SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 10
Descargar para leer sin conexión
1
 สิ่งส่งตรวจ การส่งตรวจ และการแปลผล
Specimen, Request and Interpretation
ตำราพยาธิวิทยา : การตรวจสารเคมีในเลือดและสิ่งส่งตรวจ

บทนำ
        สิ่งส่งตรวจ (specimen) คือ สิ่งที่เก็บจากร่างกายผู้ป่วย อาจเป็นสิ่งที่ถูกขับถ่ายออก
มาเช่น ปัสสาวะ (urine) หรือเป็นสิ่งที่ต้องเจาะดูดออกมา เช่น เลือด (blood) น้ำหล่อสมอง
และไขสันหลัง (cerebrospinal fluid, CSF) เป็นต้น สำหรับการตรวจวิเคราะห์ปริมาณสาร
เคมี สิ่งส่งตรวจที่นิยมมากที่สุด คือ เลือด รองลงมา คือ ปัสสาวะ และสิ่งส่งตรวจที่มีการ
ส่งตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารเคมีบ้าง ได้แก่ ของเหลวจากช่องของร่างกาย (effusion) เช่น
น้ำหล่อสมองและไขสันหลัง, น้ำเจาะจากข้อกระดูก (joint/synovial fluid), น้ำเจาะจากช่อง
ท้อง (ascetic/peritoneal fluid), น้ำเจาะจากช่องปอด (pleural effusion) และน้ำเจาะจาก
ช่องหัวใจ (pericardial fluid) สิ่งส่งตรวจอีกกลุ่มที่มีการส่งตรวจบ้าง คือ สารคัดหลั่ง
เช่น น้ำลาย น้ำตา เหงื่อ อุจจาระ สิ่งส่งตรวจที่เก็บส่งห้องปฏิบัติการโดยทั่วไปจะมีปริมาณ
มาก ซึ่งเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่ห้องปฏิบัติการนำไปใช้ในการตรวจวิเคราะห์ ส่วนที่ใช้ในการ
ตรวจวิเคราะห์จะเรียกว่า ตัวอย่างตรวจ (sample) ดังนั้น ตัวอย่างตรวจจึงเป็นส่วนหนึ่งของ
สิ่งส่งตรวจ ถ้าพิจารณาว่า สิ่งส่งตรวจทั้งหมดมีความผสมผสานเป็นเนื้อเดียวกัน ตัวอย่าง
ตรวจก็ไม่ต่างจากสิ่งส่งตรวจ จนสามารถใช้คำทั้งสองแทนกันได้
        การตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารเคมีในสิ่งส่งตรวจมีประโยชน์ทางการแพทย์ ได้แก่
การตรวจคัดกรอง (screening), การวินิจฉัยแยกโรค (differential diagnosis), การติดตาม
ผลการรักษา (monitoring or follow up) และการพยากรณ์โรค (prognosis) สารเคมี
ที่ ต รวจวิ เ คราะห์ ใ นตำราเล่ ม นี้ จ ะกล่ า วถึ ง เฉพาะสารที่ พ บได้ ใ นร่ า งกายของคนทั่ ว ไป
(endogenous substance) การตรวจวิเคราะห์เป็นการตรวจหาปริมาณ ผลการตรวจ
วิเคราะห์จะรายงานเป็นตัวเลขและหน่วยการตรวจวิเคราะห์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นความเข้มข้น
(concentration) การแปลผลจะพิจารณาว่า ค่าสารเคมีที่วิเคราะห์ได้อยู่ในช่วงค่าปกติ
(normal range) หรือในช่วงค่าอ้างอิง (reference range) หรือไม่ หากพบค่าของสารนั้น
น้อยกว่าค่าต่ำสุดของช่วงค่าปกติ (lower limit of reference range, LLR) จะบ่งบอกภาวะ
พร่องหรือขาด (hypo- or deficiency or insufficiency) สารเคมีนั้น ร่างกายสร้างสารนั้น
หรือได้รับสารนั้นน้อยกว่าความต้องการของร่างกาย หรือมีการสูญเสียของสารนั้นออกไป
มากกว่าปกติ หากพบค่าของสารนั้นมากกว่าค่าสูงสุดของช่วงค่าปกติ (upper limit of
reference range, ULR) จะบ่งบอกภาวะมีสารเคมีนั้นมากเกินไป (hyper- or excess or
บทที่ 1 สิ่งส่งตรวจ การส่งตรวจ และการแปลผล	                                                        

overload) ร่างกายมีการสร้างสารนั้นมากเกินความต้องการของร่างกายหรือแบบควบคุมไม่
ได้ มีสารนั้นไหลหรือรั่วจากเซลล์เข้าไปอยู่ในสิ่งส่งตรวจมากขึ้น ร่างกายได้รับสารนั้นมาก
เกิ น ไป หรื อ มี ก ารขั บ ทิ้ ง สารนั้ น น้ อ ยผิ ด ปกติ จ นเกิ ด การคั่ ง สะสมของสารนั้ น ในร่ า งกาย
ปริมาณสารเคมีที่ตรวจพบจึงสะท้อนพยาธิสภาพในร่างกายผู้ป่วย การเข้าใจถึงที่มาและ
บทบาทของสารเคมีที่ส่งตรวจจะทำให้สามารถเลือกสั่งตรวจได้อย่างสมเหตุสมผล และแปล
ผลได้อย่างถูกต้อง สอดคล้องกับภาวะที่เกิดขึ้นในร่างกายของผู้ป่วย ทำให้สามารถดูแล
รักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ทันเวลา และไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น
       แนวทางการสั่งตรวจที่เหมาะสม คือ อาศัยข้อมูลจากการซักประวัติและการตรวจ
ร่างกาย เพื่อเลือกรายการตรวจที่จำเป็นต่อการวินิจฉัยหรือการดูแลผู้ป่วย การสั่งตรวจมาก
เกินความจำเป็นจะเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ทำให้ต้องเสียเวลาในการรอรับผลการตรวจ
วิเคราะห์มากขึ้น เพราะเวลาตรวจวิเคราะห์จะเท่ากับเวลาในการตรวจวิเคราะห์แต่ละ
รายการรวมกัน นอกจากนี้ ผลการตรวจในรายการที่มากเกินความจำเป็นยังอาจทำให้เกิด
ความสับสนในการแปลผล เบี่ยงเบนความสนใจ จนนำไปสู่การวินิจฉัยและการดูแลผู้ป่วยที่
ไม่ เ หมาะสมได้ ตั ว อย่ า งเช่ น การวิ นิ จ ฉั ย ภาวะตั บ อั ก เสบ (hepatitis) ที่ มี ภ าวะดี ซ่ า น
(jaundice) จนน้ำเลือดเหลืองเข้ม (icterus) ถ้าสั่งตรวจแคลเซียมอาจได้ค่าต่ำกว่าปกติ
เนื่องจากความเหลืองของน้ำเลือดรบกวนการตรวจวิเคราะห์ ถ้าไม่ทราบ อาจให้การรักษา
ภาวะขาดแคลเซียม ทั้งที่ผู้ป่วยไม่มีภาวะขาดแคลเซียม เป็นต้น ในขณะที่การสั่งตรวจน้อย
เกินไป อาจทำให้ผู้ป่วยต้องเจ็บตัวหลายครั้งจากการถูกเจาะเก็บสิ่งส่งตรวจเพิ่ม ซึ่งจะทำให้
ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บสิ่งส่งตรวจแต่ละครั้งด้วย ดังตัวอย่างที่
กล่าวไว้ข้างต้น ในขั้นตอนการแปลผล ผู้ใช้ผลการตรวจวิเคราะห์ควรจะทราบว่า นอกเหนือ
จากผลของพยาธิสภาพ (pathological effect) แล้ว ผลการตรวจวิเคราะห์ที่ผิดปกติสามารถ
เกิดจากปัจจัยอื่นใดได้บ้าง สามารถป้องกันได้หรือไม่ อย่างไร(1-5)

สิ่งส่งตรวจ
:
เลือด(1-3,
6-12)
      การตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารเคมี ส่วนมากจะตรวจจากน้ำเลือดที่แยกเอาลิ่มเลือด
ออก หรือซีรัม (serum) เลือดที่เก็บได้ในกรณีนี้จะเรียกว่า clotted blood ซึ่งในหลอดเก็บ
เลือดจะไม่มีสารกันเลือดแข็งใด ๆ หรือเรียกว่า plain tube ในปัจจุบันมี plain tube 2 แบบ
ตำราพยาธิวิทยา : การตรวจสารเคมีในเลือดและสิ่งส่งตรวจ


คือ แบบธรรมดา และแบบที่มี silica slant gel ซึ่งแบบมี silica slant gel ซีรัมที่เกิดขึ้น
จะแยกกับลิ่มเลือดโดย slant gel จึงไม่ต้องเสียเวลารอให้เลือดแข็งตัวและไม่ต้องเสียเวลา
ปั่นแยก (centrifuge) ซีรัมออกจากลิ่มเลือด ทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการตรวจ
วิเคราะห์ น้ำเลือดอีกประเภทได้จากการเก็บเลือดในหลอดที่มีสารกันเลือดแข็ง (anticoa-
gulant) มักมีสีของฝาหลอดเฉพาะตามชนิดของสารกันเลือดแข็ง เช่น สีเทาสำหรับ sodium
fluoride (NaF) สีม่วงแดงสำหรับ EDTA สีเขียวสำหรับ lithium heparin เป็นต้น อย่างไรก็ดี
ก่อนใช้หลอดเก็บเลือดควรอ่านฉลากข้างหลอดเพื่อให้แน่ใจว่า เป็นชนิดสารกันเลือดแข็ง
ที่ต้องการใช้และยังไม่หมดอายุ (expired) และมองหาขีดจำกัดในการเติมเลือดเข้าไป ซึ่ง
จะบ่งชี้ปริมาณเลือดที่เหมาะสมกับปริมาณสารกันเลือดแข็งในหลอดนั้น
         สารกันเลือดแข็งจะทำให้เลือดไม่แข็งตัวเป็นลิ่มเลือด แต่เมื่อนำไปปั่น เม็ดเลือดจะ
ตกลงสู่ก้นหลอดแยกชั้นกับน้ำเลือด ส่วนของน้ำเลือดนี้จะเรียกว่า พลาสมา (plasma) สาร
กั น เลื อ ดแข็ ง ที่ ใ ช้ บ่ อ ยในการส่ ง ตรวจวิ เ คราะห์ ป ริ ม าณสารเคมี คื อ NaF สำหรั บ ตรวจ
วิเคราะห์ปริมาณกลูโคสหรือน้ำตาลในเลือด NaF นอกจากจะมีฤทธิ์ป้องกันการแข็งตัวของ
เลือดแล้ว ยังมีฤทธิ์ยับยั้งการใช้กลูโคสของเม็ดเลือดและเซลล์ต่าง ๆ ได้หลายชั่วโมงด้วย
อาจนานเป็นวันขึ้นกับปริมาณ NaF และอุณหภูมิรอบ ๆ สารกันเลือดแข็งที่ใช้เก็บเลือดส่ง
ตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารเคมีอีกชนิดหนึ่ง คือ heparin สำหรับการตรวจค่าแก๊สในเลือด
(blood gas) และสารเคมีในเม็ดเลือดแดง เช่น แมกนีเซียม สารกันเลือดแข็งชนิด EDTA
ใช้ในการตรวจหาปริมาณ hemoglobin A1C โดยทั่วไป EDTA ใช้มากในการตรวจทาง
โลหิตวิทยา
           เลือดที่เก็บเพื่อส่งตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารเคมีควรรีบนำส่งห้องปฏิบัติการทันที
ที่ เ ก็ บ เสร็ จ หากจำเป็ น ต้ อ งส่ ง เลื อ ดไปห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารล่ า ช้ า ในกรณี ส ารเคมี ที่ ต้ อ งการ
ตรวจวิเคราะห์อยู่ในน้ำเลือด ต้องปั่นแยกน้ำเลือดออกจากเซลล์ แล้วเก็บเฉพาะน้ำเลือด
แช่ เ ย็ น หรื อ แช่ แ ข็ ง ไม่ ค วรแช่ เ ย็ น หรื อ แช่ แ ข็ ง เลื อ ดที่ เ จาะได้ ทั้ ง หมด เพราะการแช่ แ ข็ ง
จะทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก (hemolysis) เมื่อนำเลือดนั้นมาทำให้ละลาย ส่วน
เลือดที่แช่เย็นอาจมีหยดน้ำไหลลงไปปนกับเลือด ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกได้เช่นกัน การแช่
เย็นเลือดนานหลายชั่วโมง แม้จะปิดฝาภาชนะอย่างดี ไม่มีการแตกของเม็ดเลือดแดง
แต่ จ ะพบว่ า มี ส ารเคมี ใ นเม็ ด เลื อ ดซึ ม ออกไปปนอยู่ ใ นน้ ำ เลื อ ดได้ เพราะเซลล์ ที่ ถู ก นำ
บทที่ 1 สิ่งส่งตรวจ การส่งตรวจ และการแปลผล	                                                     

