิหม่ามอะหฺมัด อิบนุฮัมบัล
      ท่านอัซซะฮะบีย์ได้กล่าวถึงท่านอิบนุชากิลาว่า “เขาคือเกจิอาจารย์ของ
บรรดานักปราชญ์มัซฮับฮัมบาลี ซึ่งเขามีอีกนามหนึ่งว่า อะบูอิสหาก เขาเป็นผู้นํา
ทางด้านวิชามูลฐานนิติศาสตร์อิสลาม(อุศูลุลฟิกฮฺ)และข้อปลีกย่อยของนิติศาสตร์
อิสลาม”10
           ท่านอิหม่ามอิบนุวะฮ์บฺ ร่อหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า




9
    อิบนุมุฟลิห,์ อัลมักศ็อด อัลอัรชัด, เล่ม 2, หน้า 291.
10
     อัซซะฮะบีย,์ ซิยัร อะอฺลาม อันนุบะลาอฺ, เล่ม 16, หน้า 292.
การสังกัดมัซฮับสะลัฟทั้งสี่                                                                       11


        “มีนักปราชญ์อยู่สี่ท่านที่เราได้เจริญรอยตามเกี่ยวกับ วิช าความรู้
        สองท่านอยู่ที่อียิปต์ และอีกสองท่านอยู่ที่นครมะดีนะฮ์ คือ ท่านอัล
        ลัยษ์ บิน สะอัด และท่านอัมร์ บิน อัลหาริษ อยู่ที่อียิปต์ และท่านมา
        ลิก บิน อะนัส และท่านอับดุลอะซีซฺ อัลมาญิชูน อยู่ที่นครมะดีนะฮ์
        ซึ่งหากว่าไม่มีพวกเขาแล้ว แน่นอน พวกเราก็คงจะหลงทาง”11
ท่านอิหม่ามอิบนุวะฮฺบ์กล่าวอีกว่า
                           :
                                                                                      :
                                                                :
        “หากแม้นว่า อัลลอฮฺ ไม่ทรงกอบกู้ฉัน ด้ว ยท่านอิหม่ามมาลิกและ
        ท่านอัลลัยษ์แล้ว แน่นอน ฉันก็ต้องหลงทางเป็นแน่” เพราะฉะนั้น
        จึงถูกตั้งคําถามแก่ท่านอิบนุวะฮฺบ์ว่า “ดังกล่าวนั้นมันเป็นอย่างไร
        กันหรือ?” ท่านอิบนุวะฮฺบ์ตอบว่า “ฉันทําการรายงานหะดีษมาก
        มาย แล้วมันทําให้ฉันสับสน ดังนั้น ฉันจึงนําสิ่งดังกล่าวมาเสนอ
        ทบทวนกับท่านมาลิกและท่านอัลลัยษ์ แล้วท่านทั้งสองก็กล่าว
        แนะนําว่า “ท่านจงยึดเอาหะดีษนี้ และจงละทิ้งหะดีษนี”12 ้
       ท่านอัซซะฮะบีย์ ได้กล่าวถึงท่านอิหม่ามอิบนุวะฮฺบ์ว่า “เขาคือ อับดุลลอฮฺ
อิบนุวะฮฺบ์ เขาเป็นอิหม่าม เป็นชัยคุลอิสลาม เป็นนักจําหะดีษ เป็นแหล่งของวิชา

11
  อิบนุอะซากิร, ตารีค ดิมัชก์, เล่ม 45, หน้า 464.
12
  อัลกอฎีย์ อิยาฎ, ตัรตีบ อัลมะดาริก, เล่ม 2, หน้า 427, และอิบนุฟัรหูน, อัดดีบาจญ์ อัลมุษะฮ์ฮับ, เล่ม 1,
หน้า 133.
12                                                                      เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์


ความรู้ และเป็นคลังของการปฏิบัติคุณงามความดี... ได้รายงานจากท่านอัสซั๊วะหฺ
นูน ว่า ท่านอิบนุวะฮฺบ์ ได้แบ่งช่วงเวลาออกเป็นสามส่วน คือ ส่วนที่หนึ่งทําการ
ละหมาด ส่วนที่สองสอนวิชาความรู้ที่อียิปต์ และส่วนที่สาม ทําฮัจญ์ และท่านอิบ
นุวะฮฺบ์กล่าวว่า เขาได้ทําฮัจญ์ถึง 36 ครัง”13
                                         ้
       ท่านอิหม่ามค่อฏีบ อัลบัฆดาดีย์ กล่าวว่า “มีผู้ชายคนหนึ่งได้ถามท่านอะ
บีอัลอับบาสเกี่ยวกับความหมายของหะดีษหนึ่ง แล้วท่านตอบว่า พวกท่านจงทํา
ให้น้อยกับการรายงานหะดีษ เพราะว่าบรรดาหะดีษจะไม่เหมาะสม นอกจาก
สําหรับผู้ที่รอบรู้ถึงการอธิบายมัน”14
      ท่านอิหม่ามมาลิก บิน อะนัส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า “บรรดาหะดีษ
ส่วนมากนั้น ลุ่มหลง15 ขอสาบานว่า มีหลายหะดีษที่รายงานออกมาจากฉัน และ
ฉันปรารถนาที่จะโบยทุกๆ หะดีษถึง 2 ครั้ง และอยากให้(เสมือนกับว่า)ฉันไม่เคย
รายงานมันมาก่อนเลย”16
      ท่านอิหม่ามอัลฮากิม กล่าวว่า “ทั้งที่ท่านอิหม่ามมาลิกมีความเข้มงวดใน
การวิจารณ์หะดีษและสืบเสาะแสวงหาหะดีษน้อยมาก แต่ท่านก็ยังปกปิดบางหะ
ดีษ เพราะฉะนั้นจะเป็นอย่างไรเล่าสําหรับผู้ที่ไม่ใช่อิหม่ามมาลิก ที่ทําการรายงาน



13
   อัซซะฮะบีย,์ ซิยัร อะลามอันนุบะลาอฺ, เล่ม 9, หน้า 223.
14
   อัลค่อฏีบ อัลบัฆดาดีย,์ อัลฟะกีฮ์ วัล มุตะฟักกิฮ,์ เล่ม 2, หน้า 158.
15
   จากคํากล่าวของท่านอิหม่ามมาลิกนี้ หมายถึง มีหลายหะดีษที่มีสายรายงานที่กุเท็จแล้วทําการรายงานมัน
ออกไป หลังจากนั้นท่านอิหม่ามมาลิกจึงเข้มงวดในการรับและรายงานหะดีษ และมีบางหะดีษที่ต้องนํา
กลับไปสอบถามกับนักปราชญ์นิติศาสตร์อิสลาม.
16
   เรื่องเดียวกัน.
การสังกัดมัซฮับสะลัฟทั้งสี่                                                        13


ด้วยความเสียหายและความวิบัติ(คือไม่ตรวจสอบและไม่มีความเข้มงวดในการรับ
และรายงานหะดีษ)”17
       ท่านอิหม่ามมาลิก ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้ส่งเสริมให้ญาติใกล้ชิดของท่านทํา
การแสวงหาหะดีษให้น้อยและให้มีความอุตสาหะในการศึกษาความเข้าใจหะดีษ
แท้จริง ท่านอิหม่ามมาลิก ได้กล่าวแก่อะบูบักรและอิสมาอีล ซึ่งทั้งสองเป็นบุตร
ของอะบูอวัยส์และน้องสาวของท่านว่า “ฉันเห็นว่าเธอทั้งสองชอบในการแสวงหา
          ุ
หะดีษ – คือทําการรวบรวมและฟังหะดีษ - ทั้งสองตอบว่า “ใช่แล้วครับ” ท่าน
อิหม่ามมาลิกกล่าวอีกว่า “หากเธอทั้งสองปรารถนาที่จะได้รับผลประโยชน์จาก
มัน และปรารถนาจากการที่อัลลอฮฺจะทรงประทานผลประโยชน์ ดังนั้น จงทําให้
น้อยกับการรวบรวมหะดีษและจงศึกษาวิชานิติศาสตร์อิสลาม(ฟิกฮฺ)เถิด”18
           ท่านอิหม่ามอัลฟัฏล์ บิน ดุกัยน์ อาจารย์ของอิหม่ามอัลบุคอรีย์ กล่าวว่า
                                        :
                                :                                           .


            “ฉันได้เดินทางไปหาท่านซุฟัร ซึ่งกําลังสวมเสื้ออยู่ แล้วเขาก็กล่าว
           ขึ้นว่า “โอ้ท่านอะหฺวัล เข้ามานี่ซิ ฉันจะแจกแจงรายละเอียดหะดีษ
           ให้ท่านฟัง และฉัน จึง ได้ร ายงานสิ่งที่ฉัน ได้ยิน มา” แล้ว ท่านซุฟั ร




17
     อัลฮากิม, มะริฟะฮ์ อุลูม อัลหะดีษ, หน้า 61.
18
     อัลค่อฏีบ อัลบัฆดาดีย,์ อัลฟะกีฮ์ วัล มุตะฟักกิฮ,์ เล่ม 2, หน้า 159.
14                                                                            เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์


        กล่าวว่า “หะดีษนี้นํามาใช้ไม่ได้ หะดีษนี้เป็นหะดีษที่มายกเลิก(อีก
        หะดีษหนึ่ง)และหะดีษนี้เป็นหะดีษที่ถูกยกเลิกไปแล้ว”19
        ท่านอิหม่ามอะหฺมัดได้นั่งร่วมกับบรรดานักปราชญ์หะดีษมากมาย ท่าน
ได้รับเอาหะดีษและได้รับประโยชน์จากพวกเขา แต่ฟิกฮฺของอิหม่ามอัชชาฟิอีย์นั้น
มีอิทธิพลต่อท่านอะหฺมัดเป็นอย่างมาก จนกระทั่งท่านอะห์มัดกล่าวว่า “สิ่งที่พวก
ท่านมีความเห็นโดยทั่วไปหรือทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นของอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ และตั้งแต่
30 ปี มาแล้วที่ฉันไม่เคยนอนในยามกลางคืน นอกจากว่า ฉันจะวอนขอดุอาอ์
ต่ออัลลอฮฺและขอให้พระองค์ทรงอภัยโทษแก่อิหม่ามอัชชาฟิอีย์”20 ท่านอิหม่าม
อะหฺมัดกล่าวว่า


        “ฉันไม่รู้ตัวบทที่มายกเลิกกับตัวบทที่ถูกยกเลิกจนกระทั่งฉันได้นั่ง
        ทบทวนกับอิหม่ามอัชชาฟิอีย์”21
ท่านอิหม่ามอะหฺมัดกล่าวเช่นกันว่า


                                                                                        .
        “อิหม่ามอัชชาฟิอีย์ คือผู้ที่มีความเข้าใจกิตาบุลลอฮฺและซุนนะฮ์มาก
        ที่สุด ทังที่ท่านแสวงหาหะดีษน้อย”22
                 ้

19
   เรื่องเดียวกัน, เล่ม 2 หน้า 162.
20
   อัลค่อฎีบ อัลบัฆดาดีย,์ ตารีค บัฆดาด, เล่ม 2, หน้า 62.
21
   อัลกอฎีย์ อิยาฎ, ตัรตีบ อัลมะดาริก, เล่ม 1, หน้า 139, และอิบนุฟัรหูน, อัดดีบาจญ์ อัลมุษะฮ์ฮับ, เล่ม 1,
หน้า 126.
การสังกัดมัซฮับสะลัฟทั้งสี่                                                   15


       ท่านอิหม่ามอิบนุมะอีนได้กล่าวกับท่านศอลิหฺ บุตร ท่านอิหม่ามอะหฺมัด
อิบนุฮัมบัลว่า


              :                                                    .
                                                                          :
         “บิดาของท่านไม่ละอายบ้างหรือ?! คือ ฉันเห็นเขาอยู่พร้อมกับ
         ท่านอัชชาฟิอีย์ โดยท่านอัชชาฟิอีย์ขี่สัตว์พาหนะแต่เขานั้นเดิน และ
         ฉันเห็นเขาจูงสัตว์พาหนะของท่านอัชชาฟิอีย์” ท่านศอลิหฺกล่าวว่า
         “ดังนั้น ฉันจึงเล่าให้บิดาของฉันฟัง และบิดาได้กล่าวแก่ฉันว่า “เจ้า
         จงบอกแก่เขาว่า หากท่านต้องการจะเข้าใจวิชาฟิกฮฺ ท่านก็จงจูง
         พาหนะของท่านอัชชาฟิอียอีกข้างหนึ่ง”23
                                    ์
         ท่านอัลคอฏีบ อัลบัฆดาดีย์ กล่าวว่า




         “เขาจงรู้ไว้เถิดว่า การบันทึกและรายงานหะดีษมากๆ นั้น ไม่
         สามารถทําให้ชายผู้หนึ่งเป็นนักปราชญ์ฟิกฮฺได้หรอก แต่ทว่าเขา
         จะต้ อ งทํ า ความเข้ า ใจด้ ว ยการวิ นิ จ ฉั ย บรรดาความหมายและ
         วิเคราะห์หะดีษอย่างรอบครอบ”24

22
   เรื่องเดียวกัน.
23
   อิบนุฟัรหูน, อัดดีบาจญ์ อัลมุษะฮ์ฮับ, เล่ม 1, หน้า 126.
24
   อัลค่อฏีบ อัลบัฆดาดีย,์ อัลฟะกีฮ์ วัล มุตะฟักกิฮ,์ เล่ม 2, หน้า 159.
16                                                            เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์


ข้อแตกต่างระหว่างการสังกัดมัซฮับและความคลั่งไคล้ในมัซฮับ
       การมีมัซฮับ คือ การที่สามัญชนตามมัซฮับของอิหม่ามที่อยู่ในระดับขั้นที่
สามารถวินิจฉัยได้(มุจญตะฮิด) ไม่ว่าเขาจะยึดอยู่กับมัซฮับของอิหม่ามคนเดียว
หรือย้ายไปย้ายมาระหว่างมัซฮับต่างๆ
        จุดประสงค์ของคําว่า อามมีย์ (เอาวาม) หมายถึง “ทุกบุคคลที่ยังไม่บรรลุ
ระดั บ ขั้ น วิ นิ จ ฉั ย ” นี่ คื อ ศั พ ท์ ค วามหมายทางด้ า นวิ ช าการตามทั ศ นะของ
นักปราชญ์มูลฐานนิติศาสตร์อิสลาม เพราะพวกเขาเรียกคนเอาวามว่า คนที่ยังไม่
ถึงขั้นระดับมุจญฺตะฮิด ตามที่กล่าวมานี้เอง คนเอาวามอาจหมายถึง “คนที่มี
ความถนัดในวิชานิติศาสตร์ หรือผู้ที่มีความถนัดในวิชาอักษรศาสตร์ หรือหมายถึง
คนที่มีความถนัดในการค้นหาอัลหะดีษและรอบรู้สายรายงานต่างๆ รวมถึงการ
จดจําหะดีษและสายรายงานของหะดีษ และรู้จักบรรดานักรายงานหะดีษ เป็นต้น
แต่เขายังไม่ถึงขั้นที่จะไปวินิจฉัย วิเคราะห์ตัวบทต่างๆ แห่งนิติศาสตร์อิสลาม
เพราะฉะนั้น คําพูดของเขาที่เกี่ยวกับนิติศาสตร์และการนําเอาฮุกุ่มออกมาจะไม่
เป็นที่ยอมรับ”
       ท่านอิหม่ามอัซซะร็อคชีย์ ซึ่งสังกัดมัซฮับหะนะฟีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ
ของเขาที่มีชื่อ อุศูล อัสซะร็อคซีย์ ความว่า “เช่นเดียวกัน บุคคลที่ท่องจําหะดีษ
เป็นแสน แต่ไม่มีวิสัยทัศน์ในการพิจารณาเกี่ยวกับความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆ
และวิธีของการกิยาส(เทียบเคียง) คําพูดของเขาจะไม่ถูกนํามาพิจารณาอยู่ใน
มติของปวงปราชญ์ เพราะบุคคลที่มีคุณลักษณะอย่างนี้นั้น ตามกฎหมายของ
แห่งนิติบัญญัติอิสลามนี้ ถือว่ายังเป็นคนเอาวามอยู่ ยังไม่ถึงขั้นระดับของมุจญฺ
ตะฮิด และแน่นอน คําพูดของคนเอาวามก็จะนํามาพิจารณาไม่ได้ตามมติปวง
การสังกัดมัซฮับสะลัฟทั้งสี่                                                                      17


