SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 15
Descargar para leer sin conexión
ฉันทนา บรรพศิริโชติ การประชุมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ ๙ ๒๕๕๑
1
การสํารวจการสํารวจระดับระดับขันติธรรมในสามจังหวัดภาคใต้ขันติธรรมในสามจังหวัดภาคใต้
และและ นัยสําคัญต่อแนวโน้มการเมืองไทยนัยสําคัญต่อแนวโน้มการเมืองไทย0
11
ฉันทนา บรรพศิริโชติฉันทนา บรรพศิริโชติ
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
wwcchhaannttaannaa@@ggmmaaiill..ccoomm
บทนํา
การศึกษาขันติธรรมหรือความอดกลั้น หรือ ความทนกันได้ของประชาชน มีนัยสําคัญต่อการประเมิน
ความมีเสถียรภาพของประชาธิปไตย ขันติธรรมถือเป็นคุณค่าพื้นฐานที่สําคัญของการเมืองโดยเฉพาะเมื่อสังคม
ต้องเผชิญกับความตึงเครียดอันเนื่องมาจากความแตกต่างในสังคม เมื่อสังคมมีปัญหาความขัดแย้งและความ
รุนแรง การประเมินระดับขันติธรรมช่วยสะท้อนให้เห็นผลกระทบต่อความสามารถในการอยู่ร่วมกันของคนใน
สังคม ในทางกลับกันความคับแคบทางการเมืองเป็นความรุนแรงทางโครงสร้างประเภทหนึ่ง โดยเฉพาะเมื่อคน
กลุ่มน้อยไม่ได้รับการยอมรับจากคนกลุ่มใหญ่ การเลือกปฏิบัติอาจเกิดขึ้นได้
การประเมินขันติธรรมของประชาชนในสามจังหวัดภาคใต้ กระทําในช่วงเวลาที่เกิดความรุนแรงในพื้นที่
เป็นเวลาสืบเนื่องกันสองปีกว่าแล้ว ฉะนั้นเนื้อหาของคําถาม และ ประเด็นความเห็นจึงห้อมล้อมด้วยโจทย์
เกี่ยวกับความรุนแรงที่อาจส่งผลกระทบต่อความยึดมั่นในขันติธรรมของผู้คนในพื้นที่ โดยเปรียบเทียบกับที่อื่น ๆ
ที่อาจไม่ได้มีปรากฏการณ์ของความรุนแรงเกิดขึ้นใกล้ตัว
การสํารวจมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประเมินระดับขันติธรรมของคนในสามจังหวัดภาคใต้ เทียบเทียงกับ
พื้นที่อื่น และ หาความสัมพันธ์ของขันติธรรมกับเงื่อนไขพื้นฐานทางสังคม การเมือง และเงื่อนไขที่เป็น
สถานการณ์ชั่วคราว และ รวบรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับทางออกของปัญหาความรุนแรงที่เป็นอยู่
แม้ว่าการสํารวจระดับขันติธรรมจะเป็นงานบุกเบิกที่ได้อิทธิพลจากปัญหาความรุนแรงในสามจังหวัด
ชายแดนใต้ ก็ตามที กรอบการวิเคราะห์จากการสํารวจนี้อาจนําไปใช้เพื่อทําความเข้าใจกับเงื่อนไขพื้นฐานของ
ประชาธิปไตยในสังคมไทยโดยรวมได้ การสํารวจขั้นต้น สมควรได้รับการอภิปรายถกเถียง และ พัฒนาขึ้นไป
เป็นกรอบการสํารวจเพื่อตรวจสอบ และ ติดตามการเปลี่ยนแปลงของประชาธิปไตยในสังคมไทย โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งเมื่อมีปัญหาความขัดแย้งอันเนื่องมาจากความคิดเห็นที่แตกต่างจนนําไปสู่วิกฤตทางการเมืองที่เป็นอยู่
ในปัจจุบัน
กรอบความคิด
ความหมายของขันติธรรมคือการยอมรับผู้อื่นที่แม้ตนเองไม่ชอบหรือ เป็นฝ่ายตรงกันข้าม ให้มีสิทธิ
และ เสรีภาพ ได้เช่นเดียวกับตน ขันติธรรมอาจปรากฏอยู่ได้ในสามระดับ คือ ความคิด หรือหลักการ ทัศนคติ
หรือ ความเห็นเกี่ยวกับปัญหาบางเรื่อง พฤติกรรม คือการแสดงออกในการกระทําในสถานที่ และ เวลา ต่าง ๆ
1
ตัดตอนมาจากการสํารวจขัตติธรรมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๒๕๔๙ คณะผู้สํารวจประกอบด้วย ฉันทนา บรรพศิริโชติ ศรีสมภพ
จิตต์ภิรมย์ศรี นพดล กรรณิการ์ รัตนา จารุเบญ และ อมตา เลิศนาคร ได้รับทุนสนับสนุนจาก คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์
แห่งชาติ และ โครงการวิจัยบูรณาการ สภาวิจัยแห่งชาติ
ฉันทนา บรรพศิริโชติ การประชุมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ ๙ ๒๕๕๑
2
ในทางความเป็นจริง บางครั้งอาจพบว่าขันติธรรมไม่มีความสอดคล้องกันในระดับต่างๆ เสมอไปก็ได้ ในหลาย
กรณีระดับของขันติธรรมมีลักษณะเป็นภาวะชั่วคราวที่เป็นไปตามสถานการณ์ หรือ การไม่มีขันติธรรมอาจขึ้นอยู่
กับสถานการณ์เฉพาะบางอย่างก็ได้
ขันติธรรมเกี่ยวข้องกับเงื่อนไขหลายประการ ได้แก่ การยึดมั่นในประชาธิปไตย ชาตินิยมความรู้สึกพึง
พอใจในชีวิต ความมั่นใจหรือเชื่อมั่นในระบบการเมือง ความไว้วางใจในสังคม ความรู้สึกถูกคุกคาม
ประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนความรู้สึก เงื่อนไขเหล่านี้อาจจะช่วยอธิบายให้มีความเข้าใจเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับ
สภาวะของขันติธรรมของผู้คนท่ามกลางความรุนแรงในเวลานี้ แบบสอบถามมุ่งทดสอบความรู้สึกที่
สัมพันธ์ระหว่างคนส่วนใหญ่ในสังคมไทย กับคนส่วนน้อยในสามจังหวัดภาคใต้ที่มีชาติพันธุ์ มาลายู และ ถือ
ศาสนา มุสลิม
ระเบียบวิธีวิจัย
ขันติธรรมวัดได้ยาก เนื่องจากมีหลายระดับ ตั้งแต่ ความคิด ทัศนคติ และ พฤติกรรม ซึ่งอาจมีความไม่
สอดคล้องกันเองได้ ฉะนั้นขันติธรรมบางครั้งอาจมีลักษณะค่อนข้างชั่วครู่ชั่วยามแล้วแต่ว่าประเด็นนั้น ๆ
กระทบกระเทือนต่อความรู้สึกบางอย่างในขณะนั้นอย่างไร นอกจากนั้นการจะประเมินให้ใกล้เคียงกับ
ความรู้สึกนึกคิดที่แท้จริงของผู้คนได้นั้นยังต้องอาศัยกรณีปัญหาตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ
สถานการณ์ในขณะนั้น เพื่อลดการให้ความคิดเห็นแบบคาดเดาให้น้อยที่สุด
การประเมินขันติธรรมแบ่งเป็นสองส่วน คือ
1) ส่วนที่เป็นทัศนะพื้นฐานทั่วไปของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับอคติต่อกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมเดียวกัน การ
สํารวจอาศัยการระบุถึงกลุ่มที่ตนเองไม่ชอบ และ การยอมรับบทบาทของกลุ่มที่ตนเองไม่ชอบนั้น ในการ
ประเมินนี้ได้พยายามเทียบเคียงกลุ่มต่าง ๆ ที่มีลักษณะโดดเด่นทางสังคม การเมือง และ ลักษณะชาติพันธุ์ รวม
ไปถึงกลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนา
2) ส่วนที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งจะใช้กลุ่มคําถามเพื่อสะท้อนการยอมรับเงื่อนไขการอยู่
ร่วมกันระหว่างคนที่มีความแตกต่าง รวมทั้งความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
คําถามเปิดให้ผู้ตอบแสดงความคิดเห็นเป็นระดับความสําคัญ หรือ ระดับความรุนแรงของความรู้สึก
จากน้อยที่สุดไปจนถึงมากที่สุด 5 ระดับตามรูปแบบ Likert scale เพื่อนํามาคํานวณเป็นค่าตัวเลขที่สามารถวัด
ระดับความแตกต่างของคนกลุ่มต่าง ๆ ได้ เพื่อเทียบเคียงสถานการณ์ในสามจังหวัดภาคใต้ กับพื้นที่อื่น ๆ ที่ไม่
มีความรุนแรงเกิดขึ้นโดยตรงได้ จึงได้ทําการสํารวจในพื้นที่ควบคุมเพิ่มเติม ได้แก่ พื้นที่จังหวัดสงขลา สตูล และ
กทม. จํานวนตัวอย่างรวม ๓,๔๑๙ ราย และ ช่วงการสํารวจใน กรุงเทพมหานครอยู่ระหว่าง 19 ถึง 23 ตุลาคม
พ.ศ. 2548 พื้นที่ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่ระหว่างเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2548
ระดับขันติธรรม
เนื่องจากคุณค่าของการอดกลั้น หรือ ขันติธรรม เป็นคุณค่าขั้นตํ่าของประชาธิปไตย เพราะไม่ได้
คาดหวังความรักใคร่กลมเกลียวกันในสังคม เพียงแต่คาดหวังการยอมรับคนอื่นหรือกลุ่มอื่นในสังคมที่ตนเองไม่
ชอบให้มีโอกาส มีสิทธิ เสรีภาพเหมือนตน ประเด็นสําคัญของการประเมินขันติธรรมคือ การเลือกปฏิบัติ ต่อกลุ่ม
ที่ไม่ชอบ ฉะนั้นการวิเคราะห์และประเมินขันติธรรมได้ใช้ตัวแปรหลัก 3 ตัวแปร คือ การระบุกลุ่มที่ไม่ต้องการ
ฉันทนา บรรพศิริโชติ การประชุมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ ๙ ๒๕๕๑
3
เกี่ยวข้องด้วย หรือ ไม่ชอบ การยอมให้กลุ่มที่ตนเองไม่ชอบนั้นมีเสรีภาพในการแสดงออกเหมือนตน และ การ
เลือกปฏิบัติต่อกลุ่มที่ตนเองไม่ต้องการเกี่ยวข้องด้วย ประเมินจากการใช้มาตรการดําเนินการต่อกลุ่มต่างๆ เมื่อมี
ปัญหาเกิดขึ้น
นอกจากจะประเมินว่ากลุ่มตัวอย่างมีขันติธรรมต่อกลุ่มอื่นโดยทั่วไปอย่างไรแล้ว การวิเคราะห์ยัง
ต้องการประเมินเงื่อนไขชาติพันธุ์และกลุ่มที่อาจถูกมองว่าเกี่ยวพันกับปัญหาความรุนแรง ว่าจะได้รับการ
ประเมินจากกลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามแตกต่างไปจากกลุ่มไม่พึงปรารถนากลุ่มอื่น ๆ อย่างไร
กลุ่มที่ไม่ชอบ
ในขั้นแรกของการประเมินลักษณะปัญหาขันติธรรมของกลุ่มตัวอย่าง โครงการพยายามจะระบุว่าจะมี
กลุ่มคนกลุ่มใดที่ไม่เป็นที่พึงปรารถนาในทัศนะของตนหรือไม่ โดยยกตัวอย่างกลุ่มที่มีลักษณะความโดดเด่นที่
อาจจะแตกต่างไปจากคนทั่ว ๆ ไป และอาจเป็นเป้าของการมีอคติได้ง่าย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ กลุ่มที่มีความโดด
เด่นทางชาติพันธุ์ จุดยืนทางการเมือง และ สังคม ความมีลักษณะเฉพาะทางพฤติกรรมหรือความคิดเห็น และ
กลุ่มที่ดูเหมือนเป็นคนอื่นที่ไม่ใช่พวกเดียวกัน 1
2
ข้อมูลจากการสํารวจชี้ให้เห็นว่า คนมีความรู้สึกไม่ต้องการ
เกี่ยวข้องกับกลุ่มคนสามลักษณะ คือ
1) กลุ่มที่มีจุดยืนทางการเมือง หรือ วัฒนธรรมที่เป็นแบบสุดขั้ว อันได้แก่ กลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนา
ซ้ายจัด และ ขวาจัด
2) คนอื่นหรือ คนนอก ที่กําหนดโดยการเป็นคนต่างชาติ เช่น แรงงานต่างด้าว และ แม้แต่
ชาวตะวันตก และ
3) กลุ่มที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานของสังคมส่วนใหญ่ เช่น รักร่วมเพศ
กลุ่มตัวอย่างในแต่ละเขตมีปฏิกิริยาต่อคนสามประเภทนี้ทั้งเหมือนและแตกต่างกันในบางประเด็น
กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นสอดคล้องกันเมื่อระบุถึงกลุ่มที่ไม่อยากเกี่ยวข้องด้วยมากที่สุดคือกลุ่มหัวรุนแรงทาง
ศาสนา กลุ่มซ้ายจัด ขวาจัด ฉะนั้นประเด็นสําคัญที่อาจมีผลต่อระดับของความอดกลั้นจึงเป็นเรื่องของจุดยืน
ทางอุดมการณ์ และความเป็นคนอื่นที่วัดโดยการอพยพเข้ามาใหม่ในสังคมไทย เช่นแรงงานอพยพ มากกว่าเรื่อง
ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ สําหรับในพื้นที่สามจังหวัดที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่นั้น ประเด็นเรื่อง
บรรทัดฐานทางศาสนา และ สังคมยังเป็นเงื่อนไขที่สําคัญ โดยพิจารณาจากความเห็นที่ไม่ต้องการเกี่ยวข้องกับ
กลุ่มรักร่วมเพศ มาเป็นอันดับต้น ๆ
ข้อสรุปที่น่าสนใจ ก็คือ กลุ่มตัวอย่างไม่มีความรู้สึกรุนแรงต่อความแตกต่างทางชาติพันธุ์และศาสนา
โดยเฉพาะในพื้นที่สงขลา และ ปัตตานี ขณะที่คนในกทม. อาจจะมีความรู้สึกไม่ต้องการเกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติ
พันธุ์เช่น มลายูมุสลิมอยู่บ้าง แต่ก็ไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับความรู้สึกต่อกลุ่มอื่น ๆ
2
การถามความเห็นในเรื่องนี้ได้หลีกเลี่ยงการใช้คําถามว่าชอบหรือไม่ชอบโดยตรง แต่ใช้เงื่อนไขของความเกี่ยวข้องด้วยเป็น
ตัวกําหนด ซึ่งอาจจะไม่สามารถอธิบายความรู้สึกได้สมบูรณ์ เพราะอาจจะมีสาเหตุอื่นที่ไม่ต้องการเกี่ยวข้องกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
โดยที่ไม่ได้มาจากเหตุผลที่ไม่ชอบโดยตรง อย่างไรก็ดี การไม่ต้องการเกี่ยวข้องดัวยนั้นน่าจะสะท้อนความมีอคติต่อกลุ่มนั้นใน
ระดับหนึ่งระดับใด
ฉันทนา บรรพศิริโชติ การประชุมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ ๙ ๒๕๕๑
4
ตารางที่ 1 การระบุประเภทกลุ่มคนที่ไม่ต้องการเกี่ยวข้องด้วย
ประเภทกลุ่ม
พื้นที่การศึกษา
รวม
กรุงเทพฯ สงขลา/สตูล สามจังหวัด
% นํ้าหนัก % นํ้าหนัก % นํ้าหนัก % นํ้าหนัก
พวกหัวรุนแรงทางศาสนา 57.8 2.2 56.1 2.3 48.3 2.1 55.1 2.2
พวกแรงงานต่างด้าว พม่า
เขมรฯ
49.9 2.2 53.6 2.3 44.9 2.1 49.3 2.2
พวกรักร่วมเพศ 43.1 1.8 36.8 1.9 49.8 2.1 43.7 2.0
พวกฝรั่งตะวันตก 35.7 1.9 40.0 2.0 36.2 1.9 36.6 1.9
พวกซ้ายจัด 51.1 2.0 34.0 1.8 30.4 1.5 42.8 1.9
พวกขวาจัด 42.2 1.9 35.5 1.9 30.9 1.7 38.1 1.9
พวกติดเชื้อเอดส์ 28.2 1.7 24.6 1.8 38.5 1.9 30.2 1.8
พวกคนนอกศาสนา / ศาสนา
อื่น
32.9 1.7 20.5 1.7 20.5 1.5 27.5 1.6
พวกคนจีนรุ่นเก่า 18.8 1.3 14.9 1.5 15.6 1.2 17.3 1.4
พวกคนในเครื่องแบบ 14.4 1.5 5.8 1.5 8.4 1.3 11.3 1.4
พวกเรียกร้องสิทธิสตรี 14.4 1.3 9.2 2.0 11.1 1.2 12.7 1.3
พวกมลายูมุสลิม 23.0 1.4 8.5 1.4 5.6 1.0 16.1 1.3
ค่าเฉลี่ยรวมทุกกลุ่ม 1.76 1.71 1.60 1.70
ทีมา % ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามในแต่ละพื้นที่ ที่ไม่ต้องการเกี่ยวข้องกับกลุ่มที่ระบุ
ค่านํ้าหนัก คํานวณจากค่าเฉลี่ยคะแนนรวมที่ผู้ตอบแบบสอบถามประเมินให้แต่ละกลุ่ม คะแนนทั้งหมดมี 4 ระดับ
ได้แก่ ไม่ต้องการเกี่ยวข้องด้วยทุกกรณี (3) เกี่ยวข้องเฉพาะที่จําเป็น (2) ไม่แน่ใจ (1) ไม่มีข้อจํากัด (0) คะแนน 0
สะท้อนความเปิดกว้างต่อกลุ่มนั้น คะแนนเฉลี่ยที่ใกล้เคียงกับ 0 มากที่สุดสะท้อนการเปิดกว้างมากที่สุดต่อกลุ่มที่
ระบุ
การประเมินคะแนนเฉลี่ยรวมทุกกลุ่มทําให้เข้าใจในภาพรวมได้ว่าระดับของความรู้สึกที่อาจนําไปสู่
อคติมีความแตกต่างกันบ้างในสามพื้นที่ ประเภทของกลุ่มคนที่กลุ่มตัวอย่างสะท้อนระดับของการมีอคติต่อสูง
กว่ากลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ กลุ่มแรงงานต่างด้าว กลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนา และกลุ่มอุดมการณ์ซ้าย ในพื้นที่สาม
จังหวัดดูเหมือนว่าจะมีข้อจํากัดในการเกี่ยวข้องกับกลุ่มอื่น ๆ น้อยกว่า ซึ่งอาจจะมาจากความไม่ชัดเจนในความ
คิดเห็นของตนเองด้วย ถ้าหากประเมินจากลักษณะการตอบคําถามจะพบว่า กลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ กทม.
จะมีความเห็นชัดเจนเกี่ยวกับกลุ่มที่ไม่ต้องการเกี่ยวข้องด้วย เนื่องจากมีสัดส่วนของคําตอบอยู่ในระดับสูงกว่า
ร้อยละ 50 โดยเฉพาะกลุ่มที่แสดงจุดยืนทางอุดมการณ์และการเมืองที่ชัดเจน ข้อน่าสังเกตก็คือ ประเด็นเรื่อง
ชาติพันธุ์ เช่น มลายู หรือ จีน นั้นไม่ได้เป็นประเด็นสําคัญ ค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับตํ่ากว่าเรื่องอื่น ๆ
การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพุทธ และ มุสลิม มีลักษณะใกล้เคียงกับการเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่
กล่าวคือ สัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นมุสลิมและแสดงทัศนะไม่ต้องการเกี่ยวข้องกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอย่าง
ฉันทนา บรรพศิริโชติ การประชุมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ ๙ ๒๕๕๑
5
ชัดเจนนั้นน้อยกว่าค่าเฉลี่ย ตีความได้ว่ากลุ่มตัวอย่างมุสลิม มีข้อจํากัดในปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มอื่น ๆ น้อยกว่า
เมี่อเปรียบเทียบกับกลุ่มพุทธ (คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 1.68 และ 1.72 ตามลําดับ)
เมื่อประเมินลงไปในประเภทของกลุ่มที่ไม่ชอบ ก็จะพบว่ามีความแตกต่างกันเพิ่มขึ้นอีกในระหว่างพุทธ
กับมุสลิม คนพุทธไม่ชอบกลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนาอย่างมาก (ร้อยละ 62.6) ส่วนคนมุสลิมมีความรู้สึกปฏิเสธ
กลุ่มรักร่วมเพศมากที่สุด (ร้อยละ 50)
ความอดกลั้นต่อกลุ่มที่ไม่ชอบ
การไม่ชอบกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ในสังคมที่มีความหลากหลาย อาจจะไมได้เป็นเรื่องที่ผิดปกติเท่าไรนัก
ประเด็นสําคัญคือการยอมให้คนที่ตนเองไม่ชอบนั้นมีเสรีภาพเช่นเดียวกับตนได้หรือไม่ ผู้วิจัยจึงได้ทดสอบ
ความรู้สึกอีกระดับหนึ่งในเรื่องการยอมรับกลุ่มคนที่ตนไม่ชอบ โดยตั้งคําถามว่าจะสามารถยอมรับให้กลุ่มที่ตน
ไม่ชอบหรือไม่อยากเกี่ยวข้องด้วยนั้น ให้มีบทบาทในสังคม-การเมืองได้หรือไม่
แม้ว่ากลุ่มตัวอย่างจะไม่ค่อยมีความมั่นใจในการการระบุกลุ่มที่ตนเองไม่ชอบ โดยพิจารณาจากจํานวน
ผู้ระบุกลุ่มที่ไม่ชอบมีไม่เกินร้อยละ 60 ของผู้ตอบแบบสอบถาม ผลการสํารวจชี้ให้เห็นว่าสัดส่วนของการไม่
ยอมรับกลุ่มที่ตนเองไม่ชอบนั้นอยู่ในระดับสูง คือไม่ตํ่ากว่า ร้อยละ 60 และในบางกลุ่ม การไม่ยอมรับสูงถึงกว่า
