SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 17
Descargar para leer sin conexión
การพัฒนาสั งขารเพื่อการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท
               The Development of the Saṃkhāra for The Attainment
                                  in Theravāda Buddhism

                                                             พระมหาธานินทร์ อาทิตวโร (คํากมล)
                                            Phramaha Dhanindra Āditavaro (Khamkamol)
                                         นิสิตปริ ญญาเอกรุ่ นที่ ๕ แบบ ๒.๑ รหัส ๔๙๖๑๐๖๑๒๗๗


                                             บทคัดย่อ
              บทความฉบับนี้มีวตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหลักคําสอนเรื่ องสังขารในพระพุทธศาสนา
                                 ั
เถรวาท หลักการพัฒนาสังขาร และกระบวนการของสังขารที่นาไปสู่การบรรลุธรรม
                                                                ํ
             ผลการวิจยพบว่า สังขารในพระพุทธศาสนามี ๓ ประเภท คือ สังขารในไตรลักษณ์
                        ั
สังขารในขันธ์ ๕ และสังขารในปฏิจจสมุปบาท สังขารในไตรลักษณ์คลอบคุมสังขารทุกอย่าง เป็ น
ทั้งรู ปธรรมและนามธรรม สังขารในขันธ์ ๕ เป็ นส่วนหนึ่ งของสังขารในไตรลักษณ์ เป็ นนามธรรม
อย่างเดียว ส่วนสังขารในปฏิจจสมุปบาท ก็คือสังขารในขันธ์ ๕ ที่เป็ นภาคปฏิบติการ (ได้แก่เจตนา)
                                                                                   ั
ในบทความนี้เน้นศึกษาสังขารในขันธ์ ๕
             หลักการพัฒนาสังขารที่พระพุทธองค์ทรงใช้ ในการสอน คือหลักไตรสิ กขา คืออธิศีล
สิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิ กขา เพื่อคน ๒ กลุ่ม คือ เพื่อบรรพชิต และคฤหัสถ์ แต่ความ
เข้มข้นในภาคปฏิบติต่างกัน สังขารมีบทบาทต่อการดําเนินชีวตของมนุ ษย์เพราะพฤติกรรมต่างๆ ที่
                    ั                                         ิ
มนุษย์แสดงออกมาทางกาย วาจา และความคิด ล้วนเกิดจากการปรุ งแต่งของสังขาร พฤติกรรมจะดี
        ่      ่ ั
หรื อชัวขึ้นอยูกบการรับรู ้โดยผ่านทางอายตนะภายในและอายตนะภายนอกมีผสสะเป็ นสื่อกลาง
                                                                                 ั
             กระบวนการของสังขารที่นาไปสู่การบรรลุธรรม การบรรลุธรรมมี ๒ ระดับ คือ ระดับ
                                        ํ
ฌานและระดับญาณ ทั้ง ๒ ระดับนี้ มีจิตอยู่ ๔ ดวงที่มีบทบาทสําคัญ คือ ดวงที่ ๑ เรี ยกว่า บริ กรรม
ดวงที่ ๒ เรี ย กว่า อุ ป จาร ดวงที่ ๓ เรี ย กว่า โคตรภู ดวงที่ ๔ เรี ย กว่ า อนุ โ ลม หรื อ อัป ปนามี
ความหมายต่างกัน คือ บริ กรรม หมายถึง จิตที่ใช้บริ กรรมกรรมฐาน ระดับนั้นๆ เช่น สมถกรรมฐาน
ตามแนวปฐวีกสิ ณ บริ กรรมว่า ปฐวี ปฐวี หรื อ วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติ ปัฏฐานสมัยใหม่
บริ กรรมว่า พองหนอ ยุบหนอ เป็ นต้น อุปจาร หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นต่อจาก บริ กรรม เป็ นจิตตั้งมัน    ่
    ่ั
อยูกบอารมณ์กรรมฐานใกล้จะถึงอัปปนา โคตรภู หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นต่อจาก อุปจาร ถ้าเป็ นการ
บรรลุฌานหมายถึงจิตที่ขามพ้นกามาวจรภูมิ เข้าสู่ รูปาวจรภูมิ ถ้าเป็ นการบรรลุญาณหมายถึงจิตที่
                           ้
ข้ามพ้นความเป็ นปุถุชน เข้าสู่ความเป็ นอริ ยบุคคล ส่วนอนุโลมหรื ออัปปนา เป็ นจิตที่เกิดขึ้นต่อจาก
โคตรภู ถ้าเป็ นการบรรลุฌานเป็ นจิตที่บรรลุปฐมฌาน ขณะบรรลุปฐมฌานสังขาร ๕ ประการ คือ
๒


วิตก วิจาร ปี ติ สุข เอกัคคตา เกิดขึ้นพร้อมกันคือ ถ้าเป็ นการบรรลุญาณหมายถึงจิตที่เห็นไตรลักษณ์
ยึดเอาสังขารทั้งหลายเป็ นอารมณ์ จิตที่เกิดต่อจากอนุ โลม เรี ยกว่า มรรคจิตหรื อมรรคญาณ ขณะ
มรรคจิตเกิดขึ้นสังขาร ๑๔ ประการในโพธิปักขิยธรรม คือ สติ วิริยะ ฉันทะ ปั ญญา สัทธา เอกัคคตา
ปี ติ กายปั สสัทธิ จิตตปั ส สัทธิ ตัตตรมัชฌัตตตา วิตก สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชี ว ะ
เกิดขึ้นพร้อมกัน เรี ยกว่า สามัคคีมรรคหรื อมัคคสมังคี
                                            ABTRACT
              The article for study the doctrine of Saṃkhāra in Theravāda Buddhism, study the
principle of the development of Saṃkhāra and for study and analyze the process of Saṃkhāra
leading to the attainment.
             From the research, it is found that there are 3 types of Saṃkhāra in Buddhism, i.e
Saṃkhāra in the Three Characteristics, Saṃkhāra in the Five Aggregates and Saṃkhāra in the
Dependent Origination. Saṃkhāra in the Three Characteristics covers all aspects both objects and
subjects. Saṃkhāra in the Five Aggregates is part of Saṃkhāra in the Three Characteristics with
its subject only. Saṃkhāra in the Dependent Origination is the action of Saṃkhāra in the Five
Aggregates (cetanā). This article is emphasized on studying only the Saṃkhāra in the Five
Aggregates.
             The process of development of Saṃkhāra that the Buddha used in his teaching is the
ThreeFold Trainings which are Adhisīla-sikkhā, Adhicitta-sikkhā and Adhipaññā-sikkhā. Those
three sikkhās are for two different groups, i.e. the lay people and the Pabbajita, though the
strictness for each level is different. Saṃkhāra plays a role for human living because the different
behaviors that express by body, speech and mind will come about Saṃkhāra. The behavior will
be good or bad depending on the perception through the sense-organs and sense-objects by
having the phassa as the medium.
             The process of Saṃkhāra to attainment in Buddhism has two levels which are jhāna
and ñāṇa levels. Both levels have 4 cittas which play a major role as the following; the first up to
the fourth citta are called Parikamma, Upacāra, Gottarabhū and Anuloma or Appanā,
respectively. Parikamma means citta using the parikamma meditation; for example, Samatha-
kammaṭṭhāna based on Paṭhavī-kasina will parikamma as paṭhavī, paṭhavī or Vipassanā-
kammaṭṭhāna based on modern Satipaṭṭhāna will parikamma as rising, falling, etc. Upacāra means
citta arises beyond parikamma, citta will be concentrated on ārammaṇa-kammaṭṭhāna nearly
๓


Appanā. Gottarabhū means citta arises beyond upacāra. If citta attained to jhāṇa, it means citta is
crossing the Kāmāvacarabhūmi to Rūpā-vacarabhūmi. If citta attained to ñāṇa, it means citta is
crossing the puthujjana to ariyapuggala. Anuloma or Appanā means citta arises beyond Gottarabhū.
If citta attained to jhāna, it means it begins to attain Paṭhamajhāna onward. Saṃkhāra or 5
dhamma i.e., Vitakka, Vicāra, Pīti, Sukha, and Ekaggatā will be arisen all together. If citta
attained to ñāṇa, it means citta sees the Tilakkhaṇa hold in all the Saṃkhāras to be ārammaṇa.
Citta that arises from Anuloma called Magga-citta or Magga-ñāṇa. While Magga-citta arises,
Saṃkhāra or 14 dhammas in Bodhipakkhiya-dhamma 37; i.e., Sati, Viriya, Chanda, Paññā,
Saddhā, Ekaggatā, Pīti, Kāyapassaddhi, Cittapassaddhi, Tatramajjhattatā, Vitakka, Sammāvācā,
Sammākammanta, Sammāājīva, will be arisen all together which called Sāmaggīmagga or
Maggasamaṅgī.


๑. บทนํา
               “สังขาร” คือสภาวะที่ปรุ งแต่งสังขตธรรม ๑ เป็ นขันธ์อย่างหนึ่ งในขันธ์ ๕ คือรู ปขันธ์
                                                          0




เวทนาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคียเ์ ป็ นครั้งแรกที่ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน ๒ ต่อมาทรงแสดงรายละเอียดของขันธ์ ๕ ว่าตกอยูในไตรลักษณ์จนได้บรรลุ
                    1                                                   ่
เป็ นพระอรหันต์ ใจความของพระธรรมเทศนาทรงแสดงรู ป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่า เป็ น
อนัตตา คือ ไม่ ใ ช่ ตวตนของเราอย่างแท้จริ ง เพราะถ้าขันธ์เหล่ านี้ เป็ นอัต ตาถาวรจริ งๆ มนุ ษย์ก็
                     ั
สามารถจะบังคับบัญชาให้ขนธ์เหล่านี้เป็ นอย่างที่ตองการ แต่ความเป็ นจริ งบังคับไม่ได้
                                 ั                 ้
               สังขารในขันธ์ ๕ มีความสําคัญต่อการดําเนิ นชีวิตมนุ ษย์อ ย่างยิงเพราะสังขารเป็ นตัว
                                                                             ่
                                                      ๓
ปรุ งแต่งพฤติกรรมด้านกาย วาจาและจิตของมนุ ษย์ การที่ม นุ ษย์จะมี พฤติกรรมที่ดีงาม เป็ นที่
                                                      2




ต้องการของตนเองและคนอื่น มนุษย์จะต้องได้รับการฝึ กฝนอบรมเกี่ยวกับสังขารมาเป็ นอย่างดี คือ
ต้องรู ้และเข้าใจธรรมชาติของสังขารแต่ล ะอย่างเป็ นอย่างดี ละสังขารฝ่ ายอกุศล เจริ ญสังขารฝ่ าย
กุศล มนุษย์เราประกอบด้วยองค์ประกอบสําคัญ ๒ ส่ วน คือ กายกับใจ ธรรมชาติของใจนั้นเป็ นสิ่ ง
บริ สุทธิ์เหมือนนํ้าบริ สุทธิ์ยงไม่ได้ผสมสิ่งอะไรลงไป แต่มนุษย์แสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมา ทาง
                               ั

            ๑
                  ปรุงแต่งสังขตธรรมคือปรุงแต่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ; สํ.ข.(ไทย) ๑๗/๗๙/๑๒๑,
วิสุทฺธิ.(บาลี) ๒/๔๕๘/๑๐๓-๑๐๔.
                ๒
                   ธัมมจกกปปวตนสูตรและอนัตตลักขณสู ตร ดูรายละเอียดใน วิ. มหา. (ไทย) ๔/๑๓/๒๐ และ ๔/
                         ั ั ั
๒๐/๒๗.
                ๓
                  กายสังขาร วจีสังขาร และจิตตสังขาร; สํ.นิ.(ไทย) ๑๖/๒/๘.
๔


กาย ทางวาจา เพราะได้รับการปรุ งแต่งจากสังขารหรื อเจตสิ ก ๕๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ ง เมื่อใจที่
มีสังขารคอยปรุ งแต่งนั้นได้รับการพัฒนาไปในทางที่ถูกที่ควร ก็จะนําความสุ ขที่ประมาณค่าไม่
ได้ม าให้แ ก่ ต นเองและคนอื่ น แต่ ถ้า ใจไม่ ไ ด้รั บการพัฒนาไปในทางที่ดี ก็ จ ะนํา ความทุ ก ข์ที่
ประมาณค่าไม่ ไ ด้ม าให้แก่ ตนเองและคนอื่ นเช่ นกัน ดังพระพุท ธพจน์ที่ ปรากฏในขุททกนิ กาย
ธรรมบทว่า
                 ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็ นหัวหน้า
            มีใจเป็ นใหญ่ สําเร็จด้วยใจ
           ถ้าคนมีใจชัว ก็จะพูดชัวหรื อทําชัวตามไปด้วย
                       ่            ่       ่
                                      ่
           เพราะความชัวนั้น ทุกข์ยอมติดตามเขาไป
                         ่
        เหมือนล้อหมุนตามรอยเท้าโคที่ลากเกวียนไป ฉะนั้น ๔       3




                 ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็ นหัวหน้า
            มีใจเป็ นใหญ่ สําเร็จด้วยใจ
            ถ้าคนมีใจดี ก็จะพูดดีหรื อทําดีตามไปด้วย
            เพราะความดีน้ น สุขย่อมติดตามเขาไป
                          ั
            เหมือนเงาติดตามตัวเขาไป ฉะนั้น ๕    4




           คํา ว่า “ธรรมทั้ ง หลาย” ๖ ในที่ น้ ี หมายถึ ง สัง ขารหรื อ เจตสิ ก ในขัน ธ์ ๕ ดัง นั้น ใน
บทความนี้ ผูวิจยจะเน้นการศึกษาการพัฒนาสังขารในขันธ์ ๕ เพื่อ นําไปสู่ การบรรลุ ธรรม ซึ่ งมี
            ้ ั
วัตถุประสงค์ของการวิจยดังนี้
                      ั
๒. หลักคําสอนเรื่องสั งขารในพระพุทธศาสนาเถรวาท
             (๑) ความหมายของสั งขาร ในด้านสัททศาสตร์คาว่า “สังขาร” สําเร็ จรู ปมาจาก สํ บท
                                                           ํ
หน้า + กร ธาตุ + ณ ปั จจัย สํ อุปสรรคมีอรรถว่า “ประชุม” ส่ วน กร ธาตุมีอรรถว่า “กระทํา ปรุ ง
แต่ง” คําว่า สังขาร จึงมีความหมายว่า ธรรมที่มาประชุมกันแล้วปรุ งแต่ง ๗ สามารถวิเคราะห์รูปศัพท์
                                                                        6




ได้ดงนี้
    ั

            ๔
                 ขุ. ธ. (บาลี) ๒๕/๒/๑๕, ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๒/๒๓.
            ๕
                 ขุ. ธ. (บาลี) ๒๕/๒/๑๕, ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๒/๒๔.
               ๖
                 ดูรายละเอียดใน ขุ.ธ.อ. (บาลี) ๑/๑๓, ขุ.ธ.อ. (ไทย) ๑/๒๐.
               ๗
                 พระญาณธชะ (แลดีสยาดอ), “ปรมัตถทีปนี”,ใน อภิธัมมัตถสั งคหะและปรมัตถทีปนี, แปลโดย พระ
คนธสาราภิวงศ,์ พิมพโดยเสด็จพระราชกุศลในงานออกเมรุพระราชทานเพลิงศพ พระธรรมราชานุวตร (กมล โกวิโท
 ั                      ์                                                             ั
ป.ธ.๖), (กรุ งเทพมหานคร : หจก. ไทยรายวัน กราฟฟิ ค เพลท, ๒๕๔๖), หนา ๖๗๖.  ้
๕


                 สงฺขตํ สงฺขโรนฺ ติ อภิสงฺ ขโรนฺ ตีติ สงฺ ขารา ธรรมเหล่าใดย่อมปรุ งแต่งสังขตธรรมที่เป็ น
ผลโดยตรง เพราะเหตุน้ น ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า สังขาร ๘
                                 ั                      7




                 พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ∗ ได้ให้ความหมายของสังขารไว้ว่า ๑) สิ่ งที่ถูกปั จจัย
                                              8




ปรุ ง แต่ ง , สิ่ งที่ เ กิ ด จากเหตุปั จ จัย เป็ นรู ป ธรรมก็ต าม นามธรรมก็ต าม ได้แก่ ข ันธ์ ๕ ทั้งหมด,
๒) สภาพที่ปรุ งแต่งใจให้ดีหรื อ ชัว, ธรรมมี เจตนาเป็ นประธานที่ปรุ งแต่งความคิด การพูด การ
                                             ่
กระทํา มีท้งที่ดีเป็ นกุศล ที่ชวเป็ นอกุศล ที่กลางๆ เป็ นอัพยากฤตได้แก่เจตสิ ก ๕๐ อย่าง (คือเจตสิ ก
               ั                     ั่
ทั้งปวงเว้นเวทนาและสัญญา) เป็ นนามธรรมอย่างเดียว ๙               9




            สรุ ปคําว่า “สังขาร” มีความหมายอยู่ ๒ อย่าง คือ
            ๑) สั งขารที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ ง
            ๒) สั งขารที่เป็ นตัวปรุงแต่ งเอง
          สังขารที่หมายถึงสิ่งที่ถูกปั จจัยปรุ งแต่งได้แก่ สังขตธรรมหรื อสังขตธาตุทุกอย่างที่มีอยู่
ในจักรวาลทั้งสิ่งที่มีชีวตและสิ่งไม่มีชีวต ส่วนสังขารที่ทาหน้าที่ปรุ งแต่งเป็ นสังขารฝ่ ายนามธรรม
                         ิ               ิ                 ํ
ได้แก่สงขารในขันธ์ ๕ ทั้งหมด จะได้อธิบายรายละเอียดของสังขารแต่ละอย่างเป็ นลําดับไป
       ั
            (๒) ลักษณะของสั งขาร มี ๓ ลักษณะ คือ ไม่ เที่ยง เป็ นทุกข์ เป็ นอนัตตา ที่ว่าไม่ เที่ยง
เพราะไม่คงที่ ไม่ยงยืน เป็ นภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป ๑๐ สิ้ นไป ๑๑ หมายความว่า เกิดขึ้น
                   ั่                                                10       11




ที่ไหนเมื่อใด ก็ดบไปที่น้ นเมื่อนั้นไม่ยงยืนอยูต่อไปอีก ๑๒ เช่น เราซื้อรถยนต์มาหนึ่งคัน ตอนซื้ อใหม่ๆ
                 ั        ั             ่ั     ่            12




มีสีสดสวย อุ ปกรณ์ ทุก อย่างเป็ นของใหม่ แต่พอเราใช้งานไปสักระยะหนึ่ ง ความเป็ นรถใหม่ เริ่ ม
หายไปสีหมองคลํ้า เครื่ องยนต์เริ่ มทํางานช้าลง อุปกรณ์อย่างอื่น เช่น เบรค พวงมาลัย เป็ นต้น เริ่ ม
ฝื ดลงใช้งานไม่คล่องเหมือนตอนซื้อมาใหม่ๆ ลักษณะเหล่านี้บ่งบอกถึงความไม่เที่ยงของสังขารคือ
รถยนต์ที่ถูกปรุ งแต่งขึ้น จากส่วนต่างๆ ที่เอามาประกอบกันเข้าเพือให้สาเร็จเป็ นรถ
                                                                   ่     ํ


