SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 21
Descargar para leer sin conexión
คำสอนหลวงพ่อชำ
วัดหนองป่ ำพง
อุบลรำชธำนี
อาตมาเคยเห็นหมาตัวหนึ่ง เอาข้าวให้มันกิน
มันกินแล้วกินไม่หมด มันก็นอนเฝ้าอยู่ตรงนั้น อิ่มจนกินไม่ได้แล้ว ก็ยังนอนเฝ้าอยู่ตรงนั้นแหละ นอนซึม
ประเดี๋ยวก็ชาเลืองตาดูอาหารที่เหลือ ถ้าหมาตัวอื่นจะมากินไม่ว่าตัวเล็กตัวใหญ่ก็ขู่
โอ้!...ไก่จะมากินก็โฮ่งๆๆ ท้องจะแตกอยู่แล้ว จะให้เขากินก็ไม่ได้ หวงไว้
มาดูคนเหมือนกัน ถ้าไม่รู้จักธัมมะธัมโมก็ไม่รู้จักผู้น้อยผู้ใหญ่ ถูกกิเลสคือ โลภะ โทสะ โมหะ
เข้าครอบงาจิตใจ แม้จะมีสมบัติมากมายก็หวงไว้ ไม่รู้จักเฉลี่ยเจือจาน
แม้แต่จะให้ทานแก่เด็กยากจนหรือคนชราที่ไม่มีจะกินก็ยาก
อาตมามาคิดดูว่า มันเหมือนสัตว์จริงหนอ
คนพวกนี้ไม่มีคุณสมบัติของมนุษย์เลย พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า
มนุษย์เดรัจฉาโน มนุษย์เหมือนสัตว์เดรัจฉาน เป็นอย่างนั้น
เพราะขาดความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ฉะนั้น การที่สงบนี่ เราจะต้องพิจารณาสมาธิ ก็สงบแบบหนึ่ง แบบหินทับหญ้า
หลายวันไปยกหินออกจากหญ้า หญ้าก็เกิดขึ้นอีก นี่สงบชั่วคราว
สงบด้วยปัญญาคือไม่ยกหินออก ทับมันอย่างนั้นแหละ หญ้ามันเกิดไม่ได้
นี่เรียกว่าสงบแท้ สงบกิเลสแน่นอน นี่เขาเรียกว่าปัญญา
ตัวปัญญากับตัวสมาธินี้ เมื่อเราพูดแยกกันออกก็คล้ายๆคนละตัว
ไอ้ความเป็นจริงมันตัวเดียวกันนั่นเองแหละ
ตัวปัญญานี่มันเป็นเครื่องเคลื่อนไหวของสมาธิเท่านั้น
มันออกจากจิตอันนี้เอง แต่มันแยกกันออกไป
เข้าใจว่าอย่างนั้น มันเป็นคนละลักษณะ
ขณะนี้เรานั่งอยู่ในป่าที่สงบ ที่นี่ไม่มีลม ใบไม้จึงนิ่ง
เมื่อใดที่มีลมพัด ใบไม้จึงไหวปลิว จิตก็ทานองเดียวกับใบไม้
เมื่อสัมผัสกับอารมณ์มันก็สะเทือนไปตามธรรมชาติของจิต
เรายิ่งรู้ธรรมะน้อยเพียงไร ใจก็จะรับความสะเทือนได้มากเพียงนั้น
รู้สึกเป็นสุข ก็ตายด้วยความสุข รู้สึกเป็นทุกข์
ก็ตายด้วยความทุกข์อีก มันจะไหลไปเรื่อย ๆ
คาสอนของพระ ตรง ง่าย แต่ยากกับคนที่จะปฏิบัติ
เพราะรู้ไม่ถึง เหมือนกับรู
คนตั้งร้อยพันคนโทษว่ารูมันลึก
