SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 20
Descargar para leer sin conexión
บทที่ 11
นันทนาการธุรกิจการค้า
( COMMERCLAL RECREATION )
กิจกรรมการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยว ( Tourism ) เป็นนันทนาการประเภทธุรกิจการค้า และเป็นกิจกรรม
นันทนาการที่กาลังได้รับความนิยมมากที่สุดประเภทหนึ่ง ทั้งนี้เพราะ การท่องเที่ยวเสริมสร้างประสบการณ์
พัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมให้บุคคลได้รับการพักผ่อนหย่อนใจ สร้างประสบการณ์ใหม่ทั้งที่ท้าทายหรือ
ซาบซึ้งถึงภาพที่พบเห็น เช่น ธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติ ตั้งแต่อุทยานแห่งชาติ ป่า เขา ต้นน้าลาธาร
ทะเล ทะเลสาบ หรือธรรมชาติจะเป็นของหายาก ทั้งที่เป็น พืช สัตว์ และสิ่งที่เกิดจากฝีมือธรรมชาติ เช่น
ศิลปะวัฒนะธรรมของคนในแต่ละท้องถิ่น ในชุมชนหรือสังคม ที่แตกต่างจากกลุ่มนักท่องเที่ยว
ประวัติศาสตร์วัตถุสถาน ซึ่งเป็นการศึกษาถึงอดีตของกลุ่มชุมชนในสมัยหนึ่งเคยมีความรุ่งเรืองและได้
ประดิษฐ์หัตถกรรมในรูแบบต่างๆ ศาสนา และวิถีทางดาเนินชีวิต ของชุมชนที่นักท่องเที่ยวสนใจที่จะศึกษา
ซึ่งเป็นมนุษย์ได้ประพฤติปฏิบัติตามครรลองครองธรรมจนสืบเนื่องมาถึงความเข้าใจอันดี ( Mutual
understanding ) ระหว่างชุมชนชนบท ชุมชนเมืองหลวง ชุมชนท้องถิ่น กับนักท่องเที่ยวต่างชาติซึ่งต่าง
ประเพณีวัฒนธรรมและวิถีทางดาเนินชีวิตต่างกัน ดังคาขวัญปี 2527 ขององค์กรท่องเที่ยวแห่งโลก ( WTO
) Tourism Creanizatipm กล่าวว่า “ การท่องเที่ยวเพื่อความเข้าใจ ความสงบสุขและความร่วมมือระหว่าง
ประเทศ ” ( TOURISM FOR INTERNAITONAL UNDERSTANDING DEACE AND OPERATION )
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีบทบาทสาคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศและเป็นกิจกรรมนันทนาการที่ทา
รายได้ให้แก่ประชากรของโลกอย่างดีเยี่ยม จากสถิติการท่องเที่ยวสากล ( กองวิชาการ การท่องเที่ยวแห่ง
ประเทศไทย : 2531 ) ได้รายงานไว้ว่าปี 2530 มีประชากรของโลกประมาณ 4,000 ล้านคน ท่องเที่ยว
เดินทางทั้งในและต่างประเทศเป็นจานวน 340 ล้านคน ในจานวนนี้มีกลุ่มนักท่องเที่ยวในเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้และภาคพื้นแปซิฟิคใช้บริการจานวน 39.5 ล้านคน มีชาวต่างชาติเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย
จานวน 3.5 ล้าน เกือบ 10 % ทีเดียว นับว่าเป็นกิจกรรมที่เจริญก้าวหน้าและเป็นที่นิยมเจริญเติบโตอย่าง
รวดเร็ว ในประเทศสหภาพราชอาณาจักรอังกฤษ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่ทารายได้
เป็ นอันดับหนึ่งและทารายสถิติรายได้ของประเทศทุกประเทศตั้งแต่ปี ค.ศ. 1984 ( 2527 ) ซึ่ง
คณะกรรมการบอร์ด การท่องเที่ยวรายงานว่า มีชาวต่างชาติเข้ามาอังกฤษ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการ
ท่องเที่ยวจานวน 13.7 ล้านคน และคนในประเทศที่ท่องเที่ยวอีกประมาณ 20 ล้านคน ทาให้รวมรายได้มี
ทั้งหมด 8,575 ล้านปอนด์ หรือ 428,750 ล้านบาท ในจานวน 13.7 ล้านคน ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติได้
เข้าประเทศถึง 4194 ล้านปอนด์ และนักท่องเที่ยวถิ่นคนอังกฤษใช้จ่าย 1,400 ล้านปอนด์ ความต้องการจะ
ท่องเที่ยวเพื่อธุรกิจและการประชุมที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นเป็น 1,150 ล้านปอนด์ การท่องเที่ยววันเดียว เช่น
เยี่ยมชมคฤหาสน์ , โบสถ์ ป้ อม และอนุสาวรีย์ของอังกฤษ มีประมาณ 4 ล้านคน ปี 1984 ธุรกิจโรงแรมทา
รายได้สูงอย่างสุดขีด นับเป็นความประสบความสาเร็จในเรื่องอาหารที่พัก สาหรับการพักผ่อนสุดสัปดาห์ มี
ประชากรในอังกฤษ 34 ล้านคน และออกไปเที่ยวนอกอังกฤษ 15 ล้านคน ซึ่งในอังกฤษมีสานักงานขายตั๋ว
ท่องเที่ยว ถึง 5,632 แห่ง เป็นคนจัดการเรื่องทัวร์ 632 แห่ง สาหรับประเทศสหรัฐอเมริกา กิจการ
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่ทารายได้ล้าหน้ากว่ากิจการอื่นมานานแล้ว เป็นการขยายตัว เป็น
การลงทุนและกาไรอย่างมหาศาล เช่นกัน ทั้งนี้เพราะว่าประเทศสหรัฐอเมริกามีแหล่งทรัพยากรท่องเที่ยว
มากมายที่มีคุณภาพ ประกอบกับการจัดการ , การให้บริการ และสิ่งอานวยความสะดวกต่างๆดีมาก เช่น
กิจการสวนสนุกระดับนานาชาติ : ดิสนีย์แลนด์และดิสนีย์แลนด์ ซึ่งอยู่ทางตะวันตก ( ลอสแอนเจลิส ) มี
อุทยานแห่งชาติอันดับ 1 ของโลก เรียกว่า อุทยานแห่งชาติเยลโล่สะโตน ( Yellowstone National Park )
อยู่ใน 3 ดินแดนของรัฐ คือ ไวโอมิ่ง , ไอด้าโฮ อุทยานแห่งชาติแกรนแคนย่อนในอริโซน่า , อุทยานแห่งชาติ
ไดโนเสาร์ในโคโลราโด้ เป็นต้น คนที่อาศัยอยู่ในนั้นมาจากหลายชาติ หลายเผ่าพันธุ์ ทาให้เกิดเป็นประเพณี
วัฒนธรรม และศิลปะต่างๆจากชุมชนชาติต่างๆอพยพมาอยู่ตลอดจนวิถีการดาเนินชีวิตของกลุ่มนั้น จึงได้
มีการจาลองชื่อเมืองของประเทศที่ตนอาศัยอยู่หรือลักษณะความเป็นเมืองต่างที่มีลักษณะเด่นต่างๆกัน
เช่น เมืองลอสแอนเจลิส เมืองชานฟรานซิลโก ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตก ส่วนลักษณะเมืองที่น่าสนใจทางทิศ
ตะวันออก ได้แก่ กรุงวอชิงตัน , นิวยอร์ค , ฟิลาเดลเฟีย , ไมอามี่ ซึ่งเมืองเหล่านี้มีทรัพยากรท่องเที่ยวทั้ง
ปริมาณและคุณภาพสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้ดี ทาให้ประเทศสหรัฐมีความได้เปรียบ
ประเทศอื่นๆในเรื่องของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ในปี 1980 ( พ.ศ. 2532 ) มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้า
สหรัฐ 30.2 ล้าน ทารายได้เข้าประเทศ 73,000 ล้านเหรียญหรือ 1,825,000 ล้านบาท กิจการท่องเที่ยว
สหรัฐจะถูกนามาส่งเสริมในกรณีที่เศรษฐกิจของประเทศตกอยู่ในสภาพย้าแย่ และจะเป็นตัวจักรสาคัญใน
การช่วยกู้เศรษฐกิจของรัฐและของประเทศด้วย
คราวนี้ลองพิจารณาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยในปี 2530 ซึ่งทางการท่องเที่ยว
แห่งประเทศไทย ( ททท. ) ได้จัดให้เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวประเทศไทย ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากการ
ท่องเที่ยวนานาชาติถึง 3.48 ล้านคน ซึ่งมีอัตราการขยายตัวเพิ่งขึ้นถึง 23.6 % และทารายได้เข้าประเทศ
เป็นอันดับ 1 เหนือสินค้าการเกษตรทุกประเภท ยอดรายได้ 50,024 ล้านบาท เป็นการเพิ่งการขยายตัวกว่า
ปีที่แล้วถึง 34 % เฉลี่ยนักท่องเที่ยวใช้เวลาพักในประเทศไทย 6 วันต่อเที่ยว ใช้ค่าใช้จ่ายต่อคนต่อวัน
จานวน 2,370 บาท นักท่องเที่ยวเข้ามาพักที่ห้องของโรงแรม 124,139 ห้อง
ตาราง นักท่องเที่ยวต่างชาติ เข้ามาเที่ยวในประเทศไทยปี 2530
ประเทศ นักท่องเที่ยว ( คน ) สัดส่วนร้อยละ รายได้ ( ล้านบาท ) สัดส่วนร้อยละ
ญี่ปุ่น 349,558 10.04 4,787.05 9.6
มาเลเซีย 742,394 21.32 4,611.44 9.2
ฮ่องกง 251,376 7.22 4,017.11 8.0
ไต้หวัน 203,535 5.84 3,926.49 7.8
เยอรมันตะวันตก 148,455 4.2 2,832.99 5.7
ฝรั่งเศส 130,326 3.74 2,812.51 5.6
สิงคโปร์ 277,310 7.96 2,562.16 5.1
ออสเตรเลีย 123,316 3.54 2,129.57 4.3
อังกฤษ 126,309 3.63 2,106.40 4.2
อินเดีย 114,371 3.28 1,116.98 2.2
พิจารณาตารางจะเห็นได้ว่า นักท่องเที่ยวจากแต่ละประเทศสามารถสรุปประเทศที่เป็น
ตลาดสาคัญๆ โดยแบ่ง ตามภูมิภาคต่างๆ
1.กลุ่มประเทศเอเชียและปาซิฟิค กลุ่มนี้สัดส่วนเชิงปริมาณของตลาดถึงร้อยละ 60 และ
ทารายได้ให้กับประเทศและสัดส่วนร้อยละ 47 โดยมีตลาดสาคัญๆ เรียงลาดับ ดังนี้คือ ญี่ปุ่น มาเลเซีย
ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ และออสเตรเลีย
2.กลุ่มยุโรป สัดส่วนของตลาดประมาณร้อยละ 21 และทารายได้ให้กับประเทศในสัดส่วน
ถึงร้อยละ 30 ตลาดสาคัญๆ คือ เยอรมันตะวันตก ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี และสิตเซอร์แลนด์
3.กลุ่มอเมริกา สัดส่วนของตลาดในด้านปริมาณนักท่องเที่ยว 8 % ทารายได้ 9 % ตลาด
อื่นๆ ร้อยละ 10 ทารายได้อีก 14 %
กล่าวโดยสรุปว่า นักท่องเที่ยวนานาชาติ ส่วนใหญ่มาจากกลุ่มประเทศเอเชียและยุโรปซึ่ง
รวมสัดส่วนเป็น 81 % ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด นักท่องเที่ยวอเมริกันมีเพียง 9 % เท่านั้น สาหรับปี 2530
นี้เป็นปีทองของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย สามารถทารายได้และจัดโปรโมชั่นได้เกิน
เป้ าหมายที่ตั้งไว้ในแผนพัฒนาที่ 6 อย่างดีเยี่ยม จนทาให้นักวิชาการเริ่มเป็นห่วงการพัฒนาอุตสาหกรรม
การท่องเที่ยวของประเทศไทยในอนาคต ทั้งนี้เพราะการขยายตัวของอุตสาหกรรมเร็วมากจนเกรงว่าเรื่องที่
พักอาศัย , ราคาสินค้า , อาหารและเครื่องดื่ม การเอาเปรียบนักท่องเที่ยวในเรื่องสินค้าความปลอดภัยและ
อบอุ่นใจของนักท่องเที่ยว ตลอดจนการขนส่งทั้งระหว่างประเทศและในประเทศ
จากตารางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 6 ของ ททท.
2529 2530 2532 2533
จานวนนักท่องเที่ยวชาว 2.8 3.48 4.02 4.65
ต่างประเทศ ( หน่วยเป็น
ล้านคน ขยาย 7.5 % ปี )
ระยะทางพานักโดยเฉพาะ 5.9 6.06 6.06 6.06
ต่อครั้งใช้จ่าย เฉลี่ย ต่อคน 2,233 2,370 2,688 3,049
ต่อครั้ง / บาท ขยาย 6.5 % )
รายได้จากการท่องเที่ยว 37,321 50,024 65,480 74,950
( หน่วยเป็น ล้านบาท )
จากตารางแผนพัฒนา ฉบับที่ 6 ซึ่งมีแนวโน้มว่ากิจการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของ
ประเทศไทยจะยังมีความสามารถในการขยายตัวต่อไปในทางที่ดี อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยวแห่งประเทศ
ไทยจะใช้มาตรการต่างๆ เพื่อความร่วมมือและประสานงานจากองค์กรที่เกี่ยวข้องของรัฐ เอกชน และธุรกิจ
ต่างๆ เพื่อช่วยกันหาทางจรรโลงอุตสาหกรรมนี้ต่อไป
นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศใช้จ่ายเงิน ปี 2531
ค่าซื้อของที่ระลึก 38.53%
ค่าอาหาร 15.90 %
ค่าที่พัก 24.05 %
ค่าเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ 13.09 %
ค่าบันเทิงพักผ่อน 6.64 %
เบ็ดเตล็ด 1.8 %
ความสนใจจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ปี 2531 – 2532
1.นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เข้ามาเที่ยวในประเทศไทยจะใช้เงินตราในขณะที่พานักในประเทศไทย
38.53 % ในเรื่องของที่ระลึก
15.90 % เรื่องอาหาร
24.05 % เรื่องที่พัก
13.09 % เรื่องค่าเดินทางในประเทศ
6.64 % เรื่องค่าพักผ่อนบันเทิง ( นันทนาการ )
1.8 % เรื่องค่าเบ็ดเตล็ด
2.นักท่องเที่ยวเฉลี่ยใช้จ่ายเงิน 2532.50 บาท ต่อวัน
3.โดยเฉลี่ยนักท่องเที่ยวชาย 65 % และ หญิง 35 % ของจานวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด 4.65 ล้านคน
4.อายุของนักท่องเที่ยวตั้งแต่ 15 – 54 ปี มีถึง 80 % และ อายุ 55 ปี ขึ้นไปมีจานวน15.50 %
5.วัตถุประสงค์ของการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อ
- การพักผ่อน 88.36 %
- ธุรกิจและประชุม 9.46 %
- อื่นๆ 2.23 %
6.สถานที่พักในประเทศไทย
- นักท่องเที่ยวพักโรงแรม 93.50 %
- บ้านพัก / เพื่อน / ญาติ 1.05 %
- พักที่อื่น 5.45 %
7.จานวนนักท่องเที่ยวของประเทศเอเชียมีดังนี้
ประเทศ พ.ศ. 2530 พ.ศ. 2531
1.ฮ่องกง 4.50 ล้านคน 5.59 ล้านคน
2.สิงคโปร์ 3.68 ล้านคน 4.19 ล้านคน
3.ไทย 3.48 ล้านคน 4.23 ล้านคน
4.มาเลเซีย 3.24 ล้านคน 4.37 ล้านคน
5.ญี่ปุ่น 2.15 ล้านคน 2.36 ล้านคน
6.ไต้หวัน 1.76 ล้านคน 1.93 ล้านคน
7.เกาหลีใต้ 1.87 ล้านคน 2.34 ล้านคน
8.ฟิลิปปินส์ .79 ล้านคน 1.04 ล้านคน
นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ นิยมการท่องเที่ยวเป็นอันดับ 3 เมื่อศึกษาจากข้อมูลของแต่ละ
ประเทศ
8.สินค้าออกกับรายได้ของประเทศไทย 2530 – 2531
สินค้าออก 2530 สินค้าออก 2531
ล้านบาท ล้านบาท
การท่องเที่ยว 50,024 การท่องเที่ยว 78,859
การผลิตสิ่งทอ 48,555 ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ 55,627
ข้าว 22,703 ข้าว 34,676
มันสาปะหลัง 20.661 ยางพารา 27,189
ยางพารา 20,539 มันสาปะหลัง 21,844
9.จานวนห้องพักโรงแรมในประเทศไทย 2530 – 2531
พื้นที่ 2530 2531
กทม. 35,690 ห้อง 36,099 ห้อง
ภาคกลาง 11,226 ห้อง 12,290 ห้อง
ภาคตะวันออก 19,059 ห้อง 22,961 ห้อง
ภาคเหนือ 18,596 ห้อง 31,932 ห้อง
ภาคใต้ 26,880 ห้อง 31,932 ห้อง
ภาคอีสาน 12,688 ห้อง 13,010 ห้อง
รวม 124,139 ห้อง 135,720 ห้อง
10.จานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทย 2530 – 2531
2530 2531
- นักท่องเที่ยว 3.48 ล้านคน 4.23 ล้านคน
- เวลาพักเฉลี่ย 6.06 วัน 7.36 วัน
- รายได้จากท่องเที่ยว 50.02 ล้านบาท 78.85 ล้านบาท
ดังได้กล่าวแล้วว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว กาลังได้รับความนิยมอย่างสุดยอดนั้นสมควรที่จะพิจารณาถึง
ความหมายและบทบาทของนันทนาการธุรกิจนี้
การเดินทางท่องเที่ยวมีตัวกาหนดตามเงื่อนไข ดังนี้
1.เป็นการเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติ ไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว
2.เป็นไปด้วยความสมัครใจ
3.เป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใดๆก็ตามที่ไม่ใช่เพื่อประกอบอาชีพ หรือหารายได้ สาหรับคานิยมของ
คณะกรรมการบอร์ดการท่องเที่ยวอังกฤษกล่าวว่า ผู้ใดก็ตามที่เดินทางไปพักแรมมากกว่า 24 ชั่วโมงขึ้นไป
ซึ่งในบ้างครั้งก็ไปเกี่ยวเนื่องกับการออกไปเที่ยวเช้าไปกลับด้วย
การท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจการค้า และหน่วยงานอื่นๆ เช่น เอกชน , อาสาสมัคร ,
หน่วยงานท้องถิ่น และคณะกรรมการบริหารของรัฐบาล เช่น ททท. ซึ่งมีหน้าที่ชักนาให้เกิดพัฒนาการทาง
ท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวเป็นนันทนาการเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ สร้างประสบการณ์แปลกๆใหม่ๆนั้นเป็ น
อุตสาหกรรมที่ทารายได้ชั้นเยี่ยมและเป็นอันดับ 1 ของประเทศในหลายประเทศ อย่างไรก็ตามการ
ท่องเที่ยวส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และจิตใจของประชากร
บทบาทของการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจของประเทศ
ช่วยส่งเสริมรายได้เงินตราต่างประเทศเป็นจานวนมาก จากตัวอย่างปี 2530 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
เป็นกิจการที่ทารายได้เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย
ช่วยส่งเสริมการไหลเวียนของกระแสรายวัน และกระจายรายได้จากส่วนกลางสู่ภูมิภาค การพัฒนาอาคาร
สถานที่สิ่งอานวยความสะดวก เพื่อบริการแก่นักท่องเที่ยว ทาให้เกิดการสร้างงานและเกิดอาชีพต่อชุมชน
ช่วยกระตุ้นให้เกิดการผลิตและนาเอาทรัพยากรของประเทศ เช่น ในรูปสินค้าพื้นเมืองและสินค้าที่ระลึก
ตลอดจนงานบริการของชุมชนท้องถิ่น
การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่สิ้นเปลืองวัตถุดิบ ผลผลิตสามารถขายได้ทุกเวลา การท่องเที่ยวเป็นการ
กระตุ้นให้เกิดการผลิตเป็นวงจรหมุนภายในประเทศ
บทบาทของการท่องเที่ยวต่อสังคมและชุมชน
1.ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ของมนุษย์ชาติ ก่อให้เกิดสันติภาพความเป็นมิตรไมตรี และความ
เข้าใจอันดีระหว่างเจ้าของบ้านและผู้ให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน
2.ช่วยพัฒนาสร้างสรรค์ความเจริญสู่ชุมชนท้องถิ่นยังผลต่อประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
3.ช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และธรรมชาติ ก่อให้เกิดความซาบซึ้ง
และเห็นคุณค่าศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ
4.สร้างเสริมความรักในเอกลักษณ์ไทย ทาให้เกิดความรักในผืนแผ่นดินไทย
5.ช่วยลดช่องว่างระหว่างชนบทและเมือง และช่วยสร้างงานชนบท ทาให้ประชาชนเพิ่มพูนรายได้
ของชาวชนบท
ผลกระทบการท่องเที่ยวทางด้าน
สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม
ผลดีและผลเสียของการท่องเที่ยวทางด้านสังคมและวัฒนธรรม
ผลดี ก.ด้านสังคม
1.ทาให้มีการเคลื่อนไหวทางสังคม
2.ทาให้มีการปรับปรุงบริการสาธารณะต่างๆ ในสังคม เช่น การขนส่ง การเก็บขยะมูลฝอย ตารวจ
การป้ องกันไฟ ฯลฯ
3.ทาให้มีการปรับปรุงสิ่งอานวยความสะดวกด้านสาธารณสุขของสังคมนั้น
4.ทาให้มีการปรับปรุงสิ่งอานวยความสะดวกสาธารณะต่างๆให้ทันสมัยขึ้น
5.ทาให้มีการพัฒนาสิ่งอานวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวหรือพักผ่อนหย่อนใจในสังคมนั้นเพิ่ม
มากขึ้น ฯลฯ
ผลเสีย ก.ด้านสังคม
1.ทาให้เกิดอาชญากรรม เช่น การข่มขืน การปล้นจี้ การลักทรัพย์ ฉกชิงวิ่งราว ฯลฯ กับ
นักท่องเที่ยวขึ้น
2.ทาให้มีกิจกรรมที่ไม่ดีงามเพิ่มขึ้น เช่น การค้ายาเสพติด การค้าโสเภณี การพนัน ฯลฯ
3.ทาให้เกิดความแออัดยัดเยียด ( Congection )ในการใช้บริการสิ่งอานวยความสะดวกสาธารณะ