            ๘
               พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ, ปฏิจจสมุปบาททีปนี, พิมพ์ครั้งที่ ๔, (กรุ งเทพมหานคร : โรง
พิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘), หนา ๓๖.้
            ∗
               ปัจจุบนเป็ นพระพรหมคุณาภรณ์
                     ั
            ๙
               พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พจนานุก รมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศั พท์ , พิมพ์คร้ ั งที่ ๗,
(กรุ งเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๖), หนา ๓๐๙.
                                                                 ้
            ๑๐
               องฺ.ติก. (บาลี) ๒๐/๑๓๗/๑๒๐, องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๑๓๗/๓๘๕.
            ๑๑
               ขุ.ปฏิ. (ไทย) ๓๑/๗๙/๕๓.
            ๑๒
                พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตฺโต), พุ ทธธรรม, (ฉบับปรับปรุ ง และขยายความ), พิมพ์คร้ ังที่ ๑๑,
(กรุ งเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริ ษท สหธรรมิก จํากัด, ๒๕๔๙), หนา ๗๐/๘.
                                 ั                             ้
๖


            ลัก ษณะที่ เ ป็ นทุ ก ข์ข องสัง ขาร ได้แ ก่ สิ่ ง ที่ มี ภ าวะที่ ถู ก บี บ คั้น ด้ว ยการเกิ ด ขึ้ น และ
สลายตัวมี ภาวะที่กดดัน ฝื นและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปั จจัยที่ปรุ งแต่งให้มีสภาพเป็ นอย่างนั้น
                                 ่
เปลี่ยนแปลงไปจะทําให้คงอยูในสภาพนั้นไม่ได้ ภาวะที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่ องอยูในตัว ไม่ได้            ่
ให้ความพึงพอใจเต็มที่แก่ผูตองการด้วยตัณหา และก่อ ให้เกิดทุกข์แก่ผูเ้ ข้าไปอยากเข้าไปยึดด้วย
                               ้ ้
ตัณหาอุปาทาน ดังที่พระวชิราภิกษุณีได้กล่าวไว้ว่า “ทุกข์เท่านั้นย่อมเกิดขึ้นย่อมตั้งอยูและย่อมดับ       ่
ไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ”๑๓
                                                                   ่
            ลักษณะที่เป็ นอนัตตาของสังขารนั้น คือไม่อยูในอํานาจบังคับบัญชาของใคร คือห้าม
ไม่ให้เป็ นอย่างนั้นอย่างนี้ไม่ได้ ทั้งหมดเป็ นสิ่งที่ไม่ใช่ตวตน ไม่มีตวตนที่แท้จริ งของมันเอง
                                                              ั               ั
                (๓) ประเภทของสั งขาร สังขารแยกออกเป็ น ๓ ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ สังขารในไตร
ลักษณ์ สังขารในขันธ์ ๕ และสังขารในปฏิจจสมุปบาท (๑) สั งขารในไตรลักษณ์ หมายถึงสภาวะที่
ถูกปรุ งแต่ง คือ สภาวะที่เกิดจากเหตุปัจจัยปรุ งแต่งขึ้นทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็ นรู ปธรรมหรื อนามธรรม
                                           ิ               ิ          ่
ก็ตาม เป็ นร่ างกายหรื อจิตใจก็ตาม มีชีวตหรื อไม่มีชีวตก็ตาม อยูในจิตใจหรื อเป็ นวัตถุภายนอกก็ตาม
เรี ย กอี ก อย่า งหนึ่ งว่า สัง ขตธรรม คื อ ทุ กสิ่ ง ทุก อย่า ง เว้นแต่ นิพ พาน ๑๔ สังขารในไตรลัก ษณ์
                                                                                      1 4




ครอบคลุมสังขารทั้งหมด คือ ทั้งสังขารในขันธ์ ๕ และสังขารในปฏิจจสมุปบาท (๒) สั งขารในขันธ์
๕ หมายถึง สภาวะที่ปรุ งแต่งจิต ให้ดี ให้ชว ให้เป็ นกลาง ได้แก่ คุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนา
                                                ั่
เป็ นตัวนํา ที่ปรุ งแปรการตริ ตรึ กนึกคิดในใจ และการแสดงออก ทางกาย วาจา ให้เป็ นไปต่างๆ เป็ น
ตัวการของการทํากรรม เรี ยกง่ายๆ ว่า เครื่ อ งปรุ งของจิต เช่น ศรัทธา สติ หิ ริ โอตตัปปะ เมตตา
กรุ ณ า ปั ญ ญา โมหะ โลภะ โทสะ เป็ นต้น ซึ่ งทั้ง หมดนั้นล้ว นเป็ นนามธรรม มี อ ยู่ใ นใจทั้งสิ้ น
นอกเหนื อ จาก เวทนา สัญญา และวิญญาณ ๑๕ (๓) สั งขารในปฏิจสมุป บาท เป็ นส่ วนหนึ่ งของ
                                                     1 5




                                                                          ่
สังขารในขันธ์ ๕ หมายถึง ความจงใจ หรื อ เจตนา มีรูปวิเคราะห์วา สงฺขตํ กายวจีมโนกมฺ ม ํ อภิสงฺ ข
โรนฺ ติ เอเตหีติ สงฺขารา สัตว์ท้งหลายย่อมปรุ งแต่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เป็ นสังขตธรรม
                                  ั
โดยเจตนาเหล่านั้น เพราะเหตุน้ น เจตนาที่เป็ นเหตุแห่งการปรุ งแต่งเหล่านั้น ชื่อว่า สังขาร ๑๖
                                    ั                                                                     16




             ๑๓
               “ทุกฺขเมว หิ สมฺโภติ ทุกฺข ํ ติฏฺฐติ เวติ จ. นา�ฺญตฺร ทุกฺขา สมฺโภติ นา�ฺญตฺร ทุกฺขา นิรุชฺฌติ”; สํ.ส.
(บาลี) ๑๕/๑๗๑/๑๙๙-๑๐๐, ส.ํ ส. (ไทย) ๑๕/๑๗๑/๑๔๒.
            ๑๔
                พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตฺโต), พุทธธรรม, (ฉบับปรับปรุ งและขยายความ), พิมพ์ครั้งที่ ๑๑,
(กรุ งเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริ ษท สหธรรมิก จํากัด, ๒๕๔๙), หนา ๗๐/๔-๕.
                                 ั                                       ้
            ๑๕
               พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตฺโต), พุทธธรรม, (ฉบับปรับปรุงและขยายความ), หนา ๗๐/๔.          ้
            ๑๖
               พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริ ยะ, ปฏจจสมุปบาททปน,ี หนา ๓๖.
                                                       ิ             ี        ้
๗


                (๔) บทบาทของสั งขารที่มีต่อการดําเนินชีวิตของมนุษย์
            เนื่องจากสังขารในขันธ์ ๕ มีมากถึง ๕๐ อย่าง แต่ละอย่างถือว่ามีบทบาทต่อการดําเนิ น
ชีวิตของมนุ ษย์เท่าๆ กัน จึงไม่สามารถนํารายละเอียดของสังขารแต่ล ะอย่างมากล่าวได้ครบเนื่ อ ง
ด้วยข้อจํากัดหลายอย่าง ในที่น้ ีจึงจะขอนํามากล่าวไว้เป็ นบางข้อพอเป็ นตัวอย่างเท่านั้น เช่น ผัสสะ
เจตนา เป็ นต้น
              ก. ผัสสะ ในทางพระพุทธศาสนาถือว่า ผัสสะ เป็ นจุดเริ่ มต้นของพฤติกรรมต่างๆ ของมนุ ษย์
เช่น ความเชื่ อว่า อัตตาและโลกเป็ นของเที่ยง หรื อความเชื่อว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่ เที่ยงบ้าง ๑๗   17




ผัสสะ เป็ นสาเหตุให้เกิดกามคุณ ๕ คือ รู ป เสียง กลิ่น รส สัมผัส (ความถูกต้องทางกาย) ๑๘ เป็ นเหตุเป็ น
                                                                                        18




ปั จจัยให้เกิด เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ๑๙ ทําให้ธรรม ๓ อย่างเกิดขึ้น คือ จักขุกบรู ปอาศัยกัน
                                                   19                                    ั
ทําให้เกิดจักขุวญญาณ เป็ นต้น ๒๐ เป็ นสาเหตุของราคานุ สัย ปฏิฆานุ สัย และอวิชชานุ สัย ๒๑ เป็ นเครื่ อง
                 ิ               20                                                          21




ผูกบุรุษและสตรี ไว้ในอํานาจของกันและกัน ๒๒ เป็ นเหตุเกิดของกรรม ๒๓ เป็ นต้นเหตุของความดีใจและ
                                              22                      23




ความเสียใจ ๒๔
           24




              อธิบายข้อว่า ผัสสะ ทําให้เกิดแนวความคิดและทฤษฎีเกี่ ยวกับความเชื่ อว่า อัตตาและโลก
เที่ยง และความเชื่อว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง เป็ นต้น เรื่ องนี้ มีรายละเอียดในพรหมชาลสู ตร ๒๕
                                                                                                     25




ซึ่งเป็ นพระสูตรว่าด้วยเรื่ องทิฏฐิ ๖๒ ประการซึ่งเป็ นทิฏฐินอกพระพุทธศาสนา ที่ว่าผัสสะเป็ นสาเหตุให้
นักคิดในสมัยนั้นมีความเชื่ออย่างนั้นเพราะศาสดาหรื อครู แต่ละสํานักได้รับความรู ้มาไม่เหมือนกัน เช่น
ความเห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยง เพราะเขาเคยบําเพ็ญตบะจนได้บรรลุธรรมในระดับหนึ่ งสามารถระลึก
ชาติในอดีตได้หลายชาติบางคนระลึกได้เป็ นแสนๆ ชาติได้รู้ว่าตัวเองในชาติต่างๆ ที่ผ่านมาเคยเกิดใน
ตระกูลไหน ชื่อว่าอย่างไร มีอาชีพอะไร ตายไปจากชาติน้ ันแล้วไปเกิดที่ไหนไล่ไปเรื่ อยๆ จนมาถึงชาติ
ปั จจุบน เมื่อเห็นอย่างนี้จึงสรุ ปเอาว่า อัตตาและโลกเป็ นสิ่งเที่ยงแท้แน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง
         ั


                ๑๗
                   ที.สี. (ไทย) ๙/๑๑๘-๑๔๓/๔๑-๔๖.
                ๑๘
                   องฺ. ฉกฺก. (ไทย) ๒๒/๖๓/๕๗๓.
                ๑๙
                   ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๘๖/๙๘.
                ๒๐
                   ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๔๒๑/๔๗๗-๔๘๘.
                ๒๑
                   ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๔๒๕/๔๘๕.
                ๒๒
                   องฺ.อฏฺฐก. (ไทย) ๒๓/๑๗/๒๔๔.
                ๒๓
                   องฺ.ฉกฺก. (ไทย) ๒๒/๖๓/๕๑๗-๕๗๗.
                ๒๔
                   ขุ.สุ. (ไทย) ๒๕/๘๗๖-๘๗๙/๗๑๐-๗๑๑.
                ๒๕
                   ดูรายละเอียดใน ที.สี . (ไทย) ๙/๑๑๘-๑๔๓/๔๑-๔๖.
๘


                  ข. เจตนา คําว่า เจตนา หมายถึง ความตั้งใจ ความจงใจ เจตน์จานง ๒๖ เจตนาเป็ นตัวนําใน
                                                                          ํ  26




การทํากรรม หรื อเป็ นตัวกรรม ๒๗ เป็ นตัวแสดงลักษณะพิเศษของสังขารทําให้สังขารขันธ์ต่างจากขันธ์
                             27




                                                                                           ่
อื่น คือนามขันธ์อื่น ได้แก่ เวทนา สัญญา และวิญญาณ ทํางานกับอารมณ์ ที่เข้ามาปรากฏอยูแล้ว เป็ น
สภาพที่เนื่องด้วยอารมณ์ เกาะเกี่ยวกับอารมณ์ อาศัยอารมณ์จึงดําเนินไปได้และเป็ นฝ่ ายรับ แต่สังขารมี
การริ เริ่ มเองได้ จํานงต่ออารมณ์และเป็ นฝ่ ายกระทําต่ออารมณ์ ๒๘ เพราะเจตนาเป็ นหัวหน้าผูจดแจง
                                                             28                              ้ั
หรื อ เป็ นผูแบ่งหน้าที่ให้สังขารอื่ นๆ ทํางานผ่านทางทวารทั้ง ๓ คือ ทางกาย วาจา และจิตใจ ที่
              ้
เรี ยกว่า กายสังขาร วจีสงขาร และจิตตสังขาร และเรี ยกชื่อตามหัวหน้าผูสั่งการว่า กายสัญเจตนา วจี
                            ั                                           ้
                                                                             ่ั
สัญเจตนา มโนสัญเจตนา ตามลําดับ ผลของการกระทําจะมากหรื อน้อยขึ้นอยูกบเจตนา เช่น นาย ก.
ฉีกกระดาษทิ้งลงถังขยะเพราะเห็นว่าไม่จาเป็ นต้องใช้งานแล้ว ไม่มีความรู ้สึกผิดปกติอะไร ส่ วน
                                              ํ
                                                                                    ่
นาย ข. ฉีกกระดาษทิ้งเหมือนกันแต่ฉีกด้วยความโกรธ เพราะตัวหนังสื อที่เขียนอยูในกระดาษนั้น
เป็ นคําเขียนด่า นาย ข. ลักษณะอย่างนี้นาย ก. และ นาย ข. จะได้รับวิบากไม่เหมือนกัน เพราะเจตนา
ต่างกัน นาย ก. แทบไม่ตองรับผลอะไรเลย ผิดกับนาย ข. ที่ได้รับผลคือความโกรธ กระวนกระวาย
                              ้
ใจในปั จจุบนและในอนาคตถ้าเขาคิดถึงข้อความนั้นอีก
                ั
              จากเนื้ อ ความนี้ จะเห็ นว่า คําว่า สังขาร เจตนา และกรรมมี ความหมายอย่างเดี ยวกัน
กล่าวคือเมื่อมีการปรุ งแต่งจิตครั้งหนึ่งนันก็คือ เจตนา และกรรมได้เกิดขึ้นแล้วหรื อได้ทาหน้าที่แล้ว
                                           ่                                           ํ
จะเป็ นเรื่ องดี ไม่ดี หรื อกลางๆ ก็ตาม จากเนื้ อหาของเจตนาที่ได้ศึกษามานี้ ถือว่า เจตนา มีบทบาท
สําคัญอย่างยิงต่อการดําเนินชีวตของมนุ ษย์
               ่                  ิ
๓. การพัฒนาสั งขารตามหลักไตรสิ กขาในพระพุทธศาสนาเถรวาท
            (๑) การพัฒนาสั งขารตามหลักศีล ศีล เป็ นหลักเบื้องต้นในการฝึ กหัดกาย วาจา ใจ ให้
เรี ยบร้อย ของหมู่คณะพระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติขอที่พระสาวกต้องปฏิบติและพึงปฏิบติร่วมกัน
                                                        ้                     ั             ั
เรี ยกว่า พระวินัย หรื อ ศีล ซึ่ งรวมทั้งที่เป็ นสิ กขาบทและข้อวัตรต่างๆ ศีล จึงเป็ นพื้นฐานสําคัญใน
การพัฒนาสังขาร ในพลสูตร พระพุทธองค์ทรงเปรี ยบศีลเหมือนแผ่นดินเป็ นที่ยนของบุคคลผูที่จะ
                                                                                    ื            ้
ทํางานด้วยกําลังให้สาเร็ จลุล่วงตามความปรารถนา ศีลเป็ นเบื้องต้นแห่ งกุศลธรรมทั้งหลาย ๓๐
                       ํ                            29
                                                          ๒๙
                                                                                                 30




           ๒๖
              พระเทพเวที (ประยทธ์ ปยตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, หนา ๔๘.
                                 ุ     ุ                                           ้
           ๒๗
              องฺ.ฉกฺก. (บาลี) ๒๒/๖๓/๓๘๕.
           ๒๘
              พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตฺโต), พุทธธรรม, (ฉบับปรับปรุงและขยายความ), หนา ๒๐-๒๑.
                                                                                 ้
           ๒๙
              ดูรายละเอียดใน ส.ํ ม. (ไทย) ๑๙/๑๔๙/๗๘.
           ๓๐
              ส.ํ ม. (ไทย) ๑๙/๓๘๑-๓๘๓/๒๓๖-๒๓๙.
๙


ศีลเหมือนแสงอรุ ณของพระอาทิตย์ในยามเช้า ๓๑ ภิกษุผสมบูรณ์ดวยศีลย่อมไม่ประสบภัยอันตราย
                                               31             ู้       ้
จากการสํารวมในศีล เปรี ยบเหมือ นกษัตริ ยผไ ด้รับมูรธาภิเษกเป็ นพระราชา กําจัดข้าศึกได้แล้ว
                                                      ์ ู้
ย่อมไม่ประสบภัยอันตรายจากข้าศึก ภิกษุผสมบูรณ์ดวยอริ ยสี ลขันธ์ ย่อมเสวยสุ ขอันไม่มีโทษใน
                                                   ู้       ้
ภายใน ๓๒ ในอัสสลายนสูตร กล่าวถึงมาณพ ๒ คนเป็ นพี่น้องกัน คนหนึ่ งได้รับการศึกษาดี แต่เป็ น
       32




คนทุศีล คนหนึ่งไม่ได้รับการศึกษาแต่เป็ นคนมีศีล คนที่มีศีลจะได้รับการเชื้อเชิญให้บริ โภคก่อนใน
งานเลี้ยงต่างๆ มี งานเลี้ยงของผูมีศรัทธาเป็ นต้น ๓๓ จากตัวอย่างข้างต้นนี้ เป็ นความสําคัญของศีล
                                    ้               3 3