เพราะล้วงไปไม่ถึง ที่จะว่าแขนของตนสั้นไม่ค่อยมี
พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนไม่ให้ทาบาปทั้งปวง
เราข้ามไปพากันทาบุญ
แต่ไม่พากันละบาป ก็เท่ากับว่ารูมันลึก
ที่จะว่าแขนของตนสั้นนั้นไม่มี
ทิฏฐิ คือ ความเห็นและความนึกคิดเกี่ยวกับสิ่งทั้งปวง
เกี่ยวกับตัวเขาเอง เกี่ยวกับการปฏิบัติภาวนา
เกี่ยวกับคาสอนของพระพุทธเจ้า หลาย ๆ ท่านที่มาที่นี่
มีตาแหน่งการงานสูงในสังคม บางคนเป็นพ่อค้าที่มั่งคั่ง
หรือได้ปริญญาต่าง ๆ ครูและข้าราชการ
สมองของเขาเต็มไปด้วยความคิดเห็นต่อสิ่งต่าง ๆ
เขาฉลาดเกินกว่าที่จะฟังผู้อื่น
เปรียบเหมือนน้าในถ้วย ถ้าถ้วยมีน้าสกปรกอยู่เต็ม
ถ้วยนั้นก็ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้
เมื่อได้เทน้าเก่านั้นทิ้งไปแล้วเท่านั้นถ้วยนั้นก็จะใช้ประโยชน์ได้
ท่านต้องทาจิตให้ว่างจากทิฏฐิ แล้วท่านจึงจะได้เรียนรู้
การปฏิบัติของเรานั้นก้าวเลยความฉลาดหรือความโง่
ถ้าท่านคิดว่า
'ฉันเก่ง ฉันรวย ฉันเป็นคนใหญ่คนโต
ฉันเข้าใจพระพุทธศาสนาแจ่มแจ้งทั้งหมด' เช่นนี้แล้ว
ท่านจะไม่เห็นความจริงในเรื่องของอนัตตาหรือความไม่ใช่ตัวตน
ท่านจะมีแต่ตัวตน ตัวฉัน ของฉัน
แต่พระพุทธศาสนาคือการละตัวตน
เป็นความว่าง เป็นความไม่มีทุกข์
เป็นความดับสนิท คือ นิพพาน
เปรียบกับเด็กที่ซุกซน เล่นสนุก
ทาให้ราคาญจนเราต้องดุเอา ตีเอา
แต่เราก็ต้องเข้าใจว่าธรรมชาติของเด็กก็เป็นอย่างนี้เอง
พอรู้อย่างนี้ เราก็ปล่อยให้เด็กเล่นไปตามเรื่องของเขา
ความเดือดร้อนราคาญของเราก็หมดไป
เพราะเรายอมรับธรรมชาติของเด็ก
ความรู้สึกของเราจึงเปลี่ยนไป
เรายอมรับธรรมชาติของสิ่งทั้งหลาย
เราปล่อยวางได้
จิตของเราก็มีความสงบเยือกเย็น
นี่เรามีความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว
เป็นสัมมาทิฏฐิ
ทีนี้ก็หมดปัญหาที่จะต้องแก้
อะไรทุกอย่างถ้าเรายังไม่เห็นโทษมันเราก็ละมันไม่ได้
มันจะชั่วขนาดไหนก็ละมันไม่ได้ถ้าเรายังไม่ได้เห็นโทษอย่างจริงจัง
แต่เมื่อเราเห็นโทษอย่างแน่นอนจริงๆนั่นแหละ
สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นเราถึงจะปล่อยได้วางได้