ออกจากร่างกายอย่างเซลล์เม็ดเลือดในเลือดที่เก็บไว้นานเหล่านี้จะขาดออกซิเจนและสาร
อาหาร ทำให้ความสามารถในการเลือกผ่านของผนังเซลล์ (membrane permeability)
ลดลงไปเรื่อย ๆ สารเคมีภายในเซลล์ เช่น โพแทสเซียม และฟอสเฟต ไม่สามารถถูกกักเก็บ
ไว้ ใ นเซลล์ ไ ด้ จึง ซึ ม เข้ าไปละลายในน้ ำ เลื อ ด และให้ผ ลการตรวจวิ เ คราะห์ สู ง กว่ าค่ า ที่
เป็นจริง
      ผู้ป่วยต้องได้รับการแนะนำให้อดอาหารทุกชนิดยกเว้นน้ำเปล่าก่อนมารับการเจาะ
เก็บเลือดอย่างน้อย 8 ชั่วโมง หรืออดอาหารตั้งแต่หลังเที่ยงคืนเพื่อมารับการเจาะเลือด
ในเช้าวันถัดไป เนื่องจากอาหารที่กินเข้าไปจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด และมีผลต่อ
ปริมาณสารเคมีที่วิเคราะห์ได้ในเลือดทั้งทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างผลทางตรง คือ
ปริมาณกลูโคสในเลือด หากอาหารที่พึ่งกินเข้าไปมีปริมาณน้ำตาลอยู่มาก ก็จะมีผลให้ค่า
น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นมากผิดปกติได้ อาหารที่พึ่งกินเข้าไปมีผลทางอ้อมที่สำคัญ คือ ปริมาณ
ไขมันหรือโปรตีนที่พึ่งกินและพึ่งถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด จะทำให้น้ำเลือดขุ่นมากกว่า
ปกติ ความขุ่ น ของน้ ำ เลื อ ดจะมี ผ ลรบกวนในปฏิ กิ ริ ย าการตรวจวิ เ คราะห์ ทำให้ ไ ด้ ผ ล
การตรวจวิเคราะห์ผิดไปจากที่ควรเป็นได้ ดังนั้น เพื่อให้ได้ผลการตรวจวิเคราะห์สารเคมีที่
ถูกต้อง ควรให้ผู้ป่วยอดอาหารก่อนมารับการเจาะเก็บเลือด
        เลือดที่ใช้ส่งตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารเคมีตามที่กล่าวข้างต้น เป็นเลือดที่เก็บจาก
หลอดเลือดดำ (venous blood) ตำแหน่งที่นิยมเก็บเลือดดำ คือ หลอดเลือดดำตรงหน้าแขน
บริเวณข้อพับศอก หรือ median cubital and cephalic veins กรณีที่ผู้ป่วยอ้วนหรือหลอด
เลือดดำที่ข้อพับแขนปรากฏไม่ชัด จะเลือกเก็บเลือดดำจากหลอดเลือดดำบริเวณหลังมือ
หรือ dorsal hand veins แทน ในทารกและเด็กเล็ก การเก็บเลือดไม่สามารถทำที่ข้อพับแขน
ได้เนื่องจากเด็กจะดิ้น จนอาจได้รับอันตรายได้ ต้องเก็บเลือดจากปลายนิ้ว (finger blood)
หรือจากส้นเท้าแทน ซึ่งเป็นการเก็บเลือดจากหลอดเลือดฝอย (capillary) จะได้ปริมาณ
เลือดน้อยกว่าการเก็บจากหลอดเลือดดำมาก เลือดจากปลายนิ้วยังนิยมใช้สำหรับการ
เจาะเลือดตรวจน้ำตาลเองของผู้ป่วยเบาหวานด้วย เลือดอีกชนิดหนึ่งที่ใช้ตรวจวิเคราะห์ค่า
ความเป็นกรด-ด่าง และแก๊ส (acid-base-gas, ABG) คือ เลือดที่เก็บจากหลอดเลือดแดง
บริเวณข้อมือ หรือ radial artery ซึ่งเป็นการเก็บเลือดที่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
เพราะหากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นจะเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้ป่วย
ตำราพยาธิวิทยา : การตรวจสารเคมีในเลือดและสิ่งส่งตรวจ


         หลอดเลือดแดงที่นิยมเจาะเก็บเลือด คือ radial artery เพราะสามารถคลำพบได้ง่าย
เป็นตำแหน่งเดียวกับที่ใช้วัดชีพจร (pulse) นอกจากนี้ radial artery ยังมีการจัดเรียงตัวห่าง
จากเส้นประสาทด้วย ทำให้โอกาสที่เข็มเจาะจะไปโดนเส้นประสาทลดลง จึงลดโอกาสเกิด
ความเจ็บปวดมากขณะเจาะเก็บเลือด อีกเหตุผลที่นิยมเจาะเก็บเลือดจาก radial artery
คือ การมีหลอดเลือด ulnar artery เป็น collateral circulation ซึ่งลดความเสี่ยงในการเกิด
เนื้อเยื่อที่เคยได้รับเลือดจาก radial artery ขาดเลือดไปเลี้ยง (ischemia) หากเกิดภาวะ
ก้อนลิ่มเลือดอุดตัน (thrombosis) ใน radial artery โดยเลือดจาก ulnar artery จะไหล
เข้าไปเลี้ยงเนื้อเยื่อนั้นแทนได้ ก่อนเจาะเลือดอาจทำการตรวจสอบ collateral circulation
ว่าอยู่ในสภาพใช้งานได้หรือไม่ โดยทำการทดสอบที่เรียกว่า modified Allen test วิธี
การทดสอบ คือ
       1. ให้ผู้ป่วยยกมือด้านที่จะทดสอบขึ้นและกำมือให้แน่นประมาณ 30 วินาที
       2. ผู้ทำการทดสอบใช้นิ้วมือกดหลอดเลือด ulnar artery และ radial artery ด้วยแรง
พอประมาณ
       3. ให้ผู้ป่วยคลายมือที่กำออก จะพบว่าฝ่ามือของผู้ป่วยซีดขวา เนื่องจากหลอดเลือด
แดงที่ไปเลี้ยงทั้งสองเส้นถูกกดไว้
       4. ผู้ทำการทดสอบคลายนิ้วที่กดหลอดเลือด ulnar artery ออกโดยยังคงกดหลอด
เลือด radial artery ไว้
       5. สังเกตฝ่ามือของผู้ป่วยว่ากลับมาแดงเป็นปกติทันทีหรือภายใน 10 วินาทีหรือไม่
       6. การแปลผล ถ้าฝ่ามือของผู้ป่วยสามารถกลับมาแดงตามปกติได้ แสดงว่า ulnar
artery อยู่ในสภาพที่ดี สามารถทำหน้าที่เป็น collateral artery หากมีก้อนลิ่มเลือดอุดตัน
ใน radial artery แต่หากฝ่ามือผู้ป่วยยังคงซีดขวา แสดงว่ามีพยาธิสภาพใน ulnar artery
ทำให้ไม่สามารถเป็น collateral artery ให้กับ radial artery ได้ การเจาะเก็บเลือดจาก
radial artery จึงเสียงต่อการเกิดเนือตายจากการขาดเลือดไปเลียง (infarction, gangrene)
                     ่             ้                        ้
ของฝ่ามือด้านนั้น อาจต้องพิจารณาเจาะเก็บจากหลอดเลือดแดงอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่า
radial artery
     หลอดเลือดแดงที่อาจใช้เจาะเก็บเลือดแดงแทน radial artery คือ brachial artery
และ femoral artery หลอดเลื อ ดแดงทั้ ง สองนี้ มี ข นาดใหญ่ ก ว่ า radial artery จึ ง มี
บทที่ 1 สิ่งส่งตรวจ การส่งตรวจ และการแปลผล	                                                          