สั ง ขารที่ จ ัด อยู่ใ นหมวดศี ล คื อ วิ รั ติ เ จตสิ ก ๓ ประการ ได้แ ก่ สั ม มาวาจา สั ม มากัม มัน ตะ
                                 ั ่
สัมมาอาชีวะ ซึ่งสังขารเหล่านี้จดอยูในอริ ยมรรคมีองค์ ๘ ประการ สงเคราะห์เข้าในอธิศีลสิ กขา เมื่อ
สังขารเหล่ านี้ ได้รับการพัฒนาแล้ว เป็ นเหตุเป็ นปั จจัยให้สังขารเหล่าอื่นที่อยู่ในองค์มรรคนอกนี้
ได้รับการพัฒนาไปด้วย
               การพัฒนาสังขารตามหลักศีล ทําได้โดยการปฏิบติหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดเท่าที่จะทําได้
                                                                 ั
เช่น ทําหน้าที่สามีที่ดี ทําหน้าที่ภรรยาที่ดี ทําหน้าที่ของลูกที่ดี มีความเมตตาต่อกัน มีความซื่ อสัตย์
ต่อกัน ไม่เบียดเบียนกัน ไม่โกหกหลอกลวงกันและกัน จากนั้นก็ค่อยขยายวงกว้างออกไปสู่ สังคม
ภายนอก หรื อหลักการง่ายๆ อีกอย่างหนึ่ งคือ การบําเพ็ญบุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการ ได้แก่ การให้
ทานหรื อการแบ่งปั นสิ่งของๆ ตนแก่คนอื่นที่ควรแบ่งปั น เช่น ถวายทานแก่พระภิกษุหรื อนักบวชที่
ตนนับถือ การรักษาศีล มีท้งศีลที่เป็ นสิ กขาบท ได้แก่ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ และศีลที่เป็ น
                             ั
ธรรมเนียมของสังคม เช่น รักษากฎหมายบ้านเมือง รักษากิริยามารยาทในสังคม การเป็ นคนตรงต่อ
เวลา ปฏิบติหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ การแสดงออกทางกาย วาจา ที่สุภาพเรี ยบร้อย เป็ นต้น เมื่ อ
             ั
ปฏิบติอย่างนี้ เป็ นประจําจะช่วยให้มีพฤติกรรมทางกาย วาจา เรี ยบร้อย เป็ นคนสุ ภาพอ่ อนโยน มี
      ั
ความอดทนเพิมขึ้น  ่
                (๒) การพัฒนาสั งขารตามหลักสมาธิ สมาธิ คือความตั้งใจมัน แน่ วแน่ อยูกบอารมณ์ใด
                                                                       ่             ่ ั
อารมณ์ หนึ่ ง เมื่ อ จิตใจตั้ง มันแล้วจะเกิ ด ปั ญญารู ้ส ภาวธรรมหมวดต่า งๆ เช่ น ขัน ธ์ ๕ ธาตุ ๑๘
                                 ่
อริ ยสัจ ๔ เป็ นต้น ตามความเป็ นจริ ง ดังหลักฐานที่ปรากฏในสมาธิสูตร สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
สฬายตนวรรค และมหาวารวรรคว่า “ภิกษุท้ งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริ ญสมาธิเถิด ภิกษุผูมีจิตตั้ง
                                                 ั                                          ้
มัน ย่อ มรู ้ชดตามความเป็ นจริ ง”๓๔ ส่ วนรายละเอี ยดแตกต่างกันดังนี้ คือในขันธวารวรรคอธิบาย
  ่           ั
ต่อไปว่า รู ้ชดความเกิดและความดับของขันธ์ ๕ คือ ความเกิดความดับของรู ป เวทนา สัญญา สังขาร
                ั
            ๓๑
               ดูรายละเอียดใน สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๕๐-๕๔/๔๔.
            ๓๒
               ดูรายละเอียดใน ที.สี . (ไทย) ๙/๔๐๑/๑๗๐.
            ๓๓
               ดูรายละเอียดใน ม.ม. (ไทย) ๑๓/๔๐๙/๕๑๑.
            ๓๔
               ส.ํ ข. (ไทย) ๑๗/๕/๑๗, ส.ํ สฬา. (ไทย) ๑๘/๙๙/๑๑๐, ส.ํ ม. (ไทย) ๑๙/๑๐๗๑/๕๘๓.
๑๐


                                                          ่
วิญญาณ ในสฬายตนวรรคอธิบายว่า รู ้ชดไตรลักษณ์คือรู ้วา จักขุไม่เที่ยง รู ปไม่เที่ยง จักขุวิญญาณ
                                            ั
ไม่เที่ยง จักขุสัมผัสไม่เที่ยง เป็ นต้น ส่ วนในมหาวารวรรค อธิบายว่า รู ้ชดอริ ยสัจ คือ ทุกข์ เหตุให้
                                                                           ั
เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และหนทางให้ถึงความดับทุกข์
             จากหลัก ฐานเหล่ า นี้ แสดงว่า เป็ นสมาธิ ร ะดับ สัม มาสมาธิ ห รื อ สมาธิ ใ นองค์ม รรค
                        ั
เป็ นขณิ กสมาธิที่ใช้กบการเจริ ญวิปัสสนากรรมฐานเพือให้เกิดปั ญญา ไม่ใช่สมาธิระดับอัปปนาที่ใช้
                                                      ่
กับสมถกรรมฐานเพือให้เกิดฌาน
                      ่
                                                                      ั ่            ่ ั
             การพัฒนาสังขารตามหลักสมาธิ ทําได้โดยทําจิตใจให้ต้ งมันจดจ่ออยูกบงานที่ทาให้       ํ
มาก เอาใจใส่ ต่ อ งานไม่ ท อดทิ้ ง เมื่ อ มี อุ ป สรรค การพัฒ นาตามหลั ก สมาธิ มี ห ลายระดั บ
ระดับพืนฐาน ทัวไป ได้แก่ การพัฒนาตนเองอยูเ่ สมอ ตามหน้าที่และฐานะของตน เช่น เป็ นชาวนา
          ้         ่
ต้องศึกษาหาความรู ้เกี่ยวกับการทํานาอยู่ตลอดว่า ทําอย่างไรจึงจะได้ผลผลิตสู งคุ มกับเงินลงทุน
                                                                                      ้
เป็ นครู สอนหนังสื อต้องศึกษาหาความรู ้ใหม่ๆ มาถ่ายทอดให้ลูกศิษย์ เป็ นต้น ระดับปานกลาง คือ
                                   ั ่
หมันฝึ กฝนอบรมตนเองให้ต้งอยูในศีลธรรมทางศาสนา เช่น การไหว้พระสวดมนต์ตามกาลเวลาที่
     ่
เหมาะสม การรักษาศีล อุ โบสถ การเจริ ญจิตตภาวนา เป็ นต้น ระดับสู ง ได้แก่ การสละเวลาเข้า
ปฏิบติธรรม ๕ วัน ๗ วัน หรื อตามแต่ที่โอกาสจะอํานวยให้ อย่างนี้ ชื่อว่าได้พฒนาสังขารตามหลัก
       ั                                                                       ั
ที่พระพุทธศาสนาได้วางไว้ส่วนจะได้ผลมากหรื อน้อยประการใดนั้นเป็ นเรื่ องส่ วนตัวของแต่ละคน
จะได้มากได้นอยพระพุทธองค์ไม่ได้ตาหนิ แต่พระองค์ตาหนิ คนที่ไม่ทา ถ้าปฏิบติตามนี้ จะทําให้
                ้                         ํ                 ํ            ํ         ั
สังขารฝ่ ายอกุศลลดลง เช่น ความวิตกกังวล ความเห็นแก่ตว ความก้าวร้าว แล้วจะทําให้เกิดความ
                                                              ั
   ่              ่          ั         ั
มันใจตัวเองเพิมขึ้น มีปฏิสมพันธ์กบคนอื่นได้ดีข้ ึน ความจําจะดีข้ ึน ไม่หลงลืม มีจิตใจอ่อนโยน ไม่
ก้าวร้าว มีความเอื้อเฟื้ อต่อผูอื่น ไม่เห็นแก่ตว
                                 ้             ั
              (๓) การพัฒนาสั งขารตามหลักปั ญญา ในบรรดาไตรสิ กขา ปั ญญา ถือว่าสําคัญที่สุด
เพราะปั ญญาเท่านั้นจะนําไปสู่ การตรัสรู ้อริ ยสัจตามความเป็ นจริ ง พระพุทธองค์ได้ตรัสสรรเสริ ญ
ปั ญญาไว้หลายแห่ งต่างกาลต่างวาระกัน เช่น ตรัสว่า “ป�ฺ ญา โลกสฺ มิ ปชฺ โชโต ปั ญญาเป็ นแสง
สว่างในโลก”๓๕ “ป�ฺ ญา นรานํ รตนํ ปั ญญาเป็ นรัตนะของนรชน” ๓๖ เป็ นต้น ปั จจัยที่สาคัญในการ
                                                                                         ํ
พัฒนาปั ญญาที่ขาดไม่ได้ต้ งแต่เริ่ มแรกของการพัฒนาไปจนถึงขั้นสุ ดท้ายได้แก่ ปรโตโฆสะ และ
                               ั
โยนิโสมนสิการ ๓๗ พระพุทธองค์ตรัสสอนพระราหุลขณะที่พระราหุ ลยังไม่ได้บรรลุธรรม ข้อแรก
                37




ที่พระองค์ตรัสสอน คือ ให้พระราหุ ล คบกัลยาณมิตร ๓๘ ภิกษุผมีกลยาณมิตร จะเจริ ญอริ ยมรรคมี
                                                      38         ู้ ั

           ๓๕
              สํ.ส. (บาลี) ๑๕/๘๐/๓๓, สํ.ส. (ไทย) ๑๕/๘๐/๘๕.
           ๓๖
              สํ.ส. (บาลี) ๑๕/๕๑-๕๒/๒๖, สํ.ส. (ไทย) ๑๕/๕๑/๖๗.
           ๓๗
              องฺ.ทุก. (ไทย) ๒๐/๑๒๗/๑๑๕, องฺ.ทุก.อ. (ไทย) ๒/๑๒๗/๕๓.
           ๓๘
              ดูรายละเอียดใน ขุ.สุ ตฺต. (ไทย) ๒๕/๓๔๑/๕๗๙.
๑๑


องค์ ๘ อันเป็ นธรรมเครื่ องจํากัด ราคะ โทสะ โมหะ เป็ นที่สุด ๓๙ ส่วนโยนิโสมนสิการ (การคิดในใจ
                                                                  39




โดยแยบคาย) เป็ นบุพพนิ มิตรเพื่อ ความเกิดขึ้นแห่ งอริ ยมรรคมี องค์ ๘ ๔๐ ปั จจัยทั้งสองอย่างนี้ คือ
                                                                              40




กัลยาณมิตรและโยนิโสมนสิการ ย่อมสนับสนุ นซึ่ งกันและกัน สําหรับคนสามัญซึ่ งมีปัญญาไม่แก่
กล้า ย่อมต้องอาศัยการแนะนําชักจูงจากผูอื่น และคล้อยไปตามคําแนะนําชักจูงที่ฉลาดได้ง่าย ๔๑
                                          ้                                                          41




             การพัฒนาสัง ขารตามหลักปั ญญา ระดับ ต้น ทํา ได้โ ดยการใช้หลัก ปรโตโฆสะและ
โยนิโสมนสิการ คือหมันเข้าหานักปราชญ์หรื อผูรู้ท้งหลายเพือจะได้รับคําแนะนําดีๆ จากท่าน แล้ว
                           ่                    ้ ั         ่
นํามาปฏิบติตาม และใช้การพิจารณาไตร่ ตรองตามไปด้วย จะทําให้เกิดปั ญญานํามาประยุกต์ใช้กบ
           ั                                                                                    ั
ชีวตประจําวันได้ ระดับสูงทําได้โดยการฝึ กวิปัสสนากรรมฐาน ตามกาลอันควร คือควรเข้าปฏิบติ
   ิ                                                                                              ั
ติดต่อกันอย่างน้อยปี ละ ๑ ครั้งๆ ละ ๕ วัน ๗ วัน ๑๐ วัน หรื อตามเวลาที่จะทําได้ นอกจากจะทําให้
มีสติสมปชัญญะดีข้ ึนแล้ว ยังจะได้รับอานิสงส์อย่างอื่นมากมายทั้งในชาติปัจจุบนและในชาติต่อไป
       ั                                                                     ั
                        ่ ่
ด้วย เช่น สมาธิจะตั้งมันอยูได้นาน ทํางานมีประสิ ทธิ ภาพมากกว่าเดิม ร่ างกายแข็งแรงปราศจาก
โรคภัยต่างๆ เมื่อเสียชีวตก็จะได้ไปสู่สุคติตามภูมิธรรมของตน
                         ิ
๔. วิเคราะห์ กระบวนการทํางานของสั งขารที่นําไปสู่ การบรรลุธรรม
               (๑) กระบวนการทํางานของสั งขารที่นําไปสู่ การบรรลุธรรมระดับฌาน หลังจากที่ผู ้
ปฏิบติ ฝึ กสมถกรรมฐานตามรู ปแบบต่างๆ มีการเพ่งกสิณ เช่น ปฐวีกสิ ณ เป็ นต้นมาพอสมควรจน
       ั
          ่             ่ ั
จิตตั้งมันแน่วแน่อยูกบอารมณ์แล้ว จิตในขณะที่จะบรรลุปฐมฌานจะมีลกษณะดังนี้ คือ มโนทวารา
                                                                                ั
                                       ่
วัชชนจิต ทําปฐวีกสิ ณที่ปรากฏอยูด้วยอํานาจการภาวนาว่า ปฐวี ปฐวี นั้นให้เป็ นอารมณ์เกิดขึ้นตัด
ภวังคจิต ถัดจากนั้น ชวนจิตแล่ นไปในอารมณ์ น้ ัน ๔ ขณะบ้าง ๕ ขณะบ้าง ในชวนจิต ๔ หรื อ ๕
ขณะนั้นดวงหนึ่ งในขณะสุ ดท้ายจัดเป็ นรู ปาวจรกุศลจิต (อัปปนาจิต) อี ก ๓ หรื อ ๔ ดวงที่เหลื อ
ข้างต้นคงเป็ นกามาวจรกุศลจิต ๔๒ กระบวนการเกิ ดขึ้นของอัปปนาชวนวิถีจิตในขณะที่จะบรรลุ
                                  42




ปฐมฌานนี้ เรี ยกชื่ อ ได้ ๒ นั ย คื อ นั ยแรก ในอัป ปนาชวนวิ ถี จิ ต ๕ ดวงนั้ น ดวงที่ ๑ เรี ยกว่ า
“บริ กรรม” ดวงที่ ๒ เรี ยกว่า “อุปจาร” ดวงที่ ๓ เรี ยกว่า “อนุ โลม” ดวงที่ ๔ เรี ยกว่า “โคตรภู” อีกนัย
หนึ่ง ดวงที่ ๑ เรี ยกว่า “อุปจาร” ดวงที่ ๒ เรี ยกว่า “อนุ โลม” ดวงที่ ๓ เรี ยกว่า “โคตรภู” ดวงที่ ๔ หรื อที่
๕ เรี ยกว่า “อัปปนา” ชวนจิตดวงที่ ๔ หรื อ ๕ เท่านั้น ย่อมสําเร็ จเป็ น อัปปนาจิต ชวนจิต ดวงที่ ๔
หรื อ ที่ ๕ นั้น ย่อ มเกิ ดขึ้นด้วยอํานาจแห่ งโยคีบุคคลผูมีปัญญาไวและมี ปัญญาช้า (คนมีปัญญาไว
                                                             ้

            ๓๙
               ดูรายละเอียดใน สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๕๖/๔๖.
            ๔๐
               ดูรายละเอียดใน ส.ํ ม. (ไทย) ๑๙/๕๖/๔๔.
            ๔๑
               พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตฺโต), พุทธธรรม, (ฉบับปรับปรุงและขยายความ), หนา ๖๒๒.
                                                                                 ้
            ๔๒
               วิสุทธิ. (ไทย) ๖๙/๒๔๑.
๑๒


ชวนจิตมีเพียง ๔ ขณะ ส่วนคนมีปัญญาช้ามีถึง ๕ ขณะ) หลังจากชวนจิตดวงที่ ๔ หรื อที่ ๕ นั้นไป
ชวนจิตก็ตกภวังค์ จึงเป็ นวาระของภวังคจิตต่อไป ๔๓     43




                  จากกระบวนการดังกล่ าวนี้ ถื อว่าผูปฏิบติสมถกรรมฐานตามแนวปฐวีกสิ ณได้บรรลุ
                                                     ้ ั
ปฐมฌานซึ่งประกอบด้วยสังขารหรื อเจตสิก ๕ ประการ คือ วิตก วิจาร ปี ติ สุข เอกัคคตา (จิตเตกัคค
ตา)หมายความว่า สังขารทั้ง ๕ ประการนี้ เกิดขึ้นพร้อมกันในขณะที่บรรลุปฐมฌาน ตามปกติจิต
                                                                 ่
ของคนทัวไปก็ประกอบด้วยสังขารทั้ง ๕ ประการนี้ อยูแล้ว แต่ในขณะที่จะบรรลุปฐมฌานสังขาร
            ่
                        ํ              ่
ทั้ง ๕ ประการนี้ มีกาลังมากกว่าที่มีอยูในจิตปกติทวไป เพราะได้รับการพัฒนาด้วยการเพ่งดวงกสิ ณ
                                                           ั่
                          ่ ั
จนจิตตั้งมันแน่วแน่อยูกบดวงกสิณ ปรุ งแต่งจิตคือมโนทวาราวัชชนจิตที่เกิดขึ้นมารับเอาอารมณ์
              ่
ตอนใกล้อปปนาแล้วตัดภวังค์ เจตสิกทั้ง ๕ นี้ แต่ละอย่างทําหน้าที่ต่างกัน วิตก ทําหน้าที่ ยกจิตขึ้น
                ั
สู่ อารมณ์ วิจาร ทําหน้าที่ ตามผูกพันจิตไว้ในอารมณ์ ปี ติ ทําหน้าที่ให้ความเอิบอิ่ มแก่จิต สุ ข ทํา
หน้าที่ให้สัม ปยุตธรรมที่เกิ ดขึ้นในขณะนั้นให้เจริ ญยิงขึ้น และเอกัคคตา ทําหน้าที่ ตั้งมันอยู่กับ
                                                               ่                                ่
อารมณ์ ป รุ งแต่ง จิตหรื อ ประคับประคองให้จิต มี พ ลังมากกว่าจิ ตปกติ และจิตดวงที่เกิ ดขึ้น ดวง
สุ ด ท้า ยจะทํา ลายกามาวจรจิ ต คื อ จิ ต ที่ ท่ อ งเที่ ย วอยู่ใ นกามภพ และทํา ให้รู ป าวจรจิ ต คื อ จิ ต ที่
                  ่
ท่องเที่ยวอยูในรู ปภพ ได้แก่ ฌาน เกิดขึ้น
                  นอกจากประกอบด้วยองค์ฌานทั้ง ๕ นี้ แล้ว กระบวนการบรรลุ ปฐมฌานเป็ นการละ
อกุศลธรรมที่เป็ นข้าศึกต่อ ฌาน อกุศลธรรมเหล่านั้นคือนิ วรณ์ ๕ ประกอบด้วย กามฉันทะ ความ
พอใจในกาม พยาบาท ความไม่ชอบใจ ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาเศร้าซึ ม อุทธัจจกุกกุจจะ ความ
ฟุ้ งซ่านรําคาญใจและวิจิกิจฉา ความสงสัยตัดสินใจไม่ได้ ถ้าผูปฏิบติยงละอกุศลธรรมเหล่านี้ ไม่ได้
                                                                      ้ ั ั
ก็ไม่สามารถบรรลุฌานได้ เพราะว่า จิตที่ถูก กามฉันทะ ครอบงําแล้ว ย่อมไม่ดาเนิ นไปสู่ ปฏิปทา
                                                                                      ํ
เพือประหาณเสียซึ่งกามธาตุ (คือกามโลก) และจิตที่ถูกพยาบาท กดดันไว้ในอารมณ์ ย่อมเป็ นไป
     ่
ไม่บริ บูรณ์ จิตที่ถูกถีนมิทธะ ครอบงําแล้ว ย่อมไม่ควรแก่อนที่จะประกอบภาวนา จิตที่ถูกอุทธัจจ
                                                                    ั
กุกกุจจะ ครอบงําแล้ว ย่อมฟุ้ งซ่ านไปไม่สงบอยูได้ จิตที่ถูกวิจิกิจฉา เข้าแทรกแซงแล้ว ย่อมไม่
                                                         ่
หยังลงสู่ปฏิปทาอันจะให้สาเร็ จการบรรลุถึงซึ่ งฌานได้ ๔๔ เมื่อฌานเกิดขึ้นนิ วรณธรรม เหล่านี้ ก็จะ
       ่                      ํ                             44




ถูกกําจัดไปเพราะฌานเป็ นข้าศึกต่อนิวรณ์ ดังที่พระมหากัจจายนะแสดงไว้ในคัมภีร์เปฏกะว่า สมาธิ
(เอกัคคตา) เป็ นปฏิ ปักษ์แก่ กามฉัน ทะ ปี ติ เป็ นปฏิปัก ษ์แก่ พยาบาท วิตก เป็ นปฏิปัก ษ์แ ก่
ถีนมิทธะ สุข เป็ นปฏิปักษ์แก่ อุทธัจจะกุกกุจจะ และ วิจาร เป็ นปฏิปักษ์แก่ วิจิกิจฉา ๔๕        45