ร้อยละ 90
การประเมินการยอมรับบทบาทของกลุ่มที่ตนเองไม่ชอบนั้นเป็นการทดสอบที่นอกเหนือจากการไม่
ชอบกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในระดับที่เป็นเรื่องส่วนตัว การสํารวจพุ่งความสนใจไปที่การยอมรับบทบาททางสังคมและ
การเมืองของคนที่ไม่ชอบ เนื่องจากสามารถสะท้อนประเด็นของการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มที่ตนเองไม่ชอบได้ชัดเจน
กว่า
การประเมินการยอมรับกลุ่มอื่น หรือ การประเมินความอดกลั้นนี้เจาะจงเฉพาะกลุ่มที่ได้ระบุเอาไว้ว่า
ไม่ต้องการเกี่ยวข้องกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ ฉะนั้นจึงไม่ได้เป็นภาพรวมของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด จํานวนผู้
แสดงความเห็นที่ไม่ต้องการเกี่ยวข้องกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะมีอยู่ประมาณ ไม่เกินร้อยละ 57 (ร้อยละ
สูงสุดของกลุ่มที่ไม่ต้องการเกี่ยวข้องด้วย)
ข้อมูลที่ได้แสดงว่าโดยภาพรวมแล้วกลุ่มตัวอย่างยอมรับคนที่ตนเองไม่ชอบในระดับตํ่าคือเฉลี่ยแล้วไม่
เกินร้อยละ 20 ในทุกพื้นที่สํารวจ และ กลุ่มตัวอย่างมีความรู้สึกต่อกลุ่มที่ไม่ชอบไปในทางเดียวกันเป็นส่วนใหญ่
จะแตกต่างกันในระดับของการเปิดกว้าง โดยที่คนในกทม. สามารถที่จะยอมรับกลุ่มที่ไม่ชอบได้มากกว่าคนใน
พื้นที่อื่น ดังจะเห็นได้จากระดับการยอมรับกลุ่มต่าง ๆ สูงกว่าโดยเปรียบเทียบ ในทางตรงกันข้าม กลุ่มตัวอย่าง
ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้แสดงให้เห็นว่าสัดส่วนของการยอมรับบทบาทของกลุ่มที่ไม่ชอบอยู่ในระดับตํ่าสุด
เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่อื่น
ฉันทนา บรรพศิริโชติ การประชุมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ ๙ ๒๕๕๑
6
ตารางที่ 2 สัดส่วนการยอมรับบทบาทของกลุ่มที่ไม่ชอบ (ร้อยละ)
กลุ่ม
สัดส่วนการยอมรับบทบาทของกลุ่มที่ไม่ชอบ
พื้นที่ศึกษา ศาสนา
ภาพรวม
กทม สงขลา
สาม
จังหวัด
อิสลาม พุทธ
พวกเรียกร้องสิทธิสตรี 43.0 39.6 27.5 33.7 43.2 39.0
พวกในเครื่องแบบ 36.3 33.3 28.3 28.8 38.6 33.0
พวกติดเชื้อเอดส์ 30.0 23.4 20.1 24.1 27.1 25.8
พวกคนจีนรุ่นเก่า 27.3 19.2 23.1 24.7 25.1 25.1
พวกมลายูมุสลิม 23.8 18.6 33.3 39.0 20.8 24.1
พวกรักร่วมเพศ 19.7 19.3 9.5 13.0 20.6 16.6
พวกคนนอกศาสนา 11.8 19.6 13.6 12.0 13.2 13.2
พวกฝรั่งตะวันตก 11.7 6.2 7.9 8.3 10.2 9.7
พวกขวาจัด 10.3 9.7 5.5 10.6 8.0 9.3
พวกหัวรุนแรงทางศาสนา 9.6 9.1 7.4 10.4 8.1 9.0
พวกซ้ายจัด 7.8 9.6 7.4 8.1 7.7 8.0
พวกแรงงานต่างด้าว 9.0 3.5 3.9 6.5 6.7 6.7
สัดส่วนเฉลี่ยรวมทุกกลุ่ม 20.0 17.6 15.6 18.4 19.1 18.3
ที่มา คํานวณจากร้อยละของผู้ที่ยอมรับบทบาทผู้ที่ไม่ต้องการเกี่ยวข้องด้วย
ตารางที่ ๒ เป็นการแสดงร้อยละของการไม่ยอมรับบทบาทของกลุ่มที่แต่ละคนไม่ต้องการเกี่ยวข้อง
ด้วย รายชื่อกลุ่มที่แสดงในตารางทุกกลุ่มมีผู้แสดงความเห็นว่าไม่ต้องการเกี่ยวข้องด้วยในระดับที่แตกต่างกันไป
(ดู ตารางที่ ๑) ข้อมูลตารางนี้ต้องการประเมินว่ามีการยอมรับกลุ่มที่ระบุว่าไม่ต้องการเกี่ยวข้องด้วยนั้นในระดับ
ใด เมื่อกลับไปดูข้อมูลกลุ่มที่ไม่ต้องการเกี่ยวข้องด้วยมากที่สุดในตารางที่ 17 จะพบว่า คนใน กทม. ไม่ต้องการ
เกี่ยวข้องกับกลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนา มากที่สุด เช่นเดียวกับคนในพื้นที่สงขลา เมื่อประเมินระดับการยอมรับ
บทบาทของกลุ่มนี้พบว่า สัดส่วนการยอมรับตํ่ามาก คือประมาณร้อยละ 9 ในทั้งสองพื้นที่ แต่ที่น่าสนใจก็คือ
กลุ่มที่ได้รับการยอมรับในสัดส่วนที่ตํ่าสุดคือกลุ่มแรงงานต่างด้าว แบบแผนการแสดงความเห็นของคน กทม.
และ สงขลามีความคล้ายคลึงกันกับคนในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ ตรงที่ว่ากลุ่มที่ถูกระบุว่าไม่ต้องการเกี่ยวข้อง
ด้วยมากที่สุดคือ กลุ่มคนรักร่วมเพศ ยังได้รับการยอมรับในสัดส่วนที่สูงกว่าบางกลุ่ม อันได้แก่ กลุ่มแรงงานต่าง
ด้าว แทนที่กลุ่มตัวอย่างจะระบุการไม่ยอมรับกลุ่มที่ตนเองไม่ต้องการเกี่ยวข้องด้วยมากที่สุด เช่น กลุ่มรักร่วม
เพศ กลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนา เขากลับไปแสดงความเห็นว่าไม่ต้องการยอมรับกลุ่มอื่นมากกว่า คือ กลุ่ม
แรงงานต่างด้าว แสดงว่าการไม่ชอบกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นเรื่องส่วนบุคคล และไม่ได้นํามาเกี่ยวข้องกับโจทย์เรื่อง
การมีบทบาททางสังคมและการเมืองโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในสามจังหวัดภาคใต้
ฉันทนา บรรพศิริโชติ การประชุมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ ๙ ๒๕๕๑
7
ในขณะที่ภาพรวมของความคิดเห็นในพื้นที่สํารวจทั้งสามพื้นที่มีแบบแผนไปในทางเดียวกัน ข้อ
แตกต่างก็ยังมีอยู่ โดยดูจากการให้การยอมรับบทบาทของกลุ่มที่ตนเองอาจจะไม่ชอบนั้นแตกต่าง ซึ่งมีส่วน
สะท้อนให้เห็นอคติของกลุ่มตัวอย่างในแต่ละพื้นที่ กล่าวคือ กลุ่มเรียกร้องสิทธิสตรีได้รับการยอมรับสูงสุดใน
กทม. และ สงขลา แต่ได้รับการยอมรับน้อยในสามจังหวัด เช่นเดียวกัน กับกลุ่มมลายูมุสลิมได้รับการยอมรับสูง
ในสามจังหวัด และ กลุ่มมุสลิม แต่ไม่ได้รับการยอมรับสูงเท่าไรใน กทม ในพื้นที่สงขลา และ ในกลุ่มคนพุทธ
ทิศทางการแสดงความเห็นเกี่ยวกับการยอมรับกลุ่มที่ไม่ชอบสะท้อนให้เห็นแบบแผนบางอย่างใน
ความสัมพันธ์ทางสังคม
ประการแรก กลุ่มตัวอย่างไม่มีข้อจํากัดเฉพาะเจาะจงต่อการยอมรับบทบาทของกลุ่มชาติพันธุ์และ
ศาสนา เพราะสัดส่วนการยอมรับกลุ่มที่ไม่ชอบที่มีพื้นฐานทางศาสนาและชาติพันธุ์อยู่ในระดับที่เทียบเคียงกับ
กลุ่มอื่น ๆ ได้ ภายในกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่เดียวกัน จะเห็นได้ว่าสัดส่วนการยอมรับ กลุ่มคนมลายู-มุสลิม และ
คนจีนอยู่เหนือระดับค่าเฉลี่ยของภาพรวม แม้ไม่ได้มาเป็นอันดับต้น ๆ
ประการที่สอง กลุ่มคนที่มีฐานะตํ่าสุดคือแรงงานต่างด้าว ต่อมาคือกลุ่มที่มีจุดยืนทางการเมืองแบบสุด
ขั้ว อันได้แก่ ซ้ายจัด ขวาจัด และ กลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนา นัยของข้อมูลน่าจะบ่งชี้ว่ากลุ่มดังกล่าวถูกประเมิน.
ให้เป็นกลุ่มที่ไม่มีที่ยืนทางสังคม
ประการที่สาม รูปแบบการแสดงความคิดเห็นต่อกลุ่มคนที่ตนไม่ชอบและการยอมรับบทบาทของกลุ่ม
นั้น สะท้อนว่ากลุ่มตัวอย่างมีการแยกแยะความหมายของความเป็น “คนอื่น” ที่เป็นคนต่างชาติ ออกจาก คน
ต่างศาสนาและชาติพันธุ์ในสังคมเดียวกัน ซึ่งน่าจะเป็นแนวโน้มที่ดีสําหรับการทําความเข้าใจเพื่อสร้างความ
สมานฉันท์ และ เพื่อให้ความสําคัญกับตัวแปรอื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจากปัญหาทัศนะของความเกลียดชังระหว่าง
กลุ่มชาติพันธุ์ และ ศาสนา แต่ทั้งนี้ยังคงต้องพึงระวังการขยายตัวของปัญหาความหวาดระแวงคนต่างชาติ
(xenophobia) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศตะวันตกบางประเทศ
เมื่อวิเคราะห์ต่อไปอีกโดยเลือกคําถามที่เกี่ยวข้องกับ การหามาตรการลงโทษสําหรับคนต่างกลุ่มกัน
หากมีการกระทําผิดเกิดขึ้น เป้าหมายก็เพื่อตรวจสอบการเลือกปฏิบัติบนเงื่อนไขความแตกต่างทางศาสนา และ
ชาติพันธุ์ โดยอาศัยสถานการณ์จําลองที่ผู้ตอบต้องตัดสินใจ
ประเด็นเรื่องอาชญากรรม หรือ การลงโทษผู้กระทําความผิดนั้น เป็นเส้นแบ่งขีดจํากัดของขันติธรรม
หรืออีกนัยหนึ่ง คือการมีขันติธรรมไม่ได้หมายความว่าจะต้องอดกลั้น หรือ ทนอยู่ได้กับการละเมิดกฏหมาย
ประเด็นน่าจะอยู่ที่การเลือกปฏิบัติกับกลุ่มที่ทําความผิดและบังเอิญเป็นกลุ่มที่ตนองอาจจะไม่ชอบ
แบบสอบถามได้คละเคล้าคนหลายกลุ่มเข้าด้วยกันเพื่อให้ระบุความแตกต่างในการใช้มาตรการต่อกลุ่มต่าง ๆ
เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการกระทําความผิด
การประเมินคําถามดังกล่าวพุ่งความสําคัญไปที่กลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนา โดยให้กลุ่มตัวอย่างแสดง
ความคิดเห็นเปรียบเทียบการใช้มาตรการแก้ปัญหากลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ กับกลุ่มที่ก่อปัญหาอื่น ๆ นั้นจะมีการ
แสดงความคิดเห็นที่เลือกปฏิบัติหรือไม่ ความเห็นของกลุ่มตัวอย่างทั้งในกทม. และ ในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ทั้ง
สองพื้นที่ ไม่สะท้อนว่ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในสามจังหวัดภาคใต้
เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่อาจก่อปัญหาอื่น ๆ แล้ว คนยังเห็นว่ามีกลุ่มที่อาจก่อปัญหาอื่น ๆ ที่ผู้ตอบ
แบบสอบถามเห็นว่าควรใช้มาตรการรุนแรงมากกว่า เช่น ผู้ค้ายาเสพติด กลุ่มผู้มีอิทธิพล และ คอร์รัปชั่น
(ภาคผนวก ตารางที่ 37)
ฉันทนา บรรพศิริโชติ การประชุมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ ๙ ๒๕๕๑
8
โดยสรุปแล้วการวิเคราะห์เรื่องการยอมรับบทบาทของกลุ่มที่ไม่ชอบ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงระดับ
ขันติธรรมที่เป็นเรื่องพื้นเพของผู้คนในการเลือกติดต่อกับคนอื่น ซึ่งอาจจะมาจากประสบการณ์ และ การเรียนรู้
เกี่ยวกับภาพพจน์ของกลุ่มต่าง ๆ การวิเคราะห์เรื่องการยอมรับบทบาทของคนที่ไม่ชอบมีนัยเป็นการประเมิน
อคติ ต่อกลุ่มที่ตนเองอาจจะไม่ชอบ โดยสภาพปกติแล้วผู้คนไม่น่าจะมีเงื่อนไขกําหนดไว้ก่อนในการที่จะมีท่าที
ต่อกลุ่มตาง ๆที่บังเอิญ อาจจะไม่ชอบ หากผู้ตอบแบบสอบถามใช้เงื่อนไขว่า “ไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวในทุกกรณี” กับ
กลุ่มบางกลุ่มแล้ว ถือว่ามีความโน้มเอียงไปในทางอคติ ซึ่งสมควรที่จะสืบสาวต่อไปถึงการยอมรับกลุ่มที่ระบุว่า
ไม่ต้องการเกี่ยวข้องด้วยนั้น ทั้งนี้เพื่อให้สามารถทําความเข้าใจได้มากขึ้นในแบบแผนการเปิดกว้างต่อการอยู่
ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลาย การสํารวจมุ่งทําความเข้าใจในสถานการณ์สองระดับ คือ การประเมิน
อคติขั้นต้น และ การประเมินการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มที่ไม่ชอบ ผลการวิเคราะห์สะท้อนว่า กลุ่มตัวอย่างมี
แนวโน้มที่จะมีอคติต่อคนบางกลุ่ม ซึ่งสะท้อนออกมาจากการระบุว่าไม่ต้องการเกี่ยวข้องด้วย และ การไม่ยอมรับ
บทบาททางสังคม และ การเมืองของกลุ่มที่ไม่ชอบ แต่แนวโน้มการมีอคติต่อคนบางกลุ่มไม่ได้มาจากเงื่อนไข
ของความแตกต่างทางชาติพันธุ์และศาสนามากเท่ากับ การมีอคติต่อ “คนอื่น” ที่เป็นคนต่างชาติ โดยเฉพาะที่มี
สถานภาพทางเศรษฐกิจตํ่า เช่น แรงงานต่างด้าว นอกจากนั้นแล้วแบบแผนของการไม่ยอมรับกลุ่มอื่น
ครอบคลุมไปถึง กลุ่มที่มีจุดยืนทางการเมือง และ ศาสนา แบบสุดขั้ว เช่น ซ้ายจัด ขวาจัด และ กลุ่มศาสนาหัว
รุนแรง ข้อสรุปนี้สอดคล้องกับทัศนะต่อการใช้มาตรการลงโทษผู้กระทําความผิด ซึ่งมักจะไม่ยอมรับการกระทํา
ความผิดที่เป็นปัญหาฝังลึกในสังคมไทย เช่น ยาเสพติด กลุ่มอิทธิพล และ คอร์รับชั่น ดูเหมือนว่ากลุ่มตัวอย่าง
ไม่ได้มีปฏิกิริยารุนแรงต่อลักษณะของการกระทําผิดที่อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมือง และ ความมั่นคง โดยที่
คนส่วนใหญ่เห็นว่าควรมีความยืดหยุ่น การมีพื้นฐานทางอคติของกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่การสํารวจนั้นมีความ
แตกต่างกัน โดยที่คน กทม. มีทัศนะเปิดกว้างต่อคนกลุ่มต่างๆ มากกว่าคนในพื้นที่สงขลา และ สามจังหวัด
อย่างไรก็ดีขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่มีแนวโน้มมีอคติต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนั้นมีไม่มาก เมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วน
ต่อประชากรทั้งหมดอยู่ในระดับไม่เกินร้อยละ 10
ขันติธรรมในสถานการณ์ของความขัดแย้ง
ขันติธรรมในระดับต่อมาคือ ความสามารถอดกลั้น หรือ ทนต่อกลุ่มที่มีความคิดเห็นไม่เหมือนตน หรือ
มีอัตลักษณ์ที่แตกต่างไป โดยประเมินจากทัศนะ และ ความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เป็นปัญหา ทิศทางของ
คําถามเป็นการทดสอบความเป็นไปได้ของการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างทางศาสนาและวัฒนธรรม
และ เน้นความเปิดกว้างให้กับกลุ่มอื่นที่ไม่เหมือนตนในสังคมเดียวกัน รวมไปถึงความหวาดระแวงคนอื่นด้วย
แนวคําถามสําหรับข้อนี้ได้ขยายความหมายของขันติธรรมออกไปอีก โดยมองถึง ความใจกว้าง ที่มาก
ไปกว่าความอดกลั้น และ ความเชื่อในความหลากหลายทางวัฒนธรรมในฐานะเป็นคุณค่าระดับสูงของการอยู่
ร่วมกัน ซึ่งอาจจะแตกต่างจากการสํารวจขันติธรรมในที่อื่นที่เน้นแค่คุณค่าขั้นพื้นฐานของการอดทนต่อกันใน
สังคมประชาธิปไตยเท่านั้น
ขันติธรรมสะท้อนออกมาให้เห็นถึงการยอมรับความเสมอภาคระหว่างกลุ่มที่แตกต่างทางศาสนาและ
ชาติพันธุ์ รวมไปถึงการยึดมั่นในหลักการและทางเลือกระดับบุคคลและสังคมในการเผชิญกับกลุ่มอื่นที่แตกต่าง
แม้ว่าผู้วิจัยตั้งใจแยกแยะการประเมินออกเป็นสามมิติคือ ความคิด ทัศนคติ และ พฤติกรรม แต่ในทางปฏิบัติ
คําถามหนึ่ง ๆ จะมีลักษณะผสมผสานมิติต่าง ๆ ซึ่งบางครั้งยากแก่การแยกแยะให้ชัดเจน
ฉันทนา บรรพศิริโชติ การประชุมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ ๙ ๒๕๕๑
9
ผู้ตอบแบบสอบถามจะให้นํ้าหนักคําตอบของตนเอง 5 ระดับ ระดับที่กลุ่มตัวอย่างมีความรู้สึกรุนแรง
ที่สุดต่อประเด็นคําถามมากที่สุดคือระดับ 5 ถ้าผู้ตอบแบบสอบถามยอมเปิดกว้างให้กับความคิดในการยอมรับ
และ อยู่ร่วมกับคนอื่นในแง่มุมต่าง ๆ ตามประเด็นคําถามได้โดยไม่มีเงื่อนไขแล้วแสดงว่าผู้ตอบแบบสอบถามมี
ขันติธรรมอยู่ในระดับสูงสุด (ระดับ 5 คะแนน)
ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ยระดับขันติธรรมตามพื้นที่ และ การนับถือศาสนา
ประเด็นความคิดเห็นเกี่ยวกับ
การมีขันติธรรม
พื้นที่การศึกษา การนับถือ
ศาสนา
ภาพรวม
กรุงเทพฯ สงขลา 3 จังหวัด มุสลิม พุทธ
1. ความรู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่ร่วมกับคน
อื่น
3.04 2.86 2.93 3.04 2.93 2.98
2.สิทธิในการได้รับสัญชาติของผู้ที่อยู่มา
นาน
3.29 3.05 3.17 3.23 3.22 3.22
3. การสนับสนุนการศึกษาระดับสูงแก่
ศาสนา
3.56 3.73 3.90 4.02 3.38 3.68
4. การเอื้อให้นักเรียนต่างศาสนาเรียน
ร่วมกัน
3.69 3.88 4.10 4.21 3.50 3.83
5. เลือกโรงเรียนที่ไม่ปะปนทางศาสนา 3.18 3.09 3.18 3.19 3.14 3.16
6 สอนประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของ
คนเชื้อชาติกลุ่มน้อยในโรงเรียน
3.68 3.75 3.90 3.91 3.61 3.75
7. หลักประกันสิทธิ และเสรีภาพในการ
นับถือศาสนา และการใช้ภาษา
3.75 3.92 3.99 4.00 3.71 3.85
8.การใช้ภาษาท้องถิ่นควบคู่กับภาษาไทย 3.71 3.82 3.80 3.88 3.64 3.75
9. สส.เป็นตัวแทนหลายเชื้อชาติ –
ภาษา
3.02 3.23 3.10 3.22 2.94 3.07
10. วันหยุดตามประเพณีที่แตกต่าง 3.44 3.72 3.67 3.74 3.29 3.55
11. เขตพิเศษทางประวัติศาสตร์และ
วัฒนธรรม สําหรับสามจังหวัดภาคใต้
3.36 3.47 3.52 3.58 3.23 3.42
ค่าเฉลี่ยรวมระดับขันติธรรม 3.43 3.50 3.57 3.64 3.34 3.48
ที่มา - คํานวณจากค่าเฉลี่ยรวมของความเห็น 5 ระดับ จากเห็นด้วยมากที่สุด (5) ไปจนถึงไม่เห็นด้วยที่สุด (1)
- ความหมายของค่าเฉลี่ยระดับขันติธรรม มี 5 ระดับ มีขันติธรรมมากที่สุด (5) มีขันติธรรม (4) ค่อนข้างมีขันติ ธรรม (3) ไม่
มีขันติธรรม(2) ไม่มีขันติธรรมที่สุด (1)
- ทดสอบสถิติค่าเฉลี่ยระหว่างพื้นที่ และ ศาสนา ด้วย Mann-Whitney Test ระดับนัยสําคัญที่ 0.000
ฉันทนา บรรพศิริโชติ การประชุมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ ๙ ๒๕๕๑
10
ในการคํานวณหาค่าระดับขันติธรรมนั้นผู้วิจัยได้ตัดคําถามบางข้อที่เกี่ยวข้องกับอคติต่อคนมุสลิม