ความดั น เลื อ ดมากกว่ า ทำให้ ห้ า มเลื อ ดหลั ง เจาะเก็ บ เลื อ ดได้ ย ากกว่ า ด้ ว ย จึ ง เสี่ ย งต่ อ
ภาวะเสียเลือดมากถ้าเจาะเก็บเลือดไม่เหมาะสม มักใช้เก็บเลือดในกรณีที่ผู้ป่วยมีความดัน
เลือดต่ำ (hypotension) เช่น ในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่นอนป่วยอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน และใน
กรณีที่ collateral circulation ของ radial artery ไม่อยู่ในสภาพที่ดี เพราะหากเกิดลิ่มเลือด
ขึ้นในหลอดเลือดขนาดใหญ่เหล่านี้ หลอดเลือดจะไม่ถูกอุดตันอย่างสมบูรณ์ จะมีการอุดตัน
เพียงบางส่วน (partial obstruction) ต่างจากกรณีที่เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดขนาดเล็ก
อย่าง radial artery ที่มีโอกาสอุดตันแบบสมบูรณ์ กระแสเลือดในหลอดเลือดแดงขนาด
ใหญ่ที่แม้จะมีลิ่มเลือดอุดตันบางส่วนก็ยังสามารถไหลผ่านไปเลี้ยงเนื้อเยื่อได้บ้าง จึงไม่เกิด
ภาวะเนื้อตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง อย่างไรก็ดี หากจะเจาะเก็บเลือดจากหลอดเลือด
แดงขนาดใหญ่ต้องเตรียมพร้อมสำหรับการห้ามเลือดและเตรียมความพร้อมในการดูแล
ผู้ป่วยกรณีที่มีเลือดออกมากหลังเจาะเก็บเลือด
         อุปกรณ์ในการเจาะเก็บเลือดจากหลอดเลือดแดง ได้แก่ syringe ที่ภายในเคลือบ
ด้วย heparin, เข็มเจาะเก็บเลือดขนาด G21, สำลี, แอลกอฮอล์เช็ดแผล, ผ้าสะอาดหนา
หรือหมอนสำหรับรองข้อมือ, ผ้าปลอดเชื้อหนาสำหรับกดห้ามเลือดหลังเจาะเสร็จ, ถาดใส่
น้ ำ แข็ ง สำหรั บ แช่ syringe ที่ บ รรจุ เ ลื อ ดขณะนำส่ ง , และอาจมี ย าชาเฉพาะที่ (local
anesthesia) แบบฉีดพ่น (spray) สำหรับกรณีที่ผู้ป่วยกลัวเจ็บอย่างมาก เพื่อลดภาวะ
วิตกกังกลที่อาจมีผลให้ผู้ป่วยหายใจถี่ (hyperventilation) จนมีผลต่อค่าการตรวจวิเคราะห์
ถ้าไม่อยู่ในภาวะฉุกเฉิน ก่อนเจาะเก็บเลือดจากหลอดเลือดแดง ควรทราบสภาวะการแข็ง
ตัวของเลือด (coagulogram) ของผู้ป่วย ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด
เช่น โรค hemophilia หรือมีปริมาณเกล็ดเลือดต่ำ ต้องระวังภาวะเลือดออกมากหลังเจาะเก็บ
เลือดเสร็จ ผูปวยเหล่านีอาจจำเป็นต้องให้พลาสมาสด (fresh frozen plasma) เพื่อเพิ่มปัจจัย
              ้ ่        ้
การแข็งตัวของเลือด (coagulative factor) ชนิดที่พร่อง หรืออาจให้เกล็ดเลือดหรือ vitamin
K ไประยะหนึ่งก่อนทำการเจาะเก็บเลือด
       วิ ธี ก ารเจาะเก็ บ เลื อ ด คื อ ให้ ผู้ ป่ ว ยหงายข้ อ มื อ บนผ้ า หรื อ หมอนรองข้ อ มื อ ทำ
ความสะอาดผิวหนังบริเวณข้อมือด้านนิ้วหัวแม่มือหรือตำแหน่งที่ใช้วัดชีพจรด้วยสำลีชุบ
แอลกอฮอล์ ถ้าผู้ป่วยมีสติ ต้องระวังไม่ให้ผู้ป่วยวิตกกังกลหรือกลัวมาก ด้วยการพูดคุย
หรื อ อาจลดความกลั ว เจ็ บ ของผู้ ป่ ว ยด้ ว ยการฉี ด หรื อ ทาบริ เ วณที่ จ ะเจาะเก็ บ เลื อ ดด้ ว ย
ตำราพยาธิวิทยา : การตรวจสารเคมีในเลือดและสิ่งส่งตรวจ


ยาชาเฉพาะ ใช้นิ้วมือคลำชีพจร เมื่อพบการเต้นของหลอดเลือด radial artery ให้แทงเข็ม
ลงไปที่หลอดเลือดที่คลำได้ เลือดจะถูกแรงดันในหลอดเลือดดันเข้าไปใน syringe เมื่อได้
ปริมาตรเลือดตามต้องการ ให้ดึงเข็มออก ต้องรีบใช้สำลีก้อนใหญ่หรือผ้าปลอดเชื้อหนา
กดลงตรงรอยเจาะให้แน่นทันทีที่ดึงเข็มออก กดบริเวณรอยเจาะอยู่พักหนึ่งจนแน่ใจว่า
เลือดหยุดไหล ปิดพลาสเตอร์ที่รอยเจาะ สำหรับ syringe บรรจุเลือด ให้งอเข็มหรือปักเข็ม
บนจุกยางทึบ เพื่อป้องกันอากาศจากภายนอกเข้าไป ห้ามถ่ายเลือดใส่ภาชนะอื่นเพื่อไม่ให้
เลือดสัมผัสกับอากาศภายนอก นำ syringe ที่บรรจุเลือดใส่ในถาดหรือภาชนะบรรจุน้ำแข็ง
รีบนำส่งห้องปฏิบตการ
                ั ิ
       ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในการเจาะเลือดจากหลอดเลือดแดง ได้แก่
       1. Thrombosis การเกิดก้อนลิ่มเลือดในหลอดเลือดที่ถูกเจาะเก็บเลือด เป็นอันตราย
โดยเฉพาะในหลอดเลือดขนาดเล็กที่อาจเกิดการอุดตันอย่างสิ้นเชิง ทำให้เนื้อเยื่อที่เคยได้
รับเลือดจากหลอดเลือดนั้นขาดเลือดไปเลี้ยงและเกิดภาวะเนื้อตายได้
       2. Hematoma การมีจ้ำเลือด เกิดจากการมีเลือดออกใต้ผิวหนัง เนื่องจากการกดที่
รอยเจาะไม่แน่นพอหลังจากดึงเข็มออก
       3. Bleeding ภาวะเลือดออกจากรอยเจาะตามแรงดันของหลอดเลือดแดง เนื่องจาก
ไม่ได้กดที่รอยเจาะทันทีที่ดึงเข็มออก เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย โดยเฉพาะในผู้ป่วย
ที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด เพราะจะทำให้ผู้ป่วยสูญเสียเลือดมากจนเข้า
สู่ภาวะช็อกได้
       4. Pain ความเจ็บปวด เกิดจากการที่เข็มเจาะไปโดนเส้นประสาทที่อยู่ข้างหลอด
เลือด
       5. Infection การติดเชื้อ เกิดจากการใช้อุปกรณ์เจาะเก็บเลือดที่ไม่สะอาด ไม่ผ่าน
การฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง หรือถูกจัดเตรียมอย่างไม่เหมาะสม ถ้าไม่รุนแรงมากจะเกิดฝีหนอง
บริเวณที่เจาะ แต่ถ้ารุนแรงหรือร่างกายผู้ป่วยง่ายต่อการติดเชื้อ อาจมีเชื้อโรคเข้าสู่กระแส
เลือดจนเกิดภาวะติดเชื้อในเลือดและอวัยวะภายในได้

สิ่งส่งตรวจอื่น
ๆ(1-3,
6-9)
      ปั ส สาวะเป็ น สิ่ ง ส่ ง ตรวจอี ก ชนิ ด ที่ นิ ย มส่ ง ตรวจวิ เ คราะห์ ป ริ ม าณสารเคมี อาจใช้
บทที่ 1 สิ่งส่งตรวจ การส่งตรวจ และการแปลผล	                                                                 

ปัสสาวะเก็บแบบสุ่ม (random urine) หรือเก็บทันทีที่ต้องการสั่งตรวจ ปริมาณ 5-10
มิลลิลิตร เนื่องจากปริมาณสารเคมีในปัสสาวะมีความแปรปรวนตามปริมาณน้ำที่ผู้ป่วย
ได้ รั บ กล่ า วคื อ หากผู้ ป่ ว ยดื่ ม น้ ำ น้ อ ย ด้ ว ยกลไกปกติ ข องร่ า งกายจะทำให้ มี ป ริ ม าณ
น้ ำ ในปั ส สาวะน้ อ ย ปั ส สาวะเข้ ม ข้ น (concentrated urine) ทำให้ ป ริ ม าณสารเคมี ที่
ตรวจวิ เ คราะห์ ไ ด้ ค่ า ความเข้ ม ข้ น สู ง แม้ จ ะขั บ ทิ้ ง ในปริ ม าณที่ ป กติ แต่ ห ากผู้ ป่ ว ยดื่ ม น้ ำ
มาก น้ำส่วนที่เกินความต้องการของร่างกายจะถูกขับออกมากับปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะ
เจือจาง (diluted urine) สารเคมีในน้ำปัสสาวะที่ตรวจวิเคราะห์ได้ค่าความเข้มข้นต่ำแม้
จะถูกขับทิ้งในปริมาณที่ปกติ การสั่งตรวจปัสสาวะที่เก็บแบบสุ่มจึงมักสั่งตรวจร่วมกับ
การตรวจสารเคมีชนิดเดียวกันในเลือดของผู้ป่วยเก็บในเวลาไล่เลี่ยกัน และนำผลที่ได้ไป
แปลร่วมกัน ตัวอย่างเช่น การตรวจพบค่าโซเดียมในเลือดต่ำ แต่พบค่าโซเดียมในปัสสาวะ
สู ง แสดงว่ า ไตของผู้ ป่ ว ยไม่ ส ามารถกั ก เก็ บ โซเดี ย มได้ แต่ ถ้ า พบว่ า ทั้ ง ในเลื อ ดและใน
ปัสสาวะมีค่าโซเดียมต่ำ แสดงว่าผู้ป่วยได้รับเกลือโซเดียมเข้าสู่ร่างกายน้อยเกินไปหรือขาด
เกลือโซเดียม หรือมีการสูญเสียโซเดียมทางอื่นที่ไม่ใช่ทางไต เช่น ทางเหงื่อหรือทางอุจจาระ
เป็นต้น อีกวิธีหนึ่งที่ใช้ในการลดความแปรปรวนจากปริมาณน้ำทีผปวยดืมก่อนเก็บปัสสาวะ่ ู้ ่ ่
แบบสุม คือ การวิเคราะห์คาครีเอตินน (creatinine) ในปัสสาวะนันด้วย แล้วนำค่าสารเคมีที่
        ่                       ่            ี                                ้
วิเคราะห์ได้ไปเทียบกับปริมาณครีเอตินีนที่วิเคราะห์ได้ในปัสสาวะเดียวกันนั้น ซึ่งหน่วยจะ
เป็นมวลของสารเคมีนนต่อมวลของครีเอตินีน เช่น mg/mg of creatinine เรียกการทำเช่นนี้
                          ั้
ว่า normalization ทั้งนี้ เพราะมวลของครีเอตินีนในปัสสาวะเป็น mg ต่อหนึ่งหน่วยเวลา
จะคงที่ตามค่า creatinine clearance ปริมาณน้ำในปัสสาวะจะไม่มีผลต่อค่ามวลของ
ครีเอตินีน หากพบค่ามวลของสารเคมีนั้นสูงกว่าค่ามวลครีเอตินีน แสดงว่ามีปริมาณสาร
เคมีนั้นในปัสสาวะสูงจริงไม่ใช่ผลจากการมีน้ำในปัสสาวะน้อย ปัสสาวะเก็บครั้งเดียวที่
สั่งตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารเคมีอีกประเภทหนึ่งจะให้เก็บทันทีที่ตื่นนอน เรียกว่า first/
early morning urine มักส่งตรวจกรณีที่สงสัยว่าผู้ป่วยอาจสร้างหรือสามารถขับทิ้งสารเคมี
นั้ น ออกมากั บ ปั ส สาวะ แต่ ต รวจไม่ พ บสารเคมี นั้ น ในปั ส สาวะเก็ บ แบบสุ่ ม ของผู้ ป่ ว ย
เนื่องจากสารนั้นถูกขับทิ้งไปก่อนหน้าที่จะเก็บปัสสาวะ โดยทั่วไปขณะหลับ คนปกติมักตื่น
มาปัสสาวะน้อยครั้งหรือไม่ต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะเลย ดังนั้น ปัสสาวะที่ถ่ายตอนตื่นนอน
จึงเป็นปัสสาวะที่คั่งสะสมในกระเพาะปัสสาวะตลอดหนึ่งคืนที่นอนหลับ หากร่างกายมี
10	                             ตำราพยาธิวิทยา : การตรวจสารเคมีในเลือดและสิ่งส่งตรวจ