             ๔๓
                วิสุทธิ. (ไทย) ๖๙/๒๔๑-๒๔๒.
             ๔๔
                วิสุทธิ. (ไทย) ๖๙/๒๕๗.
             ๔๕
                วิสุทธิ. (ไทย) ๖๙/๒๔๗-๒๔๘.
๑๓


                จากกระบวนการที่ไ ด้ศึกษามานี้ เป็ นกระบวนการพัฒนาสังขารจนนําไปสู่ การบรรลุ
ปฐมฌาน ส่ วนการบรรลุฌานอื่นๆ มีทุติยฌานจนถึงจตุตถฌานนั้นก็มีลกษณะคล้ายกันต่างกันแต่
                                                                              ั
องค์ฌานหรื อ องค์ประกอบเท่า นั้น เพราะองค์ประกอบในฌานขั้นสู งจะลดน้อ ยลงตามลํา ดับ
กล่าวคือ ในทุติยฌาน ไม่มีวตก มีแต่วจาร ปี ติ สุข เอกัคคตา ในตติยฌาน มีแต่ปีติ สุ ข เอกัคคตา ใน
                                  ิ           ิ
จตุตถฌาน มีแต่ สุข และเอกัคคตา
                 (๒) กระบวนการทํางานของสั งขารที่นําไปสู่ การบรรลุธรรมระดับญาณ กระบวนการ
บรรลุธรรมระดับญาณ ในคัมภีร์วสุทธิมรรค พระพุทธโฆสเถระ อธิบายถึงสภาวะของจิตที่ได้บรรลุ
                                        ิ
ธรรมไว้ในอนุโลมญาณซึ่งเป็ นญาณอันดับที่ ๑๓ พอสรุ ปใจความได้ว่า เมื่อผูปฏิบติหรื อพระโยคี
                                                                                     ้ ั
นั้นปฏิบติอย่างต่อเนื่องจนทําให้ “สังขารุ เปกขาญาณ ญาณหรื อปั ญญาที่วางเฉยในสังขาร” เกิดขึ้น
              ั
และมากขึ้นตามลําดับ สังขารคือ “ศรัทธา” ก็พฒนากลายเป็ น “อธิโมกข์ ความน้อมใจเชื่อ” ก็เกิดมี
                                                         ั
กําลังเข้มแข็งขึ้น จากนั้น “วิริยะ ความเพียร” ก็ได้รับประคับประคองดี “สติ ความระลึกได้” ก็เข้า
ตั้งอยูเ่ ป็ นอย่างดี จิตก็เป็ นสมาธิดีข้ ึน “สังขารุ เปกขา การวางเฉยในสังขาร” ก็บงเกิดแก่กล้ายิงขึ้น จน
                                                                                   ั             ่
                                                                                         ํ
ทําให้ผูปฏิบติหรื อโยคีน้ ันเกิดความคิดว่า “มรรคญาณ จักเกิดขึ้น” “สังขารุ เปกขา” ก็กาหนดรู ้สังขาร
             ้ ั
ทั้งหลายว่า ไม่เที่ยง หรื อว่าเป็ นทุกข์ หรื อว่าเป็ นอนัตตาแล้วหยังลงสู่ ภวังค์ ในขณะที่สังขารุ เปกขา
                                                                      ่
หยังลงสู่ภวังค์น้ น มโนทวารราวัชชนจิตก็เกิดขึ้น ทําสังขารทั้งหลายเป็ นอารมณ์ว่าไม่เที่ยง หรื อว่า
     ่               ั
เป็ นทุกข์ หรื อว่าเป็ นอนัตตา โดยนัยเดียวกับที่สงขารุ เปกขาญาณทํามาแล้วนั้น ต่อจากนั้น “กิริยาจิต” ก็
                                                       ั
เกิดขึ้น หันเห “ภวังคจิต” ไปจากมโนทวาราวัชชนจิตนั้น ชวนจิตดวงที่ ๑ (คืออนุ โลมญาณที่ ๑)
ซึ่งท่านเรี ยกว่า “บริ กรรม” ก็เกิดขึ้นสืบต่อกันไม่มีช่องว่าง ทําสังขารทั้งหลายเป็ นอารมณ์อย่างนั้น
เหมื อ นกัน จากนั้น ชวนจิ ตดวงที่ ๒ (อนุ โลมญาณที่ ๒) ซึ่ งท่านเรี ยกว่า “อุ ปจาร” ก็เกิ ดขึ้นทํา
สังขารทั้งหลายเป็ นอารมณ์อย่างนั้นเหมือนกัน ต่อจากนั้น ชวนจิต ดวงที่ ๓ (อนุ โลมญาณที่ ๓) ซึ่ ง
ท่านเรี ยกว่า “อนุโลม” ก็เกิดขึ้นทําสังขารทั้งหลายเป็ นอารมณ์อย่างนั้นเหมือนกัน ๔๖  46




                พระพุทธโฆสเถระอธิบายว่า ที่ชื่อว่า อนุโลมญาณ เพราะญาณนี้ อนุ โลมหรื อคล้อยตามญาณ
ทั้ง ๘ ที่ได้บรรลุมาก่อนคือ อุทยัพยญาณ ภังคานุปัสสนาญาณ ภยตุปัฏฐานญาณ อาทีนวานุ ปัสสนาญาณ
นิพพิทาญาณ มุญจิตุกมยตาญาณ ปฏิสงขาญาณ และสังขารุ เปกขาญาณ หมายความว่า ญาญเหล่านี้ ก็
                            ั                   ั
เห็นไตรลักษณ์เหมือ นกัน และที่เรี ยกว่า อนุ โลมญาณ เพราะญาณนี้ อ นุ โลมแก่โพธิปักขิยธรรม
๓๗ ประการที่เป็ นส่วนเบื้องหน้า หรื อเบื้องบนที่จะต้องปฏิบติเพื่อบรรลุธรรมขั้นสู งต่อไป ๔๗ จาก
                                                                    ั                          47




เนื้อความตรงนี้สามารถอธิบายได้ว่า อนุ โลมญาณ เป็ นญาณที่โน้มไปสู่ การบรรลุธรรมแล้ว อุปมา
เหมือนเมฆตั้งขึ้นแล้วรอเวลาแต่ฝนจะตกอย่างเดียวหรื อทําให้มนใจว่า ฝนจะตกจริ งๆ ไม่ตองสงสัย
                                                                        ั่                     ้

            ๔๖
                 วิสุทฺธิ. (ไทย) ๘๐๔/๑๐๙๓.
            ๔๗
                 วิสุทฺธิ. (ไทย) ๘๐๔/๑๐๙๓-๑๐๙๔.
๑๔


และไม่มีอะไรจะไปห้ามไม่ให้ฝนตกได้ และอุปมาเหมือนสายนํ้าหรื อมวลนํ้า ไหลบ่าไปทางใดทาง
หนึ่งแล้ว ยากที่จะ ทําให้หวนกลับหรื อไหลไปทิศทางอื่นได้ พระพุทธโฆสเถระ แสดงอุปมาอุปไมย
ไว้ว่า อนุ โลมญาณนี้ เปรี ยบเหมื อ นพระราชาผูทรงธรรมประทับนั่งในสถานวินิจฉัยทรงสดับคํา
                                                ้
                                ู้ ่
วินิจฉัยของท่านมหาอํามาตย์ผวาคดี ๘ ท่านแล้ว ทรงละการถึงอคติ ทรงตั้งพระองค์เป็ นกลาง ชื่อ
ว่าทรงอนุโลมแก่คาวินิจฉัยของมหาอํามาตย์เหล่านั้นด้วย และทรงอนุ โลมแก่โบราณราชธรรมด้วย
                    ํ
ฉันใด ข้อเปรี ยบนี้ ก็ฉันนั้น เพราะว่า อนุ โลมญาณ เปรี ยบเหมือนพระราชา ญาณทั้งหลาย ๘ เปรี ยบ
เหมือนมหาอํามาตย์ผวาคดี ๘ ท่าน โพธิปักขิยธรรม ๓๗ เปรี ยบเหมือนโบราณราชธรรม ๔๘ จิตที่เกิด
                       ู้ ่                                                          48




ต่อจากอนุโลม เรี ยกว่า มรรคจิตหรื อมรรคญาณ ขณะมรรคจิตเกิดขึ้นสังขาร ๑๔ ประการในโพธิ
ปั กขิยธรรม คือ สติ วิริยะ ฉันทะ ปั ญ ญา สัทธา เอกัคคตา ปี ติ กายปั สสัทธิ จิตตปั สสัทธิ ตัตตร
มัชฌัตตตา วิตก สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ๔๙ เกิดขึ้นพร้อมกัน เรี ยกว่า สามัคคีมรรค
                                                        49




หรื อมัคคสมังคี
๕. สรุป
                จากบทความนี้ สรุ ปเนื้ อหาสาระสําคัญได้ดงนี้ คําว่า สังขาร หมายถึง การปรุ งแต่งและ
                                                         ั
สิ่ งที่ถูกปรุ งแต่ง ลักษณะของสังขารโดยทัวไป คือ มี ความไม่ เที่ยง เปลี่ ยนแปลงไปตามกาลเวลา
                                              ่
                   ่
เป็ นทุกข์ ทนอยูในสภาพเดิมไม่ได้ เป็ นอนัตตา ไม่มีตวตนที่แท้จริ ง สังขารมี ๓ ประเภทใหญ่ ได้แก่
                                                       ั
สังขารในไตรลักษณ์ สังขารในขันธ์ ๕ และสังขารในปฏิจจสมุปบาท สังขารมีบทบาทสําคัญในการ
ดําเนินชีวตของมนุษย์เพราะพฤติกรรมต่างๆ ที่มนุ ษย์แสดงออกมาทางกาย วาจา และความคิด เกิด
            ิ
มาจากการปรุ งแต่งของสังขารทั้งสิ้น สังขารพัฒนาได้ตามหลักไตรสิ กขา คือ ศีล สมาธิ ปั ญญา การ
บรรลุ ปฐมฌานประกอบด้วยสังขาร ๕ ประการ การบรรลุ มรรคญาณ ประกอบด้วยสังขาร ๑๔
ประการ ผูปฏิบติวปัสสนากรรมฐานจนบรรลุมรรคญาณนี้ ถือว่าได้บรรลุโสดาปั ตติมรรคกลายเป็ น
              ้ ั ิ
โสดาบันบุคคล มี คติที่แน่ นอนคือปิ ดอบายภูมิอย่างถาวรแล้วจะได้เกิดอีกอย่างมาก ๗ ครั้ง อย่าง
น้อย ๑ ครั้งและจะเป็ นผูเ้ พรี ยบพร้อมสมบูรณ์ดวยศีล สมาธิ ปั ญญา เพรี ยบพร้อมด้วยโภคสมบัติทุก
                                                 ้
ภพทุกชาติ ถ้าได้ตาแหน่งหรื อยศถาบรรดาศักดิ์ที่ชาวโลกนิยมกันก็จะได้ยศศักดิ์ที่สูงส่งและเลิศกว่า
                       ํ
คนอื่น พระพุทธพจน์ ในคัมภีร์ขททกนิกาย ธรรมบท ตรัสถึงอานิสงส์ของโสดาปั ตติผลว่า
                                    ุ
                 “โสดาปั ตติผลประเสริ ฐกว่าความเป็ นเอกราชในแผ่นดิน
                  กว่าการไปสู่สวรรค์ หรื อกว่าความเป็ นใหญ่ในโลกทั้งปวง” ๕๐

           ๔๘
              วิสุทฺธิ. (ไทย) ๘๐๔/๑๐๙๔-๑๐๙๕.
           ๔๙
              ดูรายละเอียดใน วิสุทฺธิ. (ไทย) ๘๒๔/๑๑๑๒-๑๑๑๓.
           ๕๐
              ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๑๗๘/๘๘.
๑๕


                                       บรรณานุกรม
๑. ภาษาบาลี – ไทย :
       ก. ข้ อมูลปฐมภูมิ
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิ ฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิ ฏกํ. กรุ งเทพมหานคร :
          โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๐๐.
__________. พระไตรปิ ฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุ งเทพมหานคร : โรง
          พิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
__________. อรรถกถาบาลี ฉบับ มหาจุฬ าอฏฺ ฐกถา. กรุ ง เทพมหานคร : โรงพิม พ์ว ิญ ญาณ,
          ๒๔๙๙,๒๕๓๓-๒๕๓๔.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิ ฎกพร้ อมอรรถกถาแปล. ชุด ๙๑ เล่ ม. กรุ งเทพมหานคร : โรงพิมพ์
          มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๔.
       ข. ข้ อมูลทุติยภูมิ
(๑) หนังสื อภาษาบาลี
พระอนุ รุทธเถระ. อภิธมฺ มตฺ ถสงฺ คหปาลิย า สห อภิธมฺ มตฺ ถวิภาวินีนาม อภิธมฺมตฺ ถสงฺ คหฏีกา.
            กรุ งเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๘.
(๒) หนังสื อภาษาไทย
ขุนสรรพกิจโกศล (โกวิท ปั ทมะสุ นทร). ผูรวบรวม. คู่มือการศึกษาพระอภิธรรม ปริ จเฉทที่ 9
                                            ้
          ปกิณณกสั งคหวิภาค. ม.ป.ท., ม.ป.ป.
บรรจบ บรรณรุ จิ. ปฏิจจสมุปบาท. พิม พ์ครั้งที่ ๓. กรุ งเทพมหานคร : โรงพิมพ์พรบุญการพิมพ์,
          ๒๕๓๘.
ฐิตวณฺ โณ ภิกฺขุ (พิจิตร ฐิตวณฺ โณ). วิปัสสนาภาวนา. กรุ งเทพมหานคร : โรงพิมพ์สุทธิสารการ
          พิมพ์, ๒๕๓๑.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๒. กรุ งเทพมหานคร : นานมีบุ๊คส์
          พับลิเคชันส์, ๒๕๔๖.
                     ่
________. ปฏิจจสมุปบาท. กรุ งเทพมหานคร : สํานักพิมพ์ธรรมสภา, ม.ป.ป.
________. อิทัปปั จจยตา : ฉบับย่ อความจากชุ ดธรรมโฆษณ์ . กรุ งเทพมหานคร : สํานักพิม พ์
          สุขภาพใจ, ๒๕๑๗.
บทความ (สังขาร)
บทความ (สังขาร)

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐานธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐานPadvee Academy
 
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนาวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนาพระอภิชัช ธมฺมโชโต
 
บทที่ 4 กิริยาศัพท์
บทที่ 4  กิริยาศัพท์บทที่ 4  กิริยาศัพท์
บทที่ 4 กิริยาศัพท์Gawewat Dechaapinun
 
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)Padvee Academy
 
พุทธอภิปรัชญา ความจริงเกี่ยวกับจักรวาล โลก มนุษย์และสังสารวัฏ
พุทธอภิปรัชญา ความจริงเกี่ยวกับจักรวาล โลก มนุษย์และสังสารวัฏพุทธอภิปรัชญา ความจริงเกี่ยวกับจักรวาล โลก มนุษย์และสังสารวัฏ
พุทธอภิปรัชญา ความจริงเกี่ยวกับจักรวาล โลก มนุษย์และสังสารวัฏCUPress
 
พุทธศาสนามหายานในไทย
พุทธศาสนามหายานในไทยพุทธศาสนามหายานในไทย
พุทธศาสนามหายานในไทยPadvee Academy
 
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖Anchalee BuddhaBucha
 
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายานความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายานPadvee Academy
 
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎกโครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎกAnchalee BuddhaBucha
 
ศาสนาเชน
ศาสนาเชนศาสนาเชน
ศาสนาเชนPadvee Academy
 
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยา
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยาปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยา
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยาPadvee Academy
 
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์Padvee Academy
 
พุทธศาสนากับการบริหาร
พุทธศาสนากับการบริหารพุทธศาสนากับการบริหาร
พุทธศาสนากับการบริหารAnchalee BuddhaBucha
 

La actualidad más candente (20)

ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐานธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
 
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนาวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา
 
บทที่ 4 กิริยาศัพท์
บทที่ 4  กิริยาศัพท์บทที่ 4  กิริยาศัพท์
บทที่ 4 กิริยาศัพท์
 
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
 
พุทธอภิปรัชญา ความจริงเกี่ยวกับจักรวาล โลก มนุษย์และสังสารวัฏ
พุทธอภิปรัชญา ความจริงเกี่ยวกับจักรวาล โลก มนุษย์และสังสารวัฏพุทธอภิปรัชญา ความจริงเกี่ยวกับจักรวาล โลก มนุษย์และสังสารวัฏ
พุทธอภิปรัชญา ความจริงเกี่ยวกับจักรวาล โลก มนุษย์และสังสารวัฏ
 
กถาวัตถุ
กถาวัตถุกถาวัตถุ
กถาวัตถุ
 
พุทธศาสนามหายานในไทย
พุทธศาสนามหายานในไทยพุทธศาสนามหายานในไทย
พุทธศาสนามหายานในไทย
 
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒
 
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖
 
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑
 
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายานความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
 
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎกโครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก
 
ศาสนาเชน
ศาสนาเชนศาสนาเชน
ศาสนาเชน
 
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยา
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยาปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยา
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยา
 
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นตรี (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นตรี (ปี 2549 - 2564).pdfปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นตรี (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นตรี (ปี 2549 - 2564).pdf
 
แนวข้อสอบของนิสิต (อภิธรรมปิฎก)
แนวข้อสอบของนิสิต (อภิธรรมปิฎก)แนวข้อสอบของนิสิต (อภิธรรมปิฎก)
แนวข้อสอบของนิสิต (อภิธรรมปิฎก)
 
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
 
พุทธศาสนากับการบริหาร
พุทธศาสนากับการบริหารพุทธศาสนากับการบริหาร
พุทธศาสนากับการบริหาร
 
มงคลวิเสสกถา
มงคลวิเสสกถามงคลวิเสสกถา
มงคลวิเสสกถา
 
แปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี
แปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลีแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี
แปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี
 

Destacado

พุทธเศรษฐศาสตร์ แก้จนด้วยธรรมะ
พุทธเศรษฐศาสตร์ แก้จนด้วยธรรมะพุทธเศรษฐศาสตร์ แก้จนด้วยธรรมะ
พุทธเศรษฐศาสตร์ แก้จนด้วยธรรมะmahaoath พระมหาโอ๊ท
 
เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ
เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ
เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธKasetsart University
 
เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ
เศรษฐศาสตร์แนวพุทธเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ
เศรษฐศาสตร์แนวพุทธfhumtct
 
Digital Case Studies
Digital Case StudiesDigital Case Studies
Digital Case StudiesKhyati Bhatia
 
EUROSAI meeting 26 October 2016, Amsterdam
EUROSAI meeting 26 October 2016, AmsterdamEUROSAI meeting 26 October 2016, Amsterdam
EUROSAI meeting 26 October 2016, AmsterdamArjan Fassed
 
Colonization of indigenous peoples
Colonization of indigenous peoplesColonization of indigenous peoples
Colonization of indigenous peoplesvgrinb
 
Data + narrative + outside-in strategy = Unique Value Story = Higher Margin
Data + narrative + outside-in strategy = Unique Value Story = Higher MarginData + narrative + outside-in strategy = Unique Value Story = Higher Margin
Data + narrative + outside-in strategy = Unique Value Story = Higher MarginKUMAR LANG
 
2015 03-19-devops-toolkit-varrow-madness
2015 03-19-devops-toolkit-varrow-madness2015 03-19-devops-toolkit-varrow-madness
2015 03-19-devops-toolkit-varrow-madnessJonas Rosland
 