ปราชญ์ของอิสลามในยุคนั้น เพราะเขาไม่มีแนวทางในการตัดสินปัญหาที่ยังต้อง
อาศัยองค์ความรู(้ ของเขาเพิ่มเข้ามาอีก)”25
         ท่านอิหม่ามอิบนุหะญัร อัลฮัยตะมีย์ (ร่อหิมะฮุลลอฮฺ) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ
ที่มีชื่อว่า อัลฟะตาวา อัลกุ๊บรอ ความว่า “ความหมายของคําว่า อามมีย์หรือเอา
วาม ตามศัพท์ทางด้านวิชาการของปวงปราชญ์แห่งมูลฐานนิติศาสตร์อิสลาม
หมายถึง ผู้ที่ยังไม่ถึงขั้นมุจญฺตะฮิดแบบมุฏลัก(นักวินิจฉัยเอกเทศน์) เพราะฉะนั้น
บรรดาผู้คนที่ตักลีดตามทัศนะของพวกเขา จึงถือว่าเป็นคนเอาวามทั้งสิ้น ถึงแม้
ระดับขั้นของพวกเขาจะสูงส่งสักปานใดก็ตาม ส่วนความหมายคํานิยามของปวง
ปราชญ์แห่งนิติศาสตร์อิสลาม (ที่มีคนเอาวาม) หมายถึง บุคคลที่เข้าใจและรู้ฮุกุ่ม
ผิว เผิ น ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในท่ า มกลางผู้ ค นทั้ ง หลาย แต่ จ ะไม่ รู้ ฮุ กุ่ ม ที่ มี ค วามล้ํ า ลึ ก
ละเอียดอ่อน และเป็นหุกุ่มที่ยากจะเกิดขึ้น”26 นี่คือความหมายของคําว่า “คนเอา
วาม” ตามวิสัยทัศน์ของปวงปราชญ์แห่งนิติศาสตร์อิสลาม


นิยามของมัซฮับ
         มัซฮับตามหลักภาษา หมายถึง ที่ไป หรือ ทางไป ตามหลักวิชาการ
หมายถึง ข้อเท็จ จริงที่เกี่ย วกับ ธรรมเนียมในเชิงปฏิบัติของปวงปราชญ์ที่ถูก
นํามาใช้กับฮุกุ่มต่างๆ ที่อิหม่ามในขั้นระดับมุจญฺตะฮิดได้วินิจฉัยออกมา หรือ
หมายถึงฮุกุ่มต่างๆ ที่ได้วินิจฉัยออกมาตรงตามกฎเกณฑ์และหลักการของอิหม่าม
ที่อยู่ในขั้นระดับมุจญฮิด และบรรดาสานุศิษย์ที่อยู่ในระดับมุจญฺตะฮิดได้นํา
หลักการต่างๆ ของอิหม่ามมาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์และวินิจฉัยฮุกุ่มออกมา
25
     อัสซะร็อคซีย,์ อุศูล อัสซะร็อคซีย,์ เล่ม 2, หน้า 251.
26
     อิบนุหะญัร อัลฮัยตะมีย,์ อัลฟะตาวา อัลก็อบรอ, เล่ม 2, หน้า 251.
18                                                                      เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์


         การมีมัซฮับตามความหมายที่กล่าวมานี้ จึงหมายถึง หนทางหรือแนวทาง
ของบรรดาปวงปราชญ์ที่ได้ยึดถือปฏิบัติกัน ไม่ว่าจะเป็นนักหะดีษ นักนิติศาสตร์
นักอธิบายอัลกุรอาน และอักษรศาสตร์ ซึ่งในเรื่องนี้นั้น ไม่มีนักวิชาการท่านใดที่
โลกยอมรับจะให้การปฏิเสธ เพราะท่านจะพบว่า บรรดานักวิชาการทั้งหลายเขา
ปฏิบัติตามมัซฮับที่ตนเองพึงพอใจทั้งสิ้น แล้วพวกเขาก็นํามาฟัตวาและตัดสินแก่
ผู้คนทั้งหลาย
       ท่านอัลลามะฮ์มุฮัมมัด อัลคิฎรฺ อัชชันกีฏีย์ ได้กล่าวว่า “ส่วนเรื่องการที่คน
เอาวามต้องปฏิบัติตามผู้รู้ที่เป็นมุจญฺตะฮิดนั้น มีหลักฐานจากอัลกุรอานและซุน
นะฮ์ และยังเป็นมติแห่งปวงปราชญ์ในสามศตวรรษแรกของอิสลามที่ได้รับการ
ยืนยันว่าเป็นประชาชาติที่ดีเลิศจากท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ผู้มี
สัจจะและได้ถูกรับรองความสัจจะจากอัลลอฮฺ ตะอาลา และยังรวมทั้งมติของปวง
ปราชญ์แห่งโลกอิสลามหลังจากนั้น นอกจากความขัดแย้งของกลุ่มมุอฺตะซิละฮ์ที่
อยู่ในกรุงแบกแดดที่มาขัดมติของปวงปราชญ์ตลอดยุคสมัยที่ผ่านมา”27
       ความจริงแล้ว การตักลีดเป็นที่แพร่หลายในยุคสมัยของศ่อฮาบะฮ์ผู้มี
เกียรติและไม่มีศ่อฮาบะฮ์คนใดที่ปฏิเสธเรื่องนี้เลย เพราะท่านอิหม่ามอิบนุหะญัร
อัลอัสก่อลานีย์ ซึ่งเป็นอะมีรุลมุอ์มินีนเกี่ยวกับวิชาหะดีษนั้น(หมายถึงผู้ที่จดจําหะ
ดีษและสายรายงานหะดีษต่างๆ จํานวนกว่าสามแสนหะดีษ) ได้กล่าวให้เราทราบ
ว่า “รายงานจากท่านฏอวูส (ร่อหิมะฮุลลอฮฺ) เขากล่าวว่า “ข้าพเจ้าได้พบเห็นศ่อ
ฮาบะฮ์ของท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ถึง 70 ท่าน เมื่อพวก


27
  มุฮัมมัด อัลคิฎรฺ อัชชันกีฏีย,์ ก๊อมอุ อะฮ์ลิลอิจญฮาด อัน อัฏเฏาะอฺนิ ฟี ตักลีด อะอิมมะฮ์ อัลอิจญ
ฮาด, หน้า 75.
การสังกัดมัซฮับสะลัฟทั้งสี่                                                                       19


เขาเกิดข้อพิพาทกันขึ้นในเรื่องหนึ่งเรื่องใด พวกเขาจะกลับไปยึดคําพูดของ
ท่านอิบนุอับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ”28
        เมื่อวิเคราะห์คํารายงานที่ได้กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า บรรดาศ่อฮาบะฮ์ของ
ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จํานวนมากจะตักลีดตามท่านอิบนุอับ
บาสในปัญหาต่างๆ ที่พวกเขาไม่รู้ จึงเป็นเรื่องที่ชี้ชัดว่า ศ่อฮาบะฮ์เขาก็มีมัซฮับ
และตักลีดอีกด้วย ความจริงแล้วเหล่าศ่อฮาบะฮ์ของท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะ
ลัยฮิวะซัลลัม มีจํานวนกว่าแสนคน ในขณะที่บุคคลที่ฟัตวาได้นั้นมีราวๆ 130 กว่า
คน เรืองนี้ท่านอิบนุกอยยิมได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่านที่ชื่อว่า อิอฺลาม อัลมุวักกิ
      ่                ็
อีน ของท่านเช่นกัน29
        แม้กระทั่งท่านอิหม่ามอะหฺมัด บิน ฮัมบัล ก็ยังตักลีดตามอิหม่ามชาฟีอีย์
ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ เช่นกัน ซึ่งท่านอิบนุอะซากิร ได้รายงานจากหุมัยด์ อิบนุอะหฺมัด
อับบัศรีย์ ซึ่งเขาได้กล่าวว่า “ข้าพเจ้าอยู่กับท่านอะหฺมัด อิบนุฮัมบัล ซึ่งในขณะที่
เรากําลังศึกษาเกี่ยวกับปัญหาหนึ่ง ก็มีชายคนหนึ่งได้กล่าวกับท่านอะหฺมัด บิน ฮัม
บัลว่า “ท่านอะบูอับดิลลาฮฺครับ หะดีษในประเด็นนี้ไม่ศ่อฮีหฺ ท่านอะหฺมัดจึงตอบ
ว่า ถึงแม้ว่าหะดีษในประเด็นนี้ ไม่ได้ศ่อฮีหฺก็ตาม แต่มันก็มีคําพูดของท่าน
อิหม่ามอัชชาฟิอีย์ รับรองอยู่ และการยึดมั่นในคําพูดของท่านอิหม่ามอัชชาฟิอีย์
ย่อมเป็นสิ่งที่มีความแน่นแฟ้นอย่างที่สุดในเรื่องนี้”30 ด้วยเหตุนี้เอง บรรดาปวง
ปราชญ์แห่งโลกอิสลามโดยทั่วไป ไม่ว่าจะอยู่ในมัซฮับหะนะฟีย์ มาลิกีย์ ชาฟิอีย์
หรือฮัมบาลีย์ ต่างก็ยึดถือปฏิบัติตามแนวทางแห่งการมีมัซฮับและตักลีด และใน
28
   อิบนุหะญัร อัลอัสก่อลานีย,์ อัลอิซอบะฮ์ ฟี ตัมยีซฺ อัลซ่อฮาบะฮ์, เล่ม 4,หน้า 148.
29
   อิบนุก็อยยิม, อิอฺลาม อัลมุวักกิอีน, เล่ม 1, หน้า 10.
30
   อิบนุอะซากิร, ตารีค ดิมัช, เล่ม 51, หน้า 351. และอิบนุหะญัร อัลอัสก่อลานีย์, ตะฮ์ซีบ อัตตะฮ์ซีบ, เล่ม
9, หน้า 25.
20                                                          เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์


เรื่องนี้ นักวิชาการหรือปวงปราชญ์แห่งโลกอิสลามที่ถูกยอมรับนั้น ต่างก็มีมัซฮับ
และตักลีดตามบรรดาอิหม่ามทั้งสี่ทั้งสิ้น แม้กระทั่งท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ท่านอิบนุ
ก็อยยิมก็อยู่ ในมัซฮับฮัมบาลีย์ ท่านอิบ นุกะษีร ซึ่งเป็นนักปราชญ์ห ะดีษและ
อรรถาธิบายอัลกุรอานก็อยู่ในมัซฮับชาฟิอีย์ ท่านอัซซะฮะบีย์ก็อยู่ในมัซฮับชาฟิอีย์
     ความจริงแล้ว บรรดาปวงปราชญ์ไม่ว่าจะเป็นรุ่นเล็กและรุ่นอาวุโสก็ยึด
บรรดามัซฮับของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ที่ได้มีการสืบทอดหลักการต่อๆ กันมา


ความเป็นมาของมัซฮับ
      ถือเป็นสิ่งที่สําคัญสําหรับนักศึกษาวิชาความรู้จากมัซฮับอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ที่
สมควรทราบถึงประวัติการกําเนิดของมัซฮับ สถานที่แพร่หลาย และบรรดา
นักปราชญ์ของมัซฮับ ซึ่งเราขอมอบให้กับท่านอิหม่ามอัลกอฎีย์อิยาฎ ได้ทําการ
อธิบายในแง่มุมหนึ่งจากสิ่งดังกล่าวดังต่อไปนี้
         ท่านอัลกอฎีย์อิยาฎ (ร่อหิมะฮุลลอฮฺ) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ตัรตีบ อัลมะดา
ริก วะตักรีบ อัลมะซาลิกว่า “ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ใช้ให้
เจริญรอยตามบรรดาค่อลีฟะฮ์และบรรดาศ่อฮาบะฮ์หลังจากท่าน(เสียชีวิต) และ
ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ส่งบรรดาศ่อฮาบะฮ์ไปยังผู้คนทั้งหลาย
เพื่อสั่งสอนให้พวกเขามีความเข้าใจในเรื่องศาสนา และเหล่าสานุศิษย์ของศ่อ
ฮาบะฮ์ก็ได้ไปสอนกลุ่มชนของพวกเขาเมื่อได้หวนกลับไป(สู่มาตุภูมิ) และเมื่อกรณี
ดังกล่าวนี้มีความจําเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น ดังนั้น จึงเหมาะสมสําหรับคนเอา
วามทั่วไป , ผู้เริ่มศึกษาที่ต้องการทําอิบาดะฮ์ ,นักศึกษาที่ต้องการคําชี้แนะ และผู้
ที่เริ่มทําความเข้า ใจเกี่ย วกับศาสนาทําการตักลีดตามเขาเหล่านั้น ฉะนั้น ผู้
การสังกัดมัซฮับสะลัฟทั้งสี่                                              21


เหมาะสมยิ่งในการตักลีดตามก็คือนักปราชญ์ระดับศ่อฮาบะฮ์ที่ได้รับความรู้มา
จากท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม รอบรู้ถึงมูลเหตุในข้อบัญญัติใช้
และบัญญัติห้าม รอบรู้ถึงหลักการต่างๆ ของบทบัญญัติ บรรดาคําพูดที่ออกมา
จากท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม โดยรอบรู้ถึงบรรดาความหมาย
แวดล้อมของสิ่งดังกล่าวได้เป็นอย่างดี และได้ทําการสอบถาม พร้อมทั้งมีหัวใจที่
สว่างไสว หัวอกอันแจ้งประจักษ์ เพราะฉะนั้น พวกเขาจึงเป็นประชาชาติที่มีความ
รอบรู้เป็นที่สุดอย่างปราศจากความสงสัยและพวกเขาเหมาะสมยิ่งสําหรับการตัก
ลีดตาม แต่พวกเขาไม่เคยพูดประเด็นปัญหาต่างๆ นอกจากส่วนน้อยจากสิ่งที่ได้
เกิดขึ้นจริงเท่านั้น และประเด็นปัญหาข้อปลีกย่อยต่างๆ ก็ไม่ได้แตกแขนงมาออก
จากพวกเขามากมาย พวกเขาไม่ได้พูดประเด็นในเรื่องของศาสนานอกจากกรณีที่
เกี่ยวกับกฎเกณฑ์และประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้น พวกเขาเน้นความสนใจ
ในการปฏิบั ติ ในสิ่ งที่พวกเขารู้ ปกป้อ งศาสนาและสนับ สนุน ให้ป ฏิบั ติตาม
บทบัญญัติศาสนาแก่บรรดามุสลิมีน
        ในแวดวงของศ่อฮาบะฮ์นั้น มีบางประเด็นการขัดแย้งที่พวกเขาได้ทําการ
อธิบายหลักการที่คนมุก็อลลิดอาจจะยังคงมีความสับสนและมีความต้องไปยังการ
พิจารณาไตร่ตรองอยู่ แต่การอธิบาย สังเคราะห์ และตีแผ่คําพูดของศ่อฮาบะฮ์ได้
เกิดขึ้นมาหลังจากนั้น เมื่อถึงยุคตาบิอีน พวกเขาก็ทําการวิเคราะห์ในประเด็นการ
ขัดแย้งของศ่อฮาบะฮ์ และพวกเขาก็ดํารงอยู่บนโครงสร้างหลักมูลฐานนิติศาสตร์
ของเหล่าซอฮาบะฮ์
      หลังจากนั้น เมื่อยุคสมัยของตาบิอิตตาบิอีนมาถึง31 บรรดาเหตุการณ์และ
ประเด็นปัญหาต่างๆ ได้เกิดขึ้นอีกมากมาย บรรดาฟัตวาต่างๆ ได้กระจัดกระจาย

31
     ตาบิอิตตาบิอีน เช่น อิหม่ามมัซฮับทั้งสี.่
22                                                           เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์