และโครงสร้างพื้นฐาน ( Infrastructure ) ต่างๆ
4.ทาให้ความสัมพันธ์ฉันญาติของระบบครอบครัวเสื่อมลงไป อันเนื่องมาจากการรวมตัวของ
ครอบครัวต่างๆในสังคม ( Community Cohesion ) ได้กระจายตัวออกไป
5.ทาให้มีการรบกวนความสันโดษ ( Privacy ) หรือความสงบของผู้ที่พักอาศัยอยู่ในสังคมหรือ
ชุมชนนั้น
6.ทาให้มีการใช้ภาษาพื้นเมืองหรือภาษาท้องถิ่นน้อยลง มีการใช้ภาษากลางซึ่งเป็นที่ใช้กันทั่วไป
มากขึ้น ทาให้ระดับความเป็นปึกแผ่น ( Solidavity ) ของภาษาท้องถิ่นนั้นลดลง
7.ทาให้เกิดความเป็นปรปักษ์ ( Animosity ) ระหว่างคนท้องถิ่นซึ่งเป็นลูกจ้างกับคนต่างถิ่นหรือ
ต่างชาติที่เป็นผู้บังคับบัญชาในกิจการ การท่องเที่ยวที่ต้องอาศัยการลงทุนหรือร่วมทุนจากภายนอก
ผลดี ข.ด้านวัฒนธรรม
1.ทาให้มีการแสดงออกถึงความแตกต่างด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างชัดเจน
2.ทาให้มีการฟื้นฟูศิลปหัตถกรรมพื้นเมืองที่มีมาแต่โบราณ
3.ทาให้มีการทะนุบารุงรักษาสถานที่อนุสาวรีย์ พงศาวดารและเรื่องราวทางศาสนา และ
สถาปัตยกรรมต่างๆไว้
4.ทาให้คนท้องถิ่นมีความภูมิใจจงรักภักดีและให้ความเชื่อถือต่อสังคมชุมชนนั้น
5.ทาให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างคนท้องถิ่นกับคนต่างถิ่นหรือต่างชาติ
ผลเสีย ข.ด้านวัฒนธรรม
1.ทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในค่านิยมศีลธรรม และการทาบุญช่วยเหลือต่างๆในจิตใจของคน
ท้องถิ่น
2.ทาให้ลดมาตรฐานศิลปกรรมต่างๆลง เช่น มีการลอกเลียนแบบศิลปะออกขายนักท่องเที่ยว ผลิต
สินค้าที่ระลึกที่มีคุณภาพต่าหลอกหรือตบตาขายต่อนักท่องเที่ยว
3.ทาให้เกิดความรู้สึกทาเพื่อการค้า ( Commercialization ) ขึ้นในการทาพิธีเฉลิมฉลองหรือพิธี
ทางศาสนาที่สาคัญหรือรับจ้างจัดงานดังกล่าวขึ้นแสดงต่อนักท่องเที่ยว อันจะทาให้งานนั้นเสื่อม
ความหมายไป
นอกจากนี้ก็มีผลทางด้านสังคมและวัฒนธรรมอื่นๆอีก ที่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นผลดีหรือผลเสีย คือ
อาจจะเป็นได้ทั้งผลดีและผลเสียขึ้นอยู่เป็นกรณีๆ ไปนั้นเอง เช่น การเปลี่ยนแปลงถิ่นที่อยู่หรือขยายถิ่น (
Migration ) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสถานะทางสังคมของผู้หญิง เด็ก หนุ่มสาว และอาชีพ การ
เปลี่ยนแปลงแบบแผนการพักผ่อนหย่อนใจ การเลียนแบบ ในเรื่องอาหารการกิน การแต่งตัว การบริโภค
สินค้าต่างๆของคนท้องถิ่นเอาอย่างนักท่องเที่ยว ฯลฯ
ตารางที่ 2
ผลดีและผลเสียของการท่องเที่ยวทางด้านสิ่งแวดล้อมกายภาพ
ผลดี
1.ทาให้การก่อสร้างและสิ่งอานวยความสะดวกในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ( Infrastruccure ) และการเข้าถึง
แหล่งท่องเที่ยวให้ดีขึ้น
2.ทาให้มีการก่อสร้างและปรับปรุงสิ่งอานวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ฯลฯ เพิ่มมากขึ้น
3.ทาให้มีการควบคุมป้ องกันโรคภัยอันตรายจากภัยธรรมชาติต่างๆมากขึ้น
4.ทาให้มีระบบการควบคุมและจัดการเกี่ยวกับทรัพยากรการท่องเที่ยว เช่น น้า น้าทะเล การป้ องกันภัย
ธรรมชาติบริเวณชายฝรั่งทะเล ฯลฯ ดีขึ้น
5.ทาให้มีการปรับปรุงเกี่ยวกับภูมิทัศน์และมีการวางแผนยกระดับมาตรฐานสิ่งแวดล้อมขึ้นในแหล่งพื้นที่
ท่องเที่ยว
6.ทาให้มีการปรับปรุงเกี่ยวกับแบบแผนการใช้ที่ดิน และการจัดการทรัพยากรอย่างถูกต้อง
7.ทาให้มีการใช้มาตรการควบคุมเพื่อรักษาพันธ์สัตว์ พันธ์พืชต่างๆ ที่สาคัญในพื้นที่การท่องเที่ยวที่สูญเสีย
สภาพได้ง่ายไว้ โดยการใช้เครื่องมือที่เป็นกลไกลการบริหารหรือการจัดการต่างๆ
ผลเสีย
1.ทาให้สูญเสียการสมดุลหรือเกิดความเปลี่ยนแปลงในพันธ์พืชและพันธ์สัตว์ที่สาคัญหรือหายากในพื้นที่
การท่องเที่ยวนั้น
2.ทาให้สูญเสียคุณภาพของแหล่งท่องเที่ยวในแง่ของสภาพแวดล้อมธรรมชาติและในด้านทิวทัศน์
3.ทาให้เกิดมลภาวะ ( Pollution ) ในน้า อากาศ และพื้นดิน
4.ทาให้สูญเสียหรือทาลายทรัพยากรที่มีมาดั้งเดิม
5.ทาให้สูญเสียพื้นที่ในการใช้ที่ดินที่เป็นป่าไม้ในการเกษตรกรรมและทุ่งเลี้ยงสัตว์ อันเนื่องมาจากการ
ขยายตัวของชุมชนที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเข้าไป
6.ทาให้เกิดความแออัดคับคั่ง ( Congestion ) ทั้งในด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวและความหนาแน่น (
Density ) ของนักท่องเที่ยวในช่วงบางระยะเวลา
7.ทาให้เกิดมลภาวะของเสีย ทาลายความสงบและความเงียบสงัด
8.ทาให้สูญเสียสภาพแวดล้อมดั้งเดิมหรือบรรยากาศธรรมชาติที่ยังไม่เจริญไปกลับมีสภาพแวดล้อมหรือ
บรรยากาศธรรมชาติ ซึ่งได้มีการพัฒนาการสมัยใหม่เข้ามาแทนที่
องค์ประกอบของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมประเภทบริการจึงมีองค์ประกอบ
1.แหล่งท่องเที่ยว หรือ ทรัพยากรการท่องเที่ยว หมายถึง สถานที่ท่องเที่ยว กิจกรรม และวัฒนธรรม
ประเพณีที่สามารถดึงดูดความสนใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือน
2.การคมนาคม การคมนาคมเป็นปัจจัยสาคัญอย่างยิ่งเพราะผู้บริโภคจะต้องเดินทางมา ซื้อบริการถึงแหล่ง
ท่องเที่ยว ทั้งนี้รวมทั้งในและนอกประเทศ
3.พิธีการเข้าเมืองและบริการข่าวสาร ควรจะมีระเบียบและพิธีการสะดวกไม่ซับซ้อน รวดเร็ว และใช้บริการ
ข่าวสารสื่อความเข้าใจง่าย มีบริการ เรื่องที่พัก อาหาร ยานพาหนะ หรือบริการนาเที่ยว เป็นต้น
4.ที่พักอาศัย ควรมีโรงแรมระดับต่างๆ ให้นักท่องเที่ยวเลือก และควรมีราคาในเรื่องที่พักที่เหมาะสมกับ
คุณภาพ ความสะอาด ตามมาตรฐานสากล
5.ภัตตาคารและร้านอาหาร ควรคานึงถึงสุขลักษณะ คุณภาพ และการบริการ ตลอดจนการกาหนดราคา
อาหารและชนิดต่างๆของอาหาร ให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสเลือกตามความต้องการและสนใจ
6.การบริการนาเที่ยว ควรมีการบริการนาเที่ยวและมัคคุเทศก์ควรจะมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องผ่านการ
อบรมมัคคุเทศก์มาก่อน
7.สินค้าของที่ระลึก ควรมีการควบคุมคุณภาพ กาหนดราคาที่เหมาะสม
8.ความปลอดภัย ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยวเป็นสิ่งสาคัญยิ่งควรมีมาตรการ
รักษาความปลอดภัยอย่างมีประสิทธิภาพ
9.การเผยแพร่โฆษณา เป็นสิ่งสาคัญของการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ทั้งนี้รวมทั้งการเผยแพร่
ภายในและต่างประเทศ
ทรัพยากรการท่องเที่ยว
ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยทรัพยากรการท่องเที่ยว ซึ่งหมายถึง สถานที่ท่องเที่ยว และ
วัฒนธรรมประเพณีที่สะเทือนให้เห็นถึงอารยธรรมท้องถิ่นที่มีลักษณะเด่น ดึงดูดความสนใจของ
นักท่องเที่ยวได้ ทรัพยากรการท่องเที่ยวอาจแยกตามลักษณะและความต้องการได้ 3 ประเภท คือ
1.ประเภทธรรมชาติ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงามเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ได้แก่ ภูเขา น้าตก
ถ้า น้าพุร้อน เขตสงวนพันธ์สัตว์ สวนสัตว์ อุทยานแห่งชาติ วนอุทยานสวนรุกชาติ ทะเล หาดทราย หาดหิน
ทะเลสาบ เกาะ เขื่อน อ่างเก็บน้า แหล่งน้าจืด ( ห้วย หนอง คลอง บึง ) และ อ่างเก็บน้า เขื่อน ตัวอย่าง
แหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติของไทย เช่น ภูกระดึง น้าตกเอราวัณ เกาะเสม็ด ฯลฯ เป็นต้น
2.ประเภทประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุสถาน และศาสนา เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสาคัญในทาง
ประวัติศาสตร์ โบราณคดีหรือศาสนา ได้แก่ วัด โบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์ ชุมชนโบราณ
พิพิธภัณฑ์ ศาสนสถาน กาแพงเมือง คูเมือง และ อนุสาวรีย์ อนุสรณ์สถาน ตัวอย่าง แหล่งท่องเที่ยว
ประเภทนี้ได้แก่ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ฯลฯ
เป็นต้น
3.ประเภทศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรม เป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวอีกรูปแบบหนึ่ง ใน
ลักษณะของพิธี งานประเพณี ความเป็นอยู่วิถีชีวิต ( เช่น หมู่บ้านชาวเขา สภาพชีวิตในชนบท ) ศูนย์
วัฒนธรรม สินค้าพื้นเมือง ไร่ / สวน พืช ผัก ผลไม้ และเหมือง ตัวอย่าง เช่น ตลาดน้าดาเนินสะดวก งาน
ช้างจังหวัดสุรินทร์ สวนสามพราน ฯลฯ เป็นต้น
แหล่งท่องเที่ยวที่สาคัญของประเทศไทย
ประเทศไทยเป็นแหล่งนันทนาการ การท่องเที่ยวที่สมบูรณ์ได้ทรัพยากรทั้งทางด้านธรรมชาติ
ประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุและประเพณีศิลปวัฒนธรรมและกิจกรรมของชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย ใน
อาณาบริเวณ 513,115 ตารางกิโลเมตร ซึ่งประกอบไปด้วยพื้นที่ 73 จังหวัด
ประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวมากมายกว่า 700 แห่ง ขอแนะนาตามลักษณะภูมิภาคของประเทศไทยพอ
สังเขป
ภาคเหนือ แหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่ที่ขึ้นชื่อว่า ประชาชนมีอัธยาศัยอ่อนโยน โอบอ้อมอารีมีสภาพ
ภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยความงดงามของธรรมชาติของขุนเขาใหญ่น้อย นับตั้งแต่บริเวณอุทยานแห่งชาติใน
จังหวัดสุโขทัย อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง อุทยานแห่งชาติตระการ ที่จังหวัดพิษณุโลก ยอดดอยทั้ง
ตระหง่านท้าทายนักเดินป่าและนักปืนเขา เช่น ดอยขุนตาน ในเขตจังหวัดลาพูด – ลาปาง ดอยผ้าห่มปก
คลุมจังหวัดเชียงราย ดอยหลวงเชียงดาว ไปจนถึงดอยอินทนนท์ ยอดดอยที่สูงที่สุดในประเทศที่จังหวัด
เชียงใหม่ตลอดจนน้าตกที่สวยงามและมีชื่อเสียง เช่น น้าตกแม่กลาง แม่ยะ และน้าตกสิริภูมิ
นอกจากนี้ภาคเหนือยังเป็นที่ตั้งของศูนย์ฝึกลูกช้าง ที่อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นศูนย์ฝึกลูกช้างแห่ง
เดียวในโลกที่จังหวัดลาปาง และยังมีการแสดงช้างทางานให้นักท่องเที่ยวได้ชม ที่แม่สาและเชียงดาว
จังหวัดเชียงใหม่
ภาคเหนือมีโบราณสถาน โบราณวัตถุเก่าแก่ อาทิ บริเวณเมืองเก่าสุโขทัย ซึ่งเป็นราชธานีแห่งแรก
ของไทย มีอายุไม่ต่ากว่า 700 ปีมาแล้ว พระบรมธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นที่สักการะของชาว
เหนือ พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก พระพุทธรูป ที่มีลักษณะงดงามที่สุด และ
ยังเป็นที่ตั้งของเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ คือ เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก
ชาวเมืองเหนือส่วนใหญ่ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณีของ “ ชาวลานนาไทย ” ซึ่งมี
สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน โดยเฉพาะงานประเพณีสงกรานต์ จังหวัดเชียงใหม่ และงานเผาเทียนเล่นไฟ
จังหวัดสุโขทัย ซึ่งจัดเป็นงานใหญ่ระดับชาติ เป็นที่รู้จักกันดีของนักท่องเที่ยวทั่วไป
ชาวเขาเผ่าต่างๆ อาทิ พวกม้ง เย้า ลีก้อ มูเซอ กะเหรี่ยง และลีซอ ซึ่งอาศัยอยู่ตามเทือกดอยและ
ขุนเขาอันสลับซับซ้อน ก็เป็นเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งที่ดึงดูดผู้คนมากมายให้ขึ้นไปเยี่ยมชม
ในเทศกาลออกพรรษาหรือในฤดูน้าหลาก การแข่งเรือประเพณีจังหวัดพิจิตร และพิษณุโลก เป็น
งานที่สนุกสนานตื่นเต้นไม่แพ้งานประเพณีของจังหวัดอื่น นากจากพื้นนาฏศิลป์ และการละเล่นของ
ภาคเหนือยังมีลีลาอ่อนช้อยงดงาม อาทิ การฟ้ อนเล็บ ฟ้ อนเทียน ฟ้ อนตาม และกลองสะบัดชัย ที่มีลีลาการ
เต้นเร้าใจ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ภาคอีสาน อันหมายถึงความมั่งคั่งใหญ่โต มีพื้นที่ครอบคลุมใน 3
ประเทศ อุดมไปด้วยเทือกเขาใหญ่น้อย เช่น เทือกเขาเพชรบูรณ์ เมือกเขาดงพญาเย็น และพนมดงรัก เป็น
ที่ตั้งของ “ ภู ” ที่สวยงามหลายแห่ง อาทิ ภูกระดึง ภูเขียว ภูเรือ ภูหลวง ภูวัว ภูทอก และป่าอันอุดมสมบูรณ์
ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ถึง 4 จังหวัด
ทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี แผ่นดินอีสานนับได้ว่าเป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่แห่งหนึ่ง
ของโลก เป็นที่ยอมรับของนักประวัติศาสตร์และโบราณคดีทั้งชาวไทยปละต่างประเทศไม่ว่าจะเป็น
ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี หรือที่ ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี ตลอดจน
การขุดค้นพบเครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสีที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีการทดสอบแล้วว่ามีอายุ
ประมาณ 1,000 – 7,000 ปีมาแล้ว
นอกจากโบราณสถานและปราสาทหินทั้งหลายอันเป็นซากอารยธรรมสมัยขอมเรืองอานาจใน
ดินแดนแถบนี้ก็มีให้เห็นอยู่ทั่วไป อาทิ ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง
ปราสาทหินเมืองต่า จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ และสาหรับพุทธศาสนิกชน พระธาตุ
พนม พระธาตุเรณูนคร จังหวัดนครพนม พระธาตุบังพวน จังหวัดหนองคาย พระธาตุศรีสองรัก จังหวัดเลย
และพระธาตุเชิงชุม จังหวัดสกลนคร ก็นับเป็นปูชนียสถานสาคัญ
ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของชาวอีสาน เช่น งานบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร งานแห่ปราสาทผึ้ง
จังหวัดสกลนคร งานแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี งานช้าง จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดชัยภูมิ
รวมทั้งการละเล่นและดนตรีพื้นเมือง อาทิ เซิ้งกระติบ ราเพลิน โปงลาง แคน พิณ ล้วนเป็นเอกลักษณ์ที่
ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวต่างถิ่นให้เดินทางมาสู่ภาคอีสานทั้งสิ้น
ภาคกลาง ประกอบด้วยพื้นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ไพศาล นับแต่ลุ่มแม่น้าเจ้าพระยา แม่กลอง ท่าจีน
และบางปะกง มีกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์รวมของศิลป์ วัฒนธรรมของชาติและศูนย์กลางการปกครองของ
ประเทศ แหล่งท่องเที่ยวสาคัญในภูมิภาคนี้โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ได้แก่ พระบรมมหาราชวังวัดพระ
ศรีรัตนศาสดาราม อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมณีรัตนมหาปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต พระพุทธรูปที่
สาคัญที่สุดในประเทศ ศาลาเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญกษาปณ์ไทย พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่
นั่งวิมานเมฆ ตลอดจนวัดสาคัญๆ อาทิ วัดมหาธาติ วัดพระเชตุพน วัดเบญจมพิตร วัดไตรมิตร และวัดสระ
เกศ หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “ ภูเขาทอง ” นอกจากนี้ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะแก่การทัศนศึกษา
เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์และความรู้แก่เยาวชน อาทิ โรงละครแห่งชาติ หอศิลปแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์
วิทยาศาสตร์ และท้องฟ้ าจาลอง งานสภากาชาดไทย และสวนสัตว์ดุสิต เขาดินวนา เป็นต้น
สาหรับจังหวัดอยุธยา ซึ่งเคยเป็นราชธานีเก่าของไทยเป็นเวลาถึง 417 ปี ก็มีโบราณสถานและ
โบราณวัตถุให้ชมมากมาย อาทิ บริเวณเมืองเก่าอยุธยา พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา วิหาร
พระมงคล พระราชวังบางปะอิน พระราชวังฤดูร้อนที่มีศิลปะการก่อสร้างทั้งแบบไทย จีน และยุโรป
จังหวัดกาญจนบุรี เป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติถึง 3 แห่ง คืออุทยานแห่งชาติถ้าธารลอดหรือ
อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ อุทยานแห่งชาติเอราวัณ และอุทยานแห่งชาติน้าตกแม่ขมิ้น สะพาน
ข้ามแม่น้าแคว ทางรถไฟสายมรณะ และสุสานทหารสัมพันธ์มิตร เป็นสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย
และชาวต่างประเทศให้มาเยี่ยมชมเมืองกาญจนบุรี
นากจากนี้การล่องแพรไปตามแม่น้าแควน้อย การเที่ยวชมหินงอกหินย้อยอันวิจิตรพิสดารในถ้า
ดาวดึงส์ ถ้าละว้า เรือนแพรพักตากอากาศกลางทะเลสาย หรือการตกปลาบริเวณเหนือเขื่อนศรีนครินทร์ ก็
ล้วนเป็นสิ่งเย้ายวนใจนักท่องเที่ยวที่รักการผจญภัย และบรรยากาศธรรมชาติให้มาเยือนเมืองกาญจนบุรี
กันอย่างเนืองแน่น
ท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ตลาดน้าดาเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี และการแสดงของสวนสามพราน
จังหวัดนครปฐม ก็นับเป็นรายการท่องเที่ยวที่ “ พลาดไม่ได้ ” เมื่อมาเยือนเมืองไทย เช่นเดียวกับฟาร์ม
จระเข้ และเมืองโบราณ ที่จังหวัดสมุทรปราการ
งานประเพณีและการละเล่นของภาคกลาง อาทิ การเล่นเพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเหย่อย
เพลงอีแซว เพลงปรบไก่ เพลงลาตัด เพลงฉ่อย ประเพณีชาวไทยเชื้อสายรามัญ เช่น สงกรานต์ปลากลัด
พระประแดง งานพิธีโยนบัว ที่บางพลี สมุทรปราการ การละเล่นมอญรา ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นอยู่