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก ๘
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก ๘แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก ๘
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก ๘วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
Hergebruik overheidsinformatie
Hergebruik overheidsinformatieHergebruik overheidsinformatie
Hergebruik overheidsinformatieArjan Fassed
 
VMworld 2015 San Francisco - CNA5520 - Run your Stateful and Stateless Apps i...
VMworld 2015 San Francisco - CNA5520 - Run your Stateful and Stateless Apps i...VMworld 2015 San Francisco - CNA5520 - Run your Stateful and Stateless Apps i...
VMworld 2015 San Francisco - CNA5520 - Run your Stateful and Stateless Apps i...Jonas Rosland
 
Gatekeepers - How to get pass them.
Gatekeepers - How to get pass them.Gatekeepers - How to get pass them.
Gatekeepers - How to get pass them.KUMAR LANG
 
Using punctuation marks
Using punctuation marksUsing punctuation marks
Using punctuation marksEric Cruz
 

Destacado (20)

พุทธเศรษฐศาสตร์ แก้จนด้วยธรรมะ
พุทธเศรษฐศาสตร์ แก้จนด้วยธรรมะพุทธเศรษฐศาสตร์ แก้จนด้วยธรรมะ
พุทธเศรษฐศาสตร์ แก้จนด้วยธรรมะ
 
เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ
เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ
เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ
 
เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ
เศรษฐศาสตร์แนวพุทธเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ
เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ
 
Digital Case Studies
Digital Case StudiesDigital Case Studies
Digital Case Studies
 
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
 
Oscom23 old
Oscom23 oldOscom23 old
Oscom23 old
 
EUROSAI meeting 26 October 2016, Amsterdam
EUROSAI meeting 26 October 2016, AmsterdamEUROSAI meeting 26 October 2016, Amsterdam
EUROSAI meeting 26 October 2016, Amsterdam
 
Colonization of indigenous peoples
Colonization of indigenous peoplesColonization of indigenous peoples
Colonization of indigenous peoples
 
Data + narrative + outside-in strategy = Unique Value Story = Higher Margin
Data + narrative + outside-in strategy = Unique Value Story = Higher MarginData + narrative + outside-in strategy = Unique Value Story = Higher Margin
Data + narrative + outside-in strategy = Unique Value Story = Higher Margin
 
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)
 
บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑
 
2015 03-19-devops-toolkit-varrow-madness
2015 03-19-devops-toolkit-varrow-madness2015 03-19-devops-toolkit-varrow-madness
2015 03-19-devops-toolkit-varrow-madness
 
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก ๘
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก ๘แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก ๘
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก ๘
 
Hergebruik overheidsinformatie
Hergebruik overheidsinformatieHergebruik overheidsinformatie
Hergebruik overheidsinformatie
 
VMworld 2015 San Francisco - CNA5520 - Run your Stateful and Stateless Apps i...
VMworld 2015 San Francisco - CNA5520 - Run your Stateful and Stateless Apps i...VMworld 2015 San Francisco - CNA5520 - Run your Stateful and Stateless Apps i...
VMworld 2015 San Francisco - CNA5520 - Run your Stateful and Stateless Apps i...
 
Gatekeepers - How to get pass them.
Gatekeepers - How to get pass them.Gatekeepers - How to get pass them.
Gatekeepers - How to get pass them.
 
Elizabeth paniccia
Elizabeth panicciaElizabeth paniccia
Elizabeth paniccia
 
Grade 10 science
Grade 10 scienceGrade 10 science
Grade 10 science
 
Using punctuation marks
Using punctuation marksUsing punctuation marks
Using punctuation marks
 
พระอภิธรรมปิฎก บทที่ ๑
พระอภิธรรมปิฎก บทที่ ๑พระอภิธรรมปิฎก บทที่ ๑
พระอภิธรรมปิฎก บทที่ ๑
 

Similar a บทความ (สังขาร)

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานAnchalee BuddhaBucha
 
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาprimpatcha
 
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาmagicgirl123
 
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพโพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพTongsamut vorasan
 
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพTongsamut vorasan
 
Seangdhamma february 13
Seangdhamma february 13Seangdhamma february 13
Seangdhamma february 13khumtan
 
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญาปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญาpentanino
 
หลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนา
หลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนาหลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนา
หลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนาNew Nan
 
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdfmaruay songtanin
 
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาทศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาทpentanino
 
พระพุทธศาสนากับการสื่อสาร
พระพุทธศาสนากับการสื่อสารพระพุทธศาสนากับการสื่อสาร
พระพุทธศาสนากับการสื่อสารJack Like
 
013แนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามแนววิถีพุทธ วัดไร่ขิง
013แนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามแนววิถีพุทธ  วัดไร่ขิง013แนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามแนววิถีพุทธ  วัดไร่ขิง
013แนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามแนววิถีพุทธ วัดไร่ขิงniralai
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
จริยศาสตร์ประเมินบทที่555 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่555 3-ปีจริยศาสตร์ประเมินบทที่555 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่555 3-ปีPa'rig Prig
 
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10thTongsamut vorasan
 

Similar a บทความ (สังขาร) (20)

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
 
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
 
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
 
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
 
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพโพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
 
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
 
Seangdhamma february 13
Seangdhamma february 13Seangdhamma february 13
Seangdhamma february 13
 
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญาปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
 
หลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนา
หลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนาหลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนา
หลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนา
 
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
 
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาทศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
 
มุตโตทัย
มุตโตทัยมุตโตทัย
มุตโตทัย
 
บทที่ ๕ สรุปใหม่
บทที่ ๕ สรุปใหม่บทที่ ๕ สรุปใหม่
บทที่ ๕ สรุปใหม่
 
ปรัชญาเบื้องต้น
ปรัชญาเบื้องต้นปรัชญาเบื้องต้น
ปรัชญาเบื้องต้น
 
พระพุทธศาสนากับการสื่อสาร
พระพุทธศาสนากับการสื่อสารพระพุทธศาสนากับการสื่อสาร
พระพุทธศาสนากับการสื่อสาร
 
013แนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามแนววิถีพุทธ วัดไร่ขิง
013แนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามแนววิถีพุทธ  วัดไร่ขิง013แนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามแนววิถีพุทธ  วัดไร่ขิง
013แนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามแนววิถีพุทธ วัดไร่ขิง
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
 
จริยศาสตร์ประเมินบทที่555 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่555 3-ปีจริยศาสตร์ประเมินบทที่555 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่555 3-ปี
 
9 mantra
9 mantra9 mantra
9 mantra
 
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
 

Más de วัดดอนทอง กาฬสินธุ์

กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓ กสิณ ๑๐
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓    กสิณ ๑๐กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓    กสิณ ๑๐
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓ กสิณ ๑๐วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 

Más de วัดดอนทอง กาฬสินธุ์ (20)

กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓ กสิณ ๑๐
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓    กสิณ ๑๐กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓    กสิณ ๑๐
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓ กสิณ ๑๐
 
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
 
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
 
องค์ประกอบของการสัมมนา๒
องค์ประกอบของการสัมมนา๒องค์ประกอบของการสัมมนา๒
องค์ประกอบของการสัมมนา๒
 
รูปแบบการสัมมนา
รูปแบบการสัมมนารูปแบบการสัมมนา
รูปแบบการสัมมนา
 
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑
ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑
ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Ppt
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Pptธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Ppt
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Ppt
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ธรรมภาคปฏิบัติ ๓
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๕
ธรรมภาคปฏิบัติ ๕ธรรมภาคปฏิบัติ ๕
ธรรมภาคปฏิบัติ ๕
 
๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔
๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔
๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔
 
รายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำ
รายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำรายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำ
รายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำ
 
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓
 
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕
 
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1
 
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)
 
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)
 
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
 
แนวข้อสอบของนิสิต ครั้งที่ ๒
แนวข้อสอบของนิสิต ครั้งที่ ๒แนวข้อสอบของนิสิต ครั้งที่ ๒
แนวข้อสอบของนิสิต ครั้งที่ ๒
 
พัฒนาการความเป็นมาของพระไตรปิฎก
พัฒนาการความเป็นมาของพระไตรปิฎกพัฒนาการความเป็นมาของพระไตรปิฎก
พัฒนาการความเป็นมาของพระไตรปิฎก
 

บทความ (สังขาร)