การสร้างหรือขับสารเคมีที่สงสัยทิ้งไปกับปัสสาวะ ก็จะพบสารเคมีนั้นสะสมในปัสสาวะ
ถ่ายตอนตื่นนอนให้ตรวจวิเคราะห์ได้
        การเก็บปัสสาวะตลอดหนึ่งวันหรือ ปัสสาวะ 24 ชั่วโมง (24 h urine) คือ การให้ผู้ป่วย
เริ่มเก็บปัสสาวะตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งถึงเช้าวันถัดไป ควรแนะนำให้ผู้ป่วยเริ่มต้นเก็บ
ด้วยการถ่ายปัสสาวะหลังตื่นนอนในวันที่เริ่มเก็บทิ้ง จากนั้นให้เก็บปัสสาวะทั้งหมดที่ถ่าย
ทุกครั้งใส่ขวดขนาดประมาณ 2-5 ลิตร ที่แห้งและสะอาด ไม่มีสารเคมีหรือน้ำยาใด ๆ ปน
เปื้อน ปิดฝา และแช่ในตู้เย็น เก็บไปเรื่อย ๆ โดยแต่ละครั้งที่ถ่ายปัสสาวะอาจเก็บใส่ภาชนะ
ขนาดทีเหมาะสมแล้วนำไปเทรวมในขวดใหญ่ จนครบ 24 ชัวโมง หรือถึงเช้าวันถัดไป ให้เก็บ
         ่                                               ่
ปัสสาวะตอนตื่นนอนของวันที่จะนำปัสสาวะไปส่งตรวจด้วย เสร็จแล้วให้นำปัสสาวะที่เก็บ
ได้ทั้งหมดส่งห้องปฏิบัติการ กรณีที่มีการลืมเก็บปัสสาวะบางครั้งหรือทำปัสสาวะหกไปบ้าง
ให้แจ้งห้องปฏิบัติการทราบด้วย ปริมาณสารเคมีในปัสสาวะ 24 ชั่วโมงนี้จะรายงานเป็น
หน่วยความเข้มข้น คือ มวลต่อหน่วยปริมาตร เช่น mg/dL และสามารถนำค่าความเข้มข้นที่
ได้ไปคำนวณร่วมกับค่าปริมาตรปัสสาวะ (urine volume) ที่เก็บได้ทั้งหมด จะได้ค่าอัตรา
การขับทิ้ง (rate of excretion) ของสารเคมีนั้น มีหน่วยเป็นมวลต่อเวลา เช่น mg/day หรือ
mg/24 h หรืออาจคำนวณต่อเป็นมวลต่อนาที เช่น mg/min ก็ได้ (หนึ่งวันหรือ 24 ชั่วโมง
จะเท่ากับ 1,440 นาที) ปริมาณสารเคมีที่วิเคราะห์ได้จากปัสสาวะประเภทนี้จะไม่มีความ
แปรปรวนของปริมาณน้ำที่ผู้ป่วยได้รับเข้าไปก่อนเก็บปัสสาวะ เพราะความแปรปรวนที่เกิด
ขึ้นในแต่ละช่วงเวลาของวันถูกรวบรวมอยู่ในขวดเก็บปัสสาวะเดียวกันแล้ว ทำให้ได้ค่าของ
สารเคมีที่ขับออกมากับปัสสาวะใกล้เคียงกับความเป็นจริงของสภาพร่างกายผู้ป่วย ผล
การตรวจวิเคราะห์มีความน่าเชื่อถือกว่าค่าการตรวจวิเคราะห์จากปัสสาวะชนิดอื่น ๆ แต่เก็บ
ลำบากยุ่งยากมากกว่า ปริมาตรปัสสาวะที่เก็บได้ทั้งหมดในหนึ่งวัน ยังใช้บอกสมดุลน้ำของ
ร่างกายด้วย โดยทั่วไปเมื่อร่างกายได้รับน้ำในปริมาณปกติจะมีปริมาตรปัสสาวะต่อวัน
ประมาณ 0.5-1.5 ลิตร ซึ่งเป็นช่วงค่าปกติของค่าปริมาตรปัสสาวะต่อวัน
       น้ ำ หล่ อ สมองและไขสั น หลั ง (CSF) เป็ น สิ่ ง ส่ ง ตรวจอี ก ประเภทที่ มี ก ารส่ ง ตรวจ
วิเคราะห์ปริมาณสารเคมี CSF ในภาวะปกติจะมีปริมาณน้อยมาก เจาะดูด (aspirate) ไม่
ได้ มีลักษณะใส (clear) ไม่มีสี (colorless) และไม่หนืด (no viscous) เป็นน้ำที่ซึมจาก
หลอดเลือดเข้าไปอยู่ในช่องภายในสมองและไขสันหลัง เพื่อนำออกซิเจนและสารอาหารไป

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

การพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดเอ-ออร์ตาในช่องท้องโป่งพอง
การพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดเอ-ออร์ตาในช่องท้องโป่งพองการพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดเอ-ออร์ตาในช่องท้องโป่งพอง
การพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดเอ-ออร์ตาในช่องท้องโป่งพอง
Chutchavarn Wongsaree
 
Basic mechanical ventilation sep 2552 with reference
Basic mechanical ventilation sep 2552 with referenceBasic mechanical ventilation sep 2552 with reference
Basic mechanical ventilation sep 2552 with reference
Loveis1able Khumpuangdee
 
การดูแลเครื่องมือและอุปกรณ์ในการบำบัด
การดูแลเครื่องมือและอุปกรณ์ในการบำบัดการดูแลเครื่องมือและอุปกรณ์ในการบำบัด
การดูแลเครื่องมือและอุปกรณ์ในการบำบัด
techno UCH
 
Survival for all draft 1 - 3
Survival for all draft 1  - 3Survival for all draft 1  - 3
Survival for all draft 1 - 3
Domo Kwan
 
ประเภทสารน้ำ
ประเภทสารน้ำประเภทสารน้ำ
ประเภทสารน้ำ
Prathan Somrith
 

La actualidad más candente (20)

Central venous pressure (cvp)
Central venous pressure (cvp)Central venous pressure (cvp)
Central venous pressure (cvp)
 
5.ภาควิชานิติเวชศาสตร์
5.ภาควิชานิติเวชศาสตร์5.ภาควิชานิติเวชศาสตร์
5.ภาควิชานิติเวชศาสตร์
 
ภาวะซีด
ภาวะซีดภาวะซีด
ภาวะซีด
 
Ch 8 basic emergency medical service and triage
Ch 8 basic emergency medical service and triageCh 8 basic emergency medical service and triage
Ch 8 basic emergency medical service and triage
 
การพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดเอ-ออร์ตาในช่องท้องโป่งพอง
การพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดเอ-ออร์ตาในช่องท้องโป่งพองการพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดเอ-ออร์ตาในช่องท้องโป่งพอง
การพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดเอ-ออร์ตาในช่องท้องโป่งพอง
 
Ppt. HAD
Ppt. HADPpt. HAD
Ppt. HAD
 
คู่มือยาจิตเวชชุมชน
คู่มือยาจิตเวชชุมชนคู่มือยาจิตเวชชุมชน
คู่มือยาจิตเวชชุมชน
 
Approach to pulmonary hypertension in Thai
Approach to pulmonary hypertension in ThaiApproach to pulmonary hypertension in Thai
Approach to pulmonary hypertension in Thai
 
Drugs used in disorders of coagulation
Drugs used in disorders of coagulationDrugs used in disorders of coagulation
Drugs used in disorders of coagulation
 
การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ
การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อการประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ
การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ
 
Basic mechanical ventilation sep 2552 with reference
Basic mechanical ventilation sep 2552 with referenceBasic mechanical ventilation sep 2552 with reference
Basic mechanical ventilation sep 2552 with reference
 
การดูแลเครื่องมือและอุปกรณ์ในการบำบัด
การดูแลเครื่องมือและอุปกรณ์ในการบำบัดการดูแลเครื่องมือและอุปกรณ์ในการบำบัด
การดูแลเครื่องมือและอุปกรณ์ในการบำบัด
 
Survival for all draft 1 - 3
Survival for all draft 1  - 3Survival for all draft 1  - 3
Survival for all draft 1 - 3
 
ประเภทสารน้ำ
ประเภทสารน้ำประเภทสารน้ำ
ประเภทสารน้ำ
 
CAD IHD and VHD
CAD IHD and VHDCAD IHD and VHD
CAD IHD and VHD
 
Shock
ShockShock
Shock
 
Adr assessment and monitoring
Adr assessment and monitoringAdr assessment and monitoring
Adr assessment and monitoring
 
Septic Shock
Septic ShockSeptic Shock
Septic Shock
 
ตอบคำถามจาก Soap note กรณีศึกษา Hypertension non compliance.
ตอบคำถามจาก Soap note กรณีศึกษา Hypertension non compliance.ตอบคำถามจาก Soap note กรณีศึกษา Hypertension non compliance.
ตอบคำถามจาก Soap note กรณีศึกษา Hypertension non compliance.
 