พอเห็นโทษอย่างแน่นอนจริงๆ พร้อมกระทั่งเห็นประโยชน์
ในการกระทาอย่างนั้นในการประพฤติอย่างนั้น
เปลี่ยนขึ้นมาทันทีเลย อันนี้คนเราประพฤติปฏิบัติอยู่
ทาไมมันยังไปไม่ได้ ทาไมมันถึงวางไม่ได้
คือมันยังไม่เห็นโทษอย่างแน่ชัด
คือยังไม่รู้แจ้งนี่แหละ รู้ไม่ถึงหรือรู้มืด
มันจึงละไม่ได้
คนสองคนเห็นเป็ดตัวหนึ่ง ไก่ตัวหนึ่ง
คนหนึ่งคิดอยากจะให้ไก่เป็นเป็ด
เป็ดเป็นไก่ มันก็เป็นไปไม่ได้
ในชั่วชีวิตหนึ่งมันก็ไม่เป็นให้ ถ้าคนนี้คิดอย่างนี้ไม่หยุดก็ต้องทุกข์
คนที่สองเห็นเป็ดก็เป็นเป็ด ไก่ก็เป็นไก่ นั่นแหละ
ปัญหาไม่มี เห็นถูกแล้วไม่ทุกข์ อย่างนี้ก็เหมือนกัน
อนิจจังเป็นของไม่เที่ยง อยากให้มันเที่ยง เมื่อมันไม่เที่ยงเมื่อไร ก็เสียใจเมื่อนั้น
ถ้าใครเห็นว่าอนิจจังเป็นของไม่เที่ยงอย่างนั้น คนนั้นก็สบาย ไม่มีปัญหา
ตั้งแต่วันที่เราเกิดมา เราเดินหนีจากความจริง ไม่อยากจะให้เป็นอย่างนี้
ห้ามมันก็ไม่ได้ มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนี้ จะให้เป็นอย่างอื่นมันก็เป็นไม่ได้
เหมือนกับเป็ดจะให้มันเหมือนไก่ มันก็ไม่เหมือน
เพราะมันเป็นเป็ด ไก่จะให้เหมือนเป็ด ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะมันเป็นไก่
ถ้าใครคิดก็ทุกข์ ถ้าคิดว่า "เออ! มันก็เป็นของมันอย่างนั้น"
คิดเช่นนี้เราจะมีกาลัง
เพราะสกนธ์ร่างกายนี้จะให้มันยืนนานถาวรไปเท่าไร ๆ ก็ไม่ได้
เรามาทาจิตของเราให้เป็นผู้รู้ตื่นอยู่ คอยรักษาจิตของเราอยู่
ถ้าแขกมาเมื่อไรโบกมือห้าม มันจะมานั่งที่ไหน
มีที่นั่งเดียวเท่านั้น เราก็พยายามรับแขกอยู่ตรงนี้ตลอดวัน
นี่คือพุทโธ ตัวตั้งมั่นอยู่ที่นี่ ทาความรู้นี้ไว้ จะได้รักษาจิต
เรานั่งอยู่ตรงนี้ แขกที่เคยมาเยี่ยมเราตั้งแต่เราเกิดตัวเล็กๆ โน้น
มาทีไรก็มาที่นี่หมด เราจึงรู้จักมันหมดเลย พุทโธอยู่คนเดียว
พูดถึงอาคันตุกะ แขกที่จรมาปรุงแต่งต่างๆ นานา
เราให้เป็นไปตามเรื่องของมัน
อาการของจิตที่เป็นไปตามเรื่องของมันนี่แหละเรียกว่า เจตสิก
มันจะเป็นอะไร จะไปไหนก็ช่างมัน ให้เรารู้จักอาคันตุกะที่มาพัก
ที่รับแขกมีเก้าอี้ตัวเดียวเท่านี้เอง เราเอาผู้หนึ่งไปนั่งไว้แล้ว มันก็ไม่มีที่นั่ง