  • 1. การพัฒนาสั งขารเพื่อการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท The Development of the Saṃkhāra for The Attainment in Theravāda Buddhism พระมหาธานินทร์ อาทิตวโร (คํากมล) Phramaha Dhanindra Āditavaro (Khamkamol) นิสิตปริ ญญาเอกรุ่ นที่ ๕ แบบ ๒.๑ รหัส ๔๙๖๑๐๖๑๒๗๗ บทคัดย่อ บทความฉบับนี้มีวตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหลักคําสอนเรื่ องสังขารในพระพุทธศาสนา ั เถรวาท หลักการพัฒนาสังขาร และกระบวนการของสังขารที่นาไปสู่การบรรลุธรรม ํ ผลการวิจยพบว่า สังขารในพระพุทธศาสนามี ๓ ประเภท คือ สังขารในไตรลักษณ์ ั สังขารในขันธ์ ๕ และสังขารในปฏิจจสมุปบาท สังขารในไตรลักษณ์คลอบคุมสังขารทุกอย่าง เป็ น ทั้งรู ปธรรมและนามธรรม สังขารในขันธ์ ๕ เป็ นส่วนหนึ่ งของสังขารในไตรลักษณ์ เป็ นนามธรรม อย่างเดียว ส่วนสังขารในปฏิจจสมุปบาท ก็คือสังขารในขันธ์ ๕ ที่เป็ นภาคปฏิบติการ (ได้แก่เจตนา) ั ในบทความนี้เน้นศึกษาสังขารในขันธ์ ๕ หลักการพัฒนาสังขารที่พระพุทธองค์ทรงใช้ ในการสอน คือหลักไตรสิ กขา คืออธิศีล สิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิ กขา เพื่อคน ๒ กลุ่ม คือ เพื่อบรรพชิต และคฤหัสถ์ แต่ความ เข้มข้นในภาคปฏิบติต่างกัน สังขารมีบทบาทต่อการดําเนินชีวตของมนุ ษย์เพราะพฤติกรรมต่างๆ ที่ ั ิ มนุษย์แสดงออกมาทางกาย วาจา และความคิด ล้วนเกิดจากการปรุ งแต่งของสังขาร พฤติกรรมจะดี ่ ่ ั หรื อชัวขึ้นอยูกบการรับรู ้โดยผ่านทางอายตนะภายในและอายตนะภายนอกมีผสสะเป็ นสื่อกลาง ั กระบวนการของสังขารที่นาไปสู่การบรรลุธรรม การบรรลุธรรมมี ๒ ระดับ คือ ระดับ ํ ฌานและระดับญาณ ทั้ง ๒ ระดับนี้ มีจิตอยู่ ๔ ดวงที่มีบทบาทสําคัญ คือ ดวงที่ ๑ เรี ยกว่า บริ กรรม ดวงที่ ๒ เรี ย กว่า อุ ป จาร ดวงที่ ๓ เรี ย กว่า โคตรภู ดวงที่ ๔ เรี ย กว่ า อนุ โ ลม หรื อ อัป ปนามี ความหมายต่างกัน คือ บริ กรรม หมายถึง จิตที่ใช้บริ กรรมกรรมฐาน ระดับนั้นๆ เช่น สมถกรรมฐาน ตามแนวปฐวีกสิ ณ บริ กรรมว่า ปฐวี ปฐวี หรื อ วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติ ปัฏฐานสมัยใหม่ บริ กรรมว่า พองหนอ ยุบหนอ เป็ นต้น อุปจาร หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นต่อจาก บริ กรรม เป็ นจิตตั้งมัน ่ ่ั อยูกบอารมณ์กรรมฐานใกล้จะถึงอัปปนา โคตรภู หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นต่อจาก อุปจาร ถ้าเป็ นการ บรรลุฌานหมายถึงจิตที่ขามพ้นกามาวจรภูมิ เข้าสู่ รูปาวจรภูมิ ถ้าเป็ นการบรรลุญาณหมายถึงจิตที่ ้ ข้ามพ้นความเป็ นปุถุชน เข้าสู่ความเป็ นอริ ยบุคคล ส่วนอนุโลมหรื ออัปปนา เป็ นจิตที่เกิดขึ้นต่อจาก โคตรภู ถ้าเป็ นการบรรลุฌานเป็ นจิตที่บรรลุปฐมฌาน ขณะบรรลุปฐมฌานสังขาร ๕ ประการ คือ
  • 2. ๒ วิตก วิจาร ปี ติ สุข เอกัคคตา เกิดขึ้นพร้อมกันคือ ถ้าเป็ นการบรรลุญาณหมายถึงจิตที่เห็นไตรลักษณ์ ยึดเอาสังขารทั้งหลายเป็ นอารมณ์ จิตที่เกิดต่อจากอนุ โลม เรี ยกว่า มรรคจิตหรื อมรรคญาณ ขณะ มรรคจิตเกิดขึ้นสังขาร ๑๔ ประการในโพธิปักขิยธรรม คือ สติ วิริยะ ฉันทะ ปั ญญา สัทธา เอกัคคตา ปี ติ กายปั สสัทธิ จิตตปั ส สัทธิ ตัตตรมัชฌัตตตา วิตก สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชี ว ะ เกิดขึ้นพร้อมกัน เรี ยกว่า สามัคคีมรรคหรื อมัคคสมังคี ABTRACT The article for study the doctrine of Saṃkhāra in Theravāda Buddhism, study the principle of the development of Saṃkhāra and for study and analyze the process of Saṃkhāra leading to the attainment. From the research, it is found that there are 3 types of Saṃkhāra in Buddhism, i.e Saṃkhāra in the Three Characteristics, Saṃkhāra in the Five Aggregates and Saṃkhāra in the Dependent Origination. Saṃkhāra in the Three Characteristics covers all aspects both objects and subjects. Saṃkhāra in the Five Aggregates is part of Saṃkhāra in the Three Characteristics with its subject only. Saṃkhāra in the Dependent Origination is the action of Saṃkhāra in the Five Aggregates (cetanā). This article is emphasized on studying only the Saṃkhāra in the Five Aggregates. The process of development of Saṃkhāra that the Buddha used in his teaching is the ThreeFold Trainings which are Adhisīla-sikkhā, Adhicitta-sikkhā and Adhipaññā-sikkhā. Those three sikkhās are for two different groups, i.e. the lay people and the Pabbajita, though the strictness for each level is different. Saṃkhāra plays a role for human living because the different behaviors that express by body, speech and mind will come about Saṃkhāra. The behavior will be good or bad depending on the perception through the sense-organs and sense-objects by having the phassa as the medium. The process of Saṃkhāra to attainment in Buddhism has two levels which are jhāna and ñāṇa levels. Both levels have 4 cittas which play a major role as the following; the first up to the fourth citta are called Parikamma, Upacāra, Gottarabhū and Anuloma or Appanā, respectively. Parikamma means citta using the parikamma meditation; for example, Samatha- kammaṭṭhāna based on Paṭhavī-kasina will parikamma as paṭhavī, paṭhavī or Vipassanā- kammaṭṭhāna based on modern Satipaṭṭhāna will parikamma as rising, falling, etc. Upacāra means citta arises beyond parikamma, citta will be concentrated on ārammaṇa-kammaṭṭhāna nearly
  • 3. ๓ Appanā. Gottarabhū means citta arises beyond upacāra. If citta attained to jhāṇa, it means citta is crossing the Kāmāvacarabhūmi to Rūpā-vacarabhūmi. If citta attained to ñāṇa, it means citta is crossing the puthujjana to ariyapuggala. Anuloma or Appanā means citta arises beyond Gottarabhū. If citta attained to jhāna, it means it begins to attain Paṭhamajhāna onward. Saṃkhāra or 5 dhamma i.e., Vitakka, Vicāra, Pīti, Sukha, and Ekaggatā will be arisen all together. If citta attained to ñāṇa, it means citta sees the Tilakkhaṇa hold in all the Saṃkhāras to be ārammaṇa. Citta that arises from Anuloma called Magga-citta or Magga-ñāṇa. While Magga-citta arises, Saṃkhāra or 14 dhammas in Bodhipakkhiya-dhamma 37; i.e., Sati, Viriya, Chanda, Paññā, Saddhā, Ekaggatā, Pīti, Kāyapassaddhi, Cittapassaddhi, Tatramajjhattatā, Vitakka, Sammāvācā, Sammākammanta, Sammāājīva, will be arisen all together which called Sāmaggīmagga or Maggasamaṅgī. ๑. บทนํา “สังขาร” คือสภาวะที่ปรุ งแต่งสังขตธรรม ๑ เป็ นขันธ์อย่างหนึ่ งในขันธ์ ๕ คือรู ปขันธ์ 0 เวทนาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคียเ์ ป็ นครั้งแรกที่ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน ๒ ต่อมาทรงแสดงรายละเอียดของขันธ์ ๕ ว่าตกอยูในไตรลักษณ์จนได้บรรลุ 1 ่ เป็ นพระอรหันต์ ใจความของพระธรรมเทศนาทรงแสดงรู ป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่า เป็ น อนัตตา คือ ไม่ ใ ช่ ตวตนของเราอย่างแท้จริ ง เพราะถ้าขันธ์เหล่ านี้ เป็ นอัต ตาถาวรจริ งๆ มนุ ษย์ก็ ั สามารถจะบังคับบัญชาให้ขนธ์เหล่านี้เป็ นอย่างที่ตองการ แต่ความเป็ นจริ งบังคับไม่ได้ ั ้ สังขารในขันธ์ ๕ มีความสําคัญต่อการดําเนิ นชีวิตมนุ ษย์อ ย่างยิงเพราะสังขารเป็ นตัว ่ ๓ ปรุ งแต่งพฤติกรรมด้านกาย วาจาและจิตของมนุ ษย์ การที่ม นุ ษย์จะมี พฤติกรรมที่ดีงาม เป็ นที่ 2 ต้องการของตนเองและคนอื่น มนุษย์จะต้องได้รับการฝึ กฝนอบรมเกี่ยวกับสังขารมาเป็ นอย่างดี คือ ต้องรู ้และเข้าใจธรรมชาติของสังขารแต่ล ะอย่างเป็ นอย่างดี ละสังขารฝ่ ายอกุศล เจริ ญสังขารฝ่ าย กุศล มนุษย์เราประกอบด้วยองค์ประกอบสําคัญ ๒ ส่ วน คือ กายกับใจ ธรรมชาติของใจนั้นเป็ นสิ่ ง บริ สุทธิ์เหมือนนํ้าบริ สุทธิ์ยงไม่ได้ผสมสิ่งอะไรลงไป แต่มนุษย์แสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมา ทาง ั ๑ ปรุงแต่งสังขตธรรมคือปรุงแต่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ; สํ.ข.(ไทย) ๑๗/๗๙/๑๒๑, วิสุทฺธิ.(บาลี) ๒/๔๕๘/๑๐๓-๑๐๔. ๒ ธัมมจกกปปวตนสูตรและอนัตตลักขณสู ตร ดูรายละเอียดใน วิ. มหา. (ไทย) ๔/๑๓/๒๐ และ ๔/ ั ั ั ๒๐/๒๗. ๓ กายสังขาร วจีสังขาร และจิตตสังขาร; สํ.นิ.(ไทย) ๑๖/๒/๘.
  • 4. ๔ กาย ทางวาจา เพราะได้รับการปรุ งแต่งจากสังขารหรื อเจตสิ ก ๕๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ ง เมื่อใจที่ มีสังขารคอยปรุ งแต่งนั้นได้รับการพัฒนาไปในทางที่ถูกที่ควร ก็จะนําความสุ ขที่ประมาณค่าไม่ ได้ม าให้แ ก่ ต นเองและคนอื่ น แต่ ถ้า ใจไม่ ไ ด้รั บการพัฒนาไปในทางที่ดี ก็ จ ะนํา ความทุ ก ข์ที่ ประมาณค่าไม่ ไ ด้ม าให้แก่ ตนเองและคนอื่ นเช่ นกัน ดังพระพุท ธพจน์ที่ ปรากฏในขุททกนิ กาย ธรรมบทว่า ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็ นหัวหน้า มีใจเป็ นใหญ่ สําเร็จด้วยใจ ถ้าคนมีใจชัว ก็จะพูดชัวหรื อทําชัวตามไปด้วย ่ ่ ่ ่ เพราะความชัวนั้น ทุกข์ยอมติดตามเขาไป ่ เหมือนล้อหมุนตามรอยเท้าโคที่ลากเกวียนไป ฉะนั้น ๔ 3 ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็ นหัวหน้า มีใจเป็ นใหญ่ สําเร็จด้วยใจ ถ้าคนมีใจดี ก็จะพูดดีหรื อทําดีตามไปด้วย เพราะความดีน้ น สุขย่อมติดตามเขาไป ั เหมือนเงาติดตามตัวเขาไป ฉะนั้น ๕ 4 คํา ว่า “ธรรมทั้ ง หลาย” ๖ ในที่ น้ ี หมายถึ ง สัง ขารหรื อ เจตสิ ก ในขัน ธ์ ๕ ดัง นั้น ใน บทความนี้ ผูวิจยจะเน้นการศึกษาการพัฒนาสังขารในขันธ์ ๕ เพื่อ นําไปสู่ การบรรลุ ธรรม ซึ่ งมี ้ ั วัตถุประสงค์ของการวิจยดังนี้ ั ๒. หลักคําสอนเรื่องสั งขารในพระพุทธศาสนาเถรวาท (๑) ความหมายของสั งขาร ในด้านสัททศาสตร์คาว่า “สังขาร” สําเร็ จรู ปมาจาก สํ บท ํ หน้า + กร ธาตุ + ณ ปั จจัย สํ อุปสรรคมีอรรถว่า “ประชุม” ส่ วน กร ธาตุมีอรรถว่า “กระทํา ปรุ ง แต่ง” คําว่า สังขาร จึงมีความหมายว่า ธรรมที่มาประชุมกันแล้วปรุ งแต่ง ๗ สามารถวิเคราะห์รูปศัพท์ 6 ได้ดงนี้ ั ๔ ขุ. ธ. (บาลี) ๒๕/๒/๑๕, ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๒/๒๓. ๕ ขุ. ธ. (บาลี) ๒๕/๒/๑๕, ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๒/๒๔. ๖ ดูรายละเอียดใน ขุ.ธ.อ. (บาลี) ๑/๑๓, ขุ.ธ.อ. (ไทย) ๑/๒๐. ๗ พระญาณธชะ (แลดีสยาดอ), “ปรมัตถทีปนี”,ใน อภิธัมมัตถสั งคหะและปรมัตถทีปนี, แปลโดย พระ คนธสาราภิวงศ,์ พิมพโดยเสด็จพระราชกุศลในงานออกเมรุพระราชทานเพลิงศพ พระธรรมราชานุวตร (กมล โกวิโท ั ์ ั ป.ธ.๖), (กรุ งเทพมหานคร : หจก. ไทยรายวัน กราฟฟิ ค เพลท, ๒๕๔๖), หนา ๖๗๖. ้
  • 5. สงฺขตํ สงฺขโรนฺ ติ อภิสงฺ ขโรนฺ ตีติ สงฺ ขารา ธรรมเหล่าใดย่อมปรุ งแต่งสังขตธรรมที่เป็ น ผลโดยตรง เพราะเหตุน้ น ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า สังขาร ๘ ั 7 พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ∗ ได้ให้ความหมายของสังขารไว้ว่า ๑) สิ่ งที่ถูกปั จจัย 8 ปรุ ง แต่ ง , สิ่ งที่ เ กิ ด จากเหตุปั จ จัย เป็ นรู ป ธรรมก็ต าม นามธรรมก็ต าม ได้แก่ ข ันธ์ ๕ ทั้งหมด, ๒) สภาพที่ปรุ งแต่งใจให้ดีหรื อ ชัว, ธรรมมี เจตนาเป็ นประธานที่ปรุ งแต่งความคิด การพูด การ ่ กระทํา มีท้งที่ดีเป็ นกุศล ที่ชวเป็ นอกุศล ที่กลางๆ เป็ นอัพยากฤตได้แก่เจตสิ ก ๕๐ อย่าง (คือเจตสิ ก ั ั่ ทั้งปวงเว้นเวทนาและสัญญา) เป็ นนามธรรมอย่างเดียว ๙ 9 สรุ ปคําว่า “สังขาร” มีความหมายอยู่ ๒ อย่าง คือ ๑) สั งขารที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ ง ๒) สั งขารที่เป็ นตัวปรุงแต่ งเอง สังขารที่หมายถึงสิ่งที่ถูกปั จจัยปรุ งแต่งได้แก่ สังขตธรรมหรื อสังขตธาตุทุกอย่างที่มีอยู่ ในจักรวาลทั้งสิ่งที่มีชีวตและสิ่งไม่มีชีวต ส่วนสังขารที่ทาหน้าที่ปรุ งแต่งเป็ นสังขารฝ่ ายนามธรรม ิ ิ ํ ได้แก่สงขารในขันธ์ ๕ ทั้งหมด จะได้อธิบายรายละเอียดของสังขารแต่ละอย่างเป็ นลําดับไป ั (๒) ลักษณะของสั งขาร มี ๓ ลักษณะ คือ ไม่ เที่ยง เป็ นทุกข์ เป็ นอนัตตา ที่ว่าไม่ เที่ยง เพราะไม่คงที่ ไม่ยงยืน เป็ นภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป ๑๐ สิ้ นไป ๑๑ หมายความว่า เกิดขึ้น ั่ 10 11 ที่ไหนเมื่อใด ก็ดบไปที่น้ นเมื่อนั้นไม่ยงยืนอยูต่อไปอีก ๑๒ เช่น เราซื้อรถยนต์มาหนึ่งคัน ตอนซื้ อใหม่ๆ ั ั ่ั ่ 12 มีสีสดสวย อุ ปกรณ์ ทุก อย่างเป็ นของใหม่ แต่พอเราใช้งานไปสักระยะหนึ่ ง ความเป็ นรถใหม่ เริ่ ม หายไปสีหมองคลํ้า เครื่ องยนต์เริ่ มทํางานช้าลง อุปกรณ์อย่างอื่น เช่น เบรค พวงมาลัย เป็ นต้น เริ่ ม ฝื ดลงใช้งานไม่คล่องเหมือนตอนซื้อมาใหม่ๆ ลักษณะเหล่านี้บ่งบอกถึงความไม่เที่ยงของสังขารคือ รถยนต์ที่ถูกปรุ งแต่งขึ้น จากส่วนต่างๆ ที่เอามาประกอบกันเข้าเพือให้สาเร็จเป็ นรถ ่ ํ ๘ พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ, ปฏิจจสมุปบาททีปนี, พิมพ์ครั้งที่ ๔, (กรุ งเทพมหานคร : โรง พิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘), หนา ๓๖.้ ∗ ปัจจุบนเป็ นพระพรหมคุณาภรณ์ ั ๙ พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พจนานุก รมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศั พท์ , พิมพ์คร้ ั งที่ ๗, (กรุ งเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๖), หนา ๓๐๙. ้ ๑๐ องฺ.ติก. (บาลี) ๒๐/๑๓๗/๑๒๐, องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๑๓๗/๓๘๕. ๑๑ ขุ.ปฏิ. (ไทย) ๓๑/๗๙/๕๓. ๑๒ พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตฺโต), พุ ทธธรรม, (ฉบับปรับปรุ ง และขยายความ), พิมพ์คร้ ังที่ ๑๑, (กรุ งเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริ ษท สหธรรมิก จํากัด, ๒๕๔๙), หนา ๗๐/๘. ั ้