ดังนั้นพวกเขาจึงทําการรวบบรรดาคําวินิจฉัยทั้งหมด และทําการจดจําหลัก
นิติศาสตร์ของปราชญ์ที่อยู่ก่อนหน้านั้น พวกเขาได้ทําการวิเคราะห์การขัดแย้ง
และความเห็นพ้องของศ่อฮาบะฮ์และตาบิอีน ซึ่งพวกเขาได้เตือนให้ระวังการแพร่
ขยายของกรณีดังกล่าวและการขัดแย้งที่ออกนอกกฎ ดังนั้น ตาบิอิตตาบิอีนจึง
พยายามรวบรวมบรรดาซุนนะฮ์ต่างๆ และได้กําหนดบรรดาหลักมูลฐานแห่ง
นิติศาสตร์อิสลามขึ้น และเมื่อมีการถูกตั้งคําถามขึ้นมา พวกเขาก็จะตอบและ
กํา หนดกฎเกณฑ์ ต่า งๆ แห่ ง นิ ติ ศ าสตร์ [   ] วางแนวทางหลั ก มู ล ฐานแห่ ง
นิติศาสตร์[      ] และทําการอธิบายเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยให้อยู่บน
หลักการเหล่านั้น แล้วได้มีการประพันธ์และจัดเรียบเรียงเป็นบทๆ ขึ้นมาให้แก่
ผู้คนทั้งหลาย และพวกเขาทุกๆ คนก็ได้ปฏิบัติสิ่งที่อัลลอฮฺทรงเปิดและชี้นํา
       เมื่อหลักวิชามูลฐานแห่งนิติศาสตร์(อุศูลุลฟิกห์) วิชานิติศาสตร์อิสลาม(วิชา
ฟิกฮฺ) หลักการขัดแย้งและมติสอดคล้องได้เสร็จสิ้น และพวกเขาได้ทําการกิยาส
(เทียบเคียง)ประเด็นฮุกุ่มคล้ายคลึงที่ได้รับทราบมาถึงพวกเขา ดังนั้นจึงจําเป็นแก่
คนมุก็อลลิดที่เป็นคนสามัญชนทั่วไปและเป็นผู้เริ่มเรียนทําการตักลีดปราชญ์ผู้มี
ความรู้เหล่านั้น เนื่องจากมีบทต่างๆ ที่ได้ระบุฮุกุ่มไว้เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
มาแล้ว และทําการทบทวนสิ่งที่สงสัยต่างๆ ให้อ้างอิงกลับไปยังพวกเขา...ซึ่งถือว่า
เป็นความเพียงพอแล้วสําหรับผู้ทอยู่ในยุคหลังจากพวกเขาเหล่านั้น
                                ี่
       แต่การตักลีดตามปราชญ์ผู้วินิจฉัยทั้งหมดนั้นส่วนมากจะไม่สอดคล้องกัน
ในประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เนื่องจากพวกเขามีความแตกต่างกันในหลักมูล
ฐานนิติศาสตร์แห่งอิสลาม(อุศูลุลฟิกห์)ที่นํามาวินิจฉัย และไม่เป็นการสมควรที่คน
มุก็อลลิดทําการตักลีดตามคนใดคนหนึ่งตามอารมณ์... ดังนั้น จุดยืนของคนมุก็อล
ลิด(คนเอาวาม)ต่อการวินิจฉัยของนักปราชญ์ตรงนี้ก็คือ การพิจารณานักปราชญ์ที่
การสังกัดมัซฮับสะลัฟทั้งสี่                                                             23


มีความรู้มากที่สุด...แล้วเขาจะทราบได้ว่าปราชญ์มุจญฺตะฮิดท่านใดที่สมควรตาม
มากกว่า แล้วคนเอาวามหรือสามัญชนทั่วไปก็สามารถยึดการปฏิบัติตามฟัตวาของ
ปราชญ์ที่มความรู้ดีเยี่ยมนั้น
           ี
       หากผู้แสวงหาวิชาความรู้ได้ริเริ่มศึกษาทุกๆ ประเด็นของศาสนา และมี
ความต้องการให้มีความสอดคล้องกับสัจธรรมในทุกๆ ประเด็นด้วยวิธีการ
วินิจฉัย(อิจญฺติฮาด) แน่นอนว่าสิ่งดังกล่าวย่อมมีความลําบากสําหรับเขา
เนื่องจากไม่สามารถบรรลุผลได้นอกจากต้องรวบรวมหลักการต่างๆ และต้องมี
ความสมบูรณ์พร้อมอย่างที่สุด และเมื่อเขาได้ดําเนินอยู่บนแนวทางนี้ก็ไม่
จําเป็นต้องทําการตักลีดบรรดามัซฮับต่างๆ เนื่องเขาเป็นส่วนหนึ่งจากบรรดา
นักมุจญฺตะฮิดให้กับตัวเองแล้ว
        บรรดามุสลิมีนทั่วผืนแผ่นดินได้ลงมติในการตักลีดตามหนทางนี้โดยให้มี
การตามตาบิอิตตาบิอีนและทําการศึกษามัซฮับของพวกเขา...แต่พร้อมกันนั้นก็
ให้ ก ารยอมรั บถึ ง ความประเสริ ฐและความรู้ ที่อ ยู่ ใ นระดั บ แนวหน้ า ของศ่ อ
ฮาบะฮ์และตาบิอีน แต่เนื่องด้วยเหตุผลที่สามัญชนทั่วไปในยุคตาบิอิตตาบิอีน
ไม่มีความสามารถที่รวมรวบหลักการต่างๆ และไม่มีความสมบูรณ์พร้อมในการ
วินิจฉัย ดังนั้นบรรดานักปราชญ์นิติศาสตร์อิสลามที่มัซฮับของพวกเขาถูกตักลีด
ตามนั้ น ต่ า งก็ มี บ รรดาสานุ ศิ ษ ย์ ไ ด้ เ จริ ญ รอยตามทั่ ว แผ่ น ดิ น และแค้ ว นต่ า งๆ
มากมาย เช่น การตามอิหม่ามมาลิกที่นครมะดีนะฮ์ การตามท่านอะบูหะนีฟะฮ์
และท่านอัษเษารีย์ที่เมืองกูฟะฮ์ (อิรัก) ท่านอัล หะซัน อัล บัศรีย์ที่บัศเราะฮ์
ท่านอัลเอาซะอีย์ที่ซีเรีย ท่านอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ที่อียิปต์ ท่านอะหฺมัด บิน ฮัมบัลที่
แบกแดด และท่านอะบีษูรก็มีสานุศิษย์ที่เจริญรอยตามอยู่ที่แบกแดดเช่นเดียวกัน
24                                                                             เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์


       หลักจากนั้น ท่านอะบูญะอฺฟัร อัฏฏ่อบะรีย์และท่านดาวูด อัลอัศฟิฮานีย์
ได้เกิดที่แบกแดด แล้ว ทั้งสองก็ ได้ทําการประพัน ธ์ตําราไว้หลายเล่มและได้
เลือกสรรบรรดามัซฮับต่างๆ ให้อยู่บนความเห็นของนักหะดีษ ท่านดาวูดได้ทิ้ง
หลัก การกิ ย าสโดยที่ ทั้ง สองก็มี ผู้เ จริ ญรอยตาม และบรรดามั ซฮั บ ต่ างๆ ก็
แพร่หลายทั่วสารทิศ ดังนั้นมัซฮับอิหม่ามมาลิกได้แพร่หลายในแถบหิญาซฺ บัศ
เราะฮ์ อียิปต์ แถบประเทศแอฟริกา สเปน โมร็อคโค และไปยังซูดานจนถึง
ปัจจุบัน และยังได้แพร่หลายที่กรุงแบกแดดเป็นอย่างมากแต่หลังจากนั้นความ
แพร่หลายได้เบาบางลงที่แบกแดดในช่วงระยะเวลา 400 ปี และเบาบางลงที่บัศ
เราะฮ์ในช่วงระยะเวลา 500 ปี
        มัซฮับอิหม่ามอะบูหะนีฟะฮ์ได้แพร่หลายที่กูฟะฮ์และอีรักและส่วนมากของ
เมืองคุรอซานจนถึงปัจจุบัน และได้แพร่หลายในแถบแอฟริกาเป็นระยะเวลาเพียง
400 ปี หลังจากนั้นก็ขาดช่วงไป และมัซฮับของท่านเอาซาอีย์ได้แพร่หลายที่เมือง
ชามซีเรียและคาบสมุทรสเปนในช่วงแรกๆ จนกระทั้งมัซฮับอิหม่ามาลิกขึ้นมามี
บทบาทได้ระยะเวลาเพียง 200 ปี ก็ขาดช่วงไป และส่วนมัซฮับท่านอัลหะซันและ
ท่านอัษเษารีย์นั้น มีผู้เจริญรอยตามน้อยมากและการตักลีดตามมัซฮับของทั้งสอง
นั้นมีระยะเวลาไม่นานนักก็ขาดช่วงไป
       ส่วนมัซฮับอิหม่ามอัชชาฟิอีย์นั้น มีผู้เจริญรอยตามมากมาย มัซฮับของท่าน
ได้แพร่หลายพร้อมๆ กับมัซฮับอิหม่ามาลิกและอิหม่ามอะบูหะนีฟะฮ์ ดังนั้นมัซฮับ
ชาฟิอีย์ได้แพร่หลายที่อียิปต์พร้อมๆ กับมัซฮับอิหม่ามมาลิก และได้แพร่หลายที่
อิรัก กรุงแบกแดด และส่วนมากจากชาวเมืองคุรอซาน ซีเรีย เยเมน จนถึง
ปัจจุบัน”32

32
     อัลกอฎี อิยาฎ, ตัรตีบ อัลมะดาริก วะ ตักรีบ อัลมะซาลิก, เล่ม 1, หน้า 17.
การสังกัดมัซฮับสะลัฟทั้งสี่                                                25


ปวงปราชญ์มัซฮับหะนะฟีย์
       ท่านอิหม่ามอะบูยูซุฟ, ท่านอิหม่ามมุฮัมมัด บิน อัลหะซัน, ท่านอับดุลลอฮฺ
บิน อัลมุบาร็อก, ท่านซุฟัร, ท่านญะอฺฟัร อัฏฏ่อฮาวีย์, ท่านอัซซะร็อคชีย์, อันนะ
ซะฟีย์, อะหฺมัด บิน มุฮัมมัด อัลบุคอรีย์, ท่านอัซซัยละอีย์, ท่านอัลกะมาล บิน
อัลฮุมาม, ท่านอิบนุอันนุญัยม์, ท่านอิบนุอาบิดีน และบรรดาปวงปราชญ์อีกหลาย
พันคนที่ได้ถูกบันทึกไว้ในหนังสือประวัติส่ว นบุคคลในมัซฮับ หะนะฟีย์ที่มีชื่อว่า
อัฏฏ่อบะก๊อต อัลหะนะฟียะฮ์ ถ้าจะพิจารณาประเทศต่างๆ ที่ปฏิบัติตามมัซฮับ
หะนะฟีย์โดยส่วนใหญ่แล้ว คือ อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ อัฟกานิสถาน กลุ่ม
ประเทศอาหรับในแถบชาม เช่น ซีเรีย อิรัก และกลุ่มประเทศยุโรป ก็ถือ
ตามมัซฮับหะนะฟีย์ทั้งสิ้น


ปวงปราชญ์มัซฮับมาลิกีย์
        ท่านอิหม่ามอิบนุอัลกอซิม, ท่านอัลอัชฮับ, ท่านซุหฺนูน, ท่านอะซัด บิน อัล
ฟุร๊อด, ท่านอัศบั๊ฆฺ, ท่านอิบนุอับดุลบัรร์, ท่านกอฎีย์ อัลอิยาฏ, ท่านอิบนุลอะร่อ
บีย์ อัลมาลิกีย์, ท่านอะบูบักร อัฏฏุรฏูชีย์, ท่านอิบนุอัลฺฮาญิบ, ท่านอิบนุอัลมุ
นัยยิร, ท่านอิบนุรุชด์, ท่านอัลบากิลลานีย์, ท่านอัลบาญีย์, ท่านอัลกุรฏุบีย์,
ท่านอัลก่อรอฟีย์, ท่านอัชชาฏิบีย์, ท่านอิบนุค็อลดูน และบรรดาปวงปราชญ์อีก
หลายท่านที่ถูกรวมอยู่ ในตํารับ ตําราที่เกี่ยวกับ ประวัติส่วนบุคคลของมัซฮับมา
ลิกีย์ ซึ่งเรียกว่า “อัฏฏ่อบะก๊อต อัลมาลิกียะฮ์” นักปราชญ์เหล่านี้อยู่ในมัซฮับ
ของอิหม่ามมาลิกทั้งสิ้น และท่านสามารถกล่าวได้ว่า นักปราชญ์แห่งเมืองต่างๆ
ในกลุ่มประเทศอาหรับตะวันตกในทวีปแอฟริกา เริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่สามแห่ง
ฮิจเราะฮ์ จวบจนถึงทุกวันนี้ ได้ยึดถือตามมัซฮับมาลิกีย์ทั้งสิ้น
26                                                        เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์


ปวงปราชญ์มัซฮับอิหม่ามอัชชาฟิอีย์
       ท่านอิหม่ามอัลมุซะนีย์, ท่านอิหม่ามอัลบุวัยฏีย์, ท่านอิบนุอัลมุนซิร, ท่าน
มุฮัมมัด บิน ญะรีร อัฏฏ่อบะรีย์, ท่านอิบนุสุรัยจฺญ์, ท่านอิบนุคุซัยมะฮ์, ท่านอัล
ก็อฟฟาล, ท่านอัลบัยฮะกีย,์ ท่านอัลค๊อฏฏอบีย์, ท่านอะบูอิสหาก อัลอัสฟิรอยีนีย์
ท่านอะบูอิสหาก อัชชีรอซีย์, ท่านอัลมาวัรดีย์, ท่านอะบูฏ็อยยิบ อัศเศาะอฺลูกีย์,
ท่านอะบูบักร อัลอิสมาอีลีย์, ท่านอิหม่ามอัลหะร่อมัยน์, ท่านหุจญะตุลอิสลาม
อัลฆ่อซาลีย์, ท่านอัลบะฆ่อวีย์, ท่านอัรรอฟิอีย์, ท่านอะบูชามะฮ์, ท่านอิบนุ
ริฟอะฮ์, ท่านอิบนุศ่อลาหฺ, ท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์, ท่านอิซซุดดีน บิน อับดิส
สลาม, ท่านอิบนุดะกีก อัลอีด, ท่านอัลหาฟิซฺ อัลมิซซีย์, ท่านตาญุดดีน อัศศุบกีย์,
ท่านอัซซะฮะบีย,์ ท่านอิรอกีย์, ท่านอัซซัรกาชีย์, ท่านอิบนุหะญัร อัลอัสก่อลานีย์,
ท่านอัซซุยูฏีย์, ท่านชัยคุลอิสลาม ซะกะรียา อัลอันศอรีย์ และบรรดานักปราชญ์
อีกเป็นพันๆ ที่ไม่สามารถเอ่ยนามพวกเขาได้ทั้งหมด และบรรดานักปราชญ์มัซฮับ
ชาฟิอียที่ได้ถูกระบุไว้ในหนังสือ “อัฏฏ่อบะก๊อต อัชชาฟิอียะฮ์” ก็มีถึง 1419 ท่าน
        ์
ปวงปราชญ์มัซฮับฮัมบาลีย์
       ท่านอิหม่ามอาญุรรีย์, ท่านอะบุลค็อฏฏอบ อัลกัลวาซะนีย์, ท่านอะบูบักร
อันนัจญาร, ท่านอะบูยะอฺลา, ท่านอัลอัษรอม, ท่านอิบนุอะบีมูซา, ท่านอิบ
นุอัศศ็อยรอฟีย์, ท่านอิบนุฮุบัยเราะฮ์, ท่านอิบนุอัลเญาซีย์, ท่านอิบนุตัยมียะฮ์,
ท่านอิบนุร่อญับ, ท่านอิบนุรุซัยน์ และบรรดานักปราชญ์ท่านอื่นๆ อีกมากมาย
และนักปราชญ์มัซฮับฮัมบาลีย์ที่ได้ถูกกล่าวไว้ในหนังสือ “อัลมักศิด อัลอัรชัด”
ของท่านอิบนุมุฟลิหฺ มีถึง 1315 ท่าน
      ดังนั้น ประชาชาติอิสลามศตวรรษแล้วศตวรรษเล่าได้ให้การยอมรับใน
การตักลีดตามนักปราชญ์มุจญฺตะฮิดผู้วินิจฉัยโดยสิ่งดังกล่าวนี้ไม่ใช่เป็นความ
การสังกัดมัซฮับสะลัฟทั้งสี่                                               27