มันมาที่นี่ มันก็จะมาพูดกับเรา ครั้งนี้ไม่ได้นั่ง ครั้งต่อไปก็จะมาอีก
มาเมื่อไรก็พบผู้ที่นั่งอยู่ ไม่หนีสักที
มันจะทนมากี่ครั้ง เพียงพูดกันอยู่ที่นั่น เราก็จะรู้จักหมดทุกคน
พวกที่ตั้งแต่เรารู้เดียงสาโน้น มันจะมาเยี่ยมเราหมดนั่นแหละ
เปรียบเหมือนหมอยายื่นขวดยาให้คนไข้ ข้างนอกขวดเขาเขียนบอกสรรพคุณของยาไว้ว่าแก้โรคชนิดนั้นๆ
ส่วนตัวยาแก้โรคนั้นอยู่ข้างในขวด คนไข้มัวอ่านสรรพคุณของยาที่ติดไว้ข้างนอกขวด
อ่านไปตั้งร้อยครั้ง พันครั้ง คนไข้ผู้นั้นจะต้องตายเปล่า
โดยไม่ได้รับประโยชน์จากตัวยานั้นเลย แล้วเขาจะมาตีโพยตีพายว่าหมอไม่ดี
ยาไม่มีสรรพคุณ แก้โรคไม่ได้ ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่เคยเปิดจุดขวดกินยานั้นเลย
ที่เราทาความสงบโดยสมาธินี้
มันสงบจิต มันไม่ใช่สงบกิเลส ไม่ใช่สงบกิเลสหรอก
มันนั่งทับมันไปให้มันสงบเฉยเหมือนกับหินทับหญ้า
พอหญ้ามันมีเอาหินมาทับมัน
ก็ดับไปเพราะหินทับมัน
อีกสามสี่ห้าวันหกเจ็ดวัน
มายกหินออก หญ้ามันก็เกิดขึ้นอีก
นี่แปลว่านั่นหญ้ามันยังไม่ตาย
คือมันระงับ มันสงบจิต
ไม่ใช่สงบกิเลส
นี่เรื่องสมาธิจึงเป็นของไม่แน่นอน
อัตตานี้ก็เหมือนกัน
ถ้าเราเข้าใจว่าตัวของเรา ตนของเรา
สภาพสิ่งแวดล้อมนั้นมันก็เป็นของตนไปด้วย ของเราไปด้วย
มันก็เลยวุ่นขึ้นไป เพราะอะไร ต้นเหตุคือมันมีตัวมีตน
ไม่ได้เพิกสมมุติอันนี้ออกให้เห็นวิมุตติ
ตัวตนนี้มันเป็นของสมมุติ
ให้เพิกให้รื้อสมมุติอันนี้ออกให้เห็นแก่นของมัน คือวิมุตติ
พลิกสมมุติอันนี้กลับให้เป็นวิมุตติ อันนี้ถ้าเปรียบกับข้าว
ก็เรียกว่าข้าวยังไม่ได้ซ้อม ข้าวนั้นกินได้ไหม กินได้
แต่เราไปปฏิบัติมันซิ คือให้เอาไปซ้อมมัน
ให้ถอดเปลือกออกไปเสีย มันก็จะเจอข้าวสารอยู่ตรงนั้นแหละ
ทีนี้ถ้าเราไม่ได้สีมันออกจากเปลือกของมันก็ไม่เป็นข้าวสาร
การนั่งสมาธิ นั่งให้ตัวตรง อย่าเงยหน้ามากไป อย่าก้มหน้าเกินไป เอาขนาดพอดี
เหมือนพระพุทธรูปนั่นแหละมันจะสว่างไสวดี ครั้นจะเปลี่ยนอิริยาบทก็ให้อดทนจนถึงขีดสุดเสียก่อน
ปวดก็ให้ปวดไป อย่าเพิ่งรีบเปลี่ยน อย่าคิดว่า "บ๊ะ ไม่ไหวแล้ว พักก่อนเถอะน่า“
อดทนมันจนปวดถึงขนาดก่อน พอมันถึงขนาดนั้นแล้วก็ให้ทนต่อไปอีก ทนต่อไปๆ