  • 6. ลัก ษณะที่ เ ป็ นทุ ก ข์ข องสัง ขาร ได้แ ก่ สิ่ ง ที่ มี ภ าวะที่ ถู ก บี บ คั้น ด้ว ยการเกิ ด ขึ้ น และ สลายตัวมี ภาวะที่กดดัน ฝื นและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปั จจัยที่ปรุ งแต่งให้มีสภาพเป็ นอย่างนั้น ่ เปลี่ยนแปลงไปจะทําให้คงอยูในสภาพนั้นไม่ได้ ภาวะที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่ องอยูในตัว ไม่ได้ ่ ให้ความพึงพอใจเต็มที่แก่ผูตองการด้วยตัณหา และก่อ ให้เกิดทุกข์แก่ผูเ้ ข้าไปอยากเข้าไปยึดด้วย ้ ้ ตัณหาอุปาทาน ดังที่พระวชิราภิกษุณีได้กล่าวไว้ว่า “ทุกข์เท่านั้นย่อมเกิดขึ้นย่อมตั้งอยูและย่อมดับ ่ ไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ”๑๓ ่ ลักษณะที่เป็ นอนัตตาของสังขารนั้น คือไม่อยูในอํานาจบังคับบัญชาของใคร คือห้าม ไม่ให้เป็ นอย่างนั้นอย่างนี้ไม่ได้ ทั้งหมดเป็ นสิ่งที่ไม่ใช่ตวตน ไม่มีตวตนที่แท้จริ งของมันเอง ั ั (๓) ประเภทของสั งขาร สังขารแยกออกเป็ น ๓ ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ สังขารในไตร ลักษณ์ สังขารในขันธ์ ๕ และสังขารในปฏิจจสมุปบาท (๑) สั งขารในไตรลักษณ์ หมายถึงสภาวะที่ ถูกปรุ งแต่ง คือ สภาวะที่เกิดจากเหตุปัจจัยปรุ งแต่งขึ้นทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็ นรู ปธรรมหรื อนามธรรม ิ ิ ่ ก็ตาม เป็ นร่ างกายหรื อจิตใจก็ตาม มีชีวตหรื อไม่มีชีวตก็ตาม อยูในจิตใจหรื อเป็ นวัตถุภายนอกก็ตาม เรี ย กอี ก อย่า งหนึ่ งว่า สัง ขตธรรม คื อ ทุ กสิ่ ง ทุก อย่า ง เว้นแต่ นิพ พาน ๑๔ สังขารในไตรลัก ษณ์ 1 4 ครอบคลุมสังขารทั้งหมด คือ ทั้งสังขารในขันธ์ ๕ และสังขารในปฏิจจสมุปบาท (๒) สั งขารในขันธ์ ๕ หมายถึง สภาวะที่ปรุ งแต่งจิต ให้ดี ให้ชว ให้เป็ นกลาง ได้แก่ คุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนา ั่ เป็ นตัวนํา ที่ปรุ งแปรการตริ ตรึ กนึกคิดในใจ และการแสดงออก ทางกาย วาจา ให้เป็ นไปต่างๆ เป็ น ตัวการของการทํากรรม เรี ยกง่ายๆ ว่า เครื่ อ งปรุ งของจิต เช่น ศรัทธา สติ หิ ริ โอตตัปปะ เมตตา กรุ ณ า ปั ญ ญา โมหะ โลภะ โทสะ เป็ นต้น ซึ่ งทั้ง หมดนั้นล้ว นเป็ นนามธรรม มี อ ยู่ใ นใจทั้งสิ้ น นอกเหนื อ จาก เวทนา สัญญา และวิญญาณ ๑๕ (๓) สั งขารในปฏิจสมุป บาท เป็ นส่ วนหนึ่ งของ 1 5 ่ สังขารในขันธ์ ๕ หมายถึง ความจงใจ หรื อ เจตนา มีรูปวิเคราะห์วา สงฺขตํ กายวจีมโนกมฺ ม ํ อภิสงฺ ข โรนฺ ติ เอเตหีติ สงฺขารา สัตว์ท้งหลายย่อมปรุ งแต่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เป็ นสังขตธรรม ั โดยเจตนาเหล่านั้น เพราะเหตุน้ น เจตนาที่เป็ นเหตุแห่งการปรุ งแต่งเหล่านั้น ชื่อว่า สังขาร ๑๖ ั 16 ๑๓ “ทุกฺขเมว หิ สมฺโภติ ทุกฺข ํ ติฏฺฐติ เวติ จ. นา�ฺญตฺร ทุกฺขา สมฺโภติ นา�ฺญตฺร ทุกฺขา นิรุชฺฌติ”; สํ.ส. (บาลี) ๑๕/๑๗๑/๑๙๙-๑๐๐, ส.ํ ส. (ไทย) ๑๕/๑๗๑/๑๔๒. ๑๔ พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตฺโต), พุทธธรรม, (ฉบับปรับปรุ งและขยายความ), พิมพ์ครั้งที่ ๑๑, (กรุ งเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริ ษท สหธรรมิก จํากัด, ๒๕๔๙), หนา ๗๐/๔-๕. ั ้ ๑๕ พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตฺโต), พุทธธรรม, (ฉบับปรับปรุงและขยายความ), หนา ๗๐/๔. ้ ๑๖ พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริ ยะ, ปฏจจสมุปบาททปน,ี หนา ๓๖. ิ ี ้
  • 7. (๔) บทบาทของสั งขารที่มีต่อการดําเนินชีวิตของมนุษย์ เนื่องจากสังขารในขันธ์ ๕ มีมากถึง ๕๐ อย่าง แต่ละอย่างถือว่ามีบทบาทต่อการดําเนิ น ชีวิตของมนุ ษย์เท่าๆ กัน จึงไม่สามารถนํารายละเอียดของสังขารแต่ล ะอย่างมากล่าวได้ครบเนื่ อ ง ด้วยข้อจํากัดหลายอย่าง ในที่น้ ีจึงจะขอนํามากล่าวไว้เป็ นบางข้อพอเป็ นตัวอย่างเท่านั้น เช่น ผัสสะ เจตนา เป็ นต้น ก. ผัสสะ ในทางพระพุทธศาสนาถือว่า ผัสสะ เป็ นจุดเริ่ มต้นของพฤติกรรมต่างๆ ของมนุ ษย์ เช่น ความเชื่ อว่า อัตตาและโลกเป็ นของเที่ยง หรื อความเชื่อว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่ เที่ยงบ้าง ๑๗ 17 ผัสสะ เป็ นสาเหตุให้เกิดกามคุณ ๕ คือ รู ป เสียง กลิ่น รส สัมผัส (ความถูกต้องทางกาย) ๑๘ เป็ นเหตุเป็ น 18 ปั จจัยให้เกิด เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ๑๙ ทําให้ธรรม ๓ อย่างเกิดขึ้น คือ จักขุกบรู ปอาศัยกัน 19 ั ทําให้เกิดจักขุวญญาณ เป็ นต้น ๒๐ เป็ นสาเหตุของราคานุ สัย ปฏิฆานุ สัย และอวิชชานุ สัย ๒๑ เป็ นเครื่ อง ิ 20 21 ผูกบุรุษและสตรี ไว้ในอํานาจของกันและกัน ๒๒ เป็ นเหตุเกิดของกรรม ๒๓ เป็ นต้นเหตุของความดีใจและ 22 23 ความเสียใจ ๒๔ 24 อธิบายข้อว่า ผัสสะ ทําให้เกิดแนวความคิดและทฤษฎีเกี่ ยวกับความเชื่ อว่า อัตตาและโลก เที่ยง และความเชื่อว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง เป็ นต้น เรื่ องนี้ มีรายละเอียดในพรหมชาลสู ตร ๒๕ 25 ซึ่งเป็ นพระสูตรว่าด้วยเรื่ องทิฏฐิ ๖๒ ประการซึ่งเป็ นทิฏฐินอกพระพุทธศาสนา ที่ว่าผัสสะเป็ นสาเหตุให้ นักคิดในสมัยนั้นมีความเชื่ออย่างนั้นเพราะศาสดาหรื อครู แต่ละสํานักได้รับความรู ้มาไม่เหมือนกัน เช่น ความเห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยง เพราะเขาเคยบําเพ็ญตบะจนได้บรรลุธรรมในระดับหนึ่ งสามารถระลึก ชาติในอดีตได้หลายชาติบางคนระลึกได้เป็ นแสนๆ ชาติได้รู้ว่าตัวเองในชาติต่างๆ ที่ผ่านมาเคยเกิดใน ตระกูลไหน ชื่อว่าอย่างไร มีอาชีพอะไร ตายไปจากชาติน้ ันแล้วไปเกิดที่ไหนไล่ไปเรื่ อยๆ จนมาถึงชาติ ปั จจุบน เมื่อเห็นอย่างนี้จึงสรุ ปเอาว่า อัตตาและโลกเป็ นสิ่งเที่ยงแท้แน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง ั ๑๗ ที.สี. (ไทย) ๙/๑๑๘-๑๔๓/๔๑-๔๖. ๑๘ องฺ. ฉกฺก. (ไทย) ๒๒/๖๓/๕๗๓. ๑๙ ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๘๖/๙๘. ๒๐ ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๔๒๑/๔๗๗-๔๘๘. ๒๑ ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๔๒๕/๔๘๕. ๒๒ องฺ.อฏฺฐก. (ไทย) ๒๓/๑๗/๒๔๔. ๒๓ องฺ.ฉกฺก. (ไทย) ๒๒/๖๓/๕๑๗-๕๗๗. ๒๔ ขุ.สุ. (ไทย) ๒๕/๘๗๖-๘๗๙/๗๑๐-๗๑๑. ๒๕ ดูรายละเอียดใน ที.สี . (ไทย) ๙/๑๑๘-๑๔๓/๔๑-๔๖.
  • 8. ข. เจตนา คําว่า เจตนา หมายถึง ความตั้งใจ ความจงใจ เจตน์จานง ๒๖ เจตนาเป็ นตัวนําใน ํ 26 การทํากรรม หรื อเป็ นตัวกรรม ๒๗ เป็ นตัวแสดงลักษณะพิเศษของสังขารทําให้สังขารขันธ์ต่างจากขันธ์ 27 ่ อื่น คือนามขันธ์อื่น ได้แก่ เวทนา สัญญา และวิญญาณ ทํางานกับอารมณ์ ที่เข้ามาปรากฏอยูแล้ว เป็ น สภาพที่เนื่องด้วยอารมณ์ เกาะเกี่ยวกับอารมณ์ อาศัยอารมณ์จึงดําเนินไปได้และเป็ นฝ่ ายรับ แต่สังขารมี การริ เริ่ มเองได้ จํานงต่ออารมณ์และเป็ นฝ่ ายกระทําต่ออารมณ์ ๒๘ เพราะเจตนาเป็ นหัวหน้าผูจดแจง 28 ้ั หรื อ เป็ นผูแบ่งหน้าที่ให้สังขารอื่ นๆ ทํางานผ่านทางทวารทั้ง ๓ คือ ทางกาย วาจา และจิตใจ ที่ ้ เรี ยกว่า กายสังขาร วจีสงขาร และจิตตสังขาร และเรี ยกชื่อตามหัวหน้าผูสั่งการว่า กายสัญเจตนา วจี ั ้ ่ั สัญเจตนา มโนสัญเจตนา ตามลําดับ ผลของการกระทําจะมากหรื อน้อยขึ้นอยูกบเจตนา เช่น นาย ก. ฉีกกระดาษทิ้งลงถังขยะเพราะเห็นว่าไม่จาเป็ นต้องใช้งานแล้ว ไม่มีความรู ้สึกผิดปกติอะไร ส่ วน ํ ่ นาย ข. ฉีกกระดาษทิ้งเหมือนกันแต่ฉีกด้วยความโกรธ เพราะตัวหนังสื อที่เขียนอยูในกระดาษนั้น เป็ นคําเขียนด่า นาย ข. ลักษณะอย่างนี้นาย ก. และ นาย ข. จะได้รับวิบากไม่เหมือนกัน เพราะเจตนา ต่างกัน นาย ก. แทบไม่ตองรับผลอะไรเลย ผิดกับนาย ข. ที่ได้รับผลคือความโกรธ กระวนกระวาย ้ ใจในปั จจุบนและในอนาคตถ้าเขาคิดถึงข้อความนั้นอีก ั จากเนื้ อ ความนี้ จะเห็ นว่า คําว่า สังขาร เจตนา และกรรมมี ความหมายอย่างเดี ยวกัน กล่าวคือเมื่อมีการปรุ งแต่งจิตครั้งหนึ่งนันก็คือ เจตนา และกรรมได้เกิดขึ้นแล้วหรื อได้ทาหน้าที่แล้ว ่ ํ จะเป็ นเรื่ องดี ไม่ดี หรื อกลางๆ ก็ตาม จากเนื้ อหาของเจตนาที่ได้ศึกษามานี้ ถือว่า เจตนา มีบทบาท สําคัญอย่างยิงต่อการดําเนินชีวตของมนุ ษย์ ่ ิ ๓. การพัฒนาสั งขารตามหลักไตรสิ กขาในพระพุทธศาสนาเถรวาท (๑) การพัฒนาสั งขารตามหลักศีล ศีล เป็ นหลักเบื้องต้นในการฝึ กหัดกาย วาจา ใจ ให้ เรี ยบร้อย ของหมู่คณะพระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติขอที่พระสาวกต้องปฏิบติและพึงปฏิบติร่วมกัน ้ ั ั เรี ยกว่า พระวินัย หรื อ ศีล ซึ่ งรวมทั้งที่เป็ นสิ กขาบทและข้อวัตรต่างๆ ศีล จึงเป็ นพื้นฐานสําคัญใน การพัฒนาสังขาร ในพลสูตร พระพุทธองค์ทรงเปรี ยบศีลเหมือนแผ่นดินเป็ นที่ยนของบุคคลผูที่จะ ื ้ ทํางานด้วยกําลังให้สาเร็ จลุล่วงตามความปรารถนา ศีลเป็ นเบื้องต้นแห่ งกุศลธรรมทั้งหลาย ๓๐ ํ 29 ๒๙ 30 ๒๖ พระเทพเวที (ประยทธ์ ปยตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, หนา ๔๘. ุ ุ ้ ๒๗ องฺ.ฉกฺก. (บาลี) ๒๒/๖๓/๓๘๕. ๒๘ พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตฺโต), พุทธธรรม, (ฉบับปรับปรุงและขยายความ), หนา ๒๐-๒๑. ้ ๒๙ ดูรายละเอียดใน ส.ํ ม. (ไทย) ๑๙/๑๔๙/๗๘. ๓๐ ส.ํ ม. (ไทย) ๑๙/๓๘๑-๓๘๓/๒๓๖-๒๓๙.
  • 9. ๙ ศีลเหมือนแสงอรุ ณของพระอาทิตย์ในยามเช้า ๓๑ ภิกษุผสมบูรณ์ดวยศีลย่อมไม่ประสบภัยอันตราย 31 ู้ ้ จากการสํารวมในศีล เปรี ยบเหมือ นกษัตริ ยผไ ด้รับมูรธาภิเษกเป็ นพระราชา กําจัดข้าศึกได้แล้ว ์ ู้ ย่อมไม่ประสบภัยอันตรายจากข้าศึก ภิกษุผสมบูรณ์ดวยอริ ยสี ลขันธ์ ย่อมเสวยสุ ขอันไม่มีโทษใน ู้ ้ ภายใน ๓๒ ในอัสสลายนสูตร กล่าวถึงมาณพ ๒ คนเป็ นพี่น้องกัน คนหนึ่ งได้รับการศึกษาดี แต่เป็ น 32 คนทุศีล คนหนึ่งไม่ได้รับการศึกษาแต่เป็ นคนมีศีล คนที่มีศีลจะได้รับการเชื้อเชิญให้บริ โภคก่อนใน งานเลี้ยงต่างๆ มี งานเลี้ยงของผูมีศรัทธาเป็ นต้น ๓๓ จากตัวอย่างข้างต้นนี้ เป็ นความสําคัญของศีล ้ 3 3 สั ง ขารที่ จ ัด อยู่ใ นหมวดศี ล คื อ วิ รั ติ เ จตสิ ก ๓ ประการ ได้แ ก่ สั ม มาวาจา สั ม มากัม มัน ตะ ั ่ สัมมาอาชีวะ ซึ่งสังขารเหล่านี้จดอยูในอริ ยมรรคมีองค์ ๘ ประการ สงเคราะห์เข้าในอธิศีลสิ กขา เมื่อ สังขารเหล่ านี้ ได้รับการพัฒนาแล้ว เป็ นเหตุเป็ นปั จจัยให้สังขารเหล่าอื่นที่อยู่ในองค์มรรคนอกนี้ ได้รับการพัฒนาไปด้วย การพัฒนาสังขารตามหลักศีล ทําได้โดยการปฏิบติหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดเท่าที่จะทําได้ ั เช่น ทําหน้าที่สามีที่ดี ทําหน้าที่ภรรยาที่ดี ทําหน้าที่ของลูกที่ดี มีความเมตตาต่อกัน มีความซื่ อสัตย์ ต่อกัน ไม่เบียดเบียนกัน ไม่โกหกหลอกลวงกันและกัน จากนั้นก็ค่อยขยายวงกว้างออกไปสู่ สังคม ภายนอก หรื อหลักการง่ายๆ อีกอย่างหนึ่ งคือ การบําเพ็ญบุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการ ได้แก่ การให้ ทานหรื อการแบ่งปั นสิ่งของๆ ตนแก่คนอื่นที่ควรแบ่งปั น เช่น ถวายทานแก่พระภิกษุหรื อนักบวชที่ ตนนับถือ การรักษาศีล มีท้งศีลที่เป็ นสิ กขาบท ได้แก่ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ และศีลที่เป็ น ั ธรรมเนียมของสังคม เช่น รักษากฎหมายบ้านเมือง รักษากิริยามารยาทในสังคม การเป็ นคนตรงต่อ เวลา ปฏิบติหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ การแสดงออกทางกาย วาจา ที่สุภาพเรี ยบร้อย เป็ นต้น เมื่ อ ั ปฏิบติอย่างนี้ เป็ นประจําจะช่วยให้มีพฤติกรรมทางกาย วาจา เรี ยบร้อย เป็ นคนสุ ภาพอ่ อนโยน มี ั ความอดทนเพิมขึ้น ่ (๒) การพัฒนาสั งขารตามหลักสมาธิ สมาธิ คือความตั้งใจมัน แน่ วแน่ อยูกบอารมณ์ใด ่ ่ ั อารมณ์ หนึ่ ง เมื่ อ จิตใจตั้ง มันแล้วจะเกิ ด ปั ญญารู ้ส ภาวธรรมหมวดต่า งๆ เช่ น ขัน ธ์ ๕ ธาตุ ๑๘ ่ อริ ยสัจ ๔ เป็ นต้น ตามความเป็ นจริ ง ดังหลักฐานที่ปรากฏในสมาธิสูตร สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค สฬายตนวรรค และมหาวารวรรคว่า “ภิกษุท้ งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริ ญสมาธิเถิด ภิกษุผูมีจิตตั้ง ั ้ มัน ย่อ มรู ้ชดตามความเป็ นจริ ง”๓๔ ส่ วนรายละเอี ยดแตกต่างกันดังนี้ คือในขันธวารวรรคอธิบาย ่ ั ต่อไปว่า รู ้ชดความเกิดและความดับของขันธ์ ๕ คือ ความเกิดความดับของรู ป เวทนา สัญญา สังขาร ั ๓๑ ดูรายละเอียดใน สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๕๐-๕๔/๔๔. ๓๒ ดูรายละเอียดใน ที.สี . (ไทย) ๙/๔๐๑/๑๗๐. ๓๓ ดูรายละเอียดใน ม.ม. (ไทย) ๑๓/๔๐๙/๕๑๑. ๓๔ ส.ํ ข. (ไทย) ๑๗/๕/๑๗, ส.ํ สฬา. (ไทย) ๑๘/๙๙/๑๑๐, ส.ํ ม. (ไทย) ๑๙/๑๐๗๑/๕๘๓.
  • 10. ๑๐ ่ วิญญาณ ในสฬายตนวรรคอธิบายว่า รู ้ชดไตรลักษณ์คือรู ้วา จักขุไม่เที่ยง รู ปไม่เที่ยง จักขุวิญญาณ ั ไม่เที่ยง จักขุสัมผัสไม่เที่ยง เป็ นต้น ส่ วนในมหาวารวรรค อธิบายว่า รู ้ชดอริ ยสัจ คือ ทุกข์ เหตุให้ ั เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และหนทางให้ถึงความดับทุกข์ จากหลัก ฐานเหล่ า นี้ แสดงว่า เป็ นสมาธิ ร ะดับ สัม มาสมาธิ ห รื อ สมาธิ ใ นองค์ม รรค ั เป็ นขณิ กสมาธิที่ใช้กบการเจริ ญวิปัสสนากรรมฐานเพือให้เกิดปั ญญา ไม่ใช่สมาธิระดับอัปปนาที่ใช้ ่ กับสมถกรรมฐานเพือให้เกิดฌาน ่ ั ่ ่ ั การพัฒนาสังขารตามหลักสมาธิ ทําได้โดยทําจิตใจให้ต้ งมันจดจ่ออยูกบงานที่ทาให้ ํ มาก เอาใจใส่ ต่ อ งานไม่ ท อดทิ้ ง เมื่ อ มี อุ ป สรรค การพัฒ นาตามหลั ก สมาธิ มี ห ลายระดั บ ระดับพืนฐาน ทัวไป ได้แก่ การพัฒนาตนเองอยูเ่ สมอ ตามหน้าที่และฐานะของตน เช่น เป็ นชาวนา ้ ่ ต้องศึกษาหาความรู ้เกี่ยวกับการทํานาอยู่ตลอดว่า ทําอย่างไรจึงจะได้ผลผลิตสู งคุ มกับเงินลงทุน ้ เป็ นครู สอนหนังสื อต้องศึกษาหาความรู ้ใหม่ๆ มาถ่ายทอดให้ลูกศิษย์ เป็ นต้น ระดับปานกลาง คือ ั ่ หมันฝึ กฝนอบรมตนเองให้ต้งอยูในศีลธรรมทางศาสนา เช่น การไหว้พระสวดมนต์ตามกาลเวลาที่ ่ เหมาะสม การรักษาศีล อุ โบสถ การเจริ ญจิตตภาวนา เป็ นต้น ระดับสู ง ได้แก่ การสละเวลาเข้า ปฏิบติธรรม ๕ วัน ๗ วัน หรื อตามแต่ที่โอกาสจะอํานวยให้ อย่างนี้ ชื่อว่าได้พฒนาสังขารตามหลัก ั ั ที่พระพุทธศาสนาได้วางไว้ส่วนจะได้ผลมากหรื อน้อยประการใดนั้นเป็ นเรื่ องส่ วนตัวของแต่ละคน จะได้มากได้นอยพระพุทธองค์ไม่ได้ตาหนิ แต่พระองค์ตาหนิ คนที่ไม่ทา ถ้าปฏิบติตามนี้ จะทําให้ ้ ํ ํ ํ ั สังขารฝ่ ายอกุศลลดลง เช่น ความวิตกกังวล ความเห็นแก่ตว ความก้าวร้าว แล้วจะทําให้เกิดความ ั ่ ่ ั ั มันใจตัวเองเพิมขึ้น มีปฏิสมพันธ์กบคนอื่นได้ดีข้ ึน ความจําจะดีข้ ึน ไม่หลงลืม มีจิตใจอ่อนโยน ไม่ ก้าวร้าว มีความเอื้อเฟื้ อต่อผูอื่น ไม่เห็นแก่ตว ้ ั (๓) การพัฒนาสั งขารตามหลักปั ญญา ในบรรดาไตรสิ กขา ปั ญญา ถือว่าสําคัญที่สุด เพราะปั ญญาเท่านั้นจะนําไปสู่ การตรัสรู ้อริ ยสัจตามความเป็ นจริ ง พระพุทธองค์ได้ตรัสสรรเสริ ญ ปั ญญาไว้หลายแห่ งต่างกาลต่างวาระกัน เช่น ตรัสว่า “ป�ฺ ญา โลกสฺ มิ ปชฺ โชโต ปั ญญาเป็ นแสง สว่างในโลก”๓๕ “ป�ฺ ญา นรานํ รตนํ ปั ญญาเป็ นรัตนะของนรชน” ๓๖ เป็ นต้น ปั จจัยที่สาคัญในการ ํ พัฒนาปั ญญาที่ขาดไม่ได้ต้ งแต่เริ่ มแรกของการพัฒนาไปจนถึงขั้นสุ ดท้ายได้แก่ ปรโตโฆสะ และ ั โยนิโสมนสิการ ๓๗ พระพุทธองค์ตรัสสอนพระราหุลขณะที่พระราหุ ลยังไม่ได้บรรลุธรรม ข้อแรก 37 ที่พระองค์ตรัสสอน คือ ให้พระราหุ ล คบกัลยาณมิตร ๓๘ ภิกษุผมีกลยาณมิตร จะเจริ ญอริ ยมรรคมี 38 ู้ ั ๓๕ สํ.ส. (บาลี) ๑๕/๘๐/๓๓, สํ.ส. (ไทย) ๑๕/๘๐/๘๕. ๓๖ สํ.ส. (บาลี) ๑๕/๕๑-๕๒/๒๖, สํ.ส. (ไทย) ๑๕/๕๑/๖๗. ๓๗ องฺ.ทุก. (ไทย) ๒๐/๑๒๗/๑๑๕, องฺ.ทุก.อ. (ไทย) ๒/๑๒๗/๕๓. ๓๘ ดูรายละเอียดใน ขุ.สุ ตฺต. (ไทย) ๒๕/๓๔๑/๕๗๙.