โดยตรง เนื่องจากมีเนื้อหาที่พาดพิงให้ประโยชน์แก่กลุ่มมุสลิม คะแนนขันติธรรมที่นํามาวัดจึงเป็นค่าเฉลี่ยรวม
ของคําถามแต่ละข้อ จํานวนรวม 11 ข้อ ที่ผู้ตอบแบบสอบถามแต่ละคนเลือกตอบ ผลการคิดค่าเฉลี่ยของคะแนน
รวมพบว่ามีความแตกต่างกันในระดับของขันติธรรมของกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ กับ อีกสองพื้นที่
คือ สงขลา และ กทม.
โดยทั่วไปแล้วความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างในทั้งสามพื้นที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ความแตกต่างอยู่
ที่ระดับของการสนับสนุนขันติธรรม การมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันหมายความว่าผู้ตอบส่วนใหญ่มักจะ
เห็นด้วยกับหลักการของการปฏิบัติต่อกลุ่มอื่นอย่างเสมอภาค และ เห็นความสําคัญของการเรียนรู้ความเป็นมา
ของคนกลุ่มน้อย ค่าเฉลี่ยของคะแนนคําตอบอยู่ระดับสูงเมื่อเทียบกับคําตอบอื่น ๆ ได้แก่ เห็นด้วยกับการที่
สถานศึกษาจะอํานวยความสะดวกให้นักเรียนต่างศาสนาเรียนร่วมกันได้ เห็นด้วยกับการสนับสนุนการศึกษา
ระดับสูงของศาสนาต่าง ๆ และ เห็นด้วยกับการให้โรงเรียนสอนประวัติศาสตร์ และ วัฒนธรรมของเชื้อชาติอื่น
ด้วย
กล่าวได้ว่าภายใต้สถานการณ์เฉพาะของสามจังหวัด กลุ่มตัวอย่างโดยรวมแล้วมีขันติธรรมอยู่ในระดับ
ปานกลาง หรือ ค่อนข้างมีขันติธรรม คะแนนเฉลี่ยของคนในพื้นที่สามจังหวัดแตกต่างจาก กทม. และ
สงขลา อย่างมีนัยสําคัญ ซึ่งสอดคล้องกับการเปรียบเทียบคะแนนความแตกต่างระหว่างคนมุสลิมกับคนพุทธ
โดยทั่วไป แต่ทว่าเนื่องจากระดับของความแตกต่างไม่สูงเกินไปนัก ประกอบกับ แนวคําถามซึ่งเน้นหนัก
เกี่ยวกับปัญหาในสามจังหวัดภาคใต้เป็นพิเศษ การตีความระดับความแตกต่างของขันติธรรมจึงอาจจะค่อนข้าง
จํากัด แต่อย่างน้อยข้อสรุปที่สามารถยืนยันได้ก็คือข้อเท็จจริงที่ว่า คนมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ไม่ได้ขาดขันติธรรมอย่างที่อาจจะมีคนจํานวนหนึ่งเข้าใจ เพราะเชื่อว่ามีอิทธิพลของกลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนา
ตารางที่ 4 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยขันติธรรม กับความแตกต่างทาง เพศ และ ระดับการศึกษา
ตัวแปร ค่ามัธยฐานขันติธรรม ค่าความสัมพันธ์ ระดับนัยสําคัญ
เพศหญิง 3.55 -0.0047 0.851
เพศชาย 3.55
การศึกษาน้อย 3.45 0.0855 0.0000
การศึกษาปานกลาง 3.50
การศึกษาสูง 3.55
ที่มา ทดสอบระดับความแตกต่างระหว่างเพศ และ ระดับการศึกษา ด้วย Mann-Whitney Testที่ระดับนัยสําคัญ .0.05
และทดสอบค่าเฉลี่ยขันติธรรมกับเพศและระดับการศึกษาด้วย person ที่ระดับนัยสําคัญที่ 0.05
นอกจากนั้นยังได้วิเคราะห์เพิ่มเติมถึงระดับขันติธรรมกับเพศ การศึกษา และ อายุ ของกลุ่มตัวอย่าง
ผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า ระดับของขันติธรรมมีความสัมพันธ์กับระดับการศึกษา และ อายุ แต่ไม่มี
ความสัมพันธ์กับเพศ สําหรับกลุ่มอายุนั้น ระดับขันติธรรมมีความสัมพันธ์ไปในทางตรงข้ามกับกลุ่มอายุ คือ
กลุ่มที่อยู่ในช่วงหนุ่มสาวมีระดับขันติธรรมมากกว่ากลุ่มอายุที่มากขึ้น (pearson correlation -0.0511 sig 0.002)
ฉันทนา บรรพศิริโชติ การประชุมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ ๙ ๒๕๕๑
11
การประเมินระดับขันติธรรมมีข้อน่าสังเกตบางประการกล่าวคือ ระดับของขันติธรรมเมื่อประเมินจาก
ข้อจํากัดในการยอมรับกลุ่มอื่น ที่ตนเองอาจจะไม่ชอบนั้น คนในสามจังหวัดภาคใต้มีขีดจํากัดมากกว่า แต่เมื่อ
ประเมินระดับขันติธรรมจากเงื่อนไขของสถานการณ์ สังคมและการเมืองในเวลาปัจจุบัน จะพบว่า คนในสาม
จังหวัดภาคใต้มีระดับความอดกลั้นสูงกว่า ซึ่งสะท้อนถึงระดับความอดกลั้นของคนมุสลิมโดยรวมด้วย คําอธิบาย
น่าจะอยู่ที่ลักษณะของความสัมพันธ์ที่มีความซับซ้อนของ คนมลายู-มุสลิมในฐานะเป็นคนส่วนน้อยในสังคม แต่
เป็นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การประเมินขันติธรรมจากแนวคําถามที่เกี่ยวข้องกับ
ปัญหาความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้สะท้อนให้เห็นว่า ในสามจังหวัดซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนมลายู-มุสลิมนั้นมี
ความอดกลั้นสูงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับคนพุทธ ซึ่งมีฐานะเป็นคนกลุ่มน้อย และ อยู่ในภาวะที่มีเงื่อนไขกดดัน
ขันติธรรมกับเงื่อนไขทางสังคม และ การเมือง
เมื่อนําคะแนนของขันติธรรมมาหาค่าความสัมพันธ์กับกลุ่มตัวแปรอื่น ๆ จะพบว่า คนมีขันติธรรม
อย่างไรนั้นอาจเกี่ยวข้องกับเงื่อนไขต่าง ๆ ดังแสดงไว้ในตารางที่ 21 ระดับของขันติธรรมมีความสัมพันธ์กับกลุ่ม
ของตัวแปรที่เป็นเงื่อนไขทางสังคมและการเมืองในขณะที่ทําการสํารวจซึ่งไม่ได้ผิดไปจากสมมติฐานที่ใช้เป็น
กรอบในการร่างแบบสอบถาม ซึ่งลักษณะของความสัมพันธ์ดังกล่าวมีส่วนทําให้ขันติธรรมในบางครั้งเป็นเรื่อง
ชั่วคราว ซึ่งสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางสังคมและการเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนั้น
ในบรรดาตัวแปรที่ได้ทําการทดสอบนั้นมีเพียงกลุ่มตัวแปรเดียว คือ ระดับความรู้สึกถูกคุกคามอัน
เนื่องมาจากการรับรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ความรุนแรง ที่พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับระดับของขันติธรรม การวัด
ระดับความรู้สึกว่าถูกคุกคามจากภัยอันตรายของความรุนแรงหรือไม่นั้นโดยการประเมินความเชื่อถือข่าวสารที่
อาจส่งผลกระทบกระเทือนต่อความรู้สึกของแต่ละคน แท้จริงแล้วไม่ได้ส่งผลต่อการเปิดกว้างในการยอมรับผู้อื่น
ดังที่ได้คาดไว้ในตอนต้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะระดับในความเชื่อในข่าวนั้นค่อนข้างตํ่า และข่าวที่เชื่อว่าเป็นจริงมี
เพียง ไม่กี่เรื่อง คือ คนบริสุทธิ์ถูกฆ่ารายวัน ก็เป็นความเห็นที่สอดคล้องกันในทุกพื้นที่
การทดสอบสถิติข้างต้นชี้ให้เห็นว่ามีกลุ่มตัวแปรเพียงกลุ่มเดียวที่การทดสอบระดับความสัมพันธ์ไม่มี
นัยสําคัญทางสถิติ ได้แก่ ความรู้สึกถูกคุกคามจากการเชื่อในข่าว กลุ่มตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางตรง
ข้ามกับระดับของขันติธรรมคือ ความเป็นชาตินิยม-ยึดมั่นผลประโยชน์แห่งชาติ และ การมีอคติไม่ต้องการ
เกี่ยวข้องกับคนบางกลุ่ม ถ้ามีความรักในผลประโยชน์แห่งชาติสูง และ ถ้ามีอคติไม่ต้องการเกี่ยวข้องกับคนอื่น
สูง ระดับขันติธรรมจะตํ่า ซึ่งก็เป็นข้อสรุปที่เป็นไปตามหลักการทั่วไป
ตารางที่ 5 ขันติธรรมกับเงื่อนไขทางสังคม และ การเมือง
เงื่อนไขสังคม และการเมือง Pearson Correlation ระดับนัยสําคัญ
ความพอใจในชีวิต 0.0574 0.0008
ยึดมั่นคุณค่าประชาธิปไตย** 0.204 0.0000
ความคิดเกี่ยวกับสังคมในอนาคต** 0.1663 0.0000
ความไว้วางใจในสังคม 0.1026 0.0000
ความเชื่อมั่นในการเมือง 0.1187 0.0000
ความเห็นเกี่ยวกับทางออกของปัญหา 0.4399 0.0000
ความเป็นชาตินิยม-ผลประโยชน์ของชาติ - 0.0388 0.0000
ความรู้สึกถูกคุกคามจากข่าว -0.0234 0.1742
ฉันทนา บรรพศิริโชติ การประชุมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ ๙ ๒๕๕๑
12
ความรู้เกี่ยวกับท้องถิ่น 0.0514 0.0033
อคติต่อกลุ่มที่ไม่ชอบ -0.1587 0.0000
การยอมรับกลุ่มที่ไม่ชอบ 0.1023 0.0000
ตัวแปรที่มีระดับความสัมพันธ์ค่อนข้างสูงกับระดับของขันติธรรมคือ ความเห็นเกี่ยวกับทางออกของปัญหา
สามจังหวัด ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าขันติธรรมเปิดโอกาสให้มองเห็นทางเลือกอื่นได้
โดยทั่วไปผู้ตอบแบบสอบถามไม่ให้นํ้าหนักกับการตอบคําถามเรื่องการแก้ปัญหาเท่าไรนัก ยกเว้น กลุ่ม
ตัวอย่างในพื้นที่ปัตตานี ถึงกระนั้นก็ตามเมื่อเปรียบเทียบลําดับความสําคัญของแนวทางในการแก้ไขปัญหา
อย่างกว้าง ๆ บนฐานของร้อยละที่มีผู้เห็นด้วยมากที่สุดพบว่า กลุ่มตัวอย่างในทุกพื้นที่ต้องการให้ขจัดกลุ่ม
อิทธิพลเป็นอันดับแรก เฉพาะในพื้นที่สงขลา และ ปัตตานี ความต้องการเห็นการแก้ปัญหาเรื่องนี้มีสัดส่วนสูงถึง
ร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับข้อเสนอทางออกอื่น แล้วข้อนี้มีผู้ให้ความสําคัญอย่างมาก กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับขันติ
ธรรมสูงกว่า สะท้อนให้เห็นการเปิดรับการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีอื่น ๆ ได้มากกว่า เช่น การส่งเสริมการกระจาย
อํานาจ การใช้ภาษาท้องถิ่น การส่งเสริมการเรียนทางศาสนา เป็นต้น ขณะที่กลุ่มคนที่มีระดับของขันติธรรมตํ่า
กว่าได้เลือกทางออกที่เป็นเงื่อนไขที่อาจก่อให้เกิดความรุนแรงเพิ่มขึ้น เช่น การปราบปรามอย่างเด็ดขาด
ขันติธรรมกับการประเมินแนวโน้มทางการเมือง
ขันติธรรมในปัญหาความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
หลังจากที่เหตุการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมากว่า ๒ ปี ก่อนที่จะมี
การสํารวจความคิดเห็นนี้คําถามที่เกิดขึ้นต่อมาก็คือ ความรุนแรงนั้นส่งผลต่ออย่างไรต่อความรู้สึกของการอยู่
ร่วมกันบนความแตกต่างของผู้คนในพื้นที่ ความรู้สึกเหล่านั้นจะมีนัยสําคัญอย่างไรต่อการแสวงหาแนวทางใน
การแก้ไขปัญหาสถานการณ์ในสามจังหวัด คนในสามจังหวัดจะเปิดกว้างต่อทางออกของการอยู่ร่วมกันใน
สังคมได้ในระดับใด
ความหมายของขันติธรรมที่ใช้ในการสํารวจ คือคุณค่าขั้นพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตยที่คนในสังคม
ยอมให้ผู้อื่น หรือ กลุ่มอื่นมีสิทธิ เสรีภาพได้เช่นเดียวกับตน แม้ว่าคนอื่นนั้นจะเป็นคนที่ตนเองไม่ชอบก็ตาม ทั้งๆ
ที่ตนเองอยู่ในฐานะที่จะยับยั้งผู้อื่นนั้นได้ เรียกว่าเป็นความใจกว้างทางการเมือง ขันติธรรมนั้นไม่ได้เรียกร้องให้
คนเปลี่ยนแปลง สิ่งที่ตนเองเชื่อและปฏิบัติตามหลักศาสนาและประเพณี หรือ จุดยืนทางการเมือง แต่เน้นไปที่
การยอมรับผู้อื่นอย่างที่เขาเป็น และ ไม่ขัดขวางเสรีภาพในการแสดงออกของฝ่ายอื่นที่ไม่ชอบ โดยทั่วไปแล้ว
กลุ่มที่คนไม่ชอบมักจะเป็นกลุ่มน้อยที่แตกต่างไปจากคนส่วนใหญ่ ประเด็นที่น่าวิตกสําหรับกรณีสามจังหวัด
ภาคใต้ คือความแตกต่างทางศาสนาและชาติพันธุ์ และ ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นของสถานการณ์
เฉพาะ ที่นํามาใช้ตรวจสอบการภาวะของความทนกันดั
การประเมินขันติธรรมมีสองระดับ ๑) ระดับที่เป็นเรื่องพื้นฐานโดยทั่วไปเกี่ยวกับกลุ่มที่ไม่ชอบ และการ
ยอมรับสิทธิของกลุ่มที่ไม่ชอบนั้น และ ๒) ระดับที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่กําลังเป็นปัญหาอยู่
ภาพรวมโดยทั่วไปแล้วคนในพื้นที่ที่มีการสํารวจทั้งสามพื้นที่ ยังมีขีดจํากัดในการยอมรับผู้อื่นที่ตนเองไม่ชอบ
แต่เมื่อประเมินการเปิดกว้างในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรณีปัญหาความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้ พบว่าการเปิด
กว้างโดยทั่วไปอยู่ในระดับปานกลาง และมีความแตกต่างระหว่างคนในพื้นที่สามจังหวัดกับพื้นที่อื่น โดยที่คนใน
สามจังหวัดเปิดกว้างมากกว่าเล็กน้อย อาจตีความได้ว่าสถานการณ์ความรุนแรงมีผลกระทบต่อคนอื่น ๆ ที่อยู่
ฉันทนา บรรพศิริโชติ การประชุมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ ๙ ๒๕๕๑
13
นอกพื้นที่มากกว่า คือคนนอกพื้นที่รู้สึกว่ามันเป็นภัยคุกคามมากกว่า ส่งผลให้ไม่เปิดกว้างต่อการยอมรับสิทธิ
เสรีภาพในพื้นที่เท่าไรนัก โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับทัศนะของคนในพื้นที่เอง สถานการณ์ความรุนแรง
ส่งผลต่อคนพุทธมากกว่าคนมลายูมุสลิม และทําให้ไม่เปิดกว้างต่อเงื่อนไขของสิทธิเสรีภาพ
อย่างไรก็ตามระดับขันติธรรมที่เป็นผลมาจากการอยู่ภายใต้สถานการณ์เฉพาะอาจไม่ถาวร และ มีการ
เปลี่ยนแปลงไปได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ความยึดมั่นในความเป็นประชาธิปไตย ความไว้วางใจทางสังคม ความเชื่อมั่น
ในระบบการเมือง ความคิดเห็นเกี่ยวกับสังคมในอนาคต และ ความพอใจในชีวิต หากกลุ่มตัวอย่างมี
คุณลักษณะข้างต้นสูง ก็จะทําให้เขาเป็นคนเปิดกว้างได้มากตามไปด้วย
เนื่องจากการแปรเปลี่ยนของระดับขันติตามขึ้นอยู่กับการรับรู้เรื่องภัยคุกคาม หากผู้คนเห็นว่า
สถานการณ์ใดเป็นภัยคุกคาม โอกาสที่เขาจะเปิดกว้างยอมรับฝ่ายอื่นก็จะน้อยลง ฉะนั้นการวิเคราะห์ตัวแปร
สําคัญอีกกลุ่มหนึ่งที่น่าจะมีส่วนกําหนดระดับของขันติธรรมคือ การรู้สึกถูกคุกคามจากเหตุการณ์ผ่านการรับสื่อ
ผลจากการสํารวจไม่พบความสัมพันธ์ของกลุ่มตัวแปรนี้กับระดับขันติธรรม ในระดับภาพรวมแม้ว่าจะไม่พบ
ความสัมพันธ์กับระดับของขันติธรรมอย่างมีนัยสําคัญ แต่เมื่อวิเคราะห์เป็นตัวแปรแต่ละตัวแล้วพบว่า ระดับขันติ
ธรรมสัมพันธ์กับบางตัวแปร การเชื่อว่าข่าวบางข่าวเป็นจริง ได้แก่ เยาวชนมุสลิมใช้ความรุนแรง การแบ่งแยก
ดินแดน เจ้าหน้าที่เป็นต้นเหตุความรุนแรง การร่วมมือกับทางราชการอาจถูกฆ่า ประชาชนถูกอุ้ม การขึ้นบัญชี
ดํา คนพุทธถูกกดดัน การเชื่อในข่าวดังกล่าวอาจทําให้เกิดความรู้สึกถูกคุกคาม และ ส่งผลให้ระดับของขันติ
ธรรมลดลง พฤติกรรมการรับข่าวสารของคนในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันซึ่งอาจส่งผลต่อการรับรู้ความเป็น
จริงที่แตกต่างกัน คนใน กทม. และ พื้นที่สงขลา อาศัยสื่อมวลชน เป็นหลัก ขณะที่คนในพื้นที่สามจังหวัดอาศัย
แหล่งข่าวที่ค่อนข้างเป็นทางการ ทั้งจากผู้นํา และ สถาบันศาสนา ระดับความรู้สึกถูกคุกคามจากการรับข่าวจึงมี
น้อยกว่าในพื้นที่อื่น ฉะนั้นแหล่งข่าว และ พฤติกรรมการรับข่าวสารก็เป็นส่วนหนึ่งของตัวแปรของความรู้สึกถูก
คุกคาม
ระดับของขันติธรรมที่แตกต่างกันส่งผลต่อการเลือกทางออกของปัญหาที่แตกต่างกัน อาทิ ทางออกที่
ใช้ความรุนแรงตอบโต้ เด็ดขาด ทางออกที่ใช้การบริหารจัดการภายใต้ระบบที่เป็นอยู่ ทางออกที่เปิดกว้างไปสู่
ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ คนในสามจังหวัดภาคใต้ซึ่งมีระดับการเปิดกว้างสูงกว่าในสถานการณ์เฉพาะนี้มีแนวโน้ม
ตอบสนองต่อการปฏิรูป และ การแสวงหาทางเลือกใหม่ ๆมากกว่า
การส่งเสริมให้เกิดขันติธรรมหรือความใจกว้างทางการเมืองเป็นคุณค่าขั้นตํ่า (พื้นฐาน) ในระบบ
ประชาธิปไตย เงื่อนไขที่มีส่วนทําให้พลเมืองมีความคิดเปิดกว้างมากขึ้น ในทางหลักการแล้วขึ้นอยู่กับระดับ
การศึกษาในระบบของพลเมือง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมสังคมและการเมือง และ การตระหนักรู้เกี่ยวกับสิทธิ
และ หน้าที่ของท้องถิ่น ผลการสํารวจสะท้อนว่า การมีส่วนร่วมของประชาชน และ การตระหนักรู้ในสิทธิและ
หน้าที่ของท้องถิ่นยังอยู่ในระดับตํ่า กล่าวคือประชาชนไม่มีประสบการณ์ในการทํางานสาธารณะร่วมกัน และ
ไม่เข้าถึงเงื่อนไขความเป็นไปได้ของการปกครองท้องถิ่นเพียงพอ ส่วนประเด็นเรื่องการศึกษานั้น กลุ่มตัวอย่าง
ของการสํารวจพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการศึกษาในระบบอยู่แล้ว ประเด็นที่ว่าระบบการศึกษาเช่นใดจะ
เป็นที่ยอมรับกันได้จําเป็นต้องวิเคราะห์ลงในรายละเอียดในการศึกษาต่อๆไป
การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับทางออกไม่สมํ่าเสมอกันในสามพื้นที่ ใน กทม. และ พื้นที่สงขลา กลุ่ม
ตัวอย่างแสดงความเห็นไม่มากนัก ซึ่งแตกต่างจากคนในพื้นที่สามจังหวัดมีการแสดงความคิดเห็นต่อทางออก
มากกว่า ข้อเสนอที่มีผู้เสนอมามากที่สุด (เฉพาะมีผู้ตอบมากกว่า ร้อยละ 20 ขึ้นไป) เรียงตามาลําดับจากมากไป
น้อย คือ ขจัดกลุ่มอิทธิพล คัดเลือกคนดีมาทํางานในพื้นที่ ถอนทหารออกจากพื้นที่ ส่งเสริมการศึกษาทาง
9. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-59
9. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-59