Anesthetics and pain medication
Anesthetics and pain medicationAnesthetics and pain medication
Anesthetics and pain medication
 

Destacado

Destacado (6)

Tools for transradial approach
Tools for transradial approachTools for transradial approach
Tools for transradial approach
 
สอบ-ศรว-มีนาคม-2551
สอบ-ศรว-มีนาคม-2551สอบ-ศรว-มีนาคม-2551
สอบ-ศรว-มีนาคม-2551
 
ชีววิทยาเรื่องระบบไหลเวียนเลือด circulatory system
ชีววิทยาเรื่องระบบไหลเวียนเลือด circulatory systemชีววิทยาเรื่องระบบไหลเวียนเลือด circulatory system
ชีววิทยาเรื่องระบบไหลเวียนเลือด circulatory system
 
ชุดการสอนที่ 1ต่อมไร้ท่อ.ในร่างกาย
ชุดการสอนที่ 1ต่อมไร้ท่อ.ในร่างกายชุดการสอนที่ 1ต่อมไร้ท่อ.ในร่างกาย
ชุดการสอนที่ 1ต่อมไร้ท่อ.ในร่างกาย
 
ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือด
 
Matrix Effect
Matrix EffectMatrix Effect
Matrix Effect
 

Similar a 9789740329213

กลไกการรักษาดุลยภาพ 54
กลไกการรักษาดุลยภาพ 54กลไกการรักษาดุลยภาพ 54
กลไกการรักษาดุลยภาพ 54
Oui Nuchanart
 
ระบบขับถ่าย (T) 1 2560
ระบบขับถ่าย (T) 1 2560ระบบขับถ่าย (T) 1 2560
ระบบขับถ่าย (T) 1 2560
Thitaree Samphao
 
ระบบขับถ่าย
ระบบขับถ่ายระบบขับถ่าย
ระบบขับถ่าย
krubua
 
การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต - Homeostasis
การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต - Homeostasisการรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต - Homeostasis
การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต - Homeostasis
supreechafkk
 
การขับถ่ายของคน
การขับถ่ายของคนการขับถ่ายของคน
การขับถ่ายของคน
Wan Ngamwongwan
 
หัวใจและระบบเลือด
หัวใจและระบบเลือดหัวใจและระบบเลือด
หัวใจและระบบเลือด
krutoyou
 
Water_for_body.pdf
Water_for_body.pdfWater_for_body.pdf
Water_for_body.pdf
60919
 
E831 b handout_pharmacotherapeutics_arh_50
E831 b handout_pharmacotherapeutics_arh_50E831 b handout_pharmacotherapeutics_arh_50
E831 b handout_pharmacotherapeutics_arh_50
Loveis1able Khumpuangdee
 

Similar a 9789740329213 (20)

Rr rx
Rr rxRr rx
Rr rx
 
โปรแกรมตรวจสุขภาพ 13 รายการ 999 บาท
โปรแกรมตรวจสุขภาพ 13 รายการ 999 บาทโปรแกรมตรวจสุขภาพ 13 รายการ 999 บาท
โปรแกรมตรวจสุขภาพ 13 รายการ 999 บาท
 
กลไกการรักษาดุลยภาพ 54
กลไกการรักษาดุลยภาพ 54กลไกการรักษาดุลยภาพ 54
กลไกการรักษาดุลยภาพ 54
 
การรักษามะเร็งตับ
การรักษามะเร็งตับการรักษามะเร็งตับ
การรักษามะเร็งตับ
 
ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือดระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือด
 
Lesson 1 homeostasis
Lesson 1 homeostasisLesson 1 homeostasis
Lesson 1 homeostasis
 
Transportation body
Transportation bodyTransportation body
Transportation body
 
ระบบขับถ่าย (T) 1 2560
ระบบขับถ่าย (T) 1 2560ระบบขับถ่าย (T) 1 2560
ระบบขับถ่าย (T) 1 2560
 
Ppt circuratory
Ppt circuratoryPpt circuratory
Ppt circuratory
 
หัวใจและระบบเลือด
หัวใจและระบบเลือดหัวใจและระบบเลือด
หัวใจและระบบเลือด
 
หัวใจและระบบเลือด
หัวใจและระบบเลือดหัวใจและระบบเลือด
หัวใจและระบบเลือด
 
ระบบขับถ่าย
ระบบขับถ่ายระบบขับถ่าย
ระบบขับถ่าย
 
การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต - Homeostasis
การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต - Homeostasisการรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต - Homeostasis
การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต - Homeostasis
 
การขับถ่ายของคน
การขับถ่ายของคนการขับถ่ายของคน
การขับถ่ายของคน
 
หัวใจและระบบเลือด
หัวใจและระบบเลือดหัวใจและระบบเลือด
หัวใจและระบบเลือด
 
ระบบกำจัดของเสีย (Excretory System)
ระบบกำจัดของเสีย (Excretory System)ระบบกำจัดของเสีย (Excretory System)
ระบบกำจัดของเสีย (Excretory System)
 
Present blood program
Present blood programPresent blood program
Present blood program
 
Water_for_body.pdf
Water_for_body.pdfWater_for_body.pdf
Water_for_body.pdf
 
Antidote book3 06-n-acetylcysteine
Antidote book3 06-n-acetylcysteineAntidote book3 06-n-acetylcysteine
Antidote book3 06-n-acetylcysteine
 
E831 b handout_pharmacotherapeutics_arh_50
E831 b handout_pharmacotherapeutics_arh_50E831 b handout_pharmacotherapeutics_arh_50
E831 b handout_pharmacotherapeutics_arh_50
 