และจิตใจของชาวบ้าน รวมทั้งการแสดงโขน ละครนอก ละครใน หุ่นกระบอก ซึ่งหาดูได้ที่โรงละครแห่งชาติ
กรุงเทพมหานคร ประเพณีแห่เจ้าของจีน จังหวัดนครสวรรค์ และงานนมัสการพระพุทธบาท สระบุรี ซึ่งจัด
ให้มีขึ้นกลางเดือน 3 ของทุกปี ก็มีนักท่องเที่ยวและพุทธศาสนิกชนจากจังหวัดต่างๆเดินทางไปร่วมงานกัน
อย่างเนืองแน่น
ชายฝั่งตะวันออก นับตั้งแต่จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี ไปจนถึงจังหวัดตราด เป็น
แหล่งท่องเที่ยวที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ มีแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติที่สวยงาม ป่า เขา
น้าตก อาทิ อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา เขาวง อุทยานแห่งชาติเขาแหล่มหญ้า หมู่เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง
อุทยานแห่งชาติเขาสระบาป ซึ่งเป็นที่ตั้งของน้าตกพลิ้ว น้าตกคลองนารายณ์และน้าตกตรอกนอง วน
อุทยาน เขาคชกูฎ และเขารักษาพันธ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว อันชุมชื่นของจังหวัดจันทบุรี แนวฝั่งทะเลอัน
เว้าแหว่ง ก่อให้เกิดหาดทรายสวยงาม นับตั้งแต่หาดบางแสนที่มีชื่อเสียง จังหวัดชลบุรี ชายหาดอันคึกคัก
ของพัทยา บางเสร่ สวนวังแก้ว แหลมแม่พิม พิพิธภัณฑ์สัตว์ทะเลบางแสน เขาเขียว สวนนงนุช เป็นแหล่ง
ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ชายฝั่งทะเล อาทิ เกาะล้าน เกาะครก เกาะ
สาก เกาะไผ่ เกาะจวง เกาะจาน ก็เหมาะที่จะเป็นแหล่งตกปลาและว่ายน้าดูปะการัง นอกจากนี้ดินแดน
ภาคตะวันออกยังมีที่เที่ยวที่มีความสาคัญทั้งทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ อาทิ ค่ายเนินวง ตึก
แคง จังหวัดจันทบุรี งานประเพณีท้องถิ่นของภาคตะวันออกที่น่าสนใจ ได้แก่ งานวิ่งควาย จังหวัดชลบุรี
งานเกษตรกรรมประจาปี และงานประกวดผลไม้
ภาคใต้ ที่ตั้งของอาณาจักรศรีวิชัยอันรุ่งเรืองในอดีต มีซากปูชนียสถานและโบราณวัตถุมากมาย
อาทิ พระธาตุไชยา อาเภอไชยา สุราษฏร์ธานี พระบรมธาตุเจดีย์และโบราณสถานอื่นๆ ในนครศรีธรรมราช
เมืองเก่าที่อาเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เมืองเก่าที่อาเภอยะรัง โบราณสถาน ปัตตานี และเมืองโบราณที่
บ้าทุ่งตึก อาเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา
โดยที่ภาคใต้มีภูมิประเทศเป็นคาบสมุทร จึงเต็มไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ หาดทรายยาว
เหยียดตั้งแต่หาดหัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ หาดทรายรี จังหวัดชุมพร ชายทะเลดอนสัก สุราษฎร์ธานี หาด
ขนองและหาดสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช หาดสมิหลา จังหวัดสงขลา หาดแฆแฆ ตลอดจนหาดนราทัศน์
ในจังหวัดนราธิวาส
นอกจากหาดทรายทะเลแล้ว ยังมีหมู่เกาะน้อยใหญ่ อุดมไปด้วยปะการังและปลาสวยงาม อุทยาน
แห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล จังหวัด
กระบี่ เกาะสมุย และหมู่เกาะอ่างทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เทือกเขาอันอุดมสมบูรณ์ของทิวเขาตะนาวศรี ทิวเขานครศรีธรรมราช และทิวเขาสันการา
คีรี ธารน้าตกที่งดงามและชุ่มฉ่าตลอดปี อาทิ น้าตกบุญญบาล จังหวัดระนอง น้าตกพรหมโลก น้าตกกะ
โรม จังหวัดนครศรีธรรมราช น้าตกโตนงาช้าง จังหวัดสงขลา น้าตกบาโจ นราธิวาส น้าตกโตนเต๊ะ และเขา
ช่อง จังหวัดตรัง
นอกจากนี้ภาคใต้ยังเป็นแหล่งอาศัยของฝูงนกนับเหมื่นนับแสน ในบริเวณอุทยานนาน้าบ้านคูขุด
สทิงพระ จังหวัดสงขลา และทะเลน้อย อาเภอควบขนุน จังหวัดพัทลุง
สาหรับการละเล่นพื้นเมืองและประเพณีที่น่าสนใจของภาคใต้ ได้แก่ งานสารทเดือนสิบ จังหวัด
นครศรีธรรมราช งานกินเจ จังหวัดภูเก็ต งานฉลองเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว จังหวัดปัตตานี งานชักพระ จังหวัด
สุราษฎร์ธานี งานแข่งเรือกอและ จังหวัดนราธิวาส และงานฮารีรายยอ ซึ่งเป็นงานฉลองการออกบวชการ
ถือศิลของชาวไทยมุสลิม การแสดงโนรา หนังตะลุง รองเง็ง มะโย่ง ซีละ และการชนวัว เป็นกีฬาพื้นเมือง
และการละเล่น ที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของชาวใต้
จินตภาพการท่องเที่ยว
ความดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยวเป็นปัจจัยหนึ่งสาคัญในสามที่จะให้แหล่งท่องเที่ยวประสบ
ความสาเร็จในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ( นอกเหนือจากการคมนาคม และสิ่งสร้างความสาราญให้แก่
นักท่องเที่ยว ) การขายสินค้าและบริการท่องเที่ยวจึงเป็นการขาย “ ประสบการณ์ ” ให้แก่นักท่องเที่ยว
ผลผลิตชิ้นสุดท้ายที่นักท่องเที่ยวจะได้รับเป็นความรู้สึก ชอบ – ไม่ชอบ สนุก – ไม่สนุก ตื่นเต้น ประทับใจ –
เข็ดขยาด แต่ก่อนที่นักท่องเที่ยวจะได้รับประสบการณ์จากการเดินทางท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจะต้องมี
ความรู้สึก นึกและคิดเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ ล่วงหน้าก่อน ความรู้สึกนึกคิดนี้นั้นอาจมีมาต่างๆกัน
เช่น จากการศึกษา ค้นคว้าจากเอกสาร จากสื่อโฆษณาประเภทต่างๆ ในท้องที่การท่องเที่ยวบางแหล่งเมื่อ
เอ่ยถึงผู้ที่ได้ฟังจะนึกสิ่งใดควบคู่กันไปเสมอ
จินตภาพทางการท่องเที่ยวได้แก่สิ่งที่นักท่องเที่ยวนึกคิดเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวก่อนได้สัมผัสจริง
ด้วยตนเอง หรือข้อมูลจากตัวแทนจาหน่ายบริการการท่องเที่ยว จินตภาพออกเป็นสามหมวดใหญ่ๆ
ด้วยกันคือ
1.จิตภาพส่วนรวม เป็นจินตภาพที่หมายรวมถึงสิ่งทั่วๆไปของแหล่งท่องเที่ยวอันนั้นได้ สิ่งแวดล้อม
มักเป็นจินตภาพที่จะเกี่ยวข้องกระทบกับลักษณะทางชีวะวิทยาของนักท่องเที่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวซึ่งเกิด
จากความต้องการส่วนลึกของมนุษย์ จิตภาพส่วนรวมจะได้รับการกระตุ้นจากการโฆษณา นักท่องเที่ยวจะ
สนใจและให้คุณค่าแก่สิ่งที่จะสร้างความตื่นเต้นจากภาพดั้งเดิมของที่นั้นโดยการเข้าไปอยู่ใน
สภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากสิ่งที่จาเจออยู่ทุกวัน
2.จินตภาพด้านขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวจะนึกคิดวาดภาพแหล่งท่องเที่ยว
โดยเชื่อมโยงกับความเป็นมาตั้งแต่อดีตของแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ มักจะเป็นจินตภาพที่เกิดจากกลุ่มบุคคลที่
มีการศึกษาดี จินตภาพนี้ได้แก่สิ่งที่เกี่ยวข้องกับวรรณคดี ภาพวาด ดนตรี กีฬา ความเชื่อความเป็นอยู่ของ
คนและอื่นๆสภาพชีวิตความเป็นอยู่แบบดั้งเดิมขนบธรรมเนียมประเพณีพื้นบ้าน จะเป็นสิ่งแปลกและสร้าง
ความตื่นเต้นให้แก่นักท่องเที่ยว
3.จินตภาพสมัยนิยม ความนึกคิดเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวคิดไว้ล่วงหน้า สิ่งที่
นักคิดอาจเป็นจริงหรือไม่เป็นจริงก็ได้ ก่อนออกเดินทางนักท่องเที่ยวอยากจะพิสูจน์สัมผัสได้ สิ่งที่จะช่วยให้
เกิดการตัดสินใจเสี่ยงเลือกสถานที่ท่องเที่ยวก็คือ จินตภาพตามสมัยนิยม ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงไปตาม
กาลเวลา
โดยทั่วไปแล้วจินตภาพมักจะเกิดขึ้นจากผลรวมของการผสมผสานปัจจัยต่อไปนี้คือ
1.ข้อมูลจากเอกสารประเภทต่างๆ เช่น หนังสือนาเที่ยว แผนที่ ฯลฯ
2.ความต้องการส่วนบุคคลหรือสังคมหรือเกิดจากบทบาทหน้าที่ของบุคคลนั้นๆ
3.การเสนอแนะ การโฆษณาชักชวน จากสื่อมวลชนต่างๆ หรือญาติมิตร
ลักษณะของจินตภาพ
มีอยู่สองลักษณะคือ ด้านดี อันเป็นจินตภาพที่ส่งเสริมสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปยังแหล่ง
ท่องเที่ยวนั้น และจินตภาพด้านเลวซึ่งเป็นจินตภาพที่จะสกัดกั้นความต้องการหรือแม้แต่เปลี่ยนแปลงการ
ตัดสินใจเกี่ยวกับจุดหมายปลายทางของแหล่งท่องเที่ยว ในขณะเดียวกัน ลักษณะของจินตภาพทั้งสองอาจ
เปลี่ยนเป็นตรงกันข้ามได้ เมื่อมีปัจจัยต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในกระตุ้น
ลักษณะทางกายภาพ ด้านดี
ลักษณะทางสังคมและสัฒนธรรม
ลักษณะทางเศรษฐกิจ จินตภาพ
ลักษณะทางการเมือง
ลักษณะสิ่งก่อสร้าง
ลักษณะพืชพันธ์สัตว์ ด้านเลว
ประเภทของจินตภาพ
โดยพิจารณาจากที่มาของจินตภาพนั้นในแง่ต่างๆ ( ชยาภรณ์ ชื่นรุ่งโรจน์ , 2530 : 33 – 37 ) ได้
แบ่งจินตภาพการท่องเที่ยวออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1.จินตภาพทางกายภาพ อันได้แก่ลักษณะภูมิประเทศ เป็นทะเลสาบมีภูเขาล้อมรอบมีทุ่งหญ้ากว้างใหญ่
สลับเนินเขา แม่น้า คลอง เกาะแก่ง ถ้า หุบเขา ชายหาดสวยงาม หาดทรายขาว ละเอียดดังน้าตาลทราย
ฯลฯ ลักษณะภูมิอากาศ เช่น หนาวจนกระดูกแทบหลุด ร้อนราวกับทะเลทราย ตัวอย่าง จินตภาพทาง
กายภาพของแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เช่น
ตะรุเตา หาดหินขาว
ภาคอีสาน ความแห้งแล้ง
เพชรบูรณ์ เมืองภูเขา
ลาบาง เมืองกะทะ
ภาคใต้ ฝนตกชุก
แม่ฮ่องสอน เมืองสามหมอก
เกาะภูเก็ต ไข่มุกแห่งอันดามัน
เชียงราย เมืองสุดสยาม
กระบี่ เมืองคอดอากะ
เกาะเก่าพิสดาร หาดทรายขาวสะอาดดุจน้าตาล
เวนิส เมืองแห่งคลอง
ธิเบต หลังคาโลก
อลาสกา เมืองหิมะ
2.จินตภาพทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ความเป็นมา เป็นอยู่ และเป็นไปของผู้คนในท้องถิ่นต่างๆ
ย่อมเป็นสิ่งสนใจของนักท่องเที่ยว และเป็นสิ่งดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวต้องการเดินทางไปชม เช่น
ประเทศไทย สยามเมืองยิ้ม ผู้คนเป็นมิตร
สุพรรณบุรี เมืองคนกล้ารักพวกพ้อง
นครสวรรค์ การเชิดสิงโตตรุษจีน
สุราษฎร์ธานี ประเพณีงานเดือน 10
สุโขทัย , อยุธยา เมืองหลวงเก่าแก่ของไทย
กริก , โรม แดนแห่งเหว้าอารยธรรมตะวันตก
อียิปต์ ต้นกาเนิดอารยธรรมของโลก
อังกฤษ ผู้คนสุภาพเป็นผู้ดี
ซิซิลี แดนมาเฟีย
ฟลอเรนซ์ แดนแห่งศิลปะ
อ๊อกซฟอร์ด เมืองการศึกษา
3.จินตภาพเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ ในบางครั้งฐานะทางเศรษฐกิจ รวมทั้งลักษณะการประกอบอาชีพของ
คนในท้องถิ่นนั้นจะมีลักษณะความเป็นเอกลักษณ์ ให้ผู้คนรู้จักและเป็นจินตภาพของแหล่งท่องเที่ยวนั้น
ตัวอย่าง เช่น
ภาคอีกสาน ความยากจน
กรุงเทพฯ ศูนย์กลางการค้า
ประเทศบรูไน รารวยมั่งคั่งด้านน้ามัน
ฮ่องกง เมืองท่าปลอดภาษี
ประเทศไทย สินค้าและบริการถูก
ประเทศญี่ปุ่น ค่าครองชีพสูง
กวางเจา เมืองอุตสาหกรรมของจีน
เมืองตูริน ( อิตาลี ) อุตสาหกรรมรถเฟียด
4.จินตภาพเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้าง อาจเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีความสาคัญทางประวัติศาสตร์ ศาสนา หรือ
สิ่งก่อสร้างที่มีความเป็น “ ที่สุด ” เช่น
กาญจนบุรี สะพานข้ามแม่น้าแคว
นครปฐม พระปฐมเจดีย์
กรุงเทพฯ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ปัตตานี วัดหลวงพ่อทวด
เชียงใหม่ พระธาตุดอยสุเทพ
ลอนดอน หอนาฬิกาบิกเบน สะพานลอนดอนบริดจ์
ปิซ่า หอเอนเมืองปิซ่า
โรม โคลีเซี่ยม
อินเดีย ทัชมาฮาล
จีน กาแพงเมืองจีน
อียิปต์ ปิรามิดที่เมืองกีฟู
แมกซิโก เมืองมายา
ปอมเปอี ซากเมืองถูกเก้าภูเขาไฟกลบ
กรุงเฮก เมืองจาลองมาดูโรดัม
ปารีส หอคอยไอเฟล
ออสเตเลีย ( ซิดนีย์ ) โรงแสดงโอเปร่า
สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์
จินตภาพเกี่ยวกับพื้นพันธ์ ธัญญาหารและสัตว์ ในบางท้องที่มันพันธ์พืชพันธ์ที่แปลกเด่นจนเป็นที่รู้จักของ
ผู้คนทั่วไป และกลายเป็นเอกลักษณ์ที่จะสร้างจินตภาพแก่ท้องถิ่นนั้น เช่น
กาแพงเพชร กล้วยไข่
เพชรบุรี ต้นตาล
นนทบุรี ทุเรียน
สุราษฎร์ธานี ( นาสาร ) เงาะโรงเรียน
นครชัยศรี ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว
เพชรบูรณ์ มะขามหวาน
เชียงราย ลิ้นจี่
เชียงใหม่ – ลาพูน ลาไย
ประเทศจีน หมีแพนด้า
ประเทศออสเตเลีย จิงโจ้ หมีโคอาลา
ประเทศสเปน วัวกระทิง
ประเทศเนเธอร์แลนด์ ดอกทิวลิป
ประเทศญี่ปุ่น ดอกซากุระ
วัดไผ่โรงวัว นกปากห่าง
ทะเลสาบสงขลา อุทยานนกนานาพันธ์
ไม่ว่าจะเป็นจินตภาพประเภทใดก็ตาม ล้วนมีความสาคัญต่อภาพพจน์ล่วงหน้าที่นักท่องเที่ยวคาดหวังจาก
แหล่งท่องเที่ยวและจะมีส่วนช่วยให้นักท่องเที่ยวเตรียมตัวเตรียมใจไปสัมผัสจินตภาพนั้นได้อย่างถูกต้อง
สิ่งสาคัญเกี่ยวกับจินตภาพทางการท่องเที่ยวก็คือการสร้างจินตภาพด้านดีที่สอดคล้องกับภาพความเป็น
จริงให้เกิดกับนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นเรื่องยากพอสมควร จินตภาพที่ดีจะช่วยเป็นสื่อกลางการโฆษณาให้แก่
แหล่งท่องเที่ยว และช่วยให้แหล่งท่องเที่ยวประสบความสาเร็จได้ในที่สุด
บทบาทองค์กรของรัฐบาลกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ในปัจจุบันการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ( ททท. ) ทาหน้าที่ควบคุมดูแล และส่งเสริมการการท่องเที่ยวและ
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศ ทั้งนี้เพราะการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่มีส่วนช่วนในการพัฒนา
ประเทศทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและความเป็นอยู่ของคนในประเทศและประชากรโลกและถือ
เป็นกิจกกรมนันทนาการนานาชาติ ณ กรุงโรม ประเทศเกาหลี สรุปบทบาทของรัฐทาหน้าที่พัฒนาการ
ท่องเที่ยวดังนี้
1.รัฐบาลแต่ละประเทศมีหน้าที่ชักจูง หรือกระตุ้น กิจกรรมต่างๆเกี่ยวกับการท่องเที่ยวของประเทศ
2.กิจกรรมการท่องเที่ยวควรมีการประสานงานภาคใต้องค์การท่องเที่ยวของรัฐ
3.องค์กรของรัฐควรสนับสนุนพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ในระดับชาติและนานาชาติ
ในรอบทศวรรษการประชุมระหว่างประเทศในเรื่ององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวของโลกได้สรุปหน้าที่และ
ความรับผิดชอบขององค์การของรัฐบาลที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไว้ดังนี้
1.การวิจัย ( RESEARCH ) เป็นหัวใจสาคัญที่องค์กรของรัฐจะต้องกระทาเพราะเป็นข้อมูลช่วยใน
การตัดสินใจพัฒนาการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว
2.ข้อมูลข่าวสารและการโฆษณาประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว ( INFORMATION AND
PROMOTION ) จะช่วยให้นักท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศได้รู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ในเรื่องการคมนาคม
, สิ่งอานวยความสะดวก , สถานที่การท่องเที่ยว
3.การออกกฎระเบียบข้อบังคับ ( REGULATION ) เป็นกฎระเบียบในการควบคุมมาตรฐานในเรื่อง
ที่พัก อาหาร การคมนาคมขนส่ง และอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อให้นักท่องเที่ยวเกิดความพึงพอใจและสร้างความ
งอกงามในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
4.การควบคุม (CONTROL ) รัฐพึงมีหน้าที่ควบคุมบริษัทนาเที่ยวเพื่อการบริการแก่นักท่องเที่ยว
อย่างยุติธรรมทั้งในด้านคุณภาพและมาตรฐาน
5.การพิมพ์เผยแพร่ ( PUBLICIRY ) เช่น การโฆษณา สิ่งตีพิมพ์ การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร
ไปยังนักท่องเที่ยว รัฐควรเข้ามาควบคุม เพื่อประสานงานระหว่างรัฐและเอกชน
6.การแก้ไขเทคนิคและข้อกฎหมาย ( TECHNIVAL AND JURIDICAL PROBLENS ) เพื่อให้
เกิดผลดีทั้งนักท่องเที่ยวและบริษัทอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รัฐบาลควรมีกฎหมายและปรับปรุงกฎหมาย
ให้ทันสมัยและทาหน้าที่ประสานงานพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
7.ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ( INTERNATIONAL RELATIONS ) รัฐควรให้ความร่วมมือ
ประสานงานกับองค์การท่องเที่ยวระหว่างประเทศ มีการประชุมนานาชาติ เพื่อให้การร่วมมือในการ
ประสานงานในการช่วยกันแก้ปัญหาการท่องเที่ยวระหว่างชาติหรือสร้างความเข้าใจอันดีระหว่าง
นักท่องเที่ยวนานาชาติกับประชาชนท้องถิ่น
8.การพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยว ( DEVEROMENT OF SELECTED ARRN ) รัฐพึงมีการ
สารวจศึกษาวิจัยพื้นที่ศักยภาพเพื่อการท่องเที่ยวในประเทศและให้การสนับสนุน
9.นโยบายท่องเที่ยวโดยส่วนรวม ( OVERALL TOURISM POLICY ) รัฐพึงมุ่งเน้นในเรื่องของการ
ใช้ทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างเหมาะสมและให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
กล่าวโดยสรุปองค์การของรัฐบาลที่มีหน้าที่ต่างๆทั้งควบคุมดูแลประสานงานและพัฒนาการส่งเสริมการ
ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ( ททท. ) หรือ TOURISM AUTHORITY
OF THAILAND ) ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี 2502 หรือเมื่อ 30 ปีมาแล้ว ทาหน้าที่ในฐานะรัฐวิสาหกิจเป็น
นิติบุคคล มีสานักงานใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานครและมีสานักงานต่างจังหวัดปัจจุบัน 10 แห่ง และ
สานักงานในต่างประเทศ 8 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เยอรมันนี สิงคโปร์ อังกฤษ อิตาลี ฝรั่งเศส ออสเต
เลีย และญี่ปุ่น
บทที่ 11