คลั่งไคล้และแบ่งพรรคแบ่งพวก แต่เพราะความเป็นพี่น้องในศาสนาจึงทําให้
พวกเขาอยู่ร่วมกัน และบรรดาวงล้อมที่ทําการศึกษาวิชาความรู้ก็ได้เชื่อม
สัมพันธ์พวกเขาเอาไว้ พวกเขาต่างศึกษาความรู้ซึ่งกันและกัน และยกย่อง
สรรเสริญกันและกัน โดยที่ท่านเกือบจะไม่พบประวัตินักปราชญ์มัซฮับหะนะฟีย์
มาลิกีย์ ชาฟิอีย์ และฮัมบาลีย์ นอกจากว่า ปราชญ์ท่านหนึ่งได้เคยเป็นศิษย์และ
ศึกษากับบรรดานักปราชญ์ที่ไม่ได้อยู่ในมัซฮับของเขา
      ดังนั้น มุสลิมคนหนึ่งได้ดําเนินตามมัซฮับเดียว ย่อมถูกนับว่าเป็นการยึดติด
และสังกัด แต่มันเป็นการยึดติดและสังกัดที่ถูกสรรเสริญ ไม่ใช่ถูกตําหนิ
         ท่านชัยค์ สะอีด เฮาวา ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “เญาลาต ฟี อัลฟิกฮัยน์” ว่า
“การยึดติดบรรดาปราชญ์ผู้วินิจฉัยหรือมัซฮับของพวกเขาเหล่านั้น เราขอกล่าวว่า
การสังกัดมัซฮับนั้นหากเป็นเสมือนดังผลสืบเนื่องจากความพึงพอใจในประเด็น
หนึ่งที่เป็นเรื่องสัจธรรม และเขาก็ยึดมันมาเป็นทัศนะและนํามาปฏิบัติ แล้วเขา
ปกป้องมันด้วยหลักการที่เป็นความสัจจริงและยุติธรรม โดยไม่ใช่หลักการตาม
อารมณ์ หรือปกป้องมันด้วยความบริสุทธิ์ใจไม่ใช่เพื่อดุนยา หรือปกป้องด้วย
จิตวิญญาณแห่งความเป็นพี่น้องในอิสลาม ไม่ใช่ด้วยจิตวิญญาณแห่งความ
แตกแยก ดังนั้น สิ่งดังกล่าวย่อมไม่เป็นบาปแต่ประการใด ยิ่งไปกว่านั้น มันยังเป็น
แบบฉบับของบรรดาศ่อฮาบะฮ์ที่พวกเขาดําเนินอยู่ แต่ทว่าการที่บุคคลหนึ่งได้ทํา
ให้คับแคบกับสิ่งที่กว้างขวาง ด้วยการกล่าวหาผู้ที่มีความเห็นต่างกับเขา หรือ
กล่าวหาลุ่มหลงและโง่เขลากับผู้อื่นเกี่ยวกับประเด็นข้อวินิจฉัย แน่แท้ว่าสิ่ง
ดังกล่าวนั้นเป็นความผิดพลาดอย่างชัดเจน เพราะอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ ร่อฎิยัลลอ
ฮุอันฮุ กล่าวว่า “บรรดาปวงปราชญ์ได้ลงมติว่า อัลลอฮฺจะไม่ลงโทษเกี่ยวกับ
ประเด็นที่อุละมาอ์มีความเห็นแตกต่างกัน” และการยึดมัซฮับหนึ่งที่เปรียบเสมือน
Mazhab
Mazhab
Mazhab
Mazhab
Mazhab
Mazhab
Mazhab
Mazhab
Mazhab
Mazhab
Mazhab
Mazhab
Mazhab
Mazhab
Mazhab
Mazhab
Mazhab
Mazhab
Mazhab
Mazhab
Mazhab
Mazhab
Mazhab

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัช
ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัชผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัช
ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัช
Kumobarick Achiroki
 
วิเคราะห์ฮะดีษ
วิเคราะห์ฮะดีษวิเคราะห์ฮะดีษ
วิเคราะห์ฮะดีษ
Muttakeen Che-leah
 
แนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริง
แนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริงแนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริง
แนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริง
Muttakeen Che-leah
 
Tri91 03++มหาวิภังค์+เล่ม+๑+ภาค+๓
Tri91 03++มหาวิภังค์+เล่ม+๑+ภาค+๓Tri91 03++มหาวิภังค์+เล่ม+๑+ภาค+๓
Tri91 03++มหาวิภังค์+เล่ม+๑+ภาค+๓
Tongsamut vorasan
 

La actualidad más candente (14)

หนทางสสะลาฟียฺ
หนทางสสะลาฟียฺหนทางสสะลาฟียฺ
หนทางสสะลาฟียฺ
 
ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัช
ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัชผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัช
ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัช
 
คู่มือเพื่อความเข้าใจศาสนาอิสลามพร้อมภาพประกอบฉบับย่อ
 คู่มือเพื่อความเข้าใจศาสนาอิสลามพร้อมภาพประกอบฉบับย่อ  คู่มือเพื่อความเข้าใจศาสนาอิสลามพร้อมภาพประกอบฉบับย่อ
คู่มือเพื่อความเข้าใจศาสนาอิสลามพร้อมภาพประกอบฉบับย่อ
 
วิเคราะห์ฮะดีษ
วิเคราะห์ฮะดีษวิเคราะห์ฮะดีษ
วิเคราะห์ฮะดีษ
 
รายอแน-ออกอีดบวช 6, ละหมาดตัสบีห์
รายอแน-ออกอีดบวช 6, ละหมาดตัสบีห์รายอแน-ออกอีดบวช 6, ละหมาดตัสบีห์
รายอแน-ออกอีดบวช 6, ละหมาดตัสบีห์
 
360
360360
360
 
Pramote maolid
Pramote maolidPramote maolid
Pramote maolid
 
Th asman ramadhan
Th asman ramadhanTh asman ramadhan
Th asman ramadhan
 
แนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริง
แนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริงแนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริง
แนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริง
 
หลากหลายคำถามที่นำชาวชีอะฮฺสู่สัจธรรม
หลากหลายคำถามที่นำชาวชีอะฮฺสู่สัจธรรมหลากหลายคำถามที่นำชาวชีอะฮฺสู่สัจธรรม
หลากหลายคำถามที่นำชาวชีอะฮฺสู่สัจธรรม
 
Tri91 03++มหาวิภังค์+เล่ม+๑+ภาค+๓
Tri91 03++มหาวิภังค์+เล่ม+๑+ภาค+๓Tri91 03++มหาวิภังค์+เล่ม+๑+ภาค+๓
Tri91 03++มหาวิภังค์+เล่ม+๑+ภาค+๓
 
อิสลามกับหัวใจของศาสนาและความเข้าใจระหว่างศาสนา
อิสลามกับหัวใจของศาสนาและความเข้าใจระหว่างศาสนาอิสลามกับหัวใจของศาสนาและความเข้าใจระหว่างศาสนา
อิสลามกับหัวใจของศาสนาและความเข้าใจระหว่างศาสนา
 
555
555555
555
 
Al kafi
Al kafiAl kafi
Al kafi
 

Similar a Mazhab

ศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลาม
พัน พัน
 
อิสลามกับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบ
อิสลามกับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบอิสลามกับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบ
อิสลามกับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบ
Kumobarick Achiroki
 
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
Jani Kp
 
6 คุณสมบัติโสดาบัน sotapana
6 คุณสมบัติโสดาบัน sotapana6 คุณสมบัติโสดาบัน sotapana
6 คุณสมบัติโสดาบัน sotapana
Tongsamut vorasan
 
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
Jani Kp
 
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
pentanino
 
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การบริจาคอวัยวะและการใช้ประโยชน์จากอวัยวะขอ...
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การบริจาคอวัยวะและการใช้ประโยชน์จากอวัยวะขอ...คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การบริจาคอวัยวะและการใช้ประโยชน์จากอวัยวะขอ...
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การบริจาคอวัยวะและการใช้ประโยชน์จากอวัยวะขอ...
Om Muktar
 
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
Tongsamut vorasan
 
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
Tongsamut vorasan
 
อาณาจักรตามพรลิงค์
อาณาจักรตามพรลิงค์อาณาจักรตามพรลิงค์
อาณาจักรตามพรลิงค์
sangworn
 
ความหมายจริยศาสตร์
ความหมายจริยศาสตร์ความหมายจริยศาสตร์
ความหมายจริยศาสตร์
Yusuf Leesahad
 

Similar a Mazhab (20)

ศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลาม
 
Th islam guide a brief illustrated guide to understanding islam الدليل ال...
Th islam guide a brief illustrated guide to understanding islam     الدليل ال...Th islam guide a brief illustrated guide to understanding islam     الدليل ال...
Th islam guide a brief illustrated guide to understanding islam الدليل ال...
 
590806 บทที่-5-แก้ไขแล้ว
590806 บทที่-5-แก้ไขแล้ว590806 บทที่-5-แก้ไขแล้ว
590806 บทที่-5-แก้ไขแล้ว
 
590802 บทที่-1-แก้ไขแล้ว
590802 บทที่-1-แก้ไขแล้ว590802 บทที่-1-แก้ไขแล้ว
590802 บทที่-1-แก้ไขแล้ว
 
อิสลามกับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบ
อิสลามกับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบอิสลามกับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบ
อิสลามกับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบ
 
รับน้อง
รับน้องรับน้อง
รับน้อง
 
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
 
งานสังคม
งานสังคมงานสังคม
งานสังคม
 
Al kafi
Al kafiAl kafi
Al kafi
 
6 คุณสมบัติโสดาบัน sotapana
6 คุณสมบัติโสดาบัน sotapana6 คุณสมบัติโสดาบัน sotapana
6 คุณสมบัติโสดาบัน sotapana
 
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
111
111111
111
 
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
 
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การบริจาคอวัยวะและการใช้ประโยชน์จากอวัยวะขอ...
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การบริจาคอวัยวะและการใช้ประโยชน์จากอวัยวะขอ...คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การบริจาคอวัยวะและการใช้ประโยชน์จากอวัยวะขอ...
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การบริจาคอวัยวะและการใช้ประโยชน์จากอวัยวะขอ...
 