Más contenido relacionado

Destacado

การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง
การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง
การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองTaraya Srivilas
 
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือ
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือจากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือ
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือTaraya Srivilas
 
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าTaraya Srivilas
 
เนื้อใน สันติสุข-New
เนื้อใน สันติสุข-Newเนื้อใน สันติสุข-New
เนื้อใน สันติสุข-NewTaraya Srivilas
 
บทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนี
บทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนีบทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนี
บทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนีTaraya Srivilas
 
ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคม
ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคมส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคม
ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคมTaraya Srivilas
 
ฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุง
ฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุงฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุง
ฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุงTaraya Srivilas
 
การปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็น
การปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็นการปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็น
การปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็นTaraya Srivilas
 
พุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
พุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยพุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
พุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยTaraya Srivilas
 
ความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมือง
ความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมืองความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมือง
ความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมืองTaraya Srivilas
 
กล้า ทำ ดี 1(1)
กล้า ทำ ดี 1(1)กล้า ทำ ดี 1(1)
กล้า ทำ ดี 1(1)Taraya Srivilas
 
สรุปถอดบทเรียน 4ส6 เข้ากรรมการ 1
สรุปถอดบทเรียน 4ส6 เข้ากรรมการ 1สรุปถอดบทเรียน 4ส6 เข้ากรรมการ 1
สรุปถอดบทเรียน 4ส6 เข้ากรรมการ 1Taraya Srivilas
 
การปฎิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ
การปฎิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจการปฎิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ
การปฎิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจTaraya Srivilas
 
อยุธยา เมืองมรดกโลก
อยุธยา เมืองมรดกโลกอยุธยา เมืองมรดกโลก
อยุธยา เมืองมรดกโลกTaraya Srivilas
 
การบริหารท้องถิ่น
การบริหารท้องถิ่นการบริหารท้องถิ่น
การบริหารท้องถิ่นTaraya Srivilas
 
อนาคตของความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอาเซียน
อนาคตของความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอาเซียน อนาคตของความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอาเซียน
อนาคตของความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอาเซียน Taraya Srivilas
 

Destacado (18)

การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง
การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง
การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง
 
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือ
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือจากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือ
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือ
 
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
 
เนื้อใน สันติสุข-New
เนื้อใน สันติสุข-Newเนื้อใน สันติสุข-New
เนื้อใน สันติสุข-New
 
บทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนี
บทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนีบทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนี
บทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนี
 
ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคม
ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคมส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคม
ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคม
 
Framework 4ส6
Framework 4ส6Framework 4ส6
Framework 4ส6
 
ฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุง
ฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุงฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุง
ฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุง
 
การปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็น
การปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็นการปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็น
การปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็น
 
พุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
พุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยพุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
พุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
 
ความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมือง
ความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมืองความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมือง
ความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมือง
 
กล้า ทำ ดี 1(1)
กล้า ทำ ดี 1(1)กล้า ทำ ดี 1(1)
กล้า ทำ ดี 1(1)
 
สรุปถอดบทเรียน 4ส6 เข้ากรรมการ 1
สรุปถอดบทเรียน 4ส6 เข้ากรรมการ 1สรุปถอดบทเรียน 4ส6 เข้ากรรมการ 1
สรุปถอดบทเรียน 4ส6 เข้ากรรมการ 1
 
การปฎิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ
การปฎิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจการปฎิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ
การปฎิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ
 
สเปน
สเปนสเปน
สเปน
 
อยุธยา เมืองมรดกโลก
อยุธยา เมืองมรดกโลกอยุธยา เมืองมรดกโลก
อยุธยา เมืองมรดกโลก
 
การบริหารท้องถิ่น
การบริหารท้องถิ่นการบริหารท้องถิ่น
การบริหารท้องถิ่น
 
อนาคตของความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอาเซียน
อนาคตของความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอาเซียน อนาคตของความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอาเซียน
อนาคตของความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอาเซียน
 

Similar a 9. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-59

สันติธานี
สันติธานีสันติธานี
สันติธานีTaraya Srivilas
 
พัฒนาทางการเมือง
พัฒนาทางการเมืองพัฒนาทางการเมือง
พัฒนาทางการเมืองpailinsarn
 
ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1Taraya Srivilas
 
9789740335498
97897403354989789740335498
9789740335498CUPress
 
การเมืองในองค์การ
การเมืองในองค์การการเมืองในองค์การ
การเมืองในองค์การบะห์ บาตู
 
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง da
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม  และการเมือง daL3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม  และการเมือง da
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง daSaiiew
 
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัตน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัตน์ : บทเรียนต่อประเทศไทยยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัตน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัตน์ : บทเรียนต่อประเทศไทยKlangpanya
 
สถาบันนิยมใหม่กับการศึกษารัฐธรรมนูญ (New Institutionalism and Constitution)
สถาบันนิยมใหม่กับการศึกษารัฐธรรมนูญ (New Institutionalism and Constitution)สถาบันนิยมใหม่กับการศึกษารัฐธรรมนูญ (New Institutionalism and Constitution)
สถาบันนิยมใหม่กับการศึกษารัฐธรรมนูญ (New Institutionalism and Constitution)Weera Wongsatjachock
 
สื่อเลือกข้างผิดหลักจริยธรรมหรือเปล่า
สื่อเลือกข้างผิดหลักจริยธรรมหรือเปล่าสื่อเลือกข้างผิดหลักจริยธรรมหรือเปล่า
สื่อเลือกข้างผิดหลักจริยธรรมหรือเปล่าSoraj Hongladarom
 
ขบวนการรัฐอิสลาม (Islamic State ; IS) ในฐานะตัวแสดงระหว่างประเทศ : นัยต่อโลก ...
ขบวนการรัฐอิสลาม (Islamic State ; IS) ในฐานะตัวแสดงระหว่างประเทศ : นัยต่อโลก ...ขบวนการรัฐอิสลาม (Islamic State ; IS) ในฐานะตัวแสดงระหว่างประเทศ : นัยต่อโลก ...
ขบวนการรัฐอิสลาม (Islamic State ; IS) ในฐานะตัวแสดงระหว่างประเทศ : นัยต่อโลก ...Klangpanya
 
En401 314-english for political scientists 1
En401 314-english for political scientists 1En401 314-english for political scientists 1
En401 314-english for political scientists 1Yota Bhikkhu
 