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยว
1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยว1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยว
1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยวMint NutniCha
 
1.ทรัพยากร กทท.
1.ทรัพยากร กทท.1.ทรัพยากร กทท.
1.ทรัพยากร กทท.chickyshare
 
บทที่ ๒ บทบาทและความสำคัญของการท่องเที่ยว
บทที่ ๒ บทบาทและความสำคัญของการท่องเที่ยวบทที่ ๒ บทบาทและความสำคัญของการท่องเที่ยว
บทที่ ๒ บทบาทและความสำคัญของการท่องเที่ยวpraphol
 
eTAT journal 2/2554
eTAT journal 2/2554eTAT journal 2/2554
eTAT journal 2/2554Zabitan
 
หลักการและการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
หลักการและการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศหลักการและการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
หลักการและการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศSomyot Ongkhluap
 
7 2 การท่องเที่ยวโดยชุมชน
7 2 การท่องเที่ยวโดยชุมชน7 2 การท่องเที่ยวโดยชุมชน
7 2 การท่องเที่ยวโดยชุมชนMint NutniCha
 
ความสำคัญของทรัพยากรการท่องเที่ยว
ความสำคัญของทรัพยากรการท่องเที่ยวความสำคัญของทรัพยากรการท่องเที่ยว
ความสำคัญของทรัพยากรการท่องเที่ยวamornsrivisan
 
เศรษฐกิจกับการท่องเที่ยว
เศรษฐกิจกับการท่องเที่ยวเศรษฐกิจกับการท่องเที่ยว
เศรษฐกิจกับการท่องเที่ยวPare Liss
 
เศรษฐกิจ
เศรษฐกิจเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจMint Thailand
 
ทำอย่างไร ให้รู้ใจนักท่องเที่ยว
ทำอย่างไร ให้รู้ใจนักท่องเที่ยวทำอย่างไร ให้รู้ใจนักท่องเที่ยว
ทำอย่างไร ให้รู้ใจนักท่องเที่ยวKorawan Sangkakorn
 
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยNuttz Kasemmussu
 
บทที่ ๓ ระบบการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการ
บทที่ ๓ ระบบการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการบทที่ ๓ ระบบการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการ
บทที่ ๓ ระบบการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการpraphol
 
การท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism สำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ
การท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism สำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุการท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism สำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ
การท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism สำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุKorawan Sangkakorn
 
4 การตลาดธุรกิจท่องเที่ยว
4 การตลาดธุรกิจท่องเที่ยว4 การตลาดธุรกิจท่องเที่ยว
4 การตลาดธุรกิจท่องเที่ยวMint NutniCha
 
eTAT journal 2/2555
eTAT journal 2/2555eTAT journal 2/2555
eTAT journal 2/2555Zabitan
 
ชุมชนท่องเที่ยวกับการรองรับการท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุ
ชุมชนท่องเที่ยวกับการรองรับการท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุ ชุมชนท่องเที่ยวกับการรองรับการท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุ
ชุมชนท่องเที่ยวกับการรองรับการท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุ Faii Kp
 
6 2 การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและการท่องเที่ยวโดยชุมชน
6 2 การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและการท่องเที่ยวโดยชุมชน6 2 การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและการท่องเที่ยวโดยชุมชน
6 2 การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและการท่องเที่ยวโดยชุมชนMint NutniCha
 

La actualidad más candente (20)

1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยว
1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยว1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยว
1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยว
 
1.ทรัพยากร กทท.
1.ทรัพยากร กทท.1.ทรัพยากร กทท.
1.ทรัพยากร กทท.
 
CBT in Chiang Mai & Lamphoon
CBT in Chiang Mai & LamphoonCBT in Chiang Mai & Lamphoon
CBT in Chiang Mai & Lamphoon
 
บทที่ ๒ บทบาทและความสำคัญของการท่องเที่ยว
บทที่ ๒ บทบาทและความสำคัญของการท่องเที่ยวบทที่ ๒ บทบาทและความสำคัญของการท่องเที่ยว
บทที่ ๒ บทบาทและความสำคัญของการท่องเที่ยว
 
eTAT journal 2/2554
eTAT journal 2/2554eTAT journal 2/2554
eTAT journal 2/2554
 
หลักการและการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
หลักการและการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศหลักการและการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
หลักการและการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
 
7 2 การท่องเที่ยวโดยชุมชน
7 2 การท่องเที่ยวโดยชุมชน7 2 การท่องเที่ยวโดยชุมชน
7 2 การท่องเที่ยวโดยชุมชน
 
ความสำคัญของทรัพยากรการท่องเที่ยว
ความสำคัญของทรัพยากรการท่องเที่ยวความสำคัญของทรัพยากรการท่องเที่ยว
ความสำคัญของทรัพยากรการท่องเที่ยว
 
เศรษฐกิจกับการท่องเที่ยว
เศรษฐกิจกับการท่องเที่ยวเศรษฐกิจกับการท่องเที่ยว
เศรษฐกิจกับการท่องเที่ยว
 
เศรษฐกิจ
เศรษฐกิจเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจ
 
ทำอย่างไร ให้รู้ใจนักท่องเที่ยว
ทำอย่างไร ให้รู้ใจนักท่องเที่ยวทำอย่างไร ให้รู้ใจนักท่องเที่ยว
ทำอย่างไร ให้รู้ใจนักท่องเที่ยว
 
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
 
บทที่ ๓ ระบบการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการ
บทที่ ๓ ระบบการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการบทที่ ๓ ระบบการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการ
บทที่ ๓ ระบบการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการ
 
T guide1
T guide1T guide1
T guide1
 
การท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism สำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ
การท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism สำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุการท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism สำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ
การท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism สำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ
 
4 การตลาดธุรกิจท่องเที่ยว
4 การตลาดธุรกิจท่องเที่ยว4 การตลาดธุรกิจท่องเที่ยว
4 การตลาดธุรกิจท่องเที่ยว
 
eTAT journal 2/2555
eTAT journal 2/2555eTAT journal 2/2555
eTAT journal 2/2555
 
T guide2
T  guide2T  guide2
T guide2
 
ชุมชนท่องเที่ยวกับการรองรับการท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุ
ชุมชนท่องเที่ยวกับการรองรับการท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุ ชุมชนท่องเที่ยวกับการรองรับการท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุ
ชุมชนท่องเที่ยวกับการรองรับการท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุ
 
6 2 การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและการท่องเที่ยวโดยชุมชน
6 2 การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและการท่องเที่ยวโดยชุมชน6 2 การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและการท่องเที่ยวโดยชุมชน
6 2 การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและการท่องเที่ยวโดยชุมชน
 

Destacado

การนันทนาการ
การนันทนาการการนันทนาการ
การนันทนาการChamchang
 
ใบความรู้ การจัดนันทนาการ
ใบความรู้ การจัดนันทนาการใบความรู้ การจัดนันทนาการ
ใบความรู้ การจัดนันทนาการteaw-sirinapa
 
ประวัติศาสตร์นันทนาการ
ประวัติศาสตร์นันทนาการประวัติศาสตร์นันทนาการ
ประวัติศาสตร์นันทนาการteaw-sirinapa
 
นันทนาการ
นันทนาการนันทนาการ
นันทนาการchonchai55
 
ประเภทของนันทนาการ
ประเภทของนันทนาการประเภทของนันทนาการ
ประเภทของนันทนาการnok_bb
 

Destacado (20)

บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
การนันทนาการ
การนันทนาการการนันทนาการ
การนันทนาการ
 
บทที่ 16
บทที่ 16บทที่ 16
บทที่ 16
 
บทที่ 10
บทที่ 10บทที่ 10
บทที่ 10
 
บทที่ 12
บทที่ 12บทที่ 12
บทที่ 12
 
บทที่ 13
บทที่ 13บทที่ 13
บทที่ 13
 
บทที่ 15
บทที่ 15บทที่ 15
บทที่ 15
 
บทที่ 17
บทที่ 17บทที่ 17
บทที่ 17
 
บทที่ 14
บทที่ 14บทที่ 14
บทที่ 14
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
บทที่ 6
บทที่ 6บทที่ 6
บทที่ 6
 
ใบความรู้ การจัดนันทนาการ
ใบความรู้ การจัดนันทนาการใบความรู้ การจัดนันทนาการ
ใบความรู้ การจัดนันทนาการ
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
บทที่ 3
บทที่ 3บทที่ 3
บทที่ 3
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
ประวัติศาสตร์นันทนาการ
ประวัติศาสตร์นันทนาการประวัติศาสตร์นันทนาการ
ประวัติศาสตร์นันทนาการ
 
บทที่ 4
บทที่ 4บทที่ 4
บทที่ 4
 
นันทนาการ
นันทนาการนันทนาการ
นันทนาการ
 
ประเภทของนันทนาการ
ประเภทของนันทนาการประเภทของนันทนาการ
ประเภทของนันทนาการ
 

Similar a บทที่ 11

ท่องเที่ยวทั่วไทย ไปได้ทุกเวลา
ท่องเที่ยวทั่วไทย  ไปได้ทุกเวลาท่องเที่ยวทั่วไทย  ไปได้ทุกเวลา
ท่องเที่ยวทั่วไทย ไปได้ทุกเวลาAnnly Ann
 
ธุรกิจท่องเทียว
ธุรกิจท่องเทียวธุรกิจท่องเทียว
ธุรกิจท่องเทียวa
 
Thm 201 2 Tourism In Perspectives Chapter 1
Thm 201 2  Tourism In Perspectives Chapter 1Thm 201 2  Tourism In Perspectives Chapter 1
Thm 201 2 Tourism In Perspectives Chapter 1sukhuman klamsaengsai
 
เสน่ห์ที่ท่องเที่ยวไทย
เสน่ห์ที่ท่องเที่ยวไทยเสน่ห์ที่ท่องเที่ยวไทย
เสน่ห์ที่ท่องเที่ยวไทยChutima Su
 