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
 
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
 
อาณาจักรตามพรลิงค์
อาณาจักรตามพรลิงค์อาณาจักรตามพรลิงค์
อาณาจักรตามพรลิงค์
 
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
 
ความหมายจริยศาสตร์
ความหมายจริยศาสตร์ความหมายจริยศาสตร์
ความหมายจริยศาสตร์
 

Mazhab

  • 1. เอกสารเผยแพร่ การสังกัดมัซฮับสะลัฟทั้งสี่ ค้นคว้าและเรียบเรียงโดย อ. อาริฟีน แสงวิมาน พฤศจิกายน 2555
  • 2.
  • 3. การสังกัดมัซฮับสะลัฟทั้งสี่ 1 สารบัญ บทนํา .................................................................................................................. 2 ความสําคัญของนิติศาสตร์อิสลาม ....................................................................... 4 ความต้องการนิติศาสตร์อิสลาม ........................................................................... 7 ข้อแตกต่างระหว่างการสังกัดมัซฮับและความคลั่งไคล้ในมัซฮับ ......................... 16 นิยามของมัซฮับ ................................................................................................ 17 ความเป็นมาของมัซฮับ ...................................................................................... 20 ปวงปราชญ์มัซฮับหะนะฟีย์ ............................................................................... 25 ปวงปราชญ์มัซฮับมาลิกีย์ .................................................................................. 25 ปวงปราชญ์มัซฮับอิหม่ามอัชชาฟิอีย์.................................................................. 26 ปวงปราชญ์มัซฮับฮัมบาลีย์ ................................................................................ 26 สาเหตุที่จํากัดอยู่ในการตักลีดตามมัซฮับทั้งสี่ .................................................... 29 การตามมัซฮับอื่นจากมัซฮับทั้งสี่ ....................................................................... 32 มัซฮับทั้งสี่เป็นปัจจัยที่สร้างความเป็นเอกภาพหรือสร้างความแตกแยก ............. 34 ระดับขั้นของปราชญ์นิติศาสตร์อิสลาม .............................................................. 38 บทสรุปคําอธิบายประเภทของนักปราชญ์.......................................................... 39 การย้ายมัซฮับของนักปราชญ์ ............................................................................ 46 บทส่งท้าย ......................................................................................................... 49
  • 4. 2 เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์ บทนํา ... ประวัติศาสตร์อันยาวนานตั้งแต่พันปีกว่าปีมาแล้วจวบจนถึงปัจจุบัน มุสลิม ส่วนใหญ่ต่างปฏิบัติตามแนวทางของสะลัฟศอลิห์จากมัซฮับอิหม่ามทั้งสี่ที่ได้ตาม หลักการของอัลกุรอานและซุนนะฮ์โดยได้รับสืบทอดมาจากตาบิอีน ศ่อฮาบะฮ์ และจนถึงท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม หลังจากนั้นเหล่าสานุศิษย์ของ อิหม่ามทั้งสี่ได้ทําการบันทึกหลักการ กฎเกณฑ์ และหลักการวินิจฉัยของอิหม่าม แต่ละมัซฮับที่ได้สืบทอดโดยปราชญ์ผู้มีคุณธรรมอย่างต่อเนื่องจนถึงเราในปัจจุบัน ดังนั้นมัซฮับสะลัฟหลักๆ ที่มีความสืบเนื่องและไม่ขาดตอนจนถึงปัจจุบันนี้ คือ มัซฮับหะนะฟีย์ มัซฮับมาลิกีย์ มัซฮับชาฟิอีย์ และมัซฮับฮัมบะลีย์ ท่านอิหม่ามวะลียุลลอฮฺ อัดดิฮ์ลาวีย์ ร่อหิมะฮุล ลอฮฺ ท่านได้กล่าวว่า “แท้จริง บรรดามัซฮับทั้งสี่ที่ได้ถูกบันทึกหลักการไว้เรียบร้อยแล้วนั้น ประชาชาติ อิสลามหรือผู้ที่ถูกนับการลงมติของเขาได้นั้น มีมติเห็นพ้องว่า อนุญาตให้ทําการ ตักลีดตามมัซฮับทั้งสี่ได้ จนกระทั่งถึงยุคสมัยของเรานี้ และในสิ่งดังกล่าวเป็นการ รักษาไว้ซึ่งคุณประโยชน์อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคสมัยนี้ ซึ่งบรรดา
  • 5. การสังกัดมัซฮับสะลัฟทั้งสี่ 3 ปณิธานความมุ่งมั่นได้ถดถอยลงไปอย่างมาก และบรรดาจิตใจได้ดื่มด่ํากับอารมณ์ และทุกๆ คนทีมีความเห็นต่างก็อวดว่าความเห็นของเขาดี”1 ่ ดังนั้นผู้เขียนจึงค้นคว้าและเรียบเรียงเกี่ยวกับความสําคัญของมัซฮับทั้งสี่ และบทบาทสําคัญที่มีต่อนิติศาสตร์อิสลาม เพื่อให้พี่น้องมุสลิมส่วนใหญ่ตระหนัก ว่า แนวทางที่พวกเขาดําเนินอยู่นั้นคือแนวทางของสะลัฟศอลิหฺที่อยู่บนทางนํา และเป็นแนวทางที่อัล ลอฮฺตะอาลาทรงเลือกให้ป ระชาชาติอิสลามส่วนใหญ่ได้ เจริญรอยตาม อาริฟีน แสงวิมาน บ่าวผู้ต่ําต้อย สถาบันอัลกุดวะฮ์ 1 วะลียุลลอฮฺ อัดดิฮ์ละวีย,์ อัลอินศ็อฟ, หน้า 53. และวะลียุลลอฮฺ อัดดิฮ์ละวีย์, อัลหุจญฺตุลบาลิเฆาะฮ์, เล่ม 1, หน้า 123.
  • 6. 4 เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์ ความสําคัญของนิติศาสตร์อิสลาม เป็นที่ประจักษ์ว่า นิติศาสตร์อิสลาม(วิชาฟิกฮฺ) เป็นหนึ่งจากศาสตร์แขนง ต่างๆ ของอิส ลามที่มีความสําคัญและมีเกียรติเป็น อย่างยิ่ง และการบ่งชี้ ให้ ตระหนั ก ถึ ง ความสํ า คั ญ ในศาสตร์ แ ขนงนี้ ก็ ถื อ ว่ า เพี ย งพอแล้ ว ด้ ว ยคํ า ตรั ส ของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ว่า “และบรรดาศรัทธาชนทั้งหลายไม่บังควรที่จะออก(ไปสู่สมรภูมิรบ) พร้อมกันทั้งหมด ดังนั้นไฉนเล่าจึงไม่ให้แต่ละกลุ่มย่อยจากพวกเขา ทั้งหมดออกไป(สมรภูมิ) เพื่อ (พวกที่เหลือ) จะได้ศึกษาให้เข้าใจ ในเรื่องศาสนาและเพื่อพวกนี้จะได้ชี้แจงแก่พวกพ้องของเขา(ที่ ออกไปสมรภูมิ) เมื่อพวกเขากลับมายังพวกตน เพื่อพวกเขาจะได้ สังวรตน(ในบัญญัติของอัลลอฮฺ)”[อัตเตาบะฮ์: 122] และพระองค์ทรงตรัสว่า “อัล ลอฮฺทรงยืน ยันว่า อัน ที่จริงพระองค์นั้น ไม่มีพระเจ้าอื่น ใด นอกจากพระองค์ และ(ได้ยืนยันเช่นนั้น) โดยมะลาอิกะฮ์และ บรรดาผู้ทรงความรู้ทั้งหลาย โดยยืน ยัน อยู่กั บ ความเที่ย งธรรม
  • 7. การสังกัดมัซฮับสะลัฟทั้งสี่ 5 แน่นอนที่สุดไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ผู้ทรงอํานาจยิ่ง อีก ทั้งทรงปรีชายิ่ง”[อาละอิมรอน: 18] ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ กล่าวว่า “ดังนั้น ท่านโปรดพิจารณาว่า อย่างไร เล่าที่อัลลอฮฺทรงเริ่มกล่าวยืนยันด้วยกับพระองค์เองเป็นอันดับแรก(ในการรู้มา ตั้งแต่เดิมแล้วว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์) และรองลงมาคือบรรดามะ ลาอิกะฮ์ และกล่าวยืนยันเป็นอันดับที่สามด้วยกับบรรดาผู้มีความรู้ เพราะฉะนั้น ท่านจงตอบรับเกียรติภูมิ ความเลอเลิศ ความโดดเด่น และความสลักสําคัญเหล่านี้ เถิด”2 พระองค์ทรงตรัสเช่นกันว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย เมื่อมีผู้กล่าวแก่พวกเขาว่า พวกท่านจง ขยายที่นั่ง(ของพวกท่านให้กับคนอื่นเข้ามานั่งด้วย) ดังนั้น พวกเจ้าก็ จงขยาย(ที่ นั่ง )เถิ ด แล้ ว อั ล ลอฮฺ จัก ทรงขยายแก่ พวกเจ้ า (ให้ กว้ า ง ขวาง) และเมื่อมีผู้พูดว่า พวกท่านจงลุกขึ้นเถิด พวกเจ้าก็จงลุกขึ้น เถิด อัลลอฮฺทรงยกย่องบรรดาผู้ศรัทธาจากพวกเจ้าและบรรดาผู้ ได้รับความรอบรู้หลายฐานันดร และอัลลอฮฺทรงตระหนักยิ่งในสิ่งที่ พวกเจ้าประพฤติ”[อัลมุญาดะละฮ์: 11] ท่านอัลบุคคอรีย์ ได้รายงานจากท่านมุอาวิยะฮ์ว่า ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า 2 อัลฆ่อซาลีย,์ อิหฺยาอ์ อุลูมิดดีน, เล่ม 1, หน้า 4.
  • 8. 6 เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์ “ผู้ใดที่อัลลอฮฺทรงประสงค์ความดีให้แก่เขา แน่นอนพระองค์จะทรง ให้เขามีความเข้าใจในเรื่องของศาสนา”3 ท่านอัตติรมีซีย์ จากท่านอะบีอุมามะฮ์ อัลบาฮิลีย์ ว่า “ได้ ถู ก เอ่ ย ขึ้ น แก่ ท่ า นร่ อ ซู ลุ ล ลอฮฺ ศ็ อ ลลั ล ลอฮุ อ ะลั ย ฮิ ว ะซั ล ลั ม เกี่ยวกับบุรุษสองประเภท คือคนหนึ่งเป็นนักอิบาดะฮ์4 และอีกคน หนึ่งเป็น ผู้มีความรู้ แล้ว ท่านร่อซูลุล ลอฮฺ ศ็อลลัล ลอฮุอะลัย ฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า ผู้มีความรู้ย่อมประเสริฐเหนือกว่าผู้ทําอิบาดะฮ์ เปรียบดั่งความประเสริฐของฉันเหนือกว่าผู้ต่ําต้อยจากพวกท่าน หลังจากนั้น ท่านร่อซูลุลลอฮฺกล่าวอีกว่า แท้จริงอัลลอฮฺ มาลาอิกะฮ์ ของพระองค์ ผู้ที่อยู่ในฟากฟ้าและแผ่นดิน แม้กระทั่งมดที่อยู่ในรัง และหมู่ปลาในท้องทะเล ก็จะประสาทพรให้แก่ผู้ที่สั่งสอนบรรดา มนุษย์ในเรื่องความดีงาม”5 3 รายงานโดยอัลบุคอรีย,์ หะดีษเลขที่ 71. และมุสลิม, หะดีษเลขที่ 1037. 4 คือนักทําอิบาดะฮ์ที่ไม่มีความรู.้ 5 รายงานโดยอัตติรมีซีย,์ หะดีษเลขที่ 2685.
  • 9. การสังกัดมัซฮับสะลัฟทั้งสี่ 7 ท่านอัลค่อฏีบ อัลบัฆดาดีย์ ได้กล่าวรายงานจากท่านอุมัร บิน อับดุลอะซีซ ว่า “ผู้ใดที่ปฏิบัติบนพื้นฐานที่ปราศจากความรู้ แน่นอน สิ่งที่เขาทํานั้นก่อให้เกิด ความเสียหายมากกว่าทําให้เกิดประโยชน์”6 ความต้องการนิติศาสตร์อิสลาม ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาอดีต ปัจจุบัน และอนาคต บรรดามนุษย์นั้น จะไม่ ต้องการสิ่งใดที่เราจะเปรียบเสมือนได้เทียบเท่ากับความต้องการไปยัง นิติศาสตร์ อิสลาม(ฟิกห์) เนื่องจากว่านิติศาสตร์อิสลามมีบทบาทและสัมผัสกับทุกแง่มุมต่างๆ ในการดําเนินชีวิต ด้วยเหตุนี้ นักปราชญ์นิติศาสตร์อิสลาม(อัลฟุก่อฮาอฺ)จึงมี ตําแหน่งที่สําคัญและฐานันดรที่สูงส่ง บรรดานักปราชญ์นิติศาสตร์อิสลามระดับ แนวหน้า ได้เน้นเอาใจใส่นิติศาสตร์อิสลามก่อนวิชาหะดีษ ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขา จะให้ความสําคัญในการรายงานหะดีษของนักปราชญ์นิติศาสตร์ ที่รายงานจาก นักปราชญ์นิติศาสตร์ มาอยู่ก่อนการรายงานของนักปราชญ์หะดีษ ที่รายงานจาก นักปราชญ์หะดีษ ท่านอิหม่ามอัรรอมะฮุรมุซีย์ ได้กล่าวว่า “รายงาน จากท่านวะกีอฺ บิน ญัร รอหฺ ผู้เป็นอาจารย์ของท่านอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ ซึ่งเขาได้กล่าวแก่บรรดาสานุศิษย์ ว่า การรายงานของ อัลอะอฺมัช จาก อะบีวาอิล จาก อับดุลลอฮฺ(อิบนุมัสอูด) เป็น ที่รักยิ่งสําหรับพวกท่าน หรือว่า การรายงานของท่านซุฟยาน (อัษเษารีย์) จาก มันซูร จาก อิบรอฮีม จาก อัลก่อมะฮ์ จาก อับดุลลอฮฺ(อิบนุมัสอูด)?” พวกเรา กล่าวตอบว่า “การรายงานของ อัลอะอฺมัช จาก อะบีวาอิล ย่อมใกล้กว่า” แล้ว 6 อัลค่อฏีบ อัลบัฆดาดีย,์ อัลฟะกีฮ์ วัล มุตะฟักกิฮ,์ เล่ม 1, หน้า 109.