รายงานความก้าวหน้างานวิจัย เรื่อง (ขบวนการ) รัฐอิสลาม ในฐานะตัวแสดงระหว่างประ...
รายงานความก้าวหน้างานวิจัย เรื่อง (ขบวนการ) รัฐอิสลาม ในฐานะตัวแสดงระหว่างประ...รายงานความก้าวหน้างานวิจัย เรื่อง (ขบวนการ) รัฐอิสลาม ในฐานะตัวแสดงระหว่างประ...
รายงานความก้าวหน้างานวิจัย เรื่อง (ขบวนการ) รัฐอิสลาม ในฐานะตัวแสดงระหว่างประ...Klangpanya
 
Km subject speciallistsocial-020654
Km subject speciallistsocial-020654Km subject speciallistsocial-020654
Km subject speciallistsocial-020654Gritiga Soonthorn
 
Team thailand ร่วมออกแบบประเทศไทย
Team thailand ร่วมออกแบบประเทศไทยTeam thailand ร่วมออกแบบประเทศไทย
Team thailand ร่วมออกแบบประเทศไทยPoramate Minsiri
 
Ambush southern th
Ambush southern thAmbush southern th
Ambush southern thTeeranan
 
สังคม
สังคมสังคม
สังคมMint Minny
 

Similar a 9. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-59 (20)

สันติธานี
สันติธานีสันติธานี
สันติธานี
 
พัฒนาทางการเมือง
พัฒนาทางการเมืองพัฒนาทางการเมือง
พัฒนาทางการเมือง
 
ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1
 
9789740335498
97897403354989789740335498
9789740335498
 
BNW ในสังคมไทย
BNW ในสังคมไทยBNW ในสังคมไทย
BNW ในสังคมไทย
 
รวมเล่ม (1)
รวมเล่ม (1)รวมเล่ม (1)
รวมเล่ม (1)
 
การเมืองในองค์การ
การเมืองในองค์การการเมืองในองค์การ
การเมืองในองค์การ
 
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง da
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม  และการเมือง daL3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม  และการเมือง da
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง da
 
สรุปคำบรรยายหลังเรียน (ผศ.พิมล)
สรุปคำบรรยายหลังเรียน (ผศ.พิมล)สรุปคำบรรยายหลังเรียน (ผศ.พิมล)
สรุปคำบรรยายหลังเรียน (ผศ.พิมล)
 
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัตน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัตน์ : บทเรียนต่อประเทศไทยยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัตน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัตน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
 
สถาบันนิยมใหม่กับการศึกษารัฐธรรมนูญ (New Institutionalism and Constitution)
สถาบันนิยมใหม่กับการศึกษารัฐธรรมนูญ (New Institutionalism and Constitution)สถาบันนิยมใหม่กับการศึกษารัฐธรรมนูญ (New Institutionalism and Constitution)
สถาบันนิยมใหม่กับการศึกษารัฐธรรมนูญ (New Institutionalism and Constitution)
 
สื่อเลือกข้างผิดหลักจริยธรรมหรือเปล่า
สื่อเลือกข้างผิดหลักจริยธรรมหรือเปล่าสื่อเลือกข้างผิดหลักจริยธรรมหรือเปล่า
สื่อเลือกข้างผิดหลักจริยธรรมหรือเปล่า
 
ขบวนการรัฐอิสลาม (Islamic State ; IS) ในฐานะตัวแสดงระหว่างประเทศ : นัยต่อโลก ...
ขบวนการรัฐอิสลาม (Islamic State ; IS) ในฐานะตัวแสดงระหว่างประเทศ : นัยต่อโลก ...ขบวนการรัฐอิสลาม (Islamic State ; IS) ในฐานะตัวแสดงระหว่างประเทศ : นัยต่อโลก ...
ขบวนการรัฐอิสลาม (Islamic State ; IS) ในฐานะตัวแสดงระหว่างประเทศ : นัยต่อโลก ...
 
En401 314-english for political scientists 1
En401 314-english for political scientists 1En401 314-english for political scientists 1
En401 314-english for political scientists 1
 
ปัญหาสังคม
ปัญหาสังคมปัญหาสังคม
ปัญหาสังคม
 
รายงานความก้าวหน้างานวิจัย เรื่อง (ขบวนการ) รัฐอิสลาม ในฐานะตัวแสดงระหว่างประ...
รายงานความก้าวหน้างานวิจัย เรื่อง (ขบวนการ) รัฐอิสลาม ในฐานะตัวแสดงระหว่างประ...รายงานความก้าวหน้างานวิจัย เรื่อง (ขบวนการ) รัฐอิสลาม ในฐานะตัวแสดงระหว่างประ...
รายงานความก้าวหน้างานวิจัย เรื่อง (ขบวนการ) รัฐอิสลาม ในฐานะตัวแสดงระหว่างประ...
 
Km subject speciallistsocial-020654
Km subject speciallistsocial-020654Km subject speciallistsocial-020654
Km subject speciallistsocial-020654
 
Team thailand ร่วมออกแบบประเทศไทย
Team thailand ร่วมออกแบบประเทศไทยTeam thailand ร่วมออกแบบประเทศไทย
Team thailand ร่วมออกแบบประเทศไทย
 
Ambush southern th
Ambush southern thAmbush southern th
Ambush southern th
 
สังคม
สังคมสังคม
สังคม
 

Más de Taraya Srivilas

การบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
การบริหารความขัดแย้ง บยส แจกการบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
การบริหารความขัดแย้ง บยส แจกTaraya Srivilas
 
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจกนโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจกTaraya Srivilas
 
โปสเตอร์สัญญาประชาคม
โปสเตอร์สัญญาประชาคมโปสเตอร์สัญญาประชาคม
โปสเตอร์สัญญาประชาคมTaraya Srivilas
 
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6Taraya Srivilas
 
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงานการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงานTaraya Srivilas
 
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชนแนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชนTaraya Srivilas
 
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว แจก
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว  แจกสันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว  แจก
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว แจกTaraya Srivilas
 
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69Taraya Srivilas
 
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจสันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจTaraya Srivilas
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webสถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webTaraya Srivilas
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webสถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webTaraya Srivilas
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 Taraya Srivilas
 
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทยการสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทยTaraya Srivilas
 
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิงสถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิงTaraya Srivilas
 
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้Taraya Srivilas
 
บทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคตบทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคตTaraya Srivilas
 
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุขบทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุขTaraya Srivilas
 
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่Taraya Srivilas
 
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าTaraya Srivilas
 

Más de Taraya Srivilas (20)

การบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
การบริหารความขัดแย้ง บยส แจกการบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
การบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
 
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจกนโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
 
โปสเตอร์สัญญาประชาคม
โปสเตอร์สัญญาประชาคมโปสเตอร์สัญญาประชาคม
โปสเตอร์สัญญาประชาคม
 
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
 
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงานการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
 
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชนแนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
 
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว แจก
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว  แจกสันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว  แจก
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว แจก
 
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
 
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจสันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webสถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webสถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
 
American first muslim
American first muslimAmerican first muslim
American first muslim
 
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทยการสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
 
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิงสถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
 
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
 
บทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคตบทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคต
 
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุขบทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
 