Tourism trend green heart
Tourism trend green heartTourism trend green heart
Tourism trend green heartSobthana Tat
 
บทที่ ๙ ของที่ระลึก
บทที่ ๙ ของที่ระลึกบทที่ ๙ ของที่ระลึก
บทที่ ๙ ของที่ระลึกpraphol
 
บทบาทและผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว.pdf
บทบาทและผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว.pdfบทบาทและผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว.pdf
บทบาทและผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว.pdfKantaphitJaijanta1
 
eTAT journal 1/2554
eTAT journal 1/2554eTAT journal 1/2554
eTAT journal 1/2554Zabitan
 
บทความ ถึงเวลายกระดับการท่องเที่ยวชุมชนหรือยัง
บทความ ถึงเวลายกระดับการท่องเที่ยวชุมชนหรือยังบทความ ถึงเวลายกระดับการท่องเที่ยวชุมชนหรือยัง
บทความ ถึงเวลายกระดับการท่องเที่ยวชุมชนหรือยังDrDanai Thienphut
 
กฎหมายกับการท่องเที่ยวในพื้นที่อนุรักษ์
กฎหมายกับการท่องเที่ยวในพื้นที่อนุรักษ์กฎหมายกับการท่องเที่ยวในพื้นที่อนุรักษ์
กฎหมายกับการท่องเที่ยวในพื้นที่อนุรักษ์Chacrit Sitdhiwej
 
TAT Review Magazine 1/2017
TAT Review Magazine 1/2017TAT Review Magazine 1/2017
TAT Review Magazine 1/2017Zabitan
 
เที่ยวไทยสิบทิศ
เที่ยวไทยสิบทิศเที่ยวไทยสิบทิศ
เที่ยวไทยสิบทิศSaran Yuwanna
 
1.บทวิเคราะห์ประเทศเพื่อนบ้าน
1.บทวิเคราะห์ประเทศเพื่อนบ้าน1.บทวิเคราะห์ประเทศเพื่อนบ้าน
1.บทวิเคราะห์ประเทศเพื่อนบ้านNexus Art'Hit
 
ยกระดับคุณภาพอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
ยกระดับคุณภาพอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยยกระดับคุณภาพอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
ยกระดับคุณภาพอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยKorawan Sangkakorn
 
Travel 04 07-56
Travel 04 07-56Travel 04 07-56
Travel 04 07-56surdi_su
 

Similar a บทที่ 11 (20)

ท่องเที่ยวทั่วไทย ไปได้ทุกเวลา
ท่องเที่ยวทั่วไทย  ไปได้ทุกเวลาท่องเที่ยวทั่วไทย  ไปได้ทุกเวลา
ท่องเที่ยวทั่วไทย ไปได้ทุกเวลา
 
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ติม
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ติมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ติม
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ติม
 
ธุรกิจการท่องเที่ยว
ธุรกิจการท่องเที่ยวธุรกิจการท่องเที่ยว
ธุรกิจการท่องเที่ยว
 
ธุรกิจท่องเทียว
ธุรกิจท่องเทียวธุรกิจท่องเทียว
ธุรกิจท่องเทียว
 
Thm 201 2 Tourism In Perspectives Chapter 1
Thm 201 2  Tourism In Perspectives Chapter 1Thm 201 2  Tourism In Perspectives Chapter 1
Thm 201 2 Tourism In Perspectives Chapter 1
 
เสน่ห์ที่ท่องเที่ยวไทย
เสน่ห์ที่ท่องเที่ยวไทยเสน่ห์ที่ท่องเที่ยวไทย
เสน่ห์ที่ท่องเที่ยวไทย
 
Tourism trend green heart
Tourism trend green heartTourism trend green heart
Tourism trend green heart
 
บทที่ ๙ ของที่ระลึก
บทที่ ๙ ของที่ระลึกบทที่ ๙ ของที่ระลึก
บทที่ ๙ ของที่ระลึก
 
บทบาทและผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว.pdf
บทบาทและผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว.pdfบทบาทและผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว.pdf
บทบาทและผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว.pdf
 
วิจัยสิทธิ์ ใกล้เสด
วิจัยสิทธิ์ ใกล้เสดวิจัยสิทธิ์ ใกล้เสด
วิจัยสิทธิ์ ใกล้เสด
 
eTAT journal 1/2554
eTAT journal 1/2554eTAT journal 1/2554
eTAT journal 1/2554
 
Asian2030 thai vs japan
Asian2030 thai vs japanAsian2030 thai vs japan
Asian2030 thai vs japan
 
บทความ ถึงเวลายกระดับการท่องเที่ยวชุมชนหรือยัง
บทความ ถึงเวลายกระดับการท่องเที่ยวชุมชนหรือยังบทความ ถึงเวลายกระดับการท่องเที่ยวชุมชนหรือยัง
บทความ ถึงเวลายกระดับการท่องเที่ยวชุมชนหรือยัง
 
กฎหมายกับการท่องเที่ยวในพื้นที่อนุรักษ์
กฎหมายกับการท่องเที่ยวในพื้นที่อนุรักษ์กฎหมายกับการท่องเที่ยวในพื้นที่อนุรักษ์
กฎหมายกับการท่องเที่ยวในพื้นที่อนุรักษ์
 
TAT Review Magazine 1/2017
TAT Review Magazine 1/2017TAT Review Magazine 1/2017
TAT Review Magazine 1/2017
 
เที่ยวไทยสิบทิศ
เที่ยวไทยสิบทิศเที่ยวไทยสิบทิศ
เที่ยวไทยสิบทิศ
 
1.บทวิเคราะห์ประเทศเพื่อนบ้าน
1.บทวิเคราะห์ประเทศเพื่อนบ้าน1.บทวิเคราะห์ประเทศเพื่อนบ้าน
1.บทวิเคราะห์ประเทศเพื่อนบ้าน
 
ยกระดับคุณภาพอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
ยกระดับคุณภาพอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยยกระดับคุณภาพอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
ยกระดับคุณภาพอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
 
Kpn MonJam
Kpn MonJamKpn MonJam
Kpn MonJam
 
Travel 04 07-56
Travel 04 07-56Travel 04 07-56
Travel 04 07-56
 

Más de teaw-sirinapa

รายงานการประชุมครั้งที่ 1
รายงานการประชุมครั้งที่ 1รายงานการประชุมครั้งที่ 1
รายงานการประชุมครั้งที่ 1teaw-sirinapa
 
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมนันทนาการ
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมนันทนาการขั้นตอนการจัดกิจกรรมนันทนาการ
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมนันทนาการteaw-sirinapa
 
การจัดและบริหารนันทนาการ
การจัดและบริหารนันทนาการการจัดและบริหารนันทนาการ
การจัดและบริหารนันทนาการteaw-sirinapa
 
สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ
สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการสังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ
สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการteaw-sirinapa
 
1 สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ
1 สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ1 สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ
1 สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการteaw-sirinapa
 
นันทนาการ
นันทนาการนันทนาการ
นันทนาการteaw-sirinapa
 
ประมวลรายวิชา นันทนาการ
ประมวลรายวิชา นันทนาการประมวลรายวิชา นันทนาการ
ประมวลรายวิชา นันทนาการteaw-sirinapa
 
ปฏิบัติการที่ 10 __ตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม_photoshop_ครั้งที่_1
ปฏิบัติการที่ 10 __ตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม_photoshop_ครั้งที่_1ปฏิบัติการที่ 10 __ตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม_photoshop_ครั้งที่_1
ปฏิบัติการที่ 10 __ตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม_photoshop_ครั้งที่_1teaw-sirinapa
 
ปฏิบัติการที่ 13 dreamweaver ครั้ง 2
ปฏิบัติการที่ 13 dreamweaver ครั้ง 2ปฏิบัติการที่ 13 dreamweaver ครั้ง 2
ปฏิบัติการที่ 13 dreamweaver ครั้ง 2teaw-sirinapa
 
ปฏิบัติการที่ 12 dreamweaver ครั้ง 1
ปฏิบัติการที่ 12 dreamweaver ครั้ง 1ปฏิบัติการที่ 12 dreamweaver ครั้ง 1
ปฏิบัติการที่ 12 dreamweaver ครั้ง 1teaw-sirinapa
 
ปฏิบัติการที่ 9 power pointครั้งที่ 2
ปฏิบัติการที่ 9 power pointครั้งที่ 2ปฏิบัติการที่ 9 power pointครั้งที่ 2
ปฏิบัติการที่ 9 power pointครั้งที่ 2teaw-sirinapa
 
ปฏิบัติการที่ 8 power pointครั้งที่ 1
ปฏิบัติการที่ 8 power pointครั้งที่ 1ปฏิบัติการที่ 8 power pointครั้งที่ 1
ปฏิบัติการที่ 8 power pointครั้งที่ 1teaw-sirinapa
 

Más de teaw-sirinapa (13)

รายงานการประชุมครั้งที่ 1
รายงานการประชุมครั้งที่ 1รายงานการประชุมครั้งที่ 1
รายงานการประชุมครั้งที่ 1
 
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมนันทนาการ
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมนันทนาการขั้นตอนการจัดกิจกรรมนันทนาการ
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมนันทนาการ
 
การจัดและบริหารนันทนาการ
การจัดและบริหารนันทนาการการจัดและบริหารนันทนาการ
การจัดและบริหารนันทนาการ
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ
สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการสังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ
สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ
 
1 สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ
1 สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ1 สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ
1 สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ
 
นันทนาการ
นันทนาการนันทนาการ
นันทนาการ
 
ประมวลรายวิชา นันทนาการ
ประมวลรายวิชา นันทนาการประมวลรายวิชา นันทนาการ
ประมวลรายวิชา นันทนาการ
 
ปฏิบัติการที่ 10 __ตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม_photoshop_ครั้งที่_1
ปฏิบัติการที่ 10 __ตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม_photoshop_ครั้งที่_1ปฏิบัติการที่ 10 __ตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม_photoshop_ครั้งที่_1
ปฏิบัติการที่ 10 __ตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม_photoshop_ครั้งที่_1
 
ปฏิบัติการที่ 13 dreamweaver ครั้ง 2
ปฏิบัติการที่ 13 dreamweaver ครั้ง 2ปฏิบัติการที่ 13 dreamweaver ครั้ง 2
ปฏิบัติการที่ 13 dreamweaver ครั้ง 2
 
ปฏิบัติการที่ 12 dreamweaver ครั้ง 1
ปฏิบัติการที่ 12 dreamweaver ครั้ง 1ปฏิบัติการที่ 12 dreamweaver ครั้ง 1
ปฏิบัติการที่ 12 dreamweaver ครั้ง 1
 
ปฏิบัติการที่ 9 power pointครั้งที่ 2
ปฏิบัติการที่ 9 power pointครั้งที่ 2ปฏิบัติการที่ 9 power pointครั้งที่ 2
ปฏิบัติการที่ 9 power pointครั้งที่ 2
 
ปฏิบัติการที่ 8 power pointครั้งที่ 1
ปฏิบัติการที่ 8 power pointครั้งที่ 1ปฏิบัติการที่ 8 power pointครั้งที่ 1
ปฏิบัติการที่ 8 power pointครั้งที่ 1
 