  • 10. 8 เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์ ท่านอัลวะกีอฺ กล่าวว่า “อัลอะอฺมัชคืออาจารย์(นักหะดีษ) และอะบูวาอิล ก็คือ อาจารย์(นักหะดีษ) แต่การรายงานของท่านซุฟยาน จาก มันซูร จาก อิบรอ ฮีม จาก อัลก่อมะฮ์ จาก ท่านอับดุลลอฮฺ(อิบนุมัสอูด) นั้น คือการรายงานของ นักปราชญ์นิติศาสตร์ จาก นักปราชญ์นิติศาสตร์ จาก นักปราชญ์นิติศาสตร์ จาก นักปราชญ์นิติศาสตร์”7 ดังนั้น ท่านโปรดจงพิจารณาคํากล่าวของท่านอัลวะกีอฺ บิน อัลญัรรอหฺ ซึ่ง ท่านถือว่า สายโซ่จากการรายงานของบรรดานักปราชญ์นิติศาสตร์ย่อมเหนือกว่า สายโซ่การรายงานของนักปราชญ์ที่ไม่ชํานาญในด้านนิติศาสตร์ ถึงแม้ว่าพวกเขา จะเป็นนักปราชญ์ในวิชาหะดีษก็ตาม ส่วนหนึ่งจากความบกพร่องอย่างชัดเจน ก็คือ มีผู้คนมากมายที่ทําการอัน ไร้สาระในเชิงวิชาการ โดยแอบอ้างชวนเชื่อว่าอยู่ภายใต้เอกลักษณ์ ความโดดเด่น ในการเจริญรอยตามและให้ความสําคัญกับซุนนะฮ์ แต่ท่านจะเห็นว่า เขาผู้นั้นขาด ความเข้าใจและปราศจากความรู้ ในลักษณะที่เขาได้ทําการศึกษาบรรดาตําราหะ ดีษเป็นอันดับแรก เช่น หนังสือศ่อฮีหฺอัลบุคอรีย์ ศ่อฮีหฺมุสลิม หรือสุนันอะบีดาวูด หลังจากนั้น เขาก็ยึดตําราหะดีษมาเป็นข้ออ้างอิงในการฟัตวาไขปัญหาศาสนาและ ตั ด สิ น ฮุ กุ่ ม ต่ า งๆ ออกมา ทั้ ง ที่ ผู้ เ ข้ า ใจในหลั ก วิ ช าการศาสนาย่ อ มทราบดี ว่ า คุณสมบัติของการฟัตวาไขปัญหาศาสนานั้น ต้องมีกฎเกณฑ์และเงื่อนไขมากมาย ซึ่งผู้ใดที่ไม่มีคุณสมบัติดังกล่าว ก็ไม่อนุญาตให้เขาทําการฟัตวาและตัดสินฮุกุ่ม ออกมา นีคือ ท่านอิหม่ามอะหฺมัด บิน ฮัมบัล ซึ่งได้มีชายผู้หนึ่งถามท่านว่า ่ 7 อัรรอมะฮุรมุซีย,์ อัลมุหัดดิษ อัลฟาซิล บัยนัร รอวีย์ วัล วาอี, หน้า 238.
  • 11. การสังกัดมัซฮับสะลัฟทั้งสี่ 9 : . : : . : : . : . : “เมื่อมีชายผู้หนึ่งได้ท่องจําหนึ่งแสนหะดีษ เขาย่อมเป็นนักปราชญ์ นิติศาสตร์(ฟิกฮฺ)หรือไม่?” ท่านอะหฺมัดตอบว่า “ยังไม่สามารถเป็น นักปราชญ์นิติศาสตร์ได้หรอก” ชายผู้นั้นกล่าวถามอีกว่า “แล้วถ้า จําสองแสนหะดีษล่ะ?” ท่านอะหฺมัดตอบว่า “ก็ยังไม่เป็นหรอก” ชายผู้นั้นกล่าวถามอีกว่า “แล้วถ้าสามแสนหะดีษล่ะ?” ท่านอะหฺมัด ตอบว่า “ก็ยังไม่ได้เป็นหรอก” ชายผู้นั้นกล่าวถามอีกว่า “แล้วสี่ แสนหะดีษล่ะ?” ดังนั้น ท่านอะหฺมัดจึงกล่าวด้วยการทําสัญญาณ เคลื่อนไหวมือ ซึ่งหมายถึง อนุญาตให้เ ขาเป็น นักปราชญ์ นิติศาสตร์ได้ หากเขาสามารถท่องจําหะดีษได้เป็นจํานวนมาก พร้อมกับรู้ความหมายทางภาษาอาหรับ รู้ถึงบรรดาหลักมูลฐาน ของนิติศาสตร์อิสลาม(อุศูลุลฟิกฮฺ) และบรรดาคํากล่าวของปวง ปราชญ์ที่อยู่ก่อนจากเขา ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่า บางทีเขาก็อาจจะมี คุณสมบัติในการฟัตวาไขปัญหาศาสนาแก่ผู้คนทั้งหลายด้วยคําพูด และการวินิจฉัยของเขาเองได้”8 8 อิบนุก็อยยิม, อิอฺลาม อัลมุวักกิอีน, เล่ม 1, หน้า 45.
  • 12. 10 เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์ ได้ถูกตั้งคําถามกับท่านอิบนุชากิลา ผู้เป็นนักปราชญ์ท่านสําคัญของมัซฮับฮัม บาลีย์ ว่า “ท่านจดจําบรรดาหะดีษ(สี่แสนหะดีษ)หรือไม่? ท่านอิบนุชากิลา กล่าวว่า “หากฉันไม่จดจํามัน แน่นอน ฉันก็จะทําการฟัตวาด้วย คํ า พู ด ของบรรดานั ก ปราชญ์ ที่ จ ดจํ า มั น หรื อ นั ก ปราชญ์ ที่ จ ดจํ า มากกว่านั้น”9 จุดมุ่งหมายก็คือ ท่านอิบนุชากิลา ได้ทําการตักลีดฟัต วาของท่านอิหม่ามอะหฺมัด อิบนุฮัมบัล ท่านอัซซะฮะบีย์ได้กล่าวถึงท่านอิบนุชากิลาว่า “เขาคือเกจิอาจารย์ของ บรรดานักปราชญ์มัซฮับฮัมบาลี ซึ่งเขามีอีกนามหนึ่งว่า อะบูอิสหาก เขาเป็นผู้นํา ทางด้านวิชามูลฐานนิติศาสตร์อิสลาม(อุศูลุลฟิกฮฺ)และข้อปลีกย่อยของนิติศาสตร์ อิสลาม”10 ท่านอิหม่ามอิบนุวะฮ์บฺ ร่อหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า 9 อิบนุมุฟลิห,์ อัลมักศ็อด อัลอัรชัด, เล่ม 2, หน้า 291. 10 อัซซะฮะบีย,์ ซิยัร อะอฺลาม อันนุบะลาอฺ, เล่ม 16, หน้า 292.
  • 13. การสังกัดมัซฮับสะลัฟทั้งสี่ 11 “มีนักปราชญ์อยู่สี่ท่านที่เราได้เจริญรอยตามเกี่ยวกับ วิช าความรู้ สองท่านอยู่ที่อียิปต์ และอีกสองท่านอยู่ที่นครมะดีนะฮ์ คือ ท่านอัล ลัยษ์ บิน สะอัด และท่านอัมร์ บิน อัลหาริษ อยู่ที่อียิปต์ และท่านมา ลิก บิน อะนัส และท่านอับดุลอะซีซฺ อัลมาญิชูน อยู่ที่นครมะดีนะฮ์ ซึ่งหากว่าไม่มีพวกเขาแล้ว แน่นอน พวกเราก็คงจะหลงทาง”11 ท่านอิหม่ามอิบนุวะฮฺบ์กล่าวอีกว่า : : : “หากแม้นว่า อัลลอฮฺ ไม่ทรงกอบกู้ฉัน ด้ว ยท่านอิหม่ามมาลิกและ ท่านอัลลัยษ์แล้ว แน่นอน ฉันก็ต้องหลงทางเป็นแน่” เพราะฉะนั้น จึงถูกตั้งคําถามแก่ท่านอิบนุวะฮฺบ์ว่า “ดังกล่าวนั้นมันเป็นอย่างไร กันหรือ?” ท่านอิบนุวะฮฺบ์ตอบว่า “ฉันทําการรายงานหะดีษมาก มาย แล้วมันทําให้ฉันสับสน ดังนั้น ฉันจึงนําสิ่งดังกล่าวมาเสนอ ทบทวนกับท่านมาลิกและท่านอัลลัยษ์ แล้วท่านทั้งสองก็กล่าว แนะนําว่า “ท่านจงยึดเอาหะดีษนี้ และจงละทิ้งหะดีษนี”12 ้ ท่านอัซซะฮะบีย์ ได้กล่าวถึงท่านอิหม่ามอิบนุวะฮฺบ์ว่า “เขาคือ อับดุลลอฮฺ อิบนุวะฮฺบ์ เขาเป็นอิหม่าม เป็นชัยคุลอิสลาม เป็นนักจําหะดีษ เป็นแหล่งของวิชา 11 อิบนุอะซากิร, ตารีค ดิมัชก์, เล่ม 45, หน้า 464. 12 อัลกอฎีย์ อิยาฎ, ตัรตีบ อัลมะดาริก, เล่ม 2, หน้า 427, และอิบนุฟัรหูน, อัดดีบาจญ์ อัลมุษะฮ์ฮับ, เล่ม 1, หน้า 133.
  • 14. 12 เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์ ความรู้ และเป็นคลังของการปฏิบัติคุณงามความดี... ได้รายงานจากท่านอัสซั๊วะหฺ นูน ว่า ท่านอิบนุวะฮฺบ์ ได้แบ่งช่วงเวลาออกเป็นสามส่วน คือ ส่วนที่หนึ่งทําการ ละหมาด ส่วนที่สองสอนวิชาความรู้ที่อียิปต์ และส่วนที่สาม ทําฮัจญ์ และท่านอิบ นุวะฮฺบ์กล่าวว่า เขาได้ทําฮัจญ์ถึง 36 ครัง”13 ้ ท่านอิหม่ามค่อฏีบ อัลบัฆดาดีย์ กล่าวว่า “มีผู้ชายคนหนึ่งได้ถามท่านอะ บีอัลอับบาสเกี่ยวกับความหมายของหะดีษหนึ่ง แล้วท่านตอบว่า พวกท่านจงทํา ให้น้อยกับการรายงานหะดีษ เพราะว่าบรรดาหะดีษจะไม่เหมาะสม นอกจาก สําหรับผู้ที่รอบรู้ถึงการอธิบายมัน”14 ท่านอิหม่ามมาลิก บิน อะนัส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า “บรรดาหะดีษ ส่วนมากนั้น ลุ่มหลง15 ขอสาบานว่า มีหลายหะดีษที่รายงานออกมาจากฉัน และ ฉันปรารถนาที่จะโบยทุกๆ หะดีษถึง 2 ครั้ง และอยากให้(เสมือนกับว่า)ฉันไม่เคย รายงานมันมาก่อนเลย”16 ท่านอิหม่ามอัลฮากิม กล่าวว่า “ทั้งที่ท่านอิหม่ามมาลิกมีความเข้มงวดใน การวิจารณ์หะดีษและสืบเสาะแสวงหาหะดีษน้อยมาก แต่ท่านก็ยังปกปิดบางหะ ดีษ เพราะฉะนั้นจะเป็นอย่างไรเล่าสําหรับผู้ที่ไม่ใช่อิหม่ามมาลิก ที่ทําการรายงาน 13 อัซซะฮะบีย,์ ซิยัร อะลามอันนุบะลาอฺ, เล่ม 9, หน้า 223. 14 อัลค่อฏีบ อัลบัฆดาดีย,์ อัลฟะกีฮ์ วัล มุตะฟักกิฮ,์ เล่ม 2, หน้า 158. 15 จากคํากล่าวของท่านอิหม่ามมาลิกนี้ หมายถึง มีหลายหะดีษที่มีสายรายงานที่กุเท็จแล้วทําการรายงานมัน ออกไป หลังจากนั้นท่านอิหม่ามมาลิกจึงเข้มงวดในการรับและรายงานหะดีษ และมีบางหะดีษที่ต้องนํา กลับไปสอบถามกับนักปราชญ์นิติศาสตร์อิสลาม. 16 เรื่องเดียวกัน.
  • 15. การสังกัดมัซฮับสะลัฟทั้งสี่ 13 ด้วยความเสียหายและความวิบัติ(คือไม่ตรวจสอบและไม่มีความเข้มงวดในการรับ และรายงานหะดีษ)”17 ท่านอิหม่ามมาลิก ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้ส่งเสริมให้ญาติใกล้ชิดของท่านทํา การแสวงหาหะดีษให้น้อยและให้มีความอุตสาหะในการศึกษาความเข้าใจหะดีษ แท้จริง ท่านอิหม่ามมาลิก ได้กล่าวแก่อะบูบักรและอิสมาอีล ซึ่งทั้งสองเป็นบุตร ของอะบูอวัยส์และน้องสาวของท่านว่า “ฉันเห็นว่าเธอทั้งสองชอบในการแสวงหา ุ หะดีษ – คือทําการรวบรวมและฟังหะดีษ - ทั้งสองตอบว่า “ใช่แล้วครับ” ท่าน อิหม่ามมาลิกกล่าวอีกว่า “หากเธอทั้งสองปรารถนาที่จะได้รับผลประโยชน์จาก มัน และปรารถนาจากการที่อัลลอฮฺจะทรงประทานผลประโยชน์ ดังนั้น จงทําให้ น้อยกับการรวบรวมหะดีษและจงศึกษาวิชานิติศาสตร์อิสลาม(ฟิกฮฺ)เถิด”18 ท่านอิหม่ามอัลฟัฏล์ บิน ดุกัยน์ อาจารย์ของอิหม่ามอัลบุคอรีย์ กล่าวว่า : : . “ฉันได้เดินทางไปหาท่านซุฟัร ซึ่งกําลังสวมเสื้ออยู่ แล้วเขาก็กล่าว ขึ้นว่า “โอ้ท่านอะหฺวัล เข้ามานี่ซิ ฉันจะแจกแจงรายละเอียดหะดีษ ให้ท่านฟัง และฉัน จึง ได้ร ายงานสิ่งที่ฉัน ได้ยิน มา” แล้ว ท่านซุฟั ร 17 อัลฮากิม, มะริฟะฮ์ อุลูม อัลหะดีษ, หน้า 61. 18 อัลค่อฏีบ อัลบัฆดาดีย,์ อัลฟะกีฮ์ วัล มุตะฟักกิฮ,์ เล่ม 2, หน้า 159.
  • 16. 14 เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์ กล่าวว่า “หะดีษนี้นํามาใช้ไม่ได้ หะดีษนี้เป็นหะดีษที่มายกเลิก(อีก หะดีษหนึ่ง)และหะดีษนี้เป็นหะดีษที่ถูกยกเลิกไปแล้ว”19 ท่านอิหม่ามอะหฺมัดได้นั่งร่วมกับบรรดานักปราชญ์หะดีษมากมาย ท่าน ได้รับเอาหะดีษและได้รับประโยชน์จากพวกเขา แต่ฟิกฮฺของอิหม่ามอัชชาฟิอีย์นั้น มีอิทธิพลต่อท่านอะหฺมัดเป็นอย่างมาก จนกระทั่งท่านอะห์มัดกล่าวว่า “สิ่งที่พวก ท่านมีความเห็นโดยทั่วไปหรือทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นของอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ และตั้งแต่ 30 ปี มาแล้วที่ฉันไม่เคยนอนในยามกลางคืน นอกจากว่า ฉันจะวอนขอดุอาอ์ ต่ออัลลอฮฺและขอให้พระองค์ทรงอภัยโทษแก่อิหม่ามอัชชาฟิอีย์”20 ท่านอิหม่าม อะหฺมัดกล่าวว่า “ฉันไม่รู้ตัวบทที่มายกเลิกกับตัวบทที่ถูกยกเลิกจนกระทั่งฉันได้นั่ง ทบทวนกับอิหม่ามอัชชาฟิอีย์”21 ท่านอิหม่ามอะหฺมัดกล่าวเช่นกันว่า . “อิหม่ามอัชชาฟิอีย์ คือผู้ที่มีความเข้าใจกิตาบุลลอฮฺและซุนนะฮ์มาก ที่สุด ทังที่ท่านแสวงหาหะดีษน้อย”22 ้ 19 เรื่องเดียวกัน, เล่ม 2 หน้า 162. 20 อัลค่อฎีบ อัลบัฆดาดีย,์ ตารีค บัฆดาด, เล่ม 2, หน้า 62. 21 อัลกอฎีย์ อิยาฎ, ตัรตีบ อัลมะดาริก, เล่ม 1, หน้า 139, และอิบนุฟัรหูน, อัดดีบาจญ์ อัลมุษะฮ์ฮับ, เล่ม 1, หน้า 126.
  • 17. การสังกัดมัซฮับสะลัฟทั้งสี่ 15 ท่านอิหม่ามอิบนุมะอีนได้กล่าวกับท่านศอลิหฺ บุตร ท่านอิหม่ามอะหฺมัด อิบนุฮัมบัลว่า : . : “บิดาของท่านไม่ละอายบ้างหรือ?! คือ ฉันเห็นเขาอยู่พร้อมกับ ท่านอัชชาฟิอีย์ โดยท่านอัชชาฟิอีย์ขี่สัตว์พาหนะแต่เขานั้นเดิน และ ฉันเห็นเขาจูงสัตว์พาหนะของท่านอัชชาฟิอีย์” ท่านศอลิหฺกล่าวว่า “ดังนั้น ฉันจึงเล่าให้บิดาของฉันฟัง และบิดาได้กล่าวแก่ฉันว่า “เจ้า จงบอกแก่เขาว่า หากท่านต้องการจะเข้าใจวิชาฟิกฮฺ ท่านก็จงจูง พาหนะของท่านอัชชาฟิอียอีกข้างหนึ่ง”23 ์ ท่านอัลคอฏีบ อัลบัฆดาดีย์ กล่าวว่า “เขาจงรู้ไว้เถิดว่า การบันทึกและรายงานหะดีษมากๆ นั้น ไม่ สามารถทําให้ชายผู้หนึ่งเป็นนักปราชญ์ฟิกฮฺได้หรอก แต่ทว่าเขา จะต้ อ งทํ า ความเข้ า ใจด้ ว ยการวิ นิ จ ฉั ย บรรดาความหมายและ วิเคราะห์หะดีษอย่างรอบครอบ”24 22 เรื่องเดียวกัน. 23 อิบนุฟัรหูน, อัดดีบาจญ์ อัลมุษะฮ์ฮับ, เล่ม 1, หน้า 126. 24 อัลค่อฏีบ อัลบัฆดาดีย,์ อัลฟะกีฮ์ วัล มุตะฟักกิฮ,์ เล่ม 2, หน้า 159.
  • 18. 16 เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์ ข้อแตกต่างระหว่างการสังกัดมัซฮับและความคลั่งไคล้ในมัซฮับ การมีมัซฮับ คือ การที่สามัญชนตามมัซฮับของอิหม่ามที่อยู่ในระดับขั้นที่ สามารถวินิจฉัยได้(มุจญตะฮิด) ไม่ว่าเขาจะยึดอยู่กับมัซฮับของอิหม่ามคนเดียว หรือย้ายไปย้ายมาระหว่างมัซฮับต่างๆ จุดประสงค์ของคําว่า อามมีย์ (เอาวาม) หมายถึง “ทุกบุคคลที่ยังไม่บรรลุ ระดั บ ขั้ น วิ นิ จ ฉั ย ” นี่ คื อ ศั พ ท์ ค วามหมายทางด้ า นวิ ช าการตามทั ศ นะของ นักปราชญ์มูลฐานนิติศาสตร์อิสลาม เพราะพวกเขาเรียกคนเอาวามว่า คนที่ยังไม่ ถึงขั้นระดับมุจญฺตะฮิด ตามที่กล่าวมานี้เอง คนเอาวามอาจหมายถึง “คนที่มี ความถนัดในวิชานิติศาสตร์ หรือผู้ที่มีความถนัดในวิชาอักษรศาสตร์ หรือหมายถึง คนที่มีความถนัดในการค้นหาอัลหะดีษและรอบรู้สายรายงานต่างๆ รวมถึงการ จดจําหะดีษและสายรายงานของหะดีษ และรู้จักบรรดานักรายงานหะดีษ เป็นต้น แต่เขายังไม่ถึงขั้นที่จะไปวินิจฉัย วิเคราะห์ตัวบทต่างๆ แห่งนิติศาสตร์อิสลาม เพราะฉะนั้น คําพูดของเขาที่เกี่ยวกับนิติศาสตร์และการนําเอาฮุกุ่มออกมาจะไม่ เป็นที่ยอมรับ” ท่านอิหม่ามอัซซะร็อคชีย์ ซึ่งสังกัดมัซฮับหะนะฟีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ของเขาที่มีชื่อ อุศูล อัสซะร็อคซีย์ ความว่า “เช่นเดียวกัน บุคคลที่ท่องจําหะดีษ เป็นแสน แต่ไม่มีวิสัยทัศน์ในการพิจารณาเกี่ยวกับความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆ และวิธีของการกิยาส(เทียบเคียง) คําพูดของเขาจะไม่ถูกนํามาพิจารณาอยู่ใน มติของปวงปราชญ์ เพราะบุคคลที่มีคุณลักษณะอย่างนี้นั้น ตามกฎหมายของ แห่งนิติบัญญัติอิสลามนี้ ถือว่ายังเป็นคนเอาวามอยู่ ยังไม่ถึงขั้นระดับของมุจญฺ ตะฮิด และแน่นอน คําพูดของคนเอาวามก็จะนํามาพิจารณาไม่ได้ตามมติปวง