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
 
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
 

9. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-59

  • 1. ฉันทนา บรรพศิริโชติ การประชุมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ ๙ ๒๕๕๑ 1 การสํารวจการสํารวจระดับระดับขันติธรรมในสามจังหวัดภาคใต้ขันติธรรมในสามจังหวัดภาคใต้ และและ นัยสําคัญต่อแนวโน้มการเมืองไทยนัยสําคัญต่อแนวโน้มการเมืองไทย0 11 ฉันทนา บรรพศิริโชติฉันทนา บรรพศิริโชติ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย wwcchhaannttaannaa@@ggmmaaiill..ccoomm บทนํา การศึกษาขันติธรรมหรือความอดกลั้น หรือ ความทนกันได้ของประชาชน มีนัยสําคัญต่อการประเมิน ความมีเสถียรภาพของประชาธิปไตย ขันติธรรมถือเป็นคุณค่าพื้นฐานที่สําคัญของการเมืองโดยเฉพาะเมื่อสังคม ต้องเผชิญกับความตึงเครียดอันเนื่องมาจากความแตกต่างในสังคม เมื่อสังคมมีปัญหาความขัดแย้งและความ รุนแรง การประเมินระดับขันติธรรมช่วยสะท้อนให้เห็นผลกระทบต่อความสามารถในการอยู่ร่วมกันของคนใน สังคม ในทางกลับกันความคับแคบทางการเมืองเป็นความรุนแรงทางโครงสร้างประเภทหนึ่ง โดยเฉพาะเมื่อคน กลุ่มน้อยไม่ได้รับการยอมรับจากคนกลุ่มใหญ่ การเลือกปฏิบัติอาจเกิดขึ้นได้ การประเมินขันติธรรมของประชาชนในสามจังหวัดภาคใต้ กระทําในช่วงเวลาที่เกิดความรุนแรงในพื้นที่ เป็นเวลาสืบเนื่องกันสองปีกว่าแล้ว ฉะนั้นเนื้อหาของคําถาม และ ประเด็นความเห็นจึงห้อมล้อมด้วยโจทย์ เกี่ยวกับความรุนแรงที่อาจส่งผลกระทบต่อความยึดมั่นในขันติธรรมของผู้คนในพื้นที่ โดยเปรียบเทียบกับที่อื่น ๆ ที่อาจไม่ได้มีปรากฏการณ์ของความรุนแรงเกิดขึ้นใกล้ตัว การสํารวจมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประเมินระดับขันติธรรมของคนในสามจังหวัดภาคใต้ เทียบเทียงกับ พื้นที่อื่น และ หาความสัมพันธ์ของขันติธรรมกับเงื่อนไขพื้นฐานทางสังคม การเมือง และเงื่อนไขที่เป็น สถานการณ์ชั่วคราว และ รวบรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับทางออกของปัญหาความรุนแรงที่เป็นอยู่ แม้ว่าการสํารวจระดับขันติธรรมจะเป็นงานบุกเบิกที่ได้อิทธิพลจากปัญหาความรุนแรงในสามจังหวัด ชายแดนใต้ ก็ตามที กรอบการวิเคราะห์จากการสํารวจนี้อาจนําไปใช้เพื่อทําความเข้าใจกับเงื่อนไขพื้นฐานของ ประชาธิปไตยในสังคมไทยโดยรวมได้ การสํารวจขั้นต้น สมควรได้รับการอภิปรายถกเถียง และ พัฒนาขึ้นไป เป็นกรอบการสํารวจเพื่อตรวจสอบ และ ติดตามการเปลี่ยนแปลงของประชาธิปไตยในสังคมไทย โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเมื่อมีปัญหาความขัดแย้งอันเนื่องมาจากความคิดเห็นที่แตกต่างจนนําไปสู่วิกฤตทางการเมืองที่เป็นอยู่ ในปัจจุบัน กรอบความคิด ความหมายของขันติธรรมคือการยอมรับผู้อื่นที่แม้ตนเองไม่ชอบหรือ เป็นฝ่ายตรงกันข้าม ให้มีสิทธิ และ เสรีภาพ ได้เช่นเดียวกับตน ขันติธรรมอาจปรากฏอยู่ได้ในสามระดับ คือ ความคิด หรือหลักการ ทัศนคติ หรือ ความเห็นเกี่ยวกับปัญหาบางเรื่อง พฤติกรรม คือการแสดงออกในการกระทําในสถานที่ และ เวลา ต่าง ๆ 1 ตัดตอนมาจากการสํารวจขัตติธรรมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๒๕๔๙ คณะผู้สํารวจประกอบด้วย ฉันทนา บรรพศิริโชติ ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี นพดล กรรณิการ์ รัตนา จารุเบญ และ อมตา เลิศนาคร ได้รับทุนสนับสนุนจาก คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์ แห่งชาติ และ โครงการวิจัยบูรณาการ สภาวิจัยแห่งชาติ
  • 2. ฉันทนา บรรพศิริโชติ การประชุมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ ๙ ๒๕๕๑ 2 ในทางความเป็นจริง บางครั้งอาจพบว่าขันติธรรมไม่มีความสอดคล้องกันในระดับต่างๆ เสมอไปก็ได้ ในหลาย กรณีระดับของขันติธรรมมีลักษณะเป็นภาวะชั่วคราวที่เป็นไปตามสถานการณ์ หรือ การไม่มีขันติธรรมอาจขึ้นอยู่ กับสถานการณ์เฉพาะบางอย่างก็ได้ ขันติธรรมเกี่ยวข้องกับเงื่อนไขหลายประการ ได้แก่ การยึดมั่นในประชาธิปไตย ชาตินิยมความรู้สึกพึง พอใจในชีวิต ความมั่นใจหรือเชื่อมั่นในระบบการเมือง ความไว้วางใจในสังคม ความรู้สึกถูกคุกคาม ประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนความรู้สึก เงื่อนไขเหล่านี้อาจจะช่วยอธิบายให้มีความเข้าใจเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับ สภาวะของขันติธรรมของผู้คนท่ามกลางความรุนแรงในเวลานี้ แบบสอบถามมุ่งทดสอบความรู้สึกที่ สัมพันธ์ระหว่างคนส่วนใหญ่ในสังคมไทย กับคนส่วนน้อยในสามจังหวัดภาคใต้ที่มีชาติพันธุ์ มาลายู และ ถือ ศาสนา มุสลิม ระเบียบวิธีวิจัย ขันติธรรมวัดได้ยาก เนื่องจากมีหลายระดับ ตั้งแต่ ความคิด ทัศนคติ และ พฤติกรรม ซึ่งอาจมีความไม่ สอดคล้องกันเองได้ ฉะนั้นขันติธรรมบางครั้งอาจมีลักษณะค่อนข้างชั่วครู่ชั่วยามแล้วแต่ว่าประเด็นนั้น ๆ กระทบกระเทือนต่อความรู้สึกบางอย่างในขณะนั้นอย่างไร นอกจากนั้นการจะประเมินให้ใกล้เคียงกับ ความรู้สึกนึกคิดที่แท้จริงของผู้คนได้นั้นยังต้องอาศัยกรณีปัญหาตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ สถานการณ์ในขณะนั้น เพื่อลดการให้ความคิดเห็นแบบคาดเดาให้น้อยที่สุด การประเมินขันติธรรมแบ่งเป็นสองส่วน คือ 1) ส่วนที่เป็นทัศนะพื้นฐานทั่วไปของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับอคติต่อกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมเดียวกัน การ สํารวจอาศัยการระบุถึงกลุ่มที่ตนเองไม่ชอบ และ การยอมรับบทบาทของกลุ่มที่ตนเองไม่ชอบนั้น ในการ ประเมินนี้ได้พยายามเทียบเคียงกลุ่มต่าง ๆ ที่มีลักษณะโดดเด่นทางสังคม การเมือง และ ลักษณะชาติพันธุ์ รวม ไปถึงกลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนา 2) ส่วนที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งจะใช้กลุ่มคําถามเพื่อสะท้อนการยอมรับเงื่อนไขการอยู่ ร่วมกันระหว่างคนที่มีความแตกต่าง รวมทั้งความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คําถามเปิดให้ผู้ตอบแสดงความคิดเห็นเป็นระดับความสําคัญ หรือ ระดับความรุนแรงของความรู้สึก จากน้อยที่สุดไปจนถึงมากที่สุด 5 ระดับตามรูปแบบ Likert scale เพื่อนํามาคํานวณเป็นค่าตัวเลขที่สามารถวัด ระดับความแตกต่างของคนกลุ่มต่าง ๆ ได้ เพื่อเทียบเคียงสถานการณ์ในสามจังหวัดภาคใต้ กับพื้นที่อื่น ๆ ที่ไม่ มีความรุนแรงเกิดขึ้นโดยตรงได้ จึงได้ทําการสํารวจในพื้นที่ควบคุมเพิ่มเติม ได้แก่ พื้นที่จังหวัดสงขลา สตูล และ กทม. จํานวนตัวอย่างรวม ๓,๔๑๙ ราย และ ช่วงการสํารวจใน กรุงเทพมหานครอยู่ระหว่าง 19 ถึง 23 ตุลาคม พ.ศ. 2548 พื้นที่ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่ระหว่างเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ระดับขันติธรรม เนื่องจากคุณค่าของการอดกลั้น หรือ ขันติธรรม เป็นคุณค่าขั้นตํ่าของประชาธิปไตย เพราะไม่ได้ คาดหวังความรักใคร่กลมเกลียวกันในสังคม เพียงแต่คาดหวังการยอมรับคนอื่นหรือกลุ่มอื่นในสังคมที่ตนเองไม่ ชอบให้มีโอกาส มีสิทธิ เสรีภาพเหมือนตน ประเด็นสําคัญของการประเมินขันติธรรมคือ การเลือกปฏิบัติ ต่อกลุ่ม ที่ไม่ชอบ ฉะนั้นการวิเคราะห์และประเมินขันติธรรมได้ใช้ตัวแปรหลัก 3 ตัวแปร คือ การระบุกลุ่มที่ไม่ต้องการ
  • 3. ฉันทนา บรรพศิริโชติ การประชุมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ ๙ ๒๕๕๑ 3 เกี่ยวข้องด้วย หรือ ไม่ชอบ การยอมให้กลุ่มที่ตนเองไม่ชอบนั้นมีเสรีภาพในการแสดงออกเหมือนตน และ การ เลือกปฏิบัติต่อกลุ่มที่ตนเองไม่ต้องการเกี่ยวข้องด้วย ประเมินจากการใช้มาตรการดําเนินการต่อกลุ่มต่างๆ เมื่อมี ปัญหาเกิดขึ้น นอกจากจะประเมินว่ากลุ่มตัวอย่างมีขันติธรรมต่อกลุ่มอื่นโดยทั่วไปอย่างไรแล้ว การวิเคราะห์ยัง ต้องการประเมินเงื่อนไขชาติพันธุ์และกลุ่มที่อาจถูกมองว่าเกี่ยวพันกับปัญหาความรุนแรง ว่าจะได้รับการ ประเมินจากกลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามแตกต่างไปจากกลุ่มไม่พึงปรารถนากลุ่มอื่น ๆ อย่างไร กลุ่มที่ไม่ชอบ ในขั้นแรกของการประเมินลักษณะปัญหาขันติธรรมของกลุ่มตัวอย่าง โครงการพยายามจะระบุว่าจะมี กลุ่มคนกลุ่มใดที่ไม่เป็นที่พึงปรารถนาในทัศนะของตนหรือไม่ โดยยกตัวอย่างกลุ่มที่มีลักษณะความโดดเด่นที่ อาจจะแตกต่างไปจากคนทั่ว ๆ ไป และอาจเป็นเป้าของการมีอคติได้ง่าย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ กลุ่มที่มีความโดด เด่นทางชาติพันธุ์ จุดยืนทางการเมือง และ สังคม ความมีลักษณะเฉพาะทางพฤติกรรมหรือความคิดเห็น และ กลุ่มที่ดูเหมือนเป็นคนอื่นที่ไม่ใช่พวกเดียวกัน 1 2 ข้อมูลจากการสํารวจชี้ให้เห็นว่า คนมีความรู้สึกไม่ต้องการ เกี่ยวข้องกับกลุ่มคนสามลักษณะ คือ 1) กลุ่มที่มีจุดยืนทางการเมือง หรือ วัฒนธรรมที่เป็นแบบสุดขั้ว อันได้แก่ กลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนา ซ้ายจัด และ ขวาจัด 2) คนอื่นหรือ คนนอก ที่กําหนดโดยการเป็นคนต่างชาติ เช่น แรงงานต่างด้าว และ แม้แต่ ชาวตะวันตก และ 3) กลุ่มที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานของสังคมส่วนใหญ่ เช่น รักร่วมเพศ กลุ่มตัวอย่างในแต่ละเขตมีปฏิกิริยาต่อคนสามประเภทนี้ทั้งเหมือนและแตกต่างกันในบางประเด็น กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นสอดคล้องกันเมื่อระบุถึงกลุ่มที่ไม่อยากเกี่ยวข้องด้วยมากที่สุดคือกลุ่มหัวรุนแรงทาง ศาสนา กลุ่มซ้ายจัด ขวาจัด ฉะนั้นประเด็นสําคัญที่อาจมีผลต่อระดับของความอดกลั้นจึงเป็นเรื่องของจุดยืน ทางอุดมการณ์ และความเป็นคนอื่นที่วัดโดยการอพยพเข้ามาใหม่ในสังคมไทย เช่นแรงงานอพยพ มากกว่าเรื่อง ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ สําหรับในพื้นที่สามจังหวัดที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่นั้น ประเด็นเรื่อง บรรทัดฐานทางศาสนา และ สังคมยังเป็นเงื่อนไขที่สําคัญ โดยพิจารณาจากความเห็นที่ไม่ต้องการเกี่ยวข้องกับ กลุ่มรักร่วมเพศ มาเป็นอันดับต้น ๆ ข้อสรุปที่น่าสนใจ ก็คือ กลุ่มตัวอย่างไม่มีความรู้สึกรุนแรงต่อความแตกต่างทางชาติพันธุ์และศาสนา โดยเฉพาะในพื้นที่สงขลา และ ปัตตานี ขณะที่คนในกทม. อาจจะมีความรู้สึกไม่ต้องการเกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติ พันธุ์เช่น มลายูมุสลิมอยู่บ้าง แต่ก็ไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับความรู้สึกต่อกลุ่มอื่น ๆ 2 การถามความเห็นในเรื่องนี้ได้หลีกเลี่ยงการใช้คําถามว่าชอบหรือไม่ชอบโดยตรง แต่ใช้เงื่อนไขของความเกี่ยวข้องด้วยเป็น ตัวกําหนด ซึ่งอาจจะไม่สามารถอธิบายความรู้สึกได้สมบูรณ์ เพราะอาจจะมีสาเหตุอื่นที่ไม่ต้องการเกี่ยวข้องกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยที่ไม่ได้มาจากเหตุผลที่ไม่ชอบโดยตรง อย่างไรก็ดี การไม่ต้องการเกี่ยวข้องดัวยนั้นน่าจะสะท้อนความมีอคติต่อกลุ่มนั้นใน ระดับหนึ่งระดับใด
  • 4. ฉันทนา บรรพศิริโชติ การประชุมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ ๙ ๒๕๕๑ 4 ตารางที่ 1 การระบุประเภทกลุ่มคนที่ไม่ต้องการเกี่ยวข้องด้วย ประเภทกลุ่ม พื้นที่การศึกษา รวม กรุงเทพฯ สงขลา/สตูล สามจังหวัด % นํ้าหนัก % นํ้าหนัก % นํ้าหนัก % นํ้าหนัก พวกหัวรุนแรงทางศาสนา 57.8 2.2 56.1 2.3 48.3 2.1 55.1 2.2 พวกแรงงานต่างด้าว พม่า เขมรฯ 49.9 2.2 53.6 2.3 44.9 2.1 49.3 2.2 พวกรักร่วมเพศ 43.1 1.8 36.8 1.9 49.8 2.1 43.7 2.0 พวกฝรั่งตะวันตก 35.7 1.9 40.0 2.0 36.2 1.9 36.6 1.9 พวกซ้ายจัด 51.1 2.0 34.0 1.8 30.4 1.5 42.8 1.9 พวกขวาจัด 42.2 1.9 35.5 1.9 30.9 1.7 38.1 1.9 พวกติดเชื้อเอดส์ 28.2 1.7 24.6 1.8 38.5 1.9 30.2 1.8 พวกคนนอกศาสนา / ศาสนา อื่น 32.9 1.7 20.5 1.7 20.5 1.5 27.5 1.6 พวกคนจีนรุ่นเก่า 18.8 1.3 14.9 1.5 15.6 1.2 17.3 1.4 พวกคนในเครื่องแบบ 14.4 1.5 5.8 1.5 8.4 1.3 11.3 1.4 พวกเรียกร้องสิทธิสตรี 14.4 1.3 9.2 2.0 11.1 1.2 12.7 1.3 พวกมลายูมุสลิม 23.0 1.4 8.5 1.4 5.6 1.0 16.1 1.3 ค่าเฉลี่ยรวมทุกกลุ่ม 1.76 1.71 1.60 1.70 ทีมา % ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามในแต่ละพื้นที่ ที่ไม่ต้องการเกี่ยวข้องกับกลุ่มที่ระบุ ค่านํ้าหนัก คํานวณจากค่าเฉลี่ยคะแนนรวมที่ผู้ตอบแบบสอบถามประเมินให้แต่ละกลุ่ม คะแนนทั้งหมดมี 4 ระดับ ได้แก่ ไม่ต้องการเกี่ยวข้องด้วยทุกกรณี (3) เกี่ยวข้องเฉพาะที่จําเป็น (2) ไม่แน่ใจ (1) ไม่มีข้อจํากัด (0) คะแนน 0 สะท้อนความเปิดกว้างต่อกลุ่มนั้น คะแนนเฉลี่ยที่ใกล้เคียงกับ 0 มากที่สุดสะท้อนการเปิดกว้างมากที่สุดต่อกลุ่มที่ ระบุ การประเมินคะแนนเฉลี่ยรวมทุกกลุ่มทําให้เข้าใจในภาพรวมได้ว่าระดับของความรู้สึกที่อาจนําไปสู่ อคติมีความแตกต่างกันบ้างในสามพื้นที่ ประเภทของกลุ่มคนที่กลุ่มตัวอย่างสะท้อนระดับของการมีอคติต่อสูง กว่ากลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ กลุ่มแรงงานต่างด้าว กลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนา และกลุ่มอุดมการณ์ซ้าย ในพื้นที่สาม จังหวัดดูเหมือนว่าจะมีข้อจํากัดในการเกี่ยวข้องกับกลุ่มอื่น ๆ น้อยกว่า ซึ่งอาจจะมาจากความไม่ชัดเจนในความ คิดเห็นของตนเองด้วย ถ้าหากประเมินจากลักษณะการตอบคําถามจะพบว่า กลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ กทม. จะมีความเห็นชัดเจนเกี่ยวกับกลุ่มที่ไม่ต้องการเกี่ยวข้องด้วย เนื่องจากมีสัดส่วนของคําตอบอยู่ในระดับสูงกว่า ร้อยละ 50 โดยเฉพาะกลุ่มที่แสดงจุดยืนทางอุดมการณ์และการเมืองที่ชัดเจน ข้อน่าสังเกตก็คือ ประเด็นเรื่อง ชาติพันธุ์ เช่น มลายู หรือ จีน นั้นไม่ได้เป็นประเด็นสําคัญ ค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับตํ่ากว่าเรื่องอื่น ๆ การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพุทธ และ มุสลิม มีลักษณะใกล้เคียงกับการเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ กล่าวคือ สัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นมุสลิมและแสดงทัศนะไม่ต้องการเกี่ยวข้องกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอย่าง