Más de CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740329213

  • 1. 1 สิ่งส่งตรวจ การส่งตรวจ และการแปลผล Specimen, Request and Interpretation
  • 2. ตำราพยาธิวิทยา : การตรวจสารเคมีในเลือดและสิ่งส่งตรวจ บทนำ สิ่งส่งตรวจ (specimen) คือ สิ่งที่เก็บจากร่างกายผู้ป่วย อาจเป็นสิ่งที่ถูกขับถ่ายออก มาเช่น ปัสสาวะ (urine) หรือเป็นสิ่งที่ต้องเจาะดูดออกมา เช่น เลือด (blood) น้ำหล่อสมอง และไขสันหลัง (cerebrospinal fluid, CSF) เป็นต้น สำหรับการตรวจวิเคราะห์ปริมาณสาร เคมี สิ่งส่งตรวจที่นิยมมากที่สุด คือ เลือด รองลงมา คือ ปัสสาวะ และสิ่งส่งตรวจที่มีการ ส่งตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารเคมีบ้าง ได้แก่ ของเหลวจากช่องของร่างกาย (effusion) เช่น น้ำหล่อสมองและไขสันหลัง, น้ำเจาะจากข้อกระดูก (joint/synovial fluid), น้ำเจาะจากช่อง ท้อง (ascetic/peritoneal fluid), น้ำเจาะจากช่องปอด (pleural effusion) และน้ำเจาะจาก ช่องหัวใจ (pericardial fluid) สิ่งส่งตรวจอีกกลุ่มที่มีการส่งตรวจบ้าง คือ สารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย น้ำตา เหงื่อ อุจจาระ สิ่งส่งตรวจที่เก็บส่งห้องปฏิบัติการโดยทั่วไปจะมีปริมาณ มาก ซึ่งเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่ห้องปฏิบัติการนำไปใช้ในการตรวจวิเคราะห์ ส่วนที่ใช้ในการ ตรวจวิเคราะห์จะเรียกว่า ตัวอย่างตรวจ (sample) ดังนั้น ตัวอย่างตรวจจึงเป็นส่วนหนึ่งของ สิ่งส่งตรวจ ถ้าพิจารณาว่า สิ่งส่งตรวจทั้งหมดมีความผสมผสานเป็นเนื้อเดียวกัน ตัวอย่าง ตรวจก็ไม่ต่างจากสิ่งส่งตรวจ จนสามารถใช้คำทั้งสองแทนกันได้ การตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารเคมีในสิ่งส่งตรวจมีประโยชน์ทางการแพทย์ ได้แก่ การตรวจคัดกรอง (screening), การวินิจฉัยแยกโรค (differential diagnosis), การติดตาม ผลการรักษา (monitoring or follow up) และการพยากรณ์โรค (prognosis) สารเคมี ที่ ต รวจวิ เ คราะห์ ใ นตำราเล่ ม นี้ จ ะกล่ า วถึ ง เฉพาะสารที่ พ บได้ ใ นร่ า งกายของคนทั่ ว ไป (endogenous substance) การตรวจวิเคราะห์เป็นการตรวจหาปริมาณ ผลการตรวจ วิเคราะห์จะรายงานเป็นตัวเลขและหน่วยการตรวจวิเคราะห์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นความเข้มข้น (concentration) การแปลผลจะพิจารณาว่า ค่าสารเคมีที่วิเคราะห์ได้อยู่ในช่วงค่าปกติ (normal range) หรือในช่วงค่าอ้างอิง (reference range) หรือไม่ หากพบค่าของสารนั้น น้อยกว่าค่าต่ำสุดของช่วงค่าปกติ (lower limit of reference range, LLR) จะบ่งบอกภาวะ พร่องหรือขาด (hypo- or deficiency or insufficiency) สารเคมีนั้น ร่างกายสร้างสารนั้น หรือได้รับสารนั้นน้อยกว่าความต้องการของร่างกาย หรือมีการสูญเสียของสารนั้นออกไป มากกว่าปกติ หากพบค่าของสารนั้นมากกว่าค่าสูงสุดของช่วงค่าปกติ (upper limit of reference range, ULR) จะบ่งบอกภาวะมีสารเคมีนั้นมากเกินไป (hyper- or excess or
  • 3. บทที่ 1 สิ่งส่งตรวจ การส่งตรวจ และการแปลผล overload) ร่างกายมีการสร้างสารนั้นมากเกินความต้องการของร่างกายหรือแบบควบคุมไม่ ได้ มีสารนั้นไหลหรือรั่วจากเซลล์เข้าไปอยู่ในสิ่งส่งตรวจมากขึ้น ร่างกายได้รับสารนั้นมาก เกิ น ไป หรื อ มี ก ารขั บ ทิ้ ง สารนั้ น น้ อ ยผิ ด ปกติ จ นเกิ ด การคั่ ง สะสมของสารนั้ น ในร่ า งกาย ปริมาณสารเคมีที่ตรวจพบจึงสะท้อนพยาธิสภาพในร่างกายผู้ป่วย การเข้าใจถึงที่มาและ บทบาทของสารเคมีที่ส่งตรวจจะทำให้สามารถเลือกสั่งตรวจได้อย่างสมเหตุสมผล และแปล ผลได้อย่างถูกต้อง สอดคล้องกับภาวะที่เกิดขึ้นในร่างกายของผู้ป่วย ทำให้สามารถดูแล รักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ทันเวลา และไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น แนวทางการสั่งตรวจที่เหมาะสม คือ อาศัยข้อมูลจากการซักประวัติและการตรวจ ร่างกาย เพื่อเลือกรายการตรวจที่จำเป็นต่อการวินิจฉัยหรือการดูแลผู้ป่วย การสั่งตรวจมาก เกินความจำเป็นจะเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ทำให้ต้องเสียเวลาในการรอรับผลการตรวจ วิเคราะห์มากขึ้น เพราะเวลาตรวจวิเคราะห์จะเท่ากับเวลาในการตรวจวิเคราะห์แต่ละ รายการรวมกัน นอกจากนี้ ผลการตรวจในรายการที่มากเกินความจำเป็นยังอาจทำให้เกิด ความสับสนในการแปลผล เบี่ยงเบนความสนใจ จนนำไปสู่การวินิจฉัยและการดูแลผู้ป่วยที่ ไม่ เ หมาะสมได้ ตั ว อย่ า งเช่ น การวิ นิ จ ฉั ย ภาวะตั บ อั ก เสบ (hepatitis) ที่ มี ภ าวะดี ซ่ า น (jaundice) จนน้ำเลือดเหลืองเข้ม (icterus) ถ้าสั่งตรวจแคลเซียมอาจได้ค่าต่ำกว่าปกติ เนื่องจากความเหลืองของน้ำเลือดรบกวนการตรวจวิเคราะห์ ถ้าไม่ทราบ อาจให้การรักษา ภาวะขาดแคลเซียม ทั้งที่ผู้ป่วยไม่มีภาวะขาดแคลเซียม เป็นต้น ในขณะที่การสั่งตรวจน้อย เกินไป อาจทำให้ผู้ป่วยต้องเจ็บตัวหลายครั้งจากการถูกเจาะเก็บสิ่งส่งตรวจเพิ่ม ซึ่งจะทำให้ ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บสิ่งส่งตรวจแต่ละครั้งด้วย ดังตัวอย่างที่ กล่าวไว้ข้างต้น ในขั้นตอนการแปลผล ผู้ใช้ผลการตรวจวิเคราะห์ควรจะทราบว่า นอกเหนือ จากผลของพยาธิสภาพ (pathological effect) แล้ว ผลการตรวจวิเคราะห์ที่ผิดปกติสามารถ เกิดจากปัจจัยอื่นใดได้บ้าง สามารถป้องกันได้หรือไม่ อย่างไร(1-5) สิ่งส่งตรวจ : เลือด(1-3, 6-12) การตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารเคมี ส่วนมากจะตรวจจากน้ำเลือดที่แยกเอาลิ่มเลือด ออก หรือซีรัม (serum) เลือดที่เก็บได้ในกรณีนี้จะเรียกว่า clotted blood ซึ่งในหลอดเก็บ เลือดจะไม่มีสารกันเลือดแข็งใด ๆ หรือเรียกว่า plain tube ในปัจจุบันมี plain tube 2 แบบ
  • 4. ตำราพยาธิวิทยา : การตรวจสารเคมีในเลือดและสิ่งส่งตรวจ คือ แบบธรรมดา และแบบที่มี silica slant gel ซึ่งแบบมี silica slant gel ซีรัมที่เกิดขึ้น จะแยกกับลิ่มเลือดโดย slant gel จึงไม่ต้องเสียเวลารอให้เลือดแข็งตัวและไม่ต้องเสียเวลา ปั่นแยก (centrifuge) ซีรัมออกจากลิ่มเลือด ทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการตรวจ วิเคราะห์ น้ำเลือดอีกประเภทได้จากการเก็บเลือดในหลอดที่มีสารกันเลือดแข็ง (anticoa- gulant) มักมีสีของฝาหลอดเฉพาะตามชนิดของสารกันเลือดแข็ง เช่น สีเทาสำหรับ sodium fluoride (NaF) สีม่วงแดงสำหรับ EDTA สีเขียวสำหรับ lithium heparin เป็นต้น อย่างไรก็ดี ก่อนใช้หลอดเก็บเลือดควรอ่านฉลากข้างหลอดเพื่อให้แน่ใจว่า เป็นชนิดสารกันเลือดแข็ง ที่ต้องการใช้และยังไม่หมดอายุ (expired) และมองหาขีดจำกัดในการเติมเลือดเข้าไป ซึ่ง จะบ่งชี้ปริมาณเลือดที่เหมาะสมกับปริมาณสารกันเลือดแข็งในหลอดนั้น สารกันเลือดแข็งจะทำให้เลือดไม่แข็งตัวเป็นลิ่มเลือด แต่เมื่อนำไปปั่น เม็ดเลือดจะ ตกลงสู่ก้นหลอดแยกชั้นกับน้ำเลือด ส่วนของน้ำเลือดนี้จะเรียกว่า พลาสมา (plasma) สาร กั น เลื อ ดแข็ ง ที่ ใ ช้ บ่ อ ยในการส่ ง ตรวจวิ เ คราะห์ ป ริ ม าณสารเคมี คื อ NaF สำหรั บ ตรวจ วิเคราะห์ปริมาณกลูโคสหรือน้ำตาลในเลือด NaF นอกจากจะมีฤทธิ์ป้องกันการแข็งตัวของ เลือดแล้ว ยังมีฤทธิ์ยับยั้งการใช้กลูโคสของเม็ดเลือดและเซลล์ต่าง ๆ ได้หลายชั่วโมงด้วย อาจนานเป็นวันขึ้นกับปริมาณ NaF และอุณหภูมิรอบ ๆ สารกันเลือดแข็งที่ใช้เก็บเลือดส่ง ตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารเคมีอีกชนิดหนึ่ง คือ heparin สำหรับการตรวจค่าแก๊สในเลือด (blood gas) และสารเคมีในเม็ดเลือดแดง เช่น แมกนีเซียม สารกันเลือดแข็งชนิด EDTA ใช้ในการตรวจหาปริมาณ hemoglobin A1C โดยทั่วไป EDTA ใช้มากในการตรวจทาง โลหิตวิทยา เลือดที่เก็บเพื่อส่งตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารเคมีควรรีบนำส่งห้องปฏิบัติการทันที ที่ เ ก็ บ เสร็ จ หากจำเป็ น ต้ อ งส่ ง เลื อ ดไปห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารล่ า ช้ า ในกรณี ส ารเคมี ที่ ต้ อ งการ ตรวจวิเคราะห์อยู่ในน้ำเลือด ต้องปั่นแยกน้ำเลือดออกจากเซลล์ แล้วเก็บเฉพาะน้ำเลือด แช่ เ ย็ น หรื อ แช่ แ ข็ ง ไม่ ค วรแช่ เ ย็ น หรื อ แช่ แ ข็ ง เลื อ ดที่ เ จาะได้ ทั้ ง หมด เพราะการแช่ แ ข็ ง จะทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก (hemolysis) เมื่อนำเลือดนั้นมาทำให้ละลาย ส่วน เลือดที่แช่เย็นอาจมีหยดน้ำไหลลงไปปนกับเลือด ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกได้เช่นกัน การแช่ เย็นเลือดนานหลายชั่วโมง แม้จะปิดฝาภาชนะอย่างดี ไม่มีการแตกของเม็ดเลือดแดง แต่ จ ะพบว่ า มี ส ารเคมี ใ นเม็ ด เลื อ ดซึ ม ออกไปปนอยู่ ใ นน้ ำ เลื อ ดได้ เพราะเซลล์ ที่ ถู ก นำ