บทที่ 11

  • 1. บทที่ 11 นันทนาการธุรกิจการค้า ( COMMERCLAL RECREATION ) กิจกรรมการท่องเที่ยว การท่องเที่ยว ( Tourism ) เป็นนันทนาการประเภทธุรกิจการค้า และเป็นกิจกรรม นันทนาการที่กาลังได้รับความนิยมมากที่สุดประเภทหนึ่ง ทั้งนี้เพราะ การท่องเที่ยวเสริมสร้างประสบการณ์ พัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมให้บุคคลได้รับการพักผ่อนหย่อนใจ สร้างประสบการณ์ใหม่ทั้งที่ท้าทายหรือ ซาบซึ้งถึงภาพที่พบเห็น เช่น ธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติ ตั้งแต่อุทยานแห่งชาติ ป่า เขา ต้นน้าลาธาร ทะเล ทะเลสาบ หรือธรรมชาติจะเป็นของหายาก ทั้งที่เป็น พืช สัตว์ และสิ่งที่เกิดจากฝีมือธรรมชาติ เช่น ศิลปะวัฒนะธรรมของคนในแต่ละท้องถิ่น ในชุมชนหรือสังคม ที่แตกต่างจากกลุ่มนักท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์วัตถุสถาน ซึ่งเป็นการศึกษาถึงอดีตของกลุ่มชุมชนในสมัยหนึ่งเคยมีความรุ่งเรืองและได้ ประดิษฐ์หัตถกรรมในรูแบบต่างๆ ศาสนา และวิถีทางดาเนินชีวิต ของชุมชนที่นักท่องเที่ยวสนใจที่จะศึกษา ซึ่งเป็นมนุษย์ได้ประพฤติปฏิบัติตามครรลองครองธรรมจนสืบเนื่องมาถึงความเข้าใจอันดี ( Mutual understanding ) ระหว่างชุมชนชนบท ชุมชนเมืองหลวง ชุมชนท้องถิ่น กับนักท่องเที่ยวต่างชาติซึ่งต่าง ประเพณีวัฒนธรรมและวิถีทางดาเนินชีวิตต่างกัน ดังคาขวัญปี 2527 ขององค์กรท่องเที่ยวแห่งโลก ( WTO ) Tourism Creanizatipm กล่าวว่า “ การท่องเที่ยวเพื่อความเข้าใจ ความสงบสุขและความร่วมมือระหว่าง ประเทศ ” ( TOURISM FOR INTERNAITONAL UNDERSTANDING DEACE AND OPERATION ) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีบทบาทสาคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศและเป็นกิจกรรมนันทนาการที่ทา รายได้ให้แก่ประชากรของโลกอย่างดีเยี่ยม จากสถิติการท่องเที่ยวสากล ( กองวิชาการ การท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย : 2531 ) ได้รายงานไว้ว่าปี 2530 มีประชากรของโลกประมาณ 4,000 ล้านคน ท่องเที่ยว เดินทางทั้งในและต่างประเทศเป็นจานวน 340 ล้านคน ในจานวนนี้มีกลุ่มนักท่องเที่ยวในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้และภาคพื้นแปซิฟิคใช้บริการจานวน 39.5 ล้านคน มีชาวต่างชาติเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย จานวน 3.5 ล้าน เกือบ 10 % ทีเดียว นับว่าเป็นกิจกรรมที่เจริญก้าวหน้าและเป็นที่นิยมเจริญเติบโตอย่าง รวดเร็ว ในประเทศสหภาพราชอาณาจักรอังกฤษ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่ทารายได้ เป็ นอันดับหนึ่งและทารายสถิติรายได้ของประเทศทุกประเทศตั้งแต่ปี ค.ศ. 1984 ( 2527 ) ซึ่ง คณะกรรมการบอร์ด การท่องเที่ยวรายงานว่า มีชาวต่างชาติเข้ามาอังกฤษ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการ ท่องเที่ยวจานวน 13.7 ล้านคน และคนในประเทศที่ท่องเที่ยวอีกประมาณ 20 ล้านคน ทาให้รวมรายได้มี ทั้งหมด 8,575 ล้านปอนด์ หรือ 428,750 ล้านบาท ในจานวน 13.7 ล้านคน ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ เข้าประเทศถึง 4194 ล้านปอนด์ และนักท่องเที่ยวถิ่นคนอังกฤษใช้จ่าย 1,400 ล้านปอนด์ ความต้องการจะ ท่องเที่ยวเพื่อธุรกิจและการประชุมที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นเป็น 1,150 ล้านปอนด์ การท่องเที่ยววันเดียว เช่น
  • 2. เยี่ยมชมคฤหาสน์ , โบสถ์ ป้ อม และอนุสาวรีย์ของอังกฤษ มีประมาณ 4 ล้านคน ปี 1984 ธุรกิจโรงแรมทา รายได้สูงอย่างสุดขีด นับเป็นความประสบความสาเร็จในเรื่องอาหารที่พัก สาหรับการพักผ่อนสุดสัปดาห์ มี ประชากรในอังกฤษ 34 ล้านคน และออกไปเที่ยวนอกอังกฤษ 15 ล้านคน ซึ่งในอังกฤษมีสานักงานขายตั๋ว ท่องเที่ยว ถึง 5,632 แห่ง เป็นคนจัดการเรื่องทัวร์ 632 แห่ง สาหรับประเทศสหรัฐอเมริกา กิจการ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่ทารายได้ล้าหน้ากว่ากิจการอื่นมานานแล้ว เป็นการขยายตัว เป็น การลงทุนและกาไรอย่างมหาศาล เช่นกัน ทั้งนี้เพราะว่าประเทศสหรัฐอเมริกามีแหล่งทรัพยากรท่องเที่ยว มากมายที่มีคุณภาพ ประกอบกับการจัดการ , การให้บริการ และสิ่งอานวยความสะดวกต่างๆดีมาก เช่น กิจการสวนสนุกระดับนานาชาติ : ดิสนีย์แลนด์และดิสนีย์แลนด์ ซึ่งอยู่ทางตะวันตก ( ลอสแอนเจลิส ) มี อุทยานแห่งชาติอันดับ 1 ของโลก เรียกว่า อุทยานแห่งชาติเยลโล่สะโตน ( Yellowstone National Park ) อยู่ใน 3 ดินแดนของรัฐ คือ ไวโอมิ่ง , ไอด้าโฮ อุทยานแห่งชาติแกรนแคนย่อนในอริโซน่า , อุทยานแห่งชาติ ไดโนเสาร์ในโคโลราโด้ เป็นต้น คนที่อาศัยอยู่ในนั้นมาจากหลายชาติ หลายเผ่าพันธุ์ ทาให้เกิดเป็นประเพณี วัฒนธรรม และศิลปะต่างๆจากชุมชนชาติต่างๆอพยพมาอยู่ตลอดจนวิถีการดาเนินชีวิตของกลุ่มนั้น จึงได้ มีการจาลองชื่อเมืองของประเทศที่ตนอาศัยอยู่หรือลักษณะความเป็นเมืองต่างที่มีลักษณะเด่นต่างๆกัน เช่น เมืองลอสแอนเจลิส เมืองชานฟรานซิลโก ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตก ส่วนลักษณะเมืองที่น่าสนใจทางทิศ ตะวันออก ได้แก่ กรุงวอชิงตัน , นิวยอร์ค , ฟิลาเดลเฟีย , ไมอามี่ ซึ่งเมืองเหล่านี้มีทรัพยากรท่องเที่ยวทั้ง ปริมาณและคุณภาพสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้ดี ทาให้ประเทศสหรัฐมีความได้เปรียบ ประเทศอื่นๆในเรื่องของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ในปี 1980 ( พ.ศ. 2532 ) มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้า สหรัฐ 30.2 ล้าน ทารายได้เข้าประเทศ 73,000 ล้านเหรียญหรือ 1,825,000 ล้านบาท กิจการท่องเที่ยว สหรัฐจะถูกนามาส่งเสริมในกรณีที่เศรษฐกิจของประเทศตกอยู่ในสภาพย้าแย่ และจะเป็นตัวจักรสาคัญใน การช่วยกู้เศรษฐกิจของรัฐและของประเทศด้วย คราวนี้ลองพิจารณาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยในปี 2530 ซึ่งทางการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย ( ททท. ) ได้จัดให้เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวประเทศไทย ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากการ ท่องเที่ยวนานาชาติถึง 3.48 ล้านคน ซึ่งมีอัตราการขยายตัวเพิ่งขึ้นถึง 23.6 % และทารายได้เข้าประเทศ เป็นอันดับ 1 เหนือสินค้าการเกษตรทุกประเภท ยอดรายได้ 50,024 ล้านบาท เป็นการเพิ่งการขยายตัวกว่า ปีที่แล้วถึง 34 % เฉลี่ยนักท่องเที่ยวใช้เวลาพักในประเทศไทย 6 วันต่อเที่ยว ใช้ค่าใช้จ่ายต่อคนต่อวัน จานวน 2,370 บาท นักท่องเที่ยวเข้ามาพักที่ห้องของโรงแรม 124,139 ห้อง ตาราง นักท่องเที่ยวต่างชาติ เข้ามาเที่ยวในประเทศไทยปี 2530 ประเทศ นักท่องเที่ยว ( คน ) สัดส่วนร้อยละ รายได้ ( ล้านบาท ) สัดส่วนร้อยละ ญี่ปุ่น 349,558 10.04 4,787.05 9.6 มาเลเซีย 742,394 21.32 4,611.44 9.2 ฮ่องกง 251,376 7.22 4,017.11 8.0
  • 3. ไต้หวัน 203,535 5.84 3,926.49 7.8 เยอรมันตะวันตก 148,455 4.2 2,832.99 5.7 ฝรั่งเศส 130,326 3.74 2,812.51 5.6 สิงคโปร์ 277,310 7.96 2,562.16 5.1 ออสเตรเลีย 123,316 3.54 2,129.57 4.3 อังกฤษ 126,309 3.63 2,106.40 4.2 อินเดีย 114,371 3.28 1,116.98 2.2 พิจารณาตารางจะเห็นได้ว่า นักท่องเที่ยวจากแต่ละประเทศสามารถสรุปประเทศที่เป็น ตลาดสาคัญๆ โดยแบ่ง ตามภูมิภาคต่างๆ 1.กลุ่มประเทศเอเชียและปาซิฟิค กลุ่มนี้สัดส่วนเชิงปริมาณของตลาดถึงร้อยละ 60 และ ทารายได้ให้กับประเทศและสัดส่วนร้อยละ 47 โดยมีตลาดสาคัญๆ เรียงลาดับ ดังนี้คือ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ และออสเตรเลีย 2.กลุ่มยุโรป สัดส่วนของตลาดประมาณร้อยละ 21 และทารายได้ให้กับประเทศในสัดส่วน ถึงร้อยละ 30 ตลาดสาคัญๆ คือ เยอรมันตะวันตก ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี และสิตเซอร์แลนด์ 3.กลุ่มอเมริกา สัดส่วนของตลาดในด้านปริมาณนักท่องเที่ยว 8 % ทารายได้ 9 % ตลาด อื่นๆ ร้อยละ 10 ทารายได้อีก 14 % กล่าวโดยสรุปว่า นักท่องเที่ยวนานาชาติ ส่วนใหญ่มาจากกลุ่มประเทศเอเชียและยุโรปซึ่ง รวมสัดส่วนเป็น 81 % ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด นักท่องเที่ยวอเมริกันมีเพียง 9 % เท่านั้น สาหรับปี 2530 นี้เป็นปีทองของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย สามารถทารายได้และจัดโปรโมชั่นได้เกิน เป้ าหมายที่ตั้งไว้ในแผนพัฒนาที่ 6 อย่างดีเยี่ยม จนทาให้นักวิชาการเริ่มเป็นห่วงการพัฒนาอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวของประเทศไทยในอนาคต ทั้งนี้เพราะการขยายตัวของอุตสาหกรรมเร็วมากจนเกรงว่าเรื่องที่ พักอาศัย , ราคาสินค้า , อาหารและเครื่องดื่ม การเอาเปรียบนักท่องเที่ยวในเรื่องสินค้าความปลอดภัยและ อบอุ่นใจของนักท่องเที่ยว ตลอดจนการขนส่งทั้งระหว่างประเทศและในประเทศ จากตารางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 6 ของ ททท. 2529 2530 2532 2533 จานวนนักท่องเที่ยวชาว 2.8 3.48 4.02 4.65 ต่างประเทศ ( หน่วยเป็น ล้านคน ขยาย 7.5 % ปี ) ระยะทางพานักโดยเฉพาะ 5.9 6.06 6.06 6.06 ต่อครั้งใช้จ่าย เฉลี่ย ต่อคน 2,233 2,370 2,688 3,049
  • 4. ต่อครั้ง / บาท ขยาย 6.5 % ) รายได้จากการท่องเที่ยว 37,321 50,024 65,480 74,950 ( หน่วยเป็น ล้านบาท ) จากตารางแผนพัฒนา ฉบับที่ 6 ซึ่งมีแนวโน้มว่ากิจการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของ ประเทศไทยจะยังมีความสามารถในการขยายตัวต่อไปในทางที่ดี อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยวแห่งประเทศ ไทยจะใช้มาตรการต่างๆ เพื่อความร่วมมือและประสานงานจากองค์กรที่เกี่ยวข้องของรัฐ เอกชน และธุรกิจ ต่างๆ เพื่อช่วยกันหาทางจรรโลงอุตสาหกรรมนี้ต่อไป นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศใช้จ่ายเงิน ปี 2531 ค่าซื้อของที่ระลึก 38.53% ค่าอาหาร 15.90 % ค่าที่พัก 24.05 % ค่าเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ 13.09 % ค่าบันเทิงพักผ่อน 6.64 % เบ็ดเตล็ด 1.8 % ความสนใจจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ปี 2531 – 2532 1.นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เข้ามาเที่ยวในประเทศไทยจะใช้เงินตราในขณะที่พานักในประเทศไทย 38.53 % ในเรื่องของที่ระลึก 15.90 % เรื่องอาหาร 24.05 % เรื่องที่พัก 13.09 % เรื่องค่าเดินทางในประเทศ 6.64 % เรื่องค่าพักผ่อนบันเทิง ( นันทนาการ ) 1.8 % เรื่องค่าเบ็ดเตล็ด 2.นักท่องเที่ยวเฉลี่ยใช้จ่ายเงิน 2532.50 บาท ต่อวัน 3.โดยเฉลี่ยนักท่องเที่ยวชาย 65 % และ หญิง 35 % ของจานวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด 4.65 ล้านคน 4.อายุของนักท่องเที่ยวตั้งแต่ 15 – 54 ปี มีถึง 80 % และ อายุ 55 ปี ขึ้นไปมีจานวน15.50 % 5.วัตถุประสงค์ของการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อ - การพักผ่อน 88.36 % - ธุรกิจและประชุม 9.46 % - อื่นๆ 2.23 % 6.สถานที่พักในประเทศไทย
  • 5. - นักท่องเที่ยวพักโรงแรม 93.50 % - บ้านพัก / เพื่อน / ญาติ 1.05 % - พักที่อื่น 5.45 % 7.จานวนนักท่องเที่ยวของประเทศเอเชียมีดังนี้ ประเทศ พ.ศ. 2530 พ.ศ. 2531 1.ฮ่องกง 4.50 ล้านคน 5.59 ล้านคน 2.สิงคโปร์ 3.68 ล้านคน 4.19 ล้านคน 3.ไทย 3.48 ล้านคน 4.23 ล้านคน 4.มาเลเซีย 3.24 ล้านคน 4.37 ล้านคน 5.ญี่ปุ่น 2.15 ล้านคน 2.36 ล้านคน 6.ไต้หวัน 1.76 ล้านคน 1.93 ล้านคน 7.เกาหลีใต้ 1.87 ล้านคน 2.34 ล้านคน 8.ฟิลิปปินส์ .79 ล้านคน 1.04 ล้านคน นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ นิยมการท่องเที่ยวเป็นอันดับ 3 เมื่อศึกษาจากข้อมูลของแต่ละ ประเทศ 8.สินค้าออกกับรายได้ของประเทศไทย 2530 – 2531 สินค้าออก 2530 สินค้าออก 2531 ล้านบาท ล้านบาท การท่องเที่ยว 50,024 การท่องเที่ยว 78,859 การผลิตสิ่งทอ 48,555 ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ 55,627 ข้าว 22,703 ข้าว 34,676 มันสาปะหลัง 20.661 ยางพารา 27,189 ยางพารา 20,539 มันสาปะหลัง 21,844 9.จานวนห้องพักโรงแรมในประเทศไทย 2530 – 2531 พื้นที่ 2530 2531 กทม. 35,690 ห้อง 36,099 ห้อง ภาคกลาง 11,226 ห้อง 12,290 ห้อง ภาคตะวันออก 19,059 ห้อง 22,961 ห้อง ภาคเหนือ 18,596 ห้อง 31,932 ห้อง ภาคใต้ 26,880 ห้อง 31,932 ห้อง ภาคอีสาน 12,688 ห้อง 13,010 ห้อง
  • 6. รวม 124,139 ห้อง 135,720 ห้อง 10.จานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทย 2530 – 2531 2530 2531 - นักท่องเที่ยว 3.48 ล้านคน 4.23 ล้านคน - เวลาพักเฉลี่ย 6.06 วัน 7.36 วัน - รายได้จากท่องเที่ยว 50.02 ล้านบาท 78.85 ล้านบาท ดังได้กล่าวแล้วว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว กาลังได้รับความนิยมอย่างสุดยอดนั้นสมควรที่จะพิจารณาถึง ความหมายและบทบาทของนันทนาการธุรกิจนี้ การเดินทางท่องเที่ยวมีตัวกาหนดตามเงื่อนไข ดังนี้ 1.เป็นการเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติ ไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว 2.เป็นไปด้วยความสมัครใจ 3.เป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใดๆก็ตามที่ไม่ใช่เพื่อประกอบอาชีพ หรือหารายได้ สาหรับคานิยมของ คณะกรรมการบอร์ดการท่องเที่ยวอังกฤษกล่าวว่า ผู้ใดก็ตามที่เดินทางไปพักแรมมากกว่า 24 ชั่วโมงขึ้นไป ซึ่งในบ้างครั้งก็ไปเกี่ยวเนื่องกับการออกไปเที่ยวเช้าไปกลับด้วย การท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจการค้า และหน่วยงานอื่นๆ เช่น เอกชน , อาสาสมัคร , หน่วยงานท้องถิ่น และคณะกรรมการบริหารของรัฐบาล เช่น ททท. ซึ่งมีหน้าที่ชักนาให้เกิดพัฒนาการทาง ท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเป็นนันทนาการเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ สร้างประสบการณ์แปลกๆใหม่ๆนั้นเป็ น อุตสาหกรรมที่ทารายได้ชั้นเยี่ยมและเป็นอันดับ 1 ของประเทศในหลายประเทศ อย่างไรก็ตามการ ท่องเที่ยวส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และจิตใจของประชากร บทบาทของการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจของประเทศ ช่วยส่งเสริมรายได้เงินตราต่างประเทศเป็นจานวนมาก จากตัวอย่างปี 2530 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เป็นกิจการที่ทารายได้เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย ช่วยส่งเสริมการไหลเวียนของกระแสรายวัน และกระจายรายได้จากส่วนกลางสู่ภูมิภาค การพัฒนาอาคาร สถานที่สิ่งอานวยความสะดวก เพื่อบริการแก่นักท่องเที่ยว ทาให้เกิดการสร้างงานและเกิดอาชีพต่อชุมชน ช่วยกระตุ้นให้เกิดการผลิตและนาเอาทรัพยากรของประเทศ เช่น ในรูปสินค้าพื้นเมืองและสินค้าที่ระลึก ตลอดจนงานบริการของชุมชนท้องถิ่น การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่สิ้นเปลืองวัตถุดิบ ผลผลิตสามารถขายได้ทุกเวลา การท่องเที่ยวเป็นการ กระตุ้นให้เกิดการผลิตเป็นวงจรหมุนภายในประเทศ
  • 7. บทบาทของการท่องเที่ยวต่อสังคมและชุมชน 1.ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ของมนุษย์ชาติ ก่อให้เกิดสันติภาพความเป็นมิตรไมตรี และความ เข้าใจอันดีระหว่างเจ้าของบ้านและผู้ให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน 2.ช่วยพัฒนาสร้างสรรค์ความเจริญสู่ชุมชนท้องถิ่นยังผลต่อประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 3.ช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และธรรมชาติ ก่อให้เกิดความซาบซึ้ง และเห็นคุณค่าศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ 4.สร้างเสริมความรักในเอกลักษณ์ไทย ทาให้เกิดความรักในผืนแผ่นดินไทย 5.ช่วยลดช่องว่างระหว่างชนบทและเมือง และช่วยสร้างงานชนบท ทาให้ประชาชนเพิ่มพูนรายได้ ของชาวชนบท ผลกระทบการท่องเที่ยวทางด้าน สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ผลดีและผลเสียของการท่องเที่ยวทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ผลดี ก.ด้านสังคม 1.ทาให้มีการเคลื่อนไหวทางสังคม 2.ทาให้มีการปรับปรุงบริการสาธารณะต่างๆ ในสังคม เช่น การขนส่ง การเก็บขยะมูลฝอย ตารวจ การป้ องกันไฟ ฯลฯ 3.ทาให้มีการปรับปรุงสิ่งอานวยความสะดวกด้านสาธารณสุขของสังคมนั้น 4.ทาให้มีการปรับปรุงสิ่งอานวยความสะดวกสาธารณะต่างๆให้ทันสมัยขึ้น 5.ทาให้มีการพัฒนาสิ่งอานวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวหรือพักผ่อนหย่อนใจในสังคมนั้นเพิ่ม มากขึ้น ฯลฯ ผลเสีย ก.ด้านสังคม 1.ทาให้เกิดอาชญากรรม เช่น การข่มขืน การปล้นจี้ การลักทรัพย์ ฉกชิงวิ่งราว ฯลฯ กับ นักท่องเที่ยวขึ้น 2.ทาให้มีกิจกรรมที่ไม่ดีงามเพิ่มขึ้น เช่น การค้ายาเสพติด การค้าโสเภณี การพนัน ฯลฯ 3.ทาให้เกิดความแออัดยัดเยียด ( Congection )ในการใช้บริการสิ่งอานวยความสะดวกสาธารณะ และโครงสร้างพื้นฐาน ( Infrastructure ) ต่างๆ 4.ทาให้ความสัมพันธ์ฉันญาติของระบบครอบครัวเสื่อมลงไป อันเนื่องมาจากการรวมตัวของ ครอบครัวต่างๆในสังคม ( Community Cohesion ) ได้กระจายตัวออกไป 5.ทาให้มีการรบกวนความสันโดษ ( Privacy ) หรือความสงบของผู้ที่พักอาศัยอยู่ในสังคมหรือ ชุมชนนั้น