  • 5. ฉันทนา บรรพศิริโชติ การประชุมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ ๙ ๒๕๕๑ 5 ชัดเจนนั้นน้อยกว่าค่าเฉลี่ย ตีความได้ว่ากลุ่มตัวอย่างมุสลิม มีข้อจํากัดในปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มอื่น ๆ น้อยกว่า เมี่อเปรียบเทียบกับกลุ่มพุทธ (คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 1.68 และ 1.72 ตามลําดับ) เมื่อประเมินลงไปในประเภทของกลุ่มที่ไม่ชอบ ก็จะพบว่ามีความแตกต่างกันเพิ่มขึ้นอีกในระหว่างพุทธ กับมุสลิม คนพุทธไม่ชอบกลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนาอย่างมาก (ร้อยละ 62.6) ส่วนคนมุสลิมมีความรู้สึกปฏิเสธ กลุ่มรักร่วมเพศมากที่สุด (ร้อยละ 50) ความอดกลั้นต่อกลุ่มที่ไม่ชอบ การไม่ชอบกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ในสังคมที่มีความหลากหลาย อาจจะไมได้เป็นเรื่องที่ผิดปกติเท่าไรนัก ประเด็นสําคัญคือการยอมให้คนที่ตนเองไม่ชอบนั้นมีเสรีภาพเช่นเดียวกับตนได้หรือไม่ ผู้วิจัยจึงได้ทดสอบ ความรู้สึกอีกระดับหนึ่งในเรื่องการยอมรับกลุ่มคนที่ตนไม่ชอบ โดยตั้งคําถามว่าจะสามารถยอมรับให้กลุ่มที่ตน ไม่ชอบหรือไม่อยากเกี่ยวข้องด้วยนั้น ให้มีบทบาทในสังคม-การเมืองได้หรือไม่ แม้ว่ากลุ่มตัวอย่างจะไม่ค่อยมีความมั่นใจในการการระบุกลุ่มที่ตนเองไม่ชอบ โดยพิจารณาจากจํานวน ผู้ระบุกลุ่มที่ไม่ชอบมีไม่เกินร้อยละ 60 ของผู้ตอบแบบสอบถาม ผลการสํารวจชี้ให้เห็นว่าสัดส่วนของการไม่ ยอมรับกลุ่มที่ตนเองไม่ชอบนั้นอยู่ในระดับสูง คือไม่ตํ่ากว่า ร้อยละ 60 และในบางกลุ่ม การไม่ยอมรับสูงถึงกว่า ร้อยละ 90 การประเมินการยอมรับบทบาทของกลุ่มที่ตนเองไม่ชอบนั้นเป็นการทดสอบที่นอกเหนือจากการไม่ ชอบกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในระดับที่เป็นเรื่องส่วนตัว การสํารวจพุ่งความสนใจไปที่การยอมรับบทบาททางสังคมและ การเมืองของคนที่ไม่ชอบ เนื่องจากสามารถสะท้อนประเด็นของการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มที่ตนเองไม่ชอบได้ชัดเจน กว่า การประเมินการยอมรับกลุ่มอื่น หรือ การประเมินความอดกลั้นนี้เจาะจงเฉพาะกลุ่มที่ได้ระบุเอาไว้ว่า ไม่ต้องการเกี่ยวข้องกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ ฉะนั้นจึงไม่ได้เป็นภาพรวมของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด จํานวนผู้ แสดงความเห็นที่ไม่ต้องการเกี่ยวข้องกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะมีอยู่ประมาณ ไม่เกินร้อยละ 57 (ร้อยละ สูงสุดของกลุ่มที่ไม่ต้องการเกี่ยวข้องด้วย) ข้อมูลที่ได้แสดงว่าโดยภาพรวมแล้วกลุ่มตัวอย่างยอมรับคนที่ตนเองไม่ชอบในระดับตํ่าคือเฉลี่ยแล้วไม่ เกินร้อยละ 20 ในทุกพื้นที่สํารวจ และ กลุ่มตัวอย่างมีความรู้สึกต่อกลุ่มที่ไม่ชอบไปในทางเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ จะแตกต่างกันในระดับของการเปิดกว้าง โดยที่คนในกทม. สามารถที่จะยอมรับกลุ่มที่ไม่ชอบได้มากกว่าคนใน พื้นที่อื่น ดังจะเห็นได้จากระดับการยอมรับกลุ่มต่าง ๆ สูงกว่าโดยเปรียบเทียบ ในทางตรงกันข้าม กลุ่มตัวอย่าง ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้แสดงให้เห็นว่าสัดส่วนของการยอมรับบทบาทของกลุ่มที่ไม่ชอบอยู่ในระดับตํ่าสุด เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่อื่น
  • 6. ฉันทนา บรรพศิริโชติ การประชุมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ ๙ ๒๕๕๑ 6 ตารางที่ 2 สัดส่วนการยอมรับบทบาทของกลุ่มที่ไม่ชอบ (ร้อยละ) กลุ่ม สัดส่วนการยอมรับบทบาทของกลุ่มที่ไม่ชอบ พื้นที่ศึกษา ศาสนา ภาพรวม กทม สงขลา สาม จังหวัด อิสลาม พุทธ พวกเรียกร้องสิทธิสตรี 43.0 39.6 27.5 33.7 43.2 39.0 พวกในเครื่องแบบ 36.3 33.3 28.3 28.8 38.6 33.0 พวกติดเชื้อเอดส์ 30.0 23.4 20.1 24.1 27.1 25.8 พวกคนจีนรุ่นเก่า 27.3 19.2 23.1 24.7 25.1 25.1 พวกมลายูมุสลิม 23.8 18.6 33.3 39.0 20.8 24.1 พวกรักร่วมเพศ 19.7 19.3 9.5 13.0 20.6 16.6 พวกคนนอกศาสนา 11.8 19.6 13.6 12.0 13.2 13.2 พวกฝรั่งตะวันตก 11.7 6.2 7.9 8.3 10.2 9.7 พวกขวาจัด 10.3 9.7 5.5 10.6 8.0 9.3 พวกหัวรุนแรงทางศาสนา 9.6 9.1 7.4 10.4 8.1 9.0 พวกซ้ายจัด 7.8 9.6 7.4 8.1 7.7 8.0 พวกแรงงานต่างด้าว 9.0 3.5 3.9 6.5 6.7 6.7 สัดส่วนเฉลี่ยรวมทุกกลุ่ม 20.0 17.6 15.6 18.4 19.1 18.3 ที่มา คํานวณจากร้อยละของผู้ที่ยอมรับบทบาทผู้ที่ไม่ต้องการเกี่ยวข้องด้วย ตารางที่ ๒ เป็นการแสดงร้อยละของการไม่ยอมรับบทบาทของกลุ่มที่แต่ละคนไม่ต้องการเกี่ยวข้อง ด้วย รายชื่อกลุ่มที่แสดงในตารางทุกกลุ่มมีผู้แสดงความเห็นว่าไม่ต้องการเกี่ยวข้องด้วยในระดับที่แตกต่างกันไป (ดู ตารางที่ ๑) ข้อมูลตารางนี้ต้องการประเมินว่ามีการยอมรับกลุ่มที่ระบุว่าไม่ต้องการเกี่ยวข้องด้วยนั้นในระดับ ใด เมื่อกลับไปดูข้อมูลกลุ่มที่ไม่ต้องการเกี่ยวข้องด้วยมากที่สุดในตารางที่ 17 จะพบว่า คนใน กทม. ไม่ต้องการ เกี่ยวข้องกับกลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนา มากที่สุด เช่นเดียวกับคนในพื้นที่สงขลา เมื่อประเมินระดับการยอมรับ บทบาทของกลุ่มนี้พบว่า สัดส่วนการยอมรับตํ่ามาก คือประมาณร้อยละ 9 ในทั้งสองพื้นที่ แต่ที่น่าสนใจก็คือ กลุ่มที่ได้รับการยอมรับในสัดส่วนที่ตํ่าสุดคือกลุ่มแรงงานต่างด้าว แบบแผนการแสดงความเห็นของคน กทม. และ สงขลามีความคล้ายคลึงกันกับคนในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ ตรงที่ว่ากลุ่มที่ถูกระบุว่าไม่ต้องการเกี่ยวข้อง ด้วยมากที่สุดคือ กลุ่มคนรักร่วมเพศ ยังได้รับการยอมรับในสัดส่วนที่สูงกว่าบางกลุ่ม อันได้แก่ กลุ่มแรงงานต่าง ด้าว แทนที่กลุ่มตัวอย่างจะระบุการไม่ยอมรับกลุ่มที่ตนเองไม่ต้องการเกี่ยวข้องด้วยมากที่สุด เช่น กลุ่มรักร่วม เพศ กลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนา เขากลับไปแสดงความเห็นว่าไม่ต้องการยอมรับกลุ่มอื่นมากกว่า คือ กลุ่ม แรงงานต่างด้าว แสดงว่าการไม่ชอบกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นเรื่องส่วนบุคคล และไม่ได้นํามาเกี่ยวข้องกับโจทย์เรื่อง การมีบทบาททางสังคมและการเมืองโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในสามจังหวัดภาคใต้
  • 7. ฉันทนา บรรพศิริโชติ การประชุมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ ๙ ๒๕๕๑ 7 ในขณะที่ภาพรวมของความคิดเห็นในพื้นที่สํารวจทั้งสามพื้นที่มีแบบแผนไปในทางเดียวกัน ข้อ แตกต่างก็ยังมีอยู่ โดยดูจากการให้การยอมรับบทบาทของกลุ่มที่ตนเองอาจจะไม่ชอบนั้นแตกต่าง ซึ่งมีส่วน สะท้อนให้เห็นอคติของกลุ่มตัวอย่างในแต่ละพื้นที่ กล่าวคือ กลุ่มเรียกร้องสิทธิสตรีได้รับการยอมรับสูงสุดใน กทม. และ สงขลา แต่ได้รับการยอมรับน้อยในสามจังหวัด เช่นเดียวกัน กับกลุ่มมลายูมุสลิมได้รับการยอมรับสูง ในสามจังหวัด และ กลุ่มมุสลิม แต่ไม่ได้รับการยอมรับสูงเท่าไรใน กทม ในพื้นที่สงขลา และ ในกลุ่มคนพุทธ ทิศทางการแสดงความเห็นเกี่ยวกับการยอมรับกลุ่มที่ไม่ชอบสะท้อนให้เห็นแบบแผนบางอย่างใน ความสัมพันธ์ทางสังคม ประการแรก กลุ่มตัวอย่างไม่มีข้อจํากัดเฉพาะเจาะจงต่อการยอมรับบทบาทของกลุ่มชาติพันธุ์และ ศาสนา เพราะสัดส่วนการยอมรับกลุ่มที่ไม่ชอบที่มีพื้นฐานทางศาสนาและชาติพันธุ์อยู่ในระดับที่เทียบเคียงกับ กลุ่มอื่น ๆ ได้ ภายในกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่เดียวกัน จะเห็นได้ว่าสัดส่วนการยอมรับ กลุ่มคนมลายู-มุสลิม และ คนจีนอยู่เหนือระดับค่าเฉลี่ยของภาพรวม แม้ไม่ได้มาเป็นอันดับต้น ๆ ประการที่สอง กลุ่มคนที่มีฐานะตํ่าสุดคือแรงงานต่างด้าว ต่อมาคือกลุ่มที่มีจุดยืนทางการเมืองแบบสุด ขั้ว อันได้แก่ ซ้ายจัด ขวาจัด และ กลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนา นัยของข้อมูลน่าจะบ่งชี้ว่ากลุ่มดังกล่าวถูกประเมิน. ให้เป็นกลุ่มที่ไม่มีที่ยืนทางสังคม ประการที่สาม รูปแบบการแสดงความคิดเห็นต่อกลุ่มคนที่ตนไม่ชอบและการยอมรับบทบาทของกลุ่ม นั้น สะท้อนว่ากลุ่มตัวอย่างมีการแยกแยะความหมายของความเป็น “คนอื่น” ที่เป็นคนต่างชาติ ออกจาก คน ต่างศาสนาและชาติพันธุ์ในสังคมเดียวกัน ซึ่งน่าจะเป็นแนวโน้มที่ดีสําหรับการทําความเข้าใจเพื่อสร้างความ สมานฉันท์ และ เพื่อให้ความสําคัญกับตัวแปรอื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจากปัญหาทัศนะของความเกลียดชังระหว่าง กลุ่มชาติพันธุ์ และ ศาสนา แต่ทั้งนี้ยังคงต้องพึงระวังการขยายตัวของปัญหาความหวาดระแวงคนต่างชาติ (xenophobia) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศตะวันตกบางประเทศ เมื่อวิเคราะห์ต่อไปอีกโดยเลือกคําถามที่เกี่ยวข้องกับ การหามาตรการลงโทษสําหรับคนต่างกลุ่มกัน หากมีการกระทําผิดเกิดขึ้น เป้าหมายก็เพื่อตรวจสอบการเลือกปฏิบัติบนเงื่อนไขความแตกต่างทางศาสนา และ ชาติพันธุ์ โดยอาศัยสถานการณ์จําลองที่ผู้ตอบต้องตัดสินใจ ประเด็นเรื่องอาชญากรรม หรือ การลงโทษผู้กระทําความผิดนั้น เป็นเส้นแบ่งขีดจํากัดของขันติธรรม หรืออีกนัยหนึ่ง คือการมีขันติธรรมไม่ได้หมายความว่าจะต้องอดกลั้น หรือ ทนอยู่ได้กับการละเมิดกฏหมาย ประเด็นน่าจะอยู่ที่การเลือกปฏิบัติกับกลุ่มที่ทําความผิดและบังเอิญเป็นกลุ่มที่ตนองอาจจะไม่ชอบ แบบสอบถามได้คละเคล้าคนหลายกลุ่มเข้าด้วยกันเพื่อให้ระบุความแตกต่างในการใช้มาตรการต่อกลุ่มต่าง ๆ เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการกระทําความผิด การประเมินคําถามดังกล่าวพุ่งความสําคัญไปที่กลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนา โดยให้กลุ่มตัวอย่างแสดง ความคิดเห็นเปรียบเทียบการใช้มาตรการแก้ปัญหากลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ กับกลุ่มที่ก่อปัญหาอื่น ๆ นั้นจะมีการ แสดงความคิดเห็นที่เลือกปฏิบัติหรือไม่ ความเห็นของกลุ่มตัวอย่างทั้งในกทม. และ ในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ทั้ง สองพื้นที่ ไม่สะท้อนว่ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในสามจังหวัดภาคใต้ เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่อาจก่อปัญหาอื่น ๆ แล้ว คนยังเห็นว่ามีกลุ่มที่อาจก่อปัญหาอื่น ๆ ที่ผู้ตอบ แบบสอบถามเห็นว่าควรใช้มาตรการรุนแรงมากกว่า เช่น ผู้ค้ายาเสพติด กลุ่มผู้มีอิทธิพล และ คอร์รัปชั่น (ภาคผนวก ตารางที่ 37)
  • 8. ฉันทนา บรรพศิริโชติ การประชุมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ ๙ ๒๕๕๑ 8 โดยสรุปแล้วการวิเคราะห์เรื่องการยอมรับบทบาทของกลุ่มที่ไม่ชอบ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงระดับ ขันติธรรมที่เป็นเรื่องพื้นเพของผู้คนในการเลือกติดต่อกับคนอื่น ซึ่งอาจจะมาจากประสบการณ์ และ การเรียนรู้ เกี่ยวกับภาพพจน์ของกลุ่มต่าง ๆ การวิเคราะห์เรื่องการยอมรับบทบาทของคนที่ไม่ชอบมีนัยเป็นการประเมิน อคติ ต่อกลุ่มที่ตนเองอาจจะไม่ชอบ โดยสภาพปกติแล้วผู้คนไม่น่าจะมีเงื่อนไขกําหนดไว้ก่อนในการที่จะมีท่าที ต่อกลุ่มตาง ๆที่บังเอิญ อาจจะไม่ชอบ หากผู้ตอบแบบสอบถามใช้เงื่อนไขว่า “ไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวในทุกกรณี” กับ กลุ่มบางกลุ่มแล้ว ถือว่ามีความโน้มเอียงไปในทางอคติ ซึ่งสมควรที่จะสืบสาวต่อไปถึงการยอมรับกลุ่มที่ระบุว่า ไม่ต้องการเกี่ยวข้องด้วยนั้น ทั้งนี้เพื่อให้สามารถทําความเข้าใจได้มากขึ้นในแบบแผนการเปิดกว้างต่อการอยู่ ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลาย การสํารวจมุ่งทําความเข้าใจในสถานการณ์สองระดับ คือ การประเมิน อคติขั้นต้น และ การประเมินการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มที่ไม่ชอบ ผลการวิเคราะห์สะท้อนว่า กลุ่มตัวอย่างมี แนวโน้มที่จะมีอคติต่อคนบางกลุ่ม ซึ่งสะท้อนออกมาจากการระบุว่าไม่ต้องการเกี่ยวข้องด้วย และ การไม่ยอมรับ บทบาททางสังคม และ การเมืองของกลุ่มที่ไม่ชอบ แต่แนวโน้มการมีอคติต่อคนบางกลุ่มไม่ได้มาจากเงื่อนไข ของความแตกต่างทางชาติพันธุ์และศาสนามากเท่ากับ การมีอคติต่อ “คนอื่น” ที่เป็นคนต่างชาติ โดยเฉพาะที่มี สถานภาพทางเศรษฐกิจตํ่า เช่น แรงงานต่างด้าว นอกจากนั้นแล้วแบบแผนของการไม่ยอมรับกลุ่มอื่น ครอบคลุมไปถึง กลุ่มที่มีจุดยืนทางการเมือง และ ศาสนา แบบสุดขั้ว เช่น ซ้ายจัด ขวาจัด และ กลุ่มศาสนาหัว รุนแรง ข้อสรุปนี้สอดคล้องกับทัศนะต่อการใช้มาตรการลงโทษผู้กระทําความผิด ซึ่งมักจะไม่ยอมรับการกระทํา ความผิดที่เป็นปัญหาฝังลึกในสังคมไทย เช่น ยาเสพติด กลุ่มอิทธิพล และ คอร์รับชั่น ดูเหมือนว่ากลุ่มตัวอย่าง ไม่ได้มีปฏิกิริยารุนแรงต่อลักษณะของการกระทําผิดที่อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมือง และ ความมั่นคง โดยที่ คนส่วนใหญ่เห็นว่าควรมีความยืดหยุ่น การมีพื้นฐานทางอคติของกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่การสํารวจนั้นมีความ แตกต่างกัน โดยที่คน กทม. มีทัศนะเปิดกว้างต่อคนกลุ่มต่างๆ มากกว่าคนในพื้นที่สงขลา และ สามจังหวัด อย่างไรก็ดีขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่มีแนวโน้มมีอคติต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนั้นมีไม่มาก เมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วน ต่อประชากรทั้งหมดอยู่ในระดับไม่เกินร้อยละ 10 ขันติธรรมในสถานการณ์ของความขัดแย้ง ขันติธรรมในระดับต่อมาคือ ความสามารถอดกลั้น หรือ ทนต่อกลุ่มที่มีความคิดเห็นไม่เหมือนตน หรือ มีอัตลักษณ์ที่แตกต่างไป โดยประเมินจากทัศนะ และ ความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เป็นปัญหา ทิศทางของ คําถามเป็นการทดสอบความเป็นไปได้ของการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างทางศาสนาและวัฒนธรรม และ เน้นความเปิดกว้างให้กับกลุ่มอื่นที่ไม่เหมือนตนในสังคมเดียวกัน รวมไปถึงความหวาดระแวงคนอื่นด้วย แนวคําถามสําหรับข้อนี้ได้ขยายความหมายของขันติธรรมออกไปอีก โดยมองถึง ความใจกว้าง ที่มาก ไปกว่าความอดกลั้น และ ความเชื่อในความหลากหลายทางวัฒนธรรมในฐานะเป็นคุณค่าระดับสูงของการอยู่ ร่วมกัน ซึ่งอาจจะแตกต่างจากการสํารวจขันติธรรมในที่อื่นที่เน้นแค่คุณค่าขั้นพื้นฐานของการอดทนต่อกันใน สังคมประชาธิปไตยเท่านั้น ขันติธรรมสะท้อนออกมาให้เห็นถึงการยอมรับความเสมอภาคระหว่างกลุ่มที่แตกต่างทางศาสนาและ ชาติพันธุ์ รวมไปถึงการยึดมั่นในหลักการและทางเลือกระดับบุคคลและสังคมในการเผชิญกับกลุ่มอื่นที่แตกต่าง แม้ว่าผู้วิจัยตั้งใจแยกแยะการประเมินออกเป็นสามมิติคือ ความคิด ทัศนคติ และ พฤติกรรม แต่ในทางปฏิบัติ คําถามหนึ่ง ๆ จะมีลักษณะผสมผสานมิติต่าง ๆ ซึ่งบางครั้งยากแก่การแยกแยะให้ชัดเจน
  • 9. ฉันทนา บรรพศิริโชติ การประชุมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ ๙ ๒๕๕๑ 9 ผู้ตอบแบบสอบถามจะให้นํ้าหนักคําตอบของตนเอง 5 ระดับ ระดับที่กลุ่มตัวอย่างมีความรู้สึกรุนแรง ที่สุดต่อประเด็นคําถามมากที่สุดคือระดับ 5 ถ้าผู้ตอบแบบสอบถามยอมเปิดกว้างให้กับความคิดในการยอมรับ และ อยู่ร่วมกับคนอื่นในแง่มุมต่าง ๆ ตามประเด็นคําถามได้โดยไม่มีเงื่อนไขแล้วแสดงว่าผู้ตอบแบบสอบถามมี ขันติธรรมอยู่ในระดับสูงสุด (ระดับ 5 คะแนน) ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ยระดับขันติธรรมตามพื้นที่ และ การนับถือศาสนา ประเด็นความคิดเห็นเกี่ยวกับ การมีขันติธรรม พื้นที่การศึกษา การนับถือ ศาสนา ภาพรวม กรุงเทพฯ สงขลา 3 จังหวัด มุสลิม พุทธ 1. ความรู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่ร่วมกับคน อื่น 3.04 2.86 2.93 3.04 2.93 2.98 2.สิทธิในการได้รับสัญชาติของผู้ที่อยู่มา นาน 3.29 3.05 3.17 3.23 3.22 3.22 3. การสนับสนุนการศึกษาระดับสูงแก่ ศาสนา 3.56 3.73 3.90 4.02 3.38 3.68 4. การเอื้อให้นักเรียนต่างศาสนาเรียน ร่วมกัน 3.69 3.88 4.10 4.21 3.50 3.83 5. เลือกโรงเรียนที่ไม่ปะปนทางศาสนา 3.18 3.09 3.18 3.19 3.14 3.16 6 สอนประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของ คนเชื้อชาติกลุ่มน้อยในโรงเรียน 3.68 3.75 3.90 3.91 3.61 3.75 7. หลักประกันสิทธิ และเสรีภาพในการ นับถือศาสนา และการใช้ภาษา 3.75 3.92 3.99 4.00 3.71 3.85 8.การใช้ภาษาท้องถิ่นควบคู่กับภาษาไทย 3.71 3.82 3.80 3.88 3.64 3.75 9. สส.เป็นตัวแทนหลายเชื้อชาติ – ภาษา 3.02 3.23 3.10 3.22 2.94 3.07 10. วันหยุดตามประเพณีที่แตกต่าง 3.44 3.72 3.67 3.74 3.29 3.55 11. เขตพิเศษทางประวัติศาสตร์และ วัฒนธรรม สําหรับสามจังหวัดภาคใต้ 3.36 3.47 3.52 3.58 3.23 3.42 ค่าเฉลี่ยรวมระดับขันติธรรม 3.43 3.50 3.57 3.64 3.34 3.48 ที่มา - คํานวณจากค่าเฉลี่ยรวมของความเห็น 5 ระดับ จากเห็นด้วยมากที่สุด (5) ไปจนถึงไม่เห็นด้วยที่สุด (1) - ความหมายของค่าเฉลี่ยระดับขันติธรรม มี 5 ระดับ มีขันติธรรมมากที่สุด (5) มีขันติธรรม (4) ค่อนข้างมีขันติ ธรรม (3) ไม่ มีขันติธรรม(2) ไม่มีขันติธรรมที่สุด (1) - ทดสอบสถิติค่าเฉลี่ยระหว่างพื้นที่ และ ศาสนา ด้วย Mann-Whitney Test ระดับนัยสําคัญที่ 0.000