จนมันไม่มีแก่ใจจะว่า "พุทโธ"เมื่อไม่ว่า"พุทโธ“ก็เอาตรงที่มันเจ็บนั้นแหละมาแทน"อุ๊ย เจ็บ เจ็บแท้ๆหนอ“
เอาเจ็บนั้นมาเป็นอารมณ์แทน "พุทโธ“ก็ได้ กาหนดให้ติดต่อกันไปเรื่อยๆ
นั่งไปเรื่อย ดูซิว่าเมื่อปวดจนถึงที่สุดแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น
พระพุทธเจ้าท่านว่า มันเจ็บเองมันก็หายเอง ให้มันตายไปก็อย่าเลิก
บางครั้งมันเหงื่อแตกเม็ดโป้งๆ เท่าเม็ดข้าวโพดไหลย้อยมาตามอก
ถ้าครั้นทาจนมันได้ข้ามเวทนาอันหนึ่งแล้ว มันก็รู้เรื่องเท่านั้นแหละ ให้ค่อยทาไปเรื่อยๆ อย่าเร่งรัดตัวเองเกินไป
หลวงพ่อชา สุภัทโท
ความเป็นจริงหลักธรรมะท่านสอนให้พวกเราทั้งหลายปฏิบัติเพื่อเห็นอนัตตา
คือเห็นตัวตนนี้ว่ามันเป็นของว่าง ไม่ใช่เป็นของมีตัวตน
เป็นของว่างจากตัวตน แต่เราก็มาเรียนกันให้มันเป็นตัวเป็นตน
ก็เลยไม่อยากจะให้มันทุกข์ ไม่อยากจะให้มันลาบาก
อยากจะให้มันสะดวก อยากจะให้มันพ้นทุกข์
ถ้ามีตัวมีตนมันจะพ้นทุกข์เมื่อไร ดูซิอย่างเรามีของชิ้นหนึ่ง
ที่มีราคามาก เมื่อเราได้รับมาเป็นของเราแล้วเปลี่ยนเสีย
จิตใจเปลี่ยนแล้ว ต้องหาที่วางมันจะเอาไว้ตรงไหนดีหนอ
เอาไว้ตรงนั้นขโมยมันจะย่องเอาไปละมั้ง
คิดจนเลิกคิดแล้วหาที่ซ่อนของนะ แล้วจิตมันเปลี่ยนเมื่อไร
มันเปลี่ยนเมื่อเราได้วัตถุอันนี้เองทุกข์แล้ว
เอาไว้ตรงนี้ก็ไม่ค่อยสบายใจ เอาไว้ตรงนั้นก็ไม่ค่อยสบายใจ
เลยวุ่นกันจนหมดแหละ นั่งก็ทุกข์ เดินก็ทุกข์ นอนก็ทุกข์
นี่ทุกข์เกิดขึ้นมาแล้ว มันเกิดเมื่อไร มันเกิดในเมื่อเราเข้าใจว่า
ของของเรา มันมีมาแล้ว ได้มาแล้ว ทุกข์อยู่เดี๋ยวนี้
แต่ก่อนไม่มี มันก็ไม่เป็นทุกข์ ทุกข์ยังไม่เกิด ไม่มีอะไรเกิดขึ้นที่จะจับมัน
อะไรทุกอย่างถ้าเรายังไม่เห็นโทษมัน เราก็ละมันไม่ได้
มันจะชั่วขนาดไหนก็ละมันไม่ได้ถ้าเรายังไม่ได้เห็นโทษอย่างจริงจัง แต่เมื่อเราเห็นโทษอย่างแน่นอนจริงๆนั่นแหละ
สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นเราถึงจะปล่อยได้วางได้ พอเห็นโทษอย่างแน่นอนจริงๆ พร้อมกระทั่งเห็นประโยชน์ในการกระทาอย่างนั้น
ในการประพฤติอย่างนั้น เปลี่ยนขึ้นมาทันทีเลย อันนี้คนเราประพฤติปฏิบัติอยู่ทาไมมันยังไปไม่ได้ ทาไมมันถึงวางไม่ได้