  • 8. 6.ทาให้มีการใช้ภาษาพื้นเมืองหรือภาษาท้องถิ่นน้อยลง มีการใช้ภาษากลางซึ่งเป็นที่ใช้กันทั่วไป มากขึ้น ทาให้ระดับความเป็นปึกแผ่น ( Solidavity ) ของภาษาท้องถิ่นนั้นลดลง 7.ทาให้เกิดความเป็นปรปักษ์ ( Animosity ) ระหว่างคนท้องถิ่นซึ่งเป็นลูกจ้างกับคนต่างถิ่นหรือ ต่างชาติที่เป็นผู้บังคับบัญชาในกิจการ การท่องเที่ยวที่ต้องอาศัยการลงทุนหรือร่วมทุนจากภายนอก ผลดี ข.ด้านวัฒนธรรม 1.ทาให้มีการแสดงออกถึงความแตกต่างด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างชัดเจน 2.ทาให้มีการฟื้นฟูศิลปหัตถกรรมพื้นเมืองที่มีมาแต่โบราณ 3.ทาให้มีการทะนุบารุงรักษาสถานที่อนุสาวรีย์ พงศาวดารและเรื่องราวทางศาสนา และ สถาปัตยกรรมต่างๆไว้ 4.ทาให้คนท้องถิ่นมีความภูมิใจจงรักภักดีและให้ความเชื่อถือต่อสังคมชุมชนนั้น 5.ทาให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างคนท้องถิ่นกับคนต่างถิ่นหรือต่างชาติ ผลเสีย ข.ด้านวัฒนธรรม 1.ทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในค่านิยมศีลธรรม และการทาบุญช่วยเหลือต่างๆในจิตใจของคน ท้องถิ่น 2.ทาให้ลดมาตรฐานศิลปกรรมต่างๆลง เช่น มีการลอกเลียนแบบศิลปะออกขายนักท่องเที่ยว ผลิต สินค้าที่ระลึกที่มีคุณภาพต่าหลอกหรือตบตาขายต่อนักท่องเที่ยว 3.ทาให้เกิดความรู้สึกทาเพื่อการค้า ( Commercialization ) ขึ้นในการทาพิธีเฉลิมฉลองหรือพิธี ทางศาสนาที่สาคัญหรือรับจ้างจัดงานดังกล่าวขึ้นแสดงต่อนักท่องเที่ยว อันจะทาให้งานนั้นเสื่อม ความหมายไป นอกจากนี้ก็มีผลทางด้านสังคมและวัฒนธรรมอื่นๆอีก ที่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นผลดีหรือผลเสีย คือ อาจจะเป็นได้ทั้งผลดีและผลเสียขึ้นอยู่เป็นกรณีๆ ไปนั้นเอง เช่น การเปลี่ยนแปลงถิ่นที่อยู่หรือขยายถิ่น ( Migration ) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสถานะทางสังคมของผู้หญิง เด็ก หนุ่มสาว และอาชีพ การ เปลี่ยนแปลงแบบแผนการพักผ่อนหย่อนใจ การเลียนแบบ ในเรื่องอาหารการกิน การแต่งตัว การบริโภค สินค้าต่างๆของคนท้องถิ่นเอาอย่างนักท่องเที่ยว ฯลฯ ตารางที่ 2 ผลดีและผลเสียของการท่องเที่ยวทางด้านสิ่งแวดล้อมกายภาพ ผลดี 1.ทาให้การก่อสร้างและสิ่งอานวยความสะดวกในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ( Infrastruccure ) และการเข้าถึง แหล่งท่องเที่ยวให้ดีขึ้น 2.ทาให้มีการก่อสร้างและปรับปรุงสิ่งอานวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ฯลฯ เพิ่มมากขึ้น 3.ทาให้มีการควบคุมป้ องกันโรคภัยอันตรายจากภัยธรรมชาติต่างๆมากขึ้น
  • 9. 4.ทาให้มีระบบการควบคุมและจัดการเกี่ยวกับทรัพยากรการท่องเที่ยว เช่น น้า น้าทะเล การป้ องกันภัย ธรรมชาติบริเวณชายฝรั่งทะเล ฯลฯ ดีขึ้น 5.ทาให้มีการปรับปรุงเกี่ยวกับภูมิทัศน์และมีการวางแผนยกระดับมาตรฐานสิ่งแวดล้อมขึ้นในแหล่งพื้นที่ ท่องเที่ยว 6.ทาให้มีการปรับปรุงเกี่ยวกับแบบแผนการใช้ที่ดิน และการจัดการทรัพยากรอย่างถูกต้อง 7.ทาให้มีการใช้มาตรการควบคุมเพื่อรักษาพันธ์สัตว์ พันธ์พืชต่างๆ ที่สาคัญในพื้นที่การท่องเที่ยวที่สูญเสีย สภาพได้ง่ายไว้ โดยการใช้เครื่องมือที่เป็นกลไกลการบริหารหรือการจัดการต่างๆ ผลเสีย 1.ทาให้สูญเสียการสมดุลหรือเกิดความเปลี่ยนแปลงในพันธ์พืชและพันธ์สัตว์ที่สาคัญหรือหายากในพื้นที่ การท่องเที่ยวนั้น 2.ทาให้สูญเสียคุณภาพของแหล่งท่องเที่ยวในแง่ของสภาพแวดล้อมธรรมชาติและในด้านทิวทัศน์ 3.ทาให้เกิดมลภาวะ ( Pollution ) ในน้า อากาศ และพื้นดิน 4.ทาให้สูญเสียหรือทาลายทรัพยากรที่มีมาดั้งเดิม 5.ทาให้สูญเสียพื้นที่ในการใช้ที่ดินที่เป็นป่าไม้ในการเกษตรกรรมและทุ่งเลี้ยงสัตว์ อันเนื่องมาจากการ ขยายตัวของชุมชนที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเข้าไป 6.ทาให้เกิดความแออัดคับคั่ง ( Congestion ) ทั้งในด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวและความหนาแน่น ( Density ) ของนักท่องเที่ยวในช่วงบางระยะเวลา 7.ทาให้เกิดมลภาวะของเสีย ทาลายความสงบและความเงียบสงัด 8.ทาให้สูญเสียสภาพแวดล้อมดั้งเดิมหรือบรรยากาศธรรมชาติที่ยังไม่เจริญไปกลับมีสภาพแวดล้อมหรือ บรรยากาศธรรมชาติ ซึ่งได้มีการพัฒนาการสมัยใหม่เข้ามาแทนที่ องค์ประกอบของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมประเภทบริการจึงมีองค์ประกอบ 1.แหล่งท่องเที่ยว หรือ ทรัพยากรการท่องเที่ยว หมายถึง สถานที่ท่องเที่ยว กิจกรรม และวัฒนธรรม ประเพณีที่สามารถดึงดูดความสนใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือน 2.การคมนาคม การคมนาคมเป็นปัจจัยสาคัญอย่างยิ่งเพราะผู้บริโภคจะต้องเดินทางมา ซื้อบริการถึงแหล่ง ท่องเที่ยว ทั้งนี้รวมทั้งในและนอกประเทศ 3.พิธีการเข้าเมืองและบริการข่าวสาร ควรจะมีระเบียบและพิธีการสะดวกไม่ซับซ้อน รวดเร็ว และใช้บริการ ข่าวสารสื่อความเข้าใจง่าย มีบริการ เรื่องที่พัก อาหาร ยานพาหนะ หรือบริการนาเที่ยว เป็นต้น 4.ที่พักอาศัย ควรมีโรงแรมระดับต่างๆ ให้นักท่องเที่ยวเลือก และควรมีราคาในเรื่องที่พักที่เหมาะสมกับ คุณภาพ ความสะอาด ตามมาตรฐานสากล
  • 10. 5.ภัตตาคารและร้านอาหาร ควรคานึงถึงสุขลักษณะ คุณภาพ และการบริการ ตลอดจนการกาหนดราคา อาหารและชนิดต่างๆของอาหาร ให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสเลือกตามความต้องการและสนใจ 6.การบริการนาเที่ยว ควรมีการบริการนาเที่ยวและมัคคุเทศก์ควรจะมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องผ่านการ อบรมมัคคุเทศก์มาก่อน 7.สินค้าของที่ระลึก ควรมีการควบคุมคุณภาพ กาหนดราคาที่เหมาะสม 8.ความปลอดภัย ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยวเป็นสิ่งสาคัญยิ่งควรมีมาตรการ รักษาความปลอดภัยอย่างมีประสิทธิภาพ 9.การเผยแพร่โฆษณา เป็นสิ่งสาคัญของการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ทั้งนี้รวมทั้งการเผยแพร่ ภายในและต่างประเทศ ทรัพยากรการท่องเที่ยว ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยทรัพยากรการท่องเที่ยว ซึ่งหมายถึง สถานที่ท่องเที่ยว และ วัฒนธรรมประเพณีที่สะเทือนให้เห็นถึงอารยธรรมท้องถิ่นที่มีลักษณะเด่น ดึงดูดความสนใจของ นักท่องเที่ยวได้ ทรัพยากรการท่องเที่ยวอาจแยกตามลักษณะและความต้องการได้ 3 ประเภท คือ 1.ประเภทธรรมชาติ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงามเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ได้แก่ ภูเขา น้าตก ถ้า น้าพุร้อน เขตสงวนพันธ์สัตว์ สวนสัตว์ อุทยานแห่งชาติ วนอุทยานสวนรุกชาติ ทะเล หาดทราย หาดหิน ทะเลสาบ เกาะ เขื่อน อ่างเก็บน้า แหล่งน้าจืด ( ห้วย หนอง คลอง บึง ) และ อ่างเก็บน้า เขื่อน ตัวอย่าง แหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติของไทย เช่น ภูกระดึง น้าตกเอราวัณ เกาะเสม็ด ฯลฯ เป็นต้น 2.ประเภทประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุสถาน และศาสนา เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสาคัญในทาง ประวัติศาสตร์ โบราณคดีหรือศาสนา ได้แก่ วัด โบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์ ชุมชนโบราณ พิพิธภัณฑ์ ศาสนสถาน กาแพงเมือง คูเมือง และ อนุสาวรีย์ อนุสรณ์สถาน ตัวอย่าง แหล่งท่องเที่ยว ประเภทนี้ได้แก่ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ฯลฯ เป็นต้น 3.ประเภทศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรม เป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวอีกรูปแบบหนึ่ง ใน ลักษณะของพิธี งานประเพณี ความเป็นอยู่วิถีชีวิต ( เช่น หมู่บ้านชาวเขา สภาพชีวิตในชนบท ) ศูนย์ วัฒนธรรม สินค้าพื้นเมือง ไร่ / สวน พืช ผัก ผลไม้ และเหมือง ตัวอย่าง เช่น ตลาดน้าดาเนินสะดวก งาน ช้างจังหวัดสุรินทร์ สวนสามพราน ฯลฯ เป็นต้น แหล่งท่องเที่ยวที่สาคัญของประเทศไทย ประเทศไทยเป็นแหล่งนันทนาการ การท่องเที่ยวที่สมบูรณ์ได้ทรัพยากรทั้งทางด้านธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุและประเพณีศิลปวัฒนธรรมและกิจกรรมของชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย ใน อาณาบริเวณ 513,115 ตารางกิโลเมตร ซึ่งประกอบไปด้วยพื้นที่ 73 จังหวัด
  • 11. ประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวมากมายกว่า 700 แห่ง ขอแนะนาตามลักษณะภูมิภาคของประเทศไทยพอ สังเขป ภาคเหนือ แหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่ที่ขึ้นชื่อว่า ประชาชนมีอัธยาศัยอ่อนโยน โอบอ้อมอารีมีสภาพ ภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยความงดงามของธรรมชาติของขุนเขาใหญ่น้อย นับตั้งแต่บริเวณอุทยานแห่งชาติใน จังหวัดสุโขทัย อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง อุทยานแห่งชาติตระการ ที่จังหวัดพิษณุโลก ยอดดอยทั้ง ตระหง่านท้าทายนักเดินป่าและนักปืนเขา เช่น ดอยขุนตาน ในเขตจังหวัดลาพูด – ลาปาง ดอยผ้าห่มปก คลุมจังหวัดเชียงราย ดอยหลวงเชียงดาว ไปจนถึงดอยอินทนนท์ ยอดดอยที่สูงที่สุดในประเทศที่จังหวัด เชียงใหม่ตลอดจนน้าตกที่สวยงามและมีชื่อเสียง เช่น น้าตกแม่กลาง แม่ยะ และน้าตกสิริภูมิ นอกจากนี้ภาคเหนือยังเป็นที่ตั้งของศูนย์ฝึกลูกช้าง ที่อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นศูนย์ฝึกลูกช้างแห่ง เดียวในโลกที่จังหวัดลาปาง และยังมีการแสดงช้างทางานให้นักท่องเที่ยวได้ชม ที่แม่สาและเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือมีโบราณสถาน โบราณวัตถุเก่าแก่ อาทิ บริเวณเมืองเก่าสุโขทัย ซึ่งเป็นราชธานีแห่งแรก ของไทย มีอายุไม่ต่ากว่า 700 ปีมาแล้ว พระบรมธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นที่สักการะของชาว เหนือ พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก พระพุทธรูป ที่มีลักษณะงดงามที่สุด และ ยังเป็นที่ตั้งของเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ คือ เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ชาวเมืองเหนือส่วนใหญ่ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณีของ “ ชาวลานนาไทย ” ซึ่งมี สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน โดยเฉพาะงานประเพณีสงกรานต์ จังหวัดเชียงใหม่ และงานเผาเทียนเล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย ซึ่งจัดเป็นงานใหญ่ระดับชาติ เป็นที่รู้จักกันดีของนักท่องเที่ยวทั่วไป ชาวเขาเผ่าต่างๆ อาทิ พวกม้ง เย้า ลีก้อ มูเซอ กะเหรี่ยง และลีซอ ซึ่งอาศัยอยู่ตามเทือกดอยและ ขุนเขาอันสลับซับซ้อน ก็เป็นเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งที่ดึงดูดผู้คนมากมายให้ขึ้นไปเยี่ยมชม ในเทศกาลออกพรรษาหรือในฤดูน้าหลาก การแข่งเรือประเพณีจังหวัดพิจิตร และพิษณุโลก เป็น งานที่สนุกสนานตื่นเต้นไม่แพ้งานประเพณีของจังหวัดอื่น นากจากพื้นนาฏศิลป์ และการละเล่นของ ภาคเหนือยังมีลีลาอ่อนช้อยงดงาม อาทิ การฟ้ อนเล็บ ฟ้ อนเทียน ฟ้ อนตาม และกลองสะบัดชัย ที่มีลีลาการ เต้นเร้าใจ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ภาคอีสาน อันหมายถึงความมั่งคั่งใหญ่โต มีพื้นที่ครอบคลุมใน 3 ประเทศ อุดมไปด้วยเทือกเขาใหญ่น้อย เช่น เทือกเขาเพชรบูรณ์ เมือกเขาดงพญาเย็น และพนมดงรัก เป็น ที่ตั้งของ “ ภู ” ที่สวยงามหลายแห่ง อาทิ ภูกระดึง ภูเขียว ภูเรือ ภูหลวง ภูวัว ภูทอก และป่าอันอุดมสมบูรณ์ ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ถึง 4 จังหวัด ทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี แผ่นดินอีสานนับได้ว่าเป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่แห่งหนึ่ง ของโลก เป็นที่ยอมรับของนักประวัติศาสตร์และโบราณคดีทั้งชาวไทยปละต่างประเทศไม่ว่าจะเป็น ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี หรือที่ ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี ตลอดจน
  • 12. การขุดค้นพบเครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสีที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีการทดสอบแล้วว่ามีอายุ ประมาณ 1,000 – 7,000 ปีมาแล้ว นอกจากโบราณสถานและปราสาทหินทั้งหลายอันเป็นซากอารยธรรมสมัยขอมเรืองอานาจใน ดินแดนแถบนี้ก็มีให้เห็นอยู่ทั่วไป อาทิ ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ปราสาทหินเมืองต่า จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ และสาหรับพุทธศาสนิกชน พระธาตุ พนม พระธาตุเรณูนคร จังหวัดนครพนม พระธาตุบังพวน จังหวัดหนองคาย พระธาตุศรีสองรัก จังหวัดเลย และพระธาตุเชิงชุม จังหวัดสกลนคร ก็นับเป็นปูชนียสถานสาคัญ ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของชาวอีสาน เช่น งานบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร งานแห่ปราสาทผึ้ง จังหวัดสกลนคร งานแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี งานช้าง จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดชัยภูมิ รวมทั้งการละเล่นและดนตรีพื้นเมือง อาทิ เซิ้งกระติบ ราเพลิน โปงลาง แคน พิณ ล้วนเป็นเอกลักษณ์ที่ ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวต่างถิ่นให้เดินทางมาสู่ภาคอีสานทั้งสิ้น ภาคกลาง ประกอบด้วยพื้นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ไพศาล นับแต่ลุ่มแม่น้าเจ้าพระยา แม่กลอง ท่าจีน และบางปะกง มีกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์รวมของศิลป์ วัฒนธรรมของชาติและศูนย์กลางการปกครองของ ประเทศ แหล่งท่องเที่ยวสาคัญในภูมิภาคนี้โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ได้แก่ พระบรมมหาราชวังวัดพระ ศรีรัตนศาสดาราม อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมณีรัตนมหาปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต พระพุทธรูปที่ สาคัญที่สุดในประเทศ ศาลาเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญกษาปณ์ไทย พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่ นั่งวิมานเมฆ ตลอดจนวัดสาคัญๆ อาทิ วัดมหาธาติ วัดพระเชตุพน วัดเบญจมพิตร วัดไตรมิตร และวัดสระ เกศ หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “ ภูเขาทอง ” นอกจากนี้ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะแก่การทัศนศึกษา เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์และความรู้แก่เยาวชน อาทิ โรงละครแห่งชาติ หอศิลปแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์ วิทยาศาสตร์ และท้องฟ้ าจาลอง งานสภากาชาดไทย และสวนสัตว์ดุสิต เขาดินวนา เป็นต้น สาหรับจังหวัดอยุธยา ซึ่งเคยเป็นราชธานีเก่าของไทยเป็นเวลาถึง 417 ปี ก็มีโบราณสถานและ โบราณวัตถุให้ชมมากมาย อาทิ บริเวณเมืองเก่าอยุธยา พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา วิหาร พระมงคล พระราชวังบางปะอิน พระราชวังฤดูร้อนที่มีศิลปะการก่อสร้างทั้งแบบไทย จีน และยุโรป จังหวัดกาญจนบุรี เป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติถึง 3 แห่ง คืออุทยานแห่งชาติถ้าธารลอดหรือ อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ อุทยานแห่งชาติเอราวัณ และอุทยานแห่งชาติน้าตกแม่ขมิ้น สะพาน ข้ามแม่น้าแคว ทางรถไฟสายมรณะ และสุสานทหารสัมพันธ์มิตร เป็นสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศให้มาเยี่ยมชมเมืองกาญจนบุรี นากจากนี้การล่องแพรไปตามแม่น้าแควน้อย การเที่ยวชมหินงอกหินย้อยอันวิจิตรพิสดารในถ้า ดาวดึงส์ ถ้าละว้า เรือนแพรพักตากอากาศกลางทะเลสาย หรือการตกปลาบริเวณเหนือเขื่อนศรีนครินทร์ ก็ ล้วนเป็นสิ่งเย้ายวนใจนักท่องเที่ยวที่รักการผจญภัย และบรรยากาศธรรมชาติให้มาเยือนเมืองกาญจนบุรี กันอย่างเนืองแน่น