  • 19. การสังกัดมัซฮับสะลัฟทั้งสี่ 17 ปราชญ์ของอิสลามในยุคนั้น เพราะเขาไม่มีแนวทางในการตัดสินปัญหาที่ยังต้อง อาศัยองค์ความรู(้ ของเขาเพิ่มเข้ามาอีก)”25 ท่านอิหม่ามอิบนุหะญัร อัลฮัยตะมีย์ (ร่อหิมะฮุลลอฮฺ) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ที่มีชื่อว่า อัลฟะตาวา อัลกุ๊บรอ ความว่า “ความหมายของคําว่า อามมีย์หรือเอา วาม ตามศัพท์ทางด้านวิชาการของปวงปราชญ์แห่งมูลฐานนิติศาสตร์อิสลาม หมายถึง ผู้ที่ยังไม่ถึงขั้นมุจญฺตะฮิดแบบมุฏลัก(นักวินิจฉัยเอกเทศน์) เพราะฉะนั้น บรรดาผู้คนที่ตักลีดตามทัศนะของพวกเขา จึงถือว่าเป็นคนเอาวามทั้งสิ้น ถึงแม้ ระดับขั้นของพวกเขาจะสูงส่งสักปานใดก็ตาม ส่วนความหมายคํานิยามของปวง ปราชญ์แห่งนิติศาสตร์อิสลาม (ที่มีคนเอาวาม) หมายถึง บุคคลที่เข้าใจและรู้ฮุกุ่ม ผิว เผิ น ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในท่ า มกลางผู้ ค นทั้ ง หลาย แต่ จ ะไม่ รู้ ฮุ กุ่ ม ที่ มี ค วามล้ํ า ลึ ก ละเอียดอ่อน และเป็นหุกุ่มที่ยากจะเกิดขึ้น”26 นี่คือความหมายของคําว่า “คนเอา วาม” ตามวิสัยทัศน์ของปวงปราชญ์แห่งนิติศาสตร์อิสลาม นิยามของมัซฮับ มัซฮับตามหลักภาษา หมายถึง ที่ไป หรือ ทางไป ตามหลักวิชาการ หมายถึง ข้อเท็จ จริงที่เกี่ย วกับ ธรรมเนียมในเชิงปฏิบัติของปวงปราชญ์ที่ถูก นํามาใช้กับฮุกุ่มต่างๆ ที่อิหม่ามในขั้นระดับมุจญฺตะฮิดได้วินิจฉัยออกมา หรือ หมายถึงฮุกุ่มต่างๆ ที่ได้วินิจฉัยออกมาตรงตามกฎเกณฑ์และหลักการของอิหม่าม ที่อยู่ในขั้นระดับมุจญฮิด และบรรดาสานุศิษย์ที่อยู่ในระดับมุจญฺตะฮิดได้นํา หลักการต่างๆ ของอิหม่ามมาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์และวินิจฉัยฮุกุ่มออกมา 25 อัสซะร็อคซีย,์ อุศูล อัสซะร็อคซีย,์ เล่ม 2, หน้า 251. 26 อิบนุหะญัร อัลฮัยตะมีย,์ อัลฟะตาวา อัลก็อบรอ, เล่ม 2, หน้า 251.
  • 20. 18 เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์ การมีมัซฮับตามความหมายที่กล่าวมานี้ จึงหมายถึง หนทางหรือแนวทาง ของบรรดาปวงปราชญ์ที่ได้ยึดถือปฏิบัติกัน ไม่ว่าจะเป็นนักหะดีษ นักนิติศาสตร์ นักอธิบายอัลกุรอาน และอักษรศาสตร์ ซึ่งในเรื่องนี้นั้น ไม่มีนักวิชาการท่านใดที่ โลกยอมรับจะให้การปฏิเสธ เพราะท่านจะพบว่า บรรดานักวิชาการทั้งหลายเขา ปฏิบัติตามมัซฮับที่ตนเองพึงพอใจทั้งสิ้น แล้วพวกเขาก็นํามาฟัตวาและตัดสินแก่ ผู้คนทั้งหลาย ท่านอัลลามะฮ์มุฮัมมัด อัลคิฎรฺ อัชชันกีฏีย์ ได้กล่าวว่า “ส่วนเรื่องการที่คน เอาวามต้องปฏิบัติตามผู้รู้ที่เป็นมุจญฺตะฮิดนั้น มีหลักฐานจากอัลกุรอานและซุน นะฮ์ และยังเป็นมติแห่งปวงปราชญ์ในสามศตวรรษแรกของอิสลามที่ได้รับการ ยืนยันว่าเป็นประชาชาติที่ดีเลิศจากท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ผู้มี สัจจะและได้ถูกรับรองความสัจจะจากอัลลอฮฺ ตะอาลา และยังรวมทั้งมติของปวง ปราชญ์แห่งโลกอิสลามหลังจากนั้น นอกจากความขัดแย้งของกลุ่มมุอฺตะซิละฮ์ที่ อยู่ในกรุงแบกแดดที่มาขัดมติของปวงปราชญ์ตลอดยุคสมัยที่ผ่านมา”27 ความจริงแล้ว การตักลีดเป็นที่แพร่หลายในยุคสมัยของศ่อฮาบะฮ์ผู้มี เกียรติและไม่มีศ่อฮาบะฮ์คนใดที่ปฏิเสธเรื่องนี้เลย เพราะท่านอิหม่ามอิบนุหะญัร อัลอัสก่อลานีย์ ซึ่งเป็นอะมีรุลมุอ์มินีนเกี่ยวกับวิชาหะดีษนั้น(หมายถึงผู้ที่จดจําหะ ดีษและสายรายงานหะดีษต่างๆ จํานวนกว่าสามแสนหะดีษ) ได้กล่าวให้เราทราบ ว่า “รายงานจากท่านฏอวูส (ร่อหิมะฮุลลอฮฺ) เขากล่าวว่า “ข้าพเจ้าได้พบเห็นศ่อ ฮาบะฮ์ของท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ถึง 70 ท่าน เมื่อพวก 27 มุฮัมมัด อัลคิฎรฺ อัชชันกีฏีย,์ ก๊อมอุ อะฮ์ลิลอิจญฮาด อัน อัฏเฏาะอฺนิ ฟี ตักลีด อะอิมมะฮ์ อัลอิจญ ฮาด, หน้า 75.
  • 21. การสังกัดมัซฮับสะลัฟทั้งสี่ 19 เขาเกิดข้อพิพาทกันขึ้นในเรื่องหนึ่งเรื่องใด พวกเขาจะกลับไปยึดคําพูดของ ท่านอิบนุอับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ”28 เมื่อวิเคราะห์คํารายงานที่ได้กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า บรรดาศ่อฮาบะฮ์ของ ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จํานวนมากจะตักลีดตามท่านอิบนุอับ บาสในปัญหาต่างๆ ที่พวกเขาไม่รู้ จึงเป็นเรื่องที่ชี้ชัดว่า ศ่อฮาบะฮ์เขาก็มีมัซฮับ และตักลีดอีกด้วย ความจริงแล้วเหล่าศ่อฮาบะฮ์ของท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะ ลัยฮิวะซัลลัม มีจํานวนกว่าแสนคน ในขณะที่บุคคลที่ฟัตวาได้นั้นมีราวๆ 130 กว่า คน เรืองนี้ท่านอิบนุกอยยิมได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่านที่ชื่อว่า อิอฺลาม อัลมุวักกิ ่ ็ อีน ของท่านเช่นกัน29 แม้กระทั่งท่านอิหม่ามอะหฺมัด บิน ฮัมบัล ก็ยังตักลีดตามอิหม่ามชาฟีอีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ เช่นกัน ซึ่งท่านอิบนุอะซากิร ได้รายงานจากหุมัยด์ อิบนุอะหฺมัด อับบัศรีย์ ซึ่งเขาได้กล่าวว่า “ข้าพเจ้าอยู่กับท่านอะหฺมัด อิบนุฮัมบัล ซึ่งในขณะที่ เรากําลังศึกษาเกี่ยวกับปัญหาหนึ่ง ก็มีชายคนหนึ่งได้กล่าวกับท่านอะหฺมัด บิน ฮัม บัลว่า “ท่านอะบูอับดิลลาฮฺครับ หะดีษในประเด็นนี้ไม่ศ่อฮีหฺ ท่านอะหฺมัดจึงตอบ ว่า ถึงแม้ว่าหะดีษในประเด็นนี้ ไม่ได้ศ่อฮีหฺก็ตาม แต่มันก็มีคําพูดของท่าน อิหม่ามอัชชาฟิอีย์ รับรองอยู่ และการยึดมั่นในคําพูดของท่านอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ ย่อมเป็นสิ่งที่มีความแน่นแฟ้นอย่างที่สุดในเรื่องนี้”30 ด้วยเหตุนี้เอง บรรดาปวง ปราชญ์แห่งโลกอิสลามโดยทั่วไป ไม่ว่าจะอยู่ในมัซฮับหะนะฟีย์ มาลิกีย์ ชาฟิอีย์ หรือฮัมบาลีย์ ต่างก็ยึดถือปฏิบัติตามแนวทางแห่งการมีมัซฮับและตักลีด และใน 28 อิบนุหะญัร อัลอัสก่อลานีย,์ อัลอิซอบะฮ์ ฟี ตัมยีซฺ อัลซ่อฮาบะฮ์, เล่ม 4,หน้า 148. 29 อิบนุก็อยยิม, อิอฺลาม อัลมุวักกิอีน, เล่ม 1, หน้า 10. 30 อิบนุอะซากิร, ตารีค ดิมัช, เล่ม 51, หน้า 351. และอิบนุหะญัร อัลอัสก่อลานีย์, ตะฮ์ซีบ อัตตะฮ์ซีบ, เล่ม 9, หน้า 25.
  • 22. 20 เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์ เรื่องนี้ นักวิชาการหรือปวงปราชญ์แห่งโลกอิสลามที่ถูกยอมรับนั้น ต่างก็มีมัซฮับ และตักลีดตามบรรดาอิหม่ามทั้งสี่ทั้งสิ้น แม้กระทั่งท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ท่านอิบนุ ก็อยยิมก็อยู่ ในมัซฮับฮัมบาลีย์ ท่านอิบ นุกะษีร ซึ่งเป็นนักปราชญ์ห ะดีษและ อรรถาธิบายอัลกุรอานก็อยู่ในมัซฮับชาฟิอีย์ ท่านอัซซะฮะบีย์ก็อยู่ในมัซฮับชาฟิอีย์ ความจริงแล้ว บรรดาปวงปราชญ์ไม่ว่าจะเป็นรุ่นเล็กและรุ่นอาวุโสก็ยึด บรรดามัซฮับของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ที่ได้มีการสืบทอดหลักการต่อๆ กันมา ความเป็นมาของมัซฮับ ถือเป็นสิ่งที่สําคัญสําหรับนักศึกษาวิชาความรู้จากมัซฮับอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ที่ สมควรทราบถึงประวัติการกําเนิดของมัซฮับ สถานที่แพร่หลาย และบรรดา นักปราชญ์ของมัซฮับ ซึ่งเราขอมอบให้กับท่านอิหม่ามอัลกอฎีย์อิยาฎ ได้ทําการ อธิบายในแง่มุมหนึ่งจากสิ่งดังกล่าวดังต่อไปนี้ ท่านอัลกอฎีย์อิยาฎ (ร่อหิมะฮุลลอฮฺ) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ตัรตีบ อัลมะดา ริก วะตักรีบ อัลมะซาลิกว่า “ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ใช้ให้ เจริญรอยตามบรรดาค่อลีฟะฮ์และบรรดาศ่อฮาบะฮ์หลังจากท่าน(เสียชีวิต) และ ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ส่งบรรดาศ่อฮาบะฮ์ไปยังผู้คนทั้งหลาย เพื่อสั่งสอนให้พวกเขามีความเข้าใจในเรื่องศาสนา และเหล่าสานุศิษย์ของศ่อ ฮาบะฮ์ก็ได้ไปสอนกลุ่มชนของพวกเขาเมื่อได้หวนกลับไป(สู่มาตุภูมิ) และเมื่อกรณี ดังกล่าวนี้มีความจําเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น ดังนั้น จึงเหมาะสมสําหรับคนเอา วามทั่วไป , ผู้เริ่มศึกษาที่ต้องการทําอิบาดะฮ์ ,นักศึกษาที่ต้องการคําชี้แนะ และผู้ ที่เริ่มทําความเข้า ใจเกี่ย วกับศาสนาทําการตักลีดตามเขาเหล่านั้น ฉะนั้น ผู้
  • 23. การสังกัดมัซฮับสะลัฟทั้งสี่ 21 เหมาะสมยิ่งในการตักลีดตามก็คือนักปราชญ์ระดับศ่อฮาบะฮ์ที่ได้รับความรู้มา จากท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม รอบรู้ถึงมูลเหตุในข้อบัญญัติใช้ และบัญญัติห้าม รอบรู้ถึงหลักการต่างๆ ของบทบัญญัติ บรรดาคําพูดที่ออกมา จากท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม โดยรอบรู้ถึงบรรดาความหมาย แวดล้อมของสิ่งดังกล่าวได้เป็นอย่างดี และได้ทําการสอบถาม พร้อมทั้งมีหัวใจที่ สว่างไสว หัวอกอันแจ้งประจักษ์ เพราะฉะนั้น พวกเขาจึงเป็นประชาชาติที่มีความ รอบรู้เป็นที่สุดอย่างปราศจากความสงสัยและพวกเขาเหมาะสมยิ่งสําหรับการตัก ลีดตาม แต่พวกเขาไม่เคยพูดประเด็นปัญหาต่างๆ นอกจากส่วนน้อยจากสิ่งที่ได้ เกิดขึ้นจริงเท่านั้น และประเด็นปัญหาข้อปลีกย่อยต่างๆ ก็ไม่ได้แตกแขนงมาออก จากพวกเขามากมาย พวกเขาไม่ได้พูดประเด็นในเรื่องของศาสนานอกจากกรณีที่ เกี่ยวกับกฎเกณฑ์และประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้น พวกเขาเน้นความสนใจ ในการปฏิบั ติ ในสิ่ งที่พวกเขารู้ ปกป้อ งศาสนาและสนับ สนุน ให้ป ฏิบั ติตาม บทบัญญัติศาสนาแก่บรรดามุสลิมีน ในแวดวงของศ่อฮาบะฮ์นั้น มีบางประเด็นการขัดแย้งที่พวกเขาได้ทําการ อธิบายหลักการที่คนมุก็อลลิดอาจจะยังคงมีความสับสนและมีความต้องไปยังการ พิจารณาไตร่ตรองอยู่ แต่การอธิบาย สังเคราะห์ และตีแผ่คําพูดของศ่อฮาบะฮ์ได้ เกิดขึ้นมาหลังจากนั้น เมื่อถึงยุคตาบิอีน พวกเขาก็ทําการวิเคราะห์ในประเด็นการ ขัดแย้งของศ่อฮาบะฮ์ และพวกเขาก็ดํารงอยู่บนโครงสร้างหลักมูลฐานนิติศาสตร์ ของเหล่าซอฮาบะฮ์ หลังจากนั้น เมื่อยุคสมัยของตาบิอิตตาบิอีนมาถึง31 บรรดาเหตุการณ์และ ประเด็นปัญหาต่างๆ ได้เกิดขึ้นอีกมากมาย บรรดาฟัตวาต่างๆ ได้กระจัดกระจาย 31 ตาบิอิตตาบิอีน เช่น อิหม่ามมัซฮับทั้งสี.่