คือมันยังไม่เห็นโทษอย่างแน่ชัด คือยังไม่รู้แจ้งนี่แหละ รู้ไม่ถึงหรือรู้มืด มันจึงละไม่ได้
“เปรียบกับเด็กที่ซุกซน เล่นสนุก ทาให้ราคาญจนเราต้องดุเอา ตีเอา
แต่เราก็ต้องเข้าใจว่าธรรมชาติของเด็กก็เป็นอย่างนี้เอง
พอรู้อย่างนี้ เราก็ปล่อยให้เด็กเล่นไปตามเรื่องของเขา ความเดือดร้อน
ราคาญของเราก็หมดไป เพราะเรายอมรับธรรมชาติของเด็ก ความรู้สึกของเราจึงเปลี่ยนไป
เรายอมรับธรรมชาติของสิ่งทั้งหลาย เราปล่อยวางได้
จิตของเราก็มีความสงบเยือกเย็น นี่เรามีความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว
เป็นสัมมาทิฏฐิ ทีนี้ก็หมดปัญหาที่จะต้องแก้”
ที่เราทาความสงบโดยสมาธินี้
มันสงบจิต มันไม่ใช่สงบกิเลส ไม่ใช่สงบกิเลสหรอก
มันนั่งทับมันไปให้มันสงบเฉยเหมือนกับหินทับหญ้า
พอหญ้ามันมีเอาหินมาทับมัน ก็ดับไปเพราะหินทับมัน
อีกสามสี่ห้าวันหกเจ็ดวันมายกหินออก
หญ้ามันก็เกิดขึ้นอีก
นี่แปลว่านั่นหญ้ามันยังไม่ตาย
คือมันระงับ มันสงบจิต ไม่ใช่สงบกิเลส
นี่เรื่องสมาธิจึงเป็นของไม่แน่นอน
ทิฏฐิ คือ ความเห็นและความนึกคิดเกี่ยวกับสิ่งทั้งปวง
เกี่ยวกับตัวเขาเอง เกี่ยวกับการปฏิบัติภาวนา
เกี่ยวกับคาสอนของพระพุทธเจ้า
หลายๆท่านที่มาที่นี่ มีตาแหน่งการงานสูงในสังคม
บางคนเป็นพ่อค้าที่มั่งคั่ง
หรือได้ปริญญาต่าง ๆ ครูและข้าราชการ
สมองของเขาเต็มไปด้วยความคิดเห็นต่อสิ่งต่าง ๆ
เขาฉลาดเกินกว่าที่จะฟังผู้อื่น
เปรียบเหมือนน้าในถ้วย ถ้าถ้วยมีน้าสกปรกอยู่เต็ม
ถ้วยนั้นก็ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้
เมื่อได้เทน้าเก่านั้นทิ้งไปแล้วเท่านั้นถ้วยนั้นก็จะใช้ประโยชน์ได้
1/2
ท่านต้องทาจิตให้ว่างจากทิฏฐิ แล้วท่านจึงจะได้เรียนรู้
การปฏิบัติของเรานั้นก้าวเลยความฉลาดหรือความโง่
ถ้าท่านคิดว่า'ฉันเก่ง ฉันรวย ฉันเป็นคนใหญ่คนโต
ฉันเข้าใจพระพุทธศาสนาแจ่มแจ้งทั้งหมด' เช่นนี้แล้ว
ท่านจะไม่เห็นความจริงในเรื่องของอนัตตาหรือความไม่ใช่ตัวตน
ท่านจะมีแต่ตัวตน ตัวฉัน ของฉัน
แต่พระพุทธศาสนาคือการละตัวตน เป็นความว่าง
เป็นความไม่มีทุกข์
เป็นความดับสนิท คือ นิพพาน
2 /2