  • 11. ๑๑ องค์ ๘ อันเป็ นธรรมเครื่ องจํากัด ราคะ โทสะ โมหะ เป็ นที่สุด ๓๙ ส่วนโยนิโสมนสิการ (การคิดในใจ 39 โดยแยบคาย) เป็ นบุพพนิ มิตรเพื่อ ความเกิดขึ้นแห่ งอริ ยมรรคมี องค์ ๘ ๔๐ ปั จจัยทั้งสองอย่างนี้ คือ 40 กัลยาณมิตรและโยนิโสมนสิการ ย่อมสนับสนุ นซึ่ งกันและกัน สําหรับคนสามัญซึ่ งมีปัญญาไม่แก่ กล้า ย่อมต้องอาศัยการแนะนําชักจูงจากผูอื่น และคล้อยไปตามคําแนะนําชักจูงที่ฉลาดได้ง่าย ๔๑ ้ 41 การพัฒนาสัง ขารตามหลักปั ญญา ระดับ ต้น ทํา ได้โ ดยการใช้หลัก ปรโตโฆสะและ โยนิโสมนสิการ คือหมันเข้าหานักปราชญ์หรื อผูรู้ท้งหลายเพือจะได้รับคําแนะนําดีๆ จากท่าน แล้ว ่ ้ ั ่ นํามาปฏิบติตาม และใช้การพิจารณาไตร่ ตรองตามไปด้วย จะทําให้เกิดปั ญญานํามาประยุกต์ใช้กบ ั ั ชีวตประจําวันได้ ระดับสูงทําได้โดยการฝึ กวิปัสสนากรรมฐาน ตามกาลอันควร คือควรเข้าปฏิบติ ิ ั ติดต่อกันอย่างน้อยปี ละ ๑ ครั้งๆ ละ ๕ วัน ๗ วัน ๑๐ วัน หรื อตามเวลาที่จะทําได้ นอกจากจะทําให้ มีสติสมปชัญญะดีข้ ึนแล้ว ยังจะได้รับอานิสงส์อย่างอื่นมากมายทั้งในชาติปัจจุบนและในชาติต่อไป ั ั ่ ่ ด้วย เช่น สมาธิจะตั้งมันอยูได้นาน ทํางานมีประสิ ทธิ ภาพมากกว่าเดิม ร่ างกายแข็งแรงปราศจาก โรคภัยต่างๆ เมื่อเสียชีวตก็จะได้ไปสู่สุคติตามภูมิธรรมของตน ิ ๔. วิเคราะห์ กระบวนการทํางานของสั งขารที่นําไปสู่ การบรรลุธรรม (๑) กระบวนการทํางานของสั งขารที่นําไปสู่ การบรรลุธรรมระดับฌาน หลังจากที่ผู ้ ปฏิบติ ฝึ กสมถกรรมฐานตามรู ปแบบต่างๆ มีการเพ่งกสิณ เช่น ปฐวีกสิ ณ เป็ นต้นมาพอสมควรจน ั ่ ่ ั จิตตั้งมันแน่วแน่อยูกบอารมณ์แล้ว จิตในขณะที่จะบรรลุปฐมฌานจะมีลกษณะดังนี้ คือ มโนทวารา ั ่ วัชชนจิต ทําปฐวีกสิ ณที่ปรากฏอยูด้วยอํานาจการภาวนาว่า ปฐวี ปฐวี นั้นให้เป็ นอารมณ์เกิดขึ้นตัด ภวังคจิต ถัดจากนั้น ชวนจิตแล่ นไปในอารมณ์ น้ ัน ๔ ขณะบ้าง ๕ ขณะบ้าง ในชวนจิต ๔ หรื อ ๕ ขณะนั้นดวงหนึ่ งในขณะสุ ดท้ายจัดเป็ นรู ปาวจรกุศลจิต (อัปปนาจิต) อี ก ๓ หรื อ ๔ ดวงที่เหลื อ ข้างต้นคงเป็ นกามาวจรกุศลจิต ๔๒ กระบวนการเกิ ดขึ้นของอัปปนาชวนวิถีจิตในขณะที่จะบรรลุ 42 ปฐมฌานนี้ เรี ยกชื่ อ ได้ ๒ นั ย คื อ นั ยแรก ในอัป ปนาชวนวิ ถี จิ ต ๕ ดวงนั้ น ดวงที่ ๑ เรี ยกว่ า “บริ กรรม” ดวงที่ ๒ เรี ยกว่า “อุปจาร” ดวงที่ ๓ เรี ยกว่า “อนุ โลม” ดวงที่ ๔ เรี ยกว่า “โคตรภู” อีกนัย หนึ่ง ดวงที่ ๑ เรี ยกว่า “อุปจาร” ดวงที่ ๒ เรี ยกว่า “อนุ โลม” ดวงที่ ๓ เรี ยกว่า “โคตรภู” ดวงที่ ๔ หรื อที่ ๕ เรี ยกว่า “อัปปนา” ชวนจิตดวงที่ ๔ หรื อ ๕ เท่านั้น ย่อมสําเร็ จเป็ น อัปปนาจิต ชวนจิต ดวงที่ ๔ หรื อ ที่ ๕ นั้น ย่อ มเกิ ดขึ้นด้วยอํานาจแห่ งโยคีบุคคลผูมีปัญญาไวและมี ปัญญาช้า (คนมีปัญญาไว ้ ๓๙ ดูรายละเอียดใน สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๕๖/๔๖. ๔๐ ดูรายละเอียดใน ส.ํ ม. (ไทย) ๑๙/๕๖/๔๔. ๔๑ พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตฺโต), พุทธธรรม, (ฉบับปรับปรุงและขยายความ), หนา ๖๒๒. ้ ๔๒ วิสุทธิ. (ไทย) ๖๙/๒๔๑.
  • 12. ๑๒ ชวนจิตมีเพียง ๔ ขณะ ส่วนคนมีปัญญาช้ามีถึง ๕ ขณะ) หลังจากชวนจิตดวงที่ ๔ หรื อที่ ๕ นั้นไป ชวนจิตก็ตกภวังค์ จึงเป็ นวาระของภวังคจิตต่อไป ๔๓ 43 จากกระบวนการดังกล่ าวนี้ ถื อว่าผูปฏิบติสมถกรรมฐานตามแนวปฐวีกสิ ณได้บรรลุ ้ ั ปฐมฌานซึ่งประกอบด้วยสังขารหรื อเจตสิก ๕ ประการ คือ วิตก วิจาร ปี ติ สุข เอกัคคตา (จิตเตกัคค ตา)หมายความว่า สังขารทั้ง ๕ ประการนี้ เกิดขึ้นพร้อมกันในขณะที่บรรลุปฐมฌาน ตามปกติจิต ่ ของคนทัวไปก็ประกอบด้วยสังขารทั้ง ๕ ประการนี้ อยูแล้ว แต่ในขณะที่จะบรรลุปฐมฌานสังขาร ่ ํ ่ ทั้ง ๕ ประการนี้ มีกาลังมากกว่าที่มีอยูในจิตปกติทวไป เพราะได้รับการพัฒนาด้วยการเพ่งดวงกสิ ณ ั่ ่ ั จนจิตตั้งมันแน่วแน่อยูกบดวงกสิณ ปรุ งแต่งจิตคือมโนทวาราวัชชนจิตที่เกิดขึ้นมารับเอาอารมณ์ ่ ตอนใกล้อปปนาแล้วตัดภวังค์ เจตสิกทั้ง ๕ นี้ แต่ละอย่างทําหน้าที่ต่างกัน วิตก ทําหน้าที่ ยกจิตขึ้น ั สู่ อารมณ์ วิจาร ทําหน้าที่ ตามผูกพันจิตไว้ในอารมณ์ ปี ติ ทําหน้าที่ให้ความเอิบอิ่ มแก่จิต สุ ข ทํา หน้าที่ให้สัม ปยุตธรรมที่เกิ ดขึ้นในขณะนั้นให้เจริ ญยิงขึ้น และเอกัคคตา ทําหน้าที่ ตั้งมันอยู่กับ ่ ่ อารมณ์ ป รุ งแต่ง จิตหรื อ ประคับประคองให้จิต มี พ ลังมากกว่าจิ ตปกติ และจิตดวงที่เกิ ดขึ้น ดวง สุ ด ท้า ยจะทํา ลายกามาวจรจิ ต คื อ จิ ต ที่ ท่ อ งเที่ ย วอยู่ใ นกามภพ และทํา ให้รู ป าวจรจิ ต คื อ จิ ต ที่ ่ ท่องเที่ยวอยูในรู ปภพ ได้แก่ ฌาน เกิดขึ้น นอกจากประกอบด้วยองค์ฌานทั้ง ๕ นี้ แล้ว กระบวนการบรรลุ ปฐมฌานเป็ นการละ อกุศลธรรมที่เป็ นข้าศึกต่อ ฌาน อกุศลธรรมเหล่านั้นคือนิ วรณ์ ๕ ประกอบด้วย กามฉันทะ ความ พอใจในกาม พยาบาท ความไม่ชอบใจ ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาเศร้าซึ ม อุทธัจจกุกกุจจะ ความ ฟุ้ งซ่านรําคาญใจและวิจิกิจฉา ความสงสัยตัดสินใจไม่ได้ ถ้าผูปฏิบติยงละอกุศลธรรมเหล่านี้ ไม่ได้ ้ ั ั ก็ไม่สามารถบรรลุฌานได้ เพราะว่า จิตที่ถูก กามฉันทะ ครอบงําแล้ว ย่อมไม่ดาเนิ นไปสู่ ปฏิปทา ํ เพือประหาณเสียซึ่งกามธาตุ (คือกามโลก) และจิตที่ถูกพยาบาท กดดันไว้ในอารมณ์ ย่อมเป็ นไป ่ ไม่บริ บูรณ์ จิตที่ถูกถีนมิทธะ ครอบงําแล้ว ย่อมไม่ควรแก่อนที่จะประกอบภาวนา จิตที่ถูกอุทธัจจ ั กุกกุจจะ ครอบงําแล้ว ย่อมฟุ้ งซ่ านไปไม่สงบอยูได้ จิตที่ถูกวิจิกิจฉา เข้าแทรกแซงแล้ว ย่อมไม่ ่ หยังลงสู่ปฏิปทาอันจะให้สาเร็ จการบรรลุถึงซึ่ งฌานได้ ๔๔ เมื่อฌานเกิดขึ้นนิ วรณธรรม เหล่านี้ ก็จะ ่ ํ 44 ถูกกําจัดไปเพราะฌานเป็ นข้าศึกต่อนิวรณ์ ดังที่พระมหากัจจายนะแสดงไว้ในคัมภีร์เปฏกะว่า สมาธิ (เอกัคคตา) เป็ นปฏิ ปักษ์แก่ กามฉัน ทะ ปี ติ เป็ นปฏิปัก ษ์แก่ พยาบาท วิตก เป็ นปฏิปัก ษ์แ ก่ ถีนมิทธะ สุข เป็ นปฏิปักษ์แก่ อุทธัจจะกุกกุจจะ และ วิจาร เป็ นปฏิปักษ์แก่ วิจิกิจฉา ๔๕ 45 ๔๓ วิสุทธิ. (ไทย) ๖๙/๒๔๑-๒๔๒. ๔๔ วิสุทธิ. (ไทย) ๖๙/๒๕๗. ๔๕ วิสุทธิ. (ไทย) ๖๙/๒๔๗-๒๔๘.
  • 13. ๑๓ จากกระบวนการที่ไ ด้ศึกษามานี้ เป็ นกระบวนการพัฒนาสังขารจนนําไปสู่ การบรรลุ ปฐมฌาน ส่ วนการบรรลุฌานอื่นๆ มีทุติยฌานจนถึงจตุตถฌานนั้นก็มีลกษณะคล้ายกันต่างกันแต่ ั องค์ฌานหรื อ องค์ประกอบเท่า นั้น เพราะองค์ประกอบในฌานขั้นสู งจะลดน้อ ยลงตามลํา ดับ กล่าวคือ ในทุติยฌาน ไม่มีวตก มีแต่วจาร ปี ติ สุข เอกัคคตา ในตติยฌาน มีแต่ปีติ สุ ข เอกัคคตา ใน ิ ิ จตุตถฌาน มีแต่ สุข และเอกัคคตา (๒) กระบวนการทํางานของสั งขารที่นําไปสู่ การบรรลุธรรมระดับญาณ กระบวนการ บรรลุธรรมระดับญาณ ในคัมภีร์วสุทธิมรรค พระพุทธโฆสเถระ อธิบายถึงสภาวะของจิตที่ได้บรรลุ ิ ธรรมไว้ในอนุโลมญาณซึ่งเป็ นญาณอันดับที่ ๑๓ พอสรุ ปใจความได้ว่า เมื่อผูปฏิบติหรื อพระโยคี ้ ั นั้นปฏิบติอย่างต่อเนื่องจนทําให้ “สังขารุ เปกขาญาณ ญาณหรื อปั ญญาที่วางเฉยในสังขาร” เกิดขึ้น ั และมากขึ้นตามลําดับ สังขารคือ “ศรัทธา” ก็พฒนากลายเป็ น “อธิโมกข์ ความน้อมใจเชื่อ” ก็เกิดมี ั กําลังเข้มแข็งขึ้น จากนั้น “วิริยะ ความเพียร” ก็ได้รับประคับประคองดี “สติ ความระลึกได้” ก็เข้า ตั้งอยูเ่ ป็ นอย่างดี จิตก็เป็ นสมาธิดีข้ ึน “สังขารุ เปกขา การวางเฉยในสังขาร” ก็บงเกิดแก่กล้ายิงขึ้น จน ั ่ ํ ทําให้ผูปฏิบติหรื อโยคีน้ ันเกิดความคิดว่า “มรรคญาณ จักเกิดขึ้น” “สังขารุ เปกขา” ก็กาหนดรู ้สังขาร ้ ั ทั้งหลายว่า ไม่เที่ยง หรื อว่าเป็ นทุกข์ หรื อว่าเป็ นอนัตตาแล้วหยังลงสู่ ภวังค์ ในขณะที่สังขารุ เปกขา ่ หยังลงสู่ภวังค์น้ น มโนทวารราวัชชนจิตก็เกิดขึ้น ทําสังขารทั้งหลายเป็ นอารมณ์ว่าไม่เที่ยง หรื อว่า ่ ั เป็ นทุกข์ หรื อว่าเป็ นอนัตตา โดยนัยเดียวกับที่สงขารุ เปกขาญาณทํามาแล้วนั้น ต่อจากนั้น “กิริยาจิต” ก็ ั เกิดขึ้น หันเห “ภวังคจิต” ไปจากมโนทวาราวัชชนจิตนั้น ชวนจิตดวงที่ ๑ (คืออนุ โลมญาณที่ ๑) ซึ่งท่านเรี ยกว่า “บริ กรรม” ก็เกิดขึ้นสืบต่อกันไม่มีช่องว่าง ทําสังขารทั้งหลายเป็ นอารมณ์อย่างนั้น เหมื อ นกัน จากนั้น ชวนจิ ตดวงที่ ๒ (อนุ โลมญาณที่ ๒) ซึ่ งท่านเรี ยกว่า “อุ ปจาร” ก็เกิ ดขึ้นทํา สังขารทั้งหลายเป็ นอารมณ์อย่างนั้นเหมือนกัน ต่อจากนั้น ชวนจิต ดวงที่ ๓ (อนุ โลมญาณที่ ๓) ซึ่ ง ท่านเรี ยกว่า “อนุโลม” ก็เกิดขึ้นทําสังขารทั้งหลายเป็ นอารมณ์อย่างนั้นเหมือนกัน ๔๖ 46 พระพุทธโฆสเถระอธิบายว่า ที่ชื่อว่า อนุโลมญาณ เพราะญาณนี้ อนุ โลมหรื อคล้อยตามญาณ ทั้ง ๘ ที่ได้บรรลุมาก่อนคือ อุทยัพยญาณ ภังคานุปัสสนาญาณ ภยตุปัฏฐานญาณ อาทีนวานุ ปัสสนาญาณ นิพพิทาญาณ มุญจิตุกมยตาญาณ ปฏิสงขาญาณ และสังขารุ เปกขาญาณ หมายความว่า ญาญเหล่านี้ ก็ ั ั เห็นไตรลักษณ์เหมือ นกัน และที่เรี ยกว่า อนุ โลมญาณ เพราะญาณนี้ อ นุ โลมแก่โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการที่เป็ นส่วนเบื้องหน้า หรื อเบื้องบนที่จะต้องปฏิบติเพื่อบรรลุธรรมขั้นสู งต่อไป ๔๗ จาก ั 47 เนื้อความตรงนี้สามารถอธิบายได้ว่า อนุ โลมญาณ เป็ นญาณที่โน้มไปสู่ การบรรลุธรรมแล้ว อุปมา เหมือนเมฆตั้งขึ้นแล้วรอเวลาแต่ฝนจะตกอย่างเดียวหรื อทําให้มนใจว่า ฝนจะตกจริ งๆ ไม่ตองสงสัย ั่ ้ ๔๖ วิสุทฺธิ. (ไทย) ๘๐๔/๑๐๙๓. ๔๗ วิสุทฺธิ. (ไทย) ๘๐๔/๑๐๙๓-๑๐๙๔.
  • 14. ๑๔ และไม่มีอะไรจะไปห้ามไม่ให้ฝนตกได้ และอุปมาเหมือนสายนํ้าหรื อมวลนํ้า ไหลบ่าไปทางใดทาง หนึ่งแล้ว ยากที่จะ ทําให้หวนกลับหรื อไหลไปทิศทางอื่นได้ พระพุทธโฆสเถระ แสดงอุปมาอุปไมย ไว้ว่า อนุ โลมญาณนี้ เปรี ยบเหมื อ นพระราชาผูทรงธรรมประทับนั่งในสถานวินิจฉัยทรงสดับคํา ้ ู้ ่ วินิจฉัยของท่านมหาอํามาตย์ผวาคดี ๘ ท่านแล้ว ทรงละการถึงอคติ ทรงตั้งพระองค์เป็ นกลาง ชื่อ ว่าทรงอนุโลมแก่คาวินิจฉัยของมหาอํามาตย์เหล่านั้นด้วย และทรงอนุ โลมแก่โบราณราชธรรมด้วย ํ ฉันใด ข้อเปรี ยบนี้ ก็ฉันนั้น เพราะว่า อนุ โลมญาณ เปรี ยบเหมือนพระราชา ญาณทั้งหลาย ๘ เปรี ยบ เหมือนมหาอํามาตย์ผวาคดี ๘ ท่าน โพธิปักขิยธรรม ๓๗ เปรี ยบเหมือนโบราณราชธรรม ๔๘ จิตที่เกิด ู้ ่ 48 ต่อจากอนุโลม เรี ยกว่า มรรคจิตหรื อมรรคญาณ ขณะมรรคจิตเกิดขึ้นสังขาร ๑๔ ประการในโพธิ ปั กขิยธรรม คือ สติ วิริยะ ฉันทะ ปั ญ ญา สัทธา เอกัคคตา ปี ติ กายปั สสัทธิ จิตตปั สสัทธิ ตัตตร มัชฌัตตตา วิตก สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ๔๙ เกิดขึ้นพร้อมกัน เรี ยกว่า สามัคคีมรรค 49 หรื อมัคคสมังคี ๕. สรุป จากบทความนี้ สรุ ปเนื้ อหาสาระสําคัญได้ดงนี้ คําว่า สังขาร หมายถึง การปรุ งแต่งและ ั สิ่ งที่ถูกปรุ งแต่ง ลักษณะของสังขารโดยทัวไป คือ มี ความไม่ เที่ยง เปลี่ ยนแปลงไปตามกาลเวลา ่ ่ เป็ นทุกข์ ทนอยูในสภาพเดิมไม่ได้ เป็ นอนัตตา ไม่มีตวตนที่แท้จริ ง สังขารมี ๓ ประเภทใหญ่ ได้แก่ ั สังขารในไตรลักษณ์ สังขารในขันธ์ ๕ และสังขารในปฏิจจสมุปบาท สังขารมีบทบาทสําคัญในการ ดําเนินชีวตของมนุษย์เพราะพฤติกรรมต่างๆ ที่มนุ ษย์แสดงออกมาทางกาย วาจา และความคิด เกิด ิ มาจากการปรุ งแต่งของสังขารทั้งสิ้น สังขารพัฒนาได้ตามหลักไตรสิ กขา คือ ศีล สมาธิ ปั ญญา การ บรรลุ ปฐมฌานประกอบด้วยสังขาร ๕ ประการ การบรรลุ มรรคญาณ ประกอบด้วยสังขาร ๑๔ ประการ ผูปฏิบติวปัสสนากรรมฐานจนบรรลุมรรคญาณนี้ ถือว่าได้บรรลุโสดาปั ตติมรรคกลายเป็ น ้ ั ิ โสดาบันบุคคล มี คติที่แน่ นอนคือปิ ดอบายภูมิอย่างถาวรแล้วจะได้เกิดอีกอย่างมาก ๗ ครั้ง อย่าง น้อย ๑ ครั้งและจะเป็ นผูเ้ พรี ยบพร้อมสมบูรณ์ดวยศีล สมาธิ ปั ญญา เพรี ยบพร้อมด้วยโภคสมบัติทุก ้ ภพทุกชาติ ถ้าได้ตาแหน่งหรื อยศถาบรรดาศักดิ์ที่ชาวโลกนิยมกันก็จะได้ยศศักดิ์ที่สูงส่งและเลิศกว่า ํ คนอื่น พระพุทธพจน์ ในคัมภีร์ขททกนิกาย ธรรมบท ตรัสถึงอานิสงส์ของโสดาปั ตติผลว่า ุ “โสดาปั ตติผลประเสริ ฐกว่าความเป็ นเอกราชในแผ่นดิน กว่าการไปสู่สวรรค์ หรื อกว่าความเป็ นใหญ่ในโลกทั้งปวง” ๕๐ ๔๘ วิสุทฺธิ. (ไทย) ๘๐๔/๑๐๙๔-๑๐๙๕. ๔๙ ดูรายละเอียดใน วิสุทฺธิ. (ไทย) ๘๒๔/๑๑๑๒-๑๑๑๓. ๕๐ ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๑๗๘/๘๘.
  • 15. ๑๕ บรรณานุกรม ๑. ภาษาบาลี – ไทย : ก. ข้ อมูลปฐมภูมิ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิ ฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิ ฏกํ. กรุ งเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๐๐. __________. พระไตรปิ ฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุ งเทพมหานคร : โรง พิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙. __________. อรรถกถาบาลี ฉบับ มหาจุฬ าอฏฺ ฐกถา. กรุ ง เทพมหานคร : โรงพิม พ์ว ิญ ญาณ, ๒๔๙๙,๒๕๓๓-๒๕๓๔. มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิ ฎกพร้ อมอรรถกถาแปล. ชุด ๙๑ เล่ ม. กรุ งเทพมหานคร : โรงพิมพ์ มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๔. ข. ข้ อมูลทุติยภูมิ (๑) หนังสื อภาษาบาลี พระอนุ รุทธเถระ. อภิธมฺ มตฺ ถสงฺ คหปาลิย า สห อภิธมฺ มตฺ ถวิภาวินีนาม อภิธมฺมตฺ ถสงฺ คหฏีกา. กรุ งเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๘. (๒) หนังสื อภาษาไทย ขุนสรรพกิจโกศล (โกวิท ปั ทมะสุ นทร). ผูรวบรวม. คู่มือการศึกษาพระอภิธรรม ปริ จเฉทที่ 9 ้ ปกิณณกสั งคหวิภาค. ม.ป.ท., ม.ป.ป. บรรจบ บรรณรุ จิ. ปฏิจจสมุปบาท. พิม พ์ครั้งที่ ๓. กรุ งเทพมหานคร : โรงพิมพ์พรบุญการพิมพ์, ๒๕๓๘. ฐิตวณฺ โณ ภิกฺขุ (พิจิตร ฐิตวณฺ โณ). วิปัสสนาภาวนา. กรุ งเทพมหานคร : โรงพิมพ์สุทธิสารการ พิมพ์, ๒๕๓๑. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๒. กรุ งเทพมหานคร : นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชันส์, ๒๕๔๖. ่ ________. ปฏิจจสมุปบาท. กรุ งเทพมหานคร : สํานักพิมพ์ธรรมสภา, ม.ป.ป. ________. อิทัปปั จจยตา : ฉบับย่ อความจากชุ ดธรรมโฆษณ์ . กรุ งเทพมหานคร : สํานักพิม พ์ สุขภาพใจ, ๒๕๑๗.