  • 24. 22 เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์ ดังนั้นพวกเขาจึงทําการรวบบรรดาคําวินิจฉัยทั้งหมด และทําการจดจําหลัก นิติศาสตร์ของปราชญ์ที่อยู่ก่อนหน้านั้น พวกเขาได้ทําการวิเคราะห์การขัดแย้ง และความเห็นพ้องของศ่อฮาบะฮ์และตาบิอีน ซึ่งพวกเขาได้เตือนให้ระวังการแพร่ ขยายของกรณีดังกล่าวและการขัดแย้งที่ออกนอกกฎ ดังนั้น ตาบิอิตตาบิอีนจึง พยายามรวบรวมบรรดาซุนนะฮ์ต่างๆ และได้กําหนดบรรดาหลักมูลฐานแห่ง นิติศาสตร์อิสลามขึ้น และเมื่อมีการถูกตั้งคําถามขึ้นมา พวกเขาก็จะตอบและ กํา หนดกฎเกณฑ์ ต่า งๆ แห่ ง นิ ติ ศ าสตร์ [ ] วางแนวทางหลั ก มู ล ฐานแห่ ง นิติศาสตร์[ ] และทําการอธิบายเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยให้อยู่บน หลักการเหล่านั้น แล้วได้มีการประพันธ์และจัดเรียบเรียงเป็นบทๆ ขึ้นมาให้แก่ ผู้คนทั้งหลาย และพวกเขาทุกๆ คนก็ได้ปฏิบัติสิ่งที่อัลลอฮฺทรงเปิดและชี้นํา เมื่อหลักวิชามูลฐานแห่งนิติศาสตร์(อุศูลุลฟิกห์) วิชานิติศาสตร์อิสลาม(วิชา ฟิกฮฺ) หลักการขัดแย้งและมติสอดคล้องได้เสร็จสิ้น และพวกเขาได้ทําการกิยาส (เทียบเคียง)ประเด็นฮุกุ่มคล้ายคลึงที่ได้รับทราบมาถึงพวกเขา ดังนั้นจึงจําเป็นแก่ คนมุก็อลลิดที่เป็นคนสามัญชนทั่วไปและเป็นผู้เริ่มเรียนทําการตักลีดปราชญ์ผู้มี ความรู้เหล่านั้น เนื่องจากมีบทต่างๆ ที่ได้ระบุฮุกุ่มไว้เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มาแล้ว และทําการทบทวนสิ่งที่สงสัยต่างๆ ให้อ้างอิงกลับไปยังพวกเขา...ซึ่งถือว่า เป็นความเพียงพอแล้วสําหรับผู้ทอยู่ในยุคหลังจากพวกเขาเหล่านั้น ี่ แต่การตักลีดตามปราชญ์ผู้วินิจฉัยทั้งหมดนั้นส่วนมากจะไม่สอดคล้องกัน ในประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เนื่องจากพวกเขามีความแตกต่างกันในหลักมูล ฐานนิติศาสตร์แห่งอิสลาม(อุศูลุลฟิกห์)ที่นํามาวินิจฉัย และไม่เป็นการสมควรที่คน มุก็อลลิดทําการตักลีดตามคนใดคนหนึ่งตามอารมณ์... ดังนั้น จุดยืนของคนมุก็อล ลิด(คนเอาวาม)ต่อการวินิจฉัยของนักปราชญ์ตรงนี้ก็คือ การพิจารณานักปราชญ์ที่
  • 25. การสังกัดมัซฮับสะลัฟทั้งสี่ 23 มีความรู้มากที่สุด...แล้วเขาจะทราบได้ว่าปราชญ์มุจญฺตะฮิดท่านใดที่สมควรตาม มากกว่า แล้วคนเอาวามหรือสามัญชนทั่วไปก็สามารถยึดการปฏิบัติตามฟัตวาของ ปราชญ์ที่มความรู้ดีเยี่ยมนั้น ี หากผู้แสวงหาวิชาความรู้ได้ริเริ่มศึกษาทุกๆ ประเด็นของศาสนา และมี ความต้องการให้มีความสอดคล้องกับสัจธรรมในทุกๆ ประเด็นด้วยวิธีการ วินิจฉัย(อิจญฺติฮาด) แน่นอนว่าสิ่งดังกล่าวย่อมมีความลําบากสําหรับเขา เนื่องจากไม่สามารถบรรลุผลได้นอกจากต้องรวบรวมหลักการต่างๆ และต้องมี ความสมบูรณ์พร้อมอย่างที่สุด และเมื่อเขาได้ดําเนินอยู่บนแนวทางนี้ก็ไม่ จําเป็นต้องทําการตักลีดบรรดามัซฮับต่างๆ เนื่องเขาเป็นส่วนหนึ่งจากบรรดา นักมุจญฺตะฮิดให้กับตัวเองแล้ว บรรดามุสลิมีนทั่วผืนแผ่นดินได้ลงมติในการตักลีดตามหนทางนี้โดยให้มี การตามตาบิอิตตาบิอีนและทําการศึกษามัซฮับของพวกเขา...แต่พร้อมกันนั้นก็ ให้ ก ารยอมรั บถึ ง ความประเสริ ฐและความรู้ ที่อ ยู่ ใ นระดั บ แนวหน้ า ของศ่ อ ฮาบะฮ์และตาบิอีน แต่เนื่องด้วยเหตุผลที่สามัญชนทั่วไปในยุคตาบิอิตตาบิอีน ไม่มีความสามารถที่รวมรวบหลักการต่างๆ และไม่มีความสมบูรณ์พร้อมในการ วินิจฉัย ดังนั้นบรรดานักปราชญ์นิติศาสตร์อิสลามที่มัซฮับของพวกเขาถูกตักลีด ตามนั้ น ต่ า งก็ มี บ รรดาสานุ ศิ ษ ย์ ไ ด้ เ จริ ญ รอยตามทั่ ว แผ่ น ดิ น และแค้ ว นต่ า งๆ มากมาย เช่น การตามอิหม่ามมาลิกที่นครมะดีนะฮ์ การตามท่านอะบูหะนีฟะฮ์ และท่านอัษเษารีย์ที่เมืองกูฟะฮ์ (อิรัก) ท่านอัล หะซัน อัล บัศรีย์ที่บัศเราะฮ์ ท่านอัลเอาซะอีย์ที่ซีเรีย ท่านอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ที่อียิปต์ ท่านอะหฺมัด บิน ฮัมบัลที่ แบกแดด และท่านอะบีษูรก็มีสานุศิษย์ที่เจริญรอยตามอยู่ที่แบกแดดเช่นเดียวกัน
  • 26. 24 เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์ หลักจากนั้น ท่านอะบูญะอฺฟัร อัฏฏ่อบะรีย์และท่านดาวูด อัลอัศฟิฮานีย์ ได้เกิดที่แบกแดด แล้ว ทั้งสองก็ ได้ทําการประพัน ธ์ตําราไว้หลายเล่มและได้ เลือกสรรบรรดามัซฮับต่างๆ ให้อยู่บนความเห็นของนักหะดีษ ท่านดาวูดได้ทิ้ง หลัก การกิ ย าสโดยที่ ทั้ง สองก็มี ผู้เ จริ ญรอยตาม และบรรดามั ซฮั บ ต่ างๆ ก็ แพร่หลายทั่วสารทิศ ดังนั้นมัซฮับอิหม่ามมาลิกได้แพร่หลายในแถบหิญาซฺ บัศ เราะฮ์ อียิปต์ แถบประเทศแอฟริกา สเปน โมร็อคโค และไปยังซูดานจนถึง ปัจจุบัน และยังได้แพร่หลายที่กรุงแบกแดดเป็นอย่างมากแต่หลังจากนั้นความ แพร่หลายได้เบาบางลงที่แบกแดดในช่วงระยะเวลา 400 ปี และเบาบางลงที่บัศ เราะฮ์ในช่วงระยะเวลา 500 ปี มัซฮับอิหม่ามอะบูหะนีฟะฮ์ได้แพร่หลายที่กูฟะฮ์และอีรักและส่วนมากของ เมืองคุรอซานจนถึงปัจจุบัน และได้แพร่หลายในแถบแอฟริกาเป็นระยะเวลาเพียง 400 ปี หลังจากนั้นก็ขาดช่วงไป และมัซฮับของท่านเอาซาอีย์ได้แพร่หลายที่เมือง ชามซีเรียและคาบสมุทรสเปนในช่วงแรกๆ จนกระทั้งมัซฮับอิหม่ามาลิกขึ้นมามี บทบาทได้ระยะเวลาเพียง 200 ปี ก็ขาดช่วงไป และส่วนมัซฮับท่านอัลหะซันและ ท่านอัษเษารีย์นั้น มีผู้เจริญรอยตามน้อยมากและการตักลีดตามมัซฮับของทั้งสอง นั้นมีระยะเวลาไม่นานนักก็ขาดช่วงไป ส่วนมัซฮับอิหม่ามอัชชาฟิอีย์นั้น มีผู้เจริญรอยตามมากมาย มัซฮับของท่าน ได้แพร่หลายพร้อมๆ กับมัซฮับอิหม่ามาลิกและอิหม่ามอะบูหะนีฟะฮ์ ดังนั้นมัซฮับ ชาฟิอีย์ได้แพร่หลายที่อียิปต์พร้อมๆ กับมัซฮับอิหม่ามมาลิก และได้แพร่หลายที่ อิรัก กรุงแบกแดด และส่วนมากจากชาวเมืองคุรอซาน ซีเรีย เยเมน จนถึง ปัจจุบัน”32 32 อัลกอฎี อิยาฎ, ตัรตีบ อัลมะดาริก วะ ตักรีบ อัลมะซาลิก, เล่ม 1, หน้า 17.
  • 27. การสังกัดมัซฮับสะลัฟทั้งสี่ 25 ปวงปราชญ์มัซฮับหะนะฟีย์ ท่านอิหม่ามอะบูยูซุฟ, ท่านอิหม่ามมุฮัมมัด บิน อัลหะซัน, ท่านอับดุลลอฮฺ บิน อัลมุบาร็อก, ท่านซุฟัร, ท่านญะอฺฟัร อัฏฏ่อฮาวีย์, ท่านอัซซะร็อคชีย์, อันนะ ซะฟีย์, อะหฺมัด บิน มุฮัมมัด อัลบุคอรีย์, ท่านอัซซัยละอีย์, ท่านอัลกะมาล บิน อัลฮุมาม, ท่านอิบนุอันนุญัยม์, ท่านอิบนุอาบิดีน และบรรดาปวงปราชญ์อีกหลาย พันคนที่ได้ถูกบันทึกไว้ในหนังสือประวัติส่ว นบุคคลในมัซฮับ หะนะฟีย์ที่มีชื่อว่า อัฏฏ่อบะก๊อต อัลหะนะฟียะฮ์ ถ้าจะพิจารณาประเทศต่างๆ ที่ปฏิบัติตามมัซฮับ หะนะฟีย์โดยส่วนใหญ่แล้ว คือ อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ อัฟกานิสถาน กลุ่ม ประเทศอาหรับในแถบชาม เช่น ซีเรีย อิรัก และกลุ่มประเทศยุโรป ก็ถือ ตามมัซฮับหะนะฟีย์ทั้งสิ้น ปวงปราชญ์มัซฮับมาลิกีย์ ท่านอิหม่ามอิบนุอัลกอซิม, ท่านอัลอัชฮับ, ท่านซุหฺนูน, ท่านอะซัด บิน อัล ฟุร๊อด, ท่านอัศบั๊ฆฺ, ท่านอิบนุอับดุลบัรร์, ท่านกอฎีย์ อัลอิยาฏ, ท่านอิบนุลอะร่อ บีย์ อัลมาลิกีย์, ท่านอะบูบักร อัฏฏุรฏูชีย์, ท่านอิบนุอัลฺฮาญิบ, ท่านอิบนุอัลมุ นัยยิร, ท่านอิบนุรุชด์, ท่านอัลบากิลลานีย์, ท่านอัลบาญีย์, ท่านอัลกุรฏุบีย์, ท่านอัลก่อรอฟีย์, ท่านอัชชาฏิบีย์, ท่านอิบนุค็อลดูน และบรรดาปวงปราชญ์อีก หลายท่านที่ถูกรวมอยู่ ในตํารับ ตําราที่เกี่ยวกับ ประวัติส่วนบุคคลของมัซฮับมา ลิกีย์ ซึ่งเรียกว่า “อัฏฏ่อบะก๊อต อัลมาลิกียะฮ์” นักปราชญ์เหล่านี้อยู่ในมัซฮับ ของอิหม่ามมาลิกทั้งสิ้น และท่านสามารถกล่าวได้ว่า นักปราชญ์แห่งเมืองต่างๆ ในกลุ่มประเทศอาหรับตะวันตกในทวีปแอฟริกา เริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่สามแห่ง ฮิจเราะฮ์ จวบจนถึงทุกวันนี้ ได้ยึดถือตามมัซฮับมาลิกีย์ทั้งสิ้น
  • 28. 26 เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์ ปวงปราชญ์มัซฮับอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ ท่านอิหม่ามอัลมุซะนีย์, ท่านอิหม่ามอัลบุวัยฏีย์, ท่านอิบนุอัลมุนซิร, ท่าน มุฮัมมัด บิน ญะรีร อัฏฏ่อบะรีย์, ท่านอิบนุสุรัยจฺญ์, ท่านอิบนุคุซัยมะฮ์, ท่านอัล ก็อฟฟาล, ท่านอัลบัยฮะกีย,์ ท่านอัลค๊อฏฏอบีย์, ท่านอะบูอิสหาก อัลอัสฟิรอยีนีย์ ท่านอะบูอิสหาก อัชชีรอซีย์, ท่านอัลมาวัรดีย์, ท่านอะบูฏ็อยยิบ อัศเศาะอฺลูกีย์, ท่านอะบูบักร อัลอิสมาอีลีย์, ท่านอิหม่ามอัลหะร่อมัยน์, ท่านหุจญะตุลอิสลาม อัลฆ่อซาลีย์, ท่านอัลบะฆ่อวีย์, ท่านอัรรอฟิอีย์, ท่านอะบูชามะฮ์, ท่านอิบนุ ริฟอะฮ์, ท่านอิบนุศ่อลาหฺ, ท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์, ท่านอิซซุดดีน บิน อับดิส สลาม, ท่านอิบนุดะกีก อัลอีด, ท่านอัลหาฟิซฺ อัลมิซซีย์, ท่านตาญุดดีน อัศศุบกีย์, ท่านอัซซะฮะบีย,์ ท่านอิรอกีย์, ท่านอัซซัรกาชีย์, ท่านอิบนุหะญัร อัลอัสก่อลานีย์, ท่านอัซซุยูฏีย์, ท่านชัยคุลอิสลาม ซะกะรียา อัลอันศอรีย์ และบรรดานักปราชญ์ อีกเป็นพันๆ ที่ไม่สามารถเอ่ยนามพวกเขาได้ทั้งหมด และบรรดานักปราชญ์มัซฮับ ชาฟิอียที่ได้ถูกระบุไว้ในหนังสือ “อัฏฏ่อบะก๊อต อัชชาฟิอียะฮ์” ก็มีถึง 1419 ท่าน ์ ปวงปราชญ์มัซฮับฮัมบาลีย์ ท่านอิหม่ามอาญุรรีย์, ท่านอะบุลค็อฏฏอบ อัลกัลวาซะนีย์, ท่านอะบูบักร อันนัจญาร, ท่านอะบูยะอฺลา, ท่านอัลอัษรอม, ท่านอิบนุอะบีมูซา, ท่านอิบ นุอัศศ็อยรอฟีย์, ท่านอิบนุฮุบัยเราะฮ์, ท่านอิบนุอัลเญาซีย์, ท่านอิบนุตัยมียะฮ์, ท่านอิบนุร่อญับ, ท่านอิบนุรุซัยน์ และบรรดานักปราชญ์ท่านอื่นๆ อีกมากมาย และนักปราชญ์มัซฮับฮัมบาลีย์ที่ได้ถูกกล่าวไว้ในหนังสือ “อัลมักศิด อัลอัรชัด” ของท่านอิบนุมุฟลิหฺ มีถึง 1315 ท่าน ดังนั้น ประชาชาติอิสลามศตวรรษแล้วศตวรรษเล่าได้ให้การยอมรับใน การตักลีดตามนักปราชญ์มุจญฺตะฮิดผู้วินิจฉัยโดยสิ่งดังกล่าวนี้ไม่ใช่เป็นความ
  • 29. การสังกัดมัซฮับสะลัฟทั้งสี่ 27 คลั่งไคล้และแบ่งพรรคแบ่งพวก แต่เพราะความเป็นพี่น้องในศาสนาจึงทําให้ พวกเขาอยู่ร่วมกัน และบรรดาวงล้อมที่ทําการศึกษาวิชาความรู้ก็ได้เชื่อม สัมพันธ์พวกเขาเอาไว้ พวกเขาต่างศึกษาความรู้ซึ่งกันและกัน และยกย่อง สรรเสริญกันและกัน โดยที่ท่านเกือบจะไม่พบประวัตินักปราชญ์มัซฮับหะนะฟีย์ มาลิกีย์ ชาฟิอีย์ และฮัมบาลีย์ นอกจากว่า ปราชญ์ท่านหนึ่งได้เคยเป็นศิษย์และ ศึกษากับบรรดานักปราชญ์ที่ไม่ได้อยู่ในมัซฮับของเขา ดังนั้น มุสลิมคนหนึ่งได้ดําเนินตามมัซฮับเดียว ย่อมถูกนับว่าเป็นการยึดติด และสังกัด แต่มันเป็นการยึดติดและสังกัดที่ถูกสรรเสริญ ไม่ใช่ถูกตําหนิ ท่านชัยค์ สะอีด เฮาวา ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “เญาลาต ฟี อัลฟิกฮัยน์” ว่า “การยึดติดบรรดาปราชญ์ผู้วินิจฉัยหรือมัซฮับของพวกเขาเหล่านั้น เราขอกล่าวว่า การสังกัดมัซฮับนั้นหากเป็นเสมือนดังผลสืบเนื่องจากความพึงพอใจในประเด็น หนึ่งที่เป็นเรื่องสัจธรรม และเขาก็ยึดมันมาเป็นทัศนะและนํามาปฏิบัติ แล้วเขา ปกป้องมันด้วยหลักการที่เป็นความสัจจริงและยุติธรรม โดยไม่ใช่หลักการตาม อารมณ์ หรือปกป้องมันด้วยความบริสุทธิ์ใจไม่ใช่เพื่อดุนยา หรือปกป้องด้วย จิตวิญญาณแห่งความเป็นพี่น้องในอิสลาม ไม่ใช่ด้วยจิตวิญญาณแห่งความ แตกแยก ดังนั้น สิ่งดังกล่าวย่อมไม่เป็นบาปแต่ประการใด ยิ่งไปกว่านั้น มันยังเป็น แบบฉบับของบรรดาศ่อฮาบะฮ์ที่พวกเขาดําเนินอยู่ แต่ทว่าการที่บุคคลหนึ่งได้ทํา ให้คับแคบกับสิ่งที่กว้างขวาง ด้วยการกล่าวหาผู้ที่มีความเห็นต่างกับเขา หรือ กล่าวหาลุ่มหลงและโง่เขลากับผู้อื่นเกี่ยวกับประเด็นข้อวินิจฉัย แน่แท้ว่าสิ่ง ดังกล่าวนั้นเป็นความผิดพลาดอย่างชัดเจน เพราะอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ ร่อฎิยัลลอ ฮุอันฮุ กล่าวว่า “บรรดาปวงปราชญ์ได้ลงมติว่า อัลลอฮฺจะไม่ลงโทษเกี่ยวกับ ประเด็นที่อุละมาอ์มีความเห็นแตกต่างกัน” และการยึดมัซฮับหนึ่งที่เปรียบเสมือน