  • 5. บทที่ 1 สิ่งส่งตรวจ การส่งตรวจ และการแปลผล ออกจากร่างกายอย่างเซลล์เม็ดเลือดในเลือดที่เก็บไว้นานเหล่านี้จะขาดออกซิเจนและสาร อาหาร ทำให้ความสามารถในการเลือกผ่านของผนังเซลล์ (membrane permeability) ลดลงไปเรื่อย ๆ สารเคมีภายในเซลล์ เช่น โพแทสเซียม และฟอสเฟต ไม่สามารถถูกกักเก็บ ไว้ ใ นเซลล์ ไ ด้ จึง ซึ ม เข้ าไปละลายในน้ ำ เลื อ ด และให้ผ ลการตรวจวิ เ คราะห์ สู ง กว่ าค่ า ที่ เป็นจริง ผู้ป่วยต้องได้รับการแนะนำให้อดอาหารทุกชนิดยกเว้นน้ำเปล่าก่อนมารับการเจาะ เก็บเลือดอย่างน้อย 8 ชั่วโมง หรืออดอาหารตั้งแต่หลังเที่ยงคืนเพื่อมารับการเจาะเลือด ในเช้าวันถัดไป เนื่องจากอาหารที่กินเข้าไปจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด และมีผลต่อ ปริมาณสารเคมีที่วิเคราะห์ได้ในเลือดทั้งทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างผลทางตรง คือ ปริมาณกลูโคสในเลือด หากอาหารที่พึ่งกินเข้าไปมีปริมาณน้ำตาลอยู่มาก ก็จะมีผลให้ค่า น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นมากผิดปกติได้ อาหารที่พึ่งกินเข้าไปมีผลทางอ้อมที่สำคัญ คือ ปริมาณ ไขมันหรือโปรตีนที่พึ่งกินและพึ่งถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด จะทำให้น้ำเลือดขุ่นมากกว่า ปกติ ความขุ่ น ของน้ ำ เลื อ ดจะมี ผ ลรบกวนในปฏิ กิ ริ ย าการตรวจวิ เ คราะห์ ทำให้ ไ ด้ ผ ล การตรวจวิเคราะห์ผิดไปจากที่ควรเป็นได้ ดังนั้น เพื่อให้ได้ผลการตรวจวิเคราะห์สารเคมีที่ ถูกต้อง ควรให้ผู้ป่วยอดอาหารก่อนมารับการเจาะเก็บเลือด เลือดที่ใช้ส่งตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารเคมีตามที่กล่าวข้างต้น เป็นเลือดที่เก็บจาก หลอดเลือดดำ (venous blood) ตำแหน่งที่นิยมเก็บเลือดดำ คือ หลอดเลือดดำตรงหน้าแขน บริเวณข้อพับศอก หรือ median cubital and cephalic veins กรณีที่ผู้ป่วยอ้วนหรือหลอด เลือดดำที่ข้อพับแขนปรากฏไม่ชัด จะเลือกเก็บเลือดดำจากหลอดเลือดดำบริเวณหลังมือ หรือ dorsal hand veins แทน ในทารกและเด็กเล็ก การเก็บเลือดไม่สามารถทำที่ข้อพับแขน ได้เนื่องจากเด็กจะดิ้น จนอาจได้รับอันตรายได้ ต้องเก็บเลือดจากปลายนิ้ว (finger blood) หรือจากส้นเท้าแทน ซึ่งเป็นการเก็บเลือดจากหลอดเลือดฝอย (capillary) จะได้ปริมาณ เลือดน้อยกว่าการเก็บจากหลอดเลือดดำมาก เลือดจากปลายนิ้วยังนิยมใช้สำหรับการ เจาะเลือดตรวจน้ำตาลเองของผู้ป่วยเบาหวานด้วย เลือดอีกชนิดหนึ่งที่ใช้ตรวจวิเคราะห์ค่า ความเป็นกรด-ด่าง และแก๊ส (acid-base-gas, ABG) คือ เลือดที่เก็บจากหลอดเลือดแดง บริเวณข้อมือ หรือ radial artery ซึ่งเป็นการเก็บเลือดที่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพราะหากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นจะเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้ป่วย
  • 6. ตำราพยาธิวิทยา : การตรวจสารเคมีในเลือดและสิ่งส่งตรวจ หลอดเลือดแดงที่นิยมเจาะเก็บเลือด คือ radial artery เพราะสามารถคลำพบได้ง่าย เป็นตำแหน่งเดียวกับที่ใช้วัดชีพจร (pulse) นอกจากนี้ radial artery ยังมีการจัดเรียงตัวห่าง จากเส้นประสาทด้วย ทำให้โอกาสที่เข็มเจาะจะไปโดนเส้นประสาทลดลง จึงลดโอกาสเกิด ความเจ็บปวดมากขณะเจาะเก็บเลือด อีกเหตุผลที่นิยมเจาะเก็บเลือดจาก radial artery คือ การมีหลอดเลือด ulnar artery เป็น collateral circulation ซึ่งลดความเสี่ยงในการเกิด เนื้อเยื่อที่เคยได้รับเลือดจาก radial artery ขาดเลือดไปเลี้ยง (ischemia) หากเกิดภาวะ ก้อนลิ่มเลือดอุดตัน (thrombosis) ใน radial artery โดยเลือดจาก ulnar artery จะไหล เข้าไปเลี้ยงเนื้อเยื่อนั้นแทนได้ ก่อนเจาะเลือดอาจทำการตรวจสอบ collateral circulation ว่าอยู่ในสภาพใช้งานได้หรือไม่ โดยทำการทดสอบที่เรียกว่า modified Allen test วิธี การทดสอบ คือ 1. ให้ผู้ป่วยยกมือด้านที่จะทดสอบขึ้นและกำมือให้แน่นประมาณ 30 วินาที 2. ผู้ทำการทดสอบใช้นิ้วมือกดหลอดเลือด ulnar artery และ radial artery ด้วยแรง พอประมาณ 3. ให้ผู้ป่วยคลายมือที่กำออก จะพบว่าฝ่ามือของผู้ป่วยซีดขวา เนื่องจากหลอดเลือด แดงที่ไปเลี้ยงทั้งสองเส้นถูกกดไว้ 4. ผู้ทำการทดสอบคลายนิ้วที่กดหลอดเลือด ulnar artery ออกโดยยังคงกดหลอด เลือด radial artery ไว้ 5. สังเกตฝ่ามือของผู้ป่วยว่ากลับมาแดงเป็นปกติทันทีหรือภายใน 10 วินาทีหรือไม่ 6. การแปลผล ถ้าฝ่ามือของผู้ป่วยสามารถกลับมาแดงตามปกติได้ แสดงว่า ulnar artery อยู่ในสภาพที่ดี สามารถทำหน้าที่เป็น collateral artery หากมีก้อนลิ่มเลือดอุดตัน ใน radial artery แต่หากฝ่ามือผู้ป่วยยังคงซีดขวา แสดงว่ามีพยาธิสภาพใน ulnar artery ทำให้ไม่สามารถเป็น collateral artery ให้กับ radial artery ได้ การเจาะเก็บเลือดจาก radial artery จึงเสียงต่อการเกิดเนือตายจากการขาดเลือดไปเลียง (infarction, gangrene) ่ ้ ้ ของฝ่ามือด้านนั้น อาจต้องพิจารณาเจาะเก็บจากหลอดเลือดแดงอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่า radial artery หลอดเลือดแดงที่อาจใช้เจาะเก็บเลือดแดงแทน radial artery คือ brachial artery และ femoral artery หลอดเลื อ ดแดงทั้ ง สองนี้ มี ข นาดใหญ่ ก ว่ า radial artery จึ ง มี
  • 7. บทที่ 1 สิ่งส่งตรวจ การส่งตรวจ และการแปลผล ความดั น เลื อ ดมากกว่ า ทำให้ ห้ า มเลื อ ดหลั ง เจาะเก็ บ เลื อ ดได้ ย ากกว่ า ด้ ว ย จึ ง เสี่ ย งต่ อ ภาวะเสียเลือดมากถ้าเจาะเก็บเลือดไม่เหมาะสม มักใช้เก็บเลือดในกรณีที่ผู้ป่วยมีความดัน เลือดต่ำ (hypotension) เช่น ในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่นอนป่วยอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน และใน กรณีที่ collateral circulation ของ radial artery ไม่อยู่ในสภาพที่ดี เพราะหากเกิดลิ่มเลือด ขึ้นในหลอดเลือดขนาดใหญ่เหล่านี้ หลอดเลือดจะไม่ถูกอุดตันอย่างสมบูรณ์ จะมีการอุดตัน เพียงบางส่วน (partial obstruction) ต่างจากกรณีที่เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดขนาดเล็ก อย่าง radial artery ที่มีโอกาสอุดตันแบบสมบูรณ์ กระแสเลือดในหลอดเลือดแดงขนาด ใหญ่ที่แม้จะมีลิ่มเลือดอุดตันบางส่วนก็ยังสามารถไหลผ่านไปเลี้ยงเนื้อเยื่อได้บ้าง จึงไม่เกิด ภาวะเนื้อตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง อย่างไรก็ดี หากจะเจาะเก็บเลือดจากหลอดเลือด แดงขนาดใหญ่ต้องเตรียมพร้อมสำหรับการห้ามเลือดและเตรียมความพร้อมในการดูแล ผู้ป่วยกรณีที่มีเลือดออกมากหลังเจาะเก็บเลือด อุปกรณ์ในการเจาะเก็บเลือดจากหลอดเลือดแดง ได้แก่ syringe ที่ภายในเคลือบ ด้วย heparin, เข็มเจาะเก็บเลือดขนาด G21, สำลี, แอลกอฮอล์เช็ดแผล, ผ้าสะอาดหนา หรือหมอนสำหรับรองข้อมือ, ผ้าปลอดเชื้อหนาสำหรับกดห้ามเลือดหลังเจาะเสร็จ, ถาดใส่ น้ ำ แข็ ง สำหรั บ แช่ syringe ที่ บ รรจุ เ ลื อ ดขณะนำส่ ง , และอาจมี ย าชาเฉพาะที่ (local anesthesia) แบบฉีดพ่น (spray) สำหรับกรณีที่ผู้ป่วยกลัวเจ็บอย่างมาก เพื่อลดภาวะ วิตกกังกลที่อาจมีผลให้ผู้ป่วยหายใจถี่ (hyperventilation) จนมีผลต่อค่าการตรวจวิเคราะห์ ถ้าไม่อยู่ในภาวะฉุกเฉิน ก่อนเจาะเก็บเลือดจากหลอดเลือดแดง ควรทราบสภาวะการแข็ง ตัวของเลือด (coagulogram) ของผู้ป่วย ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด เช่น โรค hemophilia หรือมีปริมาณเกล็ดเลือดต่ำ ต้องระวังภาวะเลือดออกมากหลังเจาะเก็บ เลือดเสร็จ ผูปวยเหล่านีอาจจำเป็นต้องให้พลาสมาสด (fresh frozen plasma) เพื่อเพิ่มปัจจัย ้ ่ ้ การแข็งตัวของเลือด (coagulative factor) ชนิดที่พร่อง หรืออาจให้เกล็ดเลือดหรือ vitamin K ไประยะหนึ่งก่อนทำการเจาะเก็บเลือด วิ ธี ก ารเจาะเก็ บ เลื อ ด คื อ ให้ ผู้ ป่ ว ยหงายข้ อ มื อ บนผ้ า หรื อ หมอนรองข้ อ มื อ ทำ ความสะอาดผิวหนังบริเวณข้อมือด้านนิ้วหัวแม่มือหรือตำแหน่งที่ใช้วัดชีพจรด้วยสำลีชุบ แอลกอฮอล์ ถ้าผู้ป่วยมีสติ ต้องระวังไม่ให้ผู้ป่วยวิตกกังกลหรือกลัวมาก ด้วยการพูดคุย หรื อ อาจลดความกลั ว เจ็ บ ของผู้ ป่ ว ยด้ ว ยการฉี ด หรื อ ทาบริ เ วณที่ จ ะเจาะเก็ บ เลื อ ดด้ ว ย
  • 8. ตำราพยาธิวิทยา : การตรวจสารเคมีในเลือดและสิ่งส่งตรวจ ยาชาเฉพาะ ใช้นิ้วมือคลำชีพจร เมื่อพบการเต้นของหลอดเลือด radial artery ให้แทงเข็ม ลงไปที่หลอดเลือดที่คลำได้ เลือดจะถูกแรงดันในหลอดเลือดดันเข้าไปใน syringe เมื่อได้ ปริมาตรเลือดตามต้องการ ให้ดึงเข็มออก ต้องรีบใช้สำลีก้อนใหญ่หรือผ้าปลอดเชื้อหนา กดลงตรงรอยเจาะให้แน่นทันทีที่ดึงเข็มออก กดบริเวณรอยเจาะอยู่พักหนึ่งจนแน่ใจว่า เลือดหยุดไหล ปิดพลาสเตอร์ที่รอยเจาะ สำหรับ syringe บรรจุเลือด ให้งอเข็มหรือปักเข็ม บนจุกยางทึบ เพื่อป้องกันอากาศจากภายนอกเข้าไป ห้ามถ่ายเลือดใส่ภาชนะอื่นเพื่อไม่ให้ เลือดสัมผัสกับอากาศภายนอก นำ syringe ที่บรรจุเลือดใส่ในถาดหรือภาชนะบรรจุน้ำแข็ง รีบนำส่งห้องปฏิบตการ ั ิ ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในการเจาะเลือดจากหลอดเลือดแดง ได้แก่ 1. Thrombosis การเกิดก้อนลิ่มเลือดในหลอดเลือดที่ถูกเจาะเก็บเลือด เป็นอันตราย โดยเฉพาะในหลอดเลือดขนาดเล็กที่อาจเกิดการอุดตันอย่างสิ้นเชิง ทำให้เนื้อเยื่อที่เคยได้ รับเลือดจากหลอดเลือดนั้นขาดเลือดไปเลี้ยงและเกิดภาวะเนื้อตายได้ 2. Hematoma การมีจ้ำเลือด เกิดจากการมีเลือดออกใต้ผิวหนัง เนื่องจากการกดที่ รอยเจาะไม่แน่นพอหลังจากดึงเข็มออก 3. Bleeding ภาวะเลือดออกจากรอยเจาะตามแรงดันของหลอดเลือดแดง เนื่องจาก ไม่ได้กดที่รอยเจาะทันทีที่ดึงเข็มออก เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย โดยเฉพาะในผู้ป่วย ที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด เพราะจะทำให้ผู้ป่วยสูญเสียเลือดมากจนเข้า สู่ภาวะช็อกได้ 4. Pain ความเจ็บปวด เกิดจากการที่เข็มเจาะไปโดนเส้นประสาทที่อยู่ข้างหลอด เลือด 5. Infection การติดเชื้อ เกิดจากการใช้อุปกรณ์เจาะเก็บเลือดที่ไม่สะอาด ไม่ผ่าน การฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง หรือถูกจัดเตรียมอย่างไม่เหมาะสม ถ้าไม่รุนแรงมากจะเกิดฝีหนอง บริเวณที่เจาะ แต่ถ้ารุนแรงหรือร่างกายผู้ป่วยง่ายต่อการติดเชื้อ อาจมีเชื้อโรคเข้าสู่กระแส เลือดจนเกิดภาวะติดเชื้อในเลือดและอวัยวะภายในได้ สิ่งส่งตรวจอื่น ๆ(1-3, 6-9) ปั ส สาวะเป็ น สิ่ ง ส่ ง ตรวจอี ก ชนิ ด ที่ นิ ย มส่ ง ตรวจวิ เ คราะห์ ป ริ ม าณสารเคมี อาจใช้
  • 9. บทที่ 1 สิ่งส่งตรวจ การส่งตรวจ และการแปลผล ปัสสาวะเก็บแบบสุ่ม (random urine) หรือเก็บทันทีที่ต้องการสั่งตรวจ ปริมาณ 5-10 มิลลิลิตร เนื่องจากปริมาณสารเคมีในปัสสาวะมีความแปรปรวนตามปริมาณน้ำที่ผู้ป่วย ได้ รั บ กล่ า วคื อ หากผู้ ป่ ว ยดื่ ม น้ ำ น้ อ ย ด้ ว ยกลไกปกติ ข องร่ า งกายจะทำให้ มี ป ริ ม าณ น้ ำ ในปั ส สาวะน้ อ ย ปั ส สาวะเข้ ม ข้ น (concentrated urine) ทำให้ ป ริ ม าณสารเคมี ที่ ตรวจวิ เ คราะห์ ไ ด้ ค่ า ความเข้ ม ข้ น สู ง แม้ จ ะขั บ ทิ้ ง ในปริ ม าณที่ ป กติ แต่ ห ากผู้ ป่ ว ยดื่ ม น้ ำ มาก น้ำส่วนที่เกินความต้องการของร่างกายจะถูกขับออกมากับปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะ เจือจาง (diluted urine) สารเคมีในน้ำปัสสาวะที่ตรวจวิเคราะห์ได้ค่าความเข้มข้นต่ำแม้ จะถูกขับทิ้งในปริมาณที่ปกติ การสั่งตรวจปัสสาวะที่เก็บแบบสุ่มจึงมักสั่งตรวจร่วมกับ การตรวจสารเคมีชนิดเดียวกันในเลือดของผู้ป่วยเก็บในเวลาไล่เลี่ยกัน และนำผลที่ได้ไป แปลร่วมกัน ตัวอย่างเช่น การตรวจพบค่าโซเดียมในเลือดต่ำ แต่พบค่าโซเดียมในปัสสาวะ สู ง แสดงว่ า ไตของผู้ ป่ ว ยไม่ ส ามารถกั ก เก็ บ โซเดี ย มได้ แต่ ถ้ า พบว่ า ทั้ ง ในเลื อ ดและใน ปัสสาวะมีค่าโซเดียมต่ำ แสดงว่าผู้ป่วยได้รับเกลือโซเดียมเข้าสู่ร่างกายน้อยเกินไปหรือขาด เกลือโซเดียม หรือมีการสูญเสียโซเดียมทางอื่นที่ไม่ใช่ทางไต เช่น ทางเหงื่อหรือทางอุจจาระ เป็นต้น อีกวิธีหนึ่งที่ใช้ในการลดความแปรปรวนจากปริมาณน้ำทีผปวยดืมก่อนเก็บปัสสาวะ่ ู้ ่ ่ แบบสุม คือ การวิเคราะห์คาครีเอตินน (creatinine) ในปัสสาวะนันด้วย แล้วนำค่าสารเคมีที่ ่ ่ ี ้ วิเคราะห์ได้ไปเทียบกับปริมาณครีเอตินีนที่วิเคราะห์ได้ในปัสสาวะเดียวกันนั้น ซึ่งหน่วยจะ เป็นมวลของสารเคมีนนต่อมวลของครีเอตินีน เช่น mg/mg of creatinine เรียกการทำเช่นนี้ ั้ ว่า normalization ทั้งนี้ เพราะมวลของครีเอตินีนในปัสสาวะเป็น mg ต่อหนึ่งหน่วยเวลา จะคงที่ตามค่า creatinine clearance ปริมาณน้ำในปัสสาวะจะไม่มีผลต่อค่ามวลของ ครีเอตินีน หากพบค่ามวลของสารเคมีนั้นสูงกว่าค่ามวลครีเอตินีน แสดงว่ามีปริมาณสาร เคมีนั้นในปัสสาวะสูงจริงไม่ใช่ผลจากการมีน้ำในปัสสาวะน้อย ปัสสาวะเก็บครั้งเดียวที่ สั่งตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารเคมีอีกประเภทหนึ่งจะให้เก็บทันทีที่ตื่นนอน เรียกว่า first/ early morning urine มักส่งตรวจกรณีที่สงสัยว่าผู้ป่วยอาจสร้างหรือสามารถขับทิ้งสารเคมี นั้ น ออกมากั บ ปั ส สาวะ แต่ ต รวจไม่ พ บสารเคมี นั้ น ในปั ส สาวะเก็ บ แบบสุ่ ม ของผู้ ป่ ว ย เนื่องจากสารนั้นถูกขับทิ้งไปก่อนหน้าที่จะเก็บปัสสาวะ โดยทั่วไปขณะหลับ คนปกติมักตื่น มาปัสสาวะน้อยครั้งหรือไม่ต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะเลย ดังนั้น ปัสสาวะที่ถ่ายตอนตื่นนอน จึงเป็นปัสสาวะที่คั่งสะสมในกระเพาะปัสสาวะตลอดหนึ่งคืนที่นอนหลับ หากร่างกายมี
  • 10. 10 ตำราพยาธิวิทยา : การตรวจสารเคมีในเลือดและสิ่งส่งตรวจ การสร้างหรือขับสารเคมีที่สงสัยทิ้งไปกับปัสสาวะ ก็จะพบสารเคมีนั้นสะสมในปัสสาวะ ถ่ายตอนตื่นนอนให้ตรวจวิเคราะห์ได้ การเก็บปัสสาวะตลอดหนึ่งวันหรือ ปัสสาวะ 24 ชั่วโมง (24 h urine) คือ การให้ผู้ป่วย เริ่มเก็บปัสสาวะตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งถึงเช้าวันถัดไป ควรแนะนำให้ผู้ป่วยเริ่มต้นเก็บ ด้วยการถ่ายปัสสาวะหลังตื่นนอนในวันที่เริ่มเก็บทิ้ง จากนั้นให้เก็บปัสสาวะทั้งหมดที่ถ่าย ทุกครั้งใส่ขวดขนาดประมาณ 2-5 ลิตร ที่แห้งและสะอาด ไม่มีสารเคมีหรือน้ำยาใด ๆ ปน เปื้อน ปิดฝา และแช่ในตู้เย็น เก็บไปเรื่อย ๆ โดยแต่ละครั้งที่ถ่ายปัสสาวะอาจเก็บใส่ภาชนะ ขนาดทีเหมาะสมแล้วนำไปเทรวมในขวดใหญ่ จนครบ 24 ชัวโมง หรือถึงเช้าวันถัดไป ให้เก็บ ่ ่ ปัสสาวะตอนตื่นนอนของวันที่จะนำปัสสาวะไปส่งตรวจด้วย เสร็จแล้วให้นำปัสสาวะที่เก็บ ได้ทั้งหมดส่งห้องปฏิบัติการ กรณีที่มีการลืมเก็บปัสสาวะบางครั้งหรือทำปัสสาวะหกไปบ้าง ให้แจ้งห้องปฏิบัติการทราบด้วย ปริมาณสารเคมีในปัสสาวะ 24 ชั่วโมงนี้จะรายงานเป็น หน่วยความเข้มข้น คือ มวลต่อหน่วยปริมาตร เช่น mg/dL และสามารถนำค่าความเข้มข้นที่ ได้ไปคำนวณร่วมกับค่าปริมาตรปัสสาวะ (urine volume) ที่เก็บได้ทั้งหมด จะได้ค่าอัตรา การขับทิ้ง (rate of excretion) ของสารเคมีนั้น มีหน่วยเป็นมวลต่อเวลา เช่น mg/day หรือ mg/24 h หรืออาจคำนวณต่อเป็นมวลต่อนาที เช่น mg/min ก็ได้ (หนึ่งวันหรือ 24 ชั่วโมง จะเท่ากับ 1,440 นาที) ปริมาณสารเคมีที่วิเคราะห์ได้จากปัสสาวะประเภทนี้จะไม่มีความ แปรปรวนของปริมาณน้ำที่ผู้ป่วยได้รับเข้าไปก่อนเก็บปัสสาวะ เพราะความแปรปรวนที่เกิด ขึ้นในแต่ละช่วงเวลาของวันถูกรวบรวมอยู่ในขวดเก็บปัสสาวะเดียวกันแล้ว ทำให้ได้ค่าของ สารเคมีที่ขับออกมากับปัสสาวะใกล้เคียงกับความเป็นจริงของสภาพร่างกายผู้ป่วย ผล การตรวจวิเคราะห์มีความน่าเชื่อถือกว่าค่าการตรวจวิเคราะห์จากปัสสาวะชนิดอื่น ๆ แต่เก็บ ลำบากยุ่งยากมากกว่า ปริมาตรปัสสาวะที่เก็บได้ทั้งหมดในหนึ่งวัน ยังใช้บอกสมดุลน้ำของ ร่างกายด้วย โดยทั่วไปเมื่อร่างกายได้รับน้ำในปริมาณปกติจะมีปริมาตรปัสสาวะต่อวัน ประมาณ 0.5-1.5 ลิตร ซึ่งเป็นช่วงค่าปกติของค่าปริมาตรปัสสาวะต่อวัน น้ ำ หล่ อ สมองและไขสั น หลั ง (CSF) เป็ น สิ่ ง ส่ ง ตรวจอี ก ประเภทที่ มี ก ารส่ ง ตรวจ วิเคราะห์ปริมาณสารเคมี CSF ในภาวะปกติจะมีปริมาณน้อยมาก เจาะดูด (aspirate) ไม่ ได้ มีลักษณะใส (clear) ไม่มีสี (colorless) และไม่หนืด (no viscous) เป็นน้ำที่ซึมจาก หลอดเลือดเข้าไปอยู่ในช่องภายในสมองและไขสันหลัง เพื่อนำออกซิเจนและสารอาหารไป