  • 10. ฉันทนา บรรพศิริโชติ การประชุมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ ๙ ๒๕๕๑ 10 ในการคํานวณหาค่าระดับขันติธรรมนั้นผู้วิจัยได้ตัดคําถามบางข้อที่เกี่ยวข้องกับอคติต่อคนมุสลิม โดยตรง เนื่องจากมีเนื้อหาที่พาดพิงให้ประโยชน์แก่กลุ่มมุสลิม คะแนนขันติธรรมที่นํามาวัดจึงเป็นค่าเฉลี่ยรวม ของคําถามแต่ละข้อ จํานวนรวม 11 ข้อ ที่ผู้ตอบแบบสอบถามแต่ละคนเลือกตอบ ผลการคิดค่าเฉลี่ยของคะแนน รวมพบว่ามีความแตกต่างกันในระดับของขันติธรรมของกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ กับ อีกสองพื้นที่ คือ สงขลา และ กทม. โดยทั่วไปแล้วความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างในทั้งสามพื้นที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ความแตกต่างอยู่ ที่ระดับของการสนับสนุนขันติธรรม การมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันหมายความว่าผู้ตอบส่วนใหญ่มักจะ เห็นด้วยกับหลักการของการปฏิบัติต่อกลุ่มอื่นอย่างเสมอภาค และ เห็นความสําคัญของการเรียนรู้ความเป็นมา ของคนกลุ่มน้อย ค่าเฉลี่ยของคะแนนคําตอบอยู่ระดับสูงเมื่อเทียบกับคําตอบอื่น ๆ ได้แก่ เห็นด้วยกับการที่ สถานศึกษาจะอํานวยความสะดวกให้นักเรียนต่างศาสนาเรียนร่วมกันได้ เห็นด้วยกับการสนับสนุนการศึกษา ระดับสูงของศาสนาต่าง ๆ และ เห็นด้วยกับการให้โรงเรียนสอนประวัติศาสตร์ และ วัฒนธรรมของเชื้อชาติอื่น ด้วย กล่าวได้ว่าภายใต้สถานการณ์เฉพาะของสามจังหวัด กลุ่มตัวอย่างโดยรวมแล้วมีขันติธรรมอยู่ในระดับ ปานกลาง หรือ ค่อนข้างมีขันติธรรม คะแนนเฉลี่ยของคนในพื้นที่สามจังหวัดแตกต่างจาก กทม. และ สงขลา อย่างมีนัยสําคัญ ซึ่งสอดคล้องกับการเปรียบเทียบคะแนนความแตกต่างระหว่างคนมุสลิมกับคนพุทธ โดยทั่วไป แต่ทว่าเนื่องจากระดับของความแตกต่างไม่สูงเกินไปนัก ประกอบกับ แนวคําถามซึ่งเน้นหนัก เกี่ยวกับปัญหาในสามจังหวัดภาคใต้เป็นพิเศษ การตีความระดับความแตกต่างของขันติธรรมจึงอาจจะค่อนข้าง จํากัด แต่อย่างน้อยข้อสรุปที่สามารถยืนยันได้ก็คือข้อเท็จจริงที่ว่า คนมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ได้ขาดขันติธรรมอย่างที่อาจจะมีคนจํานวนหนึ่งเข้าใจ เพราะเชื่อว่ามีอิทธิพลของกลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนา ตารางที่ 4 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยขันติธรรม กับความแตกต่างทาง เพศ และ ระดับการศึกษา ตัวแปร ค่ามัธยฐานขันติธรรม ค่าความสัมพันธ์ ระดับนัยสําคัญ เพศหญิง 3.55 -0.0047 0.851 เพศชาย 3.55 การศึกษาน้อย 3.45 0.0855 0.0000 การศึกษาปานกลาง 3.50 การศึกษาสูง 3.55 ที่มา ทดสอบระดับความแตกต่างระหว่างเพศ และ ระดับการศึกษา ด้วย Mann-Whitney Testที่ระดับนัยสําคัญ .0.05 และทดสอบค่าเฉลี่ยขันติธรรมกับเพศและระดับการศึกษาด้วย person ที่ระดับนัยสําคัญที่ 0.05 นอกจากนั้นยังได้วิเคราะห์เพิ่มเติมถึงระดับขันติธรรมกับเพศ การศึกษา และ อายุ ของกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า ระดับของขันติธรรมมีความสัมพันธ์กับระดับการศึกษา และ อายุ แต่ไม่มี ความสัมพันธ์กับเพศ สําหรับกลุ่มอายุนั้น ระดับขันติธรรมมีความสัมพันธ์ไปในทางตรงข้ามกับกลุ่มอายุ คือ กลุ่มที่อยู่ในช่วงหนุ่มสาวมีระดับขันติธรรมมากกว่ากลุ่มอายุที่มากขึ้น (pearson correlation -0.0511 sig 0.002)
  • 11. ฉันทนา บรรพศิริโชติ การประชุมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ ๙ ๒๕๕๑ 11 การประเมินระดับขันติธรรมมีข้อน่าสังเกตบางประการกล่าวคือ ระดับของขันติธรรมเมื่อประเมินจาก ข้อจํากัดในการยอมรับกลุ่มอื่น ที่ตนเองอาจจะไม่ชอบนั้น คนในสามจังหวัดภาคใต้มีขีดจํากัดมากกว่า แต่เมื่อ ประเมินระดับขันติธรรมจากเงื่อนไขของสถานการณ์ สังคมและการเมืองในเวลาปัจจุบัน จะพบว่า คนในสาม จังหวัดภาคใต้มีระดับความอดกลั้นสูงกว่า ซึ่งสะท้อนถึงระดับความอดกลั้นของคนมุสลิมโดยรวมด้วย คําอธิบาย น่าจะอยู่ที่ลักษณะของความสัมพันธ์ที่มีความซับซ้อนของ คนมลายู-มุสลิมในฐานะเป็นคนส่วนน้อยในสังคม แต่ เป็นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การประเมินขันติธรรมจากแนวคําถามที่เกี่ยวข้องกับ ปัญหาความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้สะท้อนให้เห็นว่า ในสามจังหวัดซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนมลายู-มุสลิมนั้นมี ความอดกลั้นสูงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับคนพุทธ ซึ่งมีฐานะเป็นคนกลุ่มน้อย และ อยู่ในภาวะที่มีเงื่อนไขกดดัน ขันติธรรมกับเงื่อนไขทางสังคม และ การเมือง เมื่อนําคะแนนของขันติธรรมมาหาค่าความสัมพันธ์กับกลุ่มตัวแปรอื่น ๆ จะพบว่า คนมีขันติธรรม อย่างไรนั้นอาจเกี่ยวข้องกับเงื่อนไขต่าง ๆ ดังแสดงไว้ในตารางที่ 21 ระดับของขันติธรรมมีความสัมพันธ์กับกลุ่ม ของตัวแปรที่เป็นเงื่อนไขทางสังคมและการเมืองในขณะที่ทําการสํารวจซึ่งไม่ได้ผิดไปจากสมมติฐานที่ใช้เป็น กรอบในการร่างแบบสอบถาม ซึ่งลักษณะของความสัมพันธ์ดังกล่าวมีส่วนทําให้ขันติธรรมในบางครั้งเป็นเรื่อง ชั่วคราว ซึ่งสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางสังคมและการเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนั้น ในบรรดาตัวแปรที่ได้ทําการทดสอบนั้นมีเพียงกลุ่มตัวแปรเดียว คือ ระดับความรู้สึกถูกคุกคามอัน เนื่องมาจากการรับรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ความรุนแรง ที่พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับระดับของขันติธรรม การวัด ระดับความรู้สึกว่าถูกคุกคามจากภัยอันตรายของความรุนแรงหรือไม่นั้นโดยการประเมินความเชื่อถือข่าวสารที่ อาจส่งผลกระทบกระเทือนต่อความรู้สึกของแต่ละคน แท้จริงแล้วไม่ได้ส่งผลต่อการเปิดกว้างในการยอมรับผู้อื่น ดังที่ได้คาดไว้ในตอนต้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะระดับในความเชื่อในข่าวนั้นค่อนข้างตํ่า และข่าวที่เชื่อว่าเป็นจริงมี เพียง ไม่กี่เรื่อง คือ คนบริสุทธิ์ถูกฆ่ารายวัน ก็เป็นความเห็นที่สอดคล้องกันในทุกพื้นที่ การทดสอบสถิติข้างต้นชี้ให้เห็นว่ามีกลุ่มตัวแปรเพียงกลุ่มเดียวที่การทดสอบระดับความสัมพันธ์ไม่มี นัยสําคัญทางสถิติ ได้แก่ ความรู้สึกถูกคุกคามจากการเชื่อในข่าว กลุ่มตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางตรง ข้ามกับระดับของขันติธรรมคือ ความเป็นชาตินิยม-ยึดมั่นผลประโยชน์แห่งชาติ และ การมีอคติไม่ต้องการ เกี่ยวข้องกับคนบางกลุ่ม ถ้ามีความรักในผลประโยชน์แห่งชาติสูง และ ถ้ามีอคติไม่ต้องการเกี่ยวข้องกับคนอื่น สูง ระดับขันติธรรมจะตํ่า ซึ่งก็เป็นข้อสรุปที่เป็นไปตามหลักการทั่วไป ตารางที่ 5 ขันติธรรมกับเงื่อนไขทางสังคม และ การเมือง เงื่อนไขสังคม และการเมือง Pearson Correlation ระดับนัยสําคัญ ความพอใจในชีวิต 0.0574 0.0008 ยึดมั่นคุณค่าประชาธิปไตย** 0.204 0.0000 ความคิดเกี่ยวกับสังคมในอนาคต** 0.1663 0.0000 ความไว้วางใจในสังคม 0.1026 0.0000 ความเชื่อมั่นในการเมือง 0.1187 0.0000 ความเห็นเกี่ยวกับทางออกของปัญหา 0.4399 0.0000 ความเป็นชาตินิยม-ผลประโยชน์ของชาติ - 0.0388 0.0000 ความรู้สึกถูกคุกคามจากข่าว -0.0234 0.1742
  • 12. ฉันทนา บรรพศิริโชติ การประชุมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ ๙ ๒๕๕๑ 12 ความรู้เกี่ยวกับท้องถิ่น 0.0514 0.0033 อคติต่อกลุ่มที่ไม่ชอบ -0.1587 0.0000 การยอมรับกลุ่มที่ไม่ชอบ 0.1023 0.0000 ตัวแปรที่มีระดับความสัมพันธ์ค่อนข้างสูงกับระดับของขันติธรรมคือ ความเห็นเกี่ยวกับทางออกของปัญหา สามจังหวัด ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าขันติธรรมเปิดโอกาสให้มองเห็นทางเลือกอื่นได้ โดยทั่วไปผู้ตอบแบบสอบถามไม่ให้นํ้าหนักกับการตอบคําถามเรื่องการแก้ปัญหาเท่าไรนัก ยกเว้น กลุ่ม ตัวอย่างในพื้นที่ปัตตานี ถึงกระนั้นก็ตามเมื่อเปรียบเทียบลําดับความสําคัญของแนวทางในการแก้ไขปัญหา อย่างกว้าง ๆ บนฐานของร้อยละที่มีผู้เห็นด้วยมากที่สุดพบว่า กลุ่มตัวอย่างในทุกพื้นที่ต้องการให้ขจัดกลุ่ม อิทธิพลเป็นอันดับแรก เฉพาะในพื้นที่สงขลา และ ปัตตานี ความต้องการเห็นการแก้ปัญหาเรื่องนี้มีสัดส่วนสูงถึง ร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับข้อเสนอทางออกอื่น แล้วข้อนี้มีผู้ให้ความสําคัญอย่างมาก กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับขันติ ธรรมสูงกว่า สะท้อนให้เห็นการเปิดรับการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีอื่น ๆ ได้มากกว่า เช่น การส่งเสริมการกระจาย อํานาจ การใช้ภาษาท้องถิ่น การส่งเสริมการเรียนทางศาสนา เป็นต้น ขณะที่กลุ่มคนที่มีระดับของขันติธรรมตํ่า กว่าได้เลือกทางออกที่เป็นเงื่อนไขที่อาจก่อให้เกิดความรุนแรงเพิ่มขึ้น เช่น การปราบปรามอย่างเด็ดขาด ขันติธรรมกับการประเมินแนวโน้มทางการเมือง ขันติธรรมในปัญหาความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หลังจากที่เหตุการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมากว่า ๒ ปี ก่อนที่จะมี การสํารวจความคิดเห็นนี้คําถามที่เกิดขึ้นต่อมาก็คือ ความรุนแรงนั้นส่งผลต่ออย่างไรต่อความรู้สึกของการอยู่ ร่วมกันบนความแตกต่างของผู้คนในพื้นที่ ความรู้สึกเหล่านั้นจะมีนัยสําคัญอย่างไรต่อการแสวงหาแนวทางใน การแก้ไขปัญหาสถานการณ์ในสามจังหวัด คนในสามจังหวัดจะเปิดกว้างต่อทางออกของการอยู่ร่วมกันใน สังคมได้ในระดับใด ความหมายของขันติธรรมที่ใช้ในการสํารวจ คือคุณค่าขั้นพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตยที่คนในสังคม ยอมให้ผู้อื่น หรือ กลุ่มอื่นมีสิทธิ เสรีภาพได้เช่นเดียวกับตน แม้ว่าคนอื่นนั้นจะเป็นคนที่ตนเองไม่ชอบก็ตาม ทั้งๆ ที่ตนเองอยู่ในฐานะที่จะยับยั้งผู้อื่นนั้นได้ เรียกว่าเป็นความใจกว้างทางการเมือง ขันติธรรมนั้นไม่ได้เรียกร้องให้ คนเปลี่ยนแปลง สิ่งที่ตนเองเชื่อและปฏิบัติตามหลักศาสนาและประเพณี หรือ จุดยืนทางการเมือง แต่เน้นไปที่ การยอมรับผู้อื่นอย่างที่เขาเป็น และ ไม่ขัดขวางเสรีภาพในการแสดงออกของฝ่ายอื่นที่ไม่ชอบ โดยทั่วไปแล้ว กลุ่มที่คนไม่ชอบมักจะเป็นกลุ่มน้อยที่แตกต่างไปจากคนส่วนใหญ่ ประเด็นที่น่าวิตกสําหรับกรณีสามจังหวัด ภาคใต้ คือความแตกต่างทางศาสนาและชาติพันธุ์ และ ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นของสถานการณ์ เฉพาะ ที่นํามาใช้ตรวจสอบการภาวะของความทนกันดั การประเมินขันติธรรมมีสองระดับ ๑) ระดับที่เป็นเรื่องพื้นฐานโดยทั่วไปเกี่ยวกับกลุ่มที่ไม่ชอบ และการ ยอมรับสิทธิของกลุ่มที่ไม่ชอบนั้น และ ๒) ระดับที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่กําลังเป็นปัญหาอยู่ ภาพรวมโดยทั่วไปแล้วคนในพื้นที่ที่มีการสํารวจทั้งสามพื้นที่ ยังมีขีดจํากัดในการยอมรับผู้อื่นที่ตนเองไม่ชอบ แต่เมื่อประเมินการเปิดกว้างในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรณีปัญหาความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้ พบว่าการเปิด กว้างโดยทั่วไปอยู่ในระดับปานกลาง และมีความแตกต่างระหว่างคนในพื้นที่สามจังหวัดกับพื้นที่อื่น โดยที่คนใน สามจังหวัดเปิดกว้างมากกว่าเล็กน้อย อาจตีความได้ว่าสถานการณ์ความรุนแรงมีผลกระทบต่อคนอื่น ๆ ที่อยู่
  • 13. ฉันทนา บรรพศิริโชติ การประชุมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ ๙ ๒๕๕๑ 13 นอกพื้นที่มากกว่า คือคนนอกพื้นที่รู้สึกว่ามันเป็นภัยคุกคามมากกว่า ส่งผลให้ไม่เปิดกว้างต่อการยอมรับสิทธิ เสรีภาพในพื้นที่เท่าไรนัก โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับทัศนะของคนในพื้นที่เอง สถานการณ์ความรุนแรง ส่งผลต่อคนพุทธมากกว่าคนมลายูมุสลิม และทําให้ไม่เปิดกว้างต่อเงื่อนไขของสิทธิเสรีภาพ อย่างไรก็ตามระดับขันติธรรมที่เป็นผลมาจากการอยู่ภายใต้สถานการณ์เฉพาะอาจไม่ถาวร และ มีการ เปลี่ยนแปลงไปได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ความยึดมั่นในความเป็นประชาธิปไตย ความไว้วางใจทางสังคม ความเชื่อมั่น ในระบบการเมือง ความคิดเห็นเกี่ยวกับสังคมในอนาคต และ ความพอใจในชีวิต หากกลุ่มตัวอย่างมี คุณลักษณะข้างต้นสูง ก็จะทําให้เขาเป็นคนเปิดกว้างได้มากตามไปด้วย เนื่องจากการแปรเปลี่ยนของระดับขันติตามขึ้นอยู่กับการรับรู้เรื่องภัยคุกคาม หากผู้คนเห็นว่า สถานการณ์ใดเป็นภัยคุกคาม โอกาสที่เขาจะเปิดกว้างยอมรับฝ่ายอื่นก็จะน้อยลง ฉะนั้นการวิเคราะห์ตัวแปร สําคัญอีกกลุ่มหนึ่งที่น่าจะมีส่วนกําหนดระดับของขันติธรรมคือ การรู้สึกถูกคุกคามจากเหตุการณ์ผ่านการรับสื่อ ผลจากการสํารวจไม่พบความสัมพันธ์ของกลุ่มตัวแปรนี้กับระดับขันติธรรม ในระดับภาพรวมแม้ว่าจะไม่พบ ความสัมพันธ์กับระดับของขันติธรรมอย่างมีนัยสําคัญ แต่เมื่อวิเคราะห์เป็นตัวแปรแต่ละตัวแล้วพบว่า ระดับขันติ ธรรมสัมพันธ์กับบางตัวแปร การเชื่อว่าข่าวบางข่าวเป็นจริง ได้แก่ เยาวชนมุสลิมใช้ความรุนแรง การแบ่งแยก ดินแดน เจ้าหน้าที่เป็นต้นเหตุความรุนแรง การร่วมมือกับทางราชการอาจถูกฆ่า ประชาชนถูกอุ้ม การขึ้นบัญชี ดํา คนพุทธถูกกดดัน การเชื่อในข่าวดังกล่าวอาจทําให้เกิดความรู้สึกถูกคุกคาม และ ส่งผลให้ระดับของขันติ ธรรมลดลง พฤติกรรมการรับข่าวสารของคนในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันซึ่งอาจส่งผลต่อการรับรู้ความเป็น จริงที่แตกต่างกัน คนใน กทม. และ พื้นที่สงขลา อาศัยสื่อมวลชน เป็นหลัก ขณะที่คนในพื้นที่สามจังหวัดอาศัย แหล่งข่าวที่ค่อนข้างเป็นทางการ ทั้งจากผู้นํา และ สถาบันศาสนา ระดับความรู้สึกถูกคุกคามจากการรับข่าวจึงมี น้อยกว่าในพื้นที่อื่น ฉะนั้นแหล่งข่าว และ พฤติกรรมการรับข่าวสารก็เป็นส่วนหนึ่งของตัวแปรของความรู้สึกถูก คุกคาม ระดับของขันติธรรมที่แตกต่างกันส่งผลต่อการเลือกทางออกของปัญหาที่แตกต่างกัน อาทิ ทางออกที่ ใช้ความรุนแรงตอบโต้ เด็ดขาด ทางออกที่ใช้การบริหารจัดการภายใต้ระบบที่เป็นอยู่ ทางออกที่เปิดกว้างไปสู่ ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ คนในสามจังหวัดภาคใต้ซึ่งมีระดับการเปิดกว้างสูงกว่าในสถานการณ์เฉพาะนี้มีแนวโน้ม ตอบสนองต่อการปฏิรูป และ การแสวงหาทางเลือกใหม่ ๆมากกว่า การส่งเสริมให้เกิดขันติธรรมหรือความใจกว้างทางการเมืองเป็นคุณค่าขั้นตํ่า (พื้นฐาน) ในระบบ ประชาธิปไตย เงื่อนไขที่มีส่วนทําให้พลเมืองมีความคิดเปิดกว้างมากขึ้น ในทางหลักการแล้วขึ้นอยู่กับระดับ การศึกษาในระบบของพลเมือง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมสังคมและการเมือง และ การตระหนักรู้เกี่ยวกับสิทธิ และ หน้าที่ของท้องถิ่น ผลการสํารวจสะท้อนว่า การมีส่วนร่วมของประชาชน และ การตระหนักรู้ในสิทธิและ หน้าที่ของท้องถิ่นยังอยู่ในระดับตํ่า กล่าวคือประชาชนไม่มีประสบการณ์ในการทํางานสาธารณะร่วมกัน และ ไม่เข้าถึงเงื่อนไขความเป็นไปได้ของการปกครองท้องถิ่นเพียงพอ ส่วนประเด็นเรื่องการศึกษานั้น กลุ่มตัวอย่าง ของการสํารวจพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการศึกษาในระบบอยู่แล้ว ประเด็นที่ว่าระบบการศึกษาเช่นใดจะ เป็นที่ยอมรับกันได้จําเป็นต้องวิเคราะห์ลงในรายละเอียดในการศึกษาต่อๆไป การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับทางออกไม่สมํ่าเสมอกันในสามพื้นที่ ใน กทม. และ พื้นที่สงขลา กลุ่ม ตัวอย่างแสดงความเห็นไม่มากนัก ซึ่งแตกต่างจากคนในพื้นที่สามจังหวัดมีการแสดงความคิดเห็นต่อทางออก มากกว่า ข้อเสนอที่มีผู้เสนอมามากที่สุด (เฉพาะมีผู้ตอบมากกว่า ร้อยละ 20 ขึ้นไป) เรียงตามาลําดับจากมากไป น้อย คือ ขจัดกลุ่มอิทธิพล คัดเลือกคนดีมาทํางานในพื้นที่ ถอนทหารออกจากพื้นที่ ส่งเสริมการศึกษาทาง