SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 14
Descargar para leer sin conexión
ความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ด้านจิตวิทยาซึ่งจะเกี่ยวกับความเข้าใจในพฤติกรรมของมนุษย์
มีความสำ�คัญอย่างมากต่อผู้ที่จะประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับบุคคลต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
วิชาชีพครูที่จำ�เป็นต้องเกี่ยวข้องกับผู้เรียนอย่างเลี่ยงไม่ได้ เนื้อหาหลักบทนี้จะเป็นการปูพื้นความรู้
ความเข้าใจขอบข่ายของจิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาการเรียนการสอน การเป็นครูที่ดีและบทบาท
ของการวิจัยในการแสวงหาความรู้ด้านจิตวิทยาการเรียนการสอน
จิตวิทยาการศึกษา
	 คำ�ว่า จิตวิทยาการศึกษา (educational psychology) ได้ถูกบัญญัติขึ้นเมื่อประมาณ
ค.ศ. 1903 จากการเขียนหนังสือชื่อ educational psychology ของ Edward E. Thorndike
บุคคลผู้ได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาหรือผู้ก่อตั้งศาสตร์ด้านนี้ นอกจากนี้ยังมีบุคคลท่านอื่นที่ถือว่าเป็น
บทนำ�และบทบาทการวิจัยทางจิตวิทยา
การเรียนการสอน
1
2 จิตวิทยาการเรียนการสอน
ผู้บุกเบิกศาสตร์ด้านนี้ เช่น William James, G. Stanley Hall และ Charles H. Judd โดย
ขอบข่ายของจิตวิทยาการศึกษานั้นค่อนข้างกว้างขวางซึ่งเป็นความพยายามในการค้นคว้าเกี่ยวกับ
1) สาระและองค์ประกอบด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมต่อการเรียนรู้ 2) ธรรมชาติของกระบวนการ
เรียนรู้ 3) สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ และ 4) ระดับของศาสตร์ด้านนี้ในการรองรับด้านการศึกษา
(Crow and Crow, 1954 อ้างถึงใน Manuel Martinez-Pons, 2001: 4) นอกจากนี้ Davis (1983
อ้างถึงใน Manuel Martinez-Pons, 2001: 4) ได้เสนอว่า ขอบข่ายของจิตวิทยาการศึกษานั้น
มี 7 ด้าน ประกอบด้วย 1) พลวัตทางสังคมในห้องเรียน 2) พัฒนาการด้านพุทธิปัญญา สังคมและ
ร่างกาย 3) จิตวิทยาการเรียนรู้ 4) การจูงใจ 5) ทฤษฎีการสอน 6) ความแตกต่างระหว่างบุคคล
ในบางด้าน เช่น บุคลิกภาพ ความคิดสร้างสรรค์และเชาวน์ปัญญา และ 7) การวัดผล สถิติและ
การออกแบบการวิจัย
	 อย่างไรก็ตาม Slavin (2006: 3) ได้เสนอทัศนะในหนังสือชื่อ educational psychology:
theory and practice ในการพิมพ์ครั้งที่ 8 ว่า แม้ตามนิยามทางวิชาการโดยทั่วไปของคำ�ว่า “จิตวิทยา
การศึกษา” จะเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับตัวผู้เรียน การเรียนรู้และการสอนก็ตาม แต่คำ�ว่าจิตวิทยา
การศึกษายังมีความหมายมากกว่าคำ�นิยามที่ให้ไว้มากมายนัก ซึ่งจิตวิทยาการศึกษาเป็นความรู้ที่
ถูกเก็บสะสมไว้ เป็นภูมิปัญญาที่ครูทุกคนจำ�เป็นต้องใช้ในการแก้ปัญหาการสอนในชั้นเรียนทุกวัน
จิตวิทยาการศึกษาไม่ได้บอกครูว่าจะต้องทำ�อะไร แต่ให้หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจที่ดีในการสอน
นักจิตวิทยาการศึกษาได้ทำ�การวิจัยเกี่ยวกับธรรมชาติของผู้เรียน หลักการเรียนรู้ และวิธีการสอน
ซึ่งเป็นข้อมูลที่จำ�เป็นสำ�หรับนักการศึกษาในการใช้ตัดสินใจต่อการเรียนการสอนว่าสิ่งใดจะเหมาะสม
กับการเรียนรู้ของผู้เรียนมากที่สุด
จิตวิทยาการเรียนการสอน
	 จะเห็นได้จากขอบข่ายของจิตวิทยาการศึกษาว่ามีประเด็นความสนใจด้านหนึ่งคือจิตวิทยา
การเรียนรู้และทฤษฎีด้านการสอนซึ่งครอบคลุมสาระที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาการเรียนการสอนด้วย
ผู้เขียนเห็นว่า จิตวิทยาการเรียนการสอนเป็นอีกคำ�หนึ่งที่มีความหมายใกล้เคียงกับจิตวิทยาการศึกษา
เนื่องจากจิตวิทยาการเรียนการสอนจะมุ่งศึกษาเกี่ยวกับตัวผู้เรียน การเรียนรู้และการสอนเช่นเดียวกัน
กับจิตวิทยาการศึกษา แต่จุดเน้นของจิตวิทยาการเรียนการสอนที่สำ�คัญในด้านการเรียนรู้จะมุ่งศึกษา
ว่าบุคคลเรียนรู้อย่างไรในบริบทต่าง ๆ เช่น การอ่าน การเขียน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์
ภาษาที่สอง พลศึกษา และการเรียนรู้ที่จะคิดอย่างมีวิจารณญาณ การเรียนรู้ที่จะกำ�กับตนเอง การ
เรียนรู้การจูงใจ ส่วนในด้านการสอนจะสนใจศึกษาว่าวิธีการสอนแบบใดมีประสิทธิภาพ เช่น การ
จิตวิทยาการเรียนการสอน 3
ให้ข้อมูลย้อนกลับ การยกตัวอย่าง การอธิบายตนเอง ปฏิสัมพันธ์จากเพื่อน การเรียนรู้แบบร่วมมือ
การสืบเสาะ การอภิปราย การติว การเรียนรู้โดยสื่อต่าง ๆ ฯลฯ (Mayer and Alexander, 2011)
และนอกจากนี้ยังมุ่งที่จะใช้การวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งหลักการสำ�คัญเพื่อนำ�ไปสู่การตัดสินใจทางด้านการ
เรียนการสอนที่เหมาะสมที่สุดสำ�หรับผู้เรียนในบริบทต่าง ๆ นั่นเอง
สิ่งใดทำ�ให้เป็นครูที่ดีได้
	 คุณลักษณะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นท่าทีที่อบอุ่น อารมณ์ขัน ความสามารถในการดูแลใส่ใจ
ผู้อื่น การวางแผน การทำ�งานหนัก การมีวินัยในตนเอง การเป็นผู้นำ� ความกระตือรือร้น ความรัก
ในการเรียนรู้ ความสามารถในการพูด เหล่านี้ล้วนเป็นคุณลักษณะด้านบวกที่ทำ�ให้กลายเป็นครูที่ดี
ได้ซึ่งทุกคนคงเห็นด้วยและไม่อาจปฏิเสธ แต่คำ�ถามสำ�คัญคือลักษณะเหล่านี้เพียงพอแล้วหรือยัง
	 มีคำ�ถามที่น่าสนใจและติดตลกนิด ๆ ว่า “สิ่งที่คุณจำ�เป็นต้องรู้เพื่อให้สามารถสอนม้าได้
คืออะไร ? แน่นอนคำ�ตอบคือ เราจำ�เป็นต้องรู้มากกว่าม้าแน่นอน
	 จากคำ�ถามดังกล่าวนำ�ไปสู่ประเด็นสำ�คัญที่ครูจะต้องทราบคือ ครูจะต้องทราบว่าผู้เรียน
ไม่มีความรู้หรือทักษะใด และครูจะต้องทราบเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาที่จะสอนผู้เรียน แต่ในที่สุดก็ทราบ
ว่าความรู้เพียงเท่านั้นไม่เพียงพอ สำ�หรับผู้ฝึกสอนม้าอาจจะมีความรู้ว่าม้าอาจสามารถจะทำ�สิ่งใด
และสามารถทำ�อะไรได้บ้าง แต่หากเขาไม่มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการที่จะทำ�ให้สัตว์เช่นม้าซึ่งขี้กลัวและ
ไม่เป็นมิตรกลายเป็นม้าที่เชื่องได้ แน่นอนการสอนอาจจบลงไม่ดีนัก แต่การสอนเด็กแตกต่างจาก
ม้าเนื่องจากเด็กนักเรียนฉลาดกว่าม้าหลายเท่า ความรู้เกี่ยวกับวิธีการถ่ายทอดข้อมูลและทักษะ
ย่อมเป็นสิ่งสำ�คัญพอ ๆ กับความรู้และทักษะที่จะสอนซึ่งอาจจะเป็นความจริงที่ว่า “เรามีครูที่ฉลาด
และเก่งในด้านเนื้อหาวิชาในสาขาต่าง ๆ มากมายแต่ไม่มีความสามารถในการสอนได้”
	 การเป็นครูที่ดีและมีประสิทธิภาพ ไม่เพียงแต่รู้ในเนื้อหาวิชาของตนแต่จำ�เป็นต้อง
สามารถสื่อสารความรู้นั้นต่อผู้เรียน และความสามารถในการเชื่อมโยงมโนทัศน์เชิงนามธรรม เช่น
การเชื่อมโยงมโนทัศน์ของจำ�นวนบวกและจำ�นวนลบไปสู่ประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นตัวอย่างหนึ่ง
ในความสามารถในการสื่อสารของครู	
การรอบรู้ในทักษะการสอน
	 การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่ครูต้องการให้ผู้เรียนเรียนกับสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนจริง เรียกว่า
การสอน (instruction or pedagogy) การสอนที่มีประสิทธิภาพไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครสักคนที่มี
ความรู้มากกว่าไปถ่ายทอดความรู้ต่อให้แก่คนอื่น หากการบอกเป็นการสอนคงไม่จำ�เป็นในการเรียน
จิตวิทยาการศึกษาเนื่องจากการสอนที่มีประสิทธิภาพต้องใช้กลวิธีที่หลากหลาย
4 จิตวิทยาการเรียนการสอน
	 สมมุติว่าเราต้องการสอนบทเรียนสถิติแก่ผู้เรียน เพื่อทำ�สิ่งนี้ให้สำ�เร็จเราต้องรู้หลายอย่าง
เช่น ต้องแน่ใจแล้วว่าห้องเรียนเป็นระเบียบและผู้เรียนรู้พฤติกรรมที่คาดหวังแล้ว และรู้ว่าผู้เรียนมี
ทักษะที่จำ�เป็น (prerequisite skills) ในการเรียนหรือยัง หากยังไม่มีทักษะในการบวกหรือลบเลข
จำ�เป็นต้องจัดกิกรรมเพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะเหล่านั้นก่อน และครูจะต้องมั่นใจว่าผู้เรียนมีแรงจูงใจ
มีความสนใจในการเรียนวิชานี้ ครูอาจจะใช้เทคนิคทำ�ให้นักเรียนสามารถจดจำ�บทเรียนที่เรียนไป
แล้วได้ และเพื่อที่จะทราบว่าผู้เรียนกำ�ลังเรียนรู้ในสิ่งที่สอนไป อาจจะมีการถามคำ�ถามหรือใช้การ
สอบย่อย หรือให้ผู้เรียนแสดงความเข้าใจโดยการให้สร้างและทำ�การทดลอง และต้องตอบสนองอย่าง
เหมาะสมเมื่อพบว่ามีปัญหา และหลังจากที่จบบทเรียนต้องทบทวนบทเรียนหลายครั้งเพื่อให้แน่ใจ
ว่าผู้เรียนสามารถจดจำ�ได้
	 การจูงใจผู้เรียน การควบคุมกำ�กับชั้นเรียน การประเมินความรู้ก่อนเรียน การสื่อสาร
ความคิดอย่างมีประสิทธิภาพ บทเรียนมีความเหมาะสมกับลักษณะผู้เรียน การประเมินผลการเรียนรู้
การทบทวนข้อมูล เหล่านี้เป็นสิ่งที่ครูต้องใส่ใจในทุกระดับของการศึกษาทั้งในและนอกห้องเรียน
	 สิ่งที่ทำ�ให้บางคนกลายเป็นครูที่มีประสิทธิภาพคือความสามารถในการส่งผ่านงานทั้งหมด
ที่กล่าวภายในงานการสอน (Burden and Byrd, 2003 อ้างถึงใน Slavin, 2006: 5) และความอบอุ่น
ความกระตือรือร้น และการดูแลเอาใจใส่เป็นสิ่งที่จำ�เป็นพอ ๆ กับความรู้ในเนื้อหาวิชา
การสอนที่ดีสามารถสอนได้หรือไม่ ?
	 บางคนอาจคิดว่าการเป็นครูที่ดีเป็นพรสวรรค์ที่หลายคนไม่อาจเอื้อมถึงหรือเป็นมาตั้งแต่
เกิด ครูที่มีความโดดเด่นบางครั้งดูราวกับว่ามีเวทมนตร์ นักวิจัยเริ่มต้นศึกษาลักษณะของครูเหล่านี้
และได้ข้อสรุปที่ว่า “ครูเหล่านี้ไม่ได้ทำ�สิ่งใดเลยที่ครูคนอื่น ๆ ไม่สามารถทำ�ได้” แต่เป็นการรู้กฎของการ
สอนที่มีประสิทธิภาพและประยุกต์ใช้กฎเหล่านั้น เช่น กฎการควบคุมจัดการชั้นเรียน กฎการควบคุม
รักษาสภาพหรือบรรยากาศในการเรียน กฎการจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาด้วยวิธีการที่นุ่มนวล
ที่สุด และกฎการแก้ปัญหากับพฤติกรรมเล็ก ๆ ก่อนที่จะเป็นปัญหาพฤติกรรมใหญ่ การอธิบายแนวคิด
ที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม ด้วยการให้ตัวอย่างที่หลากหลาย เชื่อมโยงเนื้อหาการสอนสู่พื้นฐานของ
ผู้เรียน บอกกฎเกณฑ์ ให้ตัวอย่าง และบอกกฎเกณฑ์อีกครั้ง
	 การสอนที่ดีสามารถสอนได้หรือไม่ คำ�ตอบคือ สอนได้อย่างแน่นอนที่สุด การสอนที่ดีจะต้อง
รู้จักสังเกตและฝึกฝน และมีกฎเกณฑ์สำ�คัญในการสอน โดยมีองค์ประกอบดังนี้
จิตวิทยาการเรียนการสอน 5
ภาพที่ 1 องค์ประกอบการสอนที่ดี
ที่มา : ดัดแปลงจาก Slavin (2006: 6)
ครูผู้คำ�นึงถึงเป้าหมายในการสอน (the intentional teacher)	
	 ไม่มีกฎสำ�หรับการสอน การสอนประกอบด้วยการวางแผน การตระเตรียม และการ
ตัดสินใจจำ�นวนมากในแต่ละชั่วโมง และหนึ่งในคุณลักษณะของครูที่มีความโดดเด่นคือ ความตั้งใจ
หรือการจงใจ ซึ่งหมายถึง การกระทำ�สิ่งต่าง ๆ ด้วยเหตุผล อย่างมีเป้าหมาย ครูที่มีความตั้งใจคือ
ครูที่คิดเกี่ยวกับผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน และคิดเกี่ยวกับการตัดสินใจในแต่ละครั้งว่ามี
ผลต่อเป้าหมายที่ต้องการอย่างไร ครูที่ตั้งใจย่อมรู้ว่าการเรียนรู้สูงสุดไม่ได้เกิดด้วยความบังเอิญ และ
แน่นอนว่าเด็กเรียนรู้จากแหล่งต่าง ๆ ที่ไม่ได้วางแผนไว้ แต่สิ่งที่ท้าทายสำ�หรับครูคือการช่วยเหลือให้
ผู้เรียนแต่ละคนได้สร้างมโนทัศน์ จัดระบบและรักษาความรู้ใหม่ ซึ่งครูจะต้องกระทำ�ทุกอย่างอย่างมี
เป้าหมาย มีเหตุผล และยืดหยุ่นโดยปราศจากการละเลยต่อเป้าหมายสำ�หรับเด็กทุกคน ครูผู้ตั้งใจจะ
ใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย ประสบการณ์ การมอบหมายงาน และสื่อการเรียนเพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียน
ความรู้ในเนื้อหาวิชา และ
ทรัพยากรในการสอน
การตัดสินใจ
(decision making)
ทักษะการแก้ปัญหาและการคิด
อย่างมีวิจารณญาณ
ความรู้เกี่ยวกับตนเอง และ
การกำ�กับตนเอง
(self-knowledge and
self-regulation)
การสอนที่ดี (good
teaching)
การสะท้อน
(reflection)
ความรู้เกี่ยวกับผู้เรียนและการ
เรียนรู้ของผู้เรียน
การประยุกต์ใช้งานวิจัย
ทางด้านการศึกษา
(application of education
research)
ทักษะการสื่อสารและ
การสอน
6 จิตวิทยาการเรียนการสอน
ได้ประสบความสำ�เร็จในจุดประสงค์ด้านพุทธิปัญญา จากความรู้สู่การนำ�ไปใช้ไปและสู่การสร้างสรรค์
นอกจากนี้ ในขณะเดียวกันผู้เรียนก็กำ�ลังเรียนเป้าหมายทางด้านจิตพิสัย เช่น ความรักในการเรียนรู้
การให้ความเคารพผู้อื่น ความรับผิดชอบส่วนบุคคล ซึ่งครูผู้มีความตั้งใจจำ�เป็นต้องสะท้อนการปฏิบัติ
และผลลัพธ์เหล่านี้เสมอ
	 งานวิจัยสะท้อนให้เห็นว่า ตัวทำ�นายที่สำ�คัญที่สุดตัวหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อผู้เรียนคือ ความ
เชื่อว่าเขาหรือเธอสามารถสร้างความแตกต่างได้ ความเชื่อดังกล่าวเรียกว่าความเชื่อในประสิทธิภาพ
ของครู (teacher efficacy) เป็นระดับความรู้สึกของครูที่ว่าความพยายามของพวกเขาเป็นตัวกำ�หนด
ความสำ�เร็จของผู้เรียน (Hensen, 2002; Tschnnen-Moran and Woolfolk Hoy, 2001 อ้าง
ถึงใน Slavin, 2006: 7) ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจของครูที่ตั้งใจ ครูที่เชื่อว่าความสำ�เร็จในการเรียนของ
ผู้เรียนเกือบทั้งหมดเป็นผลมาจากเชาวน์ปัญญาของผู้เรียน สภาพแวดล้อมทางบ้านหรือปัจจัยอื่น ๆ
ที่ครูไม่มีอิทธิพลมักจะทำ�การสอนไม่เหมือนกับครูที่เชื่อว่าความพยายามของเขาเป็นกุญแจสำ�คัญ
ของการเรียนรู้ของเด็ก ครูที่ตั้งใจมีความเชื่อมันในอำ�นาจแห่งตนเองเนื่องจากเขาประสบความ
สำ�เร็จในการสอนที่ผ่านมา หากพบอุปสรรคในการสอนครูเหล่านี้จะแสวงหาความรู้ในการแก้ปัญหา
เกี่ยวกับการสอนนั้น เมื่อกลุ่มของครูที่มีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนมาร่วมกันและ
แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันจะกลายเป็นความเชื่อในประสิทธิภาพของครูสะสม (collective efficacy)
ซึ่งมีผลต่อความสำ�เร็จของผู้เรียนอย่างมาก นอกจากนี้ ครูจำ�เป็นต้องรู้สิ่งอื่น ๆ อีกมากนอกเหนือ
จากเนื้อหาสาระของตนเองซึ่งจะต้องรู้ระดับพัฒนาการและความต้องการของผู้เรียน และจำ�เป็นต้อง
เข้าใจว่าการเรียนรู้ ความจำ� ทักษะการแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ เกิดจากอะไร และจะส่งเสริม
อย่างไร และจะต้องรู้ว่าจะกำ�หนดจุดมุ่งหมายอย่างไร ออกแบบกิจกรรมอย่างไร ประเมินความก้าวหน้า
อย่างไร จูงใจผู้เรียนอย่างไร ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างผู้เรียนอย่างไร เป็นต้น
	 มีการเปรียบเทียบระหว่างครูผู้ชำ�นาญหรือมีประการณ์ในการสอนเป็นเวลายาวนานถึง
20 ปีกับครูผู้มีประสบการณ์สอนเป็นเวลา 1-20 ครั้งว่ามีคุณสมบัติใดที่แตกต่างกันบ้าง
และเมื่อพิจารณาอย่างถ้วนถี่จะพบว่าการพัฒนาตนเองเป็นคุณสมบัติที่สำ�คัญ ครูผู้ชำ�นาญจะเป็น
นักคิดเชิงวิพากษ์ จะพัฒนาตนเองเสมอ ตรวจสอบการสอนของตนเอง อ่านและเข้าร่วมการประชุม
เพื่อให้ได้รับสิ่งใหม่ ๆ เปิดรับแนวคิดใหม่ และมองการสอนของตนอย่างพินิจพิเคราะห์ ใช้การตอบ
สนองของผู้เรียนเป็นแนวทางในการตัดสินใจเกี่ยวกับการสอนของตนเสมอ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นครูผู้มี
ประสบการณ์ในการสอนอย่างแท้จริง
จิตวิทยาการเรียนการสอน 7
บทบาทของการวิจัยในการแสวงหาความรู้ด้านจิตวิทยาการเรียนการสอน
	 ครูที่ตั้งใจมักจะเข้าชั้นเรียนพร้อมด้วยเครื่องมือเกี่ยวกับความรู้ในการวิจัยทางจิตวิทยา
การศึกษา นักจิตวิทยาการศึกษาค้นพบและพัฒนาหลักการในการสอนและการเรียนรู้ซึ่งเป็น
ประโยชน์ในการปฏิบัติของครู และจะทำ�การวิจัยเกี่ยวกับธรรมชาติผู้เรียน หลักการเรียนรู้และ
วิธีการสอนที่ให้ข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการเพื่อเป็นเครื่องมือในการสอน และขณะนี้
ปัญหาสำ�คัญที่นักจิตวิทยาการศึกษาเผชิญอยู่คือเกือบทุกคนเชื่อว่าตนเองเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขา
วิชาจิตวิทยาการศึกษา ความจริงคือทุกคนเป็นนักจิตวิทยาการศึกษาสมัครเล่นกันทุกคน
	 เป้าหมายของการวิจัยในทางจิตวิทยาการเรียนการสอน
	 เป้าหมายของการวิจัยในจิตวิทยาการเรียนการสอนคือ การตรวจสอบอย่างระมัดระวังเกี่ยวกับ
ประเด็นข้อสงสัยหรือคำ�ถามต่าง ๆ ในด้านการเรียนการสอนทั้งที่ชัดเจนและไม่ชัดเจน ผลผลิตของ
การวิจัย คือ หลักการ (principle) กฎ (law) และทฤษฎี (theory) หลักการอธิบายความสัมพันธ์
ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ผลของการให้เกรดระบบ alternative gladding system ต่อ
การจูงใจผู้เรียน กฎเป็นหลักการที่ง่าย ๆ ที่ได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดแล้วและพบว่าสามารถ
ใช้อธิบายการเรียนรู้ พฤติกรรม และสิ่งที่สนใจได้อย่างกว้างขวาง ทฤษฎีเป็นการจัดรวมกฎเกณฑ์
ต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบเพื่อทำ�ให้ได้ภาพที่กว้างขวางขึ้นในการมอง อย่างไรก็ตาม ความจริง
และหลักการเดียวกันอาจถูกตีความหมายแตกต่างกันได้ในมุมมองของทฤษฎีที่แตกต่างกันได้ ดังนั้น
ความก้าวหน้าในศาสตร์ด้านจิตวิทยาการศึกษาเป็นไปค่อนข้างช้าเช่นเดียวกับศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์
ทั่วไป
	 คุณค่าของการวิจัยทางจิตวิทยาการศึกษาต่อตัวครู
	 โดยปกติครูทำ�การตัดสินใจมากมายและหลากหลายในแต่ละวัน และแต่ละการตัดสินใจล้วน
มีทฤษฎีเบื้องหลัง แม้ว่าครูจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ทฤษฎีที่ถูกต้อง เป็นประโยชน์ และมีคุณภาพล้วนเป็น
คุณค่าที่สำ�คัญของการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการศึกษาทั้งสิ้น
รูปแบบการวิจัยทางจิตวิทยาการเรียนการสอน
	 1.	การวิจัยเชิงทดลอง (experiments) ในการวิจัยเชิงทดลอง นักวิจัยสามารถสร้างหรือ
จัดให้กลุ่มทดลองรับสิ่งทดลอง (treatment) หรือสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาผลซึ่งก็คือตัวแปรอิสระ
(independent variable) นั่นเอง ผู้วิจัยสามารถนำ�ผลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อดูผลของสิ่งทดลองต่อ
8 จิตวิทยาการเรียนการสอน
ตัวแปรตาม (dependent variable) ในการทดลองของ Lepper, Greene, Nisbett (1973 อ้าง
ถึงใน Slavin, 2006) เป็นตัวอย่างงานวิจัยเชิงทดลองที่คลาสสิก เป็นการทดลองเพื่อศึกษาผล
ของรางวัลที่มีต่อการจูงใจของเด็ก โดยจัดให้ผู้รับการทดลองใช้ปากกามาร์คเกอร์วาดรูป กลุ่มทดลอง
ได้รับรางวัลเมื่อวาดภาพเสร็จสิ้น (a good player award) ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับรางวัลหลังจาก
วาดภาพ ในช่วงท้ายของการทดลองให้ผู้รับการทดลองทั้งหมดมีโอกาสเลือกทำ�กิจกรรมวาดภาพ
ผลการศึกษาพบว่า เด็กที่ได้รางวัลในกลุ่มทดลองวาดภาพด้วยปากกาเช่นเดิมลดลงครึ่งหนึ่งเมื่อ
เทียบกับกลุ่มควบคุม จากการทดลองดังกล่าวสรุปได้ว่า การให้รางวัลในกิจกรรมที่ชอบเป็นการ
ลดความสนใจในกิจกรรมนั้นเมื่อไม่มีรางวัล
	 องค์ประกอบของการวิจัยเชิงทดลองที่สำ�คัญคือ 1) มีการสุ่มเพื่อรับการทดลอง (random
assignment) ทั้งนี้เพื่อเป็นการควบคุมให้เกิดความเท่าเทียมกันในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
และ 2) การควบคุมสถานการณ์อื่น ๆ ให้เหมือนกันทั้ง 2 กลุ่ม เช่น เล่นในห้องเดียวกันแต่แตกต่าง
เพียงรางวัลเท่านั้น ประเภทของการวิจัยเชิงทดลองมี 3 ประเภท ได้แก่
		 1.1	การทดลองในห้องปฏิบัติการ(laboratory experiments) เป็นการทดลองใน
สภาพการณ์ที่สร้างขึ้นและควบคุมอย่างเคร่งครัด ตัวอย่างการวิจัยเชิงทดลองในห้องปฏิบัติการ เช่น
การศึกษาของ Lepper, Greene, Nisbett ข้อดีของงานวิจัยแบบนี้คือ มีความตรงภายในของการ
วิจัย (internal validity) สูงแต่มีข้อจำ�กัดคือขาดความสามารถในการอ้างอิงไปสู่สถานการณ์ใน
ชิวิตจริงได้
		 1.2	การทดลองในสภาพการณ์จริง (randomized field experiments) เป็นการ
ทดลองในสภาพการณ์จริง เป็นการทดลองโปรแกรมหรือรูปแบบการสอนต่าง ๆ เป็นระยะเวลา
นาน ในห้องเรียนจริงภายใต้สภาพการณ์จริง เช่น การทดลองของ Pinnell, Lyons, DeFord, Bryk
และ Seltzer (1994 อ้างถึงใน Slavin, 2006) ได้ทดลองวิธีสอนการอ่าน 4 วิธี ต่อผลการอ่านของ
ผู้เรียนเกรด 1 ที่มีปัญหาด้านการอ่าน หนึ่งในรูปแบบนั้นคือรูปแบบการสอนตัวต่อตัว โดยท�ำการ
ทดลองในโรงเรียน 10 โรงเรียนที่ได้รับการพิจารณาแล้วว่ามีผลการอ่านต�่ำสุด การเลือกกลุ่มทดลอง
และกลุ่มควบคุมใช้การสุ่ม 4 โรงเรียนเป็นกลุ่มทดลองได้รับการสอนเพื่อพัฒนาการอ่าน และ
อีก 6 โรงเรียนเป็นกลุ่มควบคุมได้รับการสอนในโปรแกรมการอ่านทั่วไป หลังจากนั้นอีก 4 เดือน
ได้ตรวจสอบพบว่ากลุ่มทดลองมีผลการอ่านดีกว่ากลุ่มควบคุม และทดสอบหลังจากนั้นอีก 8 เดือน
พบว่ากลุ่มทดลองยังคงมีผลการอ่านดีกว่ากลุ่มควบคุม
	 การทดลองทั้ง 2 แบบมีลักษณะเหมือนและแตกต่างกัน กล่าวคือ การทดลองทั้งสองมี
การสุ่มซึ่งทำ�ให้เกิดความเท่าเทียมกันก่อนการทดลอง แต่การทดลองในห้องปฏิบัติการจะใช้เวลา
จิตวิทยาการเรียนการสอน 9
ในการทดลองสั้นกว่า ดังนั้น เป้าหมายของการวิจัยทั้งสองจึงแตกต่างกัน การทดลองในห้องปฏิบัติ
การมีเป้าหมายเพื่อตรวจสอบทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา ขณะที่การทดลองในสนามแบบสุ่มมี
เป้าหมายเพื่อตรวจสอบหรือประเมินการนำ�โปรแกรมต่าง ๆ ไปใช้ในสภาพการณ์จริง ดังนั้นอาจกล่าว
ได้ว่าการทดลองในสนามแบบสุ่มมีความตรงภายนอกสูงกว่า (external validity)
		 1.3	การทดลองเชิงเดี่ยว (single-case experiments) เป็นการสังเกตพฤติกรรมของ
ผู้รับการทดลองเป็นเวลานาน จากนั้นให้สิ่งทดลอง (treatment) ที่เป็นโปรแกรมพิเศษและสังเกต
พฤติกรรมภายใต้เงื่อนไขการทดลองที่จัดให้ จากนั้นจะมีการถอดถอนเงื่อนไขการทดลองใหม่นั้น
ออกไปเพื่อดูพฤติกรรม หากพฤติกรรมที่ต้องการสังเกตพัฒนาขึ้นระหว่างให้เงื่อนไขการทดลอง
และลดลงระหว่างการถอดถอนเงื่อนไขการทดลองแสดงว่าเงื่อนไขการทดลองนั้นมีผลต่อพฤติกรรม
บางครั้งการทดลองเชิงเดี่ยวอาจเป็นนักเรียนหลายคน ห้องเรียนทั้งหมด หรืออาจเป็นทั้งโรงเรียนก็ได้
ซึ่งจะรับเงื่อนไขการทดลองเดียวกัน ตัวอย่างการทดลองเชิงเดี่ยวที่เป็นตัวอย่างที่ดีได้ตัวอย่างหนึ่ง
คือการทดลองของ Barrish, Saundeas, Wolf (1969 อ้างถึงใน Slavin, 2006) ได้ทดลองโปรแกรม
good behavior game ต่อพฤติกรรมการพูดคุยโดยไม่ขออนุญาต กรณีที่ศึกษาเป็นชั้นเรียนเกรด 4
ในช่วงแรกได้บันทึกพฤติกรรมการพูดคุยโดยไม่ขออนุญาตระหว่างการเรียนการอ่านและคณิตศาสตร์
หลังจากนั้นอีก 10 วัน ได้เริ่มให้เงื่อนไขการทดลอง โดยได้แบ่งห้องเรียนเป็น 2 กลุ่มใหญ่ หาก
มีนักเรียนคนใดในกลุ่มแสดงพฤติกรรมพูดคุยขณะเรียนจะถูกเช็กตลอด ในแต่ละวันหากกลุ่มใด
ถูกเช็คน้อยกว่า 5 ครั้ง จะได้รับเวลาว่าง 30 นาที
ข้อจำ�กัด	ที่สำ�คัญของการทดลองเชิงเดี่ยวคือสามารถศึกษาได้เฉพาะพฤติกรรมที่สามารถ
สังเกตได้ และเป็นพฤติกรรมที่วัดเป็นความถี่ได้ เช่น การพูดคุยเสียงดังในชั้นเรียน การลุกออกจากที่
โดยไม่ขออนุญาตขณะเรียนหนังสือ ต่อไปเป็นรูปภาพแสดงการทดลองเชิงเดี่ยว
10 จิตวิทยาการเรียนการสอน
ภาพที่ 2 รูปแบบการวิจัยแบบการทดลองเชิงเดี่ยว (single-case experiments)
ที่มา : Barrish, Saundeas, Wolf (1969 อ้างถึงใน Slavin, 2006: 19)
2. การวิจัยเชิงสหสัมพันธ (corelational research) การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์เป็น
การปรับเปลี่ยนตัวแปรหนึ่งเพื่อดูว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะมีผลต่อตัวแปรอื่นอย่างไร ในการ
วิจัยเชิงสหสัมพันธ์ผู้วิจัยดูว่าตัวแปรมีความสัมพันธ์กันหรือไม่อย่างไร ซึ่งอาจเป็นความสัมพันธ์เชิง
บวก (เช่น ผลสัมฤทธิ์ในการอ่านมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางคณิตศาสตร์) ความสัมพันธ์
เชิงลบ (เช่น วันที่ขาดเรียนกับเกรดในการเรียนวิชานั้น) หรือไม่มีความสัมพันธ์เลย (ผลการเรียน
จิตวิทยาการเรียนการสอน 11
นิสิตคณะครุศาสตร์ กับผลการเรียนนิสิตคณะวิทยาศาสตร์) ตัวอย่างการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ที่
คลาสสิก คือการศึกษาของ Lahaderne (1968 อ้างถึงใน Slavin, 2006) โดยได้ศึกษาความสัมพันธ์
ระหว่างความใส่ใจการเรียน ในชั้น (การฟังครูสอน และการทำ�งานตามที่มอบหมาย) กับผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนและคะแนนเชาวน์ปัญญาของผู้เรียน ได้ศึกษาผู้เรียนจำ�นวน 125 คน เกรด 6 จำ�นวน
4 ชั้นเรียน เขาศึกษาว่าผู้เรียนใส่ใจในการเรียนมากเท่าใด และศึกษาว่ามีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ด้าน
การอ่าน ด้านภาษา และด้านเรขาคณิตอย่างไร และศึกษาความสัมพันธ์ว่ามีความสัมพันธ์กับคะแนน
เชาวน์ปัญญาและเจตคติต่อโรงเรียนอย่างไร
	 ประโยชน์ของการศึกษาเชิงสหสัมพันธ์ที่สำ�คัญคือ การเปิดโอกาสให้นักวิจัยศึกษาตัวแปร
ต่าง ๆ ตามสภาพจริง บางคำ�ถามการวิจัยสามารถหาคำ�ตอบได้จากการใช้งานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์
เท่านั้น เช่น เพศกับผลการเรียนคณิตศาสตร์ และประโยชน์อีกประการคือสามารถศึกษาความสัมพันธ์
ระหว่างกันของตัวแปรหลาย ๆ ตัวได้
	 ข้อด้อยของการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์คือ ความสัมพันธ์ไม่สามารถบอกได้ว่าตัวแปรใดเป็น
สาเหตุ การอธิบายผลการวิจัยของ Lahaderne สามารถอธิบายได้ 2 แบบ คือ
	 แบบที่ 1 ความใส่ใจในการเรียนเป็นสาเหตุคะแนนผลการเรียนที่สูงขึ้น
	 แบบที่ 2 เชาวน์ปัญญาเป็นตัวกำ�หนดความใส่ใจในการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
	 3.	การวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive research) เป็นงานวิจัยที่มุ่งบรรยายสิ่งที่สนใจ
ศึกษา ใช้การสอบถามหรือการสัมภาษณ์ การสังเกตในบริบททางด้านสังคมต่าง ๆ เช่น ในชั้นเรียน
หรือในโรงเรียน การศึกษาของ Jonathan Kozol (1991 อ้างถึงใน Slavin, 2006) ได้บรรยายสภาพ
โรงเรียนที่มีทุนสนับสนุนดีกับที่มีทุนสนับสนุนไม่ดี ทำ�ให้ทราบสภาพความไม่เท่าเทียมกันด้านระบบ
การศึกษาในสหรัฐอเมริกา อาจกล่าวได้ว่างานวิจัยเชิงบรรยายเป็นรูปแบบงานวิจัยที่พัฒนาขึ้นเพื่อ
การตอบคำ�ถามในรายละเอียดและการตีความ
	 การศึกษาของ Piaget (1952 อ้างถึงใน Slavin, 2006) นักจิตวิทยาพัฒนาการที่โด่งดัง
และสามารถสร้างทฤษฎีพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาเป็นหนึ่งในรูปแบบการวิจัยเชิงบรรยาย เขา
พยายามบรรยายลักษณะของเด็กที่มีอายุแตกต่างกัน ผลการวิจัยดังกล่าวให้กำ�เนิด ทฤษฎีพัฒนาการ
ทางเชาวน์ปัญญาตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยรุ่น
	
4. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) เป็นรูปแบบเฉพาะของการวิจัยเชิง
บรรยายรูปแบบหนึ่ง ซึ่งทำ�โดยนักการศึกษาในชั้นเรียนหรือโรงเรียนของตน ในการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
ครู นักวิจัย หรือครูใหญ่ อาจทดลองวิธีการสอนใหม่ ๆ หรือกลยุทธ์การจัดการโรงเรียนแบบใหม่ ๆ
12 จิตวิทยาการเรียนการสอน
โดยเก็บข้อมูลว่าผลการทดลองเป็นอย่างไร และเผยแพร่ต่อบุคคลอื่น เนื่องจากบุคคลที่เข้าร่วมหรือ
อยู่ในการทดลองเป็นตัวของครู นักวิจัย หรือครูใหญ่เอง ดังนั้น การวิจัยเชิงปฏิบัติการจึงขาดความ
เป็นปรนัยในด้านการวิจัยเนื่องจากไม่แน่ใจในด้านการตรวจสอบผลการวิจัยว่าจะคงที่หรือไม่นั่นเอง
จิตวิทยาการเรียนการสอน 13
คำ�ถามท้ายบท
1. 	 จิตวิทยาการศึกษาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับอะไร ?
2. 	 จิตวิทยาการเรียนการสอนเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับอะไร มีความเกี่ยวข้องกับจิตวิทยา
	 การศึกษาอย่างไร ?
3. 	 จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างพฤติกรรมภายนอก
4. 	 จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างพฤติกรรมภายใน
5. 	 จงอธิบายความสำ�คัญของศาสตร์ด้านจิตวิทยาการศึกษา
6. 	 การสอนเป็นเพียงการบอกความรู้ใช่หรือไม่ เพราะเหตุใด ?
7. 	 Intentional teacher หมายถึงอะไร และมีองค์ประกอบใดที่ส่งผลดังกล่าว ?
8. 	 ตามแนวคิดของท่านองค์ประกอบของครูที่มีประสิทธิภาพควรเป็นอย่างไร ?
9. 	 การวิจัยทางจิตวิทยาการศึกษาควรมีเป้าหมายอย่างไร ?
10. 	จงอธิบายจุดเด่น จุดด้อยของการศึกษาของ Lepper, Greene, Nisbett (1973)
11. 	จงอธิบายจุดเด่น จุดด้อยการศึกษาของ Pinnell, Lyons, Deford, Bryk, Seltzer (1994)
12. 	จงอธิบายจุดเด่น จุดด้อยการศึกษาของ Barrish, Saunders, Wolf (1969)
13. 	จงอธิบายจุดเด่น จุดด้อยการศึกษาของ Lahadern (1994)
9789740337560

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓kruthai40
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงChanon Mala
 
แบบฝึก พัฒนาทักษะการอ่านสำหรับชาวต่างประเทศ (ปริญญาตรี)
แบบฝึก พัฒนาทักษะการอ่านสำหรับชาวต่างประเทศ (ปริญญาตรี) แบบฝึก พัฒนาทักษะการอ่านสำหรับชาวต่างประเทศ (ปริญญาตรี)
แบบฝึก พัฒนาทักษะการอ่านสำหรับชาวต่างประเทศ (ปริญญาตรี) Kun Cool Look Natt
 
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3 เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3 เซลล์พืชและเซลล์สัตว์แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3 เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3 เซลล์พืชและเซลล์สัตว์Wann Rattiya
 
กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศไทยกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศไทยwittawat_name
 
หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้
หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้
หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้Sutthiluck Kaewboonrurn
 
เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ 8
เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ 8เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ 8
เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ 8Varin D' Reno
 
2557 โครงงานน้ำ
2557 โครงงานน้ำ2557 โครงงานน้ำ
2557 โครงงานน้ำBengelo
 
รายงาน เรื่อง ทรงผม(ของ)นักเรียน | ดรัณภพ ศรีสมบัติ (2019)
รายงาน เรื่อง ทรงผม(ของ)นักเรียน | ดรัณภพ ศรีสมบัติ (2019)รายงาน เรื่อง ทรงผม(ของ)นักเรียน | ดรัณภพ ศรีสมบัติ (2019)
รายงาน เรื่อง ทรงผม(ของ)นักเรียน | ดรัณภพ ศรีสมบัติ (2019)Darunpob Srisombut
 
ใบงานที่21กรดนิวคลีอิก
ใบงานที่21กรดนิวคลีอิกใบงานที่21กรดนิวคลีอิก
ใบงานที่21กรดนิวคลีอิกTANIKAN KUNTAWONG
 
รายงาน การพัฒนาตนเอง
รายงาน การพัฒนาตนเองรายงาน การพัฒนาตนเอง
รายงาน การพัฒนาตนเองChainarong Maharak
 
การออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
การออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานการออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
การออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานWareerut Hunter
 
หน่วยที่ 2 โครงสร้างและการเรียบเรียงประโยคและการใช้สำนวนภาษา
หน่วยที่ 2  โครงสร้างและการเรียบเรียงประโยคและการใช้สำนวนภาษาหน่วยที่ 2  โครงสร้างและการเรียบเรียงประโยคและการใช้สำนวนภาษา
หน่วยที่ 2 โครงสร้างและการเรียบเรียงประโยคและการใช้สำนวนภาษาขนิษฐา ทวีศรี
 
สารชีวโมเลกุล2
สารชีวโมเลกุล2สารชีวโมเลกุล2
สารชีวโมเลกุล2Thanyamon Chat.
 
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงWareerut Hunter
 
2.1การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยตารางความถี่
2.1การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยตารางความถี่2.1การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยตารางความถี่
2.1การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยตารางความถี่Somporn Amornwech
 

La actualidad más candente (20)

7
77
7
 
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
 
แบบฝึก พัฒนาทักษะการอ่านสำหรับชาวต่างประเทศ (ปริญญาตรี)
แบบฝึก พัฒนาทักษะการอ่านสำหรับชาวต่างประเทศ (ปริญญาตรี) แบบฝึก พัฒนาทักษะการอ่านสำหรับชาวต่างประเทศ (ปริญญาตรี)
แบบฝึก พัฒนาทักษะการอ่านสำหรับชาวต่างประเทศ (ปริญญาตรี)
 
รายงานกลุ่ม 1
รายงานกลุ่ม 1รายงานกลุ่ม 1
รายงานกลุ่ม 1
 
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3 เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3 เซลล์พืชและเซลล์สัตว์แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3 เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3 เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
 
กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศไทยกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
 
หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้
หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้
หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้
 
เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ 8
เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ 8เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ 8
เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ 8
 
2557 โครงงานน้ำ
2557 โครงงานน้ำ2557 โครงงานน้ำ
2557 โครงงานน้ำ
 
อิเหนา
อิเหนาอิเหนา
อิเหนา
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
รายงาน เรื่อง ทรงผม(ของ)นักเรียน | ดรัณภพ ศรีสมบัติ (2019)
รายงาน เรื่อง ทรงผม(ของ)นักเรียน | ดรัณภพ ศรีสมบัติ (2019)รายงาน เรื่อง ทรงผม(ของ)นักเรียน | ดรัณภพ ศรีสมบัติ (2019)
รายงาน เรื่อง ทรงผม(ของ)นักเรียน | ดรัณภพ ศรีสมบัติ (2019)
 
ใบงานที่21กรดนิวคลีอิก
ใบงานที่21กรดนิวคลีอิกใบงานที่21กรดนิวคลีอิก
ใบงานที่21กรดนิวคลีอิก
 
รายงาน การพัฒนาตนเอง
รายงาน การพัฒนาตนเองรายงาน การพัฒนาตนเอง
รายงาน การพัฒนาตนเอง
 
การออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
การออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานการออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
การออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
 
หน่วยที่ 2 โครงสร้างและการเรียบเรียงประโยคและการใช้สำนวนภาษา
หน่วยที่ 2  โครงสร้างและการเรียบเรียงประโยคและการใช้สำนวนภาษาหน่วยที่ 2  โครงสร้างและการเรียบเรียงประโยคและการใช้สำนวนภาษา
หน่วยที่ 2 โครงสร้างและการเรียบเรียงประโยคและการใช้สำนวนภาษา
 
สารชีวโมเลกุล2
สารชีวโมเลกุล2สารชีวโมเลกุล2
สารชีวโมเลกุล2
 
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
 
2.1การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยตารางความถี่
2.1การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยตารางความถี่2.1การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยตารางความถี่
2.1การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยตารางความถี่
 

Similar a 9789740337560

9789740331278
97897403312789789740331278
9789740331278CUPress
 
งานซู
งานซูงานซู
งานซูmaymymay
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้Nat Thida
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้Nat Thida
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้Nat Thida
 
บทที่ 3
บทที่  3บทที่  3
บทที่ 3Pari Za
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้Nat Thida
 
จิตวิทยาการเรียนรู้(2)
จิตวิทยาการเรียนรู้(2)จิตวิทยาการเรียนรู้(2)
จิตวิทยาการเรียนรู้(2)maymymay
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้maymymay
 
จิตวิทยาการเรียนรู้(1)
จิตวิทยาการเรียนรู้(1)จิตวิทยาการเรียนรู้(1)
จิตวิทยาการเรียนรู้(1)maymymay
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้ซิกส์ zaza
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้ซิกส์ zaza
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้ซิกส์ zaza
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้ซิกส์ zaza
 
บทที่3
บทที่3บทที่3
บทที่3Pari Za
 
สอนวิทยาศาสตร์อย่างไร ให้สนุก โดยครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์ ฉบับเผยแพร่
สอนวิทยาศาสตร์อย่างไร ให้สนุก โดยครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์ ฉบับเผยแพร่สอนวิทยาศาสตร์อย่างไร ให้สนุก โดยครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์ ฉบับเผยแพร่
สอนวิทยาศาสตร์อย่างไร ให้สนุก โดยครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์ ฉบับเผยแพร่Kobwit Piriyawat
 
จิตวิทยาการเรียนรู้.Ppt
 จิตวิทยาการเรียนรู้.Ppt  จิตวิทยาการเรียนรู้.Ppt
จิตวิทยาการเรียนรู้.Ppt yuapawan
 

Similar a 9789740337560 (20)

9789740331278
97897403312789789740331278
9789740331278
 
งานซู
งานซูงานซู
งานซู
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
บทที่ 3
บทที่  3บทที่  3
บทที่ 3
 
จิตรวิทยาการเรียนรู้
จิตรวิทยาการเรียนรู้จิตรวิทยาการเรียนรู้
จิตรวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้(2)
จิตวิทยาการเรียนรู้(2)จิตวิทยาการเรียนรู้(2)
จิตวิทยาการเรียนรู้(2)
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้(1)
จิตวิทยาการเรียนรู้(1)จิตวิทยาการเรียนรู้(1)
จิตวิทยาการเรียนรู้(1)
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
บทที่3
บทที่3บทที่3
บทที่3
 
สอนวิทยาศาสตร์อย่างไร ให้สนุก โดยครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์ ฉบับเผยแพร่
สอนวิทยาศาสตร์อย่างไร ให้สนุก โดยครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์ ฉบับเผยแพร่สอนวิทยาศาสตร์อย่างไร ให้สนุก โดยครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์ ฉบับเผยแพร่
สอนวิทยาศาสตร์อย่างไร ให้สนุก โดยครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์ ฉบับเผยแพร่
 
บทที่ 2.ใหม่
บทที่ 2.ใหม่บทที่ 2.ใหม่
บทที่ 2.ใหม่
 
จิตวิทยาการเรียนรู้.Ppt
 จิตวิทยาการเรียนรู้.Ppt  จิตวิทยาการเรียนรู้.Ppt
จิตวิทยาการเรียนรู้.Ppt
 
อาชีพครู
อาชีพครูอาชีพครู
อาชีพครู
 

Más de CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 
9789740336419
97897403364199789740336419
9789740336419CUPress
 

Más de CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 
9789740336419
97897403364199789740336419
9789740336419
 

9789740337560

  • 1. ความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ด้านจิตวิทยาซึ่งจะเกี่ยวกับความเข้าใจในพฤติกรรมของมนุษย์ มีความสำ�คัญอย่างมากต่อผู้ที่จะประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับบุคคลต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน วิชาชีพครูที่จำ�เป็นต้องเกี่ยวข้องกับผู้เรียนอย่างเลี่ยงไม่ได้ เนื้อหาหลักบทนี้จะเป็นการปูพื้นความรู้ ความเข้าใจขอบข่ายของจิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาการเรียนการสอน การเป็นครูที่ดีและบทบาท ของการวิจัยในการแสวงหาความรู้ด้านจิตวิทยาการเรียนการสอน จิตวิทยาการศึกษา คำ�ว่า จิตวิทยาการศึกษา (educational psychology) ได้ถูกบัญญัติขึ้นเมื่อประมาณ ค.ศ. 1903 จากการเขียนหนังสือชื่อ educational psychology ของ Edward E. Thorndike บุคคลผู้ได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาหรือผู้ก่อตั้งศาสตร์ด้านนี้ นอกจากนี้ยังมีบุคคลท่านอื่นที่ถือว่าเป็น บทนำ�และบทบาทการวิจัยทางจิตวิทยา การเรียนการสอน 1
  • 2. 2 จิตวิทยาการเรียนการสอน ผู้บุกเบิกศาสตร์ด้านนี้ เช่น William James, G. Stanley Hall และ Charles H. Judd โดย ขอบข่ายของจิตวิทยาการศึกษานั้นค่อนข้างกว้างขวางซึ่งเป็นความพยายามในการค้นคว้าเกี่ยวกับ 1) สาระและองค์ประกอบด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมต่อการเรียนรู้ 2) ธรรมชาติของกระบวนการ เรียนรู้ 3) สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ และ 4) ระดับของศาสตร์ด้านนี้ในการรองรับด้านการศึกษา (Crow and Crow, 1954 อ้างถึงใน Manuel Martinez-Pons, 2001: 4) นอกจากนี้ Davis (1983 อ้างถึงใน Manuel Martinez-Pons, 2001: 4) ได้เสนอว่า ขอบข่ายของจิตวิทยาการศึกษานั้น มี 7 ด้าน ประกอบด้วย 1) พลวัตทางสังคมในห้องเรียน 2) พัฒนาการด้านพุทธิปัญญา สังคมและ ร่างกาย 3) จิตวิทยาการเรียนรู้ 4) การจูงใจ 5) ทฤษฎีการสอน 6) ความแตกต่างระหว่างบุคคล ในบางด้าน เช่น บุคลิกภาพ ความคิดสร้างสรรค์และเชาวน์ปัญญา และ 7) การวัดผล สถิติและ การออกแบบการวิจัย อย่างไรก็ตาม Slavin (2006: 3) ได้เสนอทัศนะในหนังสือชื่อ educational psychology: theory and practice ในการพิมพ์ครั้งที่ 8 ว่า แม้ตามนิยามทางวิชาการโดยทั่วไปของคำ�ว่า “จิตวิทยา การศึกษา” จะเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับตัวผู้เรียน การเรียนรู้และการสอนก็ตาม แต่คำ�ว่าจิตวิทยา การศึกษายังมีความหมายมากกว่าคำ�นิยามที่ให้ไว้มากมายนัก ซึ่งจิตวิทยาการศึกษาเป็นความรู้ที่ ถูกเก็บสะสมไว้ เป็นภูมิปัญญาที่ครูทุกคนจำ�เป็นต้องใช้ในการแก้ปัญหาการสอนในชั้นเรียนทุกวัน จิตวิทยาการศึกษาไม่ได้บอกครูว่าจะต้องทำ�อะไร แต่ให้หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจที่ดีในการสอน นักจิตวิทยาการศึกษาได้ทำ�การวิจัยเกี่ยวกับธรรมชาติของผู้เรียน หลักการเรียนรู้ และวิธีการสอน ซึ่งเป็นข้อมูลที่จำ�เป็นสำ�หรับนักการศึกษาในการใช้ตัดสินใจต่อการเรียนการสอนว่าสิ่งใดจะเหมาะสม กับการเรียนรู้ของผู้เรียนมากที่สุด จิตวิทยาการเรียนการสอน จะเห็นได้จากขอบข่ายของจิตวิทยาการศึกษาว่ามีประเด็นความสนใจด้านหนึ่งคือจิตวิทยา การเรียนรู้และทฤษฎีด้านการสอนซึ่งครอบคลุมสาระที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาการเรียนการสอนด้วย ผู้เขียนเห็นว่า จิตวิทยาการเรียนการสอนเป็นอีกคำ�หนึ่งที่มีความหมายใกล้เคียงกับจิตวิทยาการศึกษา เนื่องจากจิตวิทยาการเรียนการสอนจะมุ่งศึกษาเกี่ยวกับตัวผู้เรียน การเรียนรู้และการสอนเช่นเดียวกัน กับจิตวิทยาการศึกษา แต่จุดเน้นของจิตวิทยาการเรียนการสอนที่สำ�คัญในด้านการเรียนรู้จะมุ่งศึกษา ว่าบุคคลเรียนรู้อย่างไรในบริบทต่าง ๆ เช่น การอ่าน การเขียน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษาที่สอง พลศึกษา และการเรียนรู้ที่จะคิดอย่างมีวิจารณญาณ การเรียนรู้ที่จะกำ�กับตนเอง การ เรียนรู้การจูงใจ ส่วนในด้านการสอนจะสนใจศึกษาว่าวิธีการสอนแบบใดมีประสิทธิภาพ เช่น การ
  • 3. จิตวิทยาการเรียนการสอน 3 ให้ข้อมูลย้อนกลับ การยกตัวอย่าง การอธิบายตนเอง ปฏิสัมพันธ์จากเพื่อน การเรียนรู้แบบร่วมมือ การสืบเสาะ การอภิปราย การติว การเรียนรู้โดยสื่อต่าง ๆ ฯลฯ (Mayer and Alexander, 2011) และนอกจากนี้ยังมุ่งที่จะใช้การวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งหลักการสำ�คัญเพื่อนำ�ไปสู่การตัดสินใจทางด้านการ เรียนการสอนที่เหมาะสมที่สุดสำ�หรับผู้เรียนในบริบทต่าง ๆ นั่นเอง สิ่งใดทำ�ให้เป็นครูที่ดีได้ คุณลักษณะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นท่าทีที่อบอุ่น อารมณ์ขัน ความสามารถในการดูแลใส่ใจ ผู้อื่น การวางแผน การทำ�งานหนัก การมีวินัยในตนเอง การเป็นผู้นำ� ความกระตือรือร้น ความรัก ในการเรียนรู้ ความสามารถในการพูด เหล่านี้ล้วนเป็นคุณลักษณะด้านบวกที่ทำ�ให้กลายเป็นครูที่ดี ได้ซึ่งทุกคนคงเห็นด้วยและไม่อาจปฏิเสธ แต่คำ�ถามสำ�คัญคือลักษณะเหล่านี้เพียงพอแล้วหรือยัง มีคำ�ถามที่น่าสนใจและติดตลกนิด ๆ ว่า “สิ่งที่คุณจำ�เป็นต้องรู้เพื่อให้สามารถสอนม้าได้ คืออะไร ? แน่นอนคำ�ตอบคือ เราจำ�เป็นต้องรู้มากกว่าม้าแน่นอน จากคำ�ถามดังกล่าวนำ�ไปสู่ประเด็นสำ�คัญที่ครูจะต้องทราบคือ ครูจะต้องทราบว่าผู้เรียน ไม่มีความรู้หรือทักษะใด และครูจะต้องทราบเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาที่จะสอนผู้เรียน แต่ในที่สุดก็ทราบ ว่าความรู้เพียงเท่านั้นไม่เพียงพอ สำ�หรับผู้ฝึกสอนม้าอาจจะมีความรู้ว่าม้าอาจสามารถจะทำ�สิ่งใด และสามารถทำ�อะไรได้บ้าง แต่หากเขาไม่มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการที่จะทำ�ให้สัตว์เช่นม้าซึ่งขี้กลัวและ ไม่เป็นมิตรกลายเป็นม้าที่เชื่องได้ แน่นอนการสอนอาจจบลงไม่ดีนัก แต่การสอนเด็กแตกต่างจาก ม้าเนื่องจากเด็กนักเรียนฉลาดกว่าม้าหลายเท่า ความรู้เกี่ยวกับวิธีการถ่ายทอดข้อมูลและทักษะ ย่อมเป็นสิ่งสำ�คัญพอ ๆ กับความรู้และทักษะที่จะสอนซึ่งอาจจะเป็นความจริงที่ว่า “เรามีครูที่ฉลาด และเก่งในด้านเนื้อหาวิชาในสาขาต่าง ๆ มากมายแต่ไม่มีความสามารถในการสอนได้” การเป็นครูที่ดีและมีประสิทธิภาพ ไม่เพียงแต่รู้ในเนื้อหาวิชาของตนแต่จำ�เป็นต้อง สามารถสื่อสารความรู้นั้นต่อผู้เรียน และความสามารถในการเชื่อมโยงมโนทัศน์เชิงนามธรรม เช่น การเชื่อมโยงมโนทัศน์ของจำ�นวนบวกและจำ�นวนลบไปสู่ประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นตัวอย่างหนึ่ง ในความสามารถในการสื่อสารของครู การรอบรู้ในทักษะการสอน การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่ครูต้องการให้ผู้เรียนเรียนกับสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนจริง เรียกว่า การสอน (instruction or pedagogy) การสอนที่มีประสิทธิภาพไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครสักคนที่มี ความรู้มากกว่าไปถ่ายทอดความรู้ต่อให้แก่คนอื่น หากการบอกเป็นการสอนคงไม่จำ�เป็นในการเรียน จิตวิทยาการศึกษาเนื่องจากการสอนที่มีประสิทธิภาพต้องใช้กลวิธีที่หลากหลาย
  • 4. 4 จิตวิทยาการเรียนการสอน สมมุติว่าเราต้องการสอนบทเรียนสถิติแก่ผู้เรียน เพื่อทำ�สิ่งนี้ให้สำ�เร็จเราต้องรู้หลายอย่าง เช่น ต้องแน่ใจแล้วว่าห้องเรียนเป็นระเบียบและผู้เรียนรู้พฤติกรรมที่คาดหวังแล้ว และรู้ว่าผู้เรียนมี ทักษะที่จำ�เป็น (prerequisite skills) ในการเรียนหรือยัง หากยังไม่มีทักษะในการบวกหรือลบเลข จำ�เป็นต้องจัดกิกรรมเพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะเหล่านั้นก่อน และครูจะต้องมั่นใจว่าผู้เรียนมีแรงจูงใจ มีความสนใจในการเรียนวิชานี้ ครูอาจจะใช้เทคนิคทำ�ให้นักเรียนสามารถจดจำ�บทเรียนที่เรียนไป แล้วได้ และเพื่อที่จะทราบว่าผู้เรียนกำ�ลังเรียนรู้ในสิ่งที่สอนไป อาจจะมีการถามคำ�ถามหรือใช้การ สอบย่อย หรือให้ผู้เรียนแสดงความเข้าใจโดยการให้สร้างและทำ�การทดลอง และต้องตอบสนองอย่าง เหมาะสมเมื่อพบว่ามีปัญหา และหลังจากที่จบบทเรียนต้องทบทวนบทเรียนหลายครั้งเพื่อให้แน่ใจ ว่าผู้เรียนสามารถจดจำ�ได้ การจูงใจผู้เรียน การควบคุมกำ�กับชั้นเรียน การประเมินความรู้ก่อนเรียน การสื่อสาร ความคิดอย่างมีประสิทธิภาพ บทเรียนมีความเหมาะสมกับลักษณะผู้เรียน การประเมินผลการเรียนรู้ การทบทวนข้อมูล เหล่านี้เป็นสิ่งที่ครูต้องใส่ใจในทุกระดับของการศึกษาทั้งในและนอกห้องเรียน สิ่งที่ทำ�ให้บางคนกลายเป็นครูที่มีประสิทธิภาพคือความสามารถในการส่งผ่านงานทั้งหมด ที่กล่าวภายในงานการสอน (Burden and Byrd, 2003 อ้างถึงใน Slavin, 2006: 5) และความอบอุ่น ความกระตือรือร้น และการดูแลเอาใจใส่เป็นสิ่งที่จำ�เป็นพอ ๆ กับความรู้ในเนื้อหาวิชา การสอนที่ดีสามารถสอนได้หรือไม่ ? บางคนอาจคิดว่าการเป็นครูที่ดีเป็นพรสวรรค์ที่หลายคนไม่อาจเอื้อมถึงหรือเป็นมาตั้งแต่ เกิด ครูที่มีความโดดเด่นบางครั้งดูราวกับว่ามีเวทมนตร์ นักวิจัยเริ่มต้นศึกษาลักษณะของครูเหล่านี้ และได้ข้อสรุปที่ว่า “ครูเหล่านี้ไม่ได้ทำ�สิ่งใดเลยที่ครูคนอื่น ๆ ไม่สามารถทำ�ได้” แต่เป็นการรู้กฎของการ สอนที่มีประสิทธิภาพและประยุกต์ใช้กฎเหล่านั้น เช่น กฎการควบคุมจัดการชั้นเรียน กฎการควบคุม รักษาสภาพหรือบรรยากาศในการเรียน กฎการจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาด้วยวิธีการที่นุ่มนวล ที่สุด และกฎการแก้ปัญหากับพฤติกรรมเล็ก ๆ ก่อนที่จะเป็นปัญหาพฤติกรรมใหญ่ การอธิบายแนวคิด ที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม ด้วยการให้ตัวอย่างที่หลากหลาย เชื่อมโยงเนื้อหาการสอนสู่พื้นฐานของ ผู้เรียน บอกกฎเกณฑ์ ให้ตัวอย่าง และบอกกฎเกณฑ์อีกครั้ง การสอนที่ดีสามารถสอนได้หรือไม่ คำ�ตอบคือ สอนได้อย่างแน่นอนที่สุด การสอนที่ดีจะต้อง รู้จักสังเกตและฝึกฝน และมีกฎเกณฑ์สำ�คัญในการสอน โดยมีองค์ประกอบดังนี้
  • 5. จิตวิทยาการเรียนการสอน 5 ภาพที่ 1 องค์ประกอบการสอนที่ดี ที่มา : ดัดแปลงจาก Slavin (2006: 6) ครูผู้คำ�นึงถึงเป้าหมายในการสอน (the intentional teacher) ไม่มีกฎสำ�หรับการสอน การสอนประกอบด้วยการวางแผน การตระเตรียม และการ ตัดสินใจจำ�นวนมากในแต่ละชั่วโมง และหนึ่งในคุณลักษณะของครูที่มีความโดดเด่นคือ ความตั้งใจ หรือการจงใจ ซึ่งหมายถึง การกระทำ�สิ่งต่าง ๆ ด้วยเหตุผล อย่างมีเป้าหมาย ครูที่มีความตั้งใจคือ ครูที่คิดเกี่ยวกับผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน และคิดเกี่ยวกับการตัดสินใจในแต่ละครั้งว่ามี ผลต่อเป้าหมายที่ต้องการอย่างไร ครูที่ตั้งใจย่อมรู้ว่าการเรียนรู้สูงสุดไม่ได้เกิดด้วยความบังเอิญ และ แน่นอนว่าเด็กเรียนรู้จากแหล่งต่าง ๆ ที่ไม่ได้วางแผนไว้ แต่สิ่งที่ท้าทายสำ�หรับครูคือการช่วยเหลือให้ ผู้เรียนแต่ละคนได้สร้างมโนทัศน์ จัดระบบและรักษาความรู้ใหม่ ซึ่งครูจะต้องกระทำ�ทุกอย่างอย่างมี เป้าหมาย มีเหตุผล และยืดหยุ่นโดยปราศจากการละเลยต่อเป้าหมายสำ�หรับเด็กทุกคน ครูผู้ตั้งใจจะ ใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย ประสบการณ์ การมอบหมายงาน และสื่อการเรียนเพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียน ความรู้ในเนื้อหาวิชา และ ทรัพยากรในการสอน การตัดสินใจ (decision making) ทักษะการแก้ปัญหาและการคิด อย่างมีวิจารณญาณ ความรู้เกี่ยวกับตนเอง และ การกำ�กับตนเอง (self-knowledge and self-regulation) การสอนที่ดี (good teaching) การสะท้อน (reflection) ความรู้เกี่ยวกับผู้เรียนและการ เรียนรู้ของผู้เรียน การประยุกต์ใช้งานวิจัย ทางด้านการศึกษา (application of education research) ทักษะการสื่อสารและ การสอน
  • 6. 6 จิตวิทยาการเรียนการสอน ได้ประสบความสำ�เร็จในจุดประสงค์ด้านพุทธิปัญญา จากความรู้สู่การนำ�ไปใช้ไปและสู่การสร้างสรรค์ นอกจากนี้ ในขณะเดียวกันผู้เรียนก็กำ�ลังเรียนเป้าหมายทางด้านจิตพิสัย เช่น ความรักในการเรียนรู้ การให้ความเคารพผู้อื่น ความรับผิดชอบส่วนบุคคล ซึ่งครูผู้มีความตั้งใจจำ�เป็นต้องสะท้อนการปฏิบัติ และผลลัพธ์เหล่านี้เสมอ งานวิจัยสะท้อนให้เห็นว่า ตัวทำ�นายที่สำ�คัญที่สุดตัวหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อผู้เรียนคือ ความ เชื่อว่าเขาหรือเธอสามารถสร้างความแตกต่างได้ ความเชื่อดังกล่าวเรียกว่าความเชื่อในประสิทธิภาพ ของครู (teacher efficacy) เป็นระดับความรู้สึกของครูที่ว่าความพยายามของพวกเขาเป็นตัวกำ�หนด ความสำ�เร็จของผู้เรียน (Hensen, 2002; Tschnnen-Moran and Woolfolk Hoy, 2001 อ้าง ถึงใน Slavin, 2006: 7) ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจของครูที่ตั้งใจ ครูที่เชื่อว่าความสำ�เร็จในการเรียนของ ผู้เรียนเกือบทั้งหมดเป็นผลมาจากเชาวน์ปัญญาของผู้เรียน สภาพแวดล้อมทางบ้านหรือปัจจัยอื่น ๆ ที่ครูไม่มีอิทธิพลมักจะทำ�การสอนไม่เหมือนกับครูที่เชื่อว่าความพยายามของเขาเป็นกุญแจสำ�คัญ ของการเรียนรู้ของเด็ก ครูที่ตั้งใจมีความเชื่อมันในอำ�นาจแห่งตนเองเนื่องจากเขาประสบความ สำ�เร็จในการสอนที่ผ่านมา หากพบอุปสรรคในการสอนครูเหล่านี้จะแสวงหาความรู้ในการแก้ปัญหา เกี่ยวกับการสอนนั้น เมื่อกลุ่มของครูที่มีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนมาร่วมกันและ แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันจะกลายเป็นความเชื่อในประสิทธิภาพของครูสะสม (collective efficacy) ซึ่งมีผลต่อความสำ�เร็จของผู้เรียนอย่างมาก นอกจากนี้ ครูจำ�เป็นต้องรู้สิ่งอื่น ๆ อีกมากนอกเหนือ จากเนื้อหาสาระของตนเองซึ่งจะต้องรู้ระดับพัฒนาการและความต้องการของผู้เรียน และจำ�เป็นต้อง เข้าใจว่าการเรียนรู้ ความจำ� ทักษะการแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ เกิดจากอะไร และจะส่งเสริม อย่างไร และจะต้องรู้ว่าจะกำ�หนดจุดมุ่งหมายอย่างไร ออกแบบกิจกรรมอย่างไร ประเมินความก้าวหน้า อย่างไร จูงใจผู้เรียนอย่างไร ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างผู้เรียนอย่างไร เป็นต้น มีการเปรียบเทียบระหว่างครูผู้ชำ�นาญหรือมีประการณ์ในการสอนเป็นเวลายาวนานถึง 20 ปีกับครูผู้มีประสบการณ์สอนเป็นเวลา 1-20 ครั้งว่ามีคุณสมบัติใดที่แตกต่างกันบ้าง และเมื่อพิจารณาอย่างถ้วนถี่จะพบว่าการพัฒนาตนเองเป็นคุณสมบัติที่สำ�คัญ ครูผู้ชำ�นาญจะเป็น นักคิดเชิงวิพากษ์ จะพัฒนาตนเองเสมอ ตรวจสอบการสอนของตนเอง อ่านและเข้าร่วมการประชุม เพื่อให้ได้รับสิ่งใหม่ ๆ เปิดรับแนวคิดใหม่ และมองการสอนของตนอย่างพินิจพิเคราะห์ ใช้การตอบ สนองของผู้เรียนเป็นแนวทางในการตัดสินใจเกี่ยวกับการสอนของตนเสมอ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นครูผู้มี ประสบการณ์ในการสอนอย่างแท้จริง
  • 7. จิตวิทยาการเรียนการสอน 7 บทบาทของการวิจัยในการแสวงหาความรู้ด้านจิตวิทยาการเรียนการสอน ครูที่ตั้งใจมักจะเข้าชั้นเรียนพร้อมด้วยเครื่องมือเกี่ยวกับความรู้ในการวิจัยทางจิตวิทยา การศึกษา นักจิตวิทยาการศึกษาค้นพบและพัฒนาหลักการในการสอนและการเรียนรู้ซึ่งเป็น ประโยชน์ในการปฏิบัติของครู และจะทำ�การวิจัยเกี่ยวกับธรรมชาติผู้เรียน หลักการเรียนรู้และ วิธีการสอนที่ให้ข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการเพื่อเป็นเครื่องมือในการสอน และขณะนี้ ปัญหาสำ�คัญที่นักจิตวิทยาการศึกษาเผชิญอยู่คือเกือบทุกคนเชื่อว่าตนเองเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขา วิชาจิตวิทยาการศึกษา ความจริงคือทุกคนเป็นนักจิตวิทยาการศึกษาสมัครเล่นกันทุกคน เป้าหมายของการวิจัยในทางจิตวิทยาการเรียนการสอน เป้าหมายของการวิจัยในจิตวิทยาการเรียนการสอนคือ การตรวจสอบอย่างระมัดระวังเกี่ยวกับ ประเด็นข้อสงสัยหรือคำ�ถามต่าง ๆ ในด้านการเรียนการสอนทั้งที่ชัดเจนและไม่ชัดเจน ผลผลิตของ การวิจัย คือ หลักการ (principle) กฎ (law) และทฤษฎี (theory) หลักการอธิบายความสัมพันธ์ ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ผลของการให้เกรดระบบ alternative gladding system ต่อ การจูงใจผู้เรียน กฎเป็นหลักการที่ง่าย ๆ ที่ได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดแล้วและพบว่าสามารถ ใช้อธิบายการเรียนรู้ พฤติกรรม และสิ่งที่สนใจได้อย่างกว้างขวาง ทฤษฎีเป็นการจัดรวมกฎเกณฑ์ ต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบเพื่อทำ�ให้ได้ภาพที่กว้างขวางขึ้นในการมอง อย่างไรก็ตาม ความจริง และหลักการเดียวกันอาจถูกตีความหมายแตกต่างกันได้ในมุมมองของทฤษฎีที่แตกต่างกันได้ ดังนั้น ความก้าวหน้าในศาสตร์ด้านจิตวิทยาการศึกษาเป็นไปค่อนข้างช้าเช่นเดียวกับศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ ทั่วไป คุณค่าของการวิจัยทางจิตวิทยาการศึกษาต่อตัวครู โดยปกติครูทำ�การตัดสินใจมากมายและหลากหลายในแต่ละวัน และแต่ละการตัดสินใจล้วน มีทฤษฎีเบื้องหลัง แม้ว่าครูจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ทฤษฎีที่ถูกต้อง เป็นประโยชน์ และมีคุณภาพล้วนเป็น คุณค่าที่สำ�คัญของการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการศึกษาทั้งสิ้น รูปแบบการวิจัยทางจิตวิทยาการเรียนการสอน 1. การวิจัยเชิงทดลอง (experiments) ในการวิจัยเชิงทดลอง นักวิจัยสามารถสร้างหรือ จัดให้กลุ่มทดลองรับสิ่งทดลอง (treatment) หรือสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาผลซึ่งก็คือตัวแปรอิสระ (independent variable) นั่นเอง ผู้วิจัยสามารถนำ�ผลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อดูผลของสิ่งทดลองต่อ
  • 8. 8 จิตวิทยาการเรียนการสอน ตัวแปรตาม (dependent variable) ในการทดลองของ Lepper, Greene, Nisbett (1973 อ้าง ถึงใน Slavin, 2006) เป็นตัวอย่างงานวิจัยเชิงทดลองที่คลาสสิก เป็นการทดลองเพื่อศึกษาผล ของรางวัลที่มีต่อการจูงใจของเด็ก โดยจัดให้ผู้รับการทดลองใช้ปากกามาร์คเกอร์วาดรูป กลุ่มทดลอง ได้รับรางวัลเมื่อวาดภาพเสร็จสิ้น (a good player award) ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับรางวัลหลังจาก วาดภาพ ในช่วงท้ายของการทดลองให้ผู้รับการทดลองทั้งหมดมีโอกาสเลือกทำ�กิจกรรมวาดภาพ ผลการศึกษาพบว่า เด็กที่ได้รางวัลในกลุ่มทดลองวาดภาพด้วยปากกาเช่นเดิมลดลงครึ่งหนึ่งเมื่อ เทียบกับกลุ่มควบคุม จากการทดลองดังกล่าวสรุปได้ว่า การให้รางวัลในกิจกรรมที่ชอบเป็นการ ลดความสนใจในกิจกรรมนั้นเมื่อไม่มีรางวัล องค์ประกอบของการวิจัยเชิงทดลองที่สำ�คัญคือ 1) มีการสุ่มเพื่อรับการทดลอง (random assignment) ทั้งนี้เพื่อเป็นการควบคุมให้เกิดความเท่าเทียมกันในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และ 2) การควบคุมสถานการณ์อื่น ๆ ให้เหมือนกันทั้ง 2 กลุ่ม เช่น เล่นในห้องเดียวกันแต่แตกต่าง เพียงรางวัลเท่านั้น ประเภทของการวิจัยเชิงทดลองมี 3 ประเภท ได้แก่ 1.1 การทดลองในห้องปฏิบัติการ(laboratory experiments) เป็นการทดลองใน สภาพการณ์ที่สร้างขึ้นและควบคุมอย่างเคร่งครัด ตัวอย่างการวิจัยเชิงทดลองในห้องปฏิบัติการ เช่น การศึกษาของ Lepper, Greene, Nisbett ข้อดีของงานวิจัยแบบนี้คือ มีความตรงภายในของการ วิจัย (internal validity) สูงแต่มีข้อจำ�กัดคือขาดความสามารถในการอ้างอิงไปสู่สถานการณ์ใน ชิวิตจริงได้ 1.2 การทดลองในสภาพการณ์จริง (randomized field experiments) เป็นการ ทดลองในสภาพการณ์จริง เป็นการทดลองโปรแกรมหรือรูปแบบการสอนต่าง ๆ เป็นระยะเวลา นาน ในห้องเรียนจริงภายใต้สภาพการณ์จริง เช่น การทดลองของ Pinnell, Lyons, DeFord, Bryk และ Seltzer (1994 อ้างถึงใน Slavin, 2006) ได้ทดลองวิธีสอนการอ่าน 4 วิธี ต่อผลการอ่านของ ผู้เรียนเกรด 1 ที่มีปัญหาด้านการอ่าน หนึ่งในรูปแบบนั้นคือรูปแบบการสอนตัวต่อตัว โดยท�ำการ ทดลองในโรงเรียน 10 โรงเรียนที่ได้รับการพิจารณาแล้วว่ามีผลการอ่านต�่ำสุด การเลือกกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมใช้การสุ่ม 4 โรงเรียนเป็นกลุ่มทดลองได้รับการสอนเพื่อพัฒนาการอ่าน และ อีก 6 โรงเรียนเป็นกลุ่มควบคุมได้รับการสอนในโปรแกรมการอ่านทั่วไป หลังจากนั้นอีก 4 เดือน ได้ตรวจสอบพบว่ากลุ่มทดลองมีผลการอ่านดีกว่ากลุ่มควบคุม และทดสอบหลังจากนั้นอีก 8 เดือน พบว่ากลุ่มทดลองยังคงมีผลการอ่านดีกว่ากลุ่มควบคุม การทดลองทั้ง 2 แบบมีลักษณะเหมือนและแตกต่างกัน กล่าวคือ การทดลองทั้งสองมี การสุ่มซึ่งทำ�ให้เกิดความเท่าเทียมกันก่อนการทดลอง แต่การทดลองในห้องปฏิบัติการจะใช้เวลา
  • 9. จิตวิทยาการเรียนการสอน 9 ในการทดลองสั้นกว่า ดังนั้น เป้าหมายของการวิจัยทั้งสองจึงแตกต่างกัน การทดลองในห้องปฏิบัติ การมีเป้าหมายเพื่อตรวจสอบทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา ขณะที่การทดลองในสนามแบบสุ่มมี เป้าหมายเพื่อตรวจสอบหรือประเมินการนำ�โปรแกรมต่าง ๆ ไปใช้ในสภาพการณ์จริง ดังนั้นอาจกล่าว ได้ว่าการทดลองในสนามแบบสุ่มมีความตรงภายนอกสูงกว่า (external validity) 1.3 การทดลองเชิงเดี่ยว (single-case experiments) เป็นการสังเกตพฤติกรรมของ ผู้รับการทดลองเป็นเวลานาน จากนั้นให้สิ่งทดลอง (treatment) ที่เป็นโปรแกรมพิเศษและสังเกต พฤติกรรมภายใต้เงื่อนไขการทดลองที่จัดให้ จากนั้นจะมีการถอดถอนเงื่อนไขการทดลองใหม่นั้น ออกไปเพื่อดูพฤติกรรม หากพฤติกรรมที่ต้องการสังเกตพัฒนาขึ้นระหว่างให้เงื่อนไขการทดลอง และลดลงระหว่างการถอดถอนเงื่อนไขการทดลองแสดงว่าเงื่อนไขการทดลองนั้นมีผลต่อพฤติกรรม บางครั้งการทดลองเชิงเดี่ยวอาจเป็นนักเรียนหลายคน ห้องเรียนทั้งหมด หรืออาจเป็นทั้งโรงเรียนก็ได้ ซึ่งจะรับเงื่อนไขการทดลองเดียวกัน ตัวอย่างการทดลองเชิงเดี่ยวที่เป็นตัวอย่างที่ดีได้ตัวอย่างหนึ่ง คือการทดลองของ Barrish, Saundeas, Wolf (1969 อ้างถึงใน Slavin, 2006) ได้ทดลองโปรแกรม good behavior game ต่อพฤติกรรมการพูดคุยโดยไม่ขออนุญาต กรณีที่ศึกษาเป็นชั้นเรียนเกรด 4 ในช่วงแรกได้บันทึกพฤติกรรมการพูดคุยโดยไม่ขออนุญาตระหว่างการเรียนการอ่านและคณิตศาสตร์ หลังจากนั้นอีก 10 วัน ได้เริ่มให้เงื่อนไขการทดลอง โดยได้แบ่งห้องเรียนเป็น 2 กลุ่มใหญ่ หาก มีนักเรียนคนใดในกลุ่มแสดงพฤติกรรมพูดคุยขณะเรียนจะถูกเช็กตลอด ในแต่ละวันหากกลุ่มใด ถูกเช็คน้อยกว่า 5 ครั้ง จะได้รับเวลาว่าง 30 นาที ข้อจำ�กัด ที่สำ�คัญของการทดลองเชิงเดี่ยวคือสามารถศึกษาได้เฉพาะพฤติกรรมที่สามารถ สังเกตได้ และเป็นพฤติกรรมที่วัดเป็นความถี่ได้ เช่น การพูดคุยเสียงดังในชั้นเรียน การลุกออกจากที่ โดยไม่ขออนุญาตขณะเรียนหนังสือ ต่อไปเป็นรูปภาพแสดงการทดลองเชิงเดี่ยว
  • 10. 10 จิตวิทยาการเรียนการสอน ภาพที่ 2 รูปแบบการวิจัยแบบการทดลองเชิงเดี่ยว (single-case experiments) ที่มา : Barrish, Saundeas, Wolf (1969 อ้างถึงใน Slavin, 2006: 19) 2. การวิจัยเชิงสหสัมพันธ (corelational research) การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์เป็น การปรับเปลี่ยนตัวแปรหนึ่งเพื่อดูว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะมีผลต่อตัวแปรอื่นอย่างไร ในการ วิจัยเชิงสหสัมพันธ์ผู้วิจัยดูว่าตัวแปรมีความสัมพันธ์กันหรือไม่อย่างไร ซึ่งอาจเป็นความสัมพันธ์เชิง บวก (เช่น ผลสัมฤทธิ์ในการอ่านมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางคณิตศาสตร์) ความสัมพันธ์ เชิงลบ (เช่น วันที่ขาดเรียนกับเกรดในการเรียนวิชานั้น) หรือไม่มีความสัมพันธ์เลย (ผลการเรียน
  • 11. จิตวิทยาการเรียนการสอน 11 นิสิตคณะครุศาสตร์ กับผลการเรียนนิสิตคณะวิทยาศาสตร์) ตัวอย่างการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ที่ คลาสสิก คือการศึกษาของ Lahaderne (1968 อ้างถึงใน Slavin, 2006) โดยได้ศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างความใส่ใจการเรียน ในชั้น (การฟังครูสอน และการทำ�งานตามที่มอบหมาย) กับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและคะแนนเชาวน์ปัญญาของผู้เรียน ได้ศึกษาผู้เรียนจำ�นวน 125 คน เกรด 6 จำ�นวน 4 ชั้นเรียน เขาศึกษาว่าผู้เรียนใส่ใจในการเรียนมากเท่าใด และศึกษาว่ามีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ด้าน การอ่าน ด้านภาษา และด้านเรขาคณิตอย่างไร และศึกษาความสัมพันธ์ว่ามีความสัมพันธ์กับคะแนน เชาวน์ปัญญาและเจตคติต่อโรงเรียนอย่างไร ประโยชน์ของการศึกษาเชิงสหสัมพันธ์ที่สำ�คัญคือ การเปิดโอกาสให้นักวิจัยศึกษาตัวแปร ต่าง ๆ ตามสภาพจริง บางคำ�ถามการวิจัยสามารถหาคำ�ตอบได้จากการใช้งานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ เท่านั้น เช่น เพศกับผลการเรียนคณิตศาสตร์ และประโยชน์อีกประการคือสามารถศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างกันของตัวแปรหลาย ๆ ตัวได้ ข้อด้อยของการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์คือ ความสัมพันธ์ไม่สามารถบอกได้ว่าตัวแปรใดเป็น สาเหตุ การอธิบายผลการวิจัยของ Lahaderne สามารถอธิบายได้ 2 แบบ คือ แบบที่ 1 ความใส่ใจในการเรียนเป็นสาเหตุคะแนนผลการเรียนที่สูงขึ้น แบบที่ 2 เชาวน์ปัญญาเป็นตัวกำ�หนดความใส่ใจในการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3. การวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive research) เป็นงานวิจัยที่มุ่งบรรยายสิ่งที่สนใจ ศึกษา ใช้การสอบถามหรือการสัมภาษณ์ การสังเกตในบริบททางด้านสังคมต่าง ๆ เช่น ในชั้นเรียน หรือในโรงเรียน การศึกษาของ Jonathan Kozol (1991 อ้างถึงใน Slavin, 2006) ได้บรรยายสภาพ โรงเรียนที่มีทุนสนับสนุนดีกับที่มีทุนสนับสนุนไม่ดี ทำ�ให้ทราบสภาพความไม่เท่าเทียมกันด้านระบบ การศึกษาในสหรัฐอเมริกา อาจกล่าวได้ว่างานวิจัยเชิงบรรยายเป็นรูปแบบงานวิจัยที่พัฒนาขึ้นเพื่อ การตอบคำ�ถามในรายละเอียดและการตีความ การศึกษาของ Piaget (1952 อ้างถึงใน Slavin, 2006) นักจิตวิทยาพัฒนาการที่โด่งดัง และสามารถสร้างทฤษฎีพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาเป็นหนึ่งในรูปแบบการวิจัยเชิงบรรยาย เขา พยายามบรรยายลักษณะของเด็กที่มีอายุแตกต่างกัน ผลการวิจัยดังกล่าวให้กำ�เนิด ทฤษฎีพัฒนาการ ทางเชาวน์ปัญญาตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยรุ่น 4. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) เป็นรูปแบบเฉพาะของการวิจัยเชิง บรรยายรูปแบบหนึ่ง ซึ่งทำ�โดยนักการศึกษาในชั้นเรียนหรือโรงเรียนของตน ในการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ครู นักวิจัย หรือครูใหญ่ อาจทดลองวิธีการสอนใหม่ ๆ หรือกลยุทธ์การจัดการโรงเรียนแบบใหม่ ๆ
  • 12. 12 จิตวิทยาการเรียนการสอน โดยเก็บข้อมูลว่าผลการทดลองเป็นอย่างไร และเผยแพร่ต่อบุคคลอื่น เนื่องจากบุคคลที่เข้าร่วมหรือ อยู่ในการทดลองเป็นตัวของครู นักวิจัย หรือครูใหญ่เอง ดังนั้น การวิจัยเชิงปฏิบัติการจึงขาดความ เป็นปรนัยในด้านการวิจัยเนื่องจากไม่แน่ใจในด้านการตรวจสอบผลการวิจัยว่าจะคงที่หรือไม่นั่นเอง
  • 13. จิตวิทยาการเรียนการสอน 13 คำ�ถามท้ายบท 1. จิตวิทยาการศึกษาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับอะไร ? 2. จิตวิทยาการเรียนการสอนเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับอะไร มีความเกี่ยวข้องกับจิตวิทยา การศึกษาอย่างไร ? 3. จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างพฤติกรรมภายนอก 4. จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างพฤติกรรมภายใน 5. จงอธิบายความสำ�คัญของศาสตร์ด้านจิตวิทยาการศึกษา 6. การสอนเป็นเพียงการบอกความรู้ใช่หรือไม่ เพราะเหตุใด ? 7. Intentional teacher หมายถึงอะไร และมีองค์ประกอบใดที่ส่งผลดังกล่าว ? 8. ตามแนวคิดของท่านองค์ประกอบของครูที่มีประสิทธิภาพควรเป็นอย่างไร ? 9. การวิจัยทางจิตวิทยาการศึกษาควรมีเป้าหมายอย่างไร ? 10. จงอธิบายจุดเด่น จุดด้อยของการศึกษาของ Lepper, Greene, Nisbett (1973) 11. จงอธิบายจุดเด่น จุดด้อยการศึกษาของ Pinnell, Lyons, Deford, Bryk, Seltzer (1994) 12. จงอธิบายจุดเด่น จุดด้อยการศึกษาของ Barrish, Saunders, Wolf (1969) 13. จงอธิบายจุดเด่น จุดด้อยการศึกษาของ Lahadern (1994)