  • 13. ท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ตลาดน้าดาเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี และการแสดงของสวนสามพราน จังหวัดนครปฐม ก็นับเป็นรายการท่องเที่ยวที่ “ พลาดไม่ได้ ” เมื่อมาเยือนเมืองไทย เช่นเดียวกับฟาร์ม จระเข้ และเมืองโบราณ ที่จังหวัดสมุทรปราการ งานประเพณีและการละเล่นของภาคกลาง อาทิ การเล่นเพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเหย่อย เพลงอีแซว เพลงปรบไก่ เพลงลาตัด เพลงฉ่อย ประเพณีชาวไทยเชื้อสายรามัญ เช่น สงกรานต์ปลากลัด พระประแดง งานพิธีโยนบัว ที่บางพลี สมุทรปราการ การละเล่นมอญรา ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นอยู่ และจิตใจของชาวบ้าน รวมทั้งการแสดงโขน ละครนอก ละครใน หุ่นกระบอก ซึ่งหาดูได้ที่โรงละครแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร ประเพณีแห่เจ้าของจีน จังหวัดนครสวรรค์ และงานนมัสการพระพุทธบาท สระบุรี ซึ่งจัด ให้มีขึ้นกลางเดือน 3 ของทุกปี ก็มีนักท่องเที่ยวและพุทธศาสนิกชนจากจังหวัดต่างๆเดินทางไปร่วมงานกัน อย่างเนืองแน่น ชายฝั่งตะวันออก นับตั้งแต่จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี ไปจนถึงจังหวัดตราด เป็น แหล่งท่องเที่ยวที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ มีแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติที่สวยงาม ป่า เขา น้าตก อาทิ อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา เขาวง อุทยานแห่งชาติเขาแหล่มหญ้า หมู่เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง อุทยานแห่งชาติเขาสระบาป ซึ่งเป็นที่ตั้งของน้าตกพลิ้ว น้าตกคลองนารายณ์และน้าตกตรอกนอง วน อุทยาน เขาคชกูฎ และเขารักษาพันธ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว อันชุมชื่นของจังหวัดจันทบุรี แนวฝั่งทะเลอัน เว้าแหว่ง ก่อให้เกิดหาดทรายสวยงาม นับตั้งแต่หาดบางแสนที่มีชื่อเสียง จังหวัดชลบุรี ชายหาดอันคึกคัก ของพัทยา บางเสร่ สวนวังแก้ว แหลมแม่พิม พิพิธภัณฑ์สัตว์ทะเลบางแสน เขาเขียว สวนนงนุช เป็นแหล่ง ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ชายฝั่งทะเล อาทิ เกาะล้าน เกาะครก เกาะ สาก เกาะไผ่ เกาะจวง เกาะจาน ก็เหมาะที่จะเป็นแหล่งตกปลาและว่ายน้าดูปะการัง นอกจากนี้ดินแดน ภาคตะวันออกยังมีที่เที่ยวที่มีความสาคัญทั้งทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ อาทิ ค่ายเนินวง ตึก แคง จังหวัดจันทบุรี งานประเพณีท้องถิ่นของภาคตะวันออกที่น่าสนใจ ได้แก่ งานวิ่งควาย จังหวัดชลบุรี งานเกษตรกรรมประจาปี และงานประกวดผลไม้ ภาคใต้ ที่ตั้งของอาณาจักรศรีวิชัยอันรุ่งเรืองในอดีต มีซากปูชนียสถานและโบราณวัตถุมากมาย อาทิ พระธาตุไชยา อาเภอไชยา สุราษฏร์ธานี พระบรมธาตุเจดีย์และโบราณสถานอื่นๆ ในนครศรีธรรมราช เมืองเก่าที่อาเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เมืองเก่าที่อาเภอยะรัง โบราณสถาน ปัตตานี และเมืองโบราณที่ บ้าทุ่งตึก อาเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา โดยที่ภาคใต้มีภูมิประเทศเป็นคาบสมุทร จึงเต็มไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ หาดทรายยาว เหยียดตั้งแต่หาดหัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ หาดทรายรี จังหวัดชุมพร ชายทะเลดอนสัก สุราษฎร์ธานี หาด ขนองและหาดสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช หาดสมิหลา จังหวัดสงขลา หาดแฆแฆ ตลอดจนหาดนราทัศน์ ในจังหวัดนราธิวาส
  • 14. นอกจากหาดทรายทะเลแล้ว ยังมีหมู่เกาะน้อยใหญ่ อุดมไปด้วยปะการังและปลาสวยงาม อุทยาน แห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล จังหวัด กระบี่ เกาะสมุย และหมู่เกาะอ่างทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เทือกเขาอันอุดมสมบูรณ์ของทิวเขาตะนาวศรี ทิวเขานครศรีธรรมราช และทิวเขาสันการา คีรี ธารน้าตกที่งดงามและชุ่มฉ่าตลอดปี อาทิ น้าตกบุญญบาล จังหวัดระนอง น้าตกพรหมโลก น้าตกกะ โรม จังหวัดนครศรีธรรมราช น้าตกโตนงาช้าง จังหวัดสงขลา น้าตกบาโจ นราธิวาส น้าตกโตนเต๊ะ และเขา ช่อง จังหวัดตรัง นอกจากนี้ภาคใต้ยังเป็นแหล่งอาศัยของฝูงนกนับเหมื่นนับแสน ในบริเวณอุทยานนาน้าบ้านคูขุด สทิงพระ จังหวัดสงขลา และทะเลน้อย อาเภอควบขนุน จังหวัดพัทลุง สาหรับการละเล่นพื้นเมืองและประเพณีที่น่าสนใจของภาคใต้ ได้แก่ งานสารทเดือนสิบ จังหวัด นครศรีธรรมราช งานกินเจ จังหวัดภูเก็ต งานฉลองเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว จังหวัดปัตตานี งานชักพระ จังหวัด สุราษฎร์ธานี งานแข่งเรือกอและ จังหวัดนราธิวาส และงานฮารีรายยอ ซึ่งเป็นงานฉลองการออกบวชการ ถือศิลของชาวไทยมุสลิม การแสดงโนรา หนังตะลุง รองเง็ง มะโย่ง ซีละ และการชนวัว เป็นกีฬาพื้นเมือง และการละเล่น ที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของชาวใต้ จินตภาพการท่องเที่ยว ความดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยวเป็นปัจจัยหนึ่งสาคัญในสามที่จะให้แหล่งท่องเที่ยวประสบ ความสาเร็จในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ( นอกเหนือจากการคมนาคม และสิ่งสร้างความสาราญให้แก่ นักท่องเที่ยว ) การขายสินค้าและบริการท่องเที่ยวจึงเป็นการขาย “ ประสบการณ์ ” ให้แก่นักท่องเที่ยว ผลผลิตชิ้นสุดท้ายที่นักท่องเที่ยวจะได้รับเป็นความรู้สึก ชอบ – ไม่ชอบ สนุก – ไม่สนุก ตื่นเต้น ประทับใจ – เข็ดขยาด แต่ก่อนที่นักท่องเที่ยวจะได้รับประสบการณ์จากการเดินทางท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจะต้องมี ความรู้สึก นึกและคิดเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ ล่วงหน้าก่อน ความรู้สึกนึกคิดนี้นั้นอาจมีมาต่างๆกัน เช่น จากการศึกษา ค้นคว้าจากเอกสาร จากสื่อโฆษณาประเภทต่างๆ ในท้องที่การท่องเที่ยวบางแหล่งเมื่อ เอ่ยถึงผู้ที่ได้ฟังจะนึกสิ่งใดควบคู่กันไปเสมอ จินตภาพทางการท่องเที่ยวได้แก่สิ่งที่นักท่องเที่ยวนึกคิดเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวก่อนได้สัมผัสจริง ด้วยตนเอง หรือข้อมูลจากตัวแทนจาหน่ายบริการการท่องเที่ยว จินตภาพออกเป็นสามหมวดใหญ่ๆ ด้วยกันคือ 1.จิตภาพส่วนรวม เป็นจินตภาพที่หมายรวมถึงสิ่งทั่วๆไปของแหล่งท่องเที่ยวอันนั้นได้ สิ่งแวดล้อม มักเป็นจินตภาพที่จะเกี่ยวข้องกระทบกับลักษณะทางชีวะวิทยาของนักท่องเที่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวซึ่งเกิด จากความต้องการส่วนลึกของมนุษย์ จิตภาพส่วนรวมจะได้รับการกระตุ้นจากการโฆษณา นักท่องเที่ยวจะ สนใจและให้คุณค่าแก่สิ่งที่จะสร้างความตื่นเต้นจากภาพดั้งเดิมของที่นั้นโดยการเข้าไปอยู่ใน สภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากสิ่งที่จาเจออยู่ทุกวัน
  • 15. 2.จินตภาพด้านขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวจะนึกคิดวาดภาพแหล่งท่องเที่ยว โดยเชื่อมโยงกับความเป็นมาตั้งแต่อดีตของแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ มักจะเป็นจินตภาพที่เกิดจากกลุ่มบุคคลที่ มีการศึกษาดี จินตภาพนี้ได้แก่สิ่งที่เกี่ยวข้องกับวรรณคดี ภาพวาด ดนตรี กีฬา ความเชื่อความเป็นอยู่ของ คนและอื่นๆสภาพชีวิตความเป็นอยู่แบบดั้งเดิมขนบธรรมเนียมประเพณีพื้นบ้าน จะเป็นสิ่งแปลกและสร้าง ความตื่นเต้นให้แก่นักท่องเที่ยว 3.จินตภาพสมัยนิยม ความนึกคิดเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวคิดไว้ล่วงหน้า สิ่งที่ นักคิดอาจเป็นจริงหรือไม่เป็นจริงก็ได้ ก่อนออกเดินทางนักท่องเที่ยวอยากจะพิสูจน์สัมผัสได้ สิ่งที่จะช่วยให้ เกิดการตัดสินใจเสี่ยงเลือกสถานที่ท่องเที่ยวก็คือ จินตภาพตามสมัยนิยม ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงไปตาม กาลเวลา โดยทั่วไปแล้วจินตภาพมักจะเกิดขึ้นจากผลรวมของการผสมผสานปัจจัยต่อไปนี้คือ 1.ข้อมูลจากเอกสารประเภทต่างๆ เช่น หนังสือนาเที่ยว แผนที่ ฯลฯ 2.ความต้องการส่วนบุคคลหรือสังคมหรือเกิดจากบทบาทหน้าที่ของบุคคลนั้นๆ 3.การเสนอแนะ การโฆษณาชักชวน จากสื่อมวลชนต่างๆ หรือญาติมิตร ลักษณะของจินตภาพ มีอยู่สองลักษณะคือ ด้านดี อันเป็นจินตภาพที่ส่งเสริมสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปยังแหล่ง ท่องเที่ยวนั้น และจินตภาพด้านเลวซึ่งเป็นจินตภาพที่จะสกัดกั้นความต้องการหรือแม้แต่เปลี่ยนแปลงการ ตัดสินใจเกี่ยวกับจุดหมายปลายทางของแหล่งท่องเที่ยว ในขณะเดียวกัน ลักษณะของจินตภาพทั้งสองอาจ เปลี่ยนเป็นตรงกันข้ามได้ เมื่อมีปัจจัยต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในกระตุ้น ลักษณะทางกายภาพ ด้านดี ลักษณะทางสังคมและสัฒนธรรม ลักษณะทางเศรษฐกิจ จินตภาพ ลักษณะทางการเมือง ลักษณะสิ่งก่อสร้าง ลักษณะพืชพันธ์สัตว์ ด้านเลว ประเภทของจินตภาพ โดยพิจารณาจากที่มาของจินตภาพนั้นในแง่ต่างๆ ( ชยาภรณ์ ชื่นรุ่งโรจน์ , 2530 : 33 – 37 ) ได้ แบ่งจินตภาพการท่องเที่ยวออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1.จินตภาพทางกายภาพ อันได้แก่ลักษณะภูมิประเทศ เป็นทะเลสาบมีภูเขาล้อมรอบมีทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ สลับเนินเขา แม่น้า คลอง เกาะแก่ง ถ้า หุบเขา ชายหาดสวยงาม หาดทรายขาว ละเอียดดังน้าตาลทราย ฯลฯ ลักษณะภูมิอากาศ เช่น หนาวจนกระดูกแทบหลุด ร้อนราวกับทะเลทราย ตัวอย่าง จินตภาพทาง กายภาพของแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เช่น
  • 16. ตะรุเตา หาดหินขาว ภาคอีสาน ความแห้งแล้ง เพชรบูรณ์ เมืองภูเขา ลาบาง เมืองกะทะ ภาคใต้ ฝนตกชุก แม่ฮ่องสอน เมืองสามหมอก เกาะภูเก็ต ไข่มุกแห่งอันดามัน เชียงราย เมืองสุดสยาม กระบี่ เมืองคอดอากะ เกาะเก่าพิสดาร หาดทรายขาวสะอาดดุจน้าตาล เวนิส เมืองแห่งคลอง ธิเบต หลังคาโลก อลาสกา เมืองหิมะ 2.จินตภาพทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ความเป็นมา เป็นอยู่ และเป็นไปของผู้คนในท้องถิ่นต่างๆ ย่อมเป็นสิ่งสนใจของนักท่องเที่ยว และเป็นสิ่งดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวต้องการเดินทางไปชม เช่น ประเทศไทย สยามเมืองยิ้ม ผู้คนเป็นมิตร สุพรรณบุรี เมืองคนกล้ารักพวกพ้อง นครสวรรค์ การเชิดสิงโตตรุษจีน สุราษฎร์ธานี ประเพณีงานเดือน 10 สุโขทัย , อยุธยา เมืองหลวงเก่าแก่ของไทย กริก , โรม แดนแห่งเหว้าอารยธรรมตะวันตก อียิปต์ ต้นกาเนิดอารยธรรมของโลก อังกฤษ ผู้คนสุภาพเป็นผู้ดี ซิซิลี แดนมาเฟีย ฟลอเรนซ์ แดนแห่งศิลปะ อ๊อกซฟอร์ด เมืองการศึกษา 3.จินตภาพเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ ในบางครั้งฐานะทางเศรษฐกิจ รวมทั้งลักษณะการประกอบอาชีพของ คนในท้องถิ่นนั้นจะมีลักษณะความเป็นเอกลักษณ์ ให้ผู้คนรู้จักและเป็นจินตภาพของแหล่งท่องเที่ยวนั้น ตัวอย่าง เช่น
  • 17. ภาคอีกสาน ความยากจน กรุงเทพฯ ศูนย์กลางการค้า ประเทศบรูไน รารวยมั่งคั่งด้านน้ามัน ฮ่องกง เมืองท่าปลอดภาษี ประเทศไทย สินค้าและบริการถูก ประเทศญี่ปุ่น ค่าครองชีพสูง กวางเจา เมืองอุตสาหกรรมของจีน เมืองตูริน ( อิตาลี ) อุตสาหกรรมรถเฟียด 4.จินตภาพเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้าง อาจเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีความสาคัญทางประวัติศาสตร์ ศาสนา หรือ สิ่งก่อสร้างที่มีความเป็น “ ที่สุด ” เช่น กาญจนบุรี สะพานข้ามแม่น้าแคว นครปฐม พระปฐมเจดีย์ กรุงเทพฯ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ปัตตานี วัดหลวงพ่อทวด เชียงใหม่ พระธาตุดอยสุเทพ ลอนดอน หอนาฬิกาบิกเบน สะพานลอนดอนบริดจ์ ปิซ่า หอเอนเมืองปิซ่า โรม โคลีเซี่ยม อินเดีย ทัชมาฮาล จีน กาแพงเมืองจีน อียิปต์ ปิรามิดที่เมืองกีฟู แมกซิโก เมืองมายา ปอมเปอี ซากเมืองถูกเก้าภูเขาไฟกลบ กรุงเฮก เมืองจาลองมาดูโรดัม ปารีส หอคอยไอเฟล ออสเตเลีย ( ซิดนีย์ ) โรงแสดงโอเปร่า สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์ จินตภาพเกี่ยวกับพื้นพันธ์ ธัญญาหารและสัตว์ ในบางท้องที่มันพันธ์พืชพันธ์ที่แปลกเด่นจนเป็นที่รู้จักของ ผู้คนทั่วไป และกลายเป็นเอกลักษณ์ที่จะสร้างจินตภาพแก่ท้องถิ่นนั้น เช่น กาแพงเพชร กล้วยไข่ เพชรบุรี ต้นตาล
  • 18. นนทบุรี ทุเรียน สุราษฎร์ธานี ( นาสาร ) เงาะโรงเรียน นครชัยศรี ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว เพชรบูรณ์ มะขามหวาน เชียงราย ลิ้นจี่ เชียงใหม่ – ลาพูน ลาไย ประเทศจีน หมีแพนด้า ประเทศออสเตเลีย จิงโจ้ หมีโคอาลา ประเทศสเปน วัวกระทิง ประเทศเนเธอร์แลนด์ ดอกทิวลิป ประเทศญี่ปุ่น ดอกซากุระ วัดไผ่โรงวัว นกปากห่าง ทะเลสาบสงขลา อุทยานนกนานาพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นจินตภาพประเภทใดก็ตาม ล้วนมีความสาคัญต่อภาพพจน์ล่วงหน้าที่นักท่องเที่ยวคาดหวังจาก แหล่งท่องเที่ยวและจะมีส่วนช่วยให้นักท่องเที่ยวเตรียมตัวเตรียมใจไปสัมผัสจินตภาพนั้นได้อย่างถูกต้อง สิ่งสาคัญเกี่ยวกับจินตภาพทางการท่องเที่ยวก็คือการสร้างจินตภาพด้านดีที่สอดคล้องกับภาพความเป็น จริงให้เกิดกับนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นเรื่องยากพอสมควร จินตภาพที่ดีจะช่วยเป็นสื่อกลางการโฆษณาให้แก่ แหล่งท่องเที่ยว และช่วยให้แหล่งท่องเที่ยวประสบความสาเร็จได้ในที่สุด บทบาทองค์กรของรัฐบาลกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ในปัจจุบันการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ( ททท. ) ทาหน้าที่ควบคุมดูแล และส่งเสริมการการท่องเที่ยวและ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศ ทั้งนี้เพราะการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่มีส่วนช่วนในการพัฒนา ประเทศทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและความเป็นอยู่ของคนในประเทศและประชากรโลกและถือ เป็นกิจกกรมนันทนาการนานาชาติ ณ กรุงโรม ประเทศเกาหลี สรุปบทบาทของรัฐทาหน้าที่พัฒนาการ ท่องเที่ยวดังนี้ 1.รัฐบาลแต่ละประเทศมีหน้าที่ชักจูง หรือกระตุ้น กิจกรรมต่างๆเกี่ยวกับการท่องเที่ยวของประเทศ 2.กิจกรรมการท่องเที่ยวควรมีการประสานงานภาคใต้องค์การท่องเที่ยวของรัฐ 3.องค์กรของรัฐควรสนับสนุนพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในระดับชาติและนานาชาติ ในรอบทศวรรษการประชุมระหว่างประเทศในเรื่ององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวของโลกได้สรุปหน้าที่และ ความรับผิดชอบขององค์การของรัฐบาลที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไว้ดังนี้
  • 19. 1.การวิจัย ( RESEARCH ) เป็นหัวใจสาคัญที่องค์กรของรัฐจะต้องกระทาเพราะเป็นข้อมูลช่วยใน การตัดสินใจพัฒนาการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว 2.ข้อมูลข่าวสารและการโฆษณาประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว ( INFORMATION AND PROMOTION ) จะช่วยให้นักท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศได้รู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ในเรื่องการคมนาคม , สิ่งอานวยความสะดวก , สถานที่การท่องเที่ยว 3.การออกกฎระเบียบข้อบังคับ ( REGULATION ) เป็นกฎระเบียบในการควบคุมมาตรฐานในเรื่อง ที่พัก อาหาร การคมนาคมขนส่ง และอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อให้นักท่องเที่ยวเกิดความพึงพอใจและสร้างความ งอกงามในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 4.การควบคุม (CONTROL ) รัฐพึงมีหน้าที่ควบคุมบริษัทนาเที่ยวเพื่อการบริการแก่นักท่องเที่ยว อย่างยุติธรรมทั้งในด้านคุณภาพและมาตรฐาน 5.การพิมพ์เผยแพร่ ( PUBLICIRY ) เช่น การโฆษณา สิ่งตีพิมพ์ การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ไปยังนักท่องเที่ยว รัฐควรเข้ามาควบคุม เพื่อประสานงานระหว่างรัฐและเอกชน 6.การแก้ไขเทคนิคและข้อกฎหมาย ( TECHNIVAL AND JURIDICAL PROBLENS ) เพื่อให้ เกิดผลดีทั้งนักท่องเที่ยวและบริษัทอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รัฐบาลควรมีกฎหมายและปรับปรุงกฎหมาย ให้ทันสมัยและทาหน้าที่ประสานงานพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 7.ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ( INTERNATIONAL RELATIONS ) รัฐควรให้ความร่วมมือ ประสานงานกับองค์การท่องเที่ยวระหว่างประเทศ มีการประชุมนานาชาติ เพื่อให้การร่วมมือในการ ประสานงานในการช่วยกันแก้ปัญหาการท่องเที่ยวระหว่างชาติหรือสร้างความเข้าใจอันดีระหว่าง นักท่องเที่ยวนานาชาติกับประชาชนท้องถิ่น 8.การพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยว ( DEVEROMENT OF SELECTED ARRN ) รัฐพึงมีการ สารวจศึกษาวิจัยพื้นที่ศักยภาพเพื่อการท่องเที่ยวในประเทศและให้การสนับสนุน 9.นโยบายท่องเที่ยวโดยส่วนรวม ( OVERALL TOURISM POLICY ) รัฐพึงมุ่งเน้นในเรื่องของการ ใช้ทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างเหมาะสมและให้เกิดประโยชน์มากที่สุด กล่าวโดยสรุปองค์การของรัฐบาลที่มีหน้าที่ต่างๆทั้งควบคุมดูแลประสานงานและพัฒนาการส่งเสริมการ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ( ททท. ) หรือ TOURISM AUTHORITY OF THAILAND ) ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี 2502 หรือเมื่อ 30 ปีมาแล้ว ทาหน้าที่ในฐานะรัฐวิสาหกิจเป็น นิติบุคคล มีสานักงานใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานครและมีสานักงานต่างจังหวัดปัจจุบัน 10 แห่ง และ สานักงานในต่างประเทศ 8 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เยอรมันนี สิงคโปร์ อังกฤษ อิตาลี ฝรั่งเศส ออสเต เลีย และญี่ปุ่น