Más contenido relacionado

Más de MI

คำสอนหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก
คำสอนหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโกคำสอนหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก
คำสอนหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโกMI
 
คำสอนหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก
คำสอนหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโกคำสอนหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก
คำสอนหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโกMI
 
คำสอนหลวงปู่หล้า เขมปัตโต
คำสอนหลวงปู่หล้า เขมปัตโตคำสอนหลวงปู่หล้า เขมปัตโต
คำสอนหลวงปู่หล้า เขมปัตโตMI
 
คำสอนหลวงปู่จาม มหาปุญโญ
คำสอนหลวงปู่จาม มหาปุญโญคำสอนหลวงปู่จาม มหาปุญโญ
คำสอนหลวงปู่จาม มหาปุญโญMI
 
คำสอนหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
คำสอนหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนคำสอนหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
คำสอนหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนMI
 
คำสอนแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ
คำสอนแม่ชีแก้ว เสียงล้ำคำสอนแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ
คำสอนแม่ชีแก้ว เสียงล้ำMI
 
คำสอนบูรพาจารย์
คำสอนบูรพาจารย์คำสอนบูรพาจารย์
คำสอนบูรพาจารย์MI
 
พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของรัชกาลที่๙
พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของรัชกาลที่๙พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของรัชกาลที่๙
พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของรัชกาลที่๙MI
 
Luangpoo lar
Luangpoo larLuangpoo lar
Luangpoo larMI
 
Luangpoo jarm
Luangpoo jarmLuangpoo jarm
Luangpoo jarmMI
 
Luangta 11
Luangta 11Luangta 11
Luangta 11MI
 
Buddha's quotes
Buddha's quotesBuddha's quotes
Buddha's quotesMI
 
Luangpor intawai 20
Luangpor intawai 20Luangpor intawai 20
Luangpor intawai 20MI
 
Luangpor intawai 20
Luangpor intawai 20Luangpor intawai 20
Luangpor intawai 20MI
 
Luangpor intawai113
Luangpor intawai113Luangpor intawai113
Luangpor intawai113MI
 
Luangpor intawai112
Luangpor intawai112Luangpor intawai112
Luangpor intawai112MI
 
Great dharma masters1
Great dharma masters1Great dharma masters1
Great dharma masters1MI
 
Luangta mahabua3
Luangta mahabua3Luangta mahabua3
Luangta mahabua3MI
 
Luangta Mahabua2
Luangta Mahabua2Luangta Mahabua2
Luangta Mahabua2MI
 
Luangta mahabua1
Luangta mahabua1Luangta mahabua1
Luangta mahabua1MI
 

Más de MI (20)

คำสอนหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก
คำสอนหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโกคำสอนหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก
คำสอนหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก
 
คำสอนหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก
คำสอนหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโกคำสอนหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก
คำสอนหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก
 
คำสอนหลวงปู่หล้า เขมปัตโต
คำสอนหลวงปู่หล้า เขมปัตโตคำสอนหลวงปู่หล้า เขมปัตโต
คำสอนหลวงปู่หล้า เขมปัตโต
 
คำสอนหลวงปู่จาม มหาปุญโญ
คำสอนหลวงปู่จาม มหาปุญโญคำสอนหลวงปู่จาม มหาปุญโญ
คำสอนหลวงปู่จาม มหาปุญโญ
 
คำสอนหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
คำสอนหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนคำสอนหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
คำสอนหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
 
คำสอนแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ
คำสอนแม่ชีแก้ว เสียงล้ำคำสอนแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ
คำสอนแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ
 
คำสอนบูรพาจารย์
คำสอนบูรพาจารย์คำสอนบูรพาจารย์
คำสอนบูรพาจารย์
 
พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของรัชกาลที่๙
พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของรัชกาลที่๙พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของรัชกาลที่๙
พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของรัชกาลที่๙
 
Luangpoo lar
Luangpoo larLuangpoo lar
Luangpoo lar
 
Luangpoo jarm
Luangpoo jarmLuangpoo jarm
Luangpoo jarm
 
Luangta 11
Luangta 11Luangta 11
Luangta 11
 
Buddha's quotes
Buddha's quotesBuddha's quotes
Buddha's quotes
 
Luangpor intawai 20
Luangpor intawai 20Luangpor intawai 20
Luangpor intawai 20
 
Luangpor intawai 20
Luangpor intawai 20Luangpor intawai 20
Luangpor intawai 20
 
Luangpor intawai113
Luangpor intawai113Luangpor intawai113
Luangpor intawai113
 
Luangpor intawai112
Luangpor intawai112Luangpor intawai112
Luangpor intawai112
 
Great dharma masters1
Great dharma masters1Great dharma masters1
Great dharma masters1
 
Luangta mahabua3
Luangta mahabua3Luangta mahabua3
Luangta mahabua3
 
Luangta Mahabua2
Luangta Mahabua2Luangta Mahabua2
Luangta Mahabua2
 
Luangta mahabua1
Luangta mahabua1Luangta mahabua1
Luangta mahabua1
 

Luangpor chah